พบผลลัพธ์ทั้งหมด 754 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4212/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องแย้งขับไล่จากที่ดินหลังซื้อขายไม่สำเร็จ และประเด็นค่าขึ้นศาลเกินจำนวน
คดีก่อนจำเลยที่ 1 ฟ้องขอให้ขับไล่โจทก์ออกจากที่ดิน 84 แปลง ซึ่งไม่มีที่ดินโฉนดเลขที่ 3689 ที่มีชื่อจำเลยที่ 2 เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์แต่ผู้เดียวรวมอยู่ด้วย แม้จำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นภริยาสามีกันโดยชอบด้วยกฎหมาย อันถือได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของรวมกับจำเลยที่ 2 ด้วยก็ตาม แต่เมื่อที่ดินดังกล่าวมิใช่ที่ดินที่พิพาทกันในคดีก่อน เป็นเพียงที่ดินที่จำเลยที่ 1 เสนอขายให้แก่โจทก์รวมไปกับที่ดิน 84 แปลง เพื่อระงับข้อพิพาทในคดีก่อนด้วยการทำสัญญาประนีประนอมยอมความเท่านั้น โดยตกลงกันว่าหากโจทก์ผิดนัดไม่ชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ให้จำเลยที่ 1 บังคับคดีตามฟ้อง เมื่อโจทก์ผิดนัด จำเลยที่ 1 ก็บังคับคดีได้เพียงที่ดิน 84 แปลง ตามฟ้องในคดีก่อน ไม่อาจบังคับคดีเกี่ยวกับที่ดินโฉนดเลขที่ 3689 ได้ เพราะมิใช่ส่วนหนึ่งของฟ้องในคดีก่อน ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 2 เกี่ยวกับที่ดินโฉนดเลขที่ 3689 ที่ขอให้ขับไล่โจทก์จึงไม่เป็นการรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน ไม่เป็นฟ้องซ้ำ อันจะต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาซื้อขายที่ดินโฉนดเลขที่ 3689 ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 อ้างว่าทำเพื่ออำพรางการกู้เงินโดยมีที่ดินดังกล่าวเป็นประกันการชำระหนี้ จำเลยที่ 2 ให้การต่อสู้ว่าสัญญาซื้อขายสมบูรณ์ โจทก์ขายที่ดินโดยสมัครใจ และฟ้องแย้งขอให้ขับไล่โจทก์ออกไปจากที่ดินดังกล่าว โจทก์ให้การแก้ฟ้องแย้งโดยยืนยันตามฟ้องเดิม จึงเป็นการโต้แย้งกันเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์เหนือที่ดิน หากผลคดีเป็นไปตามข้ออ้างของฝ่ายใด ฝ่ายนั้นย่อมได้ไปซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าว จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 150 วรรคหนึ่ง ซึ่งตามสัญญาซื้อขายที่ดินตกลงซื้อขายในราคา 145,000,000 บาท จึงถือว่าทุนทรัพย์ที่พิพาทในที่ดินแปลงนี้เท่ากับจำนวนเงินที่ซื้อขายกัน มิใช่ราคาประเมิน 18,400,000 บาท ตามที่จำเลยที่ 2 ให้การและฟ้องแย้ง เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องของโจทก์และยกฟ้องแย้งของจำเลยที่ 2 เกี่ยวกับที่ดินแปลงนี้ โจทก์และจำเลยที่ 2 ต่างอุทธรณ์ขอให้บังคับตามคำขอของแต่ละฝ่ายเช่นเดียวกันกับคำขอในศาลชั้นต้น ราคาทรัพย์สินที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์จึงเป็นอย่างเดียวกับในศาลชั้นต้น แม้ต่อมาโจทก์จะขอถอนอุทธรณ์ และศาลมีคำสั่งอนุญาต ก็ไม่ทำให้ทุนทรัพย์ในชั้นอุทธรณ์เปลี่ยนแปลงไป จำเลยที่ 2 ต้องชำระค่าขึ้นศาลตามตาราง 1 (1) ก ท้าย ป.วิ.พ. เป็นเงิน 295,000 บาท
จำเลยที่ 2 ฎีกาฝ่ายเดียว โจทก์มิได้ฎีกา ปัญหากรรมสิทธิ์ในที่ดินโฉนดเลขที่ 3689 จึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 ว่า จำเลยที่ 2 เป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินแปลงนี้ คงมีปัญหาตามฎีกาของจำเลยที่ 2 ว่าฟ้องแย้งของจำเลยที่ 2 เกี่ยวกับที่ดินแปลงนี้เป็นฟ้องซ้ำหรือไม่ และจำเลยที่ 2 ขอให้บังคับโจทก์และบริวารขนย้ายทรัพย์สินออกไปจากที่ดินได้หรือไม่ คดีของจำเลยที่ 2 ในชั้นฎีกาจึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องชำระค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาตาม ตาราง 1 (2) ก ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 150 วรรคสอง เป็นเงิน 200 บาท แต่จำเลยที่ 2 ชำระมา 295,000 บาท เกินมา 294,800 บาท จึงคืนให้แก่จำเลยที่ 2
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาซื้อขายที่ดินโฉนดเลขที่ 3689 ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 อ้างว่าทำเพื่ออำพรางการกู้เงินโดยมีที่ดินดังกล่าวเป็นประกันการชำระหนี้ จำเลยที่ 2 ให้การต่อสู้ว่าสัญญาซื้อขายสมบูรณ์ โจทก์ขายที่ดินโดยสมัครใจ และฟ้องแย้งขอให้ขับไล่โจทก์ออกไปจากที่ดินดังกล่าว โจทก์ให้การแก้ฟ้องแย้งโดยยืนยันตามฟ้องเดิม จึงเป็นการโต้แย้งกันเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์เหนือที่ดิน หากผลคดีเป็นไปตามข้ออ้างของฝ่ายใด ฝ่ายนั้นย่อมได้ไปซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าว จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 150 วรรคหนึ่ง ซึ่งตามสัญญาซื้อขายที่ดินตกลงซื้อขายในราคา 145,000,000 บาท จึงถือว่าทุนทรัพย์ที่พิพาทในที่ดินแปลงนี้เท่ากับจำนวนเงินที่ซื้อขายกัน มิใช่ราคาประเมิน 18,400,000 บาท ตามที่จำเลยที่ 2 ให้การและฟ้องแย้ง เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องของโจทก์และยกฟ้องแย้งของจำเลยที่ 2 เกี่ยวกับที่ดินแปลงนี้ โจทก์และจำเลยที่ 2 ต่างอุทธรณ์ขอให้บังคับตามคำขอของแต่ละฝ่ายเช่นเดียวกันกับคำขอในศาลชั้นต้น ราคาทรัพย์สินที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์จึงเป็นอย่างเดียวกับในศาลชั้นต้น แม้ต่อมาโจทก์จะขอถอนอุทธรณ์ และศาลมีคำสั่งอนุญาต ก็ไม่ทำให้ทุนทรัพย์ในชั้นอุทธรณ์เปลี่ยนแปลงไป จำเลยที่ 2 ต้องชำระค่าขึ้นศาลตามตาราง 1 (1) ก ท้าย ป.วิ.พ. เป็นเงิน 295,000 บาท
จำเลยที่ 2 ฎีกาฝ่ายเดียว โจทก์มิได้ฎีกา ปัญหากรรมสิทธิ์ในที่ดินโฉนดเลขที่ 3689 จึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 ว่า จำเลยที่ 2 เป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินแปลงนี้ คงมีปัญหาตามฎีกาของจำเลยที่ 2 ว่าฟ้องแย้งของจำเลยที่ 2 เกี่ยวกับที่ดินแปลงนี้เป็นฟ้องซ้ำหรือไม่ และจำเลยที่ 2 ขอให้บังคับโจทก์และบริวารขนย้ายทรัพย์สินออกไปจากที่ดินได้หรือไม่ คดีของจำเลยที่ 2 ในชั้นฎีกาจึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องชำระค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาตาม ตาราง 1 (2) ก ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 150 วรรคสอง เป็นเงิน 200 บาท แต่จำเลยที่ 2 ชำระมา 295,000 บาท เกินมา 294,800 บาท จึงคืนให้แก่จำเลยที่ 2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 450/2567
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟ้องแย้งค่าเสียโอกาสทางธุรกิจจากสัญญาซื้อขายที่ดิน: มูลหนี้เกี่ยวเนื่องกับฟ้องเดิมหรือไม่
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยผิดสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินรวม 7 โฉนด เนื่องจากจำเลยปกปิดข้อเท็จจริงเกี่ยวกับที่ดินตามสัญญาแปลงหนึ่งว่าไม่ได้อยู่ระหว่างการถูกฟ้องร้องดำเนินคดี ทั้งที่จำเลยยังมีคดีพิพาทกับเจ้าของที่ดินเดิมเกี่ยวกับที่ดินแปลงดังกล่าว อันเป็นการผิดคำรับรองที่ระบุไว้ในสัญญาจะซื้อจะขาย ขอให้จำเลยคืนเงินมัดจำและใช้เบี้ยปรับตามสัญญา จำเลยให้การว่า จำเลยแจ้งเรื่องข้อพิพาทระหว่างจำเลยกับเจ้าของที่ดินเดิมให้โจทก์ทราบแล้ว จำเลยไม่ได้ผิดสัญญา โจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาไม่ไปรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินจึงไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาเรียกเงินมัดจำ ค่าปรับหรือค่าเสียหายจากจำเลย และฟ้องแย้งว่าโจทก์ตกลงทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินดังกล่าวพร้อมอาคารสำนักงานขายและใบอนุญาตที่จำเลยได้รับอนุญาตให้จัดทำโครงการและก่อสร้างคอนโดมิเนียมจากจำเลย โครงการดังกล่าวจำเลยสร้างเพื่อจำหน่ายให้แก่ลูกค้า หากจำหน่ายหมดจะมีกำไร 283,160,000 บาท การที่โจทก์ผิดสัญญา ไม่ไปรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินแล้วไม่ส่งมอบพื้นที่และอาคารสำนักงานขายคืนแก่จำเลยในสภาพเดิมและโอนสิทธิใบอนุญาตกลับคืนให้จำเลย ทำให้จำเลยเสียโอกาสในทางธุรกิจ ขอให้โจทก์ชดใช้ค่าเสียหายเป็นเงินจำนวนดังกล่าว สภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างอันอาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาตามฟ้องแย้ง จึงเป็นเรื่องที่จำเลยอ้างว่าได้รับความเสียหายเป็นค่าเสียโอกาสในการทำธุรกิจที่จะได้กำไรจากการก่อสร้างและจำหน่ายห้องชุดด้วยตนเอง เพราะโจทก์ผิดสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินฉบับเดียวกัน และโจทก์ทราบรายละเอียดโครงการของจำเลยมาตั้งแต่ต้น ฟ้องแย้งของจำเลยเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับฟ้องเดิมตาม ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1399/2567
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าขึ้นศาลไม่ครบถ้วนกรณีอุทธรณ์ทั้งฟ้องเดิมและฟ้องแย้ง ศาลมีอำนาจจำหน่ายคดีในส่วนที่ทิ้งฟ้อง
จำเลยอุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยเพียงประเด็นเดียวว่า สัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นโมฆะเพราะเป็นนิติกรรมอำพรางการกู้เงินหรือไม่ และขอให้ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับคำพิพากษาศาลชั้นต้น ซึ่งประเด็นดังกล่าวเป็นข้อเท็จจริงตามคำฟ้องของโจทก์และคำให้การของจำเลยที่ให้การต่อสู้ว่าสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นนิติกรรมอำพรางการกู้เงินตกเป็นโมฆะและฟ้องแย้งขอให้เพิกถอนสัญญาซื้อขายดังกล่าว จึงเป็นประเด็นข้อพิพาทโดยตรงที่จำเลยยกขึ้นต่อสู้และยื่นอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์จึงต้องวินิจฉัยเสียก่อนว่าสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นนิติกรรมอำพรางการกู้เงินหรือไม่ แล้วจึงวินิจฉัยฟ้องแย้งของจำเลยต่อไป ดังนั้น การที่จำเลยเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์เพียงจำนวนเดียว 200,000 บาท และวางเงินค่าธรรมเนียมใช้แทนอีก 215,500 บาท นั้น แม้ในอุทธรณ์ของจำเลยแผ่นสุดท้ายจะมีลายมือเขียนคำว่า "ฟ้องแย้ง" ไว้เหนือตราประทับเกี่ยวกับค่าธรรมเนียมศาลซึ่งเป็นลายมือเขียนของพนักงานรับฟ้องอุทธรณ์ ที่อาจทำให้เข้าใจว่าเป็นการเสียค่าขึ้นศาลในส่วนฟ้องแย้ง แต่คดีนี้ทุนทรัพย์ในส่วนฟ้องเดิมและในส่วนฟ้องแย้งมีจำนวน 28,000,000 บาทเท่ากัน และตามสำเนาใบรับเงินค่าธรรมเนียมท้ายอุทธรณ์ก็ไม่ได้ระบุว่าเป็นค่าขึ้นศาลในส่วนฟ้องเดิมหรือฟ้องแย้ง ทั้งการตรวจรับอุทธรณ์ของจำเลยไว้พิจารณานั้นเป็นกระบวนพิจารณาที่ศาลชั้นต้นทำการแทนศาลอุทธรณ์ เมื่ออุทธรณ์ของจำเลยโดยรวมเป็นการโต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่าสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นนิติกรรมอำพรางการกู้เงิน มิใช่นิติกรรมที่สมบูรณ์ดังที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัย การที่จำเลยเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์มาเพียงจำนวนเดียว 200,000 บาท ย่อมถือได้ว่าเป็นการเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ในส่วนฟ้องเดิมครบถ้วนแล้ว ศาลอุทธรณ์ต้องพิจารณาคดีในส่วนฟ้องเดิมตามอุทธรณ์ของจำเลยต่อไป ส่วนที่จำเลยเพิกเฉยไม่ดำเนินการเสียค่าขึ้นศาลให้ครบถ้วนตามคำสั่งศาลอุทธรณ์ภายในระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด จึงเป็นกรณีที่จำเลยทิ้งฟ้องอุทธรณ์เฉพาะในส่วนฟ้องแย้ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5122-5123/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดินสาธารณสมบัติ การฟ้องแย้งขับไล่ และอำนาจฟ้องของหน่วยงานรัฐ
เมื่อที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ดินไม่มีหนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิที่ดินมิได้ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของบุคคลหนึ่งบุคคลใด ให้ถือว่าเป็นของรัฐ ตาม ป.ที่ดิน มาตรา 2 และแม้หากที่ดินพิพาทจะพ้นจากการเป็นที่ชายตลิ่งไปโดยสภาพ เนื่องจากในฤดูฝนน้ำท่วมไม่ถึง แต่ที่ดินพิพาทก็ยังคงเป็นของรัฐ ประเภทที่ดินรกร้างว่างเปล่า อันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินซึ่งใช้เพื่อสาธารณประโยชน์หรือสงวนไว้เพื่อประโยชน์ร่วมกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 1304 (1) การที่โจทก์ที่ 1 ที่ 2 ที่ 5 ที่ 7 และที่ 9 เข้ายึดถือครอบครองที่ดินพิพาทโดยไม่มีสิทธิครอบครองและโดยไม่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นการต้องห้ามตาม ป.ที่ดิน มาตรา 9 ย่อมไม่มีสิทธิอ้างการครอบครองที่ผิดกฎหมายใช้ยันรัฐได้ไม่ว่าในทางใด การฟ้องจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐเพื่อไม่ให้ออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงในที่ดินพิพาท จึงมีผลเท่ากับอ้างสิทธิครอบครองมายันรัฐซึ่งไม่อาจกระทำได้ โจทก์ที่ 1 ที่ 2 ที่ 5 ที่ 7 และที่ 9 ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสอง ส่วนจำเลยที่ 2 นั้น พ.ร.บ.ลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 มาตรา 122 บัญญัติให้นายอำเภอมีหน้าที่ร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการดูแลรักษาและคุ้มครองป้องกันที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ประชาชนใช้ประโยชน์ร่วมกันในกรณีที่มีข้อพิพาทหรือคดีเกี่ยวกับที่ดิน นายอำเภอและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะร่วมกันดำเนินการ หรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะดำเนินการ ก็ให้มีอำนาจกระทำได้ จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 จึงมีอำนาจฟ้องแย้งขอให้บังคับโจทก์ที่ 1 ที่ 2 ที่ 5 ที่ 7 และที่ 9 พร้อมบริวารออกไปจากที่ดินพิพาทได้