พบผลลัพธ์ทั้งหมด 651 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6521/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดินต้องเป็นไปตามแผนที่และบัญชีรายชื่อ หากเกินขอบเขตเป็นการละเมิด
พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2532 บัญญัติไว้ชัดเจนว่าให้เวนคืนที่ดินภายในแนวเขตตามแผนที่และบัญชีรายชื่อท้ายพระราชบัญญัติเท่านั้น การที่ จำเลยที่ 4 นำชี้แนวเขตเข้าไปในที่ดินของโจทก์ทั้งสอง เกินกว่ารูปแผนที่และจำนวนเนื้อที่ของที่ดินซึ่งระบุไว้ ในบัญชีรายชื่อเจ้าของหรือผู้ครอบครองที่ดิน ซึ่งต้องเวนคืน แม้จะยังอยู่ในระยะ 240 เมตร ตามที่ พระราชกฤษฎีกากำหนดแนวทางหลวงที่จะสร้างทางหลวงแผ่นดิน สายคลองตัน-หนองงูเห่า พ.ศ. 2522 กำหนดไว้ ก็จะถือว่าที่ดินส่วนซึ่งจำเลยที่ 4 นำชี้เพิ่มถูกเวนคืนด้วยไม่ได้ จำเลยทั้งสี่ไม่มีสิทธิเข้าไปเกี่ยวข้องกับที่ดินส่วนนี้ ศาลอุทธรณ์มีคำวินิจฉัยคดีของโจทก์ทั้งสองว่าที่ดินพิพาทไม่ใช่ที่ดินที่ถูกเวนคืนจำเลยทั้งสี่ไม่มีสิทธิเข้าไปยึดถือครอบครอง ซึ่งหลังจากนั้นไม่ปรากฏว่าฝ่ายจำเลยเข้าครอบครองหรือดำเนินการก่อสร้างทางในที่ดินพิพาท แสดงว่า โจทก์ทั้งสองมิได้สูญเสียที่ดินพิพาทไป โจทก์ทั้งสองจึง มิได้รับความเสียหายเป็นจำนวนเท่ากับราคาที่ดินซึ่งโจทก์ ทั้งสองทำสัญญาจะซื้อจะขายกับบุคคลภายนอก จำเลยทั้งสี่ ไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ทั้งสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6521/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดินต้องเป็นไปตามกฎหมาย หากการเข้าใช้ที่ดินเกินกว่าที่ระบุในบัญชีรายชื่อและแผนที่ ถือเป็นละเมิด
แม้โจทก์และจำเลยทั้งสี่แถลงรับข้อเท็จจริงกันว่าที่ดินของโจทก์ทั้งสองเนื้อที่ 3 ไร่ 1 งาน 74 ตารางวาที่โจทก์ทั้งสองฟ้องคดีนี้เป็นส่วนที่เกินจากจำนวนเนื้อที่ตามที่ระบุไว้ในพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางหลวงแผ่นดิน พ.ศ. 2532 ก็ตาม แต่เนื่องจากการเวนคืนที่ดินในกรณีนี้ต้องอยู่ในบังคับของพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 15ดังนั้น การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์จึงต้องกระทำโดยอาศัยกฎหมายในรูปของพระราชบัญญัติซึ่งต้องระบุรายละเอียดตามบทบัญญัติมาตราดังกล่าวด้วย เมื่อปรากฏว่ามีการออกพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2532 เวนคืน ที่ดินของโจทก์ทั้งสองโดยมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวบัญญัติให้เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่ต่าง ๆ ของกรุงเทพมหานคร ภายในแนวเขตตามแผนที่ท้าย พระราชบัญญัติดังกล่าว ซึ่งปรากฏรายชื่อเจ้าของหรือผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายตามบัญชีท้าย พระราชบัญญัติให้แก่กรมทางหลวงแต่ตามบัญชีรายชื่อและแผนที่ท้ายพระราชบัญญัติระบุว่าที่ดินของโจทก์ทั้งสองถูกเวนคืนเนื้อที่ 3 ไร่ 64 ตารางวาโดยข้อความใน มาตรา 4 บัญญัติไว้อย่างชัดเจนว่าให้เวนคืนที่ดินภายในแนวเขตตามแผนที่และบัญชีรายชื่อท้ายพระราชบัญญัติเท่านั้นทั้งตามมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ซึ่งเป็นกฎหมายแม่บทของการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ได้บัญญัติไว้ว่า ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นเพื่อเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เมื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับที่จะต้องเวนคืนที่แน่นอนแล้วโดยให้ระบุที่ดินที่ต้องเวนคืนพร้อมทั้งรายชื่อเจ้าของและให้มีแผนที่หรือแผนผังแสดงเขตที่ต้องเวนคืนอย่างชัดเจนไว้ท้ายพระราชบัญญัติ และให้ถือว่าแผนที่หรือแผนผังนั้นเป็นส่วนหนึ่งแห่งพระราชบัญญัติด้วยดังนั้น จำนวนเนื้อที่ดินและรูปแผนที่ในบัญชีรายชื่อเจ้าของหรือผู้ครอบครองที่ดินที่ต้องเวนคืนและแผนที่ท้ายพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์จึงต้องเป็นจำนวนที่ถูกเวนคืนที่แน่นอน เมื่อจำเลยที่ 4 นำชี้แนวเขตทางเข้าไปในที่ดินของโจทก์ทั้งสองเกินกว่ารูปแผนที่และจำนวนเนื้อที่ดินที่ระบุไว้ในบัญชีรายชื่อเจ้าของหรือผู้ครอบครองที่ดินที่ต้องเวนคืนท้ายพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2532 แม้ยังอยู่ในระยะ 240 เมตรตามที่พระราชกฤษฎีกากำหนดแนวทางหลวงที่จะสร้างทางหลวงแผ่นดิน สายคลองตัน-หนองงูเห่า พ.ศ. 2522กำหนดไว้ ก็ต้องถือว่าส่วนที่จำเลยที่ 4 นำชี้เพิ่มอีก3 ไร่ 1 งาน 74 ตารางวา ถูกเวนคืนด้วยไม่ได้ เมื่อที่ดินที่จำเลยที่ 4 นำชี้ให้รังวัดปักหลักเขตเข้า ไปในที่ดินของโจทก์ทั้งสองผู้ถูกเวนคืนเพิ่มอีก3 ไร่ 1 งาน 74 ตารางวา ไม่ใช่ที่ดินที่ถูกเวนคืนตามกฎหมาย จำเลยทั้งสี่ย่อมไม่มีสิทธิเข้าไปเกี่ยวข้องการที่จำเลยที่ 3 มอบหมายให้จำเลยที่ 4 ไปนำชี้แนวเขตในนามของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ตามแผนที่แนวทางและระดับของจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 4นำชี้ให้เจ้าพนักงานที่ดินรังวัดเข้าไปในที่ดินของโจทก์ทั้งสอง และวางหลักปักหมุดในที่ดินของโจทก์ทั้งสองเกินกว่าจำนวนเนื้อที่ที่ถูกเวนคืนตามที่ระบุในแผนที่และบัญชีรายชื่อเจ้าของหรือผู้ครอบครองที่ดินที่ต้องเวนคืนท้ายพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2532จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย เมื่อโจทก์ได้โต้แย้งคัดค้านแล้ว แต่จำเลยทั้งสี่ยังยืนยันจะเข้าไปสร้างทางในที่ดินของโจทก์ส่วนนี้ จนโจทก์ต้องดำเนินคดีทางศาล ดังนี้ การกระทำของจำเลยทั้งสี่จึงเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ โจทก์ระบุในคำขอท้ายฟ้องขอให้ศาลพิพากษาห้ามมิให้จำเลยทั้งสี่และบริวารเข้าไปเกี่ยวข้องกับที่ดินของโจทก์ทั้งสองตามฟ้องเนื้อที่ 3 ไร่ 1 งาน 74 ตารางวา หากจำเลยทั้งสี่ไม่ปฏิบัติหรือไม่สามารถ ปฏิบัติตามคำขอข้างต้นได้ให้จำเลยทั้งสี่ชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ทั้งสองเป็นเงินเท่าราคาที่ดินที่โจทก์ทั้งสองทำสัญญาจะซื้อจะขายกับบุคคลภายนอก โดยโจทก์มิได้เรียกร้องค่าเสียหายอย่างอื่นอีกแต่ข้อเท็จจริงปรากฏตามสำนวนว่าในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ โจทก์ได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งห้ามจำเลยกับพวกมิให้กระทำการใด ๆในที่ดินพิพาทจนกว่าคดีจะถึงที่สุด ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งว่าคดีนี้ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาแล้ว และอยู่ในระหว่างนัดฟังคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์จึงไม่มีเหตุที่จะคุ้มครองประโยชน์ของโจทก์ทั้งสองในระหว่างอุทธรณ์ให้ยกคำร้อง ซึ่งมีการอ่านคำสั่งในวันเดียวกันกับที่ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่วินิจฉัยว่า ที่ดินพิพาทไม่ใช่ที่ดินที่ถูกเวนคืนจำเลยทั้งสี่จึงไม่มีสิทธิที่จะเข้าไปถือครอบครองที่ดินพิพาทได้โดยพลการ แต่ข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าหลังจากนั้นฝ่ายจำเลยได้เข้าไปครอบครองหรือดำเนินการก่อสร้างทางในที่ดินพิพาท คงได้ความแต่เพียงว่าฝ่ายจำเลยได้นำรังวัดปักหมุดในเขตที่ดินพิพาทเท่านั้น โจทก์ทั้งสองจึงไม่ได้สูญเสียที่ดินพิพาทตามฟ้องไป ดังนี้ ย่อมฟังไม่ได้ว่าโจทก์ทั้งสองเสียหายเท่าราคาที่ดินที่โจทก์ทั้งสองทำสัญญาจะซื้อจะขายกับบุคคลภายนอกตามฟ้อง จำเลยทั้งสี่จึงไม่ต้องรับผิด ชดใช้ค่าเสียหายส่วนนี้ต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4933/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการบังคับคดีค่าเสียหายจากการใช้เครื่องหมายการค้าที่เหมือนคล้ายกัน: การบังคับคดีเฉพาะตามคำพิพากษาเดิม
ศาลพิพากษาให้จำเลยชำระค่าเสียหายเดือนละ 5,000 บาทนับแต่วันฟ้อง จนกว่าจำเลยจะเลิกผลิตและจำหน่ายน้ำปลาเครื่องหมายการค้าที่พิพาทเมื่อปรากฏว่าหลังจากศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาคดีเดิมแล้ว จำเลยยังคงใช้เครื่องหมายการค้าตามฟ้องคดีเดิมอยู่ต่อไป จำเลยจึงต้องชำระค่าเสียหายดังกล่าวนับแต่วันฟ้องจนกว่าจะเลิกใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าว เมื่อจำเลยยังชำระค่าเสียหายตามคำพิพากษาส่วนนี้ไม่ครบถ้วน โจทก์ย่อมมีสิทธิขอให้มีการบังคับคดียึดทรัพย์สินของจำเลยออกขายทอดตลาดเพื่อนำเงินมาชำระหนี้ตามคำพิพากษาส่วนนี้ได้
ตามคำฟ้องของโจทก์กล่าวอ้างเหตุแห่งความเสียหายว่า จำเลยใช้เครื่องหมายการค้าพิพาทที่เหมือนคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ ทำให้โจทก์เสียหายจำหน่ายน้ำปลาของโจทก์ได้น้อยลงคิดเป็นเงินเดือนละ 35,000 บาทขอให้บังคับห้ามจำเลยใช้เครื่องหมายการค้าพิพาท หรือเครื่องหมายการค้าอื่นอันมีลักษณะเหมือนคล้ายเครื่องหมายการค้าของโจทก์ และขอให้บังคับจำเลยใช้ค่าเสียหายที่คิดถึงวันฟ้องจำนวนหนึ่ง กับค่าเสียหายอีกเดือนละ 35,000 บาท นับแต่วันฟ้องจนกว่าจำเลยจะเลิกใช้เครื่องหมายการค้าพิพาท หรือเครื่องหมายการค้าอื่นอันมีลักษณะเหมือนคล้ายเครื่องหมายการค้าของโจทก์ ดังนี้ คำขอในส่วนที่ระบุถึงเครื่องหมายการค้าอื่นอันมีลักษณะเหมือนคล้ายเครื่องหมายการค้าของโจทก์ดังกล่าวนี้เป็นเพียงคำขอล่วงหน้าในอนาคต เมื่อในขณะพิจารณาคดีเดิมยังไม่มีข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการใช้เครื่องหมายการค้าอื่นตามคำขอดังกล่าวที่จะนำมาพิจารณาและในชั้นพิจารณาคดีเดิมศาลชั้นต้นไม่ได้พิพากษาเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้าอื่นอันมีลักษณะเหมือนคล้ายเครื่องหมายการค้าของโจทก์ตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ โจทก์มิได้อุทธรณ์ฎีกา คงมีแต่จำเลยอุทธรณ์ฎีกาฝ่ายเดียว ดังนี้ การที่ศาลฎีกาวินิจฉัยกำหนดค่าเสียหายให้โจทก์เดือนละ 5,000 บาท นับแต่วันฟ้องจนกว่าจำเลยจะเลิกจำหน่ายน้ำปลาที่พิพาทก็มิใช่เป็นการพิพากษาให้บังคับตามคำขอของโจทก์เกี่ยวกับเครื่องหมายการค้าอื่นอันมีลักษณะเหมือนคล้ายเครื่องหมายการค้าของโจทก์ดังกล่าว การที่จำเลยใช้เครื่องหมายการค้าที่มีลักษณะการค้าโดยรวมอาจเหมือนคล้ายเครื่องหมายการค้าของโจทก์ แต่ก็มีรายละเอียดประกอบแตกต่างไปจากเครื่องหมายการค้าพิพาทที่ศาลพิพากษาห้ามจำเลยใช้และศาลฎีกากำหนดค่าเสียหายจากการที่จำเลยใช้เครื่องหมายการค้าที่พิพาทออกไปบ้าง จึงถือไม่ได้ว่าการใช้เครื่องหมายการค้าของจำเลยที่อาจเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ เป็นการใช้เครื่องหมายการค้าที่ถูกห้ามใช้ตามคำพิพากษา ดังนี้ กรณีที่จำเลยใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวขึ้นใหม่ ไม่ว่าจะเหมือนคล้ายเครื่องหมายการค้าของโจทก์หรือไม่ และทำให้โจทก์เสียหายมากหรือน้อยกว่าที่ศาลกำหนดให้ในคดีเดิมหรือไม่ อย่างใด ก็เป็นกรณีที่โจทก์จะต้องฟ้องจำเลยเป็นคดีใหม่เพื่อพิจารณาปัญหาดังกล่าวต่อไป กรณีไม่อาจถือได้ว่าการใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวของจำเลยเป็นการไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษา โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิขอให้บังคับคดีแก่จำเลยเพื่อชำระหนี้ค่าเสียหายในส่วนนี้
ปัญหาว่าโจทก์มีสิทธิบังคับคดีในส่วนค่าเสียหายไม่ตรงตามคำพิพากษาเป็นเรื่องสิทธิในการบังคับคดีซึ่งเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยไม่ฎีกาขึ้นมา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้
ตามคำฟ้องของโจทก์กล่าวอ้างเหตุแห่งความเสียหายว่า จำเลยใช้เครื่องหมายการค้าพิพาทที่เหมือนคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ ทำให้โจทก์เสียหายจำหน่ายน้ำปลาของโจทก์ได้น้อยลงคิดเป็นเงินเดือนละ 35,000 บาทขอให้บังคับห้ามจำเลยใช้เครื่องหมายการค้าพิพาท หรือเครื่องหมายการค้าอื่นอันมีลักษณะเหมือนคล้ายเครื่องหมายการค้าของโจทก์ และขอให้บังคับจำเลยใช้ค่าเสียหายที่คิดถึงวันฟ้องจำนวนหนึ่ง กับค่าเสียหายอีกเดือนละ 35,000 บาท นับแต่วันฟ้องจนกว่าจำเลยจะเลิกใช้เครื่องหมายการค้าพิพาท หรือเครื่องหมายการค้าอื่นอันมีลักษณะเหมือนคล้ายเครื่องหมายการค้าของโจทก์ ดังนี้ คำขอในส่วนที่ระบุถึงเครื่องหมายการค้าอื่นอันมีลักษณะเหมือนคล้ายเครื่องหมายการค้าของโจทก์ดังกล่าวนี้เป็นเพียงคำขอล่วงหน้าในอนาคต เมื่อในขณะพิจารณาคดีเดิมยังไม่มีข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการใช้เครื่องหมายการค้าอื่นตามคำขอดังกล่าวที่จะนำมาพิจารณาและในชั้นพิจารณาคดีเดิมศาลชั้นต้นไม่ได้พิพากษาเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้าอื่นอันมีลักษณะเหมือนคล้ายเครื่องหมายการค้าของโจทก์ตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ โจทก์มิได้อุทธรณ์ฎีกา คงมีแต่จำเลยอุทธรณ์ฎีกาฝ่ายเดียว ดังนี้ การที่ศาลฎีกาวินิจฉัยกำหนดค่าเสียหายให้โจทก์เดือนละ 5,000 บาท นับแต่วันฟ้องจนกว่าจำเลยจะเลิกจำหน่ายน้ำปลาที่พิพาทก็มิใช่เป็นการพิพากษาให้บังคับตามคำขอของโจทก์เกี่ยวกับเครื่องหมายการค้าอื่นอันมีลักษณะเหมือนคล้ายเครื่องหมายการค้าของโจทก์ดังกล่าว การที่จำเลยใช้เครื่องหมายการค้าที่มีลักษณะการค้าโดยรวมอาจเหมือนคล้ายเครื่องหมายการค้าของโจทก์ แต่ก็มีรายละเอียดประกอบแตกต่างไปจากเครื่องหมายการค้าพิพาทที่ศาลพิพากษาห้ามจำเลยใช้และศาลฎีกากำหนดค่าเสียหายจากการที่จำเลยใช้เครื่องหมายการค้าที่พิพาทออกไปบ้าง จึงถือไม่ได้ว่าการใช้เครื่องหมายการค้าของจำเลยที่อาจเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ เป็นการใช้เครื่องหมายการค้าที่ถูกห้ามใช้ตามคำพิพากษา ดังนี้ กรณีที่จำเลยใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวขึ้นใหม่ ไม่ว่าจะเหมือนคล้ายเครื่องหมายการค้าของโจทก์หรือไม่ และทำให้โจทก์เสียหายมากหรือน้อยกว่าที่ศาลกำหนดให้ในคดีเดิมหรือไม่ อย่างใด ก็เป็นกรณีที่โจทก์จะต้องฟ้องจำเลยเป็นคดีใหม่เพื่อพิจารณาปัญหาดังกล่าวต่อไป กรณีไม่อาจถือได้ว่าการใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวของจำเลยเป็นการไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษา โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิขอให้บังคับคดีแก่จำเลยเพื่อชำระหนี้ค่าเสียหายในส่วนนี้
ปัญหาว่าโจทก์มีสิทธิบังคับคดีในส่วนค่าเสียหายไม่ตรงตามคำพิพากษาเป็นเรื่องสิทธิในการบังคับคดีซึ่งเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยไม่ฎีกาขึ้นมา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3671/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีหลังเลิกห้างหุ้นส่วน: การชำระบัญชีทรัพย์สินและขอบเขตการยึดทรัพย์
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการห้างหุ้นส่วนสามัญแสดงบัญชีกำไรขาดทุนและให้นำเงินค่าเช่ามาแบ่งสรร ให้หุ้นส่วนทั้งหลายตามสัดส่วน เมื่อเงินดังกล่าวเป็นรายรับทรัพย์สินของห้างหุ้นส่วนสามัญซึ่งจำเลยเป็นหุ้นส่วนอยู่ด้วย จำเลยย่อมมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งจากเงินจำนวนดังกล่าวตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นด้วย โจทก์จะกล่าวอ้างในชั้นบังคับคดีว่าเงินดังกล่าวไม่เกี่ยวกับกิจการของห้างหุ้นส่วนสามัญเพื่อนำยึดทรัพย์สินของจำเลยมาขายทอดตลาดชำระหนี้โจทก์ตามคำพิพากษาหาได้ไม่ ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ห้างหุ้นส่วนสามัญพ.เลิกกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1057(3)และให้โจทก์ จำเลย และผู้เป็นหุ้นส่วนทั้งหมดช่วยกันจัดทำหรือให้บุคคลอื่นซึ่งผู้เป็นหุ้นส่วนแต่งตั้งขึ้นเป็นผู้จัดทำ และชำระบัญชีโดยลำดับตามกฎหมาย กรณีจึงต้องจัดให้มีการชำระบัญชีตามมาตรา 1061 และเป็นหน้าที่ของ ผู้ชำระบัญชีที่จะต้องดำเนินการเกี่ยวกับหนี้สินและทรัพย์สิน ของห้างดังกล่าวต่อไปตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1062 และ 1063 โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจึงไม่อาจขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์ของจำเลยมาขายทอดตลาดเพื่อนำเงินมาแบ่งสรร ให้หุ้นส่วนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นได้กรณีถือได้ว่าการบังคับคดีส่วนนี้ไม่เปิดช่องให้ทำได้โดยทางเจ้าพนักงานบังคับคดี ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เพิกถอนการยึดทรัพย์ของจำเลย เพราะเจ้าพนักงานบังคับคดีรายงานมาตามหน้าที่เมื่อไม่เกี่ยวกับจำเลย ดังนั้น ที่ศาลอุทธรณ์สั่งให้ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ จึงชอบแล้วแม้ว่าโจทก์เป็นฝ่ายชนะคดีในชั้นอุทธรณ์ก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3382/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการอุทธรณ์และฎีกาในคดีทรัพย์มรดก สิทธิเช่าซื้อที่ดิน และการตกทอดทางมรดก
คดีที่โจทก์ฟ้องและจำเลยฟ้องแย้งจะอุทธรณ์ฎีกาได้เพียงใดหรือไม่ต้องแยกพิจารณาคนละส่วน
ฟ้องโจทก์ระบุว่าอาวุธปืนพิพาทมีราคา 20,000 บาท ในชั้นอุทธรณ์จำเลยทั้งสามอุทธรณ์ในส่วนที่เกี่ยวกับฟ้องโจทก์แต่เพียงว่าอาวุธปืนพิพาทไม่ใช่ทรัพย์มรดก ฉะนั้น ทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นอุทธรณ์ในส่วนที่เกี่ยวกับฟ้องโจทก์จึงมีเพียง20,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้จำเลยอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 224วรรคหนึ่ง แม้ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยก็ถือว่าไม่ชอบ และเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในชั้นอุทธรณ์ ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
ตามสัญญาเช่าซื้อที่ ส.ทำไว้ให้แก่สำนักงานปฏิรูปที่ดินระบุว่าหากผู้เช่าซื้อถึงแก่กรรมในระหว่างเช่าซื้อ ที่ดินที่เช่าซื้อนี้จะต้องตกอยู่ภายใต้บังคับมาตรา 39 แห่ง พ.ร.บ.การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2518 ซึ่งบัญญัติให้ที่ดินที่บุคคลได้รับสิทธิโดยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมจะทำการแบ่งแยกหรือโอนสิทธิในที่ดินไปยังผู้อื่นมิได้ เว้นแต่เป็นการตกทอดทางมรดกแก่ทายาทโดยธรรม ฯลฯทั้งนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง และเมื่อไม่ปรากฏว่ามีการออกกฎกระทรวงตามกฎหมายมาตราดังกล่าว ส่วนระเบียบคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการโอนและการตกทอดทางมรดก สิทธิการเช่าหรือเช่าซื้อที่ดินในการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2535 ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 30 วรรคหนึ่งของ พ.ร.บ.ดังกล่าว แต่เพิ่งมีการประกาศใช้บังคับในราชกิจจานุเบกษาภายหลังที่ ส.ถึงแก่ความตาย แต่เมื่อสิทธิการเช่าซื้อที่ดินพิพาทได้ตกทอดแก่ทายาทของ ส.ทันทีเมื่อ ส.ถึงแก่ความตายก่อนระเบียบดังกล่าวประกาศใช้แล้ว ระเบียบดังกล่าวจึงนำมาบังคับใช้กับคดีนี้ไม่ได้ จำเลยที่ 1 มารดาของ ส. และจำเลยที่ 2 และที่ 3บุตรของ ส.เป็นทายาทโดยธรรมของ ส.ย่อมมีสิทธิได้รับมรดกในสิทธิการเช่าที่ซื้อที่ดินร่วมกับโจทก์ซึ่งเป็นภริยาของโจทก์ด้วยตาม ป.พ.พ.มาตรา 1629 และตามพ.ร.บ.เพื่อการเกษตรกรรม พ.ศ.2518 มาตรา 39
ฟ้องโจทก์ระบุว่าอาวุธปืนพิพาทมีราคา 20,000 บาท ในชั้นอุทธรณ์จำเลยทั้งสามอุทธรณ์ในส่วนที่เกี่ยวกับฟ้องโจทก์แต่เพียงว่าอาวุธปืนพิพาทไม่ใช่ทรัพย์มรดก ฉะนั้น ทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นอุทธรณ์ในส่วนที่เกี่ยวกับฟ้องโจทก์จึงมีเพียง20,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้จำเลยอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 224วรรคหนึ่ง แม้ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยก็ถือว่าไม่ชอบ และเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในชั้นอุทธรณ์ ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
ตามสัญญาเช่าซื้อที่ ส.ทำไว้ให้แก่สำนักงานปฏิรูปที่ดินระบุว่าหากผู้เช่าซื้อถึงแก่กรรมในระหว่างเช่าซื้อ ที่ดินที่เช่าซื้อนี้จะต้องตกอยู่ภายใต้บังคับมาตรา 39 แห่ง พ.ร.บ.การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2518 ซึ่งบัญญัติให้ที่ดินที่บุคคลได้รับสิทธิโดยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมจะทำการแบ่งแยกหรือโอนสิทธิในที่ดินไปยังผู้อื่นมิได้ เว้นแต่เป็นการตกทอดทางมรดกแก่ทายาทโดยธรรม ฯลฯทั้งนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง และเมื่อไม่ปรากฏว่ามีการออกกฎกระทรวงตามกฎหมายมาตราดังกล่าว ส่วนระเบียบคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการโอนและการตกทอดทางมรดก สิทธิการเช่าหรือเช่าซื้อที่ดินในการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2535 ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 30 วรรคหนึ่งของ พ.ร.บ.ดังกล่าว แต่เพิ่งมีการประกาศใช้บังคับในราชกิจจานุเบกษาภายหลังที่ ส.ถึงแก่ความตาย แต่เมื่อสิทธิการเช่าซื้อที่ดินพิพาทได้ตกทอดแก่ทายาทของ ส.ทันทีเมื่อ ส.ถึงแก่ความตายก่อนระเบียบดังกล่าวประกาศใช้แล้ว ระเบียบดังกล่าวจึงนำมาบังคับใช้กับคดีนี้ไม่ได้ จำเลยที่ 1 มารดาของ ส. และจำเลยที่ 2 และที่ 3บุตรของ ส.เป็นทายาทโดยธรรมของ ส.ย่อมมีสิทธิได้รับมรดกในสิทธิการเช่าที่ซื้อที่ดินร่วมกับโจทก์ซึ่งเป็นภริยาของโจทก์ด้วยตาม ป.พ.พ.มาตรา 1629 และตามพ.ร.บ.เพื่อการเกษตรกรรม พ.ศ.2518 มาตรา 39
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3340/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีและการคิดดอกเบี้ยหลังหมดอายุ
แม้สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีจะมีข้อความในสัญญาระบุว่า เมื่อถึงกำหนด 12 เดือน และไม่มีการต่ออายุการเบิกเงินเกินบัญชีเป็นหลักฐานหนังสือกำหนดเวลากันใหม่ คู่สัญญาตกลงกันให้มีการเบิกเงินเกินบัญชีอีกคราวละ 6 เดือนตลอดไปก็ตาม แต่ข้อสัญญาดังกล่าวนั้น ย่อมมีความหมายถึงกรณีที่ยังมีการเดินสะพัดทางบัญชีเท่านั้น หาใช่สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีได้มีการต่ออายุสัญญาต่อไปจนกระทั่งโจทก์บอกเลิกสัญญาแต่อย่างใด โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นเพียงวันสิ้นสุดของสัญญาเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2097/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการอุทธรณ์และการยกข้อเท็จจริง/กฎหมายใหม่ในชั้นอุทธรณ์ ศาลต้องรับฟังหากคำสั่งศาลชั้นต้นไม่ให้เหตุผล
อุทธรณ์เป็นคำฟ้องชนิดหนึ่ง ดังนั้น คู่ความฝ่ายใดประสงค์จะยกข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายข้อใดขึ้นมาอุทธรณ์ คู่ความฝ่ายนั้นจะต้องบรรยายข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายข้อนั้นให้ชัดแจ้งมาในคำฟ้องอุทธรณ์ ซึ่งหมายความรวมตลอดไปถึงคำคัดค้านคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้นอันเกี่ยวกับข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายนั้นว่าไม่ถูกต้องอย่างไร ด้วยเหตุผลอะไร ส่วนเนื้อหาของคำฟ้องโจทก์ คำให้การจำเลยและคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้น หากไม่เกี่ยวข้องกับข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายที่อุทธรณ์แล้วก็ไม่จำต้องกล่าวมาในคำฟ้องอุทธรณ์โดยละเอียด
ศาลชั้นต้นพิจารณาคำฟ้องโจทก์และคำให้การจำเลยแล้ว เห็นว่าคดีพอวินิจฉัยได้ จึงมีคำสั่งให้งดชี้สองสถานและงดสืบพยานโจทก์และจำเลย แล้วมีคำพิพากษาในวันเดียวกันนั้นเอง จำเลยอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว โดยบรรยายมาในคำฟ้องอุทธรณ์ใจความว่า โจทก์ฟ้องเรียกหนี้เงินกู้จากจำเลย 500,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ตามคำฟ้องโจทก์เห็นได้ว่าจำเลยค้างดอกเบี้ยนับแต่วันผิดนัด มิใช่นับแต่วันกู้ และดอกเบี้ยที่จำเลยชำระไปแล้วมิใช่อัตราร้อยละ 15 ต่อปีหากแต่เป็นอัตราร้อยละ 24 ต่อปี ซึ่งขัดต่อกฎหมาย โจทก์ส่งหนังสือทวงถามโดยมิชอบ จำเลยมีพยานหลักฐานพร้อมที่จะสืบแสดงตามข้อต่อสู้ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งงดชี้สองสถานและงดสืบพยานจึงเป็นการตัดสิทธิของจำเลย ดังนี้ เห็นได้แล้วว่าจำเลยอุทธรณ์เรื่องอะไรด้วยเหตุผลอะไร ทั้งในคำสั่งของศาลชั้นต้นก็มิได้ให้เหตุผลอันจะทำให้จำเลยสามารถยกข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายขึ้นมาโต้แย้งได้ อุทธรณ์ของจำเลยถือได้ว่าเป็นอุทธรณ์ที่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 225 วรรคหนึ่ง แล้ว
ส่วน ป.วิ.พ.มาตรา 246 ที่ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีในศาลชั้นต้นมาบังคับใช้ในชั้นอุทธรณ์โดยอนุโลมนั้น หมายถึงให้อนุโลมใช้บางเรื่องเท่านั้น การที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยโดยอ้างว่าไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 172 จึงเป็นการไม่ชอบ
ศาลชั้นต้นพิจารณาคำฟ้องโจทก์และคำให้การจำเลยแล้ว เห็นว่าคดีพอวินิจฉัยได้ จึงมีคำสั่งให้งดชี้สองสถานและงดสืบพยานโจทก์และจำเลย แล้วมีคำพิพากษาในวันเดียวกันนั้นเอง จำเลยอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว โดยบรรยายมาในคำฟ้องอุทธรณ์ใจความว่า โจทก์ฟ้องเรียกหนี้เงินกู้จากจำเลย 500,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ตามคำฟ้องโจทก์เห็นได้ว่าจำเลยค้างดอกเบี้ยนับแต่วันผิดนัด มิใช่นับแต่วันกู้ และดอกเบี้ยที่จำเลยชำระไปแล้วมิใช่อัตราร้อยละ 15 ต่อปีหากแต่เป็นอัตราร้อยละ 24 ต่อปี ซึ่งขัดต่อกฎหมาย โจทก์ส่งหนังสือทวงถามโดยมิชอบ จำเลยมีพยานหลักฐานพร้อมที่จะสืบแสดงตามข้อต่อสู้ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งงดชี้สองสถานและงดสืบพยานจึงเป็นการตัดสิทธิของจำเลย ดังนี้ เห็นได้แล้วว่าจำเลยอุทธรณ์เรื่องอะไรด้วยเหตุผลอะไร ทั้งในคำสั่งของศาลชั้นต้นก็มิได้ให้เหตุผลอันจะทำให้จำเลยสามารถยกข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายขึ้นมาโต้แย้งได้ อุทธรณ์ของจำเลยถือได้ว่าเป็นอุทธรณ์ที่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 225 วรรคหนึ่ง แล้ว
ส่วน ป.วิ.พ.มาตรา 246 ที่ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีในศาลชั้นต้นมาบังคับใช้ในชั้นอุทธรณ์โดยอนุโลมนั้น หมายถึงให้อนุโลมใช้บางเรื่องเท่านั้น การที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยโดยอ้างว่าไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 172 จึงเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1040/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความรับผิดในสัญญาประนีประนอมยอมความ: การบังคับคดีเฉพาะตัวผู้ผิดสัญญา
สัญญาประนีประนอมยอมความที่ศาลชั้นต้นได้พิพากษาตามยอมแล้ว ได้ระบุข้อตกลงในการปฏิบัติการชำระหนี้ไว้อย่างชัดแจ้ง โดยข้อ 1 ระบุให้จำเลยที่ 1 เพียงคนเดียว เป็นผู้มีหน้าที่ต้องปฏิบัติการชำระหนี้แก่โจทก์ ส่วนข้อ 2ระบุให้จำเลยทั้งสองหรือจำเลยที่ 1 หรือจำเลยที่ 2 คนใดคนหนึ่งเป็นผู้มีหน้าที่ในการชำระหนี้ และในข้อ 3 ระบุให้จำเลยที่ 2 เป็นผู้มีหน้าที่ต้องชำระหนี้ให้แก่โจทก์ ตามข้อตกลงดังกล่าวแสดงว่าจำเลยทั้งสองแยกกันรับผิดในการปฏิบัติการชำระหนี้แก่โจทก์ เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ปฏิบัติการชำระหนี้ให้แก่โจทก์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความข้อ 1 เพียงคนเดียว จำเลยที่ 1 จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาโจทก์ชอบที่จะบังคับคดีเอาแก่จำเลยที่ 1 เท่านั้น ส่วนสัญญาประนีประนอมยอมความข้อ 6 ที่ระบุว่าหากจำเลยที่ 1 ที่ 2 ผิดสัญญาประนีประนอมยอมความข้อหนึ่งข้อใดให้โจทก์มีสิทธิบังคับคดีได้ทันที มีความหมายเพียงว่า ถ้าจำเลยคนใดผิดสัญญาข้อใดก็ให้บังคับคดีเอาแก่จำเลยคนนั้นตามสัญญาแต่ละข้อเท่านั้น เพราะในสัญญาประนี-ประนอมยอมความฉบับดังกล่าวมิได้มีข้อตกลงให้จำเลยทั้งสองรับผิดร่วมกันในการชำระหนี้แก่โจทก์ การที่โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดีไปยึดที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างซึ่งเป็นของจำเลยที่ 2 เป็นการไม่ชอบ จึงให้เพิกถอนการบังคับคดีแก่จำเลยที่ 2นั้นเสีย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 874/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษจำเลยเกินเลยคำฟ้องเดิม และสิทธิในการฎีกา
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งห้าตาม ป.อ.มาตรา 290ซึ่งถือว่าเป็นคำฟ้องของโจทก์ร่วมด้วย โดยไม่ได้บรรยายมาในคำฟ้องเลยว่าผู้ตายได้รับอันตรายสาหัส และทางพิจารณาก็ไม่ได้ความดังกล่าว ดังนั้น ที่โจทก์ร่วมฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยทั้งห้าตาม ป.อ. มาตรา 297 จึงเป็นการฎีกาในข้อหาที่โจทก์ไม่ได้กล่าวมาในฟ้อง ทั้งเป็นเรื่องที่โจทก์ไม่ได้ประสงค์ให้ลงโทษ ศาลจะลงโทษจำเลยทั้งห้าในข้อหาดังกล่าวไม่ได้ ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ.มาตรา 192 วรรคสี่ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 1 และที่ 2 ตามมาตรา 297 เป็นการเกินคำขอหรือมิได้กล่าวในฟ้อง โจทก์ร่วมจึงไม่มีสิทธิฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8503/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตอำนาจศาลในการแก้ไขคำพิพากษาให้จำเลยที่ไม่เคยอุทธรณ์ได้รับประโยชน์จากการรอการลงโทษของจำเลยที่อุทธรณ์
เหตุผลประการหนึ่งที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาแก้คำพิพากษาของศาลชั้นต้นรอการลงโทษให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 และคุมความประพฤติไว้เพราะเห็นว่าทรัพย์ที่ถูกลักไปคือไก่ชนราคาไม่สูงนัก หลังเกิดเหตุแล้วผู้เสียหายได้รับทรัพย์ที่ถูกลักไปกลับคืนมา จึงยังไม่สมควรลงโทษจำคุกจำเลยที่ 1 ที่ 2 นั้น เป็นการใช้ดุลพินิจเกี่ยวกับสภาพการกระทำความผิดว่าไม่ร้ายแรงนัก อันเป็นเหตุในส่วนลักษณะคดี เมื่อจำเลยทั้งสามร่วมกระทำความผิดด้วยกัน แม้จำเลยที่ 1 ที่ 2 อุทธรณ์ แต่จำเลยที่ 3 มิได้อุทธรณ์ ก็เป็นเหตุที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 มีอำนาจพิพากษาไปถึงจำเลยที่ 3 ให้รอการลงโทษและคุมความประพฤติจำเลยที่ 3 ดุจจำเลยที่ 1 ที่ 2 ผู้อุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 213 ด้วย