คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ยึดทรัพย์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 784 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3121/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับชำระหนี้โดยมิชอบด้วยกฎหมาย: การกระทำเข้ายึดทรัพย์สินโดยไม่ผ่านกระบวนการตามกฎหมายเป็นการลักทรัพย์
การบังคับชำระหนี้ต้องดำเนินการตามกฎหมาย มิใช่เจ้าหนี้บุกรุกเข้าไปเอาทรัพย์สินของลูกหนี้ไปโดยพลการ การที่จำเลยซึ่งเป็นเจ้าหนี้ใช้เลื่อยตัดกุญแจแล้วเปิดประตูเข้าไปเอาเครื่องบดแป้งไฟฟ้าและรถจักรยานที่เก็บอยู่ภายในบ้านซึ่งจำเลยรู้อยู่แล้วว่าไม่ใช่บ้านพักของ ป. ลูกหนี้และไม่รู้ด้วยว่าเครื่องบดแป้งไฟฟ้าและรถจักรยานใช่ของ ป. หรือไม่ไปเพื่อตีชำระหนี้ จึงเป็นการเอาทรัพย์ไปโดยทุจริต จำเลยจึงมีความผิดฐานลักทรัพย์ในเคหสถานโดยทำอันตรายสิ่งกีดกั้นสำหรับคุ้มครองบุคคลหรือทรัพย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 172/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่ระงับการยึดทรัพย์หลังพ้นจากล้มละลาย: อุทธรณ์ต้องห้ามตามกฎหมาย
คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ยกคำร้องของจำเลยที่อ้างว่าได้รับการปลดจากล้มละลายแล้วตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 81/1 ขอให้เพิกถอนคำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่ไม่ระงับการยึดหุ้นของจำเลยที่โจทก์ได้ขอให้เจ้าพนักงานพิทรัพย์ยึดไว้ มิใช่คำสั่งอย่างหนึ่งอย่างใดที่ต้องด้วยข้อยกเว้นให้อุทธรณ์ได้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ.2542 มาตรา 24 วรรคสอง (1) ถึง (5) อุทธรณ์ของจำเลยจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 899/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการคัดค้านการยึดทรัพย์: ผู้มีส่วนได้เสียต้องแสดงสิทธิในทรัพย์สินที่ชัดเจน
ในระหว่างการไต่สวนของศาลชั้นต้น ผู้ร้องแถลงขอให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนการยึดที่ดินพิพาทเพราะอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติเพียงเหตุเดียวและผู้ร้องยังไม่ยื่นขอกันส่วนเงินที่จะได้จากการขายทอดตลาดที่ดินพิพาท เช่นนี้ เหตุเพิกถอนการยึดทรัพย์ดังกล่าวจึงมิได้เป็นการโต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่ของผู้ร้อง ทั้งผู้ร้องบรรยายคำร้องเพียงว่า ผู้ร้องเป็นสามีโดยชอบด้วยกฎหมายของจำเลย และหากให้ขายทอดตลาดที่ดินพิพาทไปจะมีปัญหาโต้แย้งระหว่างผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ครอบครองที่ดินส่วนหนึ่งกับผู้ซื้อ โดยไม่ปรากฏจากคำร้องว่า ผู้ร้องมีส่วนเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทหรือครอบครองที่ดินพิพาทโดยอาศัยสิทธิใด จึงถือไม่ได้ว่าผู้ร้องเป็นผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีที่ดินพิพาทตาม ป.วิ.พ. มาตรา 280 จึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการยึดที่ดินพิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 899/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการยื่นคำร้องเพิกถอนการยึดทรัพย์: ผู้ร้องต้องแสดงฐานะผู้มีส่วนได้เสียที่ชัดเจน
ผู้ร้องแถลงขอให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนการยึดที่ดินพิพาทเพราะอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติและผู้ร้องยังไม่ยื่นขอกับส่วนเงินที่จะได้จากการขายทอดตลาดที่ดินพิพาท เหตุเพิกถอนการยึดทรัพย์ดังกล่าวจึงมิได้เป็นการโต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่ของผู้ร้อง ทั้งผู้ร้องบรรยายคำร้องเพียงว่า ผู้ร้องเป็นสามีโดยชอบด้วยกฎหมายของจำเลย และหากให้ขายทอดตลาดที่ดินพิพาทไปจะมีปัญหาโต้แย้งระหว่างผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ครอบครองที่ดินส่วนหนึ่งกับผู้ซื้อ โดยไม่ปรากฏจากคำร้องว่า ผู้ร้องมีส่วนเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทหรือครอบครองที่ดินพิพาทโดยอาศัยสิทธิใด จึงถือไม่ได้ว่าผู้ร้องเป็นผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีที่ดินพิพาทตาม ป.วิ.พ. มาตรา 280 จึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการยึดที่ดินพิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8837/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ระยะเวลาบังคับคดี 10 ปีนับจากคำพิพากษาถึงที่สุด การยึดทรัพย์เกินกำหนดไม่ทำให้สิทธิบังคับคดีสิ้นสุด
กำหนดระยะเวลาบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 ที่ให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาร้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งได้ภายใน 10 ปี นับแต่วันมีคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้น หมายถึงวันที่คำพิพากษาถึงที่สุด
ศาลแพ่งธนบุรีพิพากษาให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2539 ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ คำพิพากษาจึงถึงที่สุดตั้งแต่วันที่ 23 สิงหาคม 2539 ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 147 วรรคสอง โจทก์ขอให้ศาลแพ่งธนบุรีออกหมายบังคับคดีเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2549 และต่อมาวันที่ 10 สิงหาคม 2549 ผู้แทนโจทก์ร้องขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีกรมบังคับคดียึดทรัพย์สินของจำเลย จึงถือได้ว่าโจทก์ได้ร้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษาภายใน 10 ปี นับแต่วันมีคำพิพากษาตามมาตรา 271 แล้ว ดังนั้น แม้ทรัพย์สินของจำเลยที่จะยึดอยู่ที่จังหวัดขอนแก่น ซึ่งอยู่ในเขตอำนาจของศาลชั้นต้น เจ้าพนักงานบังคับคดีกรมบังคับคดีจึงขอให้ศาลชั้นต้นสั่งเจ้าพนักงานบังคับคดี สำนักงานบังคับจังหวัดขอนแก่น ยึดและขายทอดตลาดทรัพย์สินแทน และผู้แทนโจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดี สำนักงานบังคับคดีจังหวัดขอนแก่น ไปยึดทรัพย์สินของจำเลย เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2549 ซึ่งเกินกำหนด 10 ปี นับแต่วันที่คำพิพากษาถึงที่สุด ก็เป็นเพียงขั้นตอนการดำเนินงานของเจ้าพนักงานบังคับคดีเท่านั้น ไม่ทำให้โจทก์หมดสิทธิบังคับคดีแก่ทรัพย์สินที่ยึดดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5995/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยึดทรัพย์ที่ถูกพิพาทเรื่องกรรมสิทธิ์ ศาลอุทธรณ์ชอบที่จะไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์นอกประเด็นข้อพิพาท
โจทก์ให้การว่า ที่ดินพิพาทที่มีชื่อของจำเลยที่ 2 เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ ผู้ร้องไม่ได้จดทะเบียนการได้มาของผู้ร้อง จึงไม่มีกรรมสิทธิ์และผู้ร้องไม่ได้ครอบครองทรัพย์ที่ยึดโดยความสงบและเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของเกินกว่า 10 ปี จึงไม่ได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ คำให้การดังกล่าวของโจทก์ไม่ได้ต่อสู้ว่า ผู้ร้องไม่สุจริตหรือคำพิพากษาตามยอมไม่มีผลพูกพันจำเลยที่ 2 จึงไม่มีประเด็นพิพาทในเรื่องดังกล่าว ที่โจทก์อุทธรณ์ว่า การที่ผู้ร้องทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทพร้อมตึกแถวกับจำเลยที่ 1 โดยรู้อยู่แล้วว่าจำเลยที่ 1 ไม่มีกรรมสิทธิ์ จึงฟังว่าผู้ร้องไม่สุจริตหรือหากผู้ร้องไม่รู้ก็เป็นความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของผู้ร้อง และคำพิพากษาตามยอมในคดีที่ผู้ร้องฟ้องจำเลยที่ 1 ให้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมตึกแถวพิพาทไม่มีผลผูกพันจำเลยที่ 2 เพราะจำเลยที่ 1 ไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทและตึกแถวพิพาทนั้น เป็นอุทธรณ์นอกเหนือประเด็นข้อพิพาทแห่งคดี ถือได้ว่าเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอกในการที่เชิดจำเลยที่ 1 ทำสัญญาจะซื้อจะขายกับผู้ร้อง เมื่อผู้ร้องชำระเงินครบถ้วนตามสัญญาแล้วและต่อมามีการทำสัญญาประนีประนอมยอมความจนศาลพิพากษาตามยอม ที่ดินและตึกแถวพิพาทจึงตกเป็นของผู้ร้อง มิใช่ของจำเลยที่ 2 เป็นการวินิจฉัยถึงกรรมสิทธิ์ในที่ดินและตึกแถวพิพาทว่าเป็นของจำเลยที่ 2 หรือไม่ อันเป็นประเด็นแห่งการร้องขัดทรัพย์ หาใช่เป็นการวินิจฉัยเกินกว่าคำร้องขัดทรัพย์ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5716/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิบังคับคดีตามคำพิพากษาประนีประนอมยอมความเหนือกว่าสิทธิเจ้าหนี้จากการยึดทรัพย์
โจทก์ทั้งสองกล่าวอ้างว่า ผู้ร้องกับจำเลยสมคบกันทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันเพื่อฉ้อฉลโจทก์ทั้งสอง โจทก์ทั้งสองจึงมีภาระการพิสูจน์ โดยต้องนำพยานหลักฐานมานำสืบให้เห็นดังที่กล่าวอ้าง แต่โจทก์ทั้งสองกลับมีเพียงรายงานสรุปการขายเอกสารหมาย จ.1 คำเบิกความของ ส. เอกสารหมาย จ.2 สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างระหว่างโจทก์ทั้งสองกับจำเลยเอกสารหมาย จ.3 และรายงานข่าวในหนังสือพิมพ์ ป. เอกสารหมาย จ.4 มาแสดง ซึ่งตามบันทึกคำเบิกความเอกสารหมาย จ.2 แม้ ส. อ้างว่าไม่ปรากฏรายชื่อผู้ร้องในรายงานสรุปการขายของจำเลยเอกสารหมาย จ.1 จึงฟังไม่ได้ว่าผู้ร้องทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินกับจำเลยก็ตามแต่รายชื่อลูกค้าตามเอกสารหมาย จ.1 มิใช่รายชื่อลูกค้าทั้งหมด จึงยังไม่อาจสรุปจากเอกสารหมาย จ.1 ได้ว่า ผู้ร้องมิได้เป็นลูกค้าของจำเลย ทั้งตามเอกสารหมาย จ.3 ถึง จ.4 ก็ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงใดที่พอจะมีน้ำหนักให้รับฟังได้ว่า ผู้ร้องกับจำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันเพื่อฉ้อฉลโจทก์ทั้งสองให้โจทก์ทั้งสองได้รับความเสียหาย
เมื่อจำเลยได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความโอนที่ดินพิพาทให้ผู้ร้องตามมูลหนี้สัญญาจะซื้อจะขาย และศาลชั้นต้นพิพากษาบังคับให้เป็นไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความจนคดีถึงที่สุดแล้ว สิทธิของผู้ร้องตามคำพิพากษาที่จะเรียกร้องให้จำเลยปฏิบัติตามคำพิพากษา หรือไปจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่ตนย่อมเกิดขึ้นทันที ผู้ร้องจึงอยู่ในฐานะที่จะบังคับให้จดทะเบียนสิทธิของตนตามคำพิพากษาได้อยู่ก่อนแล้วตาม ป.พ.พ. มาตรา 1300 โจทก์ทั้งสองจึงหามีสิทธิขอให้บังคับคดียึดทรัพย์พิพาทเพื่อนำออกขายทอดตลาดชำระหนี้อันเป็นการกระทบถึงสิทธิของผู้ร้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 287 ได้ไม่
การที่ผู้ร้องยังไม่ชำระเงินตามข้อตกลงในสัญญาประนีประนอมยอมความมีผลเพียงทำให้ผู้ร้องยังไม่อาจเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ตอบแทนเท่านั้น หามีผลให้สิทธิของผู้ร้องที่จะเรียกให้จำเลยปฏิบัติตามคำพิพากษาหมดไปไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5350/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แก้ไขคำพิพากษาการยึดทรัพย์จำนอง: รวมสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินด้วย
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยจำนองที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเป็นประกันหนี้เงินกู้ในชั้นพิจารณาก็ปรากฏตามสัญญาจำนองว่าเป็นการจำนองที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเป็นประกัน แต่ตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์คงปรากฏแต่เพียงว่าขอให้ยึดทรัพย์จำนอง ที่ดินและ "สร้าง" ออกขายทอดตลาดเมื่อทรัพย์จำนองได้แก่ที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง โจทก์ย่อมยึดที่ดินและสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้แก่โจทก์ได้ การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า หากไม่ชำระหนี้ให้ยึดทรัพย์จำนองที่ดินโฉนดเลขที่ 67333 ตำบลนาป่า อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์ ออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้ หากได้เงินไม่พอชำระหนี้ให้ยึดทรัพย์สินอื่นของจำเลยทั้งสองออกขายทอดตลาดชำระหนี้ให้แก่โจทก์จนครบ โดยไม่ระบุให้ยึดสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินดังกล่าวออกขายทอดตลาดด้วย จึงเป็นกรณีคำพิพากษาศาลชั้นต้นมีข้อผิดพลาดหรือผิดหลงเล็กน้อยเนื่องมาจากการพิมพ์คำขอท้ายฟ้องผิดพลาดและมิได้มีการอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาดังกล่าว จึงมีเหตุสมควรที่จะแก้ไขคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ถูกต้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 143

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 505/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยึดทรัพย์สินส่วนตัวที่ใช้เป็นหลักประกันหนี้สมรส ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าโจทก์มีอำนาจยึดได้ แม้เป็นทรัพย์สินส่วนตัวของผู้ร้อง
ผู้ร้องได้บรรยายคำร้องว่าที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3 ก.) เลขที่ 1906 ที่โจทก์นำยึดนั้นมิใช่สินสมรสของจำเลย แต่เป็นสินส่วนตัวของผู้ร้องโดยผู้ร้องได้รับมาจากบุพการี คำร้องของผู้ร้องจึงแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของผู้ร้องแล้วว่าที่ดินพิพาทที่โจทก์นำยึดนั้นมิใช่ของจำเลยหรือเป็นสินสมรสแต่เป็นสินส่วนตัวของผู้ร้อง โดยผู้ร้องแนบเอกสารการได้มาของที่ดินพิพาทมาท้ายคำร้องซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของคำร้องและมีคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง แล้ว ส่วนผู้ร้องได้ที่ดินพิพาทมาจากบุพการีโดยวิธีใดและเมื่อใดนั้น เป็นเพียงรายละเอียดที่ผู้ร้องสามารถนำสืบในชั้นพิจารณาได้หาจำต้องบรรยายมาในคำร้องไม่
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ผู้ร้องได้รู้เห็นและยินยอมในการที่จำเลยนำที่ดินพิพาทไปเป็นหลักประกันตัวผู้ต้องหา เมื่อจำเลยผิดสัญญาประกันและศาลพิพากษาให้จำเลยชำระหนี้ตามสัญญาประกันแต่จำเลยไม่ชำระ โจทก์มีอำนาจยึดที่ดินพิพาทบังคับชำระหนี้ได้ไม่ว่าทรัพย์พิพาทจะเป็นสินสมรสหรือสินส่วนตัวก็ตาม ผู้ร้องจะอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นสินส่วนตัวเพื่อไม่ให้บังคับคดีแก่ที่ดินพิพาทหาได้ไม่ ผู้ร้องจึงไม่มีอำนาจร้องขอให้ปล่อยที่ดินพิพาท เพราะเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตไม่ชอบด้วย ป.พ.พ. มาตรา 5 และปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และ 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4660/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยึดทรัพย์ในคดีล้มละลาย: ผู้มีส่วนได้เสียต้องคัดค้านเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก่อนยื่นคำร้องต่อศาล
พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 158 บัญญัติว่า "ผู้มีส่วนได้เสียคนใดเห็นว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่มีสิทธิยึดทรัพย์สินอย่างหนึ่งอย่างใด ให้คัดค้านต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้รับคำคัดค้านแล้วให้สอบสวนและมีคำสั่ง ถ้าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ให้ถอนการยึด ผู้นั้นมีสิทธิยื่นคำร้องขอต่อศาลภายในกำหนดเวลา 14 วัน นับแต่วันได้ทราบคำสั่งนั้น..." ผู้ร้องยื่นคำร้องคดีนี้ต่อศาลล้มละลายกลางโดยไม่ได้คัดค้านต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เสียก่อนจึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาไม่ถูกต้องตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนดไว้ ศาลล้มละลายกลางชอบที่จะยกคำร้องของผู้ร้อง
of 79