พบผลลัพธ์ทั้งหมด 171 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1183/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมและการใช้ดุลพินิจศาลในการรับฟังพยานหลักฐาน
โจทก์ทั้งสามยื่นบัญชีระบุพยานครั้งแรกก่อนวันสืบพยานโจทก์ซึ่งเป็นฝ่ายนำสืบก่อนไม่น้อยกว่า 3 วันแล้ว ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 88 วรรคหนึ่ง ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะฟ้องคดีนี้ โจทก์ทั้งสามชอบที่จะยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมก่อนเสร็จการสืบพยานหลักฐานของฝ่ายโจทก์ได้เสมอตามมาตรา 88 วรรคสอง ศาลชั้นต้นจะใช้ดุลพินิจไม่รับบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมซึ่งยื่นภายในกำหนดเวลาดังกล่าวไม่ได้ บทบัญญัติมาตรา 86 วรรคหนึ่ง ที่ให้ศาลปฏิเสธไม่ยอมรับพยานหลักฐานที่รับฟังไม่ได้หรือที่รับฟังได้แต่ได้ยื่นฝ่าฝืนต่อกฎหมาย เป็นคนละกรณีกับการยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมของโจทก์ทั้งสาม ส่วนบทบัญญัติมาตรา 86 วรรคสองที่ให้ศาลมีอำนาจงดการสืบพยานหลักฐานที่ศาลเห็นว่าฟุ่มเฟือยเกินสมควรหรือประวิงให้ชักช้าหรือไม่เกี่ยวกับประเด็น เป็นขั้นตอนภายหลังที่คู่ความได้ยื่นบัญชีระบุพยานหลักฐานเช่นว่านั้นโดยชอบแล้ว จึงเป็นคนละกรณีกับการยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมของโจทก์ทั้งสามอีกเช่นกัน และเมื่อศาลชั้นต้นยังไม่ได้สั่งรับบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมของโจทก์ทั้งสาม ก็ไม่ชอบที่ศาลชั้นต้นจะก้าวล่วงไปวินิจฉัยประเด็นที่ว่าโจทก์ทั้งสามมีพฤติการณ์ประวิงคดีให้ชักช้าหรือไม่ ศาลอุทธรณ์พิพากษายกคำพิพากษาและคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้โจทก์ทั้งสามระบุพยานเพิ่มเติมและให้รับบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมของโจทก์ทั้งสาม กับให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาสืบพยานโจทก์ทั้งสามจนแล้วเสร็จต่อไป แล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดีคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ตอนต้นยังไม่ถูกต้องเพราะเมื่อศาลชั้นต้นสั่งรับบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมของโจทก์ทั้งสามแล้ว ศาลชั้นต้นยังมีอำนาจที่จะใช้ดุลพินิจสั่งงดการสืบพยานหลักฐานของโจทก์ทั้งสามที่เห็นว่าเป็นพยานหลักฐานที่ฟุ่มเฟือยเกินสมควรหรือประวิงให้ชักช้าหรือไม่เกี่ยวกับประเด็นได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 86 วรรคสอง และถ้ามีการสืบพยานหลักฐานของโจทก์ทั้งสามต่อไป ก็ต้องให้โอกาสจำเลยนำพยานหลักฐานเข้าสืบแก้ได้ด้วย เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษาในคำพิพากษาฉบับแรกให้ยกคำพิพากษาและคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้โจทก์ทั้งสามระบุพยานเพิ่มเติมและให้รับบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมของโจทก์ทั้งสามแล้วคดีในส่วนที่จำเลยอุทธรณ์คำพิพากษาฉบับหลังก็ต้องมีการรับฟังพยานหลักฐานใหม่ตามที่โจทก์ทั้งสามและจำเลยนำสืบเพิ่มเติมต่อไปด้วยเพราะคดีทั้งสองสำนวนนี้ศาลชั้นต้นรวมพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกันคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ฉบับหลังที่ให้ยกคำพิพากษาศาลชั้นต้น โดยไม่ได้วินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4047/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นบัญชีระบุพยานในชั้นอนาถาเพียงครั้งเดียว มีผลใช้ได้ในชั้นพิจารณาคดี
ก่อนนัดไต่สวนคำร้องขอฟ้องคดีอย่างคนอนาถา โจทก์ได้ยื่นบัญชีระบุพยานแล้วโดยบัญชีระบุพยานนั้นเป็นบัญชีระบุพยาน"ชั้นไต่สวนอนาถา นัดสืบพยานโจทก์" จึงถือได้ว่าโจทก์ได้ยื่นบัญชีระบุพยานทั้งคดีแล้ว ไม่จำต้องยื่นบัญชีระบุพยานใหม่ในชั้นพิจารณาคดีอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2647/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปฏิเสธฟ้องต้องระบุเหตุ หากไม่ระบุ ถือเป็นการยอมรับข้อเท็จจริงที่ถูกฟ้อง
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสอง เป็นบทบังคับว่าจำเลยจะยอมรับหรือปฏิเสธข้ออ้างตามฟ้องของโจทก์ทั้งสิ้นหรือแต่บางส่วนก็ได้ แต่จำเลยจะต้องให้เหตุแห่งการยอมรับหรือปฏิเสธนั้น โดยเฉพาะการปฏิเสธฟ้องของโจทก์ไม่ว่าปฏิเสธทั้งสิ้นหรือบางส่วนจำเลยจำเป็นจะต้องให้เหตุแห่งการปฏิเสธไว้ เท่ากับจำเลยจะต้องกล่าวอ้างข้อเท็จจริงไว้ในคำให้การเพื่อตั้งเป็นประเด็นข้อพิพาทมิฉะนั้นจำเลยจะไม่มีประเด็นอะไรให้นำสืบตามหน้าที่ของจำเลยได้ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 84 โจทก์ฟ้องกล่าวอ้างว่าจำเลยที่ 1 ออกเช็คโดยมีจำเลยที่ 2เป็นผู้สลักหลัง มอบให้โจทก์เพื่อชำระหนี้ เมื่อเช็คถึงกำหนดชำระโจทก์นำไปขึ้นเงิน ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็ค ขอให้ศาลบังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันรับผิดตามเช็ค จำเลยทั้งสองให้การว่าเช็คตามฟ้องไม่มีมูลหนี้ เช็คตกไปอยู่ในครอบครองของโจทก์โดยไม่สุจริต โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองโดยใช้สิทธิไม่สุจริตและโจทก์ไม่ใช่ผู้ทรงเช็คโดยชอบด้วยกฎหมาย คำให้การของจำเลยทั้งสองปฏิเสธข้ออ้างตามฟ้องของโจทก์แต่เพียงในสิ่งที่ไม่ใช่สาระสำคัญว่าเช็คตามฟ้องไม่มีมูลหนี้ ตกไปอยู่ในครอบครองของโจทก์โดยไม่สุจริต และโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองโดยไม่สุจริต แม้จำเลยจะให้การปฏิเสธว่าโจทก์ไม่ใช่ผู้ทรงเช็คโดยชอบด้วยกฎหมาย แต่ก็ไม่ได้ให้เหตุแห่งการปฏิเสธไว้อีกทั้งจำเลยทั้งสองก็ไม่ได้ให้การปฏิเสธฟ้องของโจทก์ว่าจำเลยที่ 1ไม่ได้ออกเช็ค จำเลยที่ 2 ไม่ได้สลักหลังเช็คและธนาคารผู้จ่ายไม่ได้ปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คหรือไม่ เมื่อจำเลยทั้งสองไม่ปฏิเสธในข้อเหล่านี้ต้องถือว่าจำเลยทั้งสองยอมรับว่าจำเลยที่ 1 ออกเช็คจำเลยที่ 2 สลักหลังเช็ค เพื่อชำระหนี้แก่โจทก์ และธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็ค เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ดังนี้แล้ว จึงไม่จำต้องให้คู่ความนำสืบข้อเท็จจริงอื่นใดที่ไม่จำเป็นแก่คดีอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2185/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดเขตอำนาจศาลในคดีล้มละลาย: ภูมิลำเนาของลูกหนี้เป็นหลักเกณฑ์สำคัญ
ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 150 กำหนดให้ยื่นคำฟ้องคดีล้มละลายต่อศาลซึ่งลูกหนี้มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตส่วนลูกหนี้จะมีภูมิลำเนาอยู่ ณ ที่ใด ต้องถือตามถิ่นอันบุคคลนั้นมีสถานที่อยู่เป็นแหล่งสำคัญ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 44 ส่วนการเปลี่ยนภูมิลำเนาจะทำได้ด้วยการย้ายถิ่นที่อยู่พร้อมด้วยเจตนาปรากฏว่าจงใจจะเปลี่ยนภูมิลำเนาตาม มาตรา 48เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าเดิมจำเลยมีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพมหานครจำเลยย้ายภูมิลำเนาไปอยู่จังหวัดลำพูนแล้วย้ายต่อไปอยู่จังหวัดเชียงใหม่ แสดงว่าจำเลยมีถิ่นอันเป็นสถานที่อยู่เป็นแหล่งสำคัญที่จังหวัดเชียงใหม่ ถือได้ว่าจังหวัดเชียงใหม่เป็นภูมิลำเนาของจำเลย ส่วนที่อำเภอเมืองเชียงใหม่ได้จำหน่ายชื่อจำเลยออกจากทะเบียนบ้านเดิม แล้วลงชื่อไว้ในทะเบียนคนบ้านกลางก็เนื่องจากไม่มีตัวอยู่ในบ้านและไม่ทราบที่อยู่ใหม่ ไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ย้ายที่อยู่พร้อมด้วยเจตนาจะเปลี่ยนภูมิลำเนาแต่อย่างใด จึงไม่อาจถือได้ว่าจำเลยได้เปลี่ยนภูมิลำเนาไปจากจังหวัดเชียงใหม่แล้วแม้ตามระเบียบสำนักงานกลางทะเบียนราษฎร กรมการปกครองว่าด้วยการจัดทำทะเบียนราษฎรสำหรับสำนักทะเบียนในเขตปฏิบัติการตามโครงการจัดทำเลขประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2528 ข้อ 52 และ 53จะถือว่าทะเบียนคนบ้านกลางไม่ใช่ทะเบียนบ้าน และบุคคลซึ่งมีรายการปรากฏอยู่ในทะเบียนคนบ้านกลาง ไม่อาจจะขอคัดหรือรับรองสำเนารายการเพื่อนำไปใช้อ้างอิงหรือใช้สิทธิในกรณีต่าง ๆ ได้ก็ตามก็เป็นเรื่องเพื่อประโยชน์ในการจัดทำทะเบียนราษฎรตามโครงการจัดทำเลขประจำตัวประชาชนเท่านั้น จะถือว่าจำเลยมิได้มีภูมิลำเนาตามกฎหมายในส่วนที่เกี่ยวกับการยื่นฟ้องคดีอยู่ที่จังหวัดเชียงใหม่หาได้ไม่ ดังนั้น เมื่อจำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ที่จังหวัดเชียงใหม่ในขณะยื่นฟ้อง จึงต้องด้วยพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 150 ที่จะต้องไปยื่นฟ้องจำเลยที่ศาลจังหวัดเชียงใหม่ แต่โจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้ที่ศาลจังหวัดแพร่ ซึ่งมิใช่ศาลที่จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตอำนาจ แม้จะเป็นศาลที่มูลคดีเกิดก็ตาม ศาลจังหวัดแพร่ก็ไม่อาจรับคดีของโจทก์ไว้พิจารณาได้ กรณีดังกล่าวจึงมิใช่เป็นเรื่องจำเลยเป็นบุคคลที่ไม่มีภูมิลำเนาอันจะต้องนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาใช้บังคับ ตามพระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153 หรือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 4 ดังที่โจทก์ฎีกาแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1271/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของผู้จัดการมรดกและการใช้สิทธิเรียกร้องเอาคืนซึ่งการครอบครอง
จำเลยทั้งเจ็ดฎีกาว่า โจทก์ฟ้องคดีในฐานะผู้จัดการมรดก การฟ้องคดีจึงเป็นเรื่องเฉพาะตัวจะมอบให้บุคคลอื่นทำการแทนไม่ได้ปรากฏว่าความข้อนี้จำเลยทั้งเจ็ดมิได้ยกเป็นข้อต่อสู้ไว้ ในคำให้การ จึงไม่มีประเด็นในปัญหาดังกล่าวและเป็นข้อที่มิได้ ว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ แม้จะเป็นปัญหาเกี่ยวกับ อำนาจฟ้องอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แต่ศาลฎีกา ไม่เห็นสมควรยกขึ้นวินิจฉัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142(5) ประกอบ มาตรา 246และ 247.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 812/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ: ข้อจำกัดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144 และข้อยกเว้น กรณีประเด็นพิพาทซ้ำ
เมื่อจำเลยถูกโจทก์ทั้งสี่ฟ้องคดีนี้แล้ว จำเลยเป็นโจทก์ฟ้องขับไล่โจทก์ทั้งสี่เป็นจำเลยออกจากที่ดินพิพาท ศาลชั้นต้นพิพากษาเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2526 ขับไล่โจทก์ทั้งสี่ และให้โจทก์ทั้งสี่ชดใช้ค่าเสียหายให้จำเลย ต่อมาศาลชั้นต้นพิพากษาคดีนี้เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2527 ปรากฏว่าศาลฎีกาย้อนสำนวนคดีที่จำเลยเป็นโจทก์ฟ้องขับไล่โจทก์ทั้งสี่ ไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาใหม่ตามรูปคดี ศาลชั้นต้นพิจารณาคดีใหม่แล้วได้พิพากษาเมื่อวันที่ 20เมษายน 2533 โดยฟังว่าโจทก์ซื้อที่ดินจากจำเลย (โจทก์ทั้งสี่) หรือคู่สมรส ในเมื่อคดีที่จำเลยเป็นโจทก์ฟ้องโจทก์ทั้งสี่คดีนี้เป็นจำเลยมีประเด็นเดียวกับคดีนี้ คดีดังกล่าวศาลชั้นต้นพิพากษาไปแล้วคดีนี้จึงไม่เข้าข้อยกเว้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144(1) ถึง (5)กรณีจึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ และไม่มีเหตุที่ศาลฎีกาจะย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่ แต่อย่างใด.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 493/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้สิทธิทางศาลต้องมีกฎหมายรองรับ คดีไม่มีข้อพิพาทไม่อาจใช้สิทธิได้
การใช้สิทธิทางศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 นั้นมิได้หมายความว่าผู้ใดประสงค์จะใช้สิทธิของศาลอย่างใดก็อาจใช้ได้ตามอำเภอใจต้องพิจารณาด้วยว่ามีกฎหมายสารบัญญัติสนับสนุนว่าเป็นกรณีจำเป็นที่จะต้องมาร้องขอต่อศาลเพื่อรับรอง หรือคุ้มครองตามสิทธิของตนที่มีอยู่ด้วย กรณีผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งว่าคำให้การพยานโจทก์ คำพิพากษาศาลชั้นต้นและคำสั่งศาลฎีกาในคดีอาญาเป็นโมฆะนั้น ไม่มีกฎหมายสารบัญญัติบทใดบัญญัติสนับสนุนให้ผู้ร้องใช้สิทธิทางศาลได้ การที่ผู้ร้องอ้างว่าถูกโต้แย้งสิทธิแล้วนั้นก็เป็นเรื่องที่ผู้ร้องชอบที่จะฟ้องผู้ที่ผู้ร้องเห็นว่าโต้แย้งสิทธิของผู้ร้องเข้ามาเป็นคดีมีข้อพิพาท ดังนี้ผู้ร้องจะยื่นคำร้องขอเป็นคดีไม่มีข้อพิพาทหาได้ไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3478-3479/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรวมพิจารณาคดีอาญาและการขาดอำนาจฟ้องของอัยการต่อจำเลยที่ไม่ได้ถูกฟ้อง
พนักงานอัยการยื่นฟ้องเฉพาะจำเลยที่ 1 ผู้เสียหายยื่นฟ้องจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ในมูลความผิดเดียวกัน ศาลชั้นต้นสั่งรวมการพิจารณาเข้าด้วยกัน แล้วพิพากษาลงโทษจำเลยทั้งสองศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาแก้เป็นยกฟ้องเฉพาะจำเลยที่ 2 ดังนี้พนักงานอัยการไม่มีสิทธิฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยที่ 2 เพราะเป็นเรื่องนอกฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6181/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ และข้อยกเว้นอุทลุมเกี่ยวกับการฟ้องบุพการี
การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินที่ได้มาโดยการครอบครองปรปักษ์อันเป็นกรณีที่ผู้ร้องจะต้องใช้สิทธิทางศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 นั้น เป็นการร้องขอเพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิของตนตามกฎหมาย มิใช่เป็นกรณีที่ผู้ร้องมีคำขออย่างใดอย่างหนึ่งในทางที่จะเป็นการบังคับเอาแก่ผู้คัดค้านซึ่งเป็นบุพการี และถึงแม้ว่าผู้คัดค้านจะยื่นคำคัดค้านเข้ามาก็เป็นการกระทำของผู้คัดค้านเอง มิใช่การกระทำของผู้ร้อง และการที่ผู้คัดค้านเข้ามานั้นก็มีผลเพียงทำให้คดีของผู้ร้องเดิมกลายเป็นคดีมีข้อพิพาทขึ้นเท่านั้นจึงไม่อยู่ในความหมายที่จะเรียกได้ว่าเป็นการฟ้องบุพการีอันจักต้องห้ามมิให้ฟ้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1562 ซึ่งเป็นบทกฎหมายที่จำกัดสิทธิ ต้องตีความโดยเคร่งครัด คดีของผู้ร้องจึงไม่เป็นอุทลุม
แม้บันทึกที่ผู้คัดค้านแสดงเจตนายกกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่ผู้ร้องจะไม่มีผลเป็นการยกให้ตามกฎหมาย แต่ก็เป็นเอกสารที่แสดงข้อเท็จจริงให้เห็นตามคำเบิกความของผู้ร้องและพยานผู้ร้องว่า ผู้คัดค้านได้สละกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทนั้นให้เป็นของผู้ร้องแล้วนับแต่วันที่ได้แสดงเจตนานั้นออกมา การที่ผู้ร้องได้เข้าครอบครองที่ดินพิพาทนับตั้งแต่วันดังกล่าว จึงเป็นการเข้าครอบครองด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ เมื่อผู้ร้องครอบครองโดยความสงบและโดยเปิดเผยติดต่อกันเป็นเวลาสิบปี ผู้ร้องจึงได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382
แม้บันทึกที่ผู้คัดค้านแสดงเจตนายกกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่ผู้ร้องจะไม่มีผลเป็นการยกให้ตามกฎหมาย แต่ก็เป็นเอกสารที่แสดงข้อเท็จจริงให้เห็นตามคำเบิกความของผู้ร้องและพยานผู้ร้องว่า ผู้คัดค้านได้สละกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทนั้นให้เป็นของผู้ร้องแล้วนับแต่วันที่ได้แสดงเจตนานั้นออกมา การที่ผู้ร้องได้เข้าครอบครองที่ดินพิพาทนับตั้งแต่วันดังกล่าว จึงเป็นการเข้าครอบครองด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ เมื่อผู้ร้องครอบครองโดยความสงบและโดยเปิดเผยติดต่อกันเป็นเวลาสิบปี ผู้ร้องจึงได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5278/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของเจ้าของกรรมสิทธิ์เดิมยังคงมีอยู่แม้มีการโอนกรรมสิทธิ์ และผู้รับโอนมีสิทธิเข้าร่วมเป็นโจทก์
ขณะโจทก์ที่ 1 เสนอคำฟ้องต่อศาล โจทก์ที่ 1 เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาท จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองผู้กระทำละเมิด แม้ภายหลังฟ้องคดีแล้วโจทก์ที่ 1 จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทยกให้โจทก์ที่ 2 อำนาจฟ้องของโจทก์ที่ 1ที่บริบูรณ์อยู่แล้วยังคงมีผลอยู่ต่อไป ส่วนโจทก์ที่ 2 ผู้รับโอนเป็นผู้มีส่วนได้เสียในผลแห่งคดีร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ได้ตามป.วิ.พ. มาตรา 57(2).