พบผลลัพธ์ทั้งหมด 73 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2306/2567
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดโทษใหม่ในคดียาเสพติดตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่ โดยพิจารณาจากปริมาณยาเสพติดและพฤติการณ์
แม้ข้อเท็จจริงได้ความว่าจำเลยเพียงแต่เปิดบัญชีเงินฝากธนาคารตามคำสั่งของพวกเพื่อรับโอนเงินค่ายาเสพติด แต่ก็มีลักษณะเป็นการแบ่งหน้าที่กันทำด้วยการสมคบกันเพื่อกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด และในที่สุดได้ร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนของกลางไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายเพราะเหตุที่ได้มีการสมคบกันดังกล่าว การกระทำของจำเลยจึงหาใช่เป็นเพียงความผิดฐานยอมให้ผู้อื่นใช้บัญชีธนาคาร โดยรู้หรือควรรู้ว่าจะเป็นประโยชน์ต่อการกระทำความผิดร้ายแรงเกี่ยวกับยาเสพติดตาม ป.ยาเสพติด มาตรา 129 ซึ่งมีระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ เท่านั้นไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2610/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดโทษใหม่ตามกฎหมายยาเสพติดที่แก้ไข และการเพิ่มโทษฐานไม่เข็ดหลาบ
คำว่า "กฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิด หรือกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิด" ตาม ป.อ. มาตรา 3 นั้น หมายถึงกฎหมายที่บัญญัติถึงการกระทำอันเป็นความผิดหรือบัญญัติถึงโทษ หรือโทษที่จะลงแก่ผู้กระทำความผิด ซึ่งในคดีนี้ได้แก่บทความผิดฐานเป็นผู้ขับขี่เสพเมทแอมเฟตามีนกับฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย และบทกฎหมายให้เพิ่มโทษแก่ผู้กระทำความผิด หากมีการแก้ไขบทกฎหมายดังกล่าวในทางที่เป็นคุณแก่ผู้กระทำความผิด และมีผลให้จำเลยได้รับโทษน้อยลง ศาลก็มีอำนาจแก้ไขโทษที่จะลงแก่จำเลยได้ภายในเงื่อนไขของมาตรา 3 (1) ในความผิดฐานเป็นผู้ขับขี่เสพเมทแอมเฟตามีน กับฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย ศาลชั้นต้นวางโทษจำคุก 8 เดือน กับจำคุก 10 ปี และปรับ 700,000 บาท ตามลำดับ เมื่อโทษที่กำหนดในภายหลังสำหรับความผิดฐานเป็นผู้ขับขี่เสพเมทแอมเฟตามีน ตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43 ทวิ วรรคหนึ่ง, 157/1 วรรคสอง ประกอบ ป.ยาเสพติด มาตรา 162 ระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี 4 เดือน หรือปรับไม่เกิน 26,666.66 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และเมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าเมทแอมเฟตามีนที่จำเลยมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย เป็นความผิดตามกฎหมายที่บัญญัติในภายหลังตาม ป.ยาเสพติด มาตรา 90, 145 วรรคหนึ่ง มีระวางโทษจำคุกไม่เกิน 15 ปี และปรับไม่เกิน 1,500,000 บาท ดังนั้น โทษที่กำหนดตามคำพิพากษาจึงไม่หนักกว่าโทษที่กำหนดตามกฎหมายที่บัญญัติในภายหลัง ความผิดทั้งสองฐานจึงไม่อยู่ในบังคับตาม ป.อ. มาตรา 3 (1) ที่ศาลจะกำหนดโทษจำเลยใหม่ได้
สำหรับประเด็นเรื่องการเพิ่มโทษกึ่งหนึ่งตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 97 ถูกยกเลิกไปโดย พ.ร.บ.ให้ใช้ประมวลกฎหมายยาเสพติด พ.ศ. 2564 มาตรา 4 ส่วน ป. ยาเสพติด ซึ่งเป็นกฎหมายใหม่ก็ไม่มีบทบัญญัติให้เพิ่มโทษได้ แม้กฎหมายเฉพาะเกี่ยวกับยาเสพติดซึ่งเป็นกฎหมายเฉพาะมิได้บัญญัติเรื่องการเพิ่มโทษไว้ แต่ก็มิได้หมายความว่าศาลไม่อาจเพิ่มโทษตามบทบัญญัติที่ใช้แก่ความผิดทั่วไปตาม ป.อ. เมื่อจำเลยกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษอีกโดยไม่เข็ดหลาบ และโจทก์มีคำขอให้เพิ่มโทษตามกฎหมายเดิมไว้แล้ว ย่อมถือได้ว่าโจทก์มีความประสงค์จะขอเพิ่มโทษฐานไม่เข็ดหลาบและได้กล่าวในฟ้องแล้ว ศาลย่อมมีอำนาจเพิ่มโทษจำเลยหนึ่งในสาม ตาม ป.อ. มาตรา 92 ที่เป็นบททั่วไปได้ และถือว่าการเพิ่มโทษเป็นส่วนหนึ่งของโทษตามคำพิพากษา ที่ศาลชั้นต้นกำหนดโทษให้แก่จำเลยใหม่จึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว หาใช่เป็นการแก้ไขคำพิพากษาอันถึงที่สุดอันเป็นการต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 190 ประกอบ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ. 2550 มาตรา 3 ไม่
สำหรับประเด็นเรื่องการเพิ่มโทษกึ่งหนึ่งตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 97 ถูกยกเลิกไปโดย พ.ร.บ.ให้ใช้ประมวลกฎหมายยาเสพติด พ.ศ. 2564 มาตรา 4 ส่วน ป. ยาเสพติด ซึ่งเป็นกฎหมายใหม่ก็ไม่มีบทบัญญัติให้เพิ่มโทษได้ แม้กฎหมายเฉพาะเกี่ยวกับยาเสพติดซึ่งเป็นกฎหมายเฉพาะมิได้บัญญัติเรื่องการเพิ่มโทษไว้ แต่ก็มิได้หมายความว่าศาลไม่อาจเพิ่มโทษตามบทบัญญัติที่ใช้แก่ความผิดทั่วไปตาม ป.อ. เมื่อจำเลยกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษอีกโดยไม่เข็ดหลาบ และโจทก์มีคำขอให้เพิ่มโทษตามกฎหมายเดิมไว้แล้ว ย่อมถือได้ว่าโจทก์มีความประสงค์จะขอเพิ่มโทษฐานไม่เข็ดหลาบและได้กล่าวในฟ้องแล้ว ศาลย่อมมีอำนาจเพิ่มโทษจำเลยหนึ่งในสาม ตาม ป.อ. มาตรา 92 ที่เป็นบททั่วไปได้ และถือว่าการเพิ่มโทษเป็นส่วนหนึ่งของโทษตามคำพิพากษา ที่ศาลชั้นต้นกำหนดโทษให้แก่จำเลยใหม่จึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว หาใช่เป็นการแก้ไขคำพิพากษาอันถึงที่สุดอันเป็นการต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 190 ประกอบ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ. 2550 มาตรา 3 ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2159/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดโทษใหม่คดียาเสพติดตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่ และขยายผลถึงตัวการร่วม
เมทแอมเฟตามีนที่จำเลยที่ 3 ร่วมกับพวกมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายอันเป็นความผิดฐานจำหน่ายตาม ป.ยาเสพติด มีจำนวน 2,000 เม็ด คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ 40.445 กรัม แม้ไม่ปรากฏพฤติการณ์ในการกระทำความผิดและบทบาทหน้าที่ของจำเลยที่ 3 อย่างชัดเจน แต่ปริมาณของเมทแอมเฟตามีนดังกล่าวย่อมบ่งชี้ได้ว่าหากไม่ถูกเจ้าพนักงานตำรวจตรวจยึดเป็นของกลางเสียก่อน จำเลยที่ 3 กับพวกต้องจำหน่าย จ่าย แจกเมทแอมเฟตามีนดังกล่าวไปยังกลุ่มผู้เสพหลายคน โดยสภาพย่อมถือเป็นการก่อให้เกิดการแพร่กระจายในกลุ่มประชาชน การกระทำของจำเลยที่ 3 จึงต้องด้วยมาตรา 145 วรรคสอง (2) ซึ่งเป็นคุณแก่จำเลยที่ 3 มากกว่ากฎหมายเดิม เมื่อโทษที่ศาลอุทธรณ์กำหนดตามคำพิพากษาก่อนลดโทษหนักกว่าโทษจำคุกตามกฎหมายที่บัญญัติในภายหลัง ศาลต้องกำหนดโทษให้จำเลยที่ 3 ใหม่ตามโทษที่กำหนดตามกฎหมายที่บัญญัติในภายหลัง
จำเลยที่ 3 ซึ่งกำลังรับโทษอยู่ร้องขอให้กำหนดโทษใหม่ และศาลกำหนดโทษให้จำเลยที่ 3 ใหม่แล้ว เมื่อความปรากฏต่อศาลว่าจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 เป็นตัวการร่วมกระทำความผิดกับจำเลยที่ 3 และจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ยังรับโทษอยู่ ศาลย่อมกำหนดโทษใหม่สำหรับจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ด้วยได้ ตาม ป.อ. มาตรา 3 (1) และ ป.วิ.อ. มาตรา 213 ประกอบ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ. 2550 มาตรา 3
จำเลยที่ 3 ซึ่งกำลังรับโทษอยู่ร้องขอให้กำหนดโทษใหม่ และศาลกำหนดโทษให้จำเลยที่ 3 ใหม่แล้ว เมื่อความปรากฏต่อศาลว่าจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 เป็นตัวการร่วมกระทำความผิดกับจำเลยที่ 3 และจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ยังรับโทษอยู่ ศาลย่อมกำหนดโทษใหม่สำหรับจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ด้วยได้ ตาม ป.อ. มาตรา 3 (1) และ ป.วิ.อ. มาตรา 213 ประกอบ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ. 2550 มาตรา 3