พบผลลัพธ์ทั้งหมด 143 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3925/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายที่ดินจากการทุจริตและสำคัญผิดในตัวบุคคล ทำให้การโอนเป็นโมฆะ แม้มีการเสียค่าตอบแทน
จำเลยที่ 1 จดทะเบียนรับซื้อที่ดินจากผู้ที่ปลอมชื่อเป็นเจ้าของที่ดิน ซึ่งลักโฉนดที่ดินมาจากโจทก์ผู้เป็นเจ้าของที่แท้จริง แล้วจดทะเบียนจำนอง ที่ดินดังกล่าวกับจำเลยที่ 2 ดังนี้ จำเลยที่ 1 ไม่ได้ซื้อที่ดินพิพาทจากโจทก์ หรือผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ นิติกรรมซื้อขายเกิดจากการทุจริต โดย โจทก์ไม่ได้รู้เห็นยินยอมด้วยเป็นการสำคัญผิดในตัวบุคคล อันเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรมจึงเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 119 ถือเสมือนว่าไม่มีนิติกรรมการโอนเกิดขึ้น แม้การซื้อขายจะทำต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ และจำเลยที่ 1 ได้เสียค่าตอบแทนโดยสุจริต จำเลยที่ 1 ก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์ โจทก์มีสิทธิขอให้เพิกถอนการโอนขายที่ดิน ดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3395/2529 เวอร์ชัน 5 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองหุ้นโดยไม่ถูกต้องตามกฎหมาย หากผู้รับทราบและไม่โต้แย้ง ย่อมได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองเมื่อเวลาผ่านไป
การโอนหุ้นชนิดระบุชื่อของบริษัทจำกัด แม้จะกระทำโดยไม่ถูกต้องตามกฎหมาย แต่เมื่อผู้ร้องรู้เห็นมิได้โต้แย้งปฏิเสธการโอนหุ้นนั้น จึงถือได้ว่า ผู้ร้องรับหุ้นนั้นไว้โดยเจตนายึดถือเพื่อตน ย่อมได้สิทธิครอบครอง เมื่อครอบครองเป็นเวลาเกินกว่า 5 ปี หากการโอนหุ้นเป็นโมฆะ ผู้ร้องก็ได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองแล้ว จึงต้องรับผิดในมูลค่าหุ้น ส่วนที่ยังชำระไม่ครบตามที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทวงถาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3395/2529 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองหุ้นโดยเจตนา แม้การโอนจะเป็นโมฆะ ย่อมได้กรรมสิทธิ์ตามกฎหมาย
บิดาของผู้ร้องโอนหุ้นให้แก่ผู้ร้องโดยที่ผู้ร้องมิได้โต้แย้งหรือปฏิเสธการโอนหุ้น ถือได้ว่าผู้ร้องรับโอนหุ้นไว้โดยเจตนายึดถือเพื่อตน ย่อมได้สิทธิครอบครอง เมื่อผู้ร้องครอบครองหุ้นตลอดมาเป็นเวลาเกินกว่า 5 ปี ดังนี้แม้การโอนหุ้นจะเป็นโมฆะ ผู้ร้องก็ได้กรรมสิทธิ์ด้วยการครอบครองแล้ว ผู้ร้องจึงต้องรับผิดในมูลค่าหุ้นที่ยังชำระไม่ครบ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2760/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความสุจริตของผู้ทรงเช็คพิพาท: การโอนเช็คโดยไม่ขอสลักหลังและพยานหลักฐาน
ข้อเท็จจริงที่โจทก์นำสืบว่าโจทก์เป็นผู้ทรงได้รับโอนเช็คพิพาทซึ่งออกให้แก่ผู้ถือมาจากผู้รับเงินโดยไม่ได้ขอให้ผู้รับเงินซึ่งโจทก์รู้จักดีสลักหลังหรือทำหลักฐานให้ไว้ทั้งที่โจทก์ไม่รู้จักจำเลยผู้สั่งจ่ายประกอบกับในคดีนี้โจทก์ก็ไม่ได้อ้างและนำสืบผู้รับเงินซึ่งเป็นพยานสำคัญมาสนับสนุนคำเบิกความของตนที่เบิกความลอยๆเป็นข้อพิรุธอันแสดงว่าโจทก์ไม่ใช่ผู้ทรงเช็คพิพาทโดยสุจริตไม่มีมูลหนี้ที่จะเรียกร้องให้จำเลยชำระเงินตามเช็คพิพาทแก่ตนได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2838/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกที่ดินให้แต่ไม่จดทะเบียน ไม่ทำให้สิทธิในที่ดินตกเป็นของผู้รับยก การครอบครองโดยอาศัยสิทธิผู้อื่นไม่ทำให้ได้สิทธิครอบครอง
เจ้าของที่ดินพูดยกที่พิพาทให้จำเลยโดยมีเจตนาที่จะไปจดทะเบียนการให้ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่กันต่อไป แสดงว่ายังมิได้แสดงเจตนาสละการครอบครองให้จำเลย การที่จำเลยเข้าครอบครองที่พิพาทก่อนทำการโอนจึงเป็นการครอบครองโดยอาศัยสิทธิของเจ้าของที่พิพาท ไม่ได้เข้าครอบครองในฐานะผู้แย่งการครอบครองแม้จะครอบครองนานเท่าใดก็ไม่ทำให้ได้สิทธิครอบครองทั้งไม่ทำให้ผู้มีสิทธิในที่พิพาทหมดสิทธิฟ้องเรียกคืนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375 และเมื่อเจ้าของที่พิพาทตายโดยที่ยังมิได้ไปทำการยกให้เป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ การยกให้ย่อมไม่สมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 525ประกอบด้วยมาตรา 129 ที่พิพาทยังไม่ตกเป็นของจำเลยแต่เป็นมรดกตกได้แก่ทายาทของเจ้าของที่ดิน
โจทก์เป็นน้องร่วมบิดาเดียวกันกับเจ้าของที่พิพาทย่อมเป็นทายาทได้รับมรดกในที่พิพาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1629(4) เพราะไม่มีทายาทของเจ้าของที่พิพาทระดับเหนือกว่าโจทก์ขึ้นไป
โจทก์เป็นน้องร่วมบิดาเดียวกันกับเจ้าของที่พิพาทย่อมเป็นทายาทได้รับมรดกในที่พิพาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1629(4) เพราะไม่มีทายาทของเจ้าของที่พิพาทระดับเหนือกว่าโจทก์ขึ้นไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2675/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องกรณีตัวแทนยืมโฉนดแล้วไม่คืน และการโอนมรดกที่ดินโดยเจตนาให้บุตร
โจทก์บรรยายฟ้องความว่า ที่ดินตามโฉนดทั้งสามฉบับจะ ต้องตกได้แก่โจทก์ทั้งสามตามลำดับตามคำสั่งของนางผิวจำเลยขอยืมโฉนดที่ดินดังกล่าวไปจากนายเงินผู้จัดการมรดกเพื่อนำไปค้ำประกันเงินกู้ จำนองและจำนำต่อธนาคารและเอกชนแล้วไม่คืนให้ดังนี้ ที่ดินตามโฉนดดังกล่าวเป็นมรดก ของนางผิวนิติสัมพันธ์ระหว่างโจทก์ซึ่งเป็นทายาทกับ นายเงินซึ่งเป็นผู้จัดการมรดก มีความผูกพันกันในฐานะตัวการกับตัวแทน เมื่อนายเงินซึ่งเป็นตัวแทนให้จำเลยยืมโฉนดที่ดินไป แล้วไม่เรียกคืน โจทก์ซึ่งเป็นตัวการย่อมมีสิทธิติดตามและเอาโฉนดที่ดินคืนจากจำเลยได้โจทก์จึง มีอำนาจฟ้อง
แม้ที่ดินที่นางผิวจดทะเบียนรับโอนมรดกจากนายเชยเป็น สินสมรสระหว่างนายเงินกับนางผิว แต่นางผิวได้สั่งด้วย วาจาแบ่งที่ดินให้บุตรทั้งแปดคนโดยกำหนดว่าที่ดินแปลงใดและตอนใดได้แก่บุตรคนใด โดยสั่งไว้ก่อนนางผิวถึงแก่กรรมกว่า 10 ปี โดยความเห็นชอบของนาย เงินจากนั้นบุตรทุกคนต่างเข้าครองที่ดินส่วนของตนตลอดมาโจทก์ทั้งสามจึงได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินส่วนที่ได้รับแบ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 เมื่อที่ดินซึ่งโจทก์ทั้งสามครอบครองอยู่ตรงกับโฉนดเลขที่ 15338, 15339และ 8104ตามลำดับ นายเงินก็ไม่มีสิทธิโอนที่ดินตามโฉนดดังกล่าวให้แก่จำเลย
แม้ที่ดินที่นางผิวจดทะเบียนรับโอนมรดกจากนายเชยเป็น สินสมรสระหว่างนายเงินกับนางผิว แต่นางผิวได้สั่งด้วย วาจาแบ่งที่ดินให้บุตรทั้งแปดคนโดยกำหนดว่าที่ดินแปลงใดและตอนใดได้แก่บุตรคนใด โดยสั่งไว้ก่อนนางผิวถึงแก่กรรมกว่า 10 ปี โดยความเห็นชอบของนาย เงินจากนั้นบุตรทุกคนต่างเข้าครองที่ดินส่วนของตนตลอดมาโจทก์ทั้งสามจึงได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินส่วนที่ได้รับแบ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 เมื่อที่ดินซึ่งโจทก์ทั้งสามครอบครองอยู่ตรงกับโฉนดเลขที่ 15338, 15339และ 8104ตามลำดับ นายเงินก็ไม่มีสิทธิโอนที่ดินตามโฉนดดังกล่าวให้แก่จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1752/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนเช็คผู้ถือ การสลักหลังเป็นประกัน และสิทธิของผู้ทรง
เช็คพิพาทจำเลยสั่งจ่ายให้แก่ผู้ถือ ย่อมโอนไปเพียงด้วยการส่งมอบ ให้กันโดยไม่จำต้องสลักหลัง การที่โจทก์สลักหลังเช็คพิพาทขายลดให้แก่ธนาคาร ย่อมเป็นเพียงประกัน(อาวัล) จำเลยผู้สั่งจ่าย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 921,989 เมื่อเช็คพิพาท เรียกเก็บเงินไม่ได้ ธนาคารผู้รับซื้อเช็คจึงหักเงินจากบัญชีโจทก์และส่งเช็คกลับคืนมาให้โจทก์ครอบครองโจทก์จึงเป็นผู้ถือ ย่อมเป็นผู้ทรงตามมาตรา 904จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยผู้สั่งจ่ายภายในอายุความ 1 ปี ตามมาตรา 1002. กรณีไม่เข้ามาตรา 1003 ซึ่งมีอายุความ 6 เดือน นับแต่วันที่ผู้สลักหลังเข้าถือเอาตั๋วเงินและใช้เงิน เพราะโจทก์ มิใช่ผู้สลักหลังตามกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1681/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้มูลนิธิ: ถือเป็นการแสดงเจตนาให้ประโยชน์แก่ผู้อื่น ไม่ต้องจดทะเบียนตาม ป.พ.พ. มาตรา 525
ที่พิพาทเป็นที่ดินซึ่งผู้มีจิตศรัทธาหลายรายได้บริจาคเงินซื้อเพื่อจะยกให้แก่มูลนิธิที่จะตั้งขึ้นในที่พิพาท จึงได้ใส่ชื่อจำเลยซึ่งเป็นผู้ปกครองศาลเจ้าให้เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ไว้ก่อน เมื่อจำเลยเอาที่พิพาทไปจำนองและขายให้แก่บุคคลอื่นก็มีผู้ช่วยกันออกเงินไถ่จำนองและซื้อกลับคืนมา แล้วใส่ชื่อจำเลยและบุคคลอื่น ๆ เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์รวมไว้ในโฉนด เพื่อป้องกันมิให้จำเลยนำไปจำนองหรือขายให้แก่ผู้อื่นอีก และได้ทำหนังสือกันไว้ว่ายินยอมโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่มูลนิธิดังกล่าวแล้ว ฉะนั้น การที่จำเลยและบุคคลอื่น ๆ เป็นเจ้าของที่พิพาทก็เป็นการถือกรรมสิทธิ์ไว้เพื่อมูลนิธิโจทก์นั่นเอง เมื่อโจทก์ได้รับอำนาจเป็นมูลนิธิแล้ว ที่พิพาทดังกล่าวก็ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ตั้งแต่ได้รับอำนาจเป็นมูลนิธิเป็นต้นไป กรณีจึงหาได้เป็นการให้ที่ตกอยู่ในบังคับจะต้องจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 525 ไม่ เมื่อปรากฏว่ามูลนิธิโจทก์ได้แสดงเจตนาที่จะถือเอาประโยชน์จากสัญญาดังกล่าวแล้วจำเลยจึงมีหน้าที่จะต้องไปจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ตามฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3687/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อจะขาย: การเปลี่ยนแปลงแก้ไขสัญญา, การบอกเลิกสัญญา, ค่าธรรมเนียมการโอน
สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทมิได้กำหนดเรื่องที่จำเลยซึ่งเป็นผู้ขายจะต้องออกค่าธรรมเนียมในการโอนไว้ด้วย การที่โจทก์นำพยานบุคคลมาสืบว่า ฝ่ายจำเลยได้ตกลงกับโจทก์ว่าจำเลยเป็นฝ่ายออกค่าธรรมเนียมในการโอนเองทั้งสิ้นนั้นเป็นการนำสืบพยานบุคคลเพิ่มเติมเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสารสัญญาจะซื้อจะขายอันต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 94 ข้ออ้างของโจทก์ว่ามีข้อตกลงดังกล่าวจึงรับฟังไม่ได้ โจทก์จะอาศัยข้ออ้างดังกล่าวมาฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยไม่ได้ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 817/2524)
การจะเลิกสัญญากัน ได้นั้นต้องอาศัยข้อสัญญาหรือกฎหมายที่มีบทบัญญัติไว้ให้เลิกสัญญาได้ จะเลิกสัญญาเอาเองโดยไม่มีข้อสัญญายินยอมกันหรือไม่มีกฎหมายบัญญัติให้เลิกสัญญาได้นั้นไม่ได้ สัญญาจะซื้อจะขายไม่ได้กำหนดว่าโจทก์ซึ่งเป็นผู้ซื้อจะต้องออกค่าธรรมเนียมในการโอนครึ่งหนึ่ง มิฉะนั้นถือว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา ทั้งตามมาตรา 457 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ก็ไม่ได้บัญญัติไว้ว่า ถ้าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ยอมออกค่าธรรมเนียมดังกล่าวให้อีกฝ่ายหนึ่งบอกเลิกสัญญาได้ จำเลยจึงบอกเลิกสัญญาโดยอาศัยเหตุดังกล่าวไม่ได้ โจทก์ยังมีสิทธิขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้ตามสัญญานั้นได้
การจะเลิกสัญญากัน ได้นั้นต้องอาศัยข้อสัญญาหรือกฎหมายที่มีบทบัญญัติไว้ให้เลิกสัญญาได้ จะเลิกสัญญาเอาเองโดยไม่มีข้อสัญญายินยอมกันหรือไม่มีกฎหมายบัญญัติให้เลิกสัญญาได้นั้นไม่ได้ สัญญาจะซื้อจะขายไม่ได้กำหนดว่าโจทก์ซึ่งเป็นผู้ซื้อจะต้องออกค่าธรรมเนียมในการโอนครึ่งหนึ่ง มิฉะนั้นถือว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา ทั้งตามมาตรา 457 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ก็ไม่ได้บัญญัติไว้ว่า ถ้าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ยอมออกค่าธรรมเนียมดังกล่าวให้อีกฝ่ายหนึ่งบอกเลิกสัญญาได้ จำเลยจึงบอกเลิกสัญญาโดยอาศัยเหตุดังกล่าวไม่ได้ โจทก์ยังมีสิทธิขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้ตามสัญญานั้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 912/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จำกัดเฉพาะทรัพย์สินของลูกหนี้ การอายัดทรัพย์สินที่โอนไปแล้วต้องมีการเพิกถอนก่อน
ไม่มีบทกฎหมายใดให้อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขออายัดที่ดินที่ได้โอนไปเป็นของบุคคลอื่นแล้ว เว้นแต่จะได้มีการเพิกถอนการโอนที่ดินดังกล่าวก่อน ตราบใดที่ยังมิได้มีการเพิกถอนการโอน ผู้รับโอนก็ยังเป็นเจ้าของอยู่ตราบนั้น เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่มีอำนาจยึดหรืออายัดที่ดินดังกล่าวได้