คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ลูกหนี้

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 829 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8746/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีมูลค่าเพิ่มจากการส่งพนักงานไปปฏิบัติงานที่บริษัทลูกหนี้: การให้บริการตามกฎหมาย
ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 77/2 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "การกระทำกิจการดังต่อไปนี้ในราชอาณาจักร ให้อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามบทบัญญัติในหมวดนี้ (1) การขายสินค้าหรือการให้บริการโดยผู้ประกอบการ..." ตามมาตรา 77/1 (10) คำว่า "บริการ" หมายความว่า การกระทำใด ๆ อันอาจหาประโยชน์อันมีมูลค่าซึ่งมิใช่เป็นการขายสินค้า และให้หมายความรวมถึงการใช้บริการของตนเองไม่ว่าประการใด ๆ ..." ปรากฏว่าพนักงานที่เจ้าหนี้ส่งไปทำงานในบริษัทลูกหนี้ซึ่งเจ้าหนี้ถือหุ้นอยู่ยังคงเป็นลูกจ้างของเจ้าหนี้เนื่องจากเจ้าหนี้เป็นผู้จ่ายเงินเดือนและค่าสวัสดิการต่าง ๆ ทั้งยังคงต้องปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าหนี้ การที่เจ้าหนี้ส่งพนักงานไปปฏิบัติหน้าที่ในบริษัทลูกหนี้ โดยลูกหนี้เป็นผู้รับผิดชอบชดใช้เงินเดือนและค่าสวัสดิการซึ่งเจ้าหนี้จ่ายให้แก่พนักงานของเจ้าหนี้ไป แม้จะไม่เป็นการกระทำใด ๆ ซึ่งเป็นการหาประโยชน์อันมีมูลค่าจากลูกหนี้โดยตรง แต่การที่เจ้าหนี้เรียกเก็บเงินจากลูกหนี้เท่ากับที่จ่ายให้แก่พนักงานก็ยังต้องด้วยคำนิยามของคำว่า "บริการ" จึงถือว่าเจ้าหนี้ให้บริการแก่ลูกหนี้แล้ว เจ้าหนี้ซึ่งเป็นผู้ประกอบการที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มจึงมีสิทธิเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากลูกหนี้ผู้รับบริการตาม ป.รัษฎากร มาตรา 82/4 วรรคหนึ่ง ด้วยเหตุนี้เมื่อลูกหนี้ต้องชำระค่าบริการสำหรับเงินเดือนและสวัสดิการพนักงานของเจ้าหนี้ที่เรียกเก็บจากลูกหนี้ เจ้าหนี้ย่อมมีสิทธิได้รับค่าภาษีมูลค่าเพิ่มจากเงินดังกล่าวด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8120/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องกรณีเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์: หลังปลดจากล้มละลาย โจทก์ต้องฟ้องลูกหนี้โดยตรง
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ว. เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2535 ในคดีหมายเลขแดงที่ ล.376/2535 และ ว. ได้รับการปลดจากล้มละลายแล้วตั้งแต่วันที่ 16 กรกฎาคม 2547 ก่อนวันที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ คือวันที่ 24 พฤษภาคม 2549 ดังนั้น เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของ ว. จึงไม่มีอำนาจต่อสู้คดีใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของ ว. ลูกหนี้อีกต่อไป โจทก์ชอบที่จะฟ้อง ว. เป็นจำเลยโดยตรง การที่โจทก์มาฟ้อง ว. โดยเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของ ว. เป็นจำเลยที่ 1 นั้น เป็นการฟ้องเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เป็นจำเลยแทนลูกหนี้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5292/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อต่อสู้เกี่ยวกับสภาพแห่งหนี้เป็นเหตุให้ลูกหนี้มีสิทธิอ้างได้ แม้การโอนสิทธิจะเกิดขึ้นแล้ว
ข้อต่อสู้ที่ลูกหนี้มีต่อผู้โอนซึ่งยกขึ้นต่อสู้ผู้รับโอนไม่ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 308 วรรคหนึ่ง ไม่รวมถึงข้อต่อสู้เกี่ยวกับสภาพแห่งหนี้ว่าบกพร่องหรือไม่สมบูรณ์บังคับไม่ได้ การที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ให้การ นำสืบ และอุทธรณ์ว่าจำเลยที่ 1 ไม่ได้รับเงินกู้ ไม่ได้เป็นหนี้ตามฟ้อง เป็นการยกข้อต่อสู้เกี่ยวกับสภาพแห่งหนี้ว่าไม่สมบูรณ์บังคับไม่ได้ จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงมีสิทธิยกข้อต่อสู้นี้ขึ้นอ้างได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 22113/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิผู้ค้ำประกัน: การยกเว้นสิทธิเรียกร้องให้ลูกหนี้ชำระหนี้ก่อน และขอบเขตความรับผิดร่วม
ผู้ค้ำประกันคือ บุคคลผู้ผูกพันตนต่อเจ้าหนี้เพื่อชำระหนี้ในเมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้นั้น การที่จะชำระหนี้แทนลูกหนี้ดังกล่าว ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้บัญญัติถึงสิทธิของผู้ค้ำประกันไว้หลายมาตรา เช่น มาตรา 688 ผู้ค้ำประกันมีสิทธิที่จะให้เจ้าหนี้เรียกให้ลูกหนี้ชำระหนี้ก่อน มาตรา 689 ผู้ค้ำประกันมีสิทธิให้เจ้าหนี้บังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินของลูกหนี้ก่อน ถ้าการบังคับชำระหนี้จากลูกหนี้ไม่เป็นการยาก มาตรา 690 ถ้าเจ้าหนี้มีทรัพย์ของลูกหนี้ยึดถือไว้เป็นประกัน ผู้ค้ำประกันมีสิทธิร้องขอให้เจ้าหนี้ต้องให้ชำระหนี้จากทรัพย์ซึ่งเป็นประกันนั้นก่อน นอกจากนี้มาตรา 691 ยังได้บัญญัติว่า ถ้าผู้ค้ำประกันต้องรับผิดร่วมกันกับลูกหนี้ ท่านว่าผู้ค้ำประกันย่อมไม่มีสิทธิดังกล่าวไว้ในมาตรา 688, 689 และ 690 แสดงให้เห็นว่า ถ้าผู้ค้ำประกันทำสัญญาว่ายอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมหรือยอมรับผิดร่วมกันกับลูกหนี้ ผู้ค้ำประกันจะไม่มีสิทธิตามมาตรา 688, 689 และ 690 ถ้าไม่ได้ระบุว่ายอมรับผิดดังกล่าวไว้ในสัญญา ผู้ค้ำประกันจะเป็นผู้ต้องรับผิดร่วมกันกับลูกหนี้เมื่อทำสัญญายกเว้นสิทธิตามมาตรา 688, 689 และ 690 ทั้งสามมาตรา คดีนี้จำเลยที่ 2 มิได้ทำสัญญาค้ำประกันว่ายอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมหรือยอมรับผิดร่วมกันกับลูกหนี้ คงมีแต่เพียงสัญญาข้อ 2 และข้อ 5 ที่ตกลงยกเว้นสิทธิตามมาตรา 688 และไม่อาจตีความว่าเป็นข้อตกลงยกเว้นสิทธิตามมาตรา 689 และ 690 ด้วย เพราะจะเป็นการตีความในทางที่เป็นผลร้ายแก่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นคู่กรณีฝ่ายซึ่งจะเป็นผู้ต้องเสียในมูลหนี้นั้น อันเป็นการไม่ชอบด้วยมาตรา 11 หนังสือสัญญาค้ำประกันดังกล่าวจึงเป็นสัญญาค้ำประกันที่เจ้าหนี้มีสิทธิฟ้องผู้ค้ำประกันได้โดยไม่ต้องเรียกให้ลูกหนี้ชำระหนี้ก่อนเท่านั้น ไม่ใช่สัญญาค้ำประกันที่ผู้ค้ำประกันยอมรับผิดร่วมกันกับลูกหนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 18624/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกคืนเงินลาภมิควรได้: สิทธิเรียกร้องแทนลูกหนี้ และผลกระทบของคำพิพากษาเดิม
จำเลยที่ 2 เป็นกรรมการผู้จัดการบริษัท ท. ต่อมาเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2536 จดทะเบียนเลิกบริษัทโดยมีจำเลยที่ 1 เป็นผู้ชำระบัญชี ในระหว่างการชำระบัญชี โจทก์ตรวจสอบแล้วพบว่า บริษัทเป็นหนี้ค่าภาษีอากรค้างชำระ จึงแจ้งให้ชำระ ขณะนั้น จำเลยที่ 1 ก็รวบรวมทรัพย์สินของบริษัทแล้วแบ่งคืนเป็นเงินให้แก่จำเลยที่ 2 โจทก์จึงยื่นฟ้องบริษัทต่อศาลภาษีอากรกลางและยื่นฟ้องจำเลยที่ 2 ต่อศาลแพ่งกรุงเทพใต้ เพื่อเรียกเงินคืน จนกระทั่งศาลฎีกามีคำพิพากษาในคดีดังกล่าวว่า จำเลยที่ 2 รับเงินไว้โดยปราศจากมูลจะอ้างด้วยกฎหมาย จึงเป็นลาภมิควรได้ที่จะต้องคืนให้แก่บริษัท แต่เนื่องจากโจทก์มิได้ใช้สิทธิเรียกร้องในนามของตนแทนลูกหนี้รวมทั้งไม่ได้เรียกลูกหนี้เข้ามาในคดีด้วย จึงให้ยกฟ้องแต่ไม่ตัดสิทธิที่โจทก์จะฟ้องใหม่ คำพิพากษาดังกล่าวจึงผูกพันคู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง โจทก์จะกล่าวอ้างว่าเป็นการใช้สิทธิติดตามเอาคืนทรัพย์หาได้ไม่ เมื่อสิทธิของโจทก์เป็นการใช้สิทธิเรียกร้องแทนลูกหนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 233 แล้ว โจทก์จะต้องฟ้องคดีภายใน 1 ปี นับแต่เวลาที่รู้หรือ 10 ปี นับแต่เวลาที่สิทธินั้นมีขึ้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 419 การที่โจทก์ได้ฟ้องคดีก่อนภายในอายุความแล้ว แม้ระหว่างนั้นไม่ว่าจำเลยที่ 2 จะนำเงินบางส่วนไปชำระให้แก่โจทก์หรือไม่ก็ตาม ย่อมถือว่าอายุความไม่เคยสะดุดหยุดลงตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/17 วรรคหนึ่ง และต่อมาเมื่อศาลฎีกามีคำพิพากษาในคดีนั้นเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2546 ซึ่งอายคุวามครบกำหนดสิบปีไปแล้วโจทก์จึงต้องฟ้องเป็นคดีใหม่ภายใน 60 วัน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/17 วรรคสอง เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้ เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2548 คดีของโจทก์จึงขาดอายุความ สำหรับจำเลยที่ 2

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15037/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าหนี้รายหลังไม่มีสิทธิเพิกถอนนิติกรรมที่ลูกหนี้ทำไปก่อนหน้านี้ แม้จะทำให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 237 เจ้าหนี้ที่มีสิทธิขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมใด ๆ อันลูกหนี้ได้กระทำลงไปทั้ง ๆ ที่รู้อยู่ว่าเป็นทางให้เจ้าหนี้เสียเปรียบจะต้องเป็นผู้ที่เป็นเจ้าหนี้อยู่แล้วในขณะที่ลูกหนี้ได้กระทำนิติกรรมดังกล่าวแล้ว เจ้าหนี้รายหลัง ๆ หามีสิทธิเช่นนั้นไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9823/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีต้องดำเนินการให้ครบถ้วนภายใน 10 ปี การของดการยึดทรัพย์ถือว่ายังไม่ได้บังคับคดี
ป.วิ.พ. มาตรา 271 บัญญัติให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะต้องดำเนินการตามขั้นตอนต่าง ๆ ของการบังคับคดีให้ครบถ้วนภายในกำหนด 10 ปี ประการแรก เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาต้องร้องขอให้ศาลออกหมายบังคับคดี ประการที่สอง เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาต้องแถลงหรือแจ้งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทราบว่าศาลได้ออกหมายบังคับคดีแล้ว ประการที่สาม เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาต้องแถลงต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีขอให้ดำเนินการบังคับคดีเอาแก่ทรัพย์สินใดของลูกหนี้ตามคำพิพากษาบ้าง คดีนี้ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2537 ให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันชำระเงิน 506,425 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงินดังกล่าว นับแต่วันที่ 13 มิถุนายน 2535 เป็นต้นไป จนกว่าจะชำระให้โจทก์เสร็จ เฉพาะจำเลยที่ 4 ให้รับผิดในต้นเงินไม่เกิน 50,000 บาท ส่วนดอกเบี้ยเมื่อคิดคำนวณถึงวันฟ้อง (วันที่ 25 พฤษภาคม 2536) ต้องไม่เกิน 40,344 บาท ต่อมาจำเลยทั้งสี่ไม่ชำระหนี้ตามคำพิพากษา ศาลมีคำสั่งตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดี โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์ของห้างหุ้นส่วนจำกัด จ. เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2547 แต่ในวันดังกล่าวโจทก์ขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีงดการยึดทรัพย์ดังกล่าวไว้ก่อนเพราะชื่อสถานที่ไม่ตรงกับจำเลยที่ 3 เจ้าพนักงานบังคับคดีจึงไม่ได้ยึดทรัพย์ดังกล่าว ดังนี้ แม้โจทก์ขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีไปยึดทรัพย์ของจำเลยที่ 3 ภายในกำหนดระยะเวลา 10 ปี นับแต่คดีถึงที่สุดก็ตาม แต่การนำเจ้าพนักงานบังคับคดีไปยึดทรัพย์ แต่ของดการยึดทรัพย์ย่อมเท่ากับไม่มีการยึดทรัพย์ จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้ยื่นคำแถลงขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์ของจำเลยที่ 3 แล้ว เมื่อโจทก์ยื่นคำแถลงใหม่อีกครั้งเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2550 ซึ่งพ้นกำหนดเวลา 10 ปี นับแต่คดีถึงที่สุดแล้ว โจทก์จึงไม่อาจใช้สิทธิบังคับคดีแก่จำเลยที่ 3 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7817/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเรียกร้องและการปฏิบัติตามขั้นตอนการแจ้งและการยินยอมตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ.2542 มาตรา 10 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ในกรณีที่มีการฟ้องคดีต่อศาลใด ถ้าคู่ความฝ่ายที่ถูกฟ้องเห็นว่าคดีดังกล่าวอยู่ในเขตอำนาจของอีกศาลหนึ่ง ให้ยื่นคำร้องต่อศาลที่รับฟ้องก่อนวันสืบพยานสำหรับศาลยุติธรรม แต่จำเลยที่ 3 ไม่ได้ยื่นคำร้อง เป็นกรณีที่ไม่ได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติดังกล่าว จึงไม่อาจฎีกาในปัญหานี้ได้
เมื่อจำเลยที่ 3 รับว่าโจทก์ได้แจ้งการโอนสิทธิเรียกร้องเป็นหนังสือแก่จำเลยที่ 3 แล้ว โจทก์จึงยกการโอนสิทธิเรียกร้องขึ้นเป็นข้อต่อสู้จำเลยที่ 3 ได้ โดยไม่จำต้องให้จำเลยที่ 1 มีหนังสือแจ้งการโอนสิทธิเรียกร้องแก่จำเลยที่ 3 หรือจำเลยที่ 3 ต้องให้ความยินยอมด้วยเป็นลายลักษณ์อักษรและจำเลยที่ 1 ย่อมหมดสิทธิที่จะรับเงินตามสัญญาจ้างทันที จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นลูกหนี้มีหน้าที่ต้องชำระหนี้ให้โจทก์ จำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิจะมาระงับไม่ให้จำเลยที่ 3 จ่ายเงินให้โจทก์ เมื่อจำเลยที่ 3 จ่ายเงินให้แก่จำเลยที่ 1 ไป จึงไม่อาจบอกปัดความรับผิดโดยอ้างว่าจำเลยที่ 1 มีหนังสือแจ้งให้ระงับการจ่ายเงิน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7790/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเรียกร้องค่าจ้างจากการประมูลงานก่อสร้างที่ยังไม่ได้เริ่มงาน และการยินยอมของลูกหนี้
แม้ขณะจำเลยทำหนังสือโอนสิทธิเรียกร้องในการรับเงินค่าจ้างที่จะได้รับจากองค์การบริหารส่วนตำบลเวียงชัยให้แก่ผู้ร้อง จำเลยเพียงแต่เป็นผู้ชนะการประมูลงานรับเหมาก่อสร้างได้ โดยยังมิได้ทำสัญญาจ้างและเริ่มทำงาน ย่อมถือได้ว่าจำเลยได้สิทธิในการดำเนินงานก่อสร้างและรับเงินค่าก่อสร้างเมื่อทำงานเสร็จแล้ว สิทธิดังกล่าวอยู่ในสภาพเปิดช่องให้โอนกันได้แล้วตาม ป.พ.พ. มาตรา 303 และเมื่อ ป. นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเวียงชัยเขียนข้อความในหนังสือโอนสิทธิเรียกร้องว่า "ได้รับทราบและยินยอมในการโอนสิทธิดังกล่วแล้ว" พร้อมกับลงลายมือชื่อและประทับตรา ถือว่าองค์การบริหารส่วนตำบลเวียงชัยลูกหนี้ได้ยินยอมด้วยในการโอนนั้นแล้วตาม ป.พ.พ. มาตรา 306 วรรคหนึ่ง สิทธิที่จะได้รับเงินค่าจ้างก่อสร้างจึงตกเป็นของผู้ร้องแล้ว เมื่อไม่ปรากฏว่าขณะโอนสิทธิเรียกร้องดังกล่าว ผู้ร้องได้รู้ข้อเท็จจริงอันเป็นทางให้โจทก์ต้องเสียเปรียบ โจทก์จึงไม่มีสิทธิขออายัดเงินดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2508/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีและการออกหมายจับ จำเลยต้องมีคำขอให้จับกุมและกักขัง จึงจะออกหมายจับได้
คำร้องของโจทก์ขอให้ศาลมีคำสั่งให้จำเลยปฏิบัติตามคำพิพากษาเท่านั้น มิได้ขอให้มีคำสั่งจับกุมและกักขังจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษา ดังที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 298 วรรคหนึ่ง แต่อย่างใด จึงไม่ต้องด้วยกรณีที่ศาลจะออกหมายจับ หรือสั่งกักขังลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้ตามความในวรรคสอง
of 83