พบผลลัพธ์ทั้งหมด 877 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8491/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สวัสดิการบริษัท (ค่าอาหาร/กระดาษทิชชู) ไม่ถือเป็นค่าจ้าง แม้จ่ายเป็นตัวเงิน
ตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของนายจ้างในหมวดสวัสดิการกำหนดว่า นายจ้างจะให้เงินช่วยเหลือเป็นค่าอาหารแก่พนักงานทุกคนที่เป็นพนักงานประจำตามสภาพการจ้าง ยกเว้นพนักงานทดลองงานและพนักงานระดับผู้จัดการแผนกขึ้นไปจะไม่ได้รับเงินช่วยเหลือค่าอาหารนั้น เดิมนายจ้างเคยมอบคูปองค่าอาหารให้แก่ลูกจ้างคนละ 1 ใบ ต่อวัน เป็นมูลค่าวันละ 5 บาท และปี 2535 นายจ้างมอบกระดาษทิชชูให้แก่ลูกจ้างคนละ 2 ม้วน ต่อเดือน แสดงให้เห็นว่านายจ้างมีเจตนาแต่แรกที่จะให้ค่าอาหารเป็นสวัสดิการเพื่อช่วยเหลือพนักงานประจำยกเว้นพนักงานทดลองงานและพนักงานระดับผู้จัดการแผนกขึ้นไป จึงกำหนดไว้ในข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานในหมวดสวัสดิการ และเห็นเจตนาชัดเจนยิ่งขึ้นเมื่อระยะแรกนายจ้างจ่ายค่าอาหารในรูปคูปองและจ่ายกระดาษทิชชูให้ลูกจ้าง แม้ต่อมานายจ้างเปลี่ยนการจ่ายค่าอาหารในรูปคูปองและการจ่ายกระดาษทิชชูมาเป็นตัวเงิน โดยจ่ายให้พนักงานที่มีสิทธิได้รับทุกคนเป็นประจำทุกเดือนและไม่มีเงื่อนไขว่าพนักงานจะขาดลามาสายหรือไม่ ก็เพื่อความสะดวกในการปฏิบัติของบริษัทนายจ้างเท่านั้น มิได้แสดงว่าเมื่อนายจ้างเปลี่ยนการให้สวัสดิการจากรูปแบบอื่นมาเป็นตัวเงินแล้วจะทำให้สวัสดิการดังกล่าวกลายเป็นค่าจ้าง สวัสดิการจึงเป็นตัวเงินได้ ไม่จำต้องเป็นแต่สิ่งของหรือบริการที่นายจ้างจัดให้ลูกจ้าง ดังนั้นเงินค่าอาหารและค่ากระดาษทิชชูที่นายจ้างจ่ายให้ลูกจ้างประจำทุกเดือนจึงเป็นสวัสดิการ ไม่ใช่ค่าจ้างตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 5
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8260-8262/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินรางวัลจากการทำงานไม่ใช่ค่าจ้างตามกฎหมายแรงงาน สิทธิขึ้นอยู่กับสถานภาพการเป็นลูกจ้าง
เงินรางวัลจากการขายรถยนต์ จำเลยตกลงจ่ายให้โจทก์ทั้งสามต่อเมื่อลูกค้าผ่อนค่างวดครบสี่งวดแรกตรงตามกำหนด หากชำระไม่ตรงตามกำหนด โจทก์ทั้งสามต้องติดตามให้ลูกค้าชำระให้ครบภายในงวดที่ 5 มิฉะนั้นจำเลยจะหักเงินรางวัลจากเงินรางวัลรวมที่ทำได้ในงวดที่ 4 แต่หากโจทก์ทั้งสามติดตามให้ลูกค้าชำระครบในงวดที่ 5 จำเลยจะคืนให้พร้อมเงินรางวัลที่หักไว้ ส่วนเงินรางวัลสำหรับการขายประกันคุ้มครองภาระหนี้จะจ่ายให้เมื่อลูกค้าชำระตรงตามกำหนดสี่งวดแรกต่อการขายแต่ละครั้ง เช่นนี้เห็นได้ว่าการจ่ายเงินรางวัลดังกล่าวมุ่งหมายเพื่อเป็นการจูงใจให้พนักงานทำงานอย่างมีประสิทธิภาพในการหาลูกค้าและตรวจสอบความสามารถในการผ่อนชำระเงินค่างวดของลูกค้าเพื่อป้องกันความเสียหายในด้านสินเชื่อเพื่อลดความเสี่ยงในการทำธุรกิจของจำเลยอีกทั้งเป็นการกระตุ้นให้พนักงานกระตือรือร้นหาลูกค้าและติดตามเร่งรัดการจ่ายเงินค่าเช่าซื้อให้ตรงตามกำหนด ดังนั้น พนักงานจะมีโอกาสได้รับเงินดังกล่าวมากน้อยเพียงใดจึงขึ้นอยู่กับความขยันและประสิทธิภาพในการทำงานของแต่ละคน จึงไม่ใช่เงินที่นายจ้างจ่ายให้ลูกจ้างเพื่อเป็นค่าตอบแทนในการทำงานโดยตรงตามสัญญาจ้างสำหรับระยะเวลาการทำงานปกติหรือจ่ายให้โดยคำนวณตามผลงานที่ทำได้ในเวลาทำงานปกติของวันทำงานอันจะถือเป็นค่าจ้างตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 5
เมื่อการจ่ายเงินรางวัลดังกล่าวกำหนดเงื่อนไขให้ปฏิบัติงานจนครบก่อนจึงจะมีสิทธิได้รับ ทั้งจำเลยจะจ่ายเงินรางวัลให้กับพนักงานที่ยังคงมีสถานภาพเป็นพนักงานในวันที่จ่ายเท่านั้น เมื่อโจทก์ทั้งสามลาออกจากการเป็นลูกจ้างเป็นการพ้นสถานภาพการเป็นพนักงานไปก่อนในวันที่จ่าย โจทก์ทั้งสามจึงไม่มีสิทธิได้รับเงินรางวัลตามฟ้อง
เมื่อการจ่ายเงินรางวัลดังกล่าวกำหนดเงื่อนไขให้ปฏิบัติงานจนครบก่อนจึงจะมีสิทธิได้รับ ทั้งจำเลยจะจ่ายเงินรางวัลให้กับพนักงานที่ยังคงมีสถานภาพเป็นพนักงานในวันที่จ่ายเท่านั้น เมื่อโจทก์ทั้งสามลาออกจากการเป็นลูกจ้างเป็นการพ้นสถานภาพการเป็นพนักงานไปก่อนในวันที่จ่าย โจทก์ทั้งสามจึงไม่มีสิทธิได้รับเงินรางวัลตามฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6578/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตค่าจ้างและหน้าที่ออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย กรณีนายจ้างชำระภาษีแทนลูกจ้าง
ภาษีเงินได้ที่จำเลยออกให้แก่โจทก์เป็นเงินที่จำเลยจ่ายให้แก่ส่วนราชการเพื่อปฏิบัติตามกฎหมายและเป็นการจ่ายให้แทนโจทก์ มิได้จ่ายให้แก่โจทก์ จึงเป็นเงินประเภทอื่นมิใช่เงินที่จำเลยและโจทก์ตกลงจ่ายให้แก่กันเป็นค่าตอบแทนในการทำงานตามสัญญาจ้าง จึงไม่ใช่ค่าจ้างตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 5
ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 50 กำหนดเป็นหน้าที่ของผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 หักภาษีเงินได้ไว้ทุกคราวที่จ่ายเงินได้พึงประเมิน และมาตรา 50 ทวิ กำหนดให้ผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย ออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายที่ได้หักไว้แล้วในปีภาษีให้แก่ผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย เมื่อค่าจ้างและเงินภาษีที่จำเลยยอมชำระแทนโจทก์เป็นเงินได้เนื่องจากการจ้างแรงงานซึ่งถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) จำเลยจึงมีหน้าที่หักภาษีเงินได้ไว้ทุกคราว และมีหน้าที่ออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายที่ได้หักไว้แล้วให้แก่โจทก์
ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 50 กำหนดเป็นหน้าที่ของผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 หักภาษีเงินได้ไว้ทุกคราวที่จ่ายเงินได้พึงประเมิน และมาตรา 50 ทวิ กำหนดให้ผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย ออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายที่ได้หักไว้แล้วในปีภาษีให้แก่ผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย เมื่อค่าจ้างและเงินภาษีที่จำเลยยอมชำระแทนโจทก์เป็นเงินได้เนื่องจากการจ้างแรงงานซึ่งถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) จำเลยจึงมีหน้าที่หักภาษีเงินได้ไว้ทุกคราว และมีหน้าที่ออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายที่ได้หักไว้แล้วให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1441/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าเที่ยวเป็นค่าจ้าง เงินสมทบประกันสังคม นายจ้างต้องจ่ายเงินเพิ่มแม้ศาลเคยตัดสินว่าไม่ใช่ค่าจ้าง
พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 มาตรา 49 บัญญัติให้นายจ้างซึ่งนำส่งเงินสมทบไม่ครบจำนวนภายในเวลาที่กำหนดตามมาตรา 47 ต้องจ่ายเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 2 ต่อเดือน ของจำนวนเงินสมทบที่ยังขาดอยู่ เป็นการบัญญัติหน้าที่และจำนวนเงินที่ต้องจ่ายเงินเพิ่มไว้โดยชัดแจ้งและเคร่งครัด สามารถคำนวณเงินเพิ่มได้แน่นอน และไม่มีข้อยกเว้นไม่ว่านายจ้างจะมีเหตุผลอันสมควรหรือไม่
โจทก์ (นายจ้าง) ไม่นำค่าเที่ยวซึ่งเป็นค่าจ้างของลูกจ้างรวมเข้าเป็นฐานคำนวณเงินสมทบ จึงนำส่งเงินสมทบให้แก่จำเลยไม่ครบจำนวน โจทก์ต้องจ่ายเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 2 ต่อเดือน ของจำนวนเงินสมทบที่ยังขาดอยู่
โจทก์ (นายจ้าง) ไม่นำค่าเที่ยวซึ่งเป็นค่าจ้างของลูกจ้างรวมเข้าเป็นฐานคำนวณเงินสมทบ จึงนำส่งเงินสมทบให้แก่จำเลยไม่ครบจำนวน โจทก์ต้องจ่ายเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 2 ต่อเดือน ของจำนวนเงินสมทบที่ยังขาดอยู่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9384/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ห้ามหักค่าใช้จ่ายสวัสดิการลูกจ้างจากค่าจ้าง หากไม่ใช่การชำระภาษีหรือหนี้ที่เป็นประโยชน์แก่ลูกจ้างโดยตรง
พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 76 ห้ามมิให้นายจ้างหักค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุด เว้นแต่เป็นการหักเพื่อ (1) ชำระภาษีเงินได้ตามจำนวนที่ลูกจ้างต้องจ่ายหรือชำระเงินอื่นตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ (3) หนี้ที่เป็นไปเพื่อสวัสดิการที่เป็นประโยชน์แก่ลูกจ้างฝ่ายเดียว โดยได้รับความยินยอมล่วงหน้าจากลูกจ้าง ตามหนังสือที่สำนักงานจัดหางานจังหวัดตากขอความร่วมมือไปยังนายจ้างที่จ้างแรงงานต่างด้าว ให้จัดหาที่พักให้แก่แรงงานต่างด้าวเพื่อความมั่นคงและความสงบเรียบร้อยของชุมชนและเป็นไปเพื่อให้ความสะดวกแก่ลูกจ้างในการที่จะทำงานให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นนายจ้าง ทั้งโจทก์ก็ได้รับประโยชน์เป็นตัวเงินได้เพราะมีผลทำให้จ่ายค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุดและค่าล่วงเวลาในวันหยุดน้อยลงด้วย หนังสือดังกล่าวมิใช่กฎหมายแต่เป็นเพียงหนังสือขอความร่วมมือจากหน่วยงานราชการไปยังผู้ประกอบกิจการเอกชนเท่านั้น ค่าที่พัก ค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า ค่าอาหาร ค่าตรวจสุขภาพ ค่าประกันสุขภาพ และค่าใบอนุญาตทำงานของคนต่างด้าวจึงมิใช่เงินอื่นตามที่มีกฎหมายบัญญัติไว้ให้ลูกจ้างต้องชำระและนายจ้างชำระแทนลูกจ้างตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 76 (1) หากแต่เป็นสวัสดิการที่โจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างจัดหาให้แก่ลูกจ้าง เพื่อให้ความสะดวกแก่โจทก์สามารถจ้างงานลูกจ้าง ซึ่งเป็นแรงงานต่างด้าวได้อย่างถูกต้องตามที่สำนักงานจัดหางานจังหวัดตากมีหนังสือขอความร่วมมือโดยโจทก์ได้รับประโยชน์จากการออกค่าใช้จ่ายนั้นด้วย เงินดังกล่าวจึงมิใช่หนี้ที่เป็นไปเพื่อสวัสดิการที่เป็นประโยชน์แก่ลูกจ้างฝ่ายเดียวตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 76 (3) โจทก์จึงไม่สามารถหักเงินค่าใช้จ่ายนั้นออกจากค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุดได้
การที่โจทก์นำคดีมาสู่ศาลขอให้เพิกถอนคำสั่งของจำเลยตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 125 ย่อมหมายความว่าโจทก์ประสงค์จะให้ศาลแรงงานพิจารณาทบทวนคำสั่งของจำเลยว่าถูกต้องหรือไม่ หากจำเลยมีคำสั่งไม่ถูกต้องศาลแรงงานย่อมมีอำนาจเพิกถอนหรือแก้ไขคำสั่งของจำเลยได้ โจทก์ฟ้องว่าคำสั่งของจำเลยไม่ถูกต้องเพราะหนี้ที่ลูกจ้างใช้สิทธิเรียกร้องบางส่วนขาดอายุความและโจทก์มีสิทธินำค่าใช้จ่ายหักจากหนี้ดังกล่าวโจทก์จะไม่มีเงินค้างจ่ายแก่ลูกจ้างตามคำสั่งของจำเลยและขอให้เพิกถอนคำสั่งของจำเลย จำเลยให้การว่าหนี้ตามสิทธิเรียกร้องยังไม่ขาดอายุความและโจทก์ไม่มีสิทธิหักค่าใช้จ่าย แม้ศาลแรงงานภาค 6 จะมิได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทว่ามีเหตุที่ต้องแก้ไขคำสั่งของจำเลยหรือไม่ แต่การที่ศาลแรงงานภาค 6 วินิจฉัยว่าโจทก์ไม่มีสิทธินำค่าใช้จ่ายตามที่อ้างมาหักจากเงินที่ต้องจ่ายแก่ลูกจ้างได้ แต่ที่จำเลยมีคำสั่งให้โจทก์จ่ายเงินแก่ลูกจ้างโดยนำเอาหนี้ตามสิทธิเรียกร้องบางส่วนที่ขาดอายุความมาคิดคำนวณด้วยไม่ถูกต้องนั้น ก็เกี่ยวเนื่องโดยตรงที่จะวินิจฉัยว่าข้อเท็จจริงเป็นไปดังคำฟ้องหรือคำให้การว่าคำสั่งของจำเลยถูกต้องหรือไม่ เมื่อเห็นว่าคำสั่งของจำเลยไม่ถูกต้องบางส่วน ศาลแรงงานภาค 6 ย่อมมีอำนาจพิพากษาแก้ไขคำสั่งของจำเลยในส่วนที่ไม่ถูกต้องดังกล่าวโดยมิต้องเพิกถอนคำสั่งของจำเลยทั้งหมดได้ กรณีมิใช่เป็นการวินิจฉัยเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 52
การที่โจทก์นำคดีมาสู่ศาลขอให้เพิกถอนคำสั่งของจำเลยตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 125 ย่อมหมายความว่าโจทก์ประสงค์จะให้ศาลแรงงานพิจารณาทบทวนคำสั่งของจำเลยว่าถูกต้องหรือไม่ หากจำเลยมีคำสั่งไม่ถูกต้องศาลแรงงานย่อมมีอำนาจเพิกถอนหรือแก้ไขคำสั่งของจำเลยได้ โจทก์ฟ้องว่าคำสั่งของจำเลยไม่ถูกต้องเพราะหนี้ที่ลูกจ้างใช้สิทธิเรียกร้องบางส่วนขาดอายุความและโจทก์มีสิทธินำค่าใช้จ่ายหักจากหนี้ดังกล่าวโจทก์จะไม่มีเงินค้างจ่ายแก่ลูกจ้างตามคำสั่งของจำเลยและขอให้เพิกถอนคำสั่งของจำเลย จำเลยให้การว่าหนี้ตามสิทธิเรียกร้องยังไม่ขาดอายุความและโจทก์ไม่มีสิทธิหักค่าใช้จ่าย แม้ศาลแรงงานภาค 6 จะมิได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทว่ามีเหตุที่ต้องแก้ไขคำสั่งของจำเลยหรือไม่ แต่การที่ศาลแรงงานภาค 6 วินิจฉัยว่าโจทก์ไม่มีสิทธินำค่าใช้จ่ายตามที่อ้างมาหักจากเงินที่ต้องจ่ายแก่ลูกจ้างได้ แต่ที่จำเลยมีคำสั่งให้โจทก์จ่ายเงินแก่ลูกจ้างโดยนำเอาหนี้ตามสิทธิเรียกร้องบางส่วนที่ขาดอายุความมาคิดคำนวณด้วยไม่ถูกต้องนั้น ก็เกี่ยวเนื่องโดยตรงที่จะวินิจฉัยว่าข้อเท็จจริงเป็นไปดังคำฟ้องหรือคำให้การว่าคำสั่งของจำเลยถูกต้องหรือไม่ เมื่อเห็นว่าคำสั่งของจำเลยไม่ถูกต้องบางส่วน ศาลแรงงานภาค 6 ย่อมมีอำนาจพิพากษาแก้ไขคำสั่งของจำเลยในส่วนที่ไม่ถูกต้องดังกล่าวโดยมิต้องเพิกถอนคำสั่งของจำเลยทั้งหมดได้ กรณีมิใช่เป็นการวินิจฉัยเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 52
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5501-5502/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิลูกจ้างพักงาน-ค่าจ้าง-วันหยุดพักผ่อนประจำปี กรณีเลิกจ้าง-ความผิดร้ายแรง-เจตนาของระเบียบ
ขณะจำเลยที่ 1 เลิกจ้างโจทก์มีระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่องมาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2534 บังคับใช้ โดยข้อ 21 กำหนดว่า "ถ้ารัฐวิสาหกิจเลิกจ้างพนักงานโดยพนักงานมิได้มีความผิดตามข้อ 46 ให้รัฐวิสาหกิจจ่ายเงินเดือนค่าจ้างแก่พนักงานสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีตามส่วนที่พนักงานมีสิทธิได้รับตามข้อ 8 และข้อ 20 ด้วย" และข้อ 46 ตามระเบียบดังกล่าวกำหนดกรณีรัฐวิสาหกิจไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยไว้หลายกรณีรวมทั้งการฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานกรณีร้ายแรง ดังนั้นกรณีการเลิกจ้างที่รัฐวิสาหกิจไม่ต้องจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีต้องเป็นกรณีที่พนักงานรัฐวิสาหกิจทำผิดร้ายแรงเท่านั้น เมื่อคู่มือและระเบียบการพนักงานของจำเลยที่ 1 หมวด 3 ข้อ 2.3.2 กำหนดว่า "ไม่ว่ากรณีใด ๆ บริษัทจะไม่จ่ายเงินตอบแทนให้แก่พนักงานผู้ซึ่งสมัครใจไม่หยุดพักผ่อนประจำปีเว้นแต่ในกรณีที่พนักงานออกจากงานระหว่างปีโดยไม่มีความผิดและยังมิได้ใช้สิทธิหยุดพักผ่อนประจำปี" จึงต้องแปลให้สอดคล้องกับระเบียบดังกล่าวว่าการออกจากงานโดยไม่มีความผิดตามคู่มือและระเบียบการพนักงานของจำเลยที่ 1 นั้น หมายถึงไม่มีความผิดร้ายแรงนั่นเอง
ตามคู่มือและระเบียบการพนักงานของจำเลยที่ 1 หมวดที่ 8 วินัย การลงโทษ และการร้องทุกข์ ข้อ 2.9 กำหนดแนวทางพักงานระหว่างสอบสวนไว้ว่า "การพักงานระหว่างสอบสวนก็เพื่อให้บริษัทสืบสวนและสอบสวนโดยอิสระว่าพนักงานกระทำผิดตามที่กล่าวหาหรือไม่ซึ่งโดยปกติจะใช้เมื่อมีความผิดร้ายแรง พนักงานซึ่งถูกสั่งพักระหว่างสอบสวนแม้ว่าจะยังไม่ถือเป็นการลงโทษ แต่บริษัทจะพิจารณาจ่ายเงินเดือนให้เพียงร้อยละห้าสิบของค่าจ้างในขณะพักงานพร้อมด้วยดอกเบี้ยร้อยละสิบห้าต่อปีจนกว่าจะทราบผลการสอบสวนแน่ชัดว่าพนักงานไม่มีความผิดแล้วจึงจะจ่ายเงินเดือนส่วนที่เหลืออีกร้อยละห้าสิบของค่าจ้างสำหรับระยะเวลาที่ถูกพักงานให้" จะเห็นได้ว่าวัตถุประสงค์หลักของการพักงานระหว่างสอบสวนก็เพื่อให้การสอบสวนกระทำโดยอิสระป้องกันไม่ให้พนักงานที่ถูกกล่าวหาไปยุ่งกับพยานหลักฐาน สำหรับการจ่ายเงินเดือนส่วนที่เหลืออีกร้อยละห้าสิบนั้น คู่มือและระเบียบการพนักงานดังกล่าว หมวดที่ 9 ข้อ 2.9 กำหนดว่าจะจ่ายให้เมื่อพนักงานไม่มีความผิดอันมีความหมายอยู่ในตัวว่าพนักงานผู้นั้นไม่มีความผิดใดเลยไม่ว่าจะร้ายแรงหรือไม่
ตามคู่มือและระเบียบการพนักงานของจำเลยที่ 1 หมวดที่ 8 วินัย การลงโทษ และการร้องทุกข์ ข้อ 2.9 กำหนดแนวทางพักงานระหว่างสอบสวนไว้ว่า "การพักงานระหว่างสอบสวนก็เพื่อให้บริษัทสืบสวนและสอบสวนโดยอิสระว่าพนักงานกระทำผิดตามที่กล่าวหาหรือไม่ซึ่งโดยปกติจะใช้เมื่อมีความผิดร้ายแรง พนักงานซึ่งถูกสั่งพักระหว่างสอบสวนแม้ว่าจะยังไม่ถือเป็นการลงโทษ แต่บริษัทจะพิจารณาจ่ายเงินเดือนให้เพียงร้อยละห้าสิบของค่าจ้างในขณะพักงานพร้อมด้วยดอกเบี้ยร้อยละสิบห้าต่อปีจนกว่าจะทราบผลการสอบสวนแน่ชัดว่าพนักงานไม่มีความผิดแล้วจึงจะจ่ายเงินเดือนส่วนที่เหลืออีกร้อยละห้าสิบของค่าจ้างสำหรับระยะเวลาที่ถูกพักงานให้" จะเห็นได้ว่าวัตถุประสงค์หลักของการพักงานระหว่างสอบสวนก็เพื่อให้การสอบสวนกระทำโดยอิสระป้องกันไม่ให้พนักงานที่ถูกกล่าวหาไปยุ่งกับพยานหลักฐาน สำหรับการจ่ายเงินเดือนส่วนที่เหลืออีกร้อยละห้าสิบนั้น คู่มือและระเบียบการพนักงานดังกล่าว หมวดที่ 9 ข้อ 2.9 กำหนดว่าจะจ่ายให้เมื่อพนักงานไม่มีความผิดอันมีความหมายอยู่ในตัวว่าพนักงานผู้นั้นไม่มีความผิดใดเลยไม่ว่าจะร้ายแรงหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15617/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องค่าจ้างและค่าเสียหายจากการเลิกจ้างเป็นที่สุดเมื่อศาลฎีกามีคำพิพากษาแล้ว แม้มีการฟ้องคดีใหม่ก็ไม่อาจเรียกร้องซ้ำได้
โจทก์ฟ้องเรียกดอกเบี้ยของต้นเงินค่าชดเชย ค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี และเงินเพิ่มของต้นเงินค่าชดเชยตามคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานที่ 101/2549 นั้น เมื่อปรากฏว่าวันที่ 6 มีนาคม 2557 ศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาในคดีที่จำเลยที่ 1 เป็นโจทก์ฟ้องพนักงานตรวจแรงงานเป็นจำเลยที่ 1 และโจทก์คดีนี้เป็นจำเลยที่ 2 ในคดีดังกล่าว ซึ่งเป็นคู่ความเดียวกันและได้วินิจฉัยเรื่องพิพาทที่เกิดขึ้นคราวเดียวกันตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2149/2557 ให้เพิกถอนคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานที่ 101/2549 ของจำเลยที่ 1 เฉพาะในเรื่องค่าชดเชย ค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า และค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีเสียแล้ว จึงมีผลเท่ากับว่าโจทก์ไม่มีสิทธิได้รับเงินดังกล่าว ดังนั้น ปัญหาที่ว่าโจทก์จะมีสิทธิฟ้องเรียกร้องดอกเบี้ยของต้นเงินค่าชดเชย ค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี และเงินเพิ่มของต้นเงินค่าชดเชยตามคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานดังกล่าวหรือไม่ จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย
สำหรับที่โจทก์ฟ้องเรียกร้องดอกเบี้ยและเงินเพิ่มของต้นเงินค่าจ้างตามคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานที่ 101/2549 นั้น เมื่อ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 123 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ในกรณีที่นายจ้างฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามเกี่ยวกับสิทธิได้รับเงินอย่างหนึ่งอย่างใดตามพระราชบัญญัตินี้ และลูกจ้างมีความประสงค์ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้ ให้ลูกจ้างมีสิทธิยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงาน..." ไว้เช่นนี้ ลูกจ้างสามารถใช้สิทธิยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานเรียกร้องเงินที่มีสิทธิจะได้รับจากนายจ้างตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ได้ เพื่อให้พนักงานตรวจแรงงานดำเนินการสอบสวนและมีคำสั่งตามมาตรา 124 และเมื่อพนักงานตรวจแรงงานมีคำสั่งแล้วหากนายจ้างหรือลูกจ้างไม่พอใจก็สามารถนำคดีไปสู่ศาลภายในเวลาที่กฎหมายกำหนดเพื่อให้ศาลแรงงานพิจารณาอีกครั้งหนึ่งได้ตามมาตรา 125 เมื่อปรากฏว่ามูลเหตุในการยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานและการฟ้องคดีนี้สืบเนื่องจากโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างอ้างว่านายจ้างค้างจ่ายค่าจ้างแก่โจทก์ ซึ่งเป็นการอ้างมูลเหตุแห่งข้อพิพาทอย่างเดียวกัน โจทก์จึงชอบที่จะใช้สิทธิเรียกร้องขอให้นายจ้างจ่ายดอกเบี้ยและเงินเพิ่มของค่าจ้างไปพร้อมกันกับที่ขอให้จ่ายค่าจ้างได้ตั้งแต่ชั้นยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงาน การที่โจทก์ใช้แบบฟอร์มคำร้องที่มีข้อความว่า ขอให้นายจ้างจ่ายเงินค่าจ้าง ซึ่งในข้อ 7.17 ที่มีข้อความระบุว่า "ดอกเบี้ย/เงินเพิ่ม เป็นเงิน...บาท (...)" โดยไม่ได้ขีดฆ่าว่าไม่ประสงค์ให้จ่ายดอกเบี้ยหรือเงินเพิ่มก็ตาม แต่ต่อมาเมื่อพนักงานตรวจแรงงานมีคำสั่งให้จำเลยที่ 1 จ่ายค่าจ้างแก่โจทก์ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ทราบหรือถือว่าได้ทราบคำสั่ง โดยคำสั่งดังกล่าวไม่ได้สั่งให้จำเลยที่ 1 ต้องเสียดอกเบี้ยหรือเงินเพิ่มจากต้นเงินค่าจ้างแก่โจทก์ ซึ่งโจทก์เองก็ทราบคำสั่งนั้นแล้วและไม่ได้นำคดีไปสู่ศาลแรงงานภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด คงมีเพียงจำเลยที่ 1 เท่านั้นที่เป็นโจทก์ฟ้องขอเพิกถอนคำสั่งของพนักงานตรวจแรงงานต่อศาลแรงงานกลางโดยฟ้องพนักงานตรวจแรงงานเป็นจำเลยที่ 1 และฟ้องโจทก์เป็นจำเลยที่ 2 พร้อมวางเงินที่จะต้องชำระตามคำสั่งของพนักงานตรวจแรงงานต่อศาลแรงงานกลางแล้ว ซึ่งโจทก์ในฐานะจำเลยที่ 2 ในคดีดังกล่าวก็มิได้โต้แย้งคำสั่งของพนักงานตรวจแรงงาน คำสั่งพนักงานตรวจแรงงานที่ 101/2549 จึงเป็นที่สุดสำหรับโจทก์ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 125 วรรคสอง ดังนั้น โจทก์จึงไม่อาจฟ้องเรียกร้องดอกเบี้ยและเงินเพิ่มของต้นเงินค่าจ้างนอกเหนือจากคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานซึ่งถึงที่สุดไปแล้วได้อีก
ในส่วนที่โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมพร้อมดอกเบี้ยนั้น แม้คำฟ้องส่วนนี้เป็นการฟ้องเรียกร้องตามสิทธิในมาตรา 49 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 อันมิใช่สิทธิได้รับเงินตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ที่โจทก์จะดำเนินการยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานเพื่อให้มีคำสั่งได้ และพนักงานตรวจแรงงานไม่มีอำนาจดำเนินการและมีคำสั่งตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 123 และมาตรา 125 แม้โจทก์จะมีอำนาจฟ้องได้โดยตรงต่อศาลแรงงานและศาลแรงงานกลางมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีส่วนนี้ได้ก็ตาม แต่เมื่อปรากฏต่อมาว่าเมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2557 ศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาในคดีที่จำเลยที่ 1 เป็นโจทก์ฟ้องพนักงานตรวจแรงงานเป็นจำเลยที่ 1 และโจทก์คดีนี้เป็นจำเลยที่ 2 ในคดีดังกล่าว ซึ่งเป็นคู่ความเดียวกันและได้วินิจฉัยเรื่องพิพาทที่เกิดคราวเดียวกันตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2149/2557 ว่าจำเลยที่ 1 ไม่ได้เลิกจ้างโจทก์เสียแล้ว ดังนั้น จึงมีผลทำให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ไม่ต้องรับผิดจ่ายค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตามฟ้องแก่โจทก์
สำหรับที่โจทก์ฟ้องเรียกร้องดอกเบี้ยและเงินเพิ่มของต้นเงินค่าจ้างตามคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานที่ 101/2549 นั้น เมื่อ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 123 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ในกรณีที่นายจ้างฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามเกี่ยวกับสิทธิได้รับเงินอย่างหนึ่งอย่างใดตามพระราชบัญญัตินี้ และลูกจ้างมีความประสงค์ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้ ให้ลูกจ้างมีสิทธิยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงาน..." ไว้เช่นนี้ ลูกจ้างสามารถใช้สิทธิยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานเรียกร้องเงินที่มีสิทธิจะได้รับจากนายจ้างตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ได้ เพื่อให้พนักงานตรวจแรงงานดำเนินการสอบสวนและมีคำสั่งตามมาตรา 124 และเมื่อพนักงานตรวจแรงงานมีคำสั่งแล้วหากนายจ้างหรือลูกจ้างไม่พอใจก็สามารถนำคดีไปสู่ศาลภายในเวลาที่กฎหมายกำหนดเพื่อให้ศาลแรงงานพิจารณาอีกครั้งหนึ่งได้ตามมาตรา 125 เมื่อปรากฏว่ามูลเหตุในการยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานและการฟ้องคดีนี้สืบเนื่องจากโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างอ้างว่านายจ้างค้างจ่ายค่าจ้างแก่โจทก์ ซึ่งเป็นการอ้างมูลเหตุแห่งข้อพิพาทอย่างเดียวกัน โจทก์จึงชอบที่จะใช้สิทธิเรียกร้องขอให้นายจ้างจ่ายดอกเบี้ยและเงินเพิ่มของค่าจ้างไปพร้อมกันกับที่ขอให้จ่ายค่าจ้างได้ตั้งแต่ชั้นยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงาน การที่โจทก์ใช้แบบฟอร์มคำร้องที่มีข้อความว่า ขอให้นายจ้างจ่ายเงินค่าจ้าง ซึ่งในข้อ 7.17 ที่มีข้อความระบุว่า "ดอกเบี้ย/เงินเพิ่ม เป็นเงิน...บาท (...)" โดยไม่ได้ขีดฆ่าว่าไม่ประสงค์ให้จ่ายดอกเบี้ยหรือเงินเพิ่มก็ตาม แต่ต่อมาเมื่อพนักงานตรวจแรงงานมีคำสั่งให้จำเลยที่ 1 จ่ายค่าจ้างแก่โจทก์ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ทราบหรือถือว่าได้ทราบคำสั่ง โดยคำสั่งดังกล่าวไม่ได้สั่งให้จำเลยที่ 1 ต้องเสียดอกเบี้ยหรือเงินเพิ่มจากต้นเงินค่าจ้างแก่โจทก์ ซึ่งโจทก์เองก็ทราบคำสั่งนั้นแล้วและไม่ได้นำคดีไปสู่ศาลแรงงานภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด คงมีเพียงจำเลยที่ 1 เท่านั้นที่เป็นโจทก์ฟ้องขอเพิกถอนคำสั่งของพนักงานตรวจแรงงานต่อศาลแรงงานกลางโดยฟ้องพนักงานตรวจแรงงานเป็นจำเลยที่ 1 และฟ้องโจทก์เป็นจำเลยที่ 2 พร้อมวางเงินที่จะต้องชำระตามคำสั่งของพนักงานตรวจแรงงานต่อศาลแรงงานกลางแล้ว ซึ่งโจทก์ในฐานะจำเลยที่ 2 ในคดีดังกล่าวก็มิได้โต้แย้งคำสั่งของพนักงานตรวจแรงงาน คำสั่งพนักงานตรวจแรงงานที่ 101/2549 จึงเป็นที่สุดสำหรับโจทก์ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 125 วรรคสอง ดังนั้น โจทก์จึงไม่อาจฟ้องเรียกร้องดอกเบี้ยและเงินเพิ่มของต้นเงินค่าจ้างนอกเหนือจากคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานซึ่งถึงที่สุดไปแล้วได้อีก
ในส่วนที่โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมพร้อมดอกเบี้ยนั้น แม้คำฟ้องส่วนนี้เป็นการฟ้องเรียกร้องตามสิทธิในมาตรา 49 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 อันมิใช่สิทธิได้รับเงินตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ที่โจทก์จะดำเนินการยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานเพื่อให้มีคำสั่งได้ และพนักงานตรวจแรงงานไม่มีอำนาจดำเนินการและมีคำสั่งตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 123 และมาตรา 125 แม้โจทก์จะมีอำนาจฟ้องได้โดยตรงต่อศาลแรงงานและศาลแรงงานกลางมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีส่วนนี้ได้ก็ตาม แต่เมื่อปรากฏต่อมาว่าเมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2557 ศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาในคดีที่จำเลยที่ 1 เป็นโจทก์ฟ้องพนักงานตรวจแรงงานเป็นจำเลยที่ 1 และโจทก์คดีนี้เป็นจำเลยที่ 2 ในคดีดังกล่าว ซึ่งเป็นคู่ความเดียวกันและได้วินิจฉัยเรื่องพิพาทที่เกิดคราวเดียวกันตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2149/2557 ว่าจำเลยที่ 1 ไม่ได้เลิกจ้างโจทก์เสียแล้ว ดังนั้น จึงมีผลทำให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ไม่ต้องรับผิดจ่ายค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตามฟ้องแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15403/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม การหักเงินค่าจ้าง และดอกเบี้ยจากค่าจ้างค้างจ่าย
(จำเลยทั้งสองทำสัญญาจ้างโจทก์เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2548 แต่ร้านเปิดดำเนินกิจการในวันที่ 21 มกราคม 2549 เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2548) โจทก์และคณะบุคคลแมสคอตโดยจำเลยที่ 1 ทำบันทึกข้อตกลงว่า โจทก์จะนำสิทธิในวันหยุดพักผ่อน วันหยุดนักขัตฤกษ์ และวันหยุดประจำสัปดาห์ของโจทก์มาใช้หยุดในระหว่างที่ร้านปิดปรับปรุง หากโจทก์ใช้วันหยุดเกินสิทธิ คณะบุคคลแมสคอตขอสงวนสิทธิไม่จ่ายค่าจ้างในวันหยุดดังกล่าว และโจทก์ลงลายมือชื่อรับทราบและยินดีให้ความร่วมมือในเอกสารดังกล่าว แต่ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 5 ให้คำจำกัดความของคำว่า "ค่าจ้าง" ให้หมายความรวมถึงเงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างในวันหยุดและวันลาที่ลูกจ้างมิได้ทำงาน แต่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับตามพระราชบัญญัตินี้ ซึ่งวันหยุดตามบันทึกข้อตกลงดังกล่าวล้วนเป็นวันหยุดที่กฎหมายกำหนดให้นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างแม้ลูกจ้างจะมิได้ทำงานทั้งสิ้น นอกจากนี้การมอบหมายงานหรือการสั่งให้ลูกจ้างทำงานเป็นสิทธิของนายจ้าง การที่นายจ้างไม่อาจมอบหมายงานหรือสั่งงานให้ลูกจ้างทำ ทั้งที่ลูกจ้างมีความพร้อมที่จะทำงานให้แก่นายจ้างนั้นนายจ้างจึงยังต้องจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างตลอดระยะเวลาที่ตกลงจ้างกัน นายจ้างจะยกขึ้นเป็นเหตุอ้างว่าไม่มีงานให้ลูกจ้างทำจึงไม่จ่ายค่าจ้างให้ไม่ได้ เมื่อจำเลยทั้งสองให้โจทก์หยุดงานในระหว่างที่ร้านปิดปรับปรุงอันเป็นกรณีที่จำเลยทั้งสองไม่มีงานให้โจทก์ทำ มิใช่โจทก์ไม่สามารถทำงานให้แก่จำเลยทั้งสองได้ จำเลยทั้งสองจึงไม่มีสิทธินำค่าจ้างที่จ่ายให้แก่โจทก์ ในช่วงนหยุดดังกล่าวมาหักกับค่าจ้างที่โจทก์มีสิทธิได้รับหลังจากร้านเปิดดำเนินการแล้ว
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์และจำเลยทั้งสองตกลงทำสัญญาจ้างมีกำหนด 2 ปี แต่จำเลยทั้งสองบอกเลิกสัญญาก่อนครบกำหนด ทำให้โจทก์สูญเสียโอกาสในการทำงานกับผู้อื่นและได้รับความเสียหาย โจทก์ขอคิดค่าเสียหายนับแต่วันบอกเลิกสัญญาถึงวันที่สัญญาจ้างครบกำหนด คำฟ้องโจทก์ได้บรรยายและมีคำขอให้จำเลยทั้งสองชำระค่าเสียหายจากการปฏิบัติผิดสัญญาโดยบอกเลิกสัญญาก่อนครบกำหนดแล้ว ที่ศาลแรงงานกลางกำหนดค่าเสียหายจากการผิดสัญญาจ้างจึงไม่เป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในฟ้องตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 52
พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 70 วรรคสอง บัญญัติว่าในกรณีที่นายจ้างเลิกจ้าง ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างภายใน 3 วัน นับแต่วันเลิกจ้าง ดังนั้น เมื่อจำเลยทั้งสองเลิกจ้างโจทก์ในวันที่ 18 มีนาคม 2549 จำเลยทั้งสองจึงมีหน้าที่ต้องจ่ายค่าจ้างแก่โจทก์ภายในวันที่ 21 มีนาคม 2549 จำเลยทั้งสองไม่จ่ายภายในเวลาดังกล่าวจึงต้องเสียดอกเบี้ยจากต้นเงินค่าจ้างค้างจ่ายตั้งแต่วันที่ 22 มีนาคม 2549 เป็นต้นไป ไม่มีบทกฎหมายใดให้จำเลยทั้งสองต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ทันทีเมื่อเลิกจ้าง จำเลยทั้งสองต้องเสียดอกเบี้ยจากต้นเงินดังกล่าวนับแต่วันผิดนัดคือวันทวงถาม ไม่ปรากฏว่าโจทก์ทวงถามให้จำเลยทั้งสองจ่ายในวันใด ต้องถือวันฟ้องเป็นวันทวงถาม จำเลยทั้งสองจึงต้องเสียดอกเบี้ยจากต้นเงินสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้านับแต่วันฟ้องเป็นต้นไป แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ในปัญหานี้ แต่เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาจึงสามารถหยิบยกแก้ไขให้ถูกต้องได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์และจำเลยทั้งสองตกลงทำสัญญาจ้างมีกำหนด 2 ปี แต่จำเลยทั้งสองบอกเลิกสัญญาก่อนครบกำหนด ทำให้โจทก์สูญเสียโอกาสในการทำงานกับผู้อื่นและได้รับความเสียหาย โจทก์ขอคิดค่าเสียหายนับแต่วันบอกเลิกสัญญาถึงวันที่สัญญาจ้างครบกำหนด คำฟ้องโจทก์ได้บรรยายและมีคำขอให้จำเลยทั้งสองชำระค่าเสียหายจากการปฏิบัติผิดสัญญาโดยบอกเลิกสัญญาก่อนครบกำหนดแล้ว ที่ศาลแรงงานกลางกำหนดค่าเสียหายจากการผิดสัญญาจ้างจึงไม่เป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในฟ้องตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 52
พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 70 วรรคสอง บัญญัติว่าในกรณีที่นายจ้างเลิกจ้าง ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างภายใน 3 วัน นับแต่วันเลิกจ้าง ดังนั้น เมื่อจำเลยทั้งสองเลิกจ้างโจทก์ในวันที่ 18 มีนาคม 2549 จำเลยทั้งสองจึงมีหน้าที่ต้องจ่ายค่าจ้างแก่โจทก์ภายในวันที่ 21 มีนาคม 2549 จำเลยทั้งสองไม่จ่ายภายในเวลาดังกล่าวจึงต้องเสียดอกเบี้ยจากต้นเงินค่าจ้างค้างจ่ายตั้งแต่วันที่ 22 มีนาคม 2549 เป็นต้นไป ไม่มีบทกฎหมายใดให้จำเลยทั้งสองต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ทันทีเมื่อเลิกจ้าง จำเลยทั้งสองต้องเสียดอกเบี้ยจากต้นเงินดังกล่าวนับแต่วันผิดนัดคือวันทวงถาม ไม่ปรากฏว่าโจทก์ทวงถามให้จำเลยทั้งสองจ่ายในวันใด ต้องถือวันฟ้องเป็นวันทวงถาม จำเลยทั้งสองจึงต้องเสียดอกเบี้ยจากต้นเงินสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้านับแต่วันฟ้องเป็นต้นไป แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ในปัญหานี้ แต่เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาจึงสามารถหยิบยกแก้ไขให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15349/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทค่าชดเชยและค่าจ้างแทนการบอกกล่าว: กิจการที่ไม่แสวงหากำไรได้รับการยกเว้นตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งของจำเลยในฐานะพนักงานตรวจแรงงานตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 125 วรรคสอง ประเด็นแห่งคดีจึงมีเพียงว่า มีเหตุที่จะเพิกถอนคำสั่งของจำเลยที่ให้โจทก์จ่ายค่าชดเชยพร้อมดอกเบี้ย และค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าซึ่งจำเลยไม่ได้มีคำสั่งให้เสียดอกเบี้ยจากต้นเงินดังกล่าวหรือไม่เท่านั้น ทั้งคดีนี้ลูกจ้างที่มีสิทธิได้รับเงินตามคำสั่งของจำเลยก็ไม่ได้เข้ามาในคดีเพื่อเรียกร้องดอกเบี้ยจากต้นเงินดังกล่าว การที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาล่วงเลยไปให้โจทก์เสียดอกเบี้ยจากต้นเงินค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า จึงเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง มิใช่กรณีเพื่อความเป็นธรรมแก่คู่ความ ไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 52
โจทก์เป็นนิติบุคคลตาม พ.ร.บ.การจัดสรรที่ดิน พ.ศ.2543 ที่ต้องดำเนินกิจการภายใต้บทบัญญัติแห่งกฎหมายและข้อบังคับของโจทก์ ข้อบังคับของโจทก์แสดงถึงวัตถุประสงค์ในการดำเนินกิจการของโจทก์ว่าเป็นไปเพื่อบริการสาธารณะ อาทิ เพื่อบำรุงรักษาระบบสาธารณูปโภค ดูแลรักษาความปลอดภัย การจราจร ความสะอาด จัดการดูแลรักษาและซ่อมแซมบรรดาทรัพย์สินส่วนกลาง อันเป็นการกระทำโดยมีวัตถุประสงค์มุ่งเน้นเพื่อประโยชน์ส่วนรวมของสมาชิกในหมู่บ้าน แม้ข้อบังคับเกี่ยวกับงานบัญชีและการเงินจะกำหนดให้โจทก์สามารถจัดหารายได้จากแหล่งต่าง ๆ ได้ เช่น ค่าสาธารณูปโภคและบริการสาธารณะรายเดือนที่เรียกเก็บจากสมาชิกหมู่บ้าน รายได้จากการจัดกิจกรรมต่าง ๆ รายได้จากค่าสัมปทานหรือค่าสิทธิในการใช้ประโยชน์พื้นที่สโมสร แต่รายได้ที่โจทก์ได้รับมาก็นำมาเป็นค่าใช้จ่ายตามที่ระบุไว้ในระเบียบ โดยไม่ปรากฏว่าโจทก์นำเงินรายได้ที่หามาได้นั้นมาจัดสรรหรือแบ่งปันผลกำไรระหว่างกัน การที่โจทก์ให้บุคคลภายนอกเช่าสิทธิในสโมสรของโจทก์ หารายได้ก็เป็นไปเพื่อการจัดการดูแล บำรุงรักษาสโมสรซึ่งเป็นทรัพย์สินส่วนกลางให้อยู่ในสภาพที่ใช้ประโยชน์ร่วมกันได้ดี จึงไม่อาจถือได้ว่าโจทก์ดำเนินกิจการเพื่อแสวงหากำไรในทางเศรษฐกิจ กรณีจึงมิให้ใช้บทบัญญัติหมวด 11 ค่าชดเชยตั้งแต่มาตรา 118 ถึงมาตรา 122 บังคับแก่โจทก์ตามกฎกระทรวง (พ.ศ.2541) ออกตามความในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ข้อ (3) โจทก์จึงไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยพร้อมดอกเบี้ยตามคำสั่งของจำเลยแก่ลูกจ้าง
โจทก์เป็นนิติบุคคลตาม พ.ร.บ.การจัดสรรที่ดิน พ.ศ.2543 ที่ต้องดำเนินกิจการภายใต้บทบัญญัติแห่งกฎหมายและข้อบังคับของโจทก์ ข้อบังคับของโจทก์แสดงถึงวัตถุประสงค์ในการดำเนินกิจการของโจทก์ว่าเป็นไปเพื่อบริการสาธารณะ อาทิ เพื่อบำรุงรักษาระบบสาธารณูปโภค ดูแลรักษาความปลอดภัย การจราจร ความสะอาด จัดการดูแลรักษาและซ่อมแซมบรรดาทรัพย์สินส่วนกลาง อันเป็นการกระทำโดยมีวัตถุประสงค์มุ่งเน้นเพื่อประโยชน์ส่วนรวมของสมาชิกในหมู่บ้าน แม้ข้อบังคับเกี่ยวกับงานบัญชีและการเงินจะกำหนดให้โจทก์สามารถจัดหารายได้จากแหล่งต่าง ๆ ได้ เช่น ค่าสาธารณูปโภคและบริการสาธารณะรายเดือนที่เรียกเก็บจากสมาชิกหมู่บ้าน รายได้จากการจัดกิจกรรมต่าง ๆ รายได้จากค่าสัมปทานหรือค่าสิทธิในการใช้ประโยชน์พื้นที่สโมสร แต่รายได้ที่โจทก์ได้รับมาก็นำมาเป็นค่าใช้จ่ายตามที่ระบุไว้ในระเบียบ โดยไม่ปรากฏว่าโจทก์นำเงินรายได้ที่หามาได้นั้นมาจัดสรรหรือแบ่งปันผลกำไรระหว่างกัน การที่โจทก์ให้บุคคลภายนอกเช่าสิทธิในสโมสรของโจทก์ หารายได้ก็เป็นไปเพื่อการจัดการดูแล บำรุงรักษาสโมสรซึ่งเป็นทรัพย์สินส่วนกลางให้อยู่ในสภาพที่ใช้ประโยชน์ร่วมกันได้ดี จึงไม่อาจถือได้ว่าโจทก์ดำเนินกิจการเพื่อแสวงหากำไรในทางเศรษฐกิจ กรณีจึงมิให้ใช้บทบัญญัติหมวด 11 ค่าชดเชยตั้งแต่มาตรา 118 ถึงมาตรา 122 บังคับแก่โจทก์ตามกฎกระทรวง (พ.ศ.2541) ออกตามความในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ข้อ (3) โจทก์จึงไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยพร้อมดอกเบี้ยตามคำสั่งของจำเลยแก่ลูกจ้าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14466/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และการจ่ายค่าชดเชย ค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
หนังสือบอกเลิกจ้าง ไม่ปรากฏว่าโจทก์ระบุข้อเท็จจริงตามที่อ้างในฟ้องว่า ธ. เจตนาจงใจทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 119 (2) ไว้ด้วย โจทก์จึงยกเหตุดังกล่าวขึ้นอ้างในภายหลังไม่ได้ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 17 วรรคสาม (ที่ใช้บังคับในขณะเลิกจ้าง) จึงไม่มีประเด็นดังกล่าวให้จำเลยต้องรับวินิจฉัย การที่ศาลแรงงานภาค 1 ไม่วินิจฉัยประเด็นดังกล่าวตามฟ้องของโจทก์จึงชอบแล้ว
การพิจารณาว่าโจทก์ต้องจ่ายค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าต้องพิจารณาตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 17 ที่ใช้บังคับในขณะเลิกจ้าง และ ป.พ.พ. มาตรา 583 ซึ่งบทบัญญัติดังกล่าวมิได้บัญญัติว่าถ้านายจ้างไม่ได้แจ้งเหตุผลในการเลิกจ้างให้ลูกจ้างทราบในขณะเลิกจ้างแล้วนายจ้างจะยกเหตุแห่งการเลิกจ้างขึ้นอ้างในภายหลังไม่ได้ ทั้งไม่มีบทบัญญัติให้นำ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 17 วรรคสาม (ที่ใช้บังคับในขณะเลิกจ้าง) มาใช้บังคับแก่กรณีการบอกกล่าวล่วงหน้า ดังนั้นแม้โจทก์ไม่ได้ระบุเหตุแห่งการเลิกจ้างไว้ในหนังสือเลิกจ้าง โจทก์ก็ย่อมยกเหตุผลในการเลิกสัญญาจ้างขึ้นอ้างในภายหลังเพื่อเป็นข้อต่อสู้ในส่วนของค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าได้ การที่ศาลแรงงานภาค 1 พิพากษาโดยมิได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงในส่วนค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าจึงเป็นการไม่ชอบ
เมื่อข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานภาค 1 ฟังยุติและข้อเท็จจริงในสำนวนที่ไม่มีคู่ความฝ่ายใดโต้แย้งได้ความว่า ธ. เล่นเกมคอมพิวเตอร์ในระหว่างทำงาน โดยมีโปรแกรมเกมออนไลน์ Yol Gang อยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ของ ธ. การกระทำของ ธ. จึงเป็นการเอาเวลาทำงานไปกระทำกิจการอื่น อันเป็นการกระทำที่ไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ในฐานะลูกจ้างให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริต โจทก์จึงเลิกจ้าง ธ. ได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าตาม ป.พ.พ. มาตรา 583 ประกอบ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 17 วรรคห้า (ที่ใช้บังคับในขณะเลิกจ้าง)
การพิจารณาว่าโจทก์ต้องจ่ายค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าต้องพิจารณาตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 17 ที่ใช้บังคับในขณะเลิกจ้าง และ ป.พ.พ. มาตรา 583 ซึ่งบทบัญญัติดังกล่าวมิได้บัญญัติว่าถ้านายจ้างไม่ได้แจ้งเหตุผลในการเลิกจ้างให้ลูกจ้างทราบในขณะเลิกจ้างแล้วนายจ้างจะยกเหตุแห่งการเลิกจ้างขึ้นอ้างในภายหลังไม่ได้ ทั้งไม่มีบทบัญญัติให้นำ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 17 วรรคสาม (ที่ใช้บังคับในขณะเลิกจ้าง) มาใช้บังคับแก่กรณีการบอกกล่าวล่วงหน้า ดังนั้นแม้โจทก์ไม่ได้ระบุเหตุแห่งการเลิกจ้างไว้ในหนังสือเลิกจ้าง โจทก์ก็ย่อมยกเหตุผลในการเลิกสัญญาจ้างขึ้นอ้างในภายหลังเพื่อเป็นข้อต่อสู้ในส่วนของค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าได้ การที่ศาลแรงงานภาค 1 พิพากษาโดยมิได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงในส่วนค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าจึงเป็นการไม่ชอบ
เมื่อข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานภาค 1 ฟังยุติและข้อเท็จจริงในสำนวนที่ไม่มีคู่ความฝ่ายใดโต้แย้งได้ความว่า ธ. เล่นเกมคอมพิวเตอร์ในระหว่างทำงาน โดยมีโปรแกรมเกมออนไลน์ Yol Gang อยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ของ ธ. การกระทำของ ธ. จึงเป็นการเอาเวลาทำงานไปกระทำกิจการอื่น อันเป็นการกระทำที่ไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ในฐานะลูกจ้างให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริต โจทก์จึงเลิกจ้าง ธ. ได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าตาม ป.พ.พ. มาตรา 583 ประกอบ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 17 วรรคห้า (ที่ใช้บังคับในขณะเลิกจ้าง)