พบผลลัพธ์ทั้งหมด 823 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5022/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสมยอมดำเนินคดีอาญาโดยไม่สุจริต ไม่ระงับสิทธิฟ้องของโจทก์
การสมยอมกันดำเนินคดีโดยไม่สุจริตเพื่อให้มีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดที่ฟ้อง ไม่มีผลให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (4)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4205/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องชำระหนี้ค่าหุ้นค้างชำระ การให้การปฏิเสธฟ้องที่ไม่ชัดเจน และการใช้สิทธิเรียกร้องแทนลูกหนี้
คำให้การจำเลยและจำเลยร่วมที่ว่า นอกจากจำเลยจะให้การไว้โดยชัดแจ้งแล้ว จำเลยขอให้การปฏิเสธฟ้องของโจทก์ทั้งสิ้น เป็นคำให้การที่ไม่ชัดแจ้งว่าปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ส่วนใด ด้วยเหตุผลอย่างใด ย่อมถือไม่ได้ว่าจำเลยและจำเลยร่วมให้การปฏิเสธข้ออ้างตามคำฟ้องของโจทก์เกี่ยวกับการที่จำเลยชำระค่าหุ้นที่ค้างชำระแล้วหรือไม่ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระค่าหุ้นค้างชำระแก่จำเลยร่วม จำเลยมิได้ต่อสู้ว่า จำเลยชำระค่าหุ้นค้างชำระแก่จำเลยร่วมแล้ว คดีจึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทว่า จำเลยชำระค่าหุ้นแก่จำเลยร่วมครบถ้วนแล้วหรือไม่ ไม่เป็นประเด็นที่จำเลยและจำเลยร่วมต้องนำสืบ แม้จำเลยจะนำสืบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการนำเงินของจำเลยชำระหนี้แก่ธนาคารว่าเป็นการนำเงินค่าหุ้นค้างชำระของจำเลยไปชำระ ก็เป็นข้อเท็จจริงที่ไม่เกี่ยวกับประเด็นข้อพิพาทที่คู่ความจะต้องนำสืบ ต้องห้ามมิให้ศาลรับฟังพยานหลักฐานดังกล่าวตาม ป.วิ.พ. มาตรา 87 (1)
จำเลยยังไม่ชำระค่าหุ้นตามฟ้องแก่จำเลยร่วมและจำเลยร่วมไม่มีทรัพย์สินพอชำระหนี้แก่โจทก์ และผู้ชำระบัญชีของจำเลยร่วมขัดขืนไม่ยอมใช้สิทธิเรียกร้องหรือเพิกเฉยเสียไม่ใช้สิทธิเรียกร้อง เป็นเหตุให้เจ้าหนี้คือโจทก์เสียเปรียบ โจทก์จะใช้สิทธิเรียกร้องนั้นในนามของตนเองแทนลูกหนี้เพื่อป้องกันสิทธิของตนในมูลหนี้นั้นก็ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 233
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระค่าหุ้นค้างชำระแก่จำเลยร่วม จำเลยมิได้ต่อสู้ว่า จำเลยชำระค่าหุ้นค้างชำระแก่จำเลยร่วมแล้ว คดีจึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทว่า จำเลยชำระค่าหุ้นแก่จำเลยร่วมครบถ้วนแล้วหรือไม่ ไม่เป็นประเด็นที่จำเลยและจำเลยร่วมต้องนำสืบ แม้จำเลยจะนำสืบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการนำเงินของจำเลยชำระหนี้แก่ธนาคารว่าเป็นการนำเงินค่าหุ้นค้างชำระของจำเลยไปชำระ ก็เป็นข้อเท็จจริงที่ไม่เกี่ยวกับประเด็นข้อพิพาทที่คู่ความจะต้องนำสืบ ต้องห้ามมิให้ศาลรับฟังพยานหลักฐานดังกล่าวตาม ป.วิ.พ. มาตรา 87 (1)
จำเลยยังไม่ชำระค่าหุ้นตามฟ้องแก่จำเลยร่วมและจำเลยร่วมไม่มีทรัพย์สินพอชำระหนี้แก่โจทก์ และผู้ชำระบัญชีของจำเลยร่วมขัดขืนไม่ยอมใช้สิทธิเรียกร้องหรือเพิกเฉยเสียไม่ใช้สิทธิเรียกร้อง เป็นเหตุให้เจ้าหนี้คือโจทก์เสียเปรียบ โจทก์จะใช้สิทธิเรียกร้องนั้นในนามของตนเองแทนลูกหนี้เพื่อป้องกันสิทธิของตนในมูลหนี้นั้นก็ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 233
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2514/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบรรยายฟ้องความผิดขัดขวางเจ้าพนักงานและการประมาทเลี่ยงได้หากบรรยายตามลำดับเหตุการณ์ชอบ
ฟ้องโจทก์บรรยายอ้างว่าจำเลยกระทำการอันเป็นการขัดขวางการปฏิบัติการตามหน้าที่ของเจ้าพนักงานตามกฎหมายในขณะเข้าทำการตรวจค้นจำเลยกับพวก โดยบรรยายการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิดเริ่มตั้งแต่จำเลยฉวยโอกาสขึ้นไปบนรถยนต์ซึ่งจอดอยู่แล้วติดเครื่องยนต์รถขับถอยหลัง อันเป็นการบรรยายฟ้องที่แสดงการกระทำว่าจำเลยกระทำโดยเจตนา และโจทก์บรรยายต่อไปถึงการกระทำของจำเลยต่อเนื่องกันว่า แล้วจำเลยขับรถถอยหลังออกไปอย่างรวดเร็วด้วยความประมาทปราศจากความระมัดระวัง ซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนั้นจักต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์ ซึ่งจำเลยอาจใช้ความระมัดระวังเช่นว่านั้นได้ แต่หาได้ใช้ให้เพียงพอไม่ รถที่จำเลยขับถอยออกไปอย่างรวดเร็วเฉี่ยวชนกระแทกถูกดาบตำรวจ พ. เจ้าพนักงานตำรวจล้มลง เป็นเหตุให้ดาบตำรวจ พ. รับอันตรายสาหัส และชนรถจักรยานยนต์ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติกับรถยนต์ซึ่งอยู่ในความครอบครองของ ธ. ได้รับความเสียหาย อันเป็นการกระทำขัดขวางของจำเลยที่ติดต่อต่อเนื่องกันโดยไม่ขาดตอนว่าเป็นการกระทำโดยประมาท มิใช่เป็นการบรรยายฟ้องที่แสดงการกระทำการขัดขวางอันเป็นการกระทำในเวลาเดียวกันกับการกระทำตอนเริ่มต้นที่จำเลยฉวยโอกาสขึ้นไปบนรถแล้วขับรถถอยหลังออกไป กรณีจึงมิใช่เรื่องฟ้องโจทก์บรรยายการกระทำอันเป็นการขัดขวางของจำเลยโดยแสดงว่าเป็นการกระทำโดยประมาทและเจตนา ซึ่งขัดแย้งกันหรือเป็นไปไม่ได้ในเวลาเดียวกัน ฟ้องโจทก์ได้บรรยายถึงการกระทำของจำเลยตามข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นไปตามลำดับเหตุการณ์ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) แล้ว ไม่เป็นฟ้องที่ไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 16490/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องยักยอกทรัพย์ต้องระบุทรัพย์สินที่ถูกยักยอกอย่างชัดเจน หากนำสืบข้อเท็จจริงต่างจากที่ฟ้อง ศาลไม่อาจลงโทษได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสองครอบครองทรัพย์ของโจทก์ร่วม เช่น อาหาร เครื่องดื่ม สิ่งของที่ใช้ประกอบอาหาร สุรา บุหรี่ และของใช้ทั่วไป แล้วร่วมกันเอาทรัพย์ของโจทก์ร่วมไปขาย และเบียดบังยักยอกเงินค่าขายทรัพย์ดังกล่าวไปเป็นประโยชน์ส่วนตัวของจำเลยทั้งสอง แต่กลับนำสืบว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันนำทรัพย์ของโจทก์ร่วมซึ่งเป็นวัตถุดิบในการประกอบอาหารไปใช้ที่ร้านอาหารของจำเลยที่ 1 อันเป็นการยักยอกทรัพย์ซึ่งเป็นวัตถุดิบในการประกอบอาหาร ไม่ใช่ยักยอกเงินค่าขายทรัพย์ตามที่โจทก์ฟ้อง ข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณาจึงแตกต่างกับข้อเท็จจริงดังที่กล่าวในฟ้อง ในสาระสำคัญ ศาลไม่อาจลงโทษจำเลยทั้งสองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 16300/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความความหมาย ‘เลื่อยโซ่ยนต์’ ตามกฎกระทรวง และความชอบด้วยกฎหมายของฟ้องฐานมีเลื่อยโซ่ยนต์ไว้ในครอบครอง
พ.ร.บ.เลื่อยโซ่ยนต์ พ.ศ.2545 มาตรา 3 ให้ความหมายของคำว่า "เลื่อยโซ่ยนต์" ไว้ว่า เครื่องมือสำหรับใช้ตัดไม้หรือแปรรูปไม้ที่มีฟันเลื่อยติดกับโซ่ซึ่งขับเคลื่อนด้วยกำลังเครื่องจักรกล และให้หมายความรวมถึงส่วนหนึ่งส่วนใดที่เป็นส่วนประกอบของเครื่องมือดังกล่าวด้วย ทั้งนี้ ตามที่รัฐมนตรีกำหนดในกฎกระทรวง และกฎกระทรวงกำหนดลักษณะเลื่อยโซ่ยนต์และส่วนประกอบของเลื่อยโซ่ยนต์ พ.ศ.2551 ซึ่งใช้บังคับในขณะเกิดเหตุ กำหนดความหมายของคำว่า "เลื่อยโซ่ยนต์" ไว้ว่า
(1) เครื่องมือสำหรับใช้ตัดไม้หรือแปรรูปไม้ที่มีฟันเลื่อยติดกับโซ่ ซึ่งขับเคลื่อนด้วยกำลังเครื่องจักรกลที่ผลิตและประกอบสำเร็จรูปเพื่อการใช้งาน ที่มีต้นกำลังเกินกว่า 2 แรงม้า โดยมีแผ่นบังคับโซ่ที่มีขนาดความยาวเกินกว่า 12 นิ้ว
(2) ส่วนหนึ่งส่วนใดที่เป็นส่วนประกอบของเครื่องมือตาม (1) ดังต่อไปนี้
(ก) เครื่องจักรกลต้นกำลังที่มีการออกแบบตัวเครื่องและอุปกรณ์ประกอบตัวเครื่องให้มีลักษณะหรือสภาพเพื่อนำมาประกอบเป็นเครื่องมือตาม (1) โดยเฉพาะ ที่มีต้นกำลังเกินกว่า 2 แรงม้า
(ข) แผ่นบังคับโซ่ที่มีขนาดความยาวเกินกว่า 12 นิ้ว
คดีนี้โจทก์บรรยายฟ้องว่า เลื่อยโซ่ยนต์ของกลางเป็นเครื่องมือสำหรับใช้ตัดไม้ หรือแปรรูปไม้ที่มีฟันเลื่อยติดกับโซ่ซึ่งขับเคลื่อนด้วยกำลังเครื่องจักรกล ชนิดใช้น้ำมันเชื้อเพลิง ขนาดกำลังแรงม้าไม่ชัดเจน แต่แผ่นบังคับโซ่มีขนาดความยาวเกิน 12 นิ้ว แม้โจทก์ไม่ได้กล่าวยืนยันมาว่าเลื่อยโซ่ยนต์ของกลางมีต้นกำลังเกินกว่า 2 แรงม้า คงกล่าวแต่เพียงว่า แผ่นบังคับโซ่มีขนาดความยาวเกินกว่า 12 นิ้ว เท่านั้นก็ตาม แต่ก็ต้องด้วยความหมายของคำว่า เลื่อยโซ่ยนต์ ตามกฎกระทรวงที่กำหนดลักษณะเลื่อยโซ่ยนต์และส่วนประกอบของเลื่อยโซ่ยนต์ พ.ศ.2551 แล้ว เพราะใน (2) กำหนดความหมายเลื่อยโซ่ยนต์ ให้หมายถึงส่วนหนึ่งส่วนใดที่เป็นส่วนประกอบของเครื่องมือตาม (1) แห่งกฎกระทรวงดังกล่าวด้วย ซึ่งก็คือเครื่องจักรกลต้นกำลังหรือแผ่นบังคับโซ่ การที่โจทก์บรรยายฟ้องเพียงส่วนใดส่วนหนึ่งซึ่งเป็นองค์ประกอบของเลื่อยโซ่ยนต์ของกลางข้างต้น จึงเป็นการบรรยายฟ้องที่ครบองค์ประกอบความผิดฐานมีเลื่อยโซ่ยนต์ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาต เป็นฟ้องที่ชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์ขอให้ริบของกลางตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 74 ทวิ ซึ่งศาลล่างทั้งสองมิได้พิพากษาให้ริบ เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 215 และมาตรา 225 ที่ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ นอกจากนี้ ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา ได้มีประกาศของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 106/2557 เรื่อง แก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยป่าไม้ ข้อ 5 ให้ยกเลิกความในวรรคสอง มาตรา 73 แห่ง พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 และให้ใช้ข้อความใหม่แทน แต่กฎหมายที่แก้ไขใหม่ไม่เป็นคุณแก่จำเลยจึงต้องใช้กฎหมายเดิมซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดบังคับแก่จำเลย
(1) เครื่องมือสำหรับใช้ตัดไม้หรือแปรรูปไม้ที่มีฟันเลื่อยติดกับโซ่ ซึ่งขับเคลื่อนด้วยกำลังเครื่องจักรกลที่ผลิตและประกอบสำเร็จรูปเพื่อการใช้งาน ที่มีต้นกำลังเกินกว่า 2 แรงม้า โดยมีแผ่นบังคับโซ่ที่มีขนาดความยาวเกินกว่า 12 นิ้ว
(2) ส่วนหนึ่งส่วนใดที่เป็นส่วนประกอบของเครื่องมือตาม (1) ดังต่อไปนี้
(ก) เครื่องจักรกลต้นกำลังที่มีการออกแบบตัวเครื่องและอุปกรณ์ประกอบตัวเครื่องให้มีลักษณะหรือสภาพเพื่อนำมาประกอบเป็นเครื่องมือตาม (1) โดยเฉพาะ ที่มีต้นกำลังเกินกว่า 2 แรงม้า
(ข) แผ่นบังคับโซ่ที่มีขนาดความยาวเกินกว่า 12 นิ้ว
คดีนี้โจทก์บรรยายฟ้องว่า เลื่อยโซ่ยนต์ของกลางเป็นเครื่องมือสำหรับใช้ตัดไม้ หรือแปรรูปไม้ที่มีฟันเลื่อยติดกับโซ่ซึ่งขับเคลื่อนด้วยกำลังเครื่องจักรกล ชนิดใช้น้ำมันเชื้อเพลิง ขนาดกำลังแรงม้าไม่ชัดเจน แต่แผ่นบังคับโซ่มีขนาดความยาวเกิน 12 นิ้ว แม้โจทก์ไม่ได้กล่าวยืนยันมาว่าเลื่อยโซ่ยนต์ของกลางมีต้นกำลังเกินกว่า 2 แรงม้า คงกล่าวแต่เพียงว่า แผ่นบังคับโซ่มีขนาดความยาวเกินกว่า 12 นิ้ว เท่านั้นก็ตาม แต่ก็ต้องด้วยความหมายของคำว่า เลื่อยโซ่ยนต์ ตามกฎกระทรวงที่กำหนดลักษณะเลื่อยโซ่ยนต์และส่วนประกอบของเลื่อยโซ่ยนต์ พ.ศ.2551 แล้ว เพราะใน (2) กำหนดความหมายเลื่อยโซ่ยนต์ ให้หมายถึงส่วนหนึ่งส่วนใดที่เป็นส่วนประกอบของเครื่องมือตาม (1) แห่งกฎกระทรวงดังกล่าวด้วย ซึ่งก็คือเครื่องจักรกลต้นกำลังหรือแผ่นบังคับโซ่ การที่โจทก์บรรยายฟ้องเพียงส่วนใดส่วนหนึ่งซึ่งเป็นองค์ประกอบของเลื่อยโซ่ยนต์ของกลางข้างต้น จึงเป็นการบรรยายฟ้องที่ครบองค์ประกอบความผิดฐานมีเลื่อยโซ่ยนต์ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาต เป็นฟ้องที่ชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์ขอให้ริบของกลางตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 74 ทวิ ซึ่งศาลล่างทั้งสองมิได้พิพากษาให้ริบ เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 215 และมาตรา 225 ที่ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ นอกจากนี้ ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา ได้มีประกาศของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 106/2557 เรื่อง แก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยป่าไม้ ข้อ 5 ให้ยกเลิกความในวรรคสอง มาตรา 73 แห่ง พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 และให้ใช้ข้อความใหม่แทน แต่กฎหมายที่แก้ไขใหม่ไม่เป็นคุณแก่จำเลยจึงต้องใช้กฎหมายเดิมซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดบังคับแก่จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 70/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีเครื่องหมายการค้า ต้องบรรยายฟ้องรายละเอียดการจดทะเบียนให้ชัดเจน หากไม่ครบถ้วน ศาลยกฟ้องได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยมีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งสินค้าประเภทบุหรี่ซิกาแรตที่เป็นเครื่องหมายการค้าปลอมเครื่องหมายการค้าที่แท้จริงของผู้เสียหาย และบรรยายฟ้องต่อมาถึงการจดทะเบียนเพียงว่าผู้เสียหายได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของตนแล้วในราชอาณาจักร โดยไม่ได้บรรยายฟ้องให้ปรากฏข้อเท็จจริงว่าผู้เสียหายได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวนั้นสำหรับสินค้าบุหรี่ซิกาแรตด้วย ย่อมไม่อาจฟังได้ว่าผู้เสียหายจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของตนไว้สำหรับใช้กับสินค้าบุหรี่ซิกาแรตในอันที่จะมีสิทธิแต่ผู้เดียวในการใช้เครื่องหมายการค้านี้สำหรับสินค้าบุหรี่ซิกาแรตที่มีผลให้การที่จำเลยมีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งบุหรี่ซิกาแรตที่มีเครื่องหมายการค้าเดียวกันกับเครื่องหมายการค้าของผู้เสียหายเป็นการละเมิดสิทธิในเครื่องหมายการค้าของผู้เสียหาย และย่อมไม่เป็นความผิดตามบทกฎหมายที่โจทก์ฟ้องให้ลงโทษจำเลย ฟ้องของโจทก์ในความผิดฐานนี้จึงเป็นคำฟ้องที่บรรยายข้อเท็จจริงไม่ครบองค์ประกอบความผิด แม้จำเลยให้การรับสารภาพก็ไม่อาจลงโทษจำเลยในความผิดดังกล่าวได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า มีผู้ประสงค์สินบนนำจับนำเจ้าพนักงานจับจำเลยได้ ผู้นำจับมีสิทธิได้รับสินบน และมีคำขอท้ายฟ้องให้จ่ายสินบนแก่ผู้นำจับ แต่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางไม่ได้มีคำพิพากษาตามคำขอนี้ จึงยังไม่ถูกต้อง และปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 45 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า มีผู้ประสงค์สินบนนำจับนำเจ้าพนักงานจับจำเลยได้ ผู้นำจับมีสิทธิได้รับสินบน และมีคำขอท้ายฟ้องให้จ่ายสินบนแก่ผู้นำจับ แต่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางไม่ได้มีคำพิพากษาตามคำขอนี้ จึงยังไม่ถูกต้อง และปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 45 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3392/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รับของโจร แม้ไม่ฟ้อง แต่ศาลลงโทษได้ หากมีข้อเท็จจริงต่างจากฟ้องแต่ไม่ถึงสาระสำคัญ
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสี่ในความผิดฐานปล้นทรัพย์ ข้อเท็จจริงที่ปรากฏในทางพิจารณาฟังได้ว่า จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ปล้นทรัพย์ของผู้เสียหายแล้วนำมาแบ่งกันที่บ้านของจำเลยที่ 4 และจำเลยที่ 4 ได้รับทรัพย์ของผู้เสียหายไว้เพื่อประโยชน์แก่ตนเองหรือผู้อื่นโดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นทรัพย์ที่ได้มาจากการกระทำความผิดฐานปล้นทรัพย์ จำเลยที่ 4 จึงมีความผิดฐานรับของโจร แม้โจทก์มิได้ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 4 ในความผิดฐานนี้ แต่กรณีถือได้ว่าข้อเท็จจริงที่ปรากฏในทางพิจารณาแตกต่างกับข้อเท็จจริงดังที่กล่าวในฟ้องระหว่างการกระทำความผิดฐานปล้นทรัพย์กับรับของโจร มิให้ถือว่าต่างกันในสาระสำคัญ ทั้งจำเลยที่ 4 มิได้หลงต่อสู้ ศาลจึงมีอำนาจลงโทษจำเลยที่ 4 ในความผิดฐานรับของโจรได้ โดยไม่ถือว่าเป็นการพิพากษาเกินคำขอหรือเป็นเรื่องที่โจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2536/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องแย้งในคดีละเมิด: การฟ้องของโจทก์ไม่สะดุดอายุความฟ้องแย้งของจำเลย
การฟ้องคดีของโจทก์ซึ่งทำให้อายุความสะดุดหยุดลงย่อมเป็นคุณเฉพาะแก่ฝ่ายโจทก์ หาได้เป็นคุณแก่จำเลยทั้งสองซึ่งฟ้องแย้งด้วยไม่ เมื่อจำเลยทั้งสองฟ้องแย้งพ้นกำหนด 1 ปี นับแต่วันที่จำเลยทั้งสองรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน ฟ้องแย้งของจำเลยทั้งสองจึงขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11959/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความชอบด้วยกฎหมายของฟ้อง, แบบพิมพ์ฟ้อง, และอำนาจฟ้องในคดีเช็ค - การจับกุมและการแจ้งข้อหา
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยออกเช็คธนาคาร ก. สาขาย่อยเซ็นทรัลปิ่นเกล้า รวม 2 ฉบับ เพื่อชำระหนี้เงินกู้ ซึ่งเป็นหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย ต่อมาธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงิน ทั้งนี้จำเลยเจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็ค ฟ้องโจทก์จึงได้บรรยายการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิด ข้อเท็จจริงและรายละเอียดที่เกี่ยวกับเวลาและสถานที่ซึ่งเกิดการกระทำนั้น ๆ อีกทั้งบุคคลหรือสิ่งของที่เกี่ยวข้องด้วยพอสมควรเท่าที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีแล้ว ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4 และ พ.ร.บ.ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ.2520 มาตรา 3 ส่วนที่ว่าหนี้เงินกู้ได้ทำหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อของจำเลยและวันที่ลงในเช็คพิพาท จำเลยมีเงินในบัญชีหรือไม่ เป็นรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบในชั้นพิจารณาได้
แม้การยื่นหรือส่งคำคู่ความต้องทำตามแบบพิมพ์ที่จัดไว้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 67 วรรคสอง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4 และ พ.ร.บ.ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ.2520 มาตรา 3 และโจทก์ยื่นฟ้องโดยมิได้ใช้กระดาษแบบพิมพ์ฟ้อง แบบ อ.ก. 20 ก็ตาม แต่ก็ไม่ทำให้ฟ้องของโจทก์เป็นคำฟ้องที่ไม่ชอบถึงขนาดที่จะรับไว้พิจารณาไม่ได้
การจับบุคคลใดจะกระทำมิได้ เว้นแต่มีหมายจับหรือคำสั่งของศาล หรือผู้นั้นได้กระทำความผิดซึ่งหน้า หรือมีเหตุจำเป็นอย่างอื่นให้จับได้โดยไม่มีหมายจับหรือคำสั่งศาลดังที่บัญญัติไว้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 78 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4 และ พ.ร.บ.ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ.2520 มาตรา 3 เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2553 จำเลยมาปรากฏตัวต่อหน้าพนักงานสอบสวนและพนักงานสอบสวนได้แจ้งข้อหาแก่จำเลยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 134 จึงยังถือไม่ได้ว่าจำเลยถูกจับเพราะยังไม่มีหมายจับหรือคำสั่งของศาล และไม่เข้าข้อยกเว้นตามบทบัญญัติดังกล่าว เมื่อจำเลยยังไม่ถูกจับ จึงไม่อยู่ในบังคับของมาตรา 7 และมาตรา 9 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 ที่โจทก์ต้องฟ้องจำเลยภายในกำหนดเวลาสี่สิบแปดชั่วโมงนับแต่เวลาที่จำเลยถูกจับ หรือต้องผัดฟ้อง หรือได้รับอนุญาตให้ฟ้องคดีจากอัยการสูงสุด
แม้การยื่นหรือส่งคำคู่ความต้องทำตามแบบพิมพ์ที่จัดไว้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 67 วรรคสอง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4 และ พ.ร.บ.ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ.2520 มาตรา 3 และโจทก์ยื่นฟ้องโดยมิได้ใช้กระดาษแบบพิมพ์ฟ้อง แบบ อ.ก. 20 ก็ตาม แต่ก็ไม่ทำให้ฟ้องของโจทก์เป็นคำฟ้องที่ไม่ชอบถึงขนาดที่จะรับไว้พิจารณาไม่ได้
การจับบุคคลใดจะกระทำมิได้ เว้นแต่มีหมายจับหรือคำสั่งของศาล หรือผู้นั้นได้กระทำความผิดซึ่งหน้า หรือมีเหตุจำเป็นอย่างอื่นให้จับได้โดยไม่มีหมายจับหรือคำสั่งศาลดังที่บัญญัติไว้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 78 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4 และ พ.ร.บ.ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ.2520 มาตรา 3 เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2553 จำเลยมาปรากฏตัวต่อหน้าพนักงานสอบสวนและพนักงานสอบสวนได้แจ้งข้อหาแก่จำเลยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 134 จึงยังถือไม่ได้ว่าจำเลยถูกจับเพราะยังไม่มีหมายจับหรือคำสั่งของศาล และไม่เข้าข้อยกเว้นตามบทบัญญัติดังกล่าว เมื่อจำเลยยังไม่ถูกจับ จึงไม่อยู่ในบังคับของมาตรา 7 และมาตรา 9 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 ที่โจทก์ต้องฟ้องจำเลยภายในกำหนดเวลาสี่สิบแปดชั่วโมงนับแต่เวลาที่จำเลยถูกจับ หรือต้องผัดฟ้อง หรือได้รับอนุญาตให้ฟ้องคดีจากอัยการสูงสุด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6435/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบรรยายฟ้องความผิดฐานมีเลื่อยโซ่ยนต์ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต ต้องระบุรายละเอียดให้ชัดเจนเพื่อให้จำเลยเข้าใจข้อหา
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันมีไว้ในครอบครองซึ่งเครื่องเลื่อยโซ่ยนต์ที่ดัดแปลง 1 เครื่อง พร้อมบาร์เลื่อย 1 อัน และโซ่เลื่อยยนต์ 1 เส้น อันเป็นส่วนประกอบของเลื่อยโซ่ยนต์ขับเคลื่อนด้วยกำลังเครื่องจักรกล อันเป็นเครื่องมือสำหรับใช้ตัดไม้ ตามกฎกระทรวงกำหนดลักษณะเลื่อยโซ่ยนต์และส่วนประกอบของเลื่อยโซ่ยนต์ พ.ศ.2551 โดยจำเลยทั้งสองไม่ได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนตามกฎหมาย แม้กฎกระทรวงจะกำหนดลักษณะและขนาดของเลื่อยโซ่ยนต์ที่จะทำให้ผู้ที่มีไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตมีความผิดก็ตาม แต่กฎกระทรวงดังกล่าวกำหนดลักษณะและขนาดเลื่อยโซ่ยนต์เฉพาะที่มีต้นกำลังเกินกว่า 2 แรงม้า โดยมีแผ่นบังคับโซ่ที่มีขนาดความยาวเกินกว่า 12 นิ้ว เท่านั้น เมื่อโจทก์อ้างถึง พ.ร.บ.เลื่อยโซ่ยนต์ พ.ศ.2545 และกฎกระทรวงที่ถือเป็นความผิดไว้ในคำฟ้องแล้ว เท่ากับอ้างว่าเลื่อยโซ่ยนต์ที่จำเลยทั้งสองร่วมกันมีไว้ในครอบครองเป็นเลื่อยโซ่ยนต์ที่มีต้นกำลังเกินกว่า 2 แรงม้า โดยมีแผ่นบังคับโซ่ที่มีขนาดความยาวเกินกว่า 12 นิ้ว ตามที่กำหนดในกฎกระทรวงแล้ว ฟ้องโจทก์จึงเป็นการบรรยายถึงการกระทำที่อ้างว่าจำเลยทั้งสองได้กระทำความผิดพอสมควรที่จะให้จำเลยทั้งสองเข้าใจข้อหาแล้ว เมื่อจำเลยทั้งสองให้การรับสารภาพ ศาลย่อมพิพากษาลงโทษจำเลยทั้งสองได้