พบผลลัพธ์ทั้งหมด 215 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1238/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เหตุสุดวิสัย, ของมีค่า, และข้อจำกัดความรับผิดในการขนส่ง: ศาลฎีกาวินิจฉัยความรับผิดของผู้ขนส่ง
ได้ความแต่เพียงว่าระหว่างขนส่ง คนขับรถบรรทุกของจำเลยขับไปใกล้ถึงปลายทางได้เกิดเพลิงไหม้ตรงกลางคันรถใต้ผ้าใบคลุมสินค้าโดยไม่ทราบสาเหตุ ไม่ปรากฏว่าเหตุเพลิงไหม้นั้นไม่อาจป้องกันได้เพราะเหตุใด และคนขับรถผู้ต้องประสบเหตุนั้นได้จัดการระมัดระวังตามสมควรอันพึงคาดหมายได้จากบุคคลในฐานะและภาวะเช่นนั้นหรือไม่อย่างไร ยังถือไม่ได้ว่าเหตุเพลิงไหม้ดังกล่าวเป็นเหตุสุดวิสัย ลวดเชื่อมไฟฟ้าและเครื่องซักผ้าเป็นเพียงทรัพย์สินธรรมดาทั่วไป มิใช่ของมีค่าที่มีคุณค่าอันมีลักษณะพิเศษทำนองเดียวกับเงินตรา ธนบัตร ธนาคารบัตร ตั๋วเงิน พันธบัตร ใบหุ้น ใบหุ้นกู้ประทวนสินค้า หรืออัญมณี ผู้ส่งสินค้าจึงไม่จำเป็นต้องบอกราคาในขณะส่งมอบแก่ผู้ขนส่ง ใบกำกับสินค้าที่จำเลยออกให้โจทก์มีข้อจำกัดความรับผิดว่าจำเลยจะชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ไม่เกิน 500 บาท แต่ไม่ปรากฏว่าโจทก์ลงลายมือชื่อยินยอมรับรู้ในข้อจำกัด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1075/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสนับสนุนความผิดฐานมีไม้แปรรูปโดยการขนส่ง แม้ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการครอบครองไม้โดยตรง
การที่จำเลยทั้งสามร่วมกันรับจ้างขนไม้สักแปรรูปของกลางบรรทุกรถยนต์ให้แก่ผู้ว่าจ้างนั้น ยังไม่ถือว่าเป็นผู้สนับสนุนในการกระทำผิดฐานตั้งโรงงานแปรรูปไม้ ทำการแปรรูปไม้และมีไม้ที่ยังไม่ได้แปรรูปไว้ในครอบครอง แต่เป็นการกระทำความผิดฐานทำไม้โดยการนำไม้ออกจากป่าโดยไม่ได้รับอนุญาต และแม้ไม้สักแปรรูปของกลางจะอยู่ในความครอบครองของผู้ว่าจ้างโดยจำเลยไม่มีส่วนเกี่ยวข้องในการครอบครองเลยก็ตาม ก็เป็นการให้ความช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกแก่ผู้ว่าจ้างแล้ว จำเลยทั้งสามจึงเป็นผู้สนับสนุนในความผิดฐานมีไม้สักแปรรูปไว้ในครอบครองโดยมิได้รับอนุญาต
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3086/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของนายจ้างต่อการละเมิดของลูกจ้าง กรณีร่วมกันประกอบกิจการขนส่ง
จำเลยที่ 4 เป็นเจ้าของรถยนต์บรรทุกและนำมาร่วมกับจำเลยที่ 2และที่ 3 ดำเนินการรับขนส่งสินค้า โดยส่งคนขับรถของจำเลยที่ 4 มาขับรถ ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้กระทำการขนส่งสินค้าในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 เมื่อจำเลยที่ 1 ทำละเมิดต่อโจทก์ในทางการที่จ้างจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 จึงต้องรับผิดในผลการละเมิดของลูกจ้างต่อโจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2438/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของตัวการต่อละเมิดของตัวแทนในกิจการขนส่งที่ใช้ชื่อตัวการ
จำเลยที่ 4 ให้จำเลยที่ 3 เช่าซื้อรถยนต์บรรทุกไปแล้ว แต่เป็นการให้เช่าซื้อไปเพื่อให้จำเลยที่ 3 นำไปประกอบกิจการขนส่งในนามของจำเลยที่ 4 โดยจำเลยที่ 4 เป็นผู้นำรถไปตรวจสภาพต่อทะเบียนรถและต่อใบอนุญาตประกอบการขนส่งทุกปี จำเลยที่ 3ไม่ได้เช่าซื้อรถไปเพื่อประกอบการขนส่งในนามของจำเลยที่ 3 เองเพราะจำเลยที่ 3 มิได้รับอนุญาตให้ประกอบการขนส่งส่วนบุคคลจึงต้องใช้ชื่อของจำเลยที่ 4 ในการประกอบกิจการดังกล่าว เมื่อจำเลยที่ 4 ให้เช่าซื้อรถยนต์บรรทุกไปแล้วเป็นผู้ขออนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคลให้จำเลยที่ 3 นำไปประกอบการขนส่งในชื่อของจำเลยที่ 4 ต้องถือว่าจำเลยที่ 3 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 4 ในกิจการขนส่งดังกล่าว เมื่อจำเลยที่ 1 ลูกจ้างของจำเลยที่ 3ขับรถคันดังกล่าวไปกระทำละเมิดต่อโจทก์ในทางการที่จ้าง จำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นตัวการจึงต้องร่วมรับผิดในผลแห่งละเมิดที่ลูกจ้างของตัวแทนได้กระทำไปนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 425,427,820 ด้วย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 222/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การร่วมกันขนส่งยาเสพติด การรับสารภาพ และพยานหลักฐานสนับสนุน
จำเลยที่ 1 เป็นผู้เช่ารถคันที่ใช้บรรทุกกัญชา และร่วมโดยสารมาในรถตั้งแต่ขับออกจากกรุงเทพมหานคร การขนกัญชาเป็นการกระทำผิดกฎหมายโดยเฉพาะขนกันเป็นจำนวนมากด้วยย่อมมีโทษสูง ตามธรรมดาผู้กระทำผิดย่อมจะต้องปกปิดเป็นความลับ ถ้า จำเลยที่ 1 มิได้มีส่วนร่วมรู้เห็นในการกระทำความผิดแล้วก็ไม่มีเหตุผลอันใดที่ผู้กระทำความผิดจะกล้าให้จำเลยโดยสารมาในรถด้วย พฤติการณ์ฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นตัวการร่วมกันมีกัญชาไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายโดยมิได้รับอนุญาต.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 503/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละเมิดสิทธิจากการแข่งขันแย่งลูกค้าในเส้นทางการขนส่งประจำทาง
จำเลยทั้งสองมีสถานที่จำหน่ายตั๋วโดยสารและจำหน่ายตั๋วโดยสารให้แก่ผู้โดยสารเป็นรายบุคคล เมื่อเส้นทางเดินรถของจำเลยทับเส้นทางของโจทก์ที่ 1 ที่ให้โจทก์ที่ 2 ถึงโจทก์ที่ 6 ประกอบการเดินรถร่วมกับโจทก์ที่ 1 การกระทำของจำเลยทั้งสองย่อมเป็นการละเมิดแก่โจทก์ทั้งหก แม้ในคดีอาญาศาลจะไม่ได้พิพากษาลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 40 เนื่องจากโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องก็ตาม.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3852/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อยกเว้น พ.ร.บ.ขนส่งทางบก: น้ำหนักรถเกิน 1.6 ตัน ไม่ต้องขออนุญาต
รถยนต์ที่จำเลยใช้เป็นพาหนะในการขนส่งมีน้ำหนักไม่เกินหนึ่งพันหกร้อยกิโลกรัม เป็นการขนส่งที่พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 5(2) ยกเว้นมิให้ใช้บังคับดังนี้การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตามมาตรา 23,93,126,151 แห่งกฎหมายดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2551/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เหตุสุดวิสัยในการยื่นอุทธรณ์ล่าช้า: ความบกพร่องในการขนส่งทั่วไปไม่ถือเป็นเหตุสุดวิสัย
ทนายจำเลยห่อคำฟ้องอุทธรณ์แล้วส่งให้จำเลยทางรถยนต์โดยสารประจำทาง ไม่ปรากฏว่ามีเหตุการณ์ผิดปกติวิสัยเกิดขึ้นในระหว่างการขนส่ง ที่จำเลยไม่ได้รับห่อคำฟ้องอุทธรณ์ภายในกำหนดโดยอ้างว่าเป็นความผิดของพนักงานบริษัทรถยนต์โดยสารที่ค้นหาหรือส่งห่อคำฟ้องอุทธรณ์ให้จำเลยล่าช้าพฤติการณ์ดังกล่าวอาจเกิดขึ้นได้เสมอในการขนส่งทั่วไป ถือไม่ได้ว่าเป็นเหตุสุดวิสัยที่ศาลจะอนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์เมื่อพ้นกำหนดแล้ว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1671/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลักษณะความสัมพันธ์ระหว่างผู้รับจ้างขนส่งและตัวแทนขนส่ง: การแบ่งหน้าที่และผลประโยชน์บ่งชี้ความร่วมมือทางธุรกิจ
บริษัท จ. ต้องการส่งสินค้าไปต่างประเทศ ได้ติดต่อกับจำเลย จำเลยรับจัดการให้ โดยติดต่อกับบริษัท ซ. ซึ่งเป็นบริษัทเดินเรือรับจ้างขนส่งสินค้าทางทะเลให้ทำการขนส่งสินค้าให้บริษัท ว. เมื่อบรรทุกสินค้าลงเรือแล้วจำเลยได้ออกใบตราส่งสินค้าให้แก่บริษัท จ. และเก็บค่าระวางเรือ และจำเลยเป็นผู้จ่ายค่าจ้างขนสินค้าแก่ผู้ขนส่งสินค้าลงเรือ เมื่อเรือของบริษัทซ. เข้ามาในประเทศไทย จำเลยเป็นผู้ติดต่อกับการท่าเรือแห่งประเทศไทย กองนำร่อง กรมเจ้าท่า เมื่อเรือจะออกจากประเทศไทยจำเลยก็เป็นผู้ติดต่อกับการท่าเรือแห่งประเทศไทย กองนำร่องกรมเจ้าท่าและเจ้าหน้าที่ศุลกากรเพื่อให้เรือออกจากประเทศไทยการกระทำของจำเลยดังกล่าวเป็นการดำเนินงานขนส่งสินค้าของบริษัท จ. ในลักษณะร่วมกับบริษัท ซ. โดยวิธีแบ่งหน้าที่กันดำเนินงานและแบ่งผลประโยชน์ด้วยกัน มิใช่เป็นเพียงนายหน้าของบริษัท ซ..
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6007/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ขนส่งและหุ้นส่วนจากการสูญหายของสินค้าในการขนส่งระหว่างประเทศ
หนังสือรับรองของสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานคร ระบุว่าจำเลยที่ 2 มีวัตถุประสงค์รับจัางขนส่งสินค้าโดยทางบกและทางน้ำ ผู้ตราส่งเป็นผู้ว่าจ้างให้จำเลยที่ 2 เป็นผู้บรรทุกสินค้าจากโกดังสินค้าของผู้ตราส่งไปยังการท่าเรือแห่งประเทศไทย และชำระเงินค่าจ้างขนส่งให้จำเลยที่ 2 ถือว่าจำเลยที่ 2 ทำการรับขนของเพื่อบำเหน็จในทางการค้าปกติของตน ย่อมเป็นผู้ขนส่งตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 608
จำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนของบริษัท น.ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ ณ ประเทศสิงคโปร์ รับจ้างบริษัท ล.ผู้ตราส่งบรรทุกสินค้าลงเรือเพื่อขนส่งไปยังเมืองฮ่องกงทั้งออกใบตราส่งให้แก่ผู้ตราส่งการกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นกรณีที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นตัวแทนทำสัญญารับขนส่งกับ บริษัท ล.ผู้ตราส่งแทนบริษัท น.ผู้ขนส่งตัวการซึ่งอยู่ต่างประเทศและภูมิลำเนาในต่างประเทศ จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดตามสัญญานั้นแต่ลำพังตนเอง
โจทก์ผู้รับประกันภัยได้ชดใช้ค่าเสียหายในการที่สินค้าสูญหายให้แก่บริษัท ท.ผู้รับตราส่งซึ่งเป็นผู้รับประโยชน์ตามสัญญาประกันภัยไปแล้ว โจทก์ย่อมเข้ารับช่วงสิทธิของบริษัท ล.ผู้เอาประกันภัย และบริษัท ท.ผู้รับประโยชน์มาฟ้องจำเลยที่ 1 ที่ 2 ผู้ขนส่ง และจำเลยที่ 3 ผู้ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 ให้รับผิดเพราะเหตุสินค้าที่ทำการขนส่งสูญหายได้ แม้ตามหนังสือโอนสิทธิที่บริษัท ท.ผู้รับประโยชน์จะได้โอนบรรดาสิทธิเกี่ยวกับสินค้าที่เอาประกันภัยไว้ให้โจทก์เรียกร้องเอาจากบริษัท น.และห้างหุ้นส่วนจำกัด น.ก็ตาม หาทำให้โจทก์หมดสิทธิฟ้องร้องจำเลยทั้งสามแต่ประการใด
การที่บริษัท ล.ผู้ตราส่งลงชื่อสลักหลังโอนใบตราส่งให้แก่บริษัท ท.เพื่อให้บริษัท ท.นำใบตราส่งเป็นหลักฐานในการรับสินค้า มิใช่บริษัท ล.ผู้ตราส่งแสดงความตกลงชัดแจ้งในการยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดกับจำเลยที่ 1 ผู้ขนส่ง ข้อยกเว้นและจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งตามที่จำเลยที่ 1อ้างว่ามีอยู่ในใบตราส่งจึงตกเป็นโมฆะ
เมื่อตู้คอนเทนเนอร์ที่บรรจุสินค้าถูกลากจูงไปถึงโกดังของบริษัท ท.ผู้รับตราส่งบริษัท ส.ได้ทำการสำรวจสินค้าในตู้คอนเทนเนอร์พบว่าสินค้าในตู้คอนเทนเนอร์สูญหายไปทั้งหมดกรณีจึงมิใช่บริษัท ท.ผู้รับตราส่งได้รับเอาของไว้แล้วโดยไม่อิดเอื้อน อันจะทำให้ความรับผิดของจำเลยที่ 1 ผู้ขนส่งสิ้นสุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 623
การที่บริษัท ล.ผู้ตราส่งว่าจ้างจำเลยที่ 2 ให้เป็นผู้ขนส่งตู้คอนเทนเนอร์ของจำเลยที่ 1 มายังบริษัท ล.เพื่อบรรจุสินค้าลงในตู้ เมื่อบรรจุสินค้าแล้วได้ให้จำเลยที่ 2 ลากตู้คอนเทนเนอร์ไปยังการท่าเรือแห่งประเทศไทย เพื่อส่งให้แก่จำเลยที่ 1 นั้น สัญญารับขนระหว่างบริษัท ล.กับจำเลยที่ 2 เป็นคนละฉบับไม่เกี่ยวข้องกันกับสัญญารับขนระหว่างบริษัท ล.กับจำเลยที่ 1 จึงมิใช่เป็นการขนส่งโดยมีผู้ขนส่งหลายคนหลายทอด
ค่าสำรวจสินค้าที่ผู้รับตราส่งเป็นผู้ว่าจ้างบริษัทผู้นำสำรวจมาทำการสำรวจสินค้ามิใช่ค่าเสียหายอันเกิดจากการผิดสัญญารับขนของจำเลยที่ 1 โจทก์จึงเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดในค่าสำรวจสินค้าไม่ได้
จำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนของบริษัท น.ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ ณ ประเทศสิงคโปร์ รับจ้างบริษัท ล.ผู้ตราส่งบรรทุกสินค้าลงเรือเพื่อขนส่งไปยังเมืองฮ่องกงทั้งออกใบตราส่งให้แก่ผู้ตราส่งการกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นกรณีที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นตัวแทนทำสัญญารับขนส่งกับ บริษัท ล.ผู้ตราส่งแทนบริษัท น.ผู้ขนส่งตัวการซึ่งอยู่ต่างประเทศและภูมิลำเนาในต่างประเทศ จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดตามสัญญานั้นแต่ลำพังตนเอง
โจทก์ผู้รับประกันภัยได้ชดใช้ค่าเสียหายในการที่สินค้าสูญหายให้แก่บริษัท ท.ผู้รับตราส่งซึ่งเป็นผู้รับประโยชน์ตามสัญญาประกันภัยไปแล้ว โจทก์ย่อมเข้ารับช่วงสิทธิของบริษัท ล.ผู้เอาประกันภัย และบริษัท ท.ผู้รับประโยชน์มาฟ้องจำเลยที่ 1 ที่ 2 ผู้ขนส่ง และจำเลยที่ 3 ผู้ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 ให้รับผิดเพราะเหตุสินค้าที่ทำการขนส่งสูญหายได้ แม้ตามหนังสือโอนสิทธิที่บริษัท ท.ผู้รับประโยชน์จะได้โอนบรรดาสิทธิเกี่ยวกับสินค้าที่เอาประกันภัยไว้ให้โจทก์เรียกร้องเอาจากบริษัท น.และห้างหุ้นส่วนจำกัด น.ก็ตาม หาทำให้โจทก์หมดสิทธิฟ้องร้องจำเลยทั้งสามแต่ประการใด
การที่บริษัท ล.ผู้ตราส่งลงชื่อสลักหลังโอนใบตราส่งให้แก่บริษัท ท.เพื่อให้บริษัท ท.นำใบตราส่งเป็นหลักฐานในการรับสินค้า มิใช่บริษัท ล.ผู้ตราส่งแสดงความตกลงชัดแจ้งในการยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดกับจำเลยที่ 1 ผู้ขนส่ง ข้อยกเว้นและจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งตามที่จำเลยที่ 1อ้างว่ามีอยู่ในใบตราส่งจึงตกเป็นโมฆะ
เมื่อตู้คอนเทนเนอร์ที่บรรจุสินค้าถูกลากจูงไปถึงโกดังของบริษัท ท.ผู้รับตราส่งบริษัท ส.ได้ทำการสำรวจสินค้าในตู้คอนเทนเนอร์พบว่าสินค้าในตู้คอนเทนเนอร์สูญหายไปทั้งหมดกรณีจึงมิใช่บริษัท ท.ผู้รับตราส่งได้รับเอาของไว้แล้วโดยไม่อิดเอื้อน อันจะทำให้ความรับผิดของจำเลยที่ 1 ผู้ขนส่งสิ้นสุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 623
การที่บริษัท ล.ผู้ตราส่งว่าจ้างจำเลยที่ 2 ให้เป็นผู้ขนส่งตู้คอนเทนเนอร์ของจำเลยที่ 1 มายังบริษัท ล.เพื่อบรรจุสินค้าลงในตู้ เมื่อบรรจุสินค้าแล้วได้ให้จำเลยที่ 2 ลากตู้คอนเทนเนอร์ไปยังการท่าเรือแห่งประเทศไทย เพื่อส่งให้แก่จำเลยที่ 1 นั้น สัญญารับขนระหว่างบริษัท ล.กับจำเลยที่ 2 เป็นคนละฉบับไม่เกี่ยวข้องกันกับสัญญารับขนระหว่างบริษัท ล.กับจำเลยที่ 1 จึงมิใช่เป็นการขนส่งโดยมีผู้ขนส่งหลายคนหลายทอด
ค่าสำรวจสินค้าที่ผู้รับตราส่งเป็นผู้ว่าจ้างบริษัทผู้นำสำรวจมาทำการสำรวจสินค้ามิใช่ค่าเสียหายอันเกิดจากการผิดสัญญารับขนของจำเลยที่ 1 โจทก์จึงเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดในค่าสำรวจสินค้าไม่ได้