พบผลลัพธ์ทั้งหมด 187 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 398/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายที่ดินเพื่อหากำไรและการเป็นผู้ประกอบการค้าภายใต้ประมวลรัษฎากร
คำว่าผู้ประกอบการค้าตามประมวลรัษฎากร มีความหมายกว้างกว่าคำว่า พ่อค้าในมาตรา 165(1) แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เพราะคำว่าการค้าในประมวลรัษฎากร มาตรา 77 หมายความรวมถึงการประกอบธุรกิจและอื่น ๆ อีกด้วย ดังนั้นปัญหาว่าโจทก์เป็นผู้ประกอบการค้าที่ดินหรือไม่ จึงมิใช่จะอาศัยแต่เพียงโจทก์ไปซื้อที่ดิน แล้วขายไปเป็นปกติธุระหรือไม่ แต่ต้องอาศัยพฤติการณ์ทั่ว ๆ ไปของโจทก์ประกอบกัน
โจทก์ซื้อที่ดินไว้เป็นจำนวนถึงร้อยกว่าโฉนด โดยไม่ปรากฎว่าได้เข้าทำประโยชน์ในที่ดิน และได้ขายไปเป็นจำนวนถึง 20 กว่าโฉนดในระยะเวลา 3 ปี มีกำไรทุกแปลงบางแปลงกำไรหลายเท่าตัว ส่วนมากขายให้แก่โรงงานอุตสาหกรรมซึ่งโจทก์ซื้อที่ดินเหล่านั้นไว้ในระยะเวลาที่ทางการมีนโยบายจะให้ท้องที่นั้นเป็นย่านอุตสาหกรรม ดังนี้ ย่อมแสดงว่าโจทก์มีจุดมุ่งหมายในการซื้อที่ดินจำนวนมากเหล่านั้นไว้ เพื่อขายหากำไรเป็นสำคัญ การที่โจทก์ซื้อที่ดินไว้โดยมุ่งในทางการค้า หรือหากำไรมาแต่เดิม และได้ขายที่ดินดังกล่าวไปเป็นทางการค้าหรือหากำไร ถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้ประกอบการค้า มีหน้าที่ต้องเสียภาษีการค้าในประเภทการค้า 11 และต้องเสียภาษีเงินได้จากรายรับ เพราะเงินที่โจทก์ได้รับจากการขายที่ดินเข้าลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมิน ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 40(8) ทั้งไม่เข้าข่ายที่จะได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ ตามความในมาตรา 42(9)
โจทก์ซื้อที่ดินไว้เป็นจำนวนถึงร้อยกว่าโฉนด โดยไม่ปรากฎว่าได้เข้าทำประโยชน์ในที่ดิน และได้ขายไปเป็นจำนวนถึง 20 กว่าโฉนดในระยะเวลา 3 ปี มีกำไรทุกแปลงบางแปลงกำไรหลายเท่าตัว ส่วนมากขายให้แก่โรงงานอุตสาหกรรมซึ่งโจทก์ซื้อที่ดินเหล่านั้นไว้ในระยะเวลาที่ทางการมีนโยบายจะให้ท้องที่นั้นเป็นย่านอุตสาหกรรม ดังนี้ ย่อมแสดงว่าโจทก์มีจุดมุ่งหมายในการซื้อที่ดินจำนวนมากเหล่านั้นไว้ เพื่อขายหากำไรเป็นสำคัญ การที่โจทก์ซื้อที่ดินไว้โดยมุ่งในทางการค้า หรือหากำไรมาแต่เดิม และได้ขายที่ดินดังกล่าวไปเป็นทางการค้าหรือหากำไร ถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้ประกอบการค้า มีหน้าที่ต้องเสียภาษีการค้าในประเภทการค้า 11 และต้องเสียภาษีเงินได้จากรายรับ เพราะเงินที่โจทก์ได้รับจากการขายที่ดินเข้าลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมิน ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 40(8) ทั้งไม่เข้าข่ายที่จะได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ ตามความในมาตรา 42(9)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2637-2639/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเสียภาษีของตัวแทนจำหน่ายและสาขาของบริษัทต่างชาติ: ภาษีเงินได้และภาษีการค้า
โจทก์ยื่นคำร้องต่ออธิบดีกรมสรรพากรเพื่อขออนุมัติขยายกำหนดเวลาการยื่นอุทธรณ์ตามนัยมาตรา 3อัฏฐแห่งประมวลรัษฎากร เมื่ออธิบดีกรมสรรพากรไม่ยินยอมโจทก์ได้ยื่นคำร้องต่อหัวหน้าคณะปฏิวัติซึ่งมีอำนาจปกครองอยู่ในขณะนั้น และในที่สุดอธิบดีกรมสรรพากรได้มีหนังสือถึงโจทก์อนุญาตให้โจทก์ยื่นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ภายใน 30 วัน นับแต่วันได้รับหนังสือ ดังนี้ เป็นการขยายกำหนดเวลาออกไปตามอำนาจของอธิบดีกรมสรรพากรที่มีอยู่แล้ว เมื่อโจทก์ยื่นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ภายในกำหนด 30 วัน ตามที่อธิบดีกรมสรรพากรขยายเวลาออกไปย่อมถือได้ว่าเป็นการอุทธรณ์โดยชอบแล้ว และเมื่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยให้ยกอุทธรณ์ของโจทก์ โจทก์ย่อมใช้สิทธิอุทธรณ์ต่อศาลได้ภายใน 30 วัน นับแต่วันรับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์
บริษัท อ. และ พ. ทำสัญญาซื้อขายอุปกรณ์โทรศัพท์กับองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย โดยบริษัท อ. แต่งตั้งให้โจทก์เป็นผู้ติดต่อเจรจาตกลงกับกระทรวงคมนาคมและเจ้าหน้าที่องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย โดยโจทก์ได้รับค่านายหน้า 2% ของราคาเอฟโอบี ที่ได้รับคำสั่งซื้อ และในการติดต่อขายอุปกรณ์ดังกล่าวโจทก์เป็นผู้ยื่นเสนอราคาหรือลดราคา และได้ขอยืดเวลาการเซ็นสัญญาแทนบริษัท อ. เมื่อองค์การโทรศัพท์ฯ ตกลงซื้อแล้วก็ได้แจ้งให้โจทก์ติดต่อบริษัท อ. ให้เข้ามาทำสัญญา การชำระราคาองค์การโทรศัพท์ฯเปิดเล็ตเตอร์ออฟเครดิตไปยังบริษัท อ. แล้วทำหนังสือแจ้งให้ทราบโดยผ่านโจทก์ โจทก์ได้รับค่านายหน้าเป็นคราว ๆ ที่สินค้าตามสัญญาทยอยเข้ามา และสำหรับกรณีของบริษัท พ. นั้น โจทก์ก็เป็นผู้เสนอขายอุปกรณ์โทรศัพท์ของบริษัท พ. โดยโจทก์อ้างว่าได้รับมอบให้เป็นนายหน้าตัวแทน ในหนังสือขององค์การโทรศัพท์ที่ขออนุมัติสั่งซื้อต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมก็อ้างว่าการเสนอราคาของบริษัท พ. มีโจทก์เป็นตัวแทนในประเทศไทยใบสั่งซื้อก็ต้องผ่านโจทก์ สัญญาซื้อขายก็มีผู้จัดการบริษัทโจทก์ลงชื่อเป็นพยาน ประกอบกับโจทก์ยอมรับว่าโจทก์เป็นผู้จัดการติดต่อให้บริษัท อ. และ พ. เข้าทำสัญญาซื้อขายกับองค์การโทรศัพท์ฯ ในฐานะนายหน้า แสดงว่าโจทก์ได้แสดงออกโดยแจ้งชัดแล้วว่า โจทก์เป็นผู้ทำการแทนหรือผู้ทำการติดต่อในประเทศไทยของบริษัท อ. และ พ. แล้ว ถือได้ว่าโจทก์ เป็นตัวแทนของบริษัททั้งสองดังกล่าวอันเป็นบริษัทที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศในการขายอุปกรณ์โทรศัพท์ให้แก่องค์การโทรศัพท์ฯ โจทก์จึงมีหน้าที่และความรับผิดในการยื่นรายการและเสียภาษีเงินได้ตามความในประมวลรัษฎากร มาตรา 76 ทวิ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2494 มาตรา 33
บทบัญญัติมาตรา 76 ทวิ อยู่ในส่วนที่ 3 ของหมวดที่ 3 ว่าด้วยภาษีเงินได้ แต่เรื่องภาษีการค้ามีบัญญัติอยู่ในหมวดที่ 4 ต่างส่วน ต่างหมวดกัน ดังนั้นการวินิจฉัยถึงความรับผิดในเรื่องภาษีการค้า จึงต้อง อาศัยบทบัญญัติในหมวด 4 ว่าด้วยภาษีการค้า จะนำบทบัญญัติ ใน มาตรา 76 ทวิ อันเป็นบทบัญญัติที่ให้สันนิษฐานเด็ดขาดในเรื่อง ภาษีเงินได้มาใช้กับเรื่องภาษีการค้าไม่ได้
โจทก์ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดจำหน่ายของบริษัท อ. เพื่อจุดประสงค์ในการเจรจากับกระทรวงคมนาคมและเจ้าหน้าที่องค์การโทรศัพท์ฯ โดยโจทก์ได้รับค่านายหน้า 2 เปอร์เซนต์ของราคาเอฟโอบีที่ได้รับคำสั่งซื้อ ต่อมามีบริษัทในเครือเดียวกับบริษัท อ. มีหนังสือถึงโจทก์ระบุว่าโจทก์เป็นตัวแทนในประเทศไทย และยืนยันข้อตกลงที่แต่งตั้งให้โจทก์เป็นตัวแทนนายหน้าโดยให้โจทก์กระทำการเป็นตัวแทนนายหน้าต่อหน่วยราชการหรือองค์การในประเทศไทย และในการเซ็นสัญญาซื้อขายโจทก์เป็นผู้ขอยืดเวลาเซ็นสัญญาแทนบริษัท อ. เมื่อองค์การโทรศัพท์ฯ จ่ายเงินตามสัญญาซื้อขายให้บริษัท อ. ก็ต้องแจ้งผ่านโจทก์ ดังนี้ บริษัทโจทก์มิได้กระทำการเป็นเพียงนายหน้าของบริษัท อ. เท่านั้นแต่ถือได้ว่าเป็นผู้ทำการแทนตามประมวลรัษฎากร มาตรา 78ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร(ฉบับที่ 16) พ.ศ. 2502 มาตรา 37 และเป็นสาขาของบริษัท อ. ผู้นำเข้าตามมาตรา 77 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 18) พ.ศ. 2504 มาตรา 9 โจทก์จึงมีหน้าที่เสียภาษีการค้าตามบัญชีอัตราภาษีการค้าประเภทการค้า 1 การขายของชนิด 1(ก) จากรายรับของบริษัท อ. ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2504 ถึงเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2507
สำหรับการดำเนินการเกี่ยวกับบริษัท พ. ขายสินค้าให้องค์การโทรศัพท์ฯ ก็ปรากฏว่า โจทก์มีหนังสือเสนอขายสินค้าแทนบริษัท พ. โดยอ้างว่าโจทก์ได้รับมอบหมายให้เป็นตัวแทนนายหน้า ใบสั่งซื้อสินค้าที่องค์การโทรศัพท์กับบริษัท พ. ก็มีผู้จัดการส่งถึงบริษัท พ. ก็ต้องผ่านโจทก์สัญญาซื้อขายระหว่างองค์การโทรศัพท์ฯ กับบริษัท พ. ก็มีผู้จัดการบริษัทโจทก์ลงนามเป็นพยานด้วย ดังนี้ เห็นได้ว่าโจทก์ได้เข้าเกี่ยวข้องติดต่อทุกขั้นตอนในฐานะผู้ทำการแทนบริษัท พ. โจทก์จึงเป็นสาขาของบริษัท พ. ผู้นำเข้า ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 77ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 18)พ.ศ. 2504 มาตรา 9 โจทก์จึงมีหน้าที่เสียภาษีการค้าจากรายรับของ บริษัท พ. ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2506 ถึง เดือนตุลาคม พ.ศ. 2507 และมกราคม ถึงสิงหาคม 2508
บริษัท อ. และ พ. ทำสัญญาซื้อขายอุปกรณ์โทรศัพท์กับองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย โดยบริษัท อ. แต่งตั้งให้โจทก์เป็นผู้ติดต่อเจรจาตกลงกับกระทรวงคมนาคมและเจ้าหน้าที่องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย โดยโจทก์ได้รับค่านายหน้า 2% ของราคาเอฟโอบี ที่ได้รับคำสั่งซื้อ และในการติดต่อขายอุปกรณ์ดังกล่าวโจทก์เป็นผู้ยื่นเสนอราคาหรือลดราคา และได้ขอยืดเวลาการเซ็นสัญญาแทนบริษัท อ. เมื่อองค์การโทรศัพท์ฯ ตกลงซื้อแล้วก็ได้แจ้งให้โจทก์ติดต่อบริษัท อ. ให้เข้ามาทำสัญญา การชำระราคาองค์การโทรศัพท์ฯเปิดเล็ตเตอร์ออฟเครดิตไปยังบริษัท อ. แล้วทำหนังสือแจ้งให้ทราบโดยผ่านโจทก์ โจทก์ได้รับค่านายหน้าเป็นคราว ๆ ที่สินค้าตามสัญญาทยอยเข้ามา และสำหรับกรณีของบริษัท พ. นั้น โจทก์ก็เป็นผู้เสนอขายอุปกรณ์โทรศัพท์ของบริษัท พ. โดยโจทก์อ้างว่าได้รับมอบให้เป็นนายหน้าตัวแทน ในหนังสือขององค์การโทรศัพท์ที่ขออนุมัติสั่งซื้อต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมก็อ้างว่าการเสนอราคาของบริษัท พ. มีโจทก์เป็นตัวแทนในประเทศไทยใบสั่งซื้อก็ต้องผ่านโจทก์ สัญญาซื้อขายก็มีผู้จัดการบริษัทโจทก์ลงชื่อเป็นพยาน ประกอบกับโจทก์ยอมรับว่าโจทก์เป็นผู้จัดการติดต่อให้บริษัท อ. และ พ. เข้าทำสัญญาซื้อขายกับองค์การโทรศัพท์ฯ ในฐานะนายหน้า แสดงว่าโจทก์ได้แสดงออกโดยแจ้งชัดแล้วว่า โจทก์เป็นผู้ทำการแทนหรือผู้ทำการติดต่อในประเทศไทยของบริษัท อ. และ พ. แล้ว ถือได้ว่าโจทก์ เป็นตัวแทนของบริษัททั้งสองดังกล่าวอันเป็นบริษัทที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศในการขายอุปกรณ์โทรศัพท์ให้แก่องค์การโทรศัพท์ฯ โจทก์จึงมีหน้าที่และความรับผิดในการยื่นรายการและเสียภาษีเงินได้ตามความในประมวลรัษฎากร มาตรา 76 ทวิ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2494 มาตรา 33
บทบัญญัติมาตรา 76 ทวิ อยู่ในส่วนที่ 3 ของหมวดที่ 3 ว่าด้วยภาษีเงินได้ แต่เรื่องภาษีการค้ามีบัญญัติอยู่ในหมวดที่ 4 ต่างส่วน ต่างหมวดกัน ดังนั้นการวินิจฉัยถึงความรับผิดในเรื่องภาษีการค้า จึงต้อง อาศัยบทบัญญัติในหมวด 4 ว่าด้วยภาษีการค้า จะนำบทบัญญัติ ใน มาตรา 76 ทวิ อันเป็นบทบัญญัติที่ให้สันนิษฐานเด็ดขาดในเรื่อง ภาษีเงินได้มาใช้กับเรื่องภาษีการค้าไม่ได้
โจทก์ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดจำหน่ายของบริษัท อ. เพื่อจุดประสงค์ในการเจรจากับกระทรวงคมนาคมและเจ้าหน้าที่องค์การโทรศัพท์ฯ โดยโจทก์ได้รับค่านายหน้า 2 เปอร์เซนต์ของราคาเอฟโอบีที่ได้รับคำสั่งซื้อ ต่อมามีบริษัทในเครือเดียวกับบริษัท อ. มีหนังสือถึงโจทก์ระบุว่าโจทก์เป็นตัวแทนในประเทศไทย และยืนยันข้อตกลงที่แต่งตั้งให้โจทก์เป็นตัวแทนนายหน้าโดยให้โจทก์กระทำการเป็นตัวแทนนายหน้าต่อหน่วยราชการหรือองค์การในประเทศไทย และในการเซ็นสัญญาซื้อขายโจทก์เป็นผู้ขอยืดเวลาเซ็นสัญญาแทนบริษัท อ. เมื่อองค์การโทรศัพท์ฯ จ่ายเงินตามสัญญาซื้อขายให้บริษัท อ. ก็ต้องแจ้งผ่านโจทก์ ดังนี้ บริษัทโจทก์มิได้กระทำการเป็นเพียงนายหน้าของบริษัท อ. เท่านั้นแต่ถือได้ว่าเป็นผู้ทำการแทนตามประมวลรัษฎากร มาตรา 78ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร(ฉบับที่ 16) พ.ศ. 2502 มาตรา 37 และเป็นสาขาของบริษัท อ. ผู้นำเข้าตามมาตรา 77 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 18) พ.ศ. 2504 มาตรา 9 โจทก์จึงมีหน้าที่เสียภาษีการค้าตามบัญชีอัตราภาษีการค้าประเภทการค้า 1 การขายของชนิด 1(ก) จากรายรับของบริษัท อ. ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2504 ถึงเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2507
สำหรับการดำเนินการเกี่ยวกับบริษัท พ. ขายสินค้าให้องค์การโทรศัพท์ฯ ก็ปรากฏว่า โจทก์มีหนังสือเสนอขายสินค้าแทนบริษัท พ. โดยอ้างว่าโจทก์ได้รับมอบหมายให้เป็นตัวแทนนายหน้า ใบสั่งซื้อสินค้าที่องค์การโทรศัพท์กับบริษัท พ. ก็มีผู้จัดการส่งถึงบริษัท พ. ก็ต้องผ่านโจทก์สัญญาซื้อขายระหว่างองค์การโทรศัพท์ฯ กับบริษัท พ. ก็มีผู้จัดการบริษัทโจทก์ลงนามเป็นพยานด้วย ดังนี้ เห็นได้ว่าโจทก์ได้เข้าเกี่ยวข้องติดต่อทุกขั้นตอนในฐานะผู้ทำการแทนบริษัท พ. โจทก์จึงเป็นสาขาของบริษัท พ. ผู้นำเข้า ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 77ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 18)พ.ศ. 2504 มาตรา 9 โจทก์จึงมีหน้าที่เสียภาษีการค้าจากรายรับของ บริษัท พ. ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2506 ถึง เดือนตุลาคม พ.ศ. 2507 และมกราคม ถึงสิงหาคม 2508
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1554/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งข้อหาและการสอบสวนความผิดฐานฉ้อโกงทางการค้า จำเลยให้การรับสารภาพ
เจ้าหน้าที่ตำรวจผู้จับกุมจำเลยได้แจ้งข้อหาว่าจำเลยมีเครื่องชั่งผิดอัตราไว้ในความครอบครองเพื่อเอาเปรียบทางการค้า พนักงานสอบสวนได้สอบสวนจำเลยในวันเดียวกัน จำเลยให้การรับสารภาพ แม้บันทึกคำให้การของจำเลยจะไม่มีข้อความว่าได้แจ้งข้อหาในความผิดเกี่ยวกับการค้า แต่ก็ได้แจ้งข้อหาความผิดตามพระราชบัญญัติมาตราชั่ง ตวง วัด อันเป็นเรื่องประธานแล้วจึงถือได้ว่ามีการสอบสวนในความผิดเกี่ยวกับการค้าด้วยแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 916/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองอาวุธสงครามเพื่อค้า หาใช่การมีไว้ในครอบครองเพื่อใช้ส่วนตัว จึงไม่อยู่ในข่ายได้รับการยกเว้นโทษตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน
การที่จำเลยมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนที่ใช้เฉพาะแต่ในการสงครามเป็นจำนวนมาก โดยมีเจตนาเพื่อการค้าหรือเพื่อการจำหน่ายนั้น ไม่อยู่ในข่ายจะได้รับการยกเว้นไม่เอาโทษตามพระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2514
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 916/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อาวุธสงครามเพื่อการค้า ไม่ได้รับการยกเว้นโทษตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน
การที่จำเลยมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนที่ใช้เฉพาะแต่ในการสงครามเป็นจำนวนมาก โดยมีเจตนาเพื่อการค้าหรือเพื่อการจำหน่ายนั้นไม่อยู่ในข่ายจะได้รับการยกเว้นไม่เอาโทษตามพระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืนวัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน (ฉบับที่ 6)พ.ศ.2518
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 292/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของเจ้าของนามสมญาทางการค้า และความรับผิดจากความประมาทในการขับรถ
โจทก์ฟ้องคดีโดยใช้ชื่อว่า "บริการขนส่งสิงห์ชัยตาคลี โดยนายเซียมเซีย ชมภู เจ้าของบริการ" เป็นโจทก์ แม้ว่า "บริการขนส่งสิงห์ชัยตาคลี" จะมิได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่ก็เป็นนามสมญาในทางการค้าของนายเซียมเซีย ชมภู และนายเซียมเซีย ชมภู ได้ฟ้องในนามเจ้าของสมญาดังกล่าว เป็นเรื่องเจ้าของบริการฟ้องในนามบริการซึ่งเป็นบุคคลเดียวกัน จึงมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2432/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแข่งขันทางการค้าโดยมิชอบ: การเดินรถโดยสารในเส้นทางที่ได้รับอนุญาต
จำเลยเดินรถรับส่งผู้โดยสารในเส้นทางที่โจทก์ได้รับอนุญาต โดยมีกำหนดเวลาออกรถและสถานที่จอดรถที่แน่นอนประจำทุกวัน เมื่อรถจำเลยถึงปลายทาง ผู้โดยสารต่างคนต่างแยกย้ายกันไป รถจำเลยไม่ได้พาผู้โดยสารไปทัศนาจรที่ใดเลย และการจำหน่ายตั๋วโดยสารก็จำหน่ายเป็นรายบุคคล ในอัตราค่าโดยสารที่เป็นปกติธรรมดา มิใช่เพื่อการทัศนาจรดังนี้ ย่อมถือได้ว่าจำเลยเดินรถในลักษณะที่เป็นการแข่งขันกับโจทก์ผู้มีสิทธิทำการขนส่งเดินรถประจำทางในเส้นทางสายที่โจทก์ได้รับอนุญาต ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายการกระทำของจำเลยเป็นการละเมิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1720/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อาวุธสงครามเพื่อการค้า ไม่ได้รับยกเว้นโทษตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2518
มีอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืนฯ สำหรับใช้เฉพาะแต่ในการสงคราม (ไว้) โดยเจตนาเพื่อการค้าหรือเพื่อการจำหน่าย ไม่อยู่ในข่ายที่จะได้รับยกเว้นโทษตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ (ฉบับที่ 6 ) พ.ศ. 2518
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 734/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้ชื่อทางการค้าที่คล้ายกัน แต่มีลักษณะแตกต่างกันและประกอบการค้าต่างประเภท ไม่ถือเป็นการละเมิด
แถบติดคอเสื้อของโจทก์จำเลยต่างใช้อักษรโรมันคำเดียวกัน แต่เครื่องหมายแถบไม่เหมือนกัน โดยของโจทก์ใช้ตัวเอน และมีอักษรโรมันอื่นประกอบด้วย ส่วนของจำเลยเป็นอักษรตัวตรง และมีภาษาไทยประกอบ แตกต่างกันเห็นได้ชัด ทั้งโจทก์จำเลยก็ประกอบการค้าในลักษณะแตกต่าง คือ โจทก์ผลิตเสื้อสำเร็จรูปส่งจำหน่ายตามร้านค้า ส่วนจำเลยตั้งร้านรับจ้างตัดเสื้อกางเกง และใช้แถบติดคอเสื้อเฉพาะที่จำเลยรับจ้างตัดเท่านั้น จึงไม่พอฟังว่าจำเลยเอาสินค้าของจำเลยไปลวงขายว่าเป็นสินค้าของโจทก์ ไม่เป็นการทำละเมิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2219/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีเงินได้จากการขายที่ดินของห้างหุ้นส่วนค้าที่ดิน และการแก้ไขจำนวนเงินประเมินหลังพ้นกำหนดระยะเวลา
ห้างหุ้นส่วนมีวัตถุประสงค์ในการค้า ทำการขายที่ดินในทางการค้าไม่ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีเงินได้
เมื่อครั้งคดีนี้ขึ้นสู่ศาลฎีกาครั้งแรกศาลฎีกาได้วินิจฉัยแล้วว่า จ. เจ้าพนักงานประเมินคนเดียวมีอำนาจประเมินภาษีเงินได้ของโจทก์และคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีผลบังคับให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาประเด็นอื่นแล้วพิพากษาใหม่ประเด็นเรื่องอำนาจประเมินของ จ. กับอำนาจวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จึงยุติ โจทก์ฎีกาครั้งหลังอีกว่าไม่มีอำนาจประเมินแม้จะยกเหตุต่างกัน ศาลฎีกาก็ไม่วินิจฉัยให้
โจทก์ยื่นรายการเสียภาษีเงินได้ปีพ.ศ.2499-2501 เจ้าพนักงานประเมินจังหวัดสงขลาได้มีหมายเรียกลงวันที่ 12 กันยายน 2501 เรียกโจทก์เพื่อไต่สวนต่อมาโจทก์ย้ายภูมิลำเนามาอยู่ในจังหวัดพระนครเจ้าพนักงานประเมินในเขตจังหวัดสงขลาโอนเรื่องให้เจ้าพนักงานประเมินในเขตจังหวัดพระนครดำเนินการจึงได้มีหมายเรียกฉบับลงวันที่ 9 มิถุนายน 2508 ถึงโจทก์ หมายเรียกฉบับหลังจึงเป็นหมายเรียกซ้ำโจทก์จะอ้างว่าเพิ่งออกหมายเรียกเมื่อพ้นกำหนด5 ปีแล้วหาได้ไม่เจ้าพนักงานประเมินจึงมีอำนาจแก้จำนวนเงินที่ประเมินหรือที่ยื่นรายการไว้เดิมได้
แม้เจ้าพนักงานประเมินที่มีหมายเรียกโจทก์มาไต่สวนครั้งแรกจะมีความเห็นว่าโจทก์ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ก็ตาม กรมสรรพากรซึ่งมีอำนาจหน้าที่และควบคุมการจัดเก็บภาษีอากรตาม ประมวลรัษฎากร ก็มีอำนาจสั่งให้ประเมินใหม่ได้
เมื่อครั้งคดีนี้ขึ้นสู่ศาลฎีกาครั้งแรกศาลฎีกาได้วินิจฉัยแล้วว่า จ. เจ้าพนักงานประเมินคนเดียวมีอำนาจประเมินภาษีเงินได้ของโจทก์และคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีผลบังคับให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาประเด็นอื่นแล้วพิพากษาใหม่ประเด็นเรื่องอำนาจประเมินของ จ. กับอำนาจวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จึงยุติ โจทก์ฎีกาครั้งหลังอีกว่าไม่มีอำนาจประเมินแม้จะยกเหตุต่างกัน ศาลฎีกาก็ไม่วินิจฉัยให้
โจทก์ยื่นรายการเสียภาษีเงินได้ปีพ.ศ.2499-2501 เจ้าพนักงานประเมินจังหวัดสงขลาได้มีหมายเรียกลงวันที่ 12 กันยายน 2501 เรียกโจทก์เพื่อไต่สวนต่อมาโจทก์ย้ายภูมิลำเนามาอยู่ในจังหวัดพระนครเจ้าพนักงานประเมินในเขตจังหวัดสงขลาโอนเรื่องให้เจ้าพนักงานประเมินในเขตจังหวัดพระนครดำเนินการจึงได้มีหมายเรียกฉบับลงวันที่ 9 มิถุนายน 2508 ถึงโจทก์ หมายเรียกฉบับหลังจึงเป็นหมายเรียกซ้ำโจทก์จะอ้างว่าเพิ่งออกหมายเรียกเมื่อพ้นกำหนด5 ปีแล้วหาได้ไม่เจ้าพนักงานประเมินจึงมีอำนาจแก้จำนวนเงินที่ประเมินหรือที่ยื่นรายการไว้เดิมได้
แม้เจ้าพนักงานประเมินที่มีหมายเรียกโจทก์มาไต่สวนครั้งแรกจะมีความเห็นว่าโจทก์ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ก็ตาม กรมสรรพากรซึ่งมีอำนาจหน้าที่และควบคุมการจัดเก็บภาษีอากรตาม ประมวลรัษฎากร ก็มีอำนาจสั่งให้ประเมินใหม่ได้