คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ค่าจ้าง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 877 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 258/2486

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เลิกสัญญาจ้างทำของก่อนกำหนด: ค่าสินไหมทดแทนไม่ใช่ค่าจ้าง
สัญญาจ้างว่าความเป็นสัญญาจ้างทำของตามมาตรา 587
เมื่อผู้จ้างว่าความบอกเลิกสัญญาก่อนกำหนด ผู้จ้างว่าความจะต้องเสียค่าสินไหมทดแทนอันเกิดแต่การเลิกสัญญานั้นหาต้องรับผิดใช้เงินตามจำนวนค่าจ้างที่กำหนดไว้ในสัญญาไม่
(อ้างฎีกาที่ 382/2465)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 949/2484

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างขนส่ง: ผู้รับจ้างผิดสัญญา ไม่สามารถเรียกร้องค่าจ้างได้
จ้างเหมารถยนตร์เดินทางไปในที่ต่าง ๆ 3 วัน ไปได้วันเดียวผู้รับจ้างไม่ยอมไปส่งเป็นการผิดสัญญา ผู้รับจ้างจะฟ้องเรียกค่าจ้างไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 812/2482

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงตัดอำนาจฟ้องขัดต่อกฎหมาย และการผิดสัญญาจ่ายค่าจ้างรายเดือน
สัญญาที่มีกำหนดระยะเวลาแน่นอนว่าต้องจ่ายค่าจ้างเป็นรายเดือนนั้น ถ้าไม่จ่ายภายใน 1 เดือนก็ถือว่าผิดสัญญามิพักต้องบอกกล่าวให้ชำระหนี้อีก. ประมวลวิธีพิจารณาแพ่งการแปลเอกสาร อำนาจฟ้อง
ประมวลแพ่งฯมาตรา 113 สัญญาที่มีข้อความตัดอำนาจคู่สัญญามิให้ฟ้องร้องยังโรงศาล ข้อความนั้นเป็นโมฆะกรรม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 925/2481

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าเดินทางมารับหน้าที่ถือเป็นค่าจ้าง เสียภาษีเงินได้ตามกฎหมาย
เงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างในค่าเดินทางมารับหน้าที่+ต้องถือว่าเป็นประโยชน์+ซึ่งนายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นค่าแรงงานตาม ม.7(ก) ไม่ใช่เป็นเบี้ยทดแทนรายจ่ายพิเศษหรือประโยชน์เพิ่มอันจ่ายโดยสุจริตเป็นโสหุ้ยอันระบุฉะเพาะซึ่งลูกจ้างต้องจ่าย+การปฏิบัติการตามหน้าที่ตาม ม.8 วรรค 2 และเงินจำนวนที่กล่าวนี้จะต้องเสียภาษีเงินได้+คดีอังกฤษ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 924/2481

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าเดินทางไปพักร้อนต่างประเทศถือเป็นประโยชน์เพิ่มจากค่าจ้าง ต้องเสียภาษี
เงินที่นายจ้างให้แก่ลูกจ้างเป็นค่าเดินทางไปเยี่ยมบ้านยังต่างประเทศนั้นถือว่าเป็นประโยชน์เพิ่มซึ่งนายจ้าง+ายให้แก่ลูกจ้างเป็นค่าแรงงานตาม ม.7 (ก) เงินจำนวนนี้ต้องเสียภาษีเงินได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6/2478

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเรียกร้องค่าจ้างแรงงาน
เรียกค่าจ้างแรงงาน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 462/2478

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกสัญญาจ้างเนื่องจากเหตุสุดวิสัยและการพ้นวิสัยของวัตถุแห่งสัญญา ศาลยืนตามศาลล่างให้จำเลยจ่ายค่าจ้าง
จำเลยจ้างโจทก์มาทำงานเกี่ยวกับหนังสือพิมพ์ แล้วภายหลังบรรณาธิการได้ละทิ้งหน้าที่ไปเสีย จำเลยขอคนอื่นเป็นบรรณาธิการแทนรัฐบาลพิจารณาเห็นว่ายังไม่สมควรจึงไม่อนุญาตให้หนังสือพิมพ์จึงต้องเป็นอันเลิกล้มไปตาม พ.ร.บ. เอกสารหนังสือพิมพ์ พฤตติการณ์ดังนี้หากให้ตกเป็นการพ้นวิสัยที่จำเลยจะต้องชำระค่าจ้างให้โจทก์ไม่ ทั้งจำเลยหามีสิทธิที่จะเลิกสัญญาในทันทีก่อนกำหนดเวลาตามสัญญาไม่ ม.113 ใช้บังคับแก่กรณีที่ไปเอาการพ้นวิสัยมาเป็นวัตถุแห่งสัญญาในเบื้องต้นหาได้หมายถึงวัตถุแห่งสัญญมาเป็นพ้นวิสัยในภายหลังไม่ฎีกาอุทธรณ์ปัญหาข้อเท็จจริงข้อที่ว่าหนังสือพิมพ์ถูกปิดเพราะความผิดของใครนั้นเป็นปัญหาข้อเท็จจริงสัญญาทางพระราชไมตรีคดีที่คนบังคับอเมริกันเป็นคู่ความ ๆ ฎีกาได้แต่ฉะเพาะปัญหาข้อกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 127/2478

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การมอบหมายให้หักเงินค่าจ้างและการผิดสัญญาทางแพ่ง ไม่เข้าข่ายความผิดฐานยักยอก
พฤตติการณ์ที่ไม่เป็นผิดในทางอาญาลูกหนี้รับจ้างทำสิ่งของให้จำเลย เจ้าหนี้จึงมอบให้จำเลยหักเงินค่าจ้างไว้ให้จำเลยได้จัดการหักเงินค่าจ้างไว้ให้เจ้าหนี้แล้ว ภายหลังจำเลยกลับปฏิเสธว่าไม่รู้เห็นในเงินรายนี้ ดังนี้ยังไม่มีผิดฐานยักยอกในทางอาญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 399/2477

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความค่าจ้าง, การโอนหนี้, ความผูกพันเจ้าหนี้: สิทธิเรียกร้องเงินเดือนมีอายุความ 5 ปีตามมาตรา 166 การตกลงโอนหนี้โดยไม่ได้รับความยินยอมจากเจ้าหนี้ไม่ผูกพันเจ้าหนี้
เงินเดือนเป็นเงินที่มีกำหนดจ่ายเป็นระยะเวลาอายุความเรียกร้องมีกำหนด 5 ปี ตามมาตรา 166 ไม่ใช่มาตรา 165 อนุมาตรา 8+บังคับเรียกเอาค่าจ้าง+ไม่กำหนดจ่ายเป็นระยะเวลา ลูกหนี้ร่วมกันตกลงให้ลูกหนี้ร่วมคน 1 รับผิด+หนี้สินรายนั้นแต่ผู้เดียว +เจ้าหนี้ไม่รู้เห็นยินยอม+นั้นข้อตกลงนั้นไม่ผูก+เจ้าหนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9196/2559

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักค่า CFI และ LAPSE จากค่าจ้าง: นายจ้างไม่มีสิทธิหัก หากไม่ใช่เงินตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน
เมื่อค่าจ้างที่โจทก์ค้างจ่ายลูกจ้างซึ่งเป็นพนักงานขายตามคำสั่งของจำเลยนั้นมิได้มีค่าจ้างที่เป็นส่วนของค่าคอมมิสชันรวมอยู่ด้วย และเมื่อค่า CFI และค่า LAPSE ซึ่งเป็นค่าคอมมิสชันจ่ายล่วงหน้าสำหรับกรมธรรม์ประกันชีวิตที่ถูกลูกค้ายกเลิกในภายหลัง ที่โจทก์จะนำมาหักจากค่าจ้างนั้นมิใช่เงินประเภทใดประเภทหนึ่งตามมาตรา 76 (1) ถึง (5) แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ที่จะให้นายจ้างมีสิทธินำมาหักออกจากค่าจ้าง โจทก์จึงไม่มีสิทธินำค่า CFI และค่า LAPSE ดังกล่าวมาหักออกจากค่าจ้างที่ค้างจ่ายได้
of 88