พบผลลัพธ์ทั้งหมด 831 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11076/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจทนายฟ้องคดีหลังผู้มอบอำนาจเสียชีวิต: ศาลไม่รับฎีกาหากทนายไม่มีอำนาจตามกฎหมาย
ตามคำร้องของทนายโจทก์ที่ 2 ลงวันที่ 20 พฤศจิกายน 2545 ปรากฏว่าโจทก์ที่ 2 ถึงแก่ความตายเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2545 และศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ทนายโจทก์ที่ 2 ดำเนินคดีแทนโจทก์ที่ 2 ในฐานะตัวแทนเพื่อไม่ให้กระบวนพิจารณาเสียหายเท่านั้น หลังจากนั้นไม่ปรากฏว่ามีผู้บุพการี ผู้สืบสันดาน หรือภริยาของโจทก์ที่ 2 ประสงค์เข้าดำเนินคดีแทนโจทก์ที่ 2 ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 29 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4 การที่โจทก์ที่ 2 ฎีกาโดยทนายโจทก์ที่ 2 เป็นผู้กระทำการแทนและลงลายมือชื่อเป็นผู้ฎีกาเช่นนี้ เมื่อโจทก์ที่ 2 ถึงแก่ความตายระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นนับจนถึงเวลาที่ทนายโจทก์ที่ 2 ยื่นฎีกาเป็นเวลาเกือบ 3 ปี ทนายโจทก์ที่ 2 ย่อมหมดสภาพจากการเป็นทนายของโจทก์ที่ 2 และล่วงเลยเวลาที่ทนายโจทก์ที่ 2 จะจัดการอันสมควรเพื่อปกปักรักษาประโยชน์ที่โจทก์ที่ 2 มอบหมายแก่ตน จนกว่าจะมีผู้เข้าดำเนินคดีแทนโจทก์ที่ 2 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 828 แล้ว จึงไม่มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ที่ 2 อีกต่อไป ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของโจทก์ที่ 2 มาเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10455-10462/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมอบอำนาจฟ้องคดีของวัดต้องมีเอกสารถูกต้องตามกฎหมายและปิดอากรแสตมป์ มิฉะนั้นการมอบอำนาจนั้นไม่ชอบ
ประเด็นที่ต้องวินิจฉัยว่า การมอบอำนาจให้ฟ้องคดีของโจทก์ชอบด้วยกฎหมายที่จะทำให้โจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่ แม้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 8 และที่ 10 จะไม่ได้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้มาในศาลล่าง แต่เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย จำเลยที่ 1 ถึงที่ 8 - และที่ 10 จึงยกขึ้นในชั้นฎีกาได้ การที่โจทก์ซึ่งเป็นวัดผู้ที่มีหน้าที่กระทำการแทนคือเจ้าอาวาส หากเจ้าอาวาสไม่กระทำด้วยตนเอง ต้องการให้บุคคลอื่นกระทำแทน รวมถึงการฟ้องคดีก็ต้องทำเป็นหนังสือมอบอำนาจและต้องปิดอากรแสตมป์ตาม ป.รัษฎากร เมื่อการมอบอำนาจระหว่างเจ้าอาวาสของโจทก์ที่ตั้งให้ ส. ดำเนินคดีแทนโดยไม่ปิดอากรแสตมป์ การมอบอำนาจจึงไม่ชอบ ส. จึงไม่มีอำนาจมอบอำนาจช่วงให้ จ. เป็นผู้รับมอบอำนาจฟ้องคดีได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9069/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความในคดีทรัพย์สินทางปัญญา: การเปลี่ยนแปลงกฎหมายและผลกระทบต่อการฟ้องคดี
แม้ พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.2551 จะยกเลิก พ.ร.บ.ควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์ พ.ศ.2530 แต่ก็มิได้ยกเลิกความผิดฐานประกอบกิจการให้เช่าแผ่นดีวีดีและวีซีดีภาพยนตร์โดยไม่ได้รับอนุญาตจำเลยกระทำความผิดฐานนี้ในขณะที่ พ.ร.บ.ควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์ พ.ศ.2530 ใช้บังคับ แต่ขณะที่จำเลยถูกฟ้องเป็นคดีนี้ พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.2551 ได้ยกเลิก พ.ร.บ.ควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์ พ.ศ.2530 ไปแล้ว การกระทำของจำเลยที่เป็นความผิดตามมาตรา 38 วรรคหนึ่ง, 79 ซึ่งมีอายุความ 1 ปี ตาม ป.อ. มาตรา 95 (5) เมื่ออายุความตามกฎหมายใหม่เป็นคุณแก่จำเลยมากกว่า จึงต้องนำอายุความตามกฎหมายใหม่มาใช้บังคับตาม ป.อ. มาตรา 3 โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2551 เกินกว่า 1 ปี นับแต่วันที่จำเลยกระทำความผิด คดีสำหรับความผิดฐานนี้จึงเป็นอันขาดอายุความ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไป
โจทก์ฟ้องและมีคำขอให้ของกลางตกเป็นของเจ้าของลิขสิทธิ์ แต่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมิได้มีคำวินิจฉัยเกี่ยวกับของกลางที่เป็นแผ่นดีวีดีภาพยนตร์ แม้คู่ความมิได้อุทธรณ์ปัญหานี้ แต่ข้อนี้เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศมีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขได้เอง
โจทก์ฟ้องและมีคำขอให้ของกลางตกเป็นของเจ้าของลิขสิทธิ์ แต่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมิได้มีคำวินิจฉัยเกี่ยวกับของกลางที่เป็นแผ่นดีวีดีภาพยนตร์ แม้คู่ความมิได้อุทธรณ์ปัญหานี้ แต่ข้อนี้เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศมีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขได้เอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8714/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีภาษีอากรข้ามกำหนดระยะเวลา แม้จะยื่นฟ้องผิดศาลก็ไม่มีอำนาจฟ้อง
เดิมโจทก์ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นคำฟ้องคดีต่อศาลภาษีอากรกลางซึ่งศาลภาษีอากรกลางได้รับไว้ และมีคำสั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นคำฟ้องให้โจทก์ต่อมาโจทก์กลับนำคดีมายื่นฟ้องจำเลยต่อศาลจังหวัดเชียงใหม่ซึ่งมิใช่ภูมิลำเนาของจำเลยศาลภาษีอากรกลางจึงมีคำสั่งไม่รับคำฟ้อง โจทก์จึงมายื่นฟ้องเป็นคดีนี้เมื่อเกินกำหนดระยะเวลายื่นคำฟ้องที่ศาลภาษีอากรกลางขยายให้ ซึ่งถือเป็นความบกพร่องของทนายโจทก์เองและกำหนดเวลาการอุทธรณ์คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาลที่กำหนดไว้ใน ป.รัษฎากร มาตรา 30 (2) ถือเป็นระยะเวลาให้ฟ้องคดีที่เกี่ยวด้วยวิธีพิจารณาความแพ่ง ไม่ถือเป็นอายุความ จึงไม่อาจนำบทบัญญัติตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/17 วรรคสอง มาบังคับใช้กับกรณีนี้ได้ นอกจากนี้แม้ศาลภาษีอากรกลางมีอำนาจขยายได้โดยอาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร ฯ มาตรา 17 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 23 แต่การที่โจทก์เข้าใจผิดในข้อกฎหมายเป็นเหตุให้โจทก์ยื่นฟ้องผิดศาลไม่ใช่เหตุสุดวิสัยที่ศาลจะใช้ดุลพินิจขยายระยะเวลาให้ได้ ดังนั้น เมื่อโจทก์ยื่นคำฟ้องต่อศาลภาษีอากรกลางเมื่อพ้นระยะเวลาตามที่ขอขยายระยะเวลาการอุทธรณ์คำวินิจฉัยอุทธรณ์ โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8561/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีภาษีซ้ำหลังศาลฎีกามีคำพิพากษาถึงที่สุด โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
กรมสรรพากรจำเลยมีหนังสือถึงโจทก์เตือนให้นำเงินค่าภาษีอากรค้างไปชำระ เนื่องมาจากศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาถึงที่สุด ให้โจทก์ชำระค่าภาษีอากรโดยมิให้ถือจำนวนเงินตามเช็คที่เรียกเก็บไม่ได้อีก 16 ฉบับ จำนวน 2,254,000 บาท เป็นเงินได้พึงประเมินของโจทก์ในปีภาษี 2534 จำเลยจึงคิดคำนวณภาษีอากรใหม่โดยหักจำนวนเงินภาษีอากรที่ศาลฎีกามีคำพิพากษาให้แก้ไขนั้นออก จึงเป็นการแจ้งเตือนให้โจทก์ปฏิบัติตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ถึงที่สุดแล้วเท่านั้น แม้ตามหนังสือแจ้งเตือนจะระบุการคำนวณภาษีการค้าใหม่มาด้วยก็เป็นผลต่อเนื่องจากการที่ศาลฎีกาให้ลดเงินได้พึงประเมินจากการขายที่ดินลงจำนวน 2,254,000 บาท จำเลยจึงปรับปรุงลดยอดรายรับที่ต้องเสียภาษีการค้าให้ด้วย นับว่าเป็นประโยชน์แก่โจทก์ให้เสียภาษีอากรน้อยลง โจทก์ก็ไม่ได้โต้แย้งว่าจำนวนค่าภาษีอากรที่ค้างชำระตามที่จำเลยคำนวณใหม่ตามคำพิพากษาศาลฎีกาดังกล่าวไม่ถูกต้อง เพียงแต่กล่าวอ้างว่าจำเลยไม่มีสิทธิเรียกเก็บภาษีอากรค้างชำระเพราะขาดอายุความ ดังนั้น เมื่อจำเลยมิได้กระทำการใดอันจะถือว่าเป็นการโต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่ในทางแพ่งของโจทก์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 17 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6117/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีล้มละลายต้องพิสูจน์ราคาทรัพย์หลักประกันและหนี้สินของจำเลยให้ชัดเจนตามกฎหมาย
การฟ้องคดีส่วนจำเลยที่ 1 โจทก์ต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 10 โจทก์กล่าวในฟ้องอ้างราคาทรัพย์หลักประกันซึ่งมีการตีราคาโดยเจ้าหนี้เดิมก่อนฟ้องคดีล้มละลายประมาณ 7 ปี เป็นเงิน 1,472,000 บาท ขณะเดียวกันก็ได้ความว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินราคาทรัพย์หลักประกันดังกล่าวเมื่อโจทก์นำยึดห่างจากวันฟ้องคดีล้มละลายคดีนี้ประมาณ 4 เดือน เป็นเงิน 1,950,750 บาท โดยโจทก์รับรองว่าถูกต้องและเห็นชอบด้วย จึงน่าเชื่อว่าราคาประเมินของเจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นราคาทรัพย์หลักประกันขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีล้มละลาย และเมื่อนำราคาหลักประกันดังกล่าวมาหักกับหนี้โจทก์ที่คงค้าง 2,706,332.85 บาท จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์ไม่ถึง 1,000,000 บาท โจทก์ไม่อาจนำมูลหนี้ส่วนนี้มาฟ้องจำเลยที่ 1 เป็นคดีล้มละลายได้
การนำสืบข้อเท็จจริงว่าจำเลยที่ 2 มีหนี้สินล้นพ้นตัวหรือไม่นั้น โจทก์อาจจะนำสืบถึงทรัพย์สินและหนี้สินทั้งหมดของจำเลยที่ 2 ที่แสดงว่าจำเลยที่ 2 มีหนี้สินมากกว่าทรัพย์สิน หรืออาจจะนำสืบถึงข้อเท็จจริงอันใดอันหนึ่งตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 8 อันเป็นข้อสันนิษฐานว่า จำเลยที่ 2 มีหนี้สินล้นพ้นตัว ทั้งนี้การพิจารณาถึงฐานะหรือข้อเท็จจริงอันเป็นข้อสันนิษฐานนั้นจะต้องปรากฏว่าเป็นข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่มีอยู่แล้วในเวลาที่โจทก์ฟ้องคดีล้มละลาย คดีนี้โจทก์นำสืบถึงมูลหนี้ของโจทก์และการดำเนินการของโจทก์เท่านั้น มิได้แสดงให้เห็นถึงทรัพย์สินและหนี้สินของจำเลยที่ 2 จึงยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 มีหนี้สินล้นพ้นตัว ส่วนที่โจทก์อ้างข้อสันนิษฐานตามมาตรา 8 (9) นั้น การทวงถามให้ชำระหนี้ตามบทบัญญัติดังกล่าวจะต้องเป็นการทวงถามในมูลหนี้ตามคำพิพากษาคดีแพ่งที่โจทก์นำมาฟ้องให้จำเลยที่ 2 ล้มละลาย คดีนี้มีการทวงถามให้จำเลยที่ 2 ชำระหนี้ในมูลหนี้ตามคำพิพากษาเพียงครั้งเดียว การทวงถามบอกกล่าวบังคับจำนองในมูลหนี้ก่อนที่จะฟ้องคดีแพ่งหาใช่เป็นการทวงถามให้ชำระหนี้ตามคำพิพากษาที่โจทก์นำมาฟ้องคดีล้มละลายไม่ส่วนที่โจทก์นำสืบว่า โจทก์ได้สืบหาทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 แล้ว ไม่มีทรัพย์สินอย่างอื่นใดที่จะพึงยึดมาชำระหนี้นั้น โจทก์ดำเนินการตรวจสอบทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 ภายหลังจากที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีล้มละลายแล้ว จึงหาใช่ข้อเท็จจริงที่มีอยู่แล้วในเวลาเริ่มต้นการฟ้องคดีล้มละลายไม่ กรณีจึงไม่ต้องด้วยข้อสันนิษฐานของกฎหมายพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบมาฟังมิได้ว่าจำเลยที่ 2 มีหนี้สินล้นพ้นตัว
การนำสืบข้อเท็จจริงว่าจำเลยที่ 2 มีหนี้สินล้นพ้นตัวหรือไม่นั้น โจทก์อาจจะนำสืบถึงทรัพย์สินและหนี้สินทั้งหมดของจำเลยที่ 2 ที่แสดงว่าจำเลยที่ 2 มีหนี้สินมากกว่าทรัพย์สิน หรืออาจจะนำสืบถึงข้อเท็จจริงอันใดอันหนึ่งตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 8 อันเป็นข้อสันนิษฐานว่า จำเลยที่ 2 มีหนี้สินล้นพ้นตัว ทั้งนี้การพิจารณาถึงฐานะหรือข้อเท็จจริงอันเป็นข้อสันนิษฐานนั้นจะต้องปรากฏว่าเป็นข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่มีอยู่แล้วในเวลาที่โจทก์ฟ้องคดีล้มละลาย คดีนี้โจทก์นำสืบถึงมูลหนี้ของโจทก์และการดำเนินการของโจทก์เท่านั้น มิได้แสดงให้เห็นถึงทรัพย์สินและหนี้สินของจำเลยที่ 2 จึงยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 มีหนี้สินล้นพ้นตัว ส่วนที่โจทก์อ้างข้อสันนิษฐานตามมาตรา 8 (9) นั้น การทวงถามให้ชำระหนี้ตามบทบัญญัติดังกล่าวจะต้องเป็นการทวงถามในมูลหนี้ตามคำพิพากษาคดีแพ่งที่โจทก์นำมาฟ้องให้จำเลยที่ 2 ล้มละลาย คดีนี้มีการทวงถามให้จำเลยที่ 2 ชำระหนี้ในมูลหนี้ตามคำพิพากษาเพียงครั้งเดียว การทวงถามบอกกล่าวบังคับจำนองในมูลหนี้ก่อนที่จะฟ้องคดีแพ่งหาใช่เป็นการทวงถามให้ชำระหนี้ตามคำพิพากษาที่โจทก์นำมาฟ้องคดีล้มละลายไม่ส่วนที่โจทก์นำสืบว่า โจทก์ได้สืบหาทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 แล้ว ไม่มีทรัพย์สินอย่างอื่นใดที่จะพึงยึดมาชำระหนี้นั้น โจทก์ดำเนินการตรวจสอบทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 ภายหลังจากที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีล้มละลายแล้ว จึงหาใช่ข้อเท็จจริงที่มีอยู่แล้วในเวลาเริ่มต้นการฟ้องคดีล้มละลายไม่ กรณีจึงไม่ต้องด้วยข้อสันนิษฐานของกฎหมายพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบมาฟังมิได้ว่าจำเลยที่ 2 มีหนี้สินล้นพ้นตัว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5671/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสืบพยานก่อนฟ้องคดี: ความชอบด้วยกฎหมายและการให้โอกาสจำเลยซักค้าน
โจทก์ยื่นคำร้องขอให้สืบพยานไว้ก่อนโดยคำร้องอ้างเหตุถูกต้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 237 ทวิ ศาลชั้นต้นดำเนินการสืบพยานให้และเห็นว่าไม่อาจตั้งทนายความให้จำเลยที่ 1 และที่ 3 ได้ทัน จึงชอบด้วยเหตุผล ทั้งตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นที่ทำในวันนั้นปรากฏว่าศาลชั้นต้นได้แจ้งให้จำเลยทั้งสี่ทราบและให้โอกาสซักถามพยานได้ ซึ่งจำเลยทั้งสี่ไม่คัดค้าน โดยจำเลยที่ 1 เองก็ได้ซักถามพยานด้วยแต่จำเลยอื่นไม่ติดใจถามค้านตามบันทึกท้ายคำเบิกความ ส่วนที่ศาลชั้นต้นไม่ซักถามพยานนั้นเป็นดุลพินิจที่ทำได้โดยชอบ หากเห็นว่าคำเบิกความชัดเจนแล้ว ดังนี้การสืบพยานปากผู้เสียหายไว้ก่อนฟ้องคดีของศาลชั้นต้นจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5601/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าหนี้มีประกันตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ ต้องมีบุริมสิทธิในมูลหนี้ที่ฟ้องคดีล้มละลาย
เจ้าหนี้ที่จะต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 10 (2) นั้น จะต้องเป็นเจ้าหนี้ที่มีบุริมสิทธิเหนือทรัพย์สินของลูกหนี้ในมูลหนี้ที่เจ้าหนี้นำมาฟ้องลูกหนี้เป็นคดีล้มละลาย เมื่อมูลหนี้ตามคำพิพากษาคดีที่โจทก์นำมาฟ้องขอให้จำเลยที่ 2 ล้มละลาย เป็นคดีที่โจทก์มิได้มีบุริมสิทธิเหนือทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 แม้จำเลยที่ 2 ได้จำนองที่ดิน 2 แปลงไว้แก่โจทก์เพื่อประกันหนี้ในมูลหนี้อื่นที่โจทก์ฟ้องร้องเป็นคดีแพ่ง และอยู่ระหว่างบังคับคดี แต่โจทก์มิได้นำมูลหนี้ดังกล่าวมาฟ้องเป็นคดีล้มละลายด้วย ดังนี้ โจทก์จึงไม่ใช่เจ้าหนี้มีประกัน ไม่ต้องปฎิบัติตามมาตรา 10 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5489/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กำหนดเวลาฟ้องคดีอาญาและการหักลบเวลาเดินทางตามกฎหมาย
คดีอาญาที่อยู่ในอำนาจศาลแขวงที่จะพิจารณาพิพากษา แม้โจทก์ยื่นฟ้องวันที่ 28 พฤษภาคม 2551 เวลา 13.55 น. ซึ่งนับแต่เวลาจับกุมวันที่ 26 พฤษภาคม 2551 เวลา 13.10 น. โจทก์ยื่นฟ้องคดีต่อศาลเป็นระยะเวลา 48 ชั่วโมง 45 นาที ก็ตาม แต่ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงฯ มาตรา 7 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า เมื่อมีการจับตัวผู้ต้องหาแล้ว ให้พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบส่งตัวผู้ต้องหาพร้อมด้วยสำนวนการสอบสวนไปยังพนักงานอัยการ เพื่อให้พนักงานอัยการยื่นฟ้องต่อศาลแขวงให้ทันภายในกำหนดเวลาสี่สิบแปดชั่วโมงนับแต่เวลาที่ผู้ต้องหาถูกจับ แต่มิให้นับเวลาเดินทางตามปกติที่นำตัวผู้ต้องหาจากที่จับมายังที่ทำการของพนักงานสอบสวน จากที่ทำการของพนักงานสอบสวนและหรือจากที่ทำการของพนักงานอัยการมาศาลเข้าในกำหนดเวลาสี่สิบแปดชั่วโมงนั้นด้วย เมื่อข้อเท็จจริงตามบันทึกการฟ้องคดีอาญาด้วยวาจาปรากฏว่า หลังจากจำเลยถูกจับกุมเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2551 เวลา 13.30 นาฬิกา แล้ว ในวันเดียวกันเวลา 15.40 นาฬิกา จำเลยจึงถูกควบคุมตัว แสดงว่าเจ้าพนักงานตำรวจใช้เวลาในการนำตัวผู้ต้องหาเดินทางมายังที่ทำการของพนักงานสอบสวนเป็นเวลา 2 ชั่วโมง 30 นาที ประกอบกับยังมีระยะเวลาที่ต้องใช้ในการนำตัวจำเลยพร้อมด้วยสำนวนการสอบสวนจากที่ทำการของพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลคลองสานมายังที่ทำการของพนักงานอัยการ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ และจากที่ทำการของพนักงานอัยการมาศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางอีกด้วย เมื่อรวมระยะเวลาที่ใช้ไปในการนำตัวผู้ต้องหาเดินทางไปยังสถานที่ดังกล่าวทั้งหมดแล้วเชื่อว่าต้องใช้เวลาไม่น้อยกว่า 3 ชั่วโมง เมื่อกฎหมายมิให้นับเวลาเดินทางตามปกติดังกล่าวเข้าในกำหนดเวลาสี่สิบแปดชั่วโมงนับแต่เวลาที่ผู้ต้องหาถูกจับ เห็นได้ว่าโจทก์ยื่นฟ้องคดีภายในกำหนดเวลาสี่สิบแปดชั่วโมงตามกฎหมาย การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางไม่ประทับฟ้องด้วยเหตุดังกล่าวจึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5204-5205/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีเครื่องหมายการค้า และการพิจารณาว่าเครื่องหมายการค้าเล็งถึงลักษณะสินค้าหรือไม่
แม้คำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าจะมีลักษณะเป็นคำสั่งทางราชการแต่เนื่องจากเป็นคดีแพ่งเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้าซึ่งอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศตามมาตรา 7 (3) แห่งพ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ ซึ่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครองฯ มาตรา 9 วรรคสอง (3) บัญญัติให้คดีที่อยู่ในอำนาจของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศไม่อยู่ในอำนาจของศาลปกครอง จึงไม่นำเอา พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครองฯ มาใช้บังคับและไม่อาจนำมาใช้ในลักษณะของบทกฎหมายใกล้เคียงอย่างยิ่งด้วย เพราะจะเป็นการจำกัดสิทธิของประชาชน ดังนั้น เมื่อไม่มีบทบัญญัติใดใน พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้าฯ หรือในกฎหมายอื่นใดบัญญัติให้โจทก์ต้องใช้สิทธิทางศาลหรือฟ้องคดีภายในกำหนด 90 วัน นับแต่วันที่ได้รับทราบคำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า โจทก์ย่อมมีสิทธิยื่นฟ้องได้
เครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นคำนาม 2 คำ นำมาวางต่อกันอย่างไม่เป็นไปตามไวยากรณ์ในภาษาอังกฤษ สำหรับคำว่า "MONSTER" แปลว่า อสุรกาย สัตว์ประหลาด มหึมา มโหฬาร ส่วนคำว่า "POWER" แปลว่า อำนาจ กำลัง พลัง เครื่องหมายการค้าของโจทก์จึงอาจแปลว่า พลังอสุรกาย และไม่ได้มีความหมายที่เกี่ยวข้องกับสินค้าที่ขอจดทะเบียน แต่ถึงจะแปลความหมายว่า กำลังมหาศาล ก็ยังไม่อาจถือได้ว่าเป็นคำที่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของเครื่องควบคุมพลังงานไฟฟ้าซึ่งเป็นสินค้าที่โจทก์ขอจดทะเบียนโดยตรง เพราะคำว่า "POWER" แม้จะมีความเกี่ยวข้องกับไฟฟ้า เนื่องจากไฟฟ้าถือเป็นพลังงานรูปหนึ่งแต่ยังไม่ถึงขนาดที่จะทำให้สาธารณชนที่ได้เห็นหรือได้ยินเครื่องหมายการค้าของโจทก์แล้วจะนึกถึงสินค้าของโจทก์หรือทราบถึงคุณสมบัติของสินค้าของโจทก์ได้ในทันที เครื่องหมายการค้าของโจทก์จึงไม่เป็นคำที่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าโดยตรง
เครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นคำนาม 2 คำ นำมาวางต่อกันอย่างไม่เป็นไปตามไวยากรณ์ในภาษาอังกฤษ สำหรับคำว่า "MONSTER" แปลว่า อสุรกาย สัตว์ประหลาด มหึมา มโหฬาร ส่วนคำว่า "POWER" แปลว่า อำนาจ กำลัง พลัง เครื่องหมายการค้าของโจทก์จึงอาจแปลว่า พลังอสุรกาย และไม่ได้มีความหมายที่เกี่ยวข้องกับสินค้าที่ขอจดทะเบียน แต่ถึงจะแปลความหมายว่า กำลังมหาศาล ก็ยังไม่อาจถือได้ว่าเป็นคำที่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของเครื่องควบคุมพลังงานไฟฟ้าซึ่งเป็นสินค้าที่โจทก์ขอจดทะเบียนโดยตรง เพราะคำว่า "POWER" แม้จะมีความเกี่ยวข้องกับไฟฟ้า เนื่องจากไฟฟ้าถือเป็นพลังงานรูปหนึ่งแต่ยังไม่ถึงขนาดที่จะทำให้สาธารณชนที่ได้เห็นหรือได้ยินเครื่องหมายการค้าของโจทก์แล้วจะนึกถึงสินค้าของโจทก์หรือทราบถึงคุณสมบัติของสินค้าของโจทก์ได้ในทันที เครื่องหมายการค้าของโจทก์จึงไม่เป็นคำที่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าโดยตรง