พบผลลัพธ์ทั้งหมด 823 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 215/2471
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเรียกร้องเงินสินบน: ศาลบังคับได้หากมีการกล่าวถึงในฟ้อง แม้ไม่มีคำขอเฉพาะเจาะจง
เงินสินบนที่โจทก์ไม่ได้ร้องขอเปนแต่กล่าวมาในฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8832/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบุกรุกเคหสถานเพื่อดูหมิ่น: ศาลลงโทษตาม ม.364 แม้ไม่ได้อ้างในฟ้อง หากบรรยายฟ้องชัดเจน
การที่จำเลยที่ 1 และที่ 3 เข้าไปด่าโจทก์ในบริเวณบ้านของโจทก์ ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของโจทก์ทั้งหมดหรือแต่บางส่วน หรือเป็นการรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของโจทก์โดยปกติสุข จึงไม่เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 362 แต่การที่จำเลยที่ 1 และที่ 3 เข้าไปในบริเวณบ้านอันเป็นเคหสถานของโจทก์เพื่อด่าโจทก์ด้วยถ้อยคำหยาบคาย เป็นการเข้าไปในเคหสถานของโจทก์โดยไม่มีเหตุอันสมควร จึงเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 364 แม้โจทก์ไม่ได้อ้างมาตรา 364 แต่ได้บรรยายฟ้องเกี่ยวกับการกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 3 มีข้อความอันเป็นความผิดตามมาตรา 364 เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้เช่นนี้ศาลจึงมีอำนาจลงโทษจำเลยที่ 1 และที่ 3 ตามมาตรา 364 และบทฉกรรจ์ ตามมาตรา 365 (2) ได้ ทั้งไม่ใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสี่ และมิใช่เป็นการพิพากษาเกินคำขอหรือที่มิได้กล่าวในฟ้อง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6328/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับระยะเวลาอุทธรณ์ พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า และการฟ้องเพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่มิได้ฟ้องจำเลยร่วมตั้งแต่แรก
พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มิได้มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการนับระยะเวลาไว้เป็นพิเศษ การนับระยะเวลาตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติดังกล่าวจึงต้องบังคับตาม ป.พ.พ. บรรพ 1 ลักษณะ 5 เรื่องระยะเวลา อันเป็นบทบัญญัติทั่วไป ซึ่งตามมาตรา 193/3 วรรคสอง บัญญัติว่า "ถ้ากำหนดระยะเวลาเป็นวัน สัปดาห์ เดือนหรือปี มิให้นับวันแรกแห่งระยะเวลานั้นรวมเข้าด้วยกัน เว้นแต่จะเริ่มการในงานนั้นเองตั้งแต่เวลาที่ถือได้ว่าเป็นเวลาเริ่มต้นทำการงานกันตามประเพณี" เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าโจทก์รับหนังสือแจ้งคำสั่งของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าวันที่ 5 สิงหาคม 2553 โจทก์จึงมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อศาลภายใน 90 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งคำสั่งดังกล่าวตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 65 วรรคสอง โดยการนับระยะเวลานั้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/3 วรรคสอง อันเป็นบทบัญญัติทั่วไปมิให้นับวันแรกแห่งระยะเวลานั้นคือวันที่ 5 สิงหาคม 2553 รวมเข้าด้วยกัน จึงต้องเริ่มนับระยะเวลา 90 วัน โดยนับวันที่ 6 สิงหาคม 2553 เป็นวันแรก ซึ่งจะครบกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์คำสั่งในวันที่ 3 พฤศจิกายน 2553 เมื่อโจทก์นำคดีมาฟ้องต่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางในวันที่ 3 พฤศจิกายน 2553 จึงเป็นการใช้สิทธิอุทธรณ์ภายในกำหนดเวลา 90 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งคำสั่งของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าตามมาตรา 65 วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 แล้ว
เมื่อเครื่องหมายการค้าของโจทก์ยังไม่ได้จดทะเบียนในประเทศไทย โจทก์จึงอยู่ในฐานะเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ยังไม่ได้จดทะเบียน หากโจทก์เห็นว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ดีกว่าจำเลยร่วม โจทก์ต้องฟ้องจำเลยร่วมเข้ามาในคดีเพื่อขอให้เพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้น ตามมาตรา 67 แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 ด้วยตั้งแต่ต้น เพราะผู้โต้แย้งสิทธิของโจทก์ในกรณีที่โจทก์อ้างว่ามีสิทธิดีกว่าในเครื่องหมายการค้าที่พิพาทคือจำเลยร่วมหาใช่จำเลยไม่ แม้จำเลยร่วมยื่นคำร้องขอเข้ามาเป็นคู่ความร่วมกับจำเลยภายหลังก็ไม่ทำให้คำฟ้องของโจทก์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายกลับกลายเป็นคำฟ้องที่ชอบด้วยกฎหมายแต่อย่างใด
เมื่อเครื่องหมายการค้าของโจทก์ยังไม่ได้จดทะเบียนในประเทศไทย โจทก์จึงอยู่ในฐานะเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ยังไม่ได้จดทะเบียน หากโจทก์เห็นว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ดีกว่าจำเลยร่วม โจทก์ต้องฟ้องจำเลยร่วมเข้ามาในคดีเพื่อขอให้เพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้น ตามมาตรา 67 แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 ด้วยตั้งแต่ต้น เพราะผู้โต้แย้งสิทธิของโจทก์ในกรณีที่โจทก์อ้างว่ามีสิทธิดีกว่าในเครื่องหมายการค้าที่พิพาทคือจำเลยร่วมหาใช่จำเลยไม่ แม้จำเลยร่วมยื่นคำร้องขอเข้ามาเป็นคู่ความร่วมกับจำเลยภายหลังก็ไม่ทำให้คำฟ้องของโจทก์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายกลับกลายเป็นคำฟ้องที่ชอบด้วยกฎหมายแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6060/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคำนวณปริมาณสารบริสุทธิ์ยาเสพติด: ศาลใช้ข้อเท็จจริงจากการตรวจพิสูจน์ แม้ฟ้องบรรยายไม่ถูกต้อง
แม้โจทก์บรรยายฟ้องว่า เมทแอมเฟตามีนชนิดเกล็ด มีน้ำหนักรวม 84.56 กรัม คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ 88.723 กรัม น้ำหนักรวมน้อยกว่าปริมาณสารบริสุทธิ์ แต่ตามรายงานการตรวจพิสูจน์ ระบุเมทแอมเฟตามีนชนิดเกล็ด มีน้ำหนักรวม 84.56 กรัม มีความบริสุทธิ์ร้อยละ 95.45 เมื่อคำนวณแล้วจะได้ผลเป็นสารบริสุทธิ์ 80.712 กรัม ดังนั้น ตามรายงานการตรวจพิสูจน์ที่ระบุว่า คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ 88.723 กรัม นั้น เป็นการคำนวณผิดพลาด ข้อเท็จจริงที่ปรากฏในการพิจารณาเกี่ยวกับการคำนวณหาปริมาณสารบริสุทธิ์แตกต่างกับข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้อง แต่ไม่ใช่ข้อสาระสำคัญที่จะเป็นเหตุให้รับฟังเป็นพยานหลักฐานไม่ได้ทั้งหมด ทั้งการบรรยายฟ้องที่คลาดเคลื่อนดังกล่าวก็ไม่เป็นเหตุให้จำเลยหลงต่อสู้ ศาลย่อมลงโทษจำเลยตามข้อเท็จจริงที่ได้ความนั้นได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสอง ประกอบ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มาตรา 3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5654/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องล้มละลายของเจ้าหนี้มีประกัน จำเป็นต้องบรรยายฟ้องวิธีการจัดการทรัพย์หลักประกันตามกฎหมายล้มละลาย
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าหนี้มีประกันของจำเลยในฐานะผู้รับจำนอง ทางนำสืบของโจทก์ โจทก์มี จ. ทนายความโจทก์เป็นพยานเบิกความประกอบบันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริงหรือความเห็นว่า ทรัพย์จำนองอันเป็นหลักประกัน ได้แก่ที่ดินโฉนดเลขที่ 57826 และ 57827 ตำบลทุ่งครุ อำเภอราษฎร์บูรณะ กรุงเทพมหานคร พร้อมสิ่งปลูกสร้าง ซึ่งได้ถูกห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล พี.เอ็น.เทพเจริญ เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในคดีหมายเลขแดงที่ 4009/2546 ของศาลแพ่งธนบุรีนำยึดไว้แล้ว และกรมบังคับคดีได้มีหนังสือแจ้งให้ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) เจ้าหนี้เดิมนำส่งต้นฉบับโฉนดที่ดินและหนังสือสัญญาจำนอง เมื่อโจทก์นำสืบเพียงนี้ แสดงว่าเจ้าพนักงานบังคับคดียังมิได้ขายทอดตลาดทรัพย์จำนอง เช่นนี้ การจำนองในที่ดินโฉนดเลขที่ 57826 และ 57827 จึงไม่ระงับสิ้นไป ตาม ป.พ.พ. มาตรา 744 (เดิม) ดังนั้น ขณะที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ โจทก์อยู่ในฐานะเป็นเจ้าหนี้ผู้มีสิทธิเหนือทรัพย์สินของจำเลยในทางจำนอง โจทก์จึงเป็นเจ้าหนี้มีประกันของจำเลยตามความใน พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 6 การฟ้องคดีของโจทก์ต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 10 (2) กล่าวคือ โจทก์ต้องกล่าวมาในฟ้องว่า ถ้าลูกหนี้ล้มละลายแล้ว จะยอมสละหลักประกันเพื่อประโยชน์แก่เจ้าหนี้ทั้งหลาย หรือตีราคาหลักประกันมาในฟ้องซึ่งเมื่อหักกับจำนวนหนี้ของตนแล้ว เงินยังขาดอยู่สำหรับลูกหนี้ซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาเป็นจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งล้านบาท หรือลูกหนี้ซึ่งเป็นนิติบุคคลเป็นจำนวนไม่น้อยกว่าสองล้านบาท เมื่อโจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องเกี่ยวกับวิธีการจัดการทรัพย์หลักประกันตามมาตรา 10 (2) ดังกล่าว คำฟ้องของโจทก์จึงไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 10 (2) ที่ศาลจะรับไว้พิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9597/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาคดีละเมิดลิขสิทธิ์และการจำหน่ายภาพยนตร์ที่ไม่ผ่านการตรวจ พิจารณาองค์ประกอบความผิดและคำบรรยายฟ้อง
โจทก์บรรยายฟ้องและมีคำขอให้ริบแผ่นปกซีดีภาพยนตร์ด้วย เมื่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางไม่ได้วินิจฉัยคำขอของโจทก์ในส่วนนี้ จึงไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 186 (9)
แม้จำเลยให้การรับสารภาพ แต่การริบของกลางตามฟ้องได้นั้น จะต้องได้ความชัดแจ้งตามคำบรรยายฟ้องของโจทก์ว่าจำเลยได้ใช้หรือมีของกลางนั้นไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิดตามที่โจทก์ฟ้อง ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 75 และ ป.อ. มาตรา 33 (1) เมื่อการกระทำความผิดของจำเลยทุกข้อหาตามฟ้องล้วนแล้วแต่เป็นแผ่นดีวีดีภาพยนตร์ทั้งสิ้น ซึ่งโจทก์บรรยายฟ้องระบุชื่อเรียกแผ่นดีวีดีภาพยนตร์แตกต่างจากชื่อเรียกปกซีดีภาพยนตร์ของกลางอย่างชัดเจน แผ่นดีวีดีภาพยนตร์และแผ่นซีดีภาพยนตร์เป็นแผ่นต่างชนิดซึ่งเป็นคนละประเภทกัน อีกทั้งโจทก์บรรยายฟ้องในข้อ 3 ว่า ...และยึดได้แผ่นปกซีดีภาพยนตร์ รวม 4 เล่ม ที่จำเลยใช้ในการเสนอจำหน่ายแผ่นดีวีดีภาพยนตร์ดังกล่าวเป็นของกลาง โดยไม่ปรากฏว่าปกซีดีภาพยนตร์ดังกล่าวได้แสดงให้เห็นถึงงานสร้างสรรค์อันมีลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายทั้งหกปรากฏให้เห็นว่าเป็นการขาย เสนอขาย และมีไว้เพื่อขายแผ่นดีวีดีภาพยนตร์ตามฟ้องรวมอยู่ในหน้าปกดังกล่าวด้วย คำบรรยายฟ้องโจทก์จึงฟังไม่ได้ว่าแผ่นปกซีดีภาพยนตร์ รวม 4 เล่ม ของกลาง เป็นทรัพย์ที่ได้ใช้ในการละเมิดลิขสิทธิ์ผู้เสียหายทั้งหกโดยตรงที่ให้ริบเสียทั้งสิ้นตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 75 หรือเป็นทรัพย์ที่จำเลยได้ใช้ในการกระทำความผิด อันพึงริบได้ตาม ป.อ. มาตรา 33 (1)
พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.2551 มาตรา 25 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ภาพยนตร์ที่จะนำออกฉาย ให้เช่า แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายในราชอาณาจักร ต้องผ่านการตรวจพิจารณาและได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์และวีดิทัศน์" แต่การกระทำที่จะถือว่าเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 25 วรรคหนึ่ง นั้น ผู้กระทำความผิดจะต้องมีหน้าที่นำภาพยนตร์ที่จะนำออกฉาย ให้เช่า แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายในราชอาณาจักรไปผ่านการตรวจพิจารณาและได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์และวีดิทัศน์ เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องใน ข้อ 2 (ข) เพียงว่า จำเลยจำหน่ายแผ่นดีวีดีภาพยนตร์... โดยไม่ผ่านการตรวจพิจารณาและไม่ได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์และวีดิทัศน์และไม่เข้าข้อยกเว้นตามกฎหมาย อันเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมายเท่านั้น แต่ไม่ได้บรรยายฟ้องด้วยว่า จำเลยเป็นผู้มีหน้าที่ต้องนำภาพยนตร์ที่จะนำออกฉาย ให้เช่า แลกเปลี่ยนหรือจำหน่ายในราชอาณาจักรไปผ่านการตรวจพิจารณาอย่างไร การกระทำของจำเลยตามที่โจทก์บรรยายฟ้องย่อมไม่อาจเป็นการฝ่าฝืน พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.2551 มาตรา 25 วรรคหนึ่ง ซึ่งจะเป็นความผิดตามมาตรา 78 ได้ ฟ้องของโจทก์ในข้อหาความผิดดังกล่าว จึงเป็นฟ้องที่มิได้บรรยายถึงข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบของความผิดตาม พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.2551 มาตรา 78 ประกอบมาตรา 25 วรรคหนึ่ง เท่าที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี จึงเป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) แม้จำเลยให้การรับสารภาพ ก็ไม่อาจลงโทษจำเลยในความผิดดังกล่าวได้ ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 45 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง
แม้จำเลยให้การรับสารภาพ แต่การริบของกลางตามฟ้องได้นั้น จะต้องได้ความชัดแจ้งตามคำบรรยายฟ้องของโจทก์ว่าจำเลยได้ใช้หรือมีของกลางนั้นไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิดตามที่โจทก์ฟ้อง ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 75 และ ป.อ. มาตรา 33 (1) เมื่อการกระทำความผิดของจำเลยทุกข้อหาตามฟ้องล้วนแล้วแต่เป็นแผ่นดีวีดีภาพยนตร์ทั้งสิ้น ซึ่งโจทก์บรรยายฟ้องระบุชื่อเรียกแผ่นดีวีดีภาพยนตร์แตกต่างจากชื่อเรียกปกซีดีภาพยนตร์ของกลางอย่างชัดเจน แผ่นดีวีดีภาพยนตร์และแผ่นซีดีภาพยนตร์เป็นแผ่นต่างชนิดซึ่งเป็นคนละประเภทกัน อีกทั้งโจทก์บรรยายฟ้องในข้อ 3 ว่า ...และยึดได้แผ่นปกซีดีภาพยนตร์ รวม 4 เล่ม ที่จำเลยใช้ในการเสนอจำหน่ายแผ่นดีวีดีภาพยนตร์ดังกล่าวเป็นของกลาง โดยไม่ปรากฏว่าปกซีดีภาพยนตร์ดังกล่าวได้แสดงให้เห็นถึงงานสร้างสรรค์อันมีลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายทั้งหกปรากฏให้เห็นว่าเป็นการขาย เสนอขาย และมีไว้เพื่อขายแผ่นดีวีดีภาพยนตร์ตามฟ้องรวมอยู่ในหน้าปกดังกล่าวด้วย คำบรรยายฟ้องโจทก์จึงฟังไม่ได้ว่าแผ่นปกซีดีภาพยนตร์ รวม 4 เล่ม ของกลาง เป็นทรัพย์ที่ได้ใช้ในการละเมิดลิขสิทธิ์ผู้เสียหายทั้งหกโดยตรงที่ให้ริบเสียทั้งสิ้นตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 75 หรือเป็นทรัพย์ที่จำเลยได้ใช้ในการกระทำความผิด อันพึงริบได้ตาม ป.อ. มาตรา 33 (1)
พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.2551 มาตรา 25 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ภาพยนตร์ที่จะนำออกฉาย ให้เช่า แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายในราชอาณาจักร ต้องผ่านการตรวจพิจารณาและได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์และวีดิทัศน์" แต่การกระทำที่จะถือว่าเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 25 วรรคหนึ่ง นั้น ผู้กระทำความผิดจะต้องมีหน้าที่นำภาพยนตร์ที่จะนำออกฉาย ให้เช่า แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายในราชอาณาจักรไปผ่านการตรวจพิจารณาและได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์และวีดิทัศน์ เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องใน ข้อ 2 (ข) เพียงว่า จำเลยจำหน่ายแผ่นดีวีดีภาพยนตร์... โดยไม่ผ่านการตรวจพิจารณาและไม่ได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์และวีดิทัศน์และไม่เข้าข้อยกเว้นตามกฎหมาย อันเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมายเท่านั้น แต่ไม่ได้บรรยายฟ้องด้วยว่า จำเลยเป็นผู้มีหน้าที่ต้องนำภาพยนตร์ที่จะนำออกฉาย ให้เช่า แลกเปลี่ยนหรือจำหน่ายในราชอาณาจักรไปผ่านการตรวจพิจารณาอย่างไร การกระทำของจำเลยตามที่โจทก์บรรยายฟ้องย่อมไม่อาจเป็นการฝ่าฝืน พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.2551 มาตรา 25 วรรคหนึ่ง ซึ่งจะเป็นความผิดตามมาตรา 78 ได้ ฟ้องของโจทก์ในข้อหาความผิดดังกล่าว จึงเป็นฟ้องที่มิได้บรรยายถึงข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบของความผิดตาม พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.2551 มาตรา 78 ประกอบมาตรา 25 วรรคหนึ่ง เท่าที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี จึงเป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) แม้จำเลยให้การรับสารภาพ ก็ไม่อาจลงโทษจำเลยในความผิดดังกล่าวได้ ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 45 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9346/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาจำกัดขอบเขตการวินิจฉัยของศาลชั้นต้นตามฟ้อง และข้อจำกัดการฎีกาเรื่องใหม่
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ถนนที่จำเลยจอดรถมีสภาพมืดไม่มีแสงส่องสว่าง จำเลยไม่ได้เปิดโคมไฟเล็ก โคมไฟท้ายและโคมไฟส่องป้ายทะเบียนรถยนต์เพื่อเป็นสัญญาณให้ผู้ใช้ยานพาหนะเห็นรถที่จอดได้โดยชัดแจ้งในระยะไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยห้าสิบเมตร อันเป็นองค์ประกอบของ พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 61 และกฎกระทรวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2522) โดยไม่ได้บรรยายฟ้องว่า รถบรรทุกสิบล้อคันที่จำเลยขับมีเครื่องยนต์ และอุปกรณ์ของรถขัดข้อง ทั้งมิได้มีคำขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 56 แต่อย่างใด แต่ศาลชั้นต้นกลับวินิจฉัยว่า จำเลยไม่ได้แสดงเครื่องหมายตามลักษณะที่กำหนดในกฎกระทรวงฉบับที่ 11 (พ.ศ.2525) ออกตามความในพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 5 และ 56 วรรคสอง ข้อ 2 (1) ข้อ 3 และข้อ 6 ซึ่งกำหนดให้ผู้ขับขี่รถบรรทุกนอกเขตกรุงเทพมหานคร เขตเมืองพัทยา หรือเขตเทศบาล ต้องแสดงเครื่องหมายหรือสัญญาณในกรณีที่จำเป็นต้องจอดรถอยู่ในทางเดินรถ เนื่องจากเครื่องยนต์หรือเครื่องอุปกรณ์ของรถขัดข้อง โดยมีเครื่องหมายทำด้วยแผ่นโลหะรูปสามเหลี่ยมด้านเท่า ยาวไม่ต่ำกว่าด้านละ 50 เซนติเมตร ติดด้วยแถบสะท้อนแสงพื้นสีขาว ขอบสีแดง กว้าง 5 เซนติเมตร มีรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าสีดำกว้าง 8 เซนติเมตร ยาว 25 เซนติเมตร หัวท้ายมน อยู่บนพื้นสีขาวในแนวดิ่งพร้อมขาตั้ง โดยให้ฐานของรูปสามเหลี่ยมขนานกับพื้นไว้ทั้งด้านหน้าและด้านหลังของรถห่างจากรถไม่ต่ำกว่า 50 เมตร และไม่ได้ให้สัญญาณเป็นไฟกระพริบสีเหลืองอำพันหรือสีขาวติดอยู่หน้ารถทั้งด้านซ้ายและด้านขวา และสัญญาณไฟกระพริบสีแดงหรือสีเหลืองอำพันติดอยู่ท้ายรถทั้งด้านซ้ายและด้านขวา รวมทั้งไม่ได้ตั้งวางกรวยสัญญาณจราจร กองกิ่งไม้หรือวัตถุอื่นใดไว้ด้านท้ายรถของจำเลย อันเป็นการวินิจฉัยเกินไปกว่าที่โจทก์กล่าวในฟ้องไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง และศาลชั้นต้นก็ยังมิได้วินิจฉัยเลยว่า จำเลยไม่ได้เปิดโคมไฟเล็ก โคมไฟท้าย และโคมไฟส่องป้ายทะเบียนรถยนต์ไว้ อันเป็นองค์ประกอบของ พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 61 และกฎกระทรวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2522) ตามที่โจทก์ฟ้องหรือไม่ แม้ศาลชั้นต้นจะปรับบทลงโทษจำเลย ตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 61, 151 ตรงตามคำขอของโจทก์ แต่ก็เป็นการมิชอบเช่นกันเพราะเป็นคำพิพากษาที่ไม่ได้แสดงเหตุผลในการตัดสินในการวินิจฉัยข้อเท็จจริงและปรับเข้าข้อกฎหมาย ตามนัยแห่ง ป.วิ.อ. มาตรา 186 (6)
เมื่อจำเลยเป็นฝ่ายอุทธรณ์ว่า ไม่ได้กระทำความผิดตามฟ้อง และศาลอุทธรณ์ภาค 3 เห็นว่า ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลอุทธรณ์ภาค 3 มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง และศาลอุทธรณ์ภาค 3 ฟังว่า รถบรรทุกสิบล้อของจำเลยได้เปิดโคมไฟเล็ก โคมไฟท้าย และโคมไฟส่องป้ายทะเบียนรถยนต์ไว้ และพิพากษายกฟ้องในความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 61, 151 ด้วย ดังนี้ โจทก์จะฎีกาว่าพยานโจทก์และโจทก์ร่วมเบิกความยืนยันว่า จำเลยจอดรถในบริเวณที่เกิดเหตุโดยไม่ได้เปิดโคมไฟเล็ก โคมไฟท้าย และโคมไฟส่องป้ายทะเบียนรถยนต์ จำเลยจึงกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 61, 151 หาได้ไม่ เพราะถือว่ามิใช่ข้อที่โจทก์ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 3 ต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15
ส่วนความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 54 วรรคสอง, 148 วรรคหนึ่ง กรณีที่ผู้ขับขี่ต้องจอดรถทางด้านซ้ายของทางเดินรถ และจอดรถให้ด้านซ้ายของรถขนานชิดกับขอบทางหรือไหล่ทางในระยะห่างไม่เกินยี่สิบห้าเซนติเมตรนั้น โจทก์บรรยายฟ้องในความผิดฐานนี้ว่า จำเลยจอดรถในช่องเดินรถในลักษณะกีดขวางการจราจรโดยไม่ชิดขอบทางด้านซ้าย แต่เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ตามที่ปรากฏจากภาพถ่ายว่า รถบรรทุกสิบล้อของจำเลยจอดอยู่ในลักษณะเกือบชิดเส้นทึบริมขอบทางด้านซ้าย ซึ่งสอดคล้องกับที่ได้ความจากคำเบิกความของร้อยตำรวจตรี ป. พยานโจทก์และโจทก์ร่วมว่า รถบรรทุกสิบล้อของจำเลยจอดค่อนข้างชิดไปทางซ้าย และเชื่อได้ว่าในช่องเดินรถทางด้านขวาของตัวรถยังมีพื้นที่ว่างอยู่พอสมควร จึงยังรับฟังไม่ได้ว่า จำเลยจอดรถบรรทุกสิบล้อในช่องเดินรถในลักษณะกีดขวางการจราจรโดยไม่จอดรถให้ด้านซ้ายของรถขนานชิดกับขอบทางหรือไหล่ทางในระยะห่างไม่เกินยี่สิบห้าเซนติเมตร การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานดังกล่าว
เมื่อจำเลยเป็นฝ่ายอุทธรณ์ว่า ไม่ได้กระทำความผิดตามฟ้อง และศาลอุทธรณ์ภาค 3 เห็นว่า ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลอุทธรณ์ภาค 3 มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง และศาลอุทธรณ์ภาค 3 ฟังว่า รถบรรทุกสิบล้อของจำเลยได้เปิดโคมไฟเล็ก โคมไฟท้าย และโคมไฟส่องป้ายทะเบียนรถยนต์ไว้ และพิพากษายกฟ้องในความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 61, 151 ด้วย ดังนี้ โจทก์จะฎีกาว่าพยานโจทก์และโจทก์ร่วมเบิกความยืนยันว่า จำเลยจอดรถในบริเวณที่เกิดเหตุโดยไม่ได้เปิดโคมไฟเล็ก โคมไฟท้าย และโคมไฟส่องป้ายทะเบียนรถยนต์ จำเลยจึงกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 61, 151 หาได้ไม่ เพราะถือว่ามิใช่ข้อที่โจทก์ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 3 ต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15
ส่วนความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 54 วรรคสอง, 148 วรรคหนึ่ง กรณีที่ผู้ขับขี่ต้องจอดรถทางด้านซ้ายของทางเดินรถ และจอดรถให้ด้านซ้ายของรถขนานชิดกับขอบทางหรือไหล่ทางในระยะห่างไม่เกินยี่สิบห้าเซนติเมตรนั้น โจทก์บรรยายฟ้องในความผิดฐานนี้ว่า จำเลยจอดรถในช่องเดินรถในลักษณะกีดขวางการจราจรโดยไม่ชิดขอบทางด้านซ้าย แต่เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ตามที่ปรากฏจากภาพถ่ายว่า รถบรรทุกสิบล้อของจำเลยจอดอยู่ในลักษณะเกือบชิดเส้นทึบริมขอบทางด้านซ้าย ซึ่งสอดคล้องกับที่ได้ความจากคำเบิกความของร้อยตำรวจตรี ป. พยานโจทก์และโจทก์ร่วมว่า รถบรรทุกสิบล้อของจำเลยจอดค่อนข้างชิดไปทางซ้าย และเชื่อได้ว่าในช่องเดินรถทางด้านขวาของตัวรถยังมีพื้นที่ว่างอยู่พอสมควร จึงยังรับฟังไม่ได้ว่า จำเลยจอดรถบรรทุกสิบล้อในช่องเดินรถในลักษณะกีดขวางการจราจรโดยไม่จอดรถให้ด้านซ้ายของรถขนานชิดกับขอบทางหรือไหล่ทางในระยะห่างไม่เกินยี่สิบห้าเซนติเมตร การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5593/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อผิดพลาดในการระบุวันเวลาในฟ้อง ไม่ทำให้จำเลยหลงต่อสู้ ศาลลงโทษฐานรับของโจรได้
แม้คำฟ้องโจทก์จะระบุว่าเหตุรับของโจรเกิดเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2556 ก่อนการกระทำผิดฐานลักทรัพย์ในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2557 ตามที่โจทก์บรรยายฟ้องมาก็ตาม แต่ฟ้องโจทก์ก็ได้บรรยายเหตุการณ์การกระทำผิดเป็นลำดับก่อนหลังว่าเกิดเหตุกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ก่อนแล้วต่อมาจึงเกิดเหตุรับของโจร ทั้งในคำร้องขอฝากขังผู้ต้องหาครั้งที่ 1 ของพนักงานสอบสวน ก็มีข้อความระบุว่า เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2557 จำเลยได้รับของโจรโดยรับฝากรถจักรยานยนต์ที่ถูก ช. ผู้ต้องหาในคดีอื่นลักมา ซึ่งจำเลยได้รับสำเนาคำร้องแล้วให้การรับสารภาพ พฤติการณ์ดังกล่าวเชื่อได้ว่าจำเลยเข้าใจดีว่าเหตุรับของโจรเกิดเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2557 การที่โจทก์บรรยายฟ้องว่าเหตุรับของโจรเกิดเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2556 เห็นได้ว่าเกิดจากการพิมพ์ผิดพลาด และวันเวลาที่เกิดเหตุเป็นเพียงรายละเอียดที่โจทก์จะต้องกล่าวในฟ้องเพื่อให้จำเลยเข้าใจข้อหาเท่านั้น มิใช่ข้อสาระสำคัญ เมื่อจำเลยมิได้หลงต่อสู้และให้การรับสารภาพ คำฟ้องโจทก์จึงชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1046/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานมีเครื่องกระสุนปืนที่นายทะเบียนไม่อาจออกใบอนุญาตได้ การบรรยายฟ้องและองค์ประกอบความผิด
เมื่อฟ้องโจทก์บรรยายว่า กระสุนปืน ขนาด .223 (5.56 มม.) เป็นเครื่องกระสุนปืนสามารถใช้ยิงร่วมกับอาวุธปืนที่มีกลไกบรรจุกระสุนปืนเองและสามารถยิงซ้ำได้ และยิงเป็นชุดหรือยิงกล และมีขนาดความยาวของลำกล้องเกิน 160 มม. ซึ่งเป็นอาวุธปืนที่ไม่อาจออกใบอนุญาตให้ได้ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 11 (พ.ศ.2522) ข้อ 2 ออกตามความในพระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 ฟ้องโจทก์จึงครบองค์ประกอบความผิดฐานมีเครื่องกระสุนปืนที่นายทะเบียนไม่อาจออกใบอนุญาตให้ได้ไว้ในครอบครองแล้ว โดยไม่จำต้องบรรยายให้เห็นว่า เครื่องกระสุนปืนของกลางเป็นเครื่องกระสุนปืนชนิตเจาะเกราะหรือชนิดกระสุนเพลิง ซึ่งเป็นข้อยกเว้นตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 11 (พ.ศ.2522) ข้อ 3 ออกตามความในพระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8379/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานหลักฐานนอกฟ้องและบัญชีพยาน โจทก์ไม่ต้องบรรยายฟ้องเอกสารในคดีแพ่ง
พยานหลักฐานที่ศาลมีอำนาจสืบพยานเพิ่มเติมตาม ป.วิ.อ. มาตรา 228 และพยานหลักฐานที่ศาลยอมให้คู่ความฝ่ายที่อ้างว่าคำเบิกความของพยานคนใดที่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งอ้างมาไม่ควรเชื่อฟังนำมาสืบสนับสนุนข้ออ้างของตนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 120 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 นั้น มิใช่การกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำความผิด หรือเป็นข้อเท็จจริงและรายละเอียดที่กฎหมายบังคับว่าโจทก์จะต้องบรรยายมาในฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) อีกทั้งมิใช่พยานหลักฐานที่คู่ความประสงค์ที่จะนำสืบสนับสนุนข้ออ้างหรือข้อเถียงของตนจะต้องนำสืบในกรณีปกติอันจะอยู่ในบังคับแห่ง ป.วิ.อ. มาตรา 229/1 หรือมาตรา 173/1 ที่คู่ความจักต้องยื่นบัญชีระบุพยานหลักฐานต่อศาลภายในกำหนดเวลาตามบทบัญญัติดังกล่าวข้างต้นแต่อย่างใด