พบผลลัพธ์ทั้งหมด 790 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5053/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยึดทรัพย์: สิทธิเหนือโรงแรมแม้ไม่เป็นเจ้าของที่ดิน, การยินยอมใช้ประโยชน์, และความเป็นเจ้าของตามพฤติการณ์
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 298 วรรคหนึ่งและวรรคสาม บทบัญญัติดังกล่าวเป็นข้อพิพาทระหว่างโจทก์ซึ่งเป็นผู้นำยึด กับบุคคลผู้มีชื่อเป็นเจ้าของทรัพย์สินหรือสิทธิเรียกร้องตามที่ปรากฏในทะเบียนหรือหลักฐานอย่างอื่นอันศาลต้องวินิจฉัยว่า ทรัพย์สินดังกล่าวเป็นของลูกหนี้ตามคำพิพากษาหรือไม่ หากได้ความว่า ทรัพย์นั้นเป็นของลูกหนี้ตามคำพิพากษาแล้วศาลจะมีคำสั่งให้ยึดทรัพย์สินหรืออายัดสิทธิเรียกร้องนั้น จำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาจะยื่นคำคัดค้านว่าทรัพย์ที่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาขอให้ยึดนั้นมิใช่ของตนหาได้ไม่
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับคำคัดค้านของจำเลยไม่ชอบ จำเลยไม่มีสิทธิฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ แม้ในชั้นขออนุญาตฎีกาจำเลยจะได้รับอนุญาตให้ฎีกา แต่ก็ไม่ผูกมัดให้ศาลฎีกาวินิจฉัยในเนื้อหา เมื่อฎีกาของจำเลยเป็นฎีกาที่ไม่ชอบ ศาลฎีกาจึงไม่อาจวินิจฉัยให้ได้ป.วิ.พ. มาตรา 298 วรรคหนึ่งและวรรคสาม ให้สิทธิแก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาที่จะคัดค้านคำสั่งเจ้าพนักงานบังคับคดีที่ไม่ยอมยึดทรัพย์สินหรืออายัดสิทธิเรียกร้องที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอ้างว่าเป็นของลูกหนี้ตามคำพิพากษา เพราะมีชื่อบุคคลอื่นเป็นเจ้าของในทะเบียนหรือปรากฎตามหลักฐานอย่างอื่นว่าเป็นของบุคคลอื่น ซึ่งคำร้องคัดค้านของโจทก์ได้กล่าวอ้างมูลเหตุที่มาในการยื่นคำร้องพร้อมทั้งเหตุผลสนับสนุน เพื่อขอให้ศาลไต่สวนและมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์สินที่อ้างว่าเป็นของจำเลย คำร้องของโจทก์จึงชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 298 วรรคสาม
โจทก์นำสืบให้เห็นว่าทรัพย์สินที่โจทก์ขอให้ยึดเป็นของจำเลยตามคำพิพากษาก็เพียงพอแล้ว หาจำต้องนำสืบให้เห็นว่าการที่เจ้าพนักงานบังคับคดีเห็นควรงดการยึดทรัพย์สินนั้น เป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายอย่างไรด้วยไม่
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับคำคัดค้านของจำเลยไม่ชอบ จำเลยไม่มีสิทธิฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ แม้ในชั้นขออนุญาตฎีกาจำเลยจะได้รับอนุญาตให้ฎีกา แต่ก็ไม่ผูกมัดให้ศาลฎีกาวินิจฉัยในเนื้อหา เมื่อฎีกาของจำเลยเป็นฎีกาที่ไม่ชอบ ศาลฎีกาจึงไม่อาจวินิจฉัยให้ได้ป.วิ.พ. มาตรา 298 วรรคหนึ่งและวรรคสาม ให้สิทธิแก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาที่จะคัดค้านคำสั่งเจ้าพนักงานบังคับคดีที่ไม่ยอมยึดทรัพย์สินหรืออายัดสิทธิเรียกร้องที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอ้างว่าเป็นของลูกหนี้ตามคำพิพากษา เพราะมีชื่อบุคคลอื่นเป็นเจ้าของในทะเบียนหรือปรากฎตามหลักฐานอย่างอื่นว่าเป็นของบุคคลอื่น ซึ่งคำร้องคัดค้านของโจทก์ได้กล่าวอ้างมูลเหตุที่มาในการยื่นคำร้องพร้อมทั้งเหตุผลสนับสนุน เพื่อขอให้ศาลไต่สวนและมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์สินที่อ้างว่าเป็นของจำเลย คำร้องของโจทก์จึงชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 298 วรรคสาม
โจทก์นำสืบให้เห็นว่าทรัพย์สินที่โจทก์ขอให้ยึดเป็นของจำเลยตามคำพิพากษาก็เพียงพอแล้ว หาจำต้องนำสืบให้เห็นว่าการที่เจ้าพนักงานบังคับคดีเห็นควรงดการยึดทรัพย์สินนั้น เป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายอย่างไรด้วยไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3018/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปรับบทความผิดจาก พ.ร.บ.ยาเสพติด พ.ศ.2522 เป็นประมวลกฎหมายยาเสพติด และพิจารณาโทษตามพฤติการณ์
หลังจากจับกุมจำเลยพร้อมยึดเมทแอมเฟตามีนของกลาง 400 เม็ด ที่ล่อซื้อจากจำเลยบริเวณข้างบ้านที่เกิดเหตุ มีการตรวจค้นบริเวณบ้านที่เกิดเหตุแต่ไม่พบสิ่งผิดกฎหมาย ในระหว่างนั้น จำเลยให้ข้อมูลว่ายังมีเมทแอมเฟตามีนซุกซ่อนฝังดินไว้พร้อมพาเจ้าพนักงานไปขุดพบเมทแอมเฟตามีนของกลาง 600 เม็ด บริเวณหลังบ้านที่เกิดเหตุ และขุดพบเมทแอมเฟตามีนของกลางอีก 1,000 เม็ด บริเวณไร่อ้อยห่างจากหลังบ้านที่เกิดเหตุประมาณ 20 เมตร ทั้งเจ้าพนักงานฝ่ายปกครองให้ข้อมูลว่า หากไม่ได้ข้อมูลจากจำเลย ก็จะไม่สามารถตรวจค้นเจอยาเสพติดของกลาง ศาลฎีกาโดยมติที่ประชุมใหญ่ เห็นว่า หากจำเลยไม่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับเมทแอมเฟตามีนที่จำเลยซุกซ่อนไว้และพาเจ้าพนักงานไปขุดพบเมทแอมเฟตามีนอีก 1,600 เม็ด เจ้าพนักงานคงไม่สามารถตรวจพบเมทแอมเฟตามีนดังกล่าวได้ ถือว่าจำเลยได้ให้ข้อมูลที่สำคัญและเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดต่อพนักงานฝ่ายปกครอง โดยหาจำต้องเป็นข้อมูลเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษหรือการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษรายอื่นไม่ และมิใช่เป็นกรณีที่จำเลยให้ความร่วมมือต่อเจ้าพนักงานเพื่อเป็นเหตุบรรเทาโทษที่เกิดจากการรู้สึกความผิด หรือลุแก่โทษต่อเจ้าพนักงานอันควรได้รับการลดโทษตามความแห่ง ป.อ. มาตรา 78 ศาลชอบที่จะใช้ดุลพินิจลงโทษจำเลยน้อยกว่าอัตราโทษขั้นต่ำที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 100/2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2648/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รับของโจร: แม้ฟ้องฐานลักทรัพย์ แต่พิพากษาลงโทษฐานรับของโจรได้ หากพฤติการณ์สอดคล้อง
โรงแรมของผู้เสียหายปิดกิจการตั้งแต่ปี 2559 ทั้งปักป้ายมีข้อความระบุว่า "ห้ามเข้า ห้ามบุกรุก ปิดกิจการ" และไม่มีผู้รักษาความปลอดภัยประจำอยู่ สุจริตชนโดยทั่วไปย่อมไม่เข้าไปในบริเวณดังกล่าว ช่วงเวลาเกิดเหตุ จำเลยขับรถจักรยานยนต์สามล้อผ่านหน้าโรงแรมของผู้เสียหาย อ.ร้องเรียกให้จำเลยช่วยลากรถเข็นล้อเลื่อนซึ่งบรรทุกบานไม้อัดยางช่องชาร์ปกลับบ้าน เมื่อเหตุเกิดเวลากลางคืนอันเป็นยามวิกาล ซึ่ง อ. พยานจำเลยเบิกความตอบคำถามค้านโจทก์ว่า พยานไปนำบานประตูไม้จากโรงแรม ร. ไม่ได้ขออนุญาตจากผู้ใด บานประตูไม้อัดยางช่องชาร์ปที่ อ. นำมามีจำนวนมากถึง 14 บาน จำเลยย่อมต้องตระหนักถึงความไม่สุจริตของ อ. และรับรู้ถึงความผิดปกติเกี่ยวกับแหล่งที่มาของบานประตูไม้อัดยางช่องชาร์ปว่าต้องเป็นทรัพย์ที่ได้มาจากการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ การกระทำของจำเลยจึงเป็นการรับไว้ด้วยประการใด ๆ และช่วยพาเอาไปเสียซึ่งทรัพย์อันได้มาโดยการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ ครบองค์ประกอบเป็นความผิดฐานรับของโจรตาม ป.อ. มาตรา 357 แล้ว แม้คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานร่วมกับพวกลักทรัพย์ในเวลากลางคืน โดยใช้ยานพาหนะเพื่อสะดวกแก่การกระทำผิด หรือการพาทรัพย์นั้นไป หรือเพื่อให้พ้นการจับกุมตาม ป.อ. มาตรา 334, 335, 336 ทวิ แต่เมื่อศาลฎีกาพิจารณาแล้ว เห็นว่า การกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานรับของโจร อันเป็นกรณีซึ่งข้อเท็จจริงที่ปรากฏในการพิจารณาแตกต่างจากที่กล่าวมาในคำฟ้อง แต่ไม่ใช่ข้อแตกต่างในข้อสาระสำคัญ ทั้งจำเลยมิได้หลงต่อสู้ ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจลงโทษจำเลยในความผิดฐานรับของโจรตามข้อเท็จจริงซึ่งพิจารณาได้ความได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสาม ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 163/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดพยายามส่งออกของโดยไม่ผ่านพิธีการศุลกากร พฤติการณ์ใกล้ชิดความสำเร็จ การกระทำปกปิดความผิด
ได้ความจากร้อยตรี ณ. ว่าวันเกิดเหตุ ชุดปฏิบัติการของพยานเฝ้าระวังอยู่ที่บริเวณแยกหนองสังข์ ส่วนพยานคอยตรวจเส้นทางระหว่างตำบลหนองสังข์ไปยังอำเภอโคกสูง จนกระทั่งเวลา 14 นาฬิกา ได้รับแจ้งจากชุดระวังหน้าว่ามีรถเป้าหมายเข้าพื้นที่เป็นรถกระบะสีขาวและรถกระบะสีบรอนซ์ขับตามกันมา พยานสวนกับรถเป้าหมายจึงกลับรถเพื่อติดตามรถเป้าหมายไป ต่อมาเมื่อจับกุมจําเลยทั้งสี่ ได้ตรวจค้นรถกระบะคันที่จําเลยที่ 1 ขับ ก็พบรถจักรยานยนต์ไม่ติดแผ่นป้ายทะเบียนสี่คันของกลาง ชั้นจับกุมจําเลยที่ 1 และที่ 2 ให้การว่าได้รับการว่าจ้างจากลูกค้าไม่ทราบชื่อให้ขนส่งนํารถจักรยานยนต์ทั้งสี่คันมาส่งบริเวณใกล้ชายแดนไทย-กัมพูชา เขตอำเภอโคกสูง จังหวัดสระแก้ว แล้วจะมีคนมารับช่วงนําข้ามไปยังฝั่งประเทศกัมพูชา โดยได้ค่าจ้าง 7,000 บาท ส่วนจําเลยที่ 3 รับว่าจะเป็นผู้รับช่วงต่อจากจําเลยที่ 1 และที่ 2 ในการนํารถจักรยานยนต์ส่งออกไปจําหน่ายยังประเทศกัมพูชา ตามบันทึกการจับกุม ซึ่งคำให้การชั้นจับกุมนี้ แม้ ป.วิ.อ. มาตรา 84 วรรคท้าย จะห้ามไม่ให้รับฟังเป็นพยานหลักฐานแต่กฎหมายห้ามมิให้รับฟังเพื่อพิสูจน์ความผิดของผู้ถูกจับเท่านั้น มิได้ห้ามรับฟังเป็นพยานหลักฐานเพื่อพิสูจน์ความผิดของผู้ร่วมกระทำความผิดคนอื่น จึงรับฟังบันทึกการจับกุมของจําเลยที่ 3 ประกอบคําเบิกความพยานโจทก์ผู้จับกุมและพยานหลักฐานอื่นที่โจทก์อ้างเป็นพยานตาม ป.วิ.อ. มาตรา 226 โดยชอบ เพื่อพิสูจน์ความผิดของจําเลยที่ 1 และที่ 2 ได้
พฤติการณ์ของจําเลยที่ 1 และที่ 2 ที่รับจ้างขนส่งรถจักรยานยนต์ไม่ติดแผ่นป้ายทะเบียนจำนวนมาก แต่อ้างว่าไม่รู้ว่าผู้รับจ้างเป็นใคร กลับส่อแสดงให้เห็นว่าจําเลยที่ 1 และที่ 2 ปกปิดการกระทำความผิดโดยรู้ว่าเป็นการนํารถจักรยานยนต์ทั้งสี่คันของกลางออกนอกราชอาณาจักร และการที่จําเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันนำรถจักรยานยนต์ไม่ติดแผ่นป้ายทะเบียนของกลางบรรทุกมากับรถกระบะ เดินทางจากกรุงเทพมหานคร ไปยังจุดเกิดเหตุ ห่างจากชายแดนไทย-กัมพูชา เพียง 3 กิโลเมตร เพื่อจะส่งมอบแก่ผู้รับช่วงนํารถจักรยานยนต์ดังกล่าวส่งข้ามชายแดนไปประเทศกัมพูชาถือได้ว่าการกระทำของจําเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นการกระทำที่ใกล้ชิดต่อความผิดสำเร็จเข้าขั้นลงมือกระทำความผิดแล้ว แต่การกระทำไม่บรรลุผลเนื่องจากเจ้าพนักงานพบเห็นและจับกุมจำเลยที่ 1 และที่ 2 เสียก่อน จําเลยที่ 1 และที่ 2 จึงมีความผิดฐานร่วมกันพยายามส่งออกไปนอกราชอาณาจักรซึ่งของที่ยังมิได้ผ่านพิธีการศุลกากร มิใช่ไม่เป็นความผิดเพราะไม่ถึงขั้นลงมือกระทำความผิดดังที่จําเลยที่ 1 และที่ 2 ฎีกา
การกระทำของจําเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นการกระทำที่ไม่เคารพยำเกรงต่อกฎหมาย สร้างความเสียหายในทางเศรษฐกิจและสังคม พฤติการณ์แห่งคดีนับว่าเป็นเรื่องร้ายแรง แม้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่เคยต้องโทษจําคุกมาก่อน มีภาระต้องรับผิดชอบต่อครอบครัว รวมทั้งเหตุผลความจําเป็นประการอื่น ก็ยังไม่มีเหตุที่จะรอการลงโทษ
พฤติการณ์ของจําเลยที่ 1 และที่ 2 ที่รับจ้างขนส่งรถจักรยานยนต์ไม่ติดแผ่นป้ายทะเบียนจำนวนมาก แต่อ้างว่าไม่รู้ว่าผู้รับจ้างเป็นใคร กลับส่อแสดงให้เห็นว่าจําเลยที่ 1 และที่ 2 ปกปิดการกระทำความผิดโดยรู้ว่าเป็นการนํารถจักรยานยนต์ทั้งสี่คันของกลางออกนอกราชอาณาจักร และการที่จําเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันนำรถจักรยานยนต์ไม่ติดแผ่นป้ายทะเบียนของกลางบรรทุกมากับรถกระบะ เดินทางจากกรุงเทพมหานคร ไปยังจุดเกิดเหตุ ห่างจากชายแดนไทย-กัมพูชา เพียง 3 กิโลเมตร เพื่อจะส่งมอบแก่ผู้รับช่วงนํารถจักรยานยนต์ดังกล่าวส่งข้ามชายแดนไปประเทศกัมพูชาถือได้ว่าการกระทำของจําเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นการกระทำที่ใกล้ชิดต่อความผิดสำเร็จเข้าขั้นลงมือกระทำความผิดแล้ว แต่การกระทำไม่บรรลุผลเนื่องจากเจ้าพนักงานพบเห็นและจับกุมจำเลยที่ 1 และที่ 2 เสียก่อน จําเลยที่ 1 และที่ 2 จึงมีความผิดฐานร่วมกันพยายามส่งออกไปนอกราชอาณาจักรซึ่งของที่ยังมิได้ผ่านพิธีการศุลกากร มิใช่ไม่เป็นความผิดเพราะไม่ถึงขั้นลงมือกระทำความผิดดังที่จําเลยที่ 1 และที่ 2 ฎีกา
การกระทำของจําเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นการกระทำที่ไม่เคารพยำเกรงต่อกฎหมาย สร้างความเสียหายในทางเศรษฐกิจและสังคม พฤติการณ์แห่งคดีนับว่าเป็นเรื่องร้ายแรง แม้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่เคยต้องโทษจําคุกมาก่อน มีภาระต้องรับผิดชอบต่อครอบครัว รวมทั้งเหตุผลความจําเป็นประการอื่น ก็ยังไม่มีเหตุที่จะรอการลงโทษ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5425/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในอาวุธปืนมรดกและการรู้เห็นเป็นใจในการกระทำผิด ศาลพิจารณาเจ้าของกรรมสิทธิ์และพฤติการณ์
ก่อนเกิดเหตุ จำเลยไปหาผู้ร้องและหยิบอาวุธปืนของกลางออกมาเพื่อใช้ซ้อมยิงปืนในค่ายทหารซึ่งเป็นกิจกรรมที่จำเลยกระทำอยู่เป็นประจำ ภายหลังจากนั้นจำเลยพาอาวุธปืนของกลางติดตัวมาใช้ก่อเหตุ อันแสดงให้เห็นว่าผู้ร้องมิได้เข้มงวดกวดขันในการอนุญาตให้จำเลยนำอาวุธปืนของกลางไปใช้อย่างแท้จริง และการที่จำเลยสามารถหยิบอาวุธปืนของกลางไปใช้ได้โดยไม่จำต้องบอกกล่าววัตถุประสงค์ให้ผู้ร้องทราบก่อน ย่อมแสดงว่าผู้ร้องอนุญาตโดยปริยายให้จำเลยนำอาวุธปืนของกลางไปใช้ได้ตลอดเวลาโดยไม่คำนึงถึงว่าจำเลยจะนำไปใช้ในกิจกรรมใด ถือได้ว่าผู้ร้องมีส่วนรู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดของจำเลย ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิร้องขอคืนอาวุธปืนของกลาง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4676/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตัวการร่วมปลอมและใช้เอกสารราชการปลอม: พฤติการณ์ร่วมรู้เห็นตั้งแต่ต้นจนจบมีผลต่อการเป็นตัวการ
จำเลยที่ 3 ร่วมเดินทางไปกับจำเลยที่ 2 และร่วมรู้เห็นเหตุการณ์ที่จำเลยที่ 1 ขอให้จำเลยที่ 2 ที่ 4 และที่ 5 ช่วยหานายทุนรับจำนำรถที่จำเลยที่ 1 เช่าจากร้าน ภ. แต่จำเลยที่ 2 ที่ 4 และที่ 5 ปฏิเสธเนื่องจากจำเลยที่ 1 ไม่มีเอกสารเกี่ยวกับรถ รวมทั้งเหตุการณ์ในคดีนี้ที่จำเลยที่ 1 ขอให้จำเลยที่ 2 ที่ 4 และที่ 5 ช่วยหานายทุนรับจำนำรถที่จำเลยที่ 1 เช่าจากบริษัท ท. โดยจำเลยที่ 1 ไม่มีเอกสารเกี่ยวกับรถเช่นเดียวกัน แต่จำเลยที่ 2 ที่ 4 และที่ 5 กลับยินยอมช่วยหานายทุนรับจำนำรถให้และพากันขับรถไปจังหวัดลำปางแล้วร่วมกันจัดทำสำเนารายการจดทะเบียนรถปลอม โดยจำเลยที่ 3 ให้การรับว่า จำเลยที่ 2 จะได้ค่านายหน้าจากยอดเงินที่มีการจำนำจากเจ้าของรถในอัตราร้อยละ 5 บ่งชี้ว่า จำเลยที่ 3 รู้ว่ารถในคดีนี้ไม่สามารถนำไปจำนำโดยถูกต้องตามกฎหมายได้ เพราะไม่มีรายการจดทะเบียนที่มีชื่อจำเลยที่ 1 เป็นผู้ครอบครอง จากพฤติการณ์ของจำเลยที่ 3 ที่ได้อยู่ร่วมกับจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 4 และที่ 5 ในเหตุการณ์ตั้งแต่เริ่มต้นจนสิ้นสุดเช่นนี้ ถือได้ว่าจำเลยที่ 3 เป็นตัวการร่วมกับจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 4 และที่ 5 ในการกระทำความผิดฐานปลอมและใช้เอกสารปลอม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2421/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับวินิจฉัยข้อเท็จจริงใหม่ที่ขัดกับการรับสารภาพเดิม และพิจารณาโทษจำเลยต่างกันตามพฤติการณ์
จำเลยทั้งสองฎีกาว่าจำเลยทั้งสองไม่ได้กระทำความผิดตามฟ้องโจทก์ แต่เมื่อความผิดดังกล่าวจำเลยทั้งสองให้การรับสารภาพ ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกระทำความผิดของจำเลยทั้งสองย่อมรับฟังเป็นยุติได้ตามฟ้องโจทก์ การที่จำเลยทั้งสองฎีกาโต้เถียงข้อเท็จจริงเป็นอย่างอื่นนอกจากที่ให้การรับสารภาพและเป็นฎีกาข้อเท็จจริงขึ้นใหม่ในชั้นฎีกา จึงเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง และมาตรา 252 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 และ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีค้ามนุษย์ พ.ศ.2559 มาตรา 47 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 264/2567
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับวินิจฉัยประเด็นไตร่ตรองไว้ก่อน เหตุข้อเท็จจริงถึงที่สุดแล้ว แต่ยืนตามโทษเดิมเนื่องจากพฤติการณ์โหดร้าย
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 289 (4) อันเป็นความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน และลงโทษจำคุกจำเลยตลอดชีวิต จำเลยอุทธรณ์ขอให้ลงโทษสถานเบากว่าคำพิพากษาศาลชั้นต้น ดังนี้ การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัยว่า จำเลยเป็นคนร้ายที่ฆ่าผู้ตายโดยไตร่ตรองไว้ก่อนเป็นการวินิจฉัยโดยอาศัยอำนาจตาม ป.วิ.อ. มาตรา 245 วรรคสอง มิได้วินิจฉัยเพราะจำเลยอุทธรณ์ เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืน ข้อเท็จจริงที่ว่าจำเลยกระทำความผิดฐานฆ่าผู้ตายโดยไตร่ตรองไว้ก่อนหรือไม่ จึงเป็นอันถึงที่สุดตามบทบัญญัติกฎหมายดังกล่าว จำเลยไม่มีสิทธิฎีกาว่าไม่ได้มีการไตร่ตรองหรือตระเตรียมการเพื่อเจตนาฆ่าผู้ตายได้อีก ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของจำเลยในประเด็นนี้ เป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2306/2567
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดโทษใหม่ในคดียาเสพติดตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่ โดยพิจารณาจากปริมาณยาเสพติดและพฤติการณ์
แม้ข้อเท็จจริงได้ความว่าจำเลยเพียงแต่เปิดบัญชีเงินฝากธนาคารตามคำสั่งของพวกเพื่อรับโอนเงินค่ายาเสพติด แต่ก็มีลักษณะเป็นการแบ่งหน้าที่กันทำด้วยการสมคบกันเพื่อกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด และในที่สุดได้ร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนของกลางไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายเพราะเหตุที่ได้มีการสมคบกันดังกล่าว การกระทำของจำเลยจึงหาใช่เป็นเพียงความผิดฐานยอมให้ผู้อื่นใช้บัญชีธนาคาร โดยรู้หรือควรรู้ว่าจะเป็นประโยชน์ต่อการกระทำความผิดร้ายแรงเกี่ยวกับยาเสพติดตาม ป.ยาเสพติด มาตรา 129 ซึ่งมีระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ เท่านั้นไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1446-1447/2567
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปรับบทความผิดจำหน่ายยาเสพติด: พิจารณาพฤติการณ์และผลกระทบต่อสังคมเพื่อกำหนดโทษที่เหมาะสม
เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 2 แล้ว จำเลยที่ 2 ไม่อุทธรณ์ แสดงว่าจำเลยที่ 2 พอใจคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้ว เมื่อต่อมาศาลอุทธรณ์ได้พิจารณาคดีสำหรับจำเลยที่ 2 ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 245 วรรคสอง ประกอบ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ. 2550 มาตรา 16 แล้ววินิจฉัยว่า จำเลยที่ 2 กระทำความผิดจริงตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ประเด็นว่าจำเลยที่ 2 กระทำความผิดตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นหรือไม่จึงยุติแล้ว การที่จำเลยที่ 2 กลับมาฎีกาอีกว่าจำเลยที่ 2 ไม่ได้เป็นผู้กระทำความผิด ขอให้ยกฟ้องนั้น จึงเป็นฎีกาในประเด็นที่ยุติไปแล้ว ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ปัญหาว่าการกระทำความผิดของจำเลยที่ 2 กับพวกจะเป็นความผิดตาม ป.ยาเสพติด มาตรา 90, 145 วรรคใด นั้น ป.ยาเสพติด มาตรา 145 ได้บัญญัติให้ลงโทษหนักขึ้นโดยถือเอาพฤติการณ์ในการกระทำความผิดหรือบทบาทหน้าที่ในการกระทำความผิดเป็นสำคัญตามลำดับความร้ายแรง หากผู้กระทำความผิดไม่มีพฤติการณ์หรือบทบาทหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.ยาเสพติด มาตรา 145 วรรคสองหรือวรรคสาม ศาลย่อมไม่อาจปรับบทกำหนดโทษตามมาตรา 145 วรรคสองหรือวรรคสาม ได้ คงปรับบทกำหนดโทษได้เพียงมาตรา 145 วรรคหนึ่ง เมื่อ ป.ยาเสพติดกำหนดโทษสำหรับผู้กระทำความผิดโดยถือเอาพฤติการณ์ในการกระทำความผิดหรือบทบาทหน้าที่ในการกระทำความผิดเป็นสำคัญตามลำดับความร้ายแรง ดังนั้น การจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนที่ทำให้เกิดผลกระทบต่อความปลอดภัยของประชาชนทั่วไปตาม ป.ยาเสพติด มาตรา 145 วรรคสาม (2) จึงจะต้องเป็นการกระทำที่ก่ออันตรายแก่สังคมอย่างร้ายแรงเป็นวงกว้าง อันเป็นการเพิ่มกระจายความรุนแรงของยาเสพติดและทำให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรง กฎหมายจึงต้องกำหนดโทษไว้สูงถึงประหารชีวิตทำนองเดียวกับทำให้เกิดผลกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ ตาม ป.ยาเสพติด มาตรา 145 วรรคสาม (2) แต่ข้อเท็จจริงคดีนี้ได้ความเพียงว่า เจ้าพนักงานตำรวจให้สายลับล่อซื้อเมทแอมเฟตามีนจากจำเลยที่ 2 จำนวน 400 เม็ด ในราคา 14,000 บาท เมื่อจับกุม ข. ที่นำเมทแอมเฟตามีนมาส่งแล้ว ข. พาไปยึดเมทแอมเฟตามีนได้อีก 3,600 เม็ด รวม 4,000 เม็ด คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ 40.045 กรัม ซึ่งไม่ถึงขนาดที่ก่ออันตรายแก่สังคมอย่างร้ายแรงเป็นวงกว้างได้ จึงไม่อาจถือได้ว่าเป็นการจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนที่ทำให้เกิดผลกระทบต่อความปลอดภัยของประชาชนทั่วไปตาม ป.ยาเสพติด มาตรา 145 วรรคสาม (2) แต่ปรากฏพฤติการณ์ว่าก่อนเกิดเหตุคดีนี้จำเลยที่ 2 เคยร่วมกับพวกจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนในลักษณะเช่นเดียวกันนี้มาหลายครั้งแล้ว ซึ่งเป็นการขายเมทแอมเฟตามีนเพื่อแสวงหากำไรเป็นปกติถือได้ว่าเป็นการจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนเพื่อการค้าตาม ป.ยาเสพติด มาตรา 145 วรรคสอง (1) ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยแก้ไขให้ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 และ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ. 2550 มาตรา 3
ปัญหาว่าการกระทำความผิดของจำเลยที่ 2 กับพวกจะเป็นความผิดตาม ป.ยาเสพติด มาตรา 90, 145 วรรคใด นั้น ป.ยาเสพติด มาตรา 145 ได้บัญญัติให้ลงโทษหนักขึ้นโดยถือเอาพฤติการณ์ในการกระทำความผิดหรือบทบาทหน้าที่ในการกระทำความผิดเป็นสำคัญตามลำดับความร้ายแรง หากผู้กระทำความผิดไม่มีพฤติการณ์หรือบทบาทหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.ยาเสพติด มาตรา 145 วรรคสองหรือวรรคสาม ศาลย่อมไม่อาจปรับบทกำหนดโทษตามมาตรา 145 วรรคสองหรือวรรคสาม ได้ คงปรับบทกำหนดโทษได้เพียงมาตรา 145 วรรคหนึ่ง เมื่อ ป.ยาเสพติดกำหนดโทษสำหรับผู้กระทำความผิดโดยถือเอาพฤติการณ์ในการกระทำความผิดหรือบทบาทหน้าที่ในการกระทำความผิดเป็นสำคัญตามลำดับความร้ายแรง ดังนั้น การจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนที่ทำให้เกิดผลกระทบต่อความปลอดภัยของประชาชนทั่วไปตาม ป.ยาเสพติด มาตรา 145 วรรคสาม (2) จึงจะต้องเป็นการกระทำที่ก่ออันตรายแก่สังคมอย่างร้ายแรงเป็นวงกว้าง อันเป็นการเพิ่มกระจายความรุนแรงของยาเสพติดและทำให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรง กฎหมายจึงต้องกำหนดโทษไว้สูงถึงประหารชีวิตทำนองเดียวกับทำให้เกิดผลกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ ตาม ป.ยาเสพติด มาตรา 145 วรรคสาม (2) แต่ข้อเท็จจริงคดีนี้ได้ความเพียงว่า เจ้าพนักงานตำรวจให้สายลับล่อซื้อเมทแอมเฟตามีนจากจำเลยที่ 2 จำนวน 400 เม็ด ในราคา 14,000 บาท เมื่อจับกุม ข. ที่นำเมทแอมเฟตามีนมาส่งแล้ว ข. พาไปยึดเมทแอมเฟตามีนได้อีก 3,600 เม็ด รวม 4,000 เม็ด คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ 40.045 กรัม ซึ่งไม่ถึงขนาดที่ก่ออันตรายแก่สังคมอย่างร้ายแรงเป็นวงกว้างได้ จึงไม่อาจถือได้ว่าเป็นการจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนที่ทำให้เกิดผลกระทบต่อความปลอดภัยของประชาชนทั่วไปตาม ป.ยาเสพติด มาตรา 145 วรรคสาม (2) แต่ปรากฏพฤติการณ์ว่าก่อนเกิดเหตุคดีนี้จำเลยที่ 2 เคยร่วมกับพวกจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนในลักษณะเช่นเดียวกันนี้มาหลายครั้งแล้ว ซึ่งเป็นการขายเมทแอมเฟตามีนเพื่อแสวงหากำไรเป็นปกติถือได้ว่าเป็นการจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนเพื่อการค้าตาม ป.ยาเสพติด มาตรา 145 วรรคสอง (1) ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยแก้ไขให้ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 และ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ. 2550 มาตรา 3