คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ผลผูกพัน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 804 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 69/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงนอกศาลมีผลผูกพัน แม้ศาลยังมิได้นำมาพิจารณา การบังคับคดีจึงไม่ชอบหากจำเลยยังไม่ผิดนัด
หลังจากสืบพยานโจทก์เสร็จแล้ว โจทก์และจำเลยเจรจาตกลงกันในส่วนค่าเสียหายว่า จำเลยยินยอมชดใช้เงินให้แก่โจทก์จำนวน 1,000,000 บาท โดยจำเลยจะผ่อนชำระให้แก่โจทก์เดือนละ 20,000 บาท และจำเลยได้สั่งจ่ายเช็คจำนวน 12 ฉบับ มอบให้แก่โจทก์ ศาลชั้นต้นบันทึกข้อตกลงดังกล่าวไว้ในรายงานกระบวนพิจารณา และภายหลังจากศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้วโจทก์มิได้ดำเนินการบังคับคดี แต่ได้นำเช็คที่จำเลยสั่งจ่ายไปเรียกเก็บเงินได้ทุกฉบับ พฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่าโจทก์ยอมรับเอาเงื่อนไขตามที่ศาลชั้นต้นบันทึกไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาเป็นข้อตกลงกันระหว่างโจทก์และจำเลยโดยปริยายแล้ว ส่วนที่โจทก์และจำเลยได้ทำบันทึกในลักษณะเดียวกันมีข้อความเพิ่มเติมจากที่ศาลชั้นต้นบันทึกไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาว่า ข้อตกลงให้มีผลผูกพันต่อคู่กรณีไปแม้ว่าจะมีผลของคำพิพากษาคดีนี้ออกมาเช่นไรคู่กรณีตกลงสละสิทธิที่จะเรียกร้องตามผลของคำพิพากษาดังกล่าว ...หากจำเลยผิดนัดตามข้อตกลง โจทก์มีสิทธิที่จะบังคับในส่วนที่เสียผลประโยชน์ได้โดยชอบต่อไปตามคำพิพากษานั้น ก็เป็นเพียงการยืนยันเจตนาของโจทก์กับจำเลยให้ชัดเจนขึ้นเท่านั้น ข้อตกลงตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นดังกล่าวจึงมีผลบังคับได้ ส่วนที่โจทก์อ้างว่าข้อตกลงดังกล่าวเป็นการสละสิทธิเพียงชั่วคราว โจทก์ยังมีสิทธิบังคับคดีตามคำพิพากษาได้นั้น ก็เป็นกรณีที่จำเลยจะต้องผิดนัดตามข้อตกลงนั้นเสียก่อน เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า จำเลยยังไม่ได้ผิดนัดชำระหนี้ให้แก่โจทก์ตามที่โจทก์อ้างในคำขอออกหมายบังคับคดี การที่ศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดีตามคำขอของโจทก์ และโจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดีไปยึดทรัพย์ของจำเลยตามหมายบังคับคดีดังกล่าว จึงเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3195/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำรับสารภาพจำเลยมีผลผูกพัน ศาลมิอาจลบล้างด้วยรายงานสืบเสาะพินิจได้
เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยประกอบกิจการให้เช่า แลกเปลี่ยนหรือจำหน่ายแผ่นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่บันทึกภาพและเสียงซึ่งนำมาฉายให้เห็นภาพเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่องในลักษณะที่เป็นเกมการเล่นอันเป็นวีดิทัศน์ โดยทำเป็นธุรกิจและได้ประโยชน์ตอบแทนโดยไม่ได้รับอนุญาตจากนายทะเบียน จำเลยให้การรับสารภาพข้อเท็จจริงจึงต้องรับฟังเป็นยุติตามฟ้อง และ พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.2551 มาตรา 82 ให้ระวางโทษปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงห้าแสนบาท ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางย่อมพิพากษาโดยไม่สืบพยานหลักฐานต่อไปก็ได้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 176 แม้ว่า พ.ร.บ.วิธีดำเนินการคุมความประพฤติตามประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ.2522 มาตรา 13 จะบัญญัติให้ศาลมีอำนาจที่จะรับฟังรายงานและความเห็นของพนักงานคุมประพฤติโดยไม่ต้องมีพยานบุคคลประกอบก็ตาม แต่ก็เพียงการนำข้อเท็จจริงที่ปรากฏในรายงานการสืบเสาะและพินิจจำเลย และความเห็นของพนักงานคุมประพฤติมารับฟังเพื่อประกอบการใช้ดุลพินิจในการกำหนดโทษที่จะลงแก่จำเลยเท่านั้นมิใช่เป็นการนำมารับฟังเป็นพยานหลักฐานเพื่อวินิจฉัยการกระทำที่ถูกฟ้องด้วย การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางนำข้อเท็จจริงตามรายงานการสืบเสาะและพินิจที่ว่าจำเลยเป็นผู้รับจ้างขายวีดิทัศน์ของกลางมาเป็นเหตุยกฟ้องโจทก์เป็นการไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2551 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 176 วรรคหนึ่ง และ พ.ร.บ.วิธีดำเนินการคุมความประพฤติตามประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ.2522 มาตรา 13 เพราะศาลจะนำข้อเท็จจริงในรายงานการสืบเสาะและพินิจมาลบล้างคำรับสารภาพของจำเลยไม่ได้ เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพการกระทำของจำเลยดังกล่าวจึงเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.2551 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง และมีบทลงโทษตามมาตรา 82

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2542/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อจะขายมีผลผูกพันสัญญาซื้อขาย การต่อเติมอาคารขัดเงื่อนไขสัญญา
สัญญาจะซื้อจะขายเป็นสัญญาเบื้องต้น การทำสัญญาซื้อขายต่อมาภายหลังก็เพื่อให้เป็นไปตามความประสงค์ในสัญญาจะซื้อจะขายให้มีผลสมบูรณ์ เว้นแต่สัญญาซื้อขายจะมีการเปลี่ยนแปลงหรือยกเลิกเงื่อนไขข้อตกลงในสัญญาจะซื้อจะขาย ดังนั้น สัญญาจะซื้อจะขายจึงถือเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาซื้อขาย มีผลผูกพันคู่สัญญาดังเช่นสัญญาซื้อขาย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13148-13151/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลผูกพันคำพิพากษาเดิม: โจทก์ฟ้องมูลหนี้ซ้ำ ศาลอุทธรณ์อ้างมาตรา 145 วรรคแรก ป.วิ.พ. ยืนตามคำพิพากษาเดิม
มูลหนี้ค่าเบี้ยประกันที่ฟ้องให้จำเลยชำระแก่โจทก์เป็นจำนวนเดียวกันกับมูลหนี้ในคดีหมายเลขแดงที่ ล.24/2543 ของศาลชั้นต้น ที่ศาลฟังว่าจำเลยมิได้เป็นหนี้โจทก์ ซึ่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคแรก คำพิพากษาต้องผูกพันโจทก์ว่าจำเลยมิได้เป็นหนี้ค่าเบี้ยประกันภัยแก่โจทก์ เมื่อโจทก์นำมูลหนี้ค่าเบี้ยประกันภัยซึ่งจำเลยมิได้เป็นหนี้โจทก์มาฟ้องเป็นคดีนี้ ศาลอุทธรณ์ย่อมหยิบยกมาตรา 145 วรรคแรก ขึ้นมาวินิจฉัยว่า โจทก์ผูกพันตามคำพิพากษาคดีหมายเลขแดงที่ ล.24/2543 ของศาลชั้นต้น และไม่อาจนำมูลหนี้เดิมมาฟ้องเป็นคดีนี้อีกได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 805/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้หลังพ้นล้มละลาย: ผลผูกพันของนิติกรรมและดอกเบี้ยย้อนหลัง
หนี้เงินต้นตามจำนวนในเช็ค 22,750,000 บาท เป็นหนี้ที่มาจากเจ้าหนี้ซึ่งมีความผูกพันที่จะต้องชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ของลูกหนี้และได้ชำระหนี้ดังกล่าวแทนลูกหนี้ไปแล้วก่อนวันที่ลูกหนี้ถูกศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดเจ้าหนี้มิได้นำไปขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ จนกระทั่งศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยการประนอมหนี้ก่อนล้มละลายของลูกหนี้ ซึ่งการประนอมหนี้ดังกล่าวผูกมัดเจ้าหนี้ทั้งหมดในเรื่องหนี้ซึ่งอาจขอรับชำระได้ ย่อมมีผลผูกพันหนี้เดิมของเจ้าหนี้ที่ได้ชำระหนี้แทนลูกหนี้นั้นและมีผลให้ลูกหนี้หลุดพ้นจากหนี้ดังกล่าวเท่านั้น แต่เมื่อภายหลังลูกหนี้หลุดพ้นจากภาวะล้มละลายแล้ว ลูกหนี้ได้ทำหนังสือให้แก่เจ้าหนี้ โดยตกลงยอมชำระหนี้เงินต้นจำนวนในเช็ค 22,750,000 บาท จึงเป็นนิติกรรมที่ลูกหนี้ทำขึ้นด้วยความสมัครใจมุ่งโดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์กับเจ้าหนี้และมีผลสมบูรณ์ใช้บังคับกันได้ตามกฎหมาย
ข้อตกลงเกี่ยวกับดอกเบี้ยที่ลูกหนี้จะชำระให้แก่เจ้าหนี้อัตราร้อยละ 15 ต่อปี นับจากวันที่ 24 เมษายน 2532 จนกว่าจะชำระเสร็จ เป็นข้อตกลงให้ดอกเบี้ยย้อนหลังแก่เจ้าหนี้ไปถึงวันที่ลูกหนี้สั่งจ่ายเช็คดังกล่าวมอบให้แก่เจ้าหนี้เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2532 ซึ่งอยู่ในระหว่างที่ลูกหนี้อยู่ในภาวะล้มละลาย เป็นการถือเอาเช็คที่ลูกหนี้สั่งจ่ายมอบให้แก่เจ้าหนี้ซึ่งเป็นโมฆะมาเป็นมูลเรียกดอกเบี้ยจากลูกหนี้ ข้อตกลงในเรื่องดอกเบี้ยส่วนนี้จึงตกเป็นโมฆะเช่นกัน แต่ตามพฤติการณ์คู่กรณีมีเจตนาจะให้ส่วนเงินต้นที่ลูกหนี้จะใช้คืนให้แก่เจ้าหนี้จำนวน 22,750,000 บาท ที่สมบูรณ์แยกออกจากข้อตกลงในเรื่องดอกเบี้ยที่เป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 173 เจ้าหนี้จึงมีสิทธิได้รับชำระหนี้เฉพาะส่วนนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7683/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเรียกร้องหนี้ค่าสินค้าต่อเนื่อง การแจ้งการโอนสิทธิเรียกร้องมีผลผูกพันผู้ซื้อ แม้จะยังไม่มีกำหนดชำระ
จำเลยที่ 1 มีหนังสือถึงจำเลยที่ 5 แจ้งการโอนสิทธิเรียกร้องในหนี้ค่าขายสินค้าไม่ว่าหนี้ในปัจจุบันหรือที่จะเกิดขึ้นในอนาคตที่จำเลยที่ 5 ต้องชำระต่อจำเลยที่ 1 ไปให้แก่โจทก์ หนังสือดังกล่าวยังแจ้งด้วยว่าแม้ใบเรียกเก็บเงินบางฉบับอาจจะไม่มีข้อความที่ระบุข้างต้น ก็ให้ชำระเงินแก่โจทก์ตามรายการในใบเรียกเก็บเงินทุกใบต่อไปจนกว่าจำเลยที่ 1 จะแจ้งเปลี่ยนแปลงเป็นลายลักษณ์อักษร แสดงให้เห็นว่าเป็นการแจ้งการโอนสิทธิเรียกร้องหนี้ค่าขายสินค้าที่จำเลยที่ 5 มีต่อจำเลยที่ 1 ที่จะเกิดขึ้นต่อไปทั้งหมด มิได้เป็นการแจ้งการโอนสิทธิเรียกร้องในหนี้ค่าขายสินค้าเฉพาะราย หลังจากโจทก์และจำเลยที่ 1 ทำสัญญาโอนสิทธิเรียกร้องและมีหนังสือแจ้งการโอนสิทธิเรียกร้องให้แก่จำเลยที่ 5 ดังกล่าวแล้ว จำเลยที่ 5 สั่งซื้อสินค้าจากจำเลยที่ 1 หลายครั้งและชำระหนี้ค่าสินค้าให้แก่โจทก์ครบถ้วนแล้ว ดังนั้นการซื้อขายสินค้าระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 5 จึงเป็นการซื้อขายแบบต่อเนื่อง ไม่ใช่เป็นการซื้อขายสินค้าเจาะจงเฉพาะสิ่ง การโอนสิทธิเรียกร้องในหนี้ค่าขายสินค้าจึงรวมถึงหนี้ค่าสินค้ารายการที่ 1 ถึง 14 ด้วย ซึ่งเป็นเรื่องที่โจทก์มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 5 ชำระหนี้ได้อยู่แล้ว เพียงแต่ยังไม่ถึงกำหนดชำระเท่านั้น ถือได้ว่าโจทก์ได้บอกกล่าวการโอนสิทธิเรียกร้องในหนี้ค่าขายสินค้าให้แก่จำเลยที่ 5 แล้ว ตาม ป.พ.พ. มาตรา 306 วรรคแรก การโอนสิทธิเรียกร้องจึงมีผลผูกพันจำเลยที่ 5 โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 5 ชำระหนี้ค่าขายสินค้าได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5090/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลของคำสั่งอายัดชั่วคราวหลังคดีประธานถึงที่สุดและการบังคับคดีสำเร็จ
คดีที่โจทก์ฟ้องบังคับให้จำเลยชำระเงินอันเป็นคดีประธานศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์ชนะคดี คดีถึงที่สุดไปแล้ว คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้อายัดเงินที่ผู้คัดค้านถึงกำหนดชำระแก่จำเลยไว้ชั่วคราว จึงยังมีผลต่อไปจนกว่าจะได้ปฏิบัติตามคำพิพากษาเท่าที่จำเป็นเพื่อบังคับตามคำพิพากษาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 260 (2) เท่านั้น เมื่อโจทก์ขอออกหมายบังคับคดีและเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ยึดทรัพย์ของผู้คัดค้านออกขายทอดตลาดเพื่อนำเงินมาชำระหนี้โจทก์แล้ว โดยไม่ปรากฏว่าผู้คัดค้านได้โต้แย้งการบังคับคดีดังกล่าว ดังนั้น ปัญหาว่าผู้คัดค้านมีหนี้หรือเงินอันใดที่ต้องชำระให้แก่จำเลยตามหมายอายัดชั่วคราวหรือไม่ ถึงแม้จะพิจารณาต่อไปก็ไม่เป็นประโยชน์ ศาลฎีกาไม่จำต้องวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3141/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องและผลผูกพันบุคคลนอกคดี: สิทธิในรถยนต์เมื่อสัญญาซื้อขายไม่สมบูรณ์
โจทก์ซื้อรถยนต์พิพาทจากห้างหุ้นส่วนจำเลยที่ 1 ชำระราคาครบถ้วนและส่งมอบรถยนต์พิพาทให้โจทก์ในวันที่ทำสัญญาแล้ว แต่ไม่ส่งมอบสมุดคู่มือการจดทะเบียนรถยนต์พิพาท เมื่อโจทก์สอบถามไปยังบริษัท ส. จึงทราบว่าจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 นำสมุดคู่มือการจดทะเบียนรถยนต์พิพาทไปจดทะเบียนให้บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์จำเลยที่ 3 เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ โดยจำเลยที่ 2 ได้เช่าซื้อรถยนต์พิพาทจากจำเลยที่ 3 และจำเลยที่ 3 ได้สั่งซื้อรถยนต์พิพาทจากบริษัท ส. และชำระราคาแล้ว แล้วได้มีการจดทะเบียนให้จำเลยที่ 2 เป็นผู้ครอบครองเมื่อคำฟ้องโจทก์กล่าวอ้างว่าโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รถยนต์พิพาทและครอบครองรถยนต์อยู่ก่อนย่อมมีสิทธิดีกว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 อันเป็นการกล่าวอ้างเพื่อให้ได้รับความคุ้มครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1303 ซึ่งผู้มีอำนาจโอนสิทธิในรถยนต์พิพาทให้โจทก์และจำเลยที่ 3 ต้องเป็นบุคคลคนเดียวกัน คดีจึงมีประเด็นที่ต้องวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนของบริษัท ส. เจ้าของกรรมสิทธิ์รถยนต์พิพาทหรือไม่ และการที่ศาลจะพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีได้นั้นคำพิพากษาต้องมีผลผูกพันบริษัท ส. ด้วย ทำให้บริษัท ส. ต้องเข้ามารับผิดต่อโจทก์ในฐานะคู่สัญญาตาม ป.พ.พ. มาตรา 820 โดยจำเลยที่ 1 ไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัว การเพิกถอนชื่อจำเลยที่ 2 และที่ 3 ออกจากรายการจดทะเบียนและจดทะเบียนใส่ชื่อโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รถยนต์พิพาทซึ่งต้องอาศัยมูลหนี้ตามสัญญาซื้อขายระหว่างโจทก์กับบริษัท ส. ตามคำขอของโจทก์ย่อมกระทบกระเทือนถึงสิทธิของบริษัท ส. ซึ่งเป็นบุคคลนอกคดี เมื่อโจทก์ไม่ได้ฟ้องหรือขอให้เรียกบริษัท ส. เข้ามาเป็นคู่ความในคดีด้วย ผลของคำพิพากษาย่อมไม่ผูกพันบริษัท ส. ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 ศาลจึงไม่อาจพิพากษาให้ตามคำขอของโจทก์ได้ ปัญหาดังกล่าวเกี่ยวกับอำนาจฟ้อง เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอ้าง ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3078-3079/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าที่ดิน, การแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญา, ผลผูกพันตามสัญญา, การบอกเลิกสัญญา, ค่าเสียหาย
แม้คำมั่นจะให้เช่าจะผูกพันผู้ให้เช่าในอันที่ต้องยอมให้ผู้เช่าได้เช่าทรัพย์สินต่อไปอีก และผู้ให้เช่าไม่อาจถอนคำมั่นนั้นได้ภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ก็ตาม แต่ก็มิได้ห้ามคู่สัญญาในอันที่จะตกลงกันยกเลิกคำมั่นนั้นเสียได้ ดังนั้นเมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า โจทก์กับจำเลยตกลงยกเลิกข้อความในสัญญาเช่าต่างตอบแทนเกี่ยวกับคำมั่นนั้นเสียแล้ว คำมั่นดังกล่าวย่อมสิ้นผลไป โจทก์ย่อมไม่อาจบังคับให้จำเลยทำสัญญาเช่าต่อไปภายหลังครบกำหนดเวลาเช่าได้อีก อีกทั้งการตกลงกันยกเลิกคำมั่นดังกล่าวก็หาใช่การที่จำเลยถอนคำมั่นเพียงฝ่ายเดียวอันจะเป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายและเป็นโมฆะกรรมดังที่โจทก์กล่าวอ้างในฎีกาไม่
แม้สัญญาเช่าที่ดินพิพาทจะได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แล้วก็ตาม แต่ข้อความในสัญญาเช่าต่างตอบแทน ข้อ 3 ท้ายสัญญาเช่าเป็นคำมั่นที่จำเลยให้โอกาสแก่โจทก์ในอันที่จะต่อสัญญาเช่าได้อีกเท่านั้น จึงเป็นเพียงข้อตกลงที่แยกต่างหากนอกเหนือจากสัญญาเช่าได้ และคำมั่นจะให้เช่านั้นก็ไม่มีบทบัญญัติกฎหมายใดที่ระบุให้ต้องจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ด้วย เพียงแต่มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อฝ่ายผู้ต้องรับผิดเป็นสำคัญก็มีผลใช้บังคับได้แล้ว ดังนั้นเมื่อคำมั่นจะให้เช่าไม่จำต้องจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่การทำบันทึกยกเลิกคำมั่นจะให้เช่านั้นก็ไม่จำต้องจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เช่นกัน บันทึกข้อตกลงดังกล่าวย่อมมีผลผูกพันโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2645/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับสารภาพข้อหา รับของโจร: ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าการรับสารภาพมีผลผูกพัน และศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษได้
คำให้การของจำเลยที่ยื่นต่อศาลตอนต้นมีความว่า "จำเลยขอให้การรับสารภาพในข้อหารับของโจร แต่ขอให้การปฏิเสธข้อหาลักทรัพย์..." และในตอนท้ายมีความว่า "ขอให้ศาลลงโทษสถานเบาโดยรอการลงโทษ..." อันเป็นการแสดงให้เห็นเจตนาของจำเลยว่าประสงค์จะให้การรับสารภาพข้อหารับของโจร ส่วนข้อความอื่นๆ นั้นเป็นการให้ข้อเท็จจริงเพื่อขอให้ศาลลงโทษสถานเบาเท่านั้น และศาลชั้นต้นจดรายงานกระบวนพิจารณาว่า "จำเลยยื่นคำร้องขอถอนคำให้การเดิมที่ปฏิเสธและขอให้การใหม่รับสารภาพฐานรับของโจร รายละเอียดปรากฏตามคำร้องฉบับลงวันที่วันนี้" แสดงว่าศาลชั้นต้นตรวจคำร้องแล้วเห็นว่า จำเลยให้การรับสารภาพฐานรับของโจร ซึ่งโจทก์ก็ได้แถลงว่า "เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพก็ไม่ติดใจสืบพยานโจทก์อีกต่อไป" อันเป็นการยืนยันตรงกันว่า จำเลย ศาลชั้นต้น และโจทก์เข้าใจตรงกันว่าจำเลยให้การรับสารภาพฐานรับของโจรแล้ว จึงพิพากษาลงโทษจำเลยได้
of 81