พบผลลัพธ์ทั้งหมด 754 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8245-8251/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายจากชื่อเสียงที่เสียหาย ไม่เกี่ยวเนื่องกับข้อพิพาทแรงงาน จึงไม่รับฟ้อง
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่จ่ายค่าชดเชยและค้างจ่ายค่าจ้างจึงร้องต่อพนักงานตรวจแรงงาน เมื่อพนักงานตรวจแรงงานมีคำวินิจฉัยแล้วจำเลยไม่ปฏิบัติตามคำสั่งพนักงานตรวจแรงงาน ขอให้บังคับจำเลยจ่ายค่าจ้างและค่าชดเชยตามคำสั่งพนักงานตรวจแรงงาน อันเป็นการฟ้องขอให้จำเลยปฏิบัติตามคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานซึ่งได้มีคำสั่งตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 124 วรรคสาม แต่การที่จำเลยฟ้องแย้งกล่าวอ้างว่าโจทก์ร้องต่อพนักงานตรวจแรงงาน ทำให้จำเลยเสียชื่อเสียงว่าไม่ปฏิบัติตามกฎหมายแรงงานและขอให้บังคับโจทก์ชำระค่าเสียหายแก่จำเลยเป็นการฟ้องให้โจทก์ใช้ค่าเสียหายในมูลละเมิดซึ่งมิได้สืบเนื่องมาจากข้อพิพาทแรงงานหรือเกี่ยวกับการทำงานในหน้าที่ของโจทก์ และมีประเด็นแตกต่างกันกับคำฟ้องเดิม ฟ้องแย้งของจำเลยจึงไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิมของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6996-6997/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องแย้งค่าอุปการะเลี้ยงดูในคดีจดทะเบียนบุตรชอบด้วยกฎหมาย ศาลรับฟ้องแย้งและให้ดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่
คำฟ้องของโจทก์มีคำขอท้ายฟ้อง 2 ประการ คือ ขอให้ศาลพิพากษาให้โจทก์จดทะเบียนรับเด็กหญิง ญ. จำเลยที่ 2 เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ และขอให้ศาลพิพากษาให้โจทก์มีอำนาจปกครอง อุปการะเลี้ยงดูจำเลยที่ 2 ดังนี้ การที่จำเลยทั้งสองฟ้องแย้งขอให้โจทก์จ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูจำเลยที่ 2 จึงเป็นข้อโต้แย้งเกี่ยวเนื่องจากคำขอท้ายฟ้องของโจทก์นั่งเอง สมควรที่จะได้วินิจฉัยให้เสร็จไปในคราวเดียวกันไม่เยิ่นเย้อที่จะต้องรอให้คดีที่โจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่า จำเลยที่ 2 เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของโจทก์จนคำพิพากษาถึงที่สุดเสียชั้นหนึ่งก่อนแล้วจึงจะมาฟ้องขอเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูอีกในภายหลัง กรณีถือได้ว่าฟ้องแย้งของจำเลยทั้งสองชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6996-6997/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องแย้งค่าอุปการะเลี้ยงดูเกี่ยวเนื่องกับคำขอจดทะเบียนบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย ศาลควรพิจารณาร่วมกันได้
คำฟ้องของโจทก์มีคำขอ 2 ข้อคือ ขอให้ศาลพิพากษาให้โจทก์จดทะเบียนรับจำเลยที่ 2 เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ และให้โจทก์มีอำนาจปกครอง อุปการะเลี้ยงดูจำเลยที่ 2 การที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นมารดาจำเลยที่ 2 กับจำเลยที่ 2 ร่วมกันฟ้องแย้งขอให้โจทก์จ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูจำเลยที่ 2 จึงเป็นข้อโต้แย้งเกี่ยวเนื่องจากคำขอของโจทก์นั่นเอง สมควรที่จะได้วินิจฉัยให้เสร็จไปในคราวเดียวกัน ไม่ต้องรอให้คดีที่โจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่า จำเลยที่ 2 เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของโจทก์จนคำพิพากษาถึงที่สุดเสียชั้นหนึ่งก่อนแล้วจึงจะมาฟ้องขอเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูอีกในภายหลัง ถือได้ว่าฟ้องแย้งของจำเลยทั้งสองชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6405/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดิน: เพิกถอนใบจองทับที่ดินเดิม, ประเด็นการฟ้องแย้งไม่เกี่ยวกับ 1375 วรรคสอง
คดีอาญาที่จำเลยถูกฟ้องเป็นเรื่องที่โจทก์เป็นผู้เสียหายกล่าวหาว่า จำเลยปลอมลายมือชื่อโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินข้างเคียงลงในบันทึกถ้อยคำ แล้วนำไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่ที่ดินเพื่อดำเนินการออกใบจองให้จำเลย อันเป็นการปลอมและใช้เอกสารปลอม ส่วนคดีนี้เป็นคดีที่โจทก์ขอให้เพิกถอนใบจองที่ออกทับที่ดินของโจทก์ สิทธิการฟ้องคดีนี้ไม่ต้องอาศัยมูลความผิดทางอาญาฐานปลอมและใช้เอกสารปลอม จึงไม่ใช่คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ไม่ตกอยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์เป็นเจ้าของที่ดินพิพาท จำเลยขอออกใบจองทับที่ดินพิพาท ขอให้เพิกถอนใบจอง ห้ามจำเลยเข้าเกี่ยวข้อง จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลย โดยจำเลยครอบครองต่อจากบิดา ประเด็นข้อพิพาทมีว่า โจทก์หรือจำเลยเป็นผู้มีสิทธิครอบครอง ไม่มีปัญหาเรื่องแย่งการครอบครองประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375 วรรคสอง ฎีกาของจำเลยที่ว่าโจทก์มิได้ฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองภายใน 1 ปี ศาลชอบที่จะยกฟ้อง จึงเป็นเรื่องนอกประเด็นถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 2 และไม่ใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์เป็นเจ้าของที่ดินพิพาท จำเลยขอออกใบจองทับที่ดินพิพาท ขอให้เพิกถอนใบจอง ห้ามจำเลยเข้าเกี่ยวข้อง จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลย โดยจำเลยครอบครองต่อจากบิดา ประเด็นข้อพิพาทมีว่า โจทก์หรือจำเลยเป็นผู้มีสิทธิครอบครอง ไม่มีปัญหาเรื่องแย่งการครอบครองประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375 วรรคสอง ฎีกาของจำเลยที่ว่าโจทก์มิได้ฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองภายใน 1 ปี ศาลชอบที่จะยกฟ้อง จึงเป็นเรื่องนอกประเด็นถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 2 และไม่ใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6258/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องแย้งต้องเกี่ยวกับคำฟ้องเดิม หากไม่เกี่ยว ศาลต้องสั่งให้ฟ้องเป็นคดีต่างหาก
จำเลยที่ 1 อุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับฟ้องแย้งโดยอ้างว่า ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิม การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าจำเลยที่ 1 ไม่มีอำนาจฟ้องแย้งโจทก์แล้วพิพากษายกฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะการจะวินิจฉัยดังกล่าวได้ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 จะต้องเป็นเรื่องเกี่ยวกับคำฟ้องเดิมก่อน
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้ค้ำประกันบริษัท ก. ลูกหนี้เงินกู้ของโจทก์รับผิดตามสัญญาค้ำประกัน จำเลยที่ 1 ให้การต่อสู้ว่าสัญญากู้ยืมเงิน สัญญาจำนองและสัญญาค้ำประกันระหว่างบริษัท ก. และจำเลยที่ 1 กับโจทก์เป็นโมฆะ สัญญาทุกฉบับเป็นนิติกรรมอำพรางการที่โจทก์และ ว. กรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ตั้งจำเลยที่ 1 และบริษัท ก. เป็นตัวแทนลงทุนทำโครงการจัดสรรและพัฒนาที่ดิน และฟ้องแย้งว่าโจทก์และ ว. ตัวการได้สั่งการให้จำเลยที่ 1 ชำระเงินค่าพัฒนาที่ดินโครงการจัดสรรแทนไปก่อน แต่โจทก์และ ว. ไม่ยอมชำระคืน ขอให้บังคับโจทก์ชดใช้เงินดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ยแก่จำเลยที่ 1 ตามคำฟ้องและคำให้การของจำเลยที่ 1 คงมีประเด็นเกี่ยวกับความรับผิดของจำเลยที่ 1 ตามสัญญาค้ำประกัน แต่ตาม ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 เป็นเรื่องกล่าวอ้างว่า ว. กรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์มอบหมายให้จำเลยที่ 1 และบริษัท ก. เป็นตัวแทนโจทก์ในการลงทุนจัดทำโครงการจัดสรรและพัฒนาที่ดิน ซึ่งโจทก์ไม่สามารถดำเนินการเองได้เพราะผิดต่อกฎหมาย ปัญหาว่าการกระทำทั้งหลายของ ว. ตามที่จำเลยที่ 1 กล่าวอ้างมาในฟ้องแย้งจะผูกพันโจทก์ให้ต้องรับผิดในการที่จำเลยที่ 1 ได้ออกเงินค่าพัฒนาที่ดินไปก่อนหรือไม่ล้วนแต่เป็นการตั้งประเด็นขึ้นใหม่ อันเป็นคนละเรื่องคนละมูลหนี้ที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ให้รับผิดตามสัญญาค้ำประกันหนี้เงินกู้ ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 จึงเป็นเรื่องอื่นที่ไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิมพอที่จะรวมการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้ค้ำประกันบริษัท ก. ลูกหนี้เงินกู้ของโจทก์รับผิดตามสัญญาค้ำประกัน จำเลยที่ 1 ให้การต่อสู้ว่าสัญญากู้ยืมเงิน สัญญาจำนองและสัญญาค้ำประกันระหว่างบริษัท ก. และจำเลยที่ 1 กับโจทก์เป็นโมฆะ สัญญาทุกฉบับเป็นนิติกรรมอำพรางการที่โจทก์และ ว. กรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ตั้งจำเลยที่ 1 และบริษัท ก. เป็นตัวแทนลงทุนทำโครงการจัดสรรและพัฒนาที่ดิน และฟ้องแย้งว่าโจทก์และ ว. ตัวการได้สั่งการให้จำเลยที่ 1 ชำระเงินค่าพัฒนาที่ดินโครงการจัดสรรแทนไปก่อน แต่โจทก์และ ว. ไม่ยอมชำระคืน ขอให้บังคับโจทก์ชดใช้เงินดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ยแก่จำเลยที่ 1 ตามคำฟ้องและคำให้การของจำเลยที่ 1 คงมีประเด็นเกี่ยวกับความรับผิดของจำเลยที่ 1 ตามสัญญาค้ำประกัน แต่ตาม ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 เป็นเรื่องกล่าวอ้างว่า ว. กรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์มอบหมายให้จำเลยที่ 1 และบริษัท ก. เป็นตัวแทนโจทก์ในการลงทุนจัดทำโครงการจัดสรรและพัฒนาที่ดิน ซึ่งโจทก์ไม่สามารถดำเนินการเองได้เพราะผิดต่อกฎหมาย ปัญหาว่าการกระทำทั้งหลายของ ว. ตามที่จำเลยที่ 1 กล่าวอ้างมาในฟ้องแย้งจะผูกพันโจทก์ให้ต้องรับผิดในการที่จำเลยที่ 1 ได้ออกเงินค่าพัฒนาที่ดินไปก่อนหรือไม่ล้วนแต่เป็นการตั้งประเด็นขึ้นใหม่ อันเป็นคนละเรื่องคนละมูลหนี้ที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ให้รับผิดตามสัญญาค้ำประกันหนี้เงินกู้ ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 จึงเป็นเรื่องอื่นที่ไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิมพอที่จะรวมการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6258/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องแย้งไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิม ศาลไม่รับฟ้องแย้ง ชอบแล้ว
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้ค้ำประกันบริษัท ก. ลูกหนี้เงินกู้ของโจทก์ให้รับผิดตามสัญญาค้ำประกัน จำเลยที่ 1 ให้การว่าสัญญากู้ยืมเงินสัญญาจำนองและสัญญาค้ำประกันระหว่างบริษัท ก. และจำเลยที่ 1 กับโจทก์เป็นโมฆะ เพราะเป็นนิติกรรมอำพรางการที่โจทก์และ ว. ตั้งจำเลยที่ 1 และบริษัท ก. เป็นตัวแทนลงทุนทำโครงการจัดสรรและพัฒนาที่ดิน และฟ้องแย้งว่าโจทก์และ ว. ตัวการได้สั่งการให้จำเลยที่ 1 ชำระเงินค่าพัฒนาที่ดินโครงการจัดสรรดังกล่าวรวมเป็นเงิน 147,647,250 บาท แทนโจทก์และ ว. ไปก่อนแต่โจทก์กับ ว. ซึ่งเป็นตัวการกลับไม่ยอมชำระเงินคืนให้แก่จำเลยที่ 1 ขอให้บังคับโจทก์ชดใช้เงินจำนวนดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ยให้แก่จำเลยที่ 1 ตามคำฟ้องและคำให้การของจำเลยที่ 1 ดังกล่าว คงมีประเด็นเกี่ยวกับความรับผิดของจำเลยที่ 1 ตามสัญญาค้ำประกัน แต่ตามฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1 กล่าวอ้างว่า ว. กรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์มอบหมายให้จำเลยที่ 1 และบริษัท ก. เป็นตัวแทนโจทก์ในการลงทุนจัดทำโครงการจัดสรรและพัตนาที่ดินซึ่งโจทก์ไม่สามารถดำเนินการเองได้เพราะผิดต่อกฎหมาย ปัญหาว่าการกระทำทั้งหลายของ ว. ตามที่จำเลยที่ 1 กล่าวมาในฟ้องแย้งจะพูกพันโจทก์ให้ต้องรับผิดหรือไม่ในการที่จำเลยที่ 1 กล่าวอ้างว่าได้ออกเงินค่าพัฒนาที่ดินไปก่อน เป็นค่าก่อสร้างถนนภายในโครงการ ค่าก่อสร้างถนนจากมิตราภาพเข้าโครงการและทำรั้วลวดหนามรอบโครงการ ค่าซื้อที่ดิน ค่าจ้างออกแบบสถาปัตยกรรมและวิศวกรรม ค่าขุดเจาะบ่อน้ำบาดาล ปลูกต้นไม้ ก่อสร้างสำนักงานขาย ขุดสระน้ำ นำไฟฟ้าแรงสูงและระบบไฟฟ้าเข้าใช้ในโครงการ การก่อสร้างคอนโดมิเนียม ไทม์ แชร์ริ่ง หรือคอนโดเทล ค่าแบ่งแยกที่ดินเป็นแปลงย่อย ค่าการตลาดและบริหารการขาย กรมสวัสดิการกองทัพบอก ค่าใช้จ่ายในการขาย การบริหารและค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ดนั้นล้วนแต่เป็นการตั้งประเด็นขึ้นใหม่อันเป็นคนละเรื่องคนละมูลหนี้ที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ให้รับผิดตามสัญญาค้ำประกันหนี้เงินกู้ ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 จึงเป็นเรื่องอื่นที่ไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิมพอที่จะรวมพิจารณาและชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6146/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำนองที่ดินเป็นประกันหนี้ การฟ้องแย้ง และการพิจารณาคำร้องขอเข้าเป็นจำเลยร่วม
จำเลยนำสืบว่าจำเลยไม่ได้กู้เงินโจทก์ 2,500,000 บาท ตามสัญญากู้ยืมเงิน ความจริงจำเลยกู้เงินเพียง 2,000,000 บาท แต่โจทก์นำดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 2.5 ต่อเดือน ซึ่งเกินอัตราตามกฎหมายรวมเป็นเงินต้นด้วย จึงระบุต้นเงินในสัญญากู้ยืมเงิน 2,500,000 บาท เป็นการนำสืบโต้แย้งเกี่ยวกับจำนวนเงินที่กู้จากโจทก์ว่าไม่ได้รับเงินจำนวนดังกล่าว ถือว่าเป็นการนำสืบถึงความไม่สมบูรณ์แห่งหนี้ตาม ป.วิ.พ. 94 วรรคท้าย ไม่ใช่เป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสาร จำเลยย่อมมีสิทธินำสืบได้
เมื่อมีการยื่นคำร้องสอดขอเข้าเป็นจำเลยร่วม ศาลต้องตรวจว่าต้องด้วยหลักเกณฑ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (2) หรือไม่ หากคำร้องสอดต้องด้วยหลักเกณฑ์ของกฎหมายศาลก็จะอนุญาตให้ผู้ร้องเข้ามาเป็นจำเลยร่วมคือรับคำร้องสอดไว้พิจารณา ซึ่งถือว่าเป็นขั้นตอนการสั่งรับหรือไม่รับคำร้องสอดในเบื้องต้น ส่วนเมื่อรับคำร้องสอดไว้พิจารณาแล้วข้อเท็จจริงในทางพิจารณาจะรับฟังได้ตามที่อ้างในคำร้องสอดหรือไม่เป็นอีกขั้นตอนหนึ่งซึ่งเป็นขั้นตอนการพิจารณาพิพากษาคดี และแม้ข้อเท็จจริงที่ได้ความในทางพิจารณาจะรับฟังไม่ได้ตามที่อ้างก็ไม่มีผลทำให้ขั้นตอนการสั่งอนุญาตให้เข้าเป็นจำเลยร่วมหรือการสั่งรับคำร้องสอดไว้พิจารณาในตอนแรกกลับกลายเป็นการสั่งโดยไม่ชอบหรือผิดหลง
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกู้เงินโจทก์แล้วไม่ชำระ ขอให้บังคับจำเลยชำระต้นเงินพร้อมดอกเบี้ย จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่าในการกู้เงินดังกล่าวจำเลยจำนองที่ดินไว้เป็นประกัน จำเลยขอชำระหนี้ส่วนที่ค้างชำระและให้โจทก์จดทะเบียนไถ่ถอนจำนองแล้วแต่โจทก์ผิดนัดไม่ยอมรับชำระ ขอให้ยกฟ้องและบังคับให้โจทก์รับชำระหนี้ส่วนที่ค้างชำระพร้อมจดทะเบียนไถ่ถอนจำนอง จำเลยร่วมยื่นคำร้องสอดอ้างว่า จำเลยร่วมเป็นเจ้าของที่ดินที่จำนองเป็นประกันหนี้จำเลยเป็นผู้มีส่วนได้เสียในผลแห่งคดีในอันที่จะให้โจทก์จดทะเบียนไถ่ถอนจำนองที่ดินเมื่อจำเลยชำระหนี้ให้แก่โจทก์ ขอถือเอาคำให้การและฟ้องแย้งของจำเลยเป็นของจำเลยร่วมด้วย คำร้องสอดของจำเลยร่วมต้องด้วยหลักเกณฑ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (2) ชอบที่จะรับคำร้องสอดไว้พิจารณา
เมื่อมีการยื่นคำร้องสอดขอเข้าเป็นจำเลยร่วม ศาลต้องตรวจว่าต้องด้วยหลักเกณฑ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (2) หรือไม่ หากคำร้องสอดต้องด้วยหลักเกณฑ์ของกฎหมายศาลก็จะอนุญาตให้ผู้ร้องเข้ามาเป็นจำเลยร่วมคือรับคำร้องสอดไว้พิจารณา ซึ่งถือว่าเป็นขั้นตอนการสั่งรับหรือไม่รับคำร้องสอดในเบื้องต้น ส่วนเมื่อรับคำร้องสอดไว้พิจารณาแล้วข้อเท็จจริงในทางพิจารณาจะรับฟังได้ตามที่อ้างในคำร้องสอดหรือไม่เป็นอีกขั้นตอนหนึ่งซึ่งเป็นขั้นตอนการพิจารณาพิพากษาคดี และแม้ข้อเท็จจริงที่ได้ความในทางพิจารณาจะรับฟังไม่ได้ตามที่อ้างก็ไม่มีผลทำให้ขั้นตอนการสั่งอนุญาตให้เข้าเป็นจำเลยร่วมหรือการสั่งรับคำร้องสอดไว้พิจารณาในตอนแรกกลับกลายเป็นการสั่งโดยไม่ชอบหรือผิดหลง
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกู้เงินโจทก์แล้วไม่ชำระ ขอให้บังคับจำเลยชำระต้นเงินพร้อมดอกเบี้ย จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่าในการกู้เงินดังกล่าวจำเลยจำนองที่ดินไว้เป็นประกัน จำเลยขอชำระหนี้ส่วนที่ค้างชำระและให้โจทก์จดทะเบียนไถ่ถอนจำนองแล้วแต่โจทก์ผิดนัดไม่ยอมรับชำระ ขอให้ยกฟ้องและบังคับให้โจทก์รับชำระหนี้ส่วนที่ค้างชำระพร้อมจดทะเบียนไถ่ถอนจำนอง จำเลยร่วมยื่นคำร้องสอดอ้างว่า จำเลยร่วมเป็นเจ้าของที่ดินที่จำนองเป็นประกันหนี้จำเลยเป็นผู้มีส่วนได้เสียในผลแห่งคดีในอันที่จะให้โจทก์จดทะเบียนไถ่ถอนจำนองที่ดินเมื่อจำเลยชำระหนี้ให้แก่โจทก์ ขอถือเอาคำให้การและฟ้องแย้งของจำเลยเป็นของจำเลยร่วมด้วย คำร้องสอดของจำเลยร่วมต้องด้วยหลักเกณฑ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (2) ชอบที่จะรับคำร้องสอดไว้พิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4724/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องแย้งเรื่องค่าเสียหายจากการละทิ้งหน้าที่ ไม่เกี่ยวข้องกันกับฟ้องเดิมเรื่องค่าตอบแทนการขาย จึงไม่รับพิจารณารวมกัน
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยจ้างโจทก์ทำงานเป็นลูกจ้างโดยมีข้อตกลงว่าจำเลยจะจ่ายค่าตอบแทนการขายอัตราร้อยละ 5 จากงานซ่อมและร้อยละ 15 จากค่าอะไหล่ คำนวณจากผลกำไรแล้วในเดือนมิถุนายน 2548 จำเลยค้างจ่ายค่าตอบแทนการขายจำนวน 16,384 บาท ขอให้บังคับจำเลยจ่ายเงินค่าตอบแทนการขายจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์ จำเลยฟ้องแย้งว่า โจทก์ได้หยุดงานไปตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2548 ถึงวันที่ 5 กรกฎาคม 2548 เป็นการละทิ้งหน้าที่ ทำให้จำเลยขาดรายได้จากการเสนองานซ่อมรถยกและขายอะไหล่จำนวน 40,000 บาท ขอให้บังคับโจทก์ใช้ค่าเสียหายดังกล่าว เป็นการกล่าวอ้างถึงการกระทำใหม่ของโจทก์ ซึ่งจะต้องพิจารณาต่อไปว่าโจทก์ละทิ้งหน้าที่ตามที่จำเลยฟ้องแย้งหรือไม่ และเป็นเหตุให้จำเลยเสียหายหรือไม่และเพียงใด ดังนั้น แม้ว่าตามฟ้องเดิมและฟ้องแย้งจะเป็นข้อพิพาทเกี่ยวกับสัญญาจ้างแรงงานด้วยกัน แต่เป็นคนละเรื่องคนละประเด็นแตกต่างกันไม่มีความเกี่ยวข้องกัน ฟ้องแย้งของจำเลยจึงไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิมไม่อาจรับไว้พิจารณารวมกับฟ้องเดิมได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3183/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องแย้งต้องเกี่ยวกับสิทธิที่ถูกโต้แย้งในคำฟ้องเดิม ศาลฎีกาพิพากษายืนคำสั่งไม่รับฟ้องแย้ง
ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 3 นอกจากจะต้องเกี่ยวกับคำฟ้องเดิมพอที่จะรวมพิจารณาและชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้แล้ว ต้องเป็นคำฟ้องที่มีสภาพแห่งข้อหาว่าโจทก์ได้โต้แย้งสิทธิของจำเลยที่ 3 ในส่วนที่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิมอย่างไรตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 ด้วย
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับตามสิทธิเรียกร้องที่โจทก์อ้างว่าประมูลซื้อมาจากการขายทรัพย์สินขององค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงินในฐานะที่โจทก์เป็นกองทุนรวมที่ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล จำเลยที่ 3 ให้การและฟ้องแย้งว่า โจทก์ไม่มีสภาพเป็นนิติบุคคลไม่อาจเป็นโจทก์ฟ้องคดี และไม่มีอำนาจฟ้องเนื่องจากการดำเนินการตั้งแต่การจัดตั้งกองทุนรวม การถือหน่วยลงทุน การจดทะเบียนกองทุนรวมต่อคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ตลอดจนการลงนามในสัญญาขายกับองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงินไม่ถูกต้องและไม่ชอบด้วยกฎหมายทั้งสิ้น ดังนี้ หากศาลรับฟังและวินิจฉัยว่า การจัดตั้งกองทุนรวมโจทก์และการลงนามในสัญญาขายเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ก็ไม่มีสิทธิจะฟ้องขอให้บังคับตามสิทธิเรียกร้องที่อ้างว่าประมูลซื้อมาได้และศาลย่อมพิพากษายกฟ้องอยู่แล้ว โดยไม่ต้องคำนึงว่าการจดทะเบียนกองทุนรวมโจทก์ยังคงมีอยู่หรือไม่ ซึ่งเป็นเรื่องระหว่างโจทก์กับคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ผู้รับจดทะเบียนซึ่งเป็นบุคคลภายนอก จำเลยที่ 3 มิได้มีส่วนได้เสียถึงกับจะขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนนั้นได้ ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 3 ที่ขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนกองทุนรวมโจทก์จึงไม่มีสภาพแห่งข้อหาว่าโจทก์ได้โต้แย้งสิทธิของจำเลยที่ 3 แต่เป็นเรื่องอื่นไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิม จึงไม่อาจฟ้องแย้งรวมเข้ามาในคำให้การได้ตามมาตรา 177 วรรคสาม
ฟ้องแย้งเป็นคำคู่ความซึ่งศาลชั้นต้นมีอำนาจตรวจและมีคำสั่งอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 18 ถ้อยคำที่บัญญัติไว้ในมาตรา 177 วรรคสามที่ว่า ให้ศาลสั่งให้จำเลยฟ้องเป็นคดีต่างหาก จึงมีผลเท่ากับเป็นการสั่งไม่รับฟ้องแย้งอันเป็นคำสั่งไม่รับคำคู่ความตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 18 นั่นเอง การที่ศาลชั้นต้นมิได้สั่งให้จำเลยที่ 3 ฟ้องเป็นคดีต่างหาก จึงไม่มีผลทำให้เป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับตามสิทธิเรียกร้องที่โจทก์อ้างว่าประมูลซื้อมาจากการขายทรัพย์สินขององค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงินในฐานะที่โจทก์เป็นกองทุนรวมที่ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล จำเลยที่ 3 ให้การและฟ้องแย้งว่า โจทก์ไม่มีสภาพเป็นนิติบุคคลไม่อาจเป็นโจทก์ฟ้องคดี และไม่มีอำนาจฟ้องเนื่องจากการดำเนินการตั้งแต่การจัดตั้งกองทุนรวม การถือหน่วยลงทุน การจดทะเบียนกองทุนรวมต่อคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ตลอดจนการลงนามในสัญญาขายกับองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงินไม่ถูกต้องและไม่ชอบด้วยกฎหมายทั้งสิ้น ดังนี้ หากศาลรับฟังและวินิจฉัยว่า การจัดตั้งกองทุนรวมโจทก์และการลงนามในสัญญาขายเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ก็ไม่มีสิทธิจะฟ้องขอให้บังคับตามสิทธิเรียกร้องที่อ้างว่าประมูลซื้อมาได้และศาลย่อมพิพากษายกฟ้องอยู่แล้ว โดยไม่ต้องคำนึงว่าการจดทะเบียนกองทุนรวมโจทก์ยังคงมีอยู่หรือไม่ ซึ่งเป็นเรื่องระหว่างโจทก์กับคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ผู้รับจดทะเบียนซึ่งเป็นบุคคลภายนอก จำเลยที่ 3 มิได้มีส่วนได้เสียถึงกับจะขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนนั้นได้ ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 3 ที่ขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนกองทุนรวมโจทก์จึงไม่มีสภาพแห่งข้อหาว่าโจทก์ได้โต้แย้งสิทธิของจำเลยที่ 3 แต่เป็นเรื่องอื่นไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิม จึงไม่อาจฟ้องแย้งรวมเข้ามาในคำให้การได้ตามมาตรา 177 วรรคสาม
ฟ้องแย้งเป็นคำคู่ความซึ่งศาลชั้นต้นมีอำนาจตรวจและมีคำสั่งอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 18 ถ้อยคำที่บัญญัติไว้ในมาตรา 177 วรรคสามที่ว่า ให้ศาลสั่งให้จำเลยฟ้องเป็นคดีต่างหาก จึงมีผลเท่ากับเป็นการสั่งไม่รับฟ้องแย้งอันเป็นคำสั่งไม่รับคำคู่ความตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 18 นั่นเอง การที่ศาลชั้นต้นมิได้สั่งให้จำเลยที่ 3 ฟ้องเป็นคดีต่างหาก จึงไม่มีผลทำให้เป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1509/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คำสั่งศาลที่ไม่รับคำร้องเรียกบุคคลภายนอกเข้าเป็นจำเลยร่วมในคดีฟ้องแย้งและการต้องห้ามอุทธรณ์คำสั่งระหว่างพิจารณา
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 ที่บังคับเอากับ ป. เนื่องจากเป็นฟ้องแย้งที่บังคับเอากับบุคคลภายนอกไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิม กับมีคำสั่งยกคำร้องที่จำเลยที่ 1 ขอหมายเรียก ป. เข้าเป็นจำเลยฟ้องแย้งร่วมกับโจทก์ จำเลยที่ 1 คงอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ยกคำร้องขอหมายเรียก ป. โดยมิได้อุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ยกฟ้องแย้งในส่วนที่บังคับเอากับ ป. แต่อย่างใด คำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าวจึงถึงที่สุดไปแล้ว จำเลยที่ 1 จะยกขึ้นฎีกาหาได้ไม่ ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำร้องของจำเลยที่ 1 ที่ขอให้เรียก ป. เข้าเป็นจำเลยร่วมกับโจทก์ในส่วนฟ้องแย้งนั้นเป็นคำร้องที่ยื่นเพื่อขอให้เรียกบุคคลภายนอกเข้ามาในคดี มิใช่เพื่อตั้งประเด็นระหว่างคู่ความจึงไม่ใช่คำคู่ความ คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้ยกคำร้องดังกล่าวจึงมิใช่คำสั่งไม่รับคำคู่ความแต่เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในระหว่างพิจารณาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 (1) จำเลยที่ 1 จึงยังไม่มีสิทธิอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายกอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 ชอบแล้ว
คำร้องของจำเลยที่ 1 ที่ขอให้เรียก ป. เข้าเป็นจำเลยร่วมกับโจทก์ในส่วนฟ้องแย้งนั้นเป็นคำร้องที่ยื่นเพื่อขอให้เรียกบุคคลภายนอกเข้ามาในคดี มิใช่เพื่อตั้งประเด็นระหว่างคู่ความจึงไม่ใช่คำคู่ความ คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้ยกคำร้องดังกล่าวจึงมิใช่คำสั่งไม่รับคำคู่ความแต่เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในระหว่างพิจารณาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 (1) จำเลยที่ 1 จึงยังไม่มีสิทธิอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายกอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 ชอบแล้ว