พบผลลัพธ์ทั้งหมด 392 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2505/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับโทษต่อเมื่อฟ้องหลายกระทงและจำกัดโทษสูงสุดตามกฎหมาย
คดีนี้กับคดีที่ขอให้นับโทษต่อ โจทก์อาจฟ้องเป็นคดีเดียวกันได้ถ้าโจทก์แยกฟ้องและศาลสั่งให้พิจารณารวมกันศาลก็ลงโทษได้ไม่เกินกำหนดตามประมวลกฎหมายมาตรา 91 หากศาลมิได้สั่งให้พิจารณารวมกันและลงโทษทุกกรรมเต็มตามที่กำหนดในมาตราดังกล่าวทั้งสองสำนวน ศาลก็จะนับโทษต่อไม่ได้ เพราะจะทำให้จำเลยต้องรับโทษเกินกำหนดที่มาตรา 91 บัญญัติไว้ เมื่อคดีที่ขอให้นับโทษต่อ ศาลจำคุก 20 ปีเต็มตามกำหนดในมาตรา 91 คดีถึงที่สุดแล้วและคดีนี้ จำคุก 20 ปี ดังนี้ นับโทษต่อไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2205/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าหน้าที่ตรวจรับงานเท็จ เบิกจ่ายเงินโดยมิชอบ สร้างความเสียหายแก่ราชการ มีความผิดตามกฎหมายอาญา
จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 และจำเลยที่ 6 เป็นเจ้าพนักงานได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการตรวจการจ้างการก่อสร้างบ้านพักครู 1 หลังมีหน้าที่ตรวจและควบคุมการจ้างให้ดำเนินไปตามข้อกำหนดในสัญญาแบบแปลนและแผนผัง เมื่อตรวจเห็นเป็นการถูกต้องแล้วให้รับมอบงานแล้วรายงานต่อผู้มีอำนาจสั่งจ้างทราบพร้อมด้วยหลักฐาน การที่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 และจำเลยที่ 6 ได้ทำหลักฐานใบตรวจรับงานจ้างเหมาแจ้งว่าจำเลยที่ 7 ได้ก่อสร้างบ้านพักครูแล้วเสร็จตามสัญญาจ้าง ทั้ง ๆ ที่เป็นความเท็จโดยงานยังไม่แล้วเสร็จเป็นการรับรองเป็นหลักฐานซึ่งข้อเท็จจริงอันเอกสารนั้น มุ่งพิสูจน์ความจริงอันเป็นเท็จเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 162(4)และเป็นเหตุให้มีการเบิกจ่ายเงินค่าจ้างเหมาก่อสร้างให้จำเลยที่ 7 รับไป จึงเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเป็นเหตุให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดได้รับความเสียหายมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1845/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งเด็กเข้าสถานพินิจฯ ไม่ใช่การลงโทษ แต่เป็นวิธีการสำหรับเด็กตามกฎหมายอาญา
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ส่งตัวจำเลยไปฝึกอบรมที่สถานพินิจและคุ้มครองเด็กกลางเป็นเวลา 2 ปีไม่เป็นการลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 18 แต่เป็นวิธีการสำหรับเด็กตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 74(5) ที่เบากว่าการลงโทษจำคุก เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จึงต้องห้ามคู่ความมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218แต่ถ้าจำเลยหรือบิดามารดาของจำเลยเห็นว่าพฤติการณ์เกี่ยวกับคำสั่งนั้นได้เปลี่ยนแปลงไป ก็ย่อมมีสิทธิที่จะไปร้องต่อศาลชั้นต้นเพื่อขอให้เปลี่ยนแปลงแก้ไขคำสั่งหรือสั่งใหม่ได้ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 74 วรรคท้าย.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6535/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบุกรุกและการทำร้ายร่างกาย: การพิจารณาเหตุผลในการกระทำ และการใช้ดุลพินิจตามกฎหมายอาญามาตรา 72
ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นเฉพาะบทมาตราแห่งความผิดส่วนกำหนดโทษคงเป็นไปตามเดิมคือปรับ 1,000 บาท จึงเป็นการแก้ไขเล็กน้อย ต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218
การที่จำเลยที่ 1 เข้าไปในบ้านของโจทก์ร่วมที่ 1 ซึ่งเป็นเพื่อนบ้านที่มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันเพื่อสอบถามเรื่องราวจากโจทก์ร่วมที่ 2 คนใช้ของโจทก์ร่วมที่ 1 ถึงเรื่องที่โจทก์ร่วมที่ 2 เล่าให้คนใช้ของจำเลยฟังว่าจำเลยที่ 2 สามีของจำเลยที่ 1 เป็นชู้กับคนใช้เก่านั้น กรณียังถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 เข้าไปโดยไม่มีเหตุอันสมควรและการที่จำเลยที่ 2 ตามจำเลยที่ 1 เข้าไปในบ้านของโจทก์ร่วมที่ 1 เมื่อมีเสียงดังขึ้นภายในบ้านเพื่อดูว่ามีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้นนั้นก็ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 เข้าไปโดยไม่มีเหตุสมควรเช่นกัน การกระทำของจำเลยทั้งสองไม่เป็นความผิดฐานบุกรุกตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 364
จำเลยที่ 1 ด่าโจทก์ร่วมที่ 2 ว่าเป็นไพร่เอาเรื่องไม่จริงมาพูด โจทก์ร่วมที่ 2 ตอบว่าไม่ได้พูดและกล่าวว่าจำเลยที่ 1 ใส่ร้าย จำเลยที่ 1 จึงตบหน้าโจทก์ร่วมที่ 2 ดังนี้ การที่โจทก์ร่วมที่ 2 กล่าวถ้อยคำดังกล่าวเป็นเพียงการปฏิเสธเรื่องที่จำเลยที่ 1 สอบถามเท่านั้น แม้โจทก์ร่วมที่ 2 จะใช้ถ้อยคำไม่เหมาะสมแก่จำเลยที่ 1 อยู่บ้างก็เป็นเพราะจำเลยที่ 1 ได้ด่าว่าโจทก์ร่วมที่ 2 ก่อน กรณียังถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรมตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 72
การที่จำเลยที่ 1 เข้าไปในบ้านของโจทก์ร่วมที่ 1 ซึ่งเป็นเพื่อนบ้านที่มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันเพื่อสอบถามเรื่องราวจากโจทก์ร่วมที่ 2 คนใช้ของโจทก์ร่วมที่ 1 ถึงเรื่องที่โจทก์ร่วมที่ 2 เล่าให้คนใช้ของจำเลยฟังว่าจำเลยที่ 2 สามีของจำเลยที่ 1 เป็นชู้กับคนใช้เก่านั้น กรณียังถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 เข้าไปโดยไม่มีเหตุอันสมควรและการที่จำเลยที่ 2 ตามจำเลยที่ 1 เข้าไปในบ้านของโจทก์ร่วมที่ 1 เมื่อมีเสียงดังขึ้นภายในบ้านเพื่อดูว่ามีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้นนั้นก็ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 เข้าไปโดยไม่มีเหตุสมควรเช่นกัน การกระทำของจำเลยทั้งสองไม่เป็นความผิดฐานบุกรุกตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 364
จำเลยที่ 1 ด่าโจทก์ร่วมที่ 2 ว่าเป็นไพร่เอาเรื่องไม่จริงมาพูด โจทก์ร่วมที่ 2 ตอบว่าไม่ได้พูดและกล่าวว่าจำเลยที่ 1 ใส่ร้าย จำเลยที่ 1 จึงตบหน้าโจทก์ร่วมที่ 2 ดังนี้ การที่โจทก์ร่วมที่ 2 กล่าวถ้อยคำดังกล่าวเป็นเพียงการปฏิเสธเรื่องที่จำเลยที่ 1 สอบถามเท่านั้น แม้โจทก์ร่วมที่ 2 จะใช้ถ้อยคำไม่เหมาะสมแก่จำเลยที่ 1 อยู่บ้างก็เป็นเพราะจำเลยที่ 1 ได้ด่าว่าโจทก์ร่วมที่ 2 ก่อน กรณียังถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรมตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 72
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5566/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฎีกาที่ไม่รับเนื่องจากศาลอุทธรณ์แก้ไขคำพิพากษาเล็กน้อย และประเด็นข้อกฎหมายเรื่องการใช้กฎหมายอาญาที่ยกเลิกแล้ว
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2511 มาตรา 7 ให้ลงโทษจำคุก 1 เดือน และจำเลยมีความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 343 ให้ลงโทษจำคุก 5 ปี ให้จำเลยคืนเงินแก่ผู้เสียหาย ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เฉพาะจำนวนเงินที่ให้ใช้คืนแก่ผู้เสียหาย เป็นการแก้ไขคำพิพากษาศาลชั้นต้นแต่เพียงเล็กน้อย ทั้งศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยกระทงละไม่เกิน5 ปี จำเลยจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 แม้พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528จะยกเลิกพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2511แต่ก็มิได้ยกเลิกความผิดฐานจัดหางานโดยไม่ได้รับอนุญาตซึ่งจำเลยกระทำ ในทางตรงกันข้ามกลับกำหนดโทษสำหรับความผิดดังกล่าวให้สูงขึ้นกว่าเดิมอีก ดังนั้น ศาลจึงชอบที่จะลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2511ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ขณะจำเลยกระทำผิดเพราะเป็นกฎหมายที่เป็นคุณแก่จำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4635/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีลิขสิทธิ์: การฟ้องภายใน 7 วันหลังศาลสั่งจำหน่ายคดี ไม่ทำให้เกินอายุความ 3 เดือนตามกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายอาญาบัญญัติเรื่องอายุความคดีอาญาไว้เป็นพิเศษโดยเฉพาะแล้ว จะนำบทบัญญัติเรื่องอายุความสะดุดหยุดอยู่หรือการขยายอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 175, 176 มาใช้ในคดีอาญาไม่ได้
โจทก์ยื่นฟ้องคดีความผิดตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ษ.2521 ซึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้ต่อศาลแขวงพระนครใต้ภายในกำหนดอายุความในวันนัดไต่สวนมูลฟ้อง ศาลแขวงพระนครใต้เห็นว่า คดีไม่อยู่ในอำนาจของศาลแขวงจึงสั่งจำหน่ายคดีให้โจทก์ไปฟ้องยังศาลที่มีอำนาจภายใน 7 วัน โจทก์จึงยื่นฟ้องคดีนี้ต่อศาลอาญาภายในกำหนดเวลาดังกล่าว แต่ล่วงเลยกำหนดเวลา 3 เดือน นับแต่วันที่โจทก์รู้เรื่องการกระทำผิดและรู้ตัวจำเลยผู้กระทำผิดแล้ว โดยโจทก์มิได้ร้องทุกข์ไว้ก่อน คดีโจทก์จึงขาดอายุความ
โจทก์ยื่นฟ้องคดีความผิดตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ษ.2521 ซึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้ต่อศาลแขวงพระนครใต้ภายในกำหนดอายุความในวันนัดไต่สวนมูลฟ้อง ศาลแขวงพระนครใต้เห็นว่า คดีไม่อยู่ในอำนาจของศาลแขวงจึงสั่งจำหน่ายคดีให้โจทก์ไปฟ้องยังศาลที่มีอำนาจภายใน 7 วัน โจทก์จึงยื่นฟ้องคดีนี้ต่อศาลอาญาภายในกำหนดเวลาดังกล่าว แต่ล่วงเลยกำหนดเวลา 3 เดือน นับแต่วันที่โจทก์รู้เรื่องการกระทำผิดและรู้ตัวจำเลยผู้กระทำผิดแล้ว โดยโจทก์มิได้ร้องทุกข์ไว้ก่อน คดีโจทก์จึงขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4284/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การป้องกันเกินสมควรแก่เหตุและการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายในคดีฆ่าผู้อื่น
ผู้ตายบุกรุกขึ้นไปบนบ้านจำเลยในเวลากลางคืนโดยผู้ตายกอดรัดคอพาพี่สาวจำเลยขึ้นไปเป็นตัวประกัน แล้วผู้ตายเตะทำลายทรัพย์สินต่าง ๆ บนบ้าน จำเลยกับพวกจึงวิ่งหลบหนีเข้าไปอยู่ในห้องนอนและปิดประตูไว้ ผู้ตายใช้เท้าถีบประตูห้องและร้องบอกให้ทุกคนออกมามิฉะนั้นจะฆ่าให้หมด ผู้ตายถีบประตูหลายครั้งจนประตูเปิดออกและจะเข้าไปทำร้ายจำเลย จำเลยจึงยิงผู้ตายล้มหงายลงกลางบ้านพฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่าเป็นภยันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมายและเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึงอันจำเลยจำต้องกระทำเพื่อป้องกันสิทธิของตน อย่างไรก็ตามเมื่อผู้ตายไม่มีอาวุธและได้ความว่าผู้ตายมีอาการมึนเมาสุรามาก การที่จำเลยใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายถึง 2 นัด จึงเป็นการป้องกันเกินสมควรแก่เหตุตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 69
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2847/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษอาญาซ้ำซ้อนและการปรับบทลงโทษที่ถูกต้องตามกฎหมายอาญา มาตรา 91(3)
ศาลชั้นต้นเรียงกระทงลงโทษจำเลยที่ 1 รวม 5 กระทง จำเลยที่ 1ให้การรับสารภาพเมื่อสืบพยานไปบ้างแล้วลดโทษให้ 1 ใน 3 คงลงโทษฐานมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนโดยไม่ได้รับอนุญาต ให้จำคุก 8เดือน ฐานพาอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนโดยไม่ได้รับอนุญาต จำคุก4 เดือน ฐานใช้รถที่ไม่ได้จดทะเบียนและเสียภาษี ปรับ 1,200 บาทฐานพยายามฆ่าผู้อื่นเพื่อเอาไว้ซึ่งประโยชน์อันเกิดจากการที่ตนทำผิดอย่างอื่น จำคุก 33 ปี 4 เดือน ฐานร่วมกันพยายามฆ่าเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่ จำคุก 33 ปี 4 เดือนรวมแล้วคงจำคุก67 ปี 8 เดือน กับปรับ 1,200 บาท แต่โทษจำคุกคงให้จำคุกเพียง50 ปี ตาม ป.อ. มาตรา 91(3) นั้น ถูกต้องและชอบด้วยกฎหมายแล้วกรณีไม่ใช่นับโทษและลดโทษโดยการนำโทษจำคุกตลอดชีวิตจำเลยที่ 1ที่ศาลลงโทษไว้สองกระทงรวมกันแล้วเปลี่ยนเป็นโทษจำคุก 50ปี ลดโทษลง 1 ใน 3 คงเหลือจำคุก 33 ปี 4 เดือน แล้วรวมโทษจำคุกกระทงอื่นเข้าด้วยอีกคงเป็นโทษจำคุกจำเลยที่ 1 เพียง 34 ปี4 เดือนนั้นไม่ตรงตาม ป.อ. มาตรา 91(3).(ที่มา-ส่งเสริมฯ)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2136/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความชอบด้วยกฎหมายของคำฟ้องอาญาตาม พ.ร.บ.วัสดุอันลามก แม้กฎหมายลักษณะอาญาถูกยกเลิก
คำฟ้องของโจทก์อ้างพระราชบัญญัติปรามการให้แพร่หลายและการค้าวัสดุอันลามก พ.ศ.2471 มาตรา 3 อันเป็นมาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิดแล้ว แม้บทมาตราดังกล่าวจะระบุให้ผู้กระทำผิดต้องระวางโทษตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 240 แห่งกฎหมายลักษณะอาญาที่ถูกยกเลิกไปแล้วและโจทก์ไม่ได้อ้างพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายอาญาพุทธศักราช 2499 มาตรา 8 หรือบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายอาญามาในฟ้องด้วย ก็ถือได้ว่าเป็นคำฟ้องที่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(6).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1499/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องซ้ำในความผิดเดิม แม้ประเด็นต่างกัน สิทธิฟ้องระงับตามกฎหมาย
คดีก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองในข้อหาหมิ่นประมาทโดยจำเลยทั้งสองกับพวกทำหนังสือใส่ความโจทก์ซึ่งเป็นกำนันร้องเรียนต่อนายอำเภอ ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง คดีเสร็จเด็ดขาดแล้ว โจทก์จะนำการกระทำอันเดียวกันมาฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีนี้อีกในข้อหาแจ้งความเท็จกล่าวหาโจทก์ต่อนายอำเภอซึ่งเป็นเจ้าพนักงานไม่ได้แม้ประเด็นในคดีทั้งสองนี้จะต่างกันก็ตาม สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(4) แล้ว