คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ทุนทรัพย์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 764 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2040/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำฟ้องลดทุนทรัพย์ ทำให้คดีต้องโอนไปยังศาลแขวงตามอำนาจศาล
โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องครั้งที่สองโดยรับข้อเท็จจริงบางส่วนตามคำให้การของจำเลยทั้งสี่ เป็นการขอลดทุนทรัพย์ฟ้องเดิมภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ และคดีนี้ศาลชั้นต้นยังไม่ได้สืบพยานโจทก์และพยานจำเลยจึงยังอยู่ภายในกำหนดเวลาที่จำเลยทั้งสี่จะแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การของจำเลยทั้งสี่เพื่อหักล้างข้ออ้างของโจทก์ได้ การแก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องของโจทก์ดังกล่าวจึงไม่ทำให้จำเลยทั้งสี่เสียเปรียบและหลงข้อต่อสู้แต่ประการใด
ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรมฯ มาตรา 16 วรรคสี่ ที่บัญญัติว่า "ในกรณีที่มีการยื่นฟ้องคดีต่อศาลจังหวัด และคดีนั้นเกิดขึ้นในเขตของศาลแขวงและอยู่ในอำนาจของศาลแขวง ให้ศาลจังหวัดนั้นมีคำสั่งโอนคดีไปยังศาลแขวงที่มีเขตอำนาจ" นั้น แม้จะใช้ถ้อยคำว่าศาลจังหวัดก็ตาม แต่เจตนารมณ์ของกฎหมายที่บัญญัติความในวรรคสี่ไว้เนื่องจากไม่ประสงค์ให้ศาลชั้นต้นที่มีศาลแขวงตั้งอยู่ในเขตศาลนั้นรับพิจารณาคดีที่เกิดขึ้นในเขตของศาลแขวงและอยู่ในอำนาจของศาลแขวง เมื่อศาลแพ่งธนบุรีเป็นศาลชั้นต้นที่มีศาลแขวงธนบุรีและศาลแขวงตลิ่งชันตั้งอยู่ในเขตจึงต้องอยู่ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติดังกล่าวด้วย คดีนี้โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องโดยลดจำนวนทุนทรัพย์ลงเป็นเหตุให้คดีของโจทก์เป็นคดีที่เกิดในเขตของศาลแขวงและอยู่ในอำนาจพิจารณาของศาลแขวง ศาลแพ่งธนบุรีจึงต้องมีคำสั่งโอนคดีไปยังศาลแขวงธนบุรีซึ่งเป็นศาลแขวงที่มีเขตอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1966/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตอำนาจศาล: โอนคดีจากศาลจังหวัดไปศาลแขวงหลังสืบพยานได้ หากพบทุนทรัพย์ไม่เกิน 300,000 บาท
แม้ศาลจังหวัดนครปฐมจะได้รับฟ้องของโจทก์ไว้พิจารณาและดำเนินการสืบพยานโจทก์จำเลยจนเสร็จและอยู่ระหว่างนัดฟังคำพิพากษาก็ตาม แต่เมื่อปรากฏภายหลังว่าเป็นคดีที่อยู่ในเขตอำนาจของศาลแขวงนครปฐมตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 17 ประกอบมาตรา 25 วรรคหนึ่ง (4) ไม่ใช่คดีที่อยู่ในเขตอำนาจของศาลจังหวัดนครปฐมเสียแล้ว ศาลจังหวัดนครปฐมย่อมไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีเรื่องนี้ได้ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 18 ทั้งไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดให้อำนาจศาลจังหวัดนครปฐมที่จะใช้ดุลพินิจรับคดีนี้ไว้พิจารณาพิพากษาต่อไป ดังนั้น การที่ศาลจังหวัดนครปฐมมีคำสั่งโอนคดีเรื่องนี้ไปยังศาลแขวงนครปฐมซึ่งเป็นศาลที่มีเขตอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีได้นั้นเป็นการชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 16 วรรคท้ายแล้ว และเมื่อศาลแขวงนครปฐมจะเป็นผู้พิจารณาคดีนี้ต่อไป ผู้พิพากษาศาลแขวงนครปฐมจึงมีอำนาจทำคำพิพากษาคดีนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1966/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตอำนาจศาล: ศาลจังหวัดโอนคดีทุนทรัพย์ไม่เกิน 3 แสนบาทให้ศาลแขวงได้ แม้สืบพยานแล้ว
คำฟ้องของโจทก์กล่าวอ้างว่า จำเลยนำเจ้าพนักงานที่ดินรังวัดรุกล้ำเข้าไปในที่ดินพิพาทซึ่งโจทก์มีสิทธิครอบครองโดยไม่มีสิทธิจำเลยให้การโต้แย้งสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทว่าเป็นของจำเลยจึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้หรือเป็นคดีมีทุนทรัพย์ เมื่อราคาที่ดินพิพาทซึ่งเป็นทุนทรัพย์ของคดีไม่เกินสามแสนบาท จึงอยู่ในอำนาจของศาลแขวงนครปฐมที่จะพิจารณาพิพากษา แม้ศาลจังหวัดนครปฐมสืบพยานโจทก์และจำเลยจนเสร็จและนัดฟังคำพิพากษาแล้ว แต่ตราบใดที่ยังมิได้มีคำพิพากษาศาลจังหวัดนครปฐมชอบที่จะมีคำสั่งโอนคดีไปยังศาลแขวงนครปฐมตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 16 วรรคท้าย
ศาลจังหวัดนครปฐมได้รับฟ้องไว้พิจารณาและดำเนินการสืบพยานโจทก์จำเลยจนเสร็จและอยู่ระหว่างนัดฟังคำพิพากษาแล้ว แต่เมื่อปรากฏภายหลังว่าเป็นคดีที่อยู่ในเขตอำนาจของศาลแขวงนครปฐมตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 17 ประกอบมาตรา 25 วรรคหนึ่ง (4) ไม่ใช่คดีที่อยู่ในเขตอำนาจของศาลจังหวัดนครปฐม ศาลจังหวัดนครปฐมย่อมไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีได้ตามมาตรา 18 ทั้งไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดให้อำนาจศาลจังหวัดนครปฐมที่จะใช้ดุลพินิจรับคดีไว้พิจารณาพิพากษาต่อไป การที่ศาลจังหวัดนครปฐมมีคำสั่งโอนคดีไปยังศาลแขวงนครปฐมชอบด้วยมาตรา 16 วรรคท้ายแล้ว ผู้พิพากษาศาลแขวงนครปฐมจึงมีอำนาจทำคำพิพากษาคดีนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1579/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้าม: ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยข้อเท็จจริงเกินทุนทรัพย์ที่พิพาทตามมาตรา 248
ฎีกาของโจทก์ที่ว่าศาลอุทธรณ์ภาค 9 ฟังข้อเท็จจริงว่าที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกของมารดาโจทก์และจำเลยที่ 1 เป็นการฟังข้อเท็จจริงแตกต่างไปจากพยานหลักฐานในสำนวนเนื่องจากพยานหลักฐานในสำนวนฟังได้ตามที่โจทก์นำสืบว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์นั้น เป็นการหยิบยกพยานและเหตุต่างๆ ขึ้นอ้างเพื่อให้ศาลฎีกาฟังว่าที่ดินพิพาทไม่ได้เป็นทรัพย์มรดกของมารดาและจำเลยที่ 1 และโจทก์มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทซึ่งเป็นการฎีกาโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ภาค 9 เพื่อให้ศาลฎีการับฟังข้อเท็จจริงตามที่โจทก์นำสืบว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์เป็นฎีกาในข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 746/2563 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5162/2563

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างว่าความคิดค่าตอบแทนจากทุนทรัพย์บังคับคดีได้ ไม่ขัดกฎหมาย
สัญญาจ้างว่าความที่ผู้ว่าจ้างตกลงชำระค่าจ้างว่าความโดยคิดอัตราร้อยละของจำนวนทุนทรัพย์ที่สามารถบังคับคดีได้ไม่ขัดต่อ พ.ร.บ.ทนายความ พ.ศ.2528 และประกาศข้อบังคับของสภาทนายความว่าด้วยมรรยาททนายความ พ.ศ.2529 ทั้งคดีนี้จำเลยเป็นผู้ว่าจ้างโจทก์ให้ฟ้องร้องดำเนินคดีเรียกค่าส่วนกลางค้างชำระกับเจ้าของร่วมซึ่งเป็นชาวต่างชาติ โดยเรียกค่าทนายความเป็นสัดส่วนจำนวนที่แน่นอนเอาจากทรัพย์ที่สามารถบังคับคดีได้ซึ่งไม่เกินกว่าทุนทรัพย์ที่ได้รับตามคำพิพากษาของศาล โจทก์ไม่สามารถกำหนดค่าเสียหายในการฟ้องเรียกร้องได้ตามอำเภอใจ ประกอบกับปัจจุบันมีการแก้ไขเพิ่มเติม ป.วิ.พ. หมวด 4 ในเรื่องการดำเนินคดีแบบกลุ่ม มาตรา 222/37 ที่บัญญัติให้คิดเงินรางวัลทนายความฝ่ายโจทก์ในอัตราจากเงินที่ได้รับตามคำพิพากษาทำนองเดียวกับข้อตกลงในสัญญาจ้างว่าความนี้ สัญญาว่าจ้างคดีนี้จึงไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 ข้อสัญญาระหว่างโจทก์และจำเลยจึงไม่เป็นโมฆะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6381/2562

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าขาดไร้อุปการะเป็นหนี้เฉพาะตัว ทุนทรัพย์น้อยกว่าสองแสนบาท ฎีกาต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248
ค่าขาดไร้อุปการะเป็นหนี้ที่สามารถแบ่งแยกเป็นส่วนของโจทก์แต่ละคน โดยโจทก์ทั้งสองสามารถฟ้องเรียกเฉพาะส่วนของตนโดยลำพังได้ ทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาจึงต้องถือตามจำนวนค่าขาดไร้อุปการะที่โจทก์แต่ละคนมีสิทธิเรียกร้องจากจำเลย ทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาของโจทก์ทั้งสองแต่ละคนไม่เกินสองแสนบาท ย่อมต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง (เดิม) ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับขณะที่โจทก์ทั้งสองยื่นฟ้อง การที่จำเลยฎีกาว่า ศาลอุทธรณ์ภาค 3 กำหนดให้จำเลยชำระค่าขาดไร้อุปการะแก่โจทก์ทั้งสองเป็นระยะเวลา 18 ปี นานเกินไปไม่เหมาะสมกับความเสียหาย ถือว่าเป็นการโต้แย้งดุลพินิจของศาลอุทธรณ์ภาค 3 ในการรับฟังพยานหลักฐาน เป็นฎีกาในข้อเท็จจริงจึงต้องห้ามตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว ที่ศาลชั้นต้นรับฎีกาของจำเลยมานั้น จึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4839/2562

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาห้ามฎีกาคดีอาญาและแพ่งเกี่ยวเนื่อง: ข้อจำกัดการฎีกาในคดีอาญา, ข้อจำกัดทุนทรัพย์คดีแพ่ง, และอำนาจศาล
การที่โจทก์ร่วมยื่นคำร้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสามชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตาม ป.วิ.อ. มาตรา 44/1 เป็นการใช้สิทธิยื่นคำร้องในคดีอาญาที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ มิใช่เป็นคดีที่โจทก์ร่วมฟ้องเองโดยตรง จึงต้องถือว่าคำพิพากษาในส่วนที่โจทก์ร่วมเรียกค่าสินไหมทดแทนเป็นส่วนหนึ่งของคำพิพากษาในคดีส่วนอาญา ทั้งการพิพากษาคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 46 ดังนั้น สิทธิในการอุทธรณ์ฎีกาเกี่ยวกับค่าสินไหมทดแทนในคดีส่วนแพ่งดังกล่าวต้องถือคดีส่วนอาญาเป็นหลัก หากคดีส่วนอาญาขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกา คดีส่วนแพ่งก็ไม่ต้องห้ามอุทธรณ์หรือฎีกา แต่หากคดีอาญาต้องห้ามอุทธรณ์ฎีกา คดีส่วนแพ่งก็ต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง คดีนี้คดีส่วนอาญาต้องห้ามฎีกา การพิจารณาคดีส่วนแพ่งในชั้นฎีกาจึงต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 40 โจทก์ร่วมยื่นคำร้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสามชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2558 ก่อนที่ พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 27) พ.ศ.2558 มีผลใช้บังคับ สิทธิในการฎีกาจึงเป็นไปตามกฎหมายฉบับเดิมก่อนมีการแก้ไข ดังนั้น เมื่อโจทก์ร่วมฎีกาขอให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ชำระค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ร่วม 100,000 บาท เป็นฎีกาโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ภาค 9 เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อจำนวนค่าสินไหมทดแทนที่เรียกร้องอันเป็นทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท คดีจึงต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะฟ้องคดี ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกามาจึงไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3826/2562

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องแบ่งมรดก: ทุนทรัพย์รายบุคคลสำคัญกว่ารวมทั้งหมด ทำให้ฎีกาต้องห้ามตามกฎหมาย
โจทก์ฟ้องว่า ที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดก จำเลยโอนที่ดินพิพาทให้แก่ตนเองโดยไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ทั้งหกในฐานะทายาทผู้มีสิทธิได้รับมรดก ขอให้บังคับจำเลยโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ทั้งหก จึงเป็นเรื่องที่โจทก์ทั้งหกฟ้องให้ได้กลับคืนมาซึ่งทรัพย์มรดกเพื่อประโยชน์แก่โจทก์ทั้งหก เป็นการฟ้องเรียกทรัพย์มรดกจากจำเลย จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ เป็นคดีมีทุนทรัพย์ตามจำนวนราคาที่ดินพิพาท ซึ่งแม้โจทก์ทั้งหกจะฟ้องรวมกันมา แต่การอุทธรณ์ฎีกาต้องถือทุนทรัพย์ของโจทก์แต่ละคนแยกกัน เพราะเป็นเรื่องที่โจทก์แต่ละคนใช้สิทธิเฉพาะของตน เมื่อที่ดินแต่ละส่วนที่โจทก์แต่ละคนฟ้องขอแบ่งมีราคาไม่เกิน 200,000 บาท ซึ่งเป็นราคาทรัพย์สินหรือทุนทรัพย์พิพาทในชั้นฎีกาของโจทก์แต่ละคน จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง (เดิม) ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับขณะโจทก์ยื่นฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1619/2562

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลแขวง: ทุนทรัพย์เกิน 3 แสนบาท ทำให้ศาลต้องไม่รับฟ้อง
เขตอำนาจของศาลแขวงในส่วนคดีแพ่งมีบัญญัติไว้ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 17 ประกอบมาตรา 25 (4) ว่ามีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีแพ่งซึ่งราคาทรัพย์สินที่พิพาทหรือจำนวนเงินที่ฟ้องไม่เกินสามแสนบาท คดีนี้โจทก์บรรยายฟ้องและมีคำขอบังคับให้จำเลยทั้งสองรับผิดชดใช้ค่าเสียหายเป็นเงิน 300,000 บาท รวมทั้งเรียกดอกเบี้ยนับแต่วันกระทำละเมิดถึงวันฟ้องและนับแต่วันฟ้องจนกว่าจำเลยทั้งสองจะชำระเสร็จ จำนวนเงินที่ฟ้องอันถือเป็นทุนทรัพย์ที่โจทก์เรียกร้องในศาลชั้นต้นย่อมต้องรวมถึงดอกเบี้ยนับแต่วันกระทำละเมิดจนถึงวันฟ้องด้วย ซึ่งเมื่อคำนวณค่าเสียหายรวมดอกเบี้ยคิดถึงวันฟ้องแล้วคดีนี้มีทุนทรัพย์ที่โจทก์เรียกร้องมาเกินกว่าสามแสนบาท จึงเกินอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลแขวงที่จะพิจารณาพิพากษาได้ตามบทบัญญัติกฎหมายดังกล่าวซึ่งศาลชั้นต้นต้องสั่งไม่รับฟ้อง การที่ศาลชั้นต้นรับฟ้องและพิจารณาพิพากษาคดีจึงเป็นการไม่ชอบ
เมื่อคดีนี้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นและยกคำสั่งศาลชั้นต้นที่รับฟ้องคดีนี้ เป็นผลให้คำพิพากษาของศาลชั้นต้นที่พิพากษายกฟ้องและให้โจทก์ใช้ค่าทนายความแทนจำเลยทั้งสองถูกลบล้างไป อันเป็นการสั่งไม่รับคำฟ้องของโจทก์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 151 วรรคหนึ่ง ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาให้คืนค่าขึ้นศาลทั้งสองศาลและค่าธรรมเนียมใช้แทนแก่โจทก์ชอบแล้ว
of 77