พบผลลัพธ์ทั้งหมด 202 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7237/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งที่ดินกรรมสิทธิ์รวม: โจทก์ร่วมที่ไม่ได้รับการเรียกเข้าเป็นโจทก์ร่วมในคดี ไม่สามารถได้รับการแบ่งที่ดินได้
โจทก์ฟ้องขอให้แบ่งที่ดินกรรมสิทธิ์รวมให้เฉพาะโจทก์และยื่นคำร้องขอให้เรียกโจทก์ร่วมเข้ามาในคดี ต่อมาศาลอุทธรณ์พิพากษายกคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้เรียกโจทก์ร่วมเข้ามาในคดีและยกคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ให้แบ่งที่ดินให้โจทก์ร่วม เมื่อโจทก์และโจทก์ร่วมมิได้ฎีกาเกี่ยวกับเรื่องนี้ โจทก์ร่วมจึงเป็นบุคคลนอกคดี ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยฎีกาโจทก์ที่ขอให้แบ่งที่ดินให้โจทก์ร่วมด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7237/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งที่ดินกรรมสิทธิ์รวม ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยส่วนที่เกี่ยวข้องกับโจทก์ร่วมที่ศาลอุทธรณ์ยกคำสั่ง
โจทก์ฟ้องขอให้แบ่งที่ดินกรรมสิทธิ์รวมให้เฉพาะโจทก์และยื่นคำร้องขอให้เรียกโจทก์ร่วมเข้ามาในคดี ต่อมาศาลอุทธรณ์พิพากษายกคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้เรียกโจทก์ร่วมเข้ามาในคดีและยกคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ให้แบ่งที่ดินให้โจทก์ร่วม เมื่อโจทก์และโจทก์ร่วมมิได้ฎีกาเกี่ยวกับเรื่องนี้ โจทก์ร่วมจึงเป็นบุคคลนอกคดี ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยฎีกาโจทก์ที่ขอให้แบ่งที่ดินให้โจทก์ร่วมด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6827/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์รวมของคนต่างด้าวและสามีภริยาโดยไม่ได้จดทะเบียน การฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการโอนที่ดิน
โจทก์เป็นบุคคลต่างด้าวสัญชาติอเมริกัน โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินพิพาทให้กลับมาเป็นของจำเลยที่ 1 ดังเดิม และเรียกค่าเสียหายหากไม่สามารถทำได้ก็ขอให้จำเลยร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ ไม่ใช่ฟ้องขอให้โจทก์มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท แม้ตามฟ้องโจทก์จะบรรยายถึงกรรมสิทธิ์รวมระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ในที่ดินพิพาทและโจทก์เป็นคนต่างด้าวก็ตาม โจทก์ก็มีสิทธิในส่วนของตน เพราะตามประมวลกฎหมายที่ดินมิได้ห้ามขาดไม่ให้คนต่างด้าวถือกรรมสิทธิ์ที่ดิน เป็นแต่เพียงต้องเป็นไปตามเงื่อนไขและวิธีการซึ่งกำหนดโดยกฎกระทรวงและต้องได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเท่านั้น และในกรณีที่คนต่างด้าวได้ที่ดินมาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ให้คนต่างด้าวนั้นจัดการจำหน่ายภายในเวลาที่อธิบดีกำหนดให้ ถ้าไม่จำหน่ายที่ดินภายในเวลาที่กำหนด ให้อธิบดีกรมที่ดินมีอำนาจจำหน่ายที่ดินนั้นตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 94 แสดงว่าแม้จะเป็นคนต่างด้าวก็สามารถมีสิทธิในที่ดินได้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
โจทก์กับจำเลยที่ 1 อยู่ระหว่างการทดลองใช้ชีวิตคู่ร่วมกันต่อมาได้มีพิธีสมรสตามประเพณีไทย แต่ยังไม่ได้จดทะเบียนสมรส ถือว่าโจทก์กับจำเลยที่ 1 เป็นสามีภริยาโดยมิได้จดทะเบียนสมรส โจทก์กับจำเลยที่ 1 ได้ซื้อที่ดินพิพาท โดยเงินส่วนหนึ่ง ญาติผู้ใหญ่ให้ไว้ในวันแต่งงาน เงินดังกล่าวได้มาขณะอยู่ร่วมกัน โจทก์ย่อมมีส่วนด้วย อีกส่วนหนึ่งยืมจากมารดาโจทก์ และเงินอีกส่วนหนึ่งกู้ยืมจากธนาคาร โดยจำเลยที่ 1 เป็นผู้กู้ โจทก์เป็นผู้ค้ำประกันรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม ซึ่งโจทก์ช่วยผ่อนชำระแก่ธนาคารจนหมดแล้ว ที่ดินพิพาทจึงเป็นทรัพย์สินที่เกิดจากการทำมาหากินร่วมกัน โจทก์กับจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของรวมแม้จำเลยที่ 1 จะมีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดแต่ผู้เดียว จำเลยที่ 1 ก็ไม่มีอำนาจขายโดยโจทก์ไม่ยินยอม การที่จำเลยที่ 1 แจ้งข้อความแก่เจ้าพนักงานที่ดินว่าจำเลยที่ 1 เป็นหญิงหม้าย เจ้าพนักงานที่ดินจึงจดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 โจทก์มีอำนาจฟ้องเรียกให้จำเลยที่ 1 ชดใช้ค่าเสียหายได้
โจทก์กับจำเลยที่ 1 อยู่ระหว่างการทดลองใช้ชีวิตคู่ร่วมกันต่อมาได้มีพิธีสมรสตามประเพณีไทย แต่ยังไม่ได้จดทะเบียนสมรส ถือว่าโจทก์กับจำเลยที่ 1 เป็นสามีภริยาโดยมิได้จดทะเบียนสมรส โจทก์กับจำเลยที่ 1 ได้ซื้อที่ดินพิพาท โดยเงินส่วนหนึ่ง ญาติผู้ใหญ่ให้ไว้ในวันแต่งงาน เงินดังกล่าวได้มาขณะอยู่ร่วมกัน โจทก์ย่อมมีส่วนด้วย อีกส่วนหนึ่งยืมจากมารดาโจทก์ และเงินอีกส่วนหนึ่งกู้ยืมจากธนาคาร โดยจำเลยที่ 1 เป็นผู้กู้ โจทก์เป็นผู้ค้ำประกันรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม ซึ่งโจทก์ช่วยผ่อนชำระแก่ธนาคารจนหมดแล้ว ที่ดินพิพาทจึงเป็นทรัพย์สินที่เกิดจากการทำมาหากินร่วมกัน โจทก์กับจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของรวมแม้จำเลยที่ 1 จะมีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดแต่ผู้เดียว จำเลยที่ 1 ก็ไม่มีอำนาจขายโดยโจทก์ไม่ยินยอม การที่จำเลยที่ 1 แจ้งข้อความแก่เจ้าพนักงานที่ดินว่าจำเลยที่ 1 เป็นหญิงหม้าย เจ้าพนักงานที่ดินจึงจดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 โจทก์มีอำนาจฟ้องเรียกให้จำเลยที่ 1 ชดใช้ค่าเสียหายได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6827/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์รวมในที่ดินซื้อขณะสมรสโดยมิได้จดทะเบียน และการฉ้อฉลในการโอนขาย
โจทก์เป็นบุคคลต่างด้าวสัญชาติอเมริกัน โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินพิพาทให้กลับมาเป็นของจำเลยที่ 1 ดังเดิม และเรียกค่าเสียหายหากไม่สามารถทำได้ก็ขอให้จำเลยร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ ไม่ใช่ฟ้องขอให้โจทก์มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท แม้ตามฟ้องโจทก์จะบรรยายถึงกรรมสิทธิ์รวมระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ในที่ดินพิพาทและโจทก์เป็นคนต่างด้าวก็ตาม โจทก์ก็มีสิทธิในส่วนของตน เพราะตามประมวลกฎหมายที่ดินมิได้ห้ามขาดไม่ให้คนต่างด้าวถือกรรมสิทธิ์ที่ดิน เป็นแต่เพียงต้องเป็นไปตามเงื่อนไขและวิธีการซึ่งกำหนดโดยกฎกระทรวงและต้องได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเท่านั้น และในกรณีที่คนต่างด้าวได้ที่ดินมาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ให้คนต่างด้าวนั้นจัดการจำหน่ายภายในเวลาที่อธิบดีกำหนดให้ถ้าไม่จำหน่ายที่ดินภายในเวลาที่กำหนด ให้อธิบดีกรมที่ดินมีอำนาจจำหน่ายที่ดินนั้นตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 94แสดงว่าแม้จะเป็นคนต่างด้าวก็สามารถมีสิทธิในที่ดินได้โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง โจทก์กับจำเลยที่ 1 อยู่ระหว่างการทดลองใช้ชีวิตคู่ร่วมกัน ต่อมาได้มีพิธีสมรสตามประเพณีไทย แต่ยังไม่ได้จดทะเบียนสมรส ถือว่าโจทก์กับจำเลยที่ 1 เป็นสามีภริยาโดยมิได้จดทะเบียนสมรส โจทก์กับจำเลยที่ 1 ได้ซื้อที่ดินพิพาท โดยเงินส่วนหนึ่ง ญาติผู้ใหญ่ให้ไว้ในวันแต่งงานเงินดังกล่าวได้มาขณะอยู่ร่วมกัน โจทก์ย่อมมีส่วนด้วยอีกส่วนหนึ่งยืมจากมารดาโจทก์ และเงินอีกส่วนหนึ่งกู้ยืมจากธนาคาร โดยจำเลยที่ 1 เป็นผู้กู้ โจทก์เป็นผู้ค้ำประกันรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม ซึ่งโจทก์ช่วยผ่อนชำระแก่ธนาคารจนหมดแล้ว ที่ดินพิพาทจึงเป็นทรัพย์สินที่เกิดจากการทำมาหากินร่วมกัน โจทก์กับจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของรวมแม้จำเลยที่ 1จะมีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดแต่ผู้เดียว จำเลยที่ 1ก็ไม่มีอำนาจขายโดยโจทก์ไม่ยินยอม การที่จำเลยที่ 1 แจ้งข้อความแก่เจ้าพนักงานที่ดินว่าจำเลยที่ 1 เป็นหญิงหม้ายเจ้าพนักงานที่ดินจึงจดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทให้จำเลยที่ 2ถึงที่ 4 โจทก์มีอำนาจฟ้องเรียกให้จำเลยที่ 1 ชดใช้ค่าเสียหายได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6694/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจผู้จัดการมรดกขายทรัพย์มรดก: ไม่เข้าข่ายกรรมสิทธิ์รวม
พ.เป็นผู้จัดการมรดกของ ส. จึงมีอำนาจขายบ้านพิพาทซึ่งเป็นทรัพย์มรดกเพื่อนำเอาเงินมาแบ่งให้ทายาทได้ มิใช่เป็นเรื่องตกอยู่ในบังคับแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 1745 ซึ่งต้องนำมาตรา 1356 ถึงมาตรา 1366 ในเรื่องเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมมาใช้บังคับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6394/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: การแบ่งกรรมสิทธิ์รวมตามส่วนที่ศาลเคยพิพากษาตามยอมแล้ว
ประเด็นแห่งคดีเดิมคือ โจทก์ฟ้องขอแบ่งกรรมสิทธิ์รวมตามส่วนที่โจทก์และจำเลยแต่ละคนจะได้รับซึ่งระบุไว้ในฟ้องและแผนที่การครอบครองที่ดินท้ายฟ้อง ประเด็นแห่งคดีนี้คือ โจทก์ฟ้องขอแบ่งกรรมสิทธิ์รวมตามส่วนในบันทึกและแผนที่การรังวัดที่ได้ตกลงกันขึ้นใหม่ท้ายฟ้อง ซึ่งบันทึกและแผนที่การรังวัดที่ได้ตกลงกันขั้นใหม่คือส่วนที่โจทก์และจำเลยแต่ละคนจะได้รับตามที่ระบุไว้ในฟ้องและแผนที่การครอบครองที่ดินท้ายฟ้องคดีก่อนที่ศาลพิพากษาตามยอมไปแล้ว เมื่อคำพิพากษาตามยอมในคดีก่อนระบุไว้ชัดเจนว่าให้แบ่งตามส่วนที่แต่ละคนจะได้รับตามที่ระบุไว้ในฟ้องและแผนที่การครอบครองที่ดินท้ายฟ้อง คดีนี้จะเบี่ยงเบนว่าให้แบ่งตามบันทึกข้อตกลงและแผนที่การรังวัดท้ายฟ้องที่ทำขึ้นใหม่โดยที่ฝ่ายจำเลยคดีนี้ไม่ยอมด้วยหาได้ไม่ คดีนี้จึงมีประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกับในคดีก่อน เป็นฟ้องซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5836/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้อง, การฟ้องขับไล่เจ้าของกรรมสิทธิ์รวม, อุทธรณ์ไม่ชัดเจน, หนังสือมอบอำนาจปิดอากรแสตมป์ไม่ครบ
แม้ศาลชั้นต้นจะชี้สองสถานกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า โจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่ ซึ่งหมายรวมถึงเรื่องหนังสือมอบอำนาจปิดอากรแสตมป์ครบถ้วนหรือไม่ด้วย แต่เมื่อศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาโดยมิได้หยิบยกปัญหาเรื่องหนังสือมอบอำนาจปิดอากรแสตมป์ครบถ้วนหรือไม่ขึ้นวินิจฉัย และจำเลยก็มิได้อุทธรณ์โต้แย้งในปัญหาดังกล่าวการที่จำเลยฎีกาปัญหานี้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 วรรคหนึ่ง แม้ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แต่เมื่อศาลฎีกาเห็นไม่สมควรที่จะยกขึ้นวินิจฉัยให้ย่อมไม่ยกขึ้นวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5) ได้ โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของรวมคนหนึ่งในที่ดินพิพาทฟ้องขับไล่จำเลยเป็นการใช้สิทธิอันเกิดแต่กรรมสิทธิ์เพื่อต่อสู้กับจำเลยซึ่งเป็นบุคคลภายนอกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1359ส่วนกรณีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 302 นั้นหมายความว่าเมื่อโจทก์ได้ทรัพย์สินคืนมาแล้วต้องเป็นของเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมร่วมกัน โจทก์จะอ้างเอาเป็นของตนแต่ผู้เดียวไม่ได้เท่านั้นโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลย จำเลยอุทธรณ์แต่เพียงว่า โจทก์ไม่เสียหาย อุทธรณ์ของจำเลยมิได้คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่า ศาลชั้นต้นกำหนดค่าเสียหายไม่ชอบอย่างไร และที่ถูกต้องเป็นอย่างไร เป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชัดแจ้งต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคหนึ่งจึงชอบที่ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยว่าไม่เป็นประเด็นที่จะวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5459/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์รวม-การแบ่งแยกที่ดิน-หน้าที่ผู้ขาย
จำเลยเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์รวมกับผู้อื่นรวม 7 คน ในที่ดินมีโฉนดโดยมิได้ระบุส่วนสัดของผู้ถือกรรมสิทธิ์รวมแต่ละคนไว้ในโฉนด เมื่อจำเลยตกลงขายที่ดินเฉพาะส่วนของจำเลยในที่ดินแปลงใหญ่ให้แก่โจทก์ และข้อเท็จจริงยังรับฟังไม่ได้แน่ชัดว่า โจทก์ได้ทราบว่าที่ดินของจำเลยอยู่ตรงส่วนไหนของที่ดินทั้งโฉนดและมีแนวเขตกว้างยาวเท่าใดแน่นอนแล้ว จึงเป็นหน้าที่จำเลยที่จะไปชี้แนวเขตที่ดินเพื่อรังวัดแบ่งแยกที่ดินเฉพาะส่วนให้โจทก์และเจ้าพนักงานที่ดินดำเนินการแบ่งแยกแก่โจทก์ตามสัญญาจะซื้อขายต่อไป อันเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิบัติตามสัญญา จำเลยจะเพียงแต่จดทะเบียนให้โจทก์มีชื่อถือกรรมสิทธิ์รวมกับผู้ถือกรรมสิทธิ์รวมรายอื่น ๆ ในโฉนดโดยอ้างว่าไม่มีข้อตกลงดังกล่าวในสัญญาหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4845/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องแบ่งกรรมสิทธิ์รวม ไม่ใช่การครอบครองปรปักษ์ ไม่ต้องบรรยายการทำประโยชน์ อายุความเริ่มนับแต่ซื้อ
ฟ้องโจทก์เป็นการฟ้องขอแบ่งกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาทจากจำเลย มิใช่ขอแบ่งกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทจากจำเลยโดยการครอบครองปรปักษ์ โจทก์จึงไม่ต้องบรรยายฟ้องว่าโจทก์ได้ทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทที่ขอแบ่งกรรมสิทธิ์รวมจากจำเลยตั้งแต่เมื่อใด ทั้งปรากฏว่าจำเลยได้ให้การต่อสู้ได้ถูกต้องครบถ้วน มิได้หลงข้อต่อสู้แต่ประการใด ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
คดีนี้ต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248 วรรคหนึ่ง การที่จำเลยฎีกาอ้างว่า จำเลยครอบครองที่ดินพิพาทตั้งแต่ที่ซื้อเมื่อปี 2511 และจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในปี 2526 จึงต้องเริ่มนับอายุความครอบครองปรปักษ์ตั้งแต่ปีที่จำเลยซื้อมา เพราะจำเลยเจตนาครอบครองปรปักษ์นับแต่นั้นเป็นต้นมา และโดยที่ผู้ขายมีเจตนาสละที่ดินส่วนที่ขายให้จำเลย จึงเป็นการกล่าวอ้างที่ต้องใช้ดุลพินิจในการรับฟังพยานโดยอาศัยข้อเท็จจริงเพื่อการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายมีผลอย่างเดียวกับการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
คดีนี้ต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248 วรรคหนึ่ง การที่จำเลยฎีกาอ้างว่า จำเลยครอบครองที่ดินพิพาทตั้งแต่ที่ซื้อเมื่อปี 2511 และจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในปี 2526 จึงต้องเริ่มนับอายุความครอบครองปรปักษ์ตั้งแต่ปีที่จำเลยซื้อมา เพราะจำเลยเจตนาครอบครองปรปักษ์นับแต่นั้นเป็นต้นมา และโดยที่ผู้ขายมีเจตนาสละที่ดินส่วนที่ขายให้จำเลย จึงเป็นการกล่าวอ้างที่ต้องใช้ดุลพินิจในการรับฟังพยานโดยอาศัยข้อเท็จจริงเพื่อการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายมีผลอย่างเดียวกับการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3518/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์รวมและการแบ่งแยกที่ดิน: สิทธิของเจ้าหนี้ในการยึดทรัพย์เมื่อมีการแบ่งแยกกรรมสิทธิ์
ผู้ร้อง ป. ส. และจำเลยที่ 2 มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทรวมกันแต่ได้ตกลงแบ่งแยกเป็นสัดส่วนกันก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 กับพวกเป็นบุคคลล้มละลายและการที่ ป. กับ ส. ขายที่ดินให้แก่ผู้ร้องก็เป็นการขายตามสัดส่วนของตนที่แบ่งแยกไว้แน่นอนแล้ว ผู้ร้องย่อมได้กรรมสิทธิ์ในส่วนที่ดินเป็นเนื้อที่ที่แน่นอนเช่นกัน หาใช่จำเลยที่ 2 ยังคงถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยไม่สามารถระบุโดยชัดแจ้งว่าที่ดินส่วนใดของที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 2 ไม่ ทั้งข้อตกลงแบ่งแยกที่ดินพิพาทเป็นสัดส่วนย่อมผูกมัดเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมทุกคนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1364
แม้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจจัดการทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 22 แต่เมื่อที่ดินพิพาทมีการแบ่งแยกกรรมสิทธิ์โดยผู้ร้องกับจำเลยที่ 2 ได้ครอบครองเป็นสัดส่วนแล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีสิทธิเพียงยึดที่ดินได้เท่าที่จำเลยที่ 2 มีกรรมสิทธิ์อยู่ในที่ดินพิพาทนั้น และระเบียบกระทรวงยุติธรรมว่าด้วยการบังคับคดี ฯ พ.ศ.2522 ข้อ 32 กำหนดว่า การที่จะยึดทรัพย์ทั้งหมดกรณีที่ลูกหนี้เป็นเจ้าของรวมกับบุคคลอื่นนั้นต้องเป็นกรณีที่ไม่ปรากฏว่าส่วนใดเป็นของลูกหนี้ แต่เมื่อผู้ร้องและจำเลยที่ 2 ได้มีการแบ่งแยกที่ดินพิพาทเป็นสัดส่วนแน่นอนแล้ว แม้ยังมิได้จดทะเบียนแบ่งแยกโฉนด เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก็มีสิทธิขายทอดตลาดเฉพาะเพียงส่วนของจำเลยที่ 2 เท่านั้น ไม่มีสิทธิเอาส่วนของผู้ร้องมาขายทอดตลาดด้วย
แม้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจจัดการทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 22 แต่เมื่อที่ดินพิพาทมีการแบ่งแยกกรรมสิทธิ์โดยผู้ร้องกับจำเลยที่ 2 ได้ครอบครองเป็นสัดส่วนแล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีสิทธิเพียงยึดที่ดินได้เท่าที่จำเลยที่ 2 มีกรรมสิทธิ์อยู่ในที่ดินพิพาทนั้น และระเบียบกระทรวงยุติธรรมว่าด้วยการบังคับคดี ฯ พ.ศ.2522 ข้อ 32 กำหนดว่า การที่จะยึดทรัพย์ทั้งหมดกรณีที่ลูกหนี้เป็นเจ้าของรวมกับบุคคลอื่นนั้นต้องเป็นกรณีที่ไม่ปรากฏว่าส่วนใดเป็นของลูกหนี้ แต่เมื่อผู้ร้องและจำเลยที่ 2 ได้มีการแบ่งแยกที่ดินพิพาทเป็นสัดส่วนแน่นอนแล้ว แม้ยังมิได้จดทะเบียนแบ่งแยกโฉนด เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก็มีสิทธิขายทอดตลาดเฉพาะเพียงส่วนของจำเลยที่ 2 เท่านั้น ไม่มีสิทธิเอาส่วนของผู้ร้องมาขายทอดตลาดด้วย