พบผลลัพธ์ทั้งหมด 115 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2407-2408/2515
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับ เพราะคำขอฎีกาขัดแย้งกับคำขอในอุทธรณ์ และไม่คัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
จำเลยอุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์ย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่หรือกลับคำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้ยกฟ้องโจทก์และบังคับคดีไปตามฟ้องแย้ง เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ยกคำพิพากษาศาลชั้นต้น และให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาในประเด็นบางข้อ และพิพากษาใหม่ทุกประเด็น เป็นการสมประโยชน์ตามคำขอของจำเลยในชั้นอุทธรณ์แล้ว จำเลยจะฎีกาขอให้ยกฟ้องโจทก์.โดยไม่ต้องสืบพยานอีกไม่ได้ เพราะเป็นคำขอที่ขัดกันกับคำขอของจำเลยในชั้นอุทธรณ์ ซึ่งศาลอุทธรณ์พิพากษาให้เป็นไปตามคำขอของจำเลยแล้ว
ปัญหาที่ศาลอุทธรณ์กล่าวไว้ว่า ยังไม่จำต้องวินิจฉัยในชั้นอุทธรณ์นั้น หากจำเลยไม่ได้ฎีกาขึ้นมาว่า คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ไม่ชอบประการใด เป็นฎีกาที่จำเลยไม่ได้คัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาจะรับวินิจฉัยให้ไม่ได้
ปัญหาที่ศาลอุทธรณ์กล่าวไว้ว่า ยังไม่จำต้องวินิจฉัยในชั้นอุทธรณ์นั้น หากจำเลยไม่ได้ฎีกาขึ้นมาว่า คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ไม่ชอบประการใด เป็นฎีกาที่จำเลยไม่ได้คัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาจะรับวินิจฉัยให้ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1908/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายัดทรัพย์ชั่วคราวก่อนคำพิพากษาไม่ขัดแย้งกับการอายัดทรัพย์ตามคำพิพากษา
กรณีอายัดทรัพย์ชั่วคราวก่อนคำพิพากษาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 254 ไม่ต้องด้วยข้อห้ามมิให้อายัดทรัพย์ซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 290
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 444-445/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การร้องสอดเป็นจำเลยร่วม: การขัดแย้งกับคำให้การของจำเลยอื่นทำให้คำร้องสอดถูกยก
ในคดีที่โจทก์จำเลยพิพาทกันแย่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินสามแปลงผู้ร้องร้องสอดเข้ามาว่า ที่ดินทั้งสามแปลงนี้เป็นของตนกึ่งหนึ่งขอเข้าเป็นจำเลยร่วมเพื่อสู้กับโจทก์เป็นการรักษาสิทธิของตนเช่นนี้ เป็นการร้องสอดเข้ามาเป็นจำเลยร่วมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57 (2) ดังนั้นเมื่อข้ออ้างในคำร้องสอดขัดกับคำให้การของจำเลยอื่น ๆ ศาลชอบที่จะสั่งให้ยกคำร้องสอดเสียได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 328/2511
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พยานหลักฐานโจทก์ขัดแย้ง ไม่น่าเชื่อถือ ศาลยกฟ้องจำเลย แม้ไม่ได้ฎีกา
คดีโจทก์มีประจักษ์พยานเพียง 2 ปาก. แต่ประจักษ์พยานทั้ง 2 ปาก ให้การขัดแย้งกันและไม่สมเหตุผลจนเป็นที่เชื่อถือไม่ได้. ทำให้พยานหลักฐานของโจทก์ไม่มั่นคงพอจะลงโทษจำเลยตามฟ้องโจทก์. การที่พยานโจทก์ไม่พอฟังลงโทษจำเลยได้เช่นนี้เป็นเหตุลักษณะคดี.แม้จำเลยบางคนจะมิได้ฎีกาขึ้นมา. ศาลก็พิพากษาให้ยกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่มิได้ฎีกาขึ้นมาได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 829/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาขายฝากขัดแย้งกัน ศาลต้องสืบพยานเพื่อหาเจตนาจริงของคู่สัญญา
เอกสารสัญญาขายฝากข้อแรกมีว่า ตกลงขายฝากมีกำหนดสองปี แต่ข้ออื่นถัดไปมีว่า กำหนดไถ่ถอนภายใน 1 ปี ข้อความทั้งสองข้อนี้จึงขัดแย้งกันเพราะมีข้อความไม่ชัดเจนพอที่จะพิจารณาถึงเจตนาอันแท้จริงของคู่สัญญาได้ ทั้งข้อเท็จจริงตามที่โจทก์ฟ้อง และจำเลยให้การตลอดจนคำแถลงรับของโจทก์จำเลยนั้นก็ยังมีข้อโต้แย้งกันอยู่ ไม่ชัดแจ้งพอที่จะให้ศาลตีความตามเอกสารนั้นได้ กรณีจึงชอบที่จะให้มีการสืบพยานเพื่อฟังข้อเท็จจริงให้แน่ชัดว่าเป็นเช่นใดเสียก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 121/2507 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การให้การเท็จในชั้นสอบสวนที่ขัดแย้งกันเองเป็นหลักฐานพิสูจน์ความเท็จได้ แม้ไม่มีพยานยืนยัน
การที่จะพิสูจน์ถ้อยคำของบุคคลที่กล่าวอ้างว่าได้เห็นเหตุการณ์ใด ๆ ว่าเป็นเท็จนั้น ไม่จำต้องมีประจักษ์พยานมายืนยันโดยตรงว่าบุคคลนั้นมิได้เห็นเหตุการณ์เช่นนั้นเสมอไป ในบางกรณี รายละเอียดแห่งถ้อยคำของผู้นั้นโดยลำพังหรือประกอบด้วยพฤติการณ์ของผู้นั้นเอง ย่อมพิสูจน์ได้ในตัวว่าผู้นั้นกล่าวคำเท็จ
ฟ้องว่าจำเลยให้การเท็จในคดีอาญาต่อพนักงานสอบสวน ขอให้ลงโทษตามประมาวลกฎหมายอาญา มาตรา 137,172 เมื่อพิจารณาได้ความตามฟ้อง ศาลย่อมพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามมาตรา 172
ฟ้องว่าจำเลยให้การในครั้งแรกว่าจำเลยได้ยินเสียงปืน อีกสักครู่ก้เห็น ค.ถือปืนสั้น กับท.และ จ. โผล่ออกมาจากข้างถนน แล้วตอนท้ายจำเลยว่า เห็นเหตุการณ์ตั้งแต่ ต.กับพวกใช้ปืนยิงด้วย ต่อมาจำเลยให้การในครั้งหลังว่า ผู้ตายขี่จักรยานหนี ต.กับพวก ท.และจ. ถ้อยคำที่ให้การนี้เป็นเท็จทั้งสิ้น ดังนี้ แม้ศาลจะฟังว่าเฉพาะคำให้การในครั้งหลังเป็นความเท็จเพียงตอนเดียว ก็ลงโทษตามมาตรา 172 ได้
ฟ้องว่าจำเลยให้การเท็จในคดีอาญาต่อพนักงานสอบสวน ขอให้ลงโทษตามประมาวลกฎหมายอาญา มาตรา 137,172 เมื่อพิจารณาได้ความตามฟ้อง ศาลย่อมพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามมาตรา 172
ฟ้องว่าจำเลยให้การในครั้งแรกว่าจำเลยได้ยินเสียงปืน อีกสักครู่ก้เห็น ค.ถือปืนสั้น กับท.และ จ. โผล่ออกมาจากข้างถนน แล้วตอนท้ายจำเลยว่า เห็นเหตุการณ์ตั้งแต่ ต.กับพวกใช้ปืนยิงด้วย ต่อมาจำเลยให้การในครั้งหลังว่า ผู้ตายขี่จักรยานหนี ต.กับพวก ท.และจ. ถ้อยคำที่ให้การนี้เป็นเท็จทั้งสิ้น ดังนี้ แม้ศาลจะฟังว่าเฉพาะคำให้การในครั้งหลังเป็นความเท็จเพียงตอนเดียว ก็ลงโทษตามมาตรา 172 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 939/2501 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อขายและสัญญากู้เกี่ยวเนื่องกัน: ตีความขัดแย้งเป็นคุณแก่ลูกหนี้
ทำสัญญาจะซื้อขายรถยนต์กัน แต่รถยนต์ต้องซ่อม ผู้ขายจึงตกลงให้ผู้ซื้อกู้เงินไปซ่อมด้วย ถ้ากำหนดเวลาใช้ต้นเงินคืนตามสัญญากู้ขัดกันกับที่ระบุไว้ในสัญญาจะซื้อขาย ต้องตีความการใช้ต้นเงินกู้ให้เป็นคุณแก่ผู้กู้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 250/2500
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องอาญาขัดแย้งกัน ทำให้จำเลยไม่เข้าใจข้อหา เป็นฟ้องที่ไม่ชอบ
บรรยายฟ้องข้อ 1 ว่าจำเลยลักทรัพย์ แต่กล่าวในฟ้องข้อ2 ว่าจำเลยลักทรัพย์หรือรับของโจร เช่นนี้เป็นฟ้องที่ขัดกัน ทำให้จำเลยไม่เข้าใจข้อหาได้ดี เป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา158(5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1764/2498 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลของพินัยกรรมที่ขัดแย้งกัน และสิทธิในการรับมรดกเมื่อผู้รับพินัยกรรมเสียชีวิตก่อน
สามีภรรยาต่างทำพินัยกรรมให้แก่กัน พินัยกรรมของภรรยามีข้อความว่า " เมื่อข้าพเจ้าอายชนม์แล้ว บรรดาทรัพย์สินและสิทธิทั้งหลายของข้าพเจ้าซึ่งมีอยู่ในเวลานี้และมีต่อไปภายหน้า ขอให้ตกเป็นกรรมสิทธิแก่สามี (ขุนอุปพงษ์ฯ) ผู้รับพินัยกรรม แต่ถ้าขุนอุปพงษ์ ฯ ถึงแก่กรรมล่วงลับไปก่อนข้าพเจ้าก็ขอให้ทรัพย์สินและสิทธิทั้งหลายของข้าพเจ้าตกเป็นกรรมสิทธิแก่โจทก์(คุณหญิงเลขวณิช ฯ) เป็นผู้รับพินัยกรรม ฯลฯ " และตามพินัยกรรมของสามี (ขุนอุปพงษ์ฯ) ก็มีข้อความทำนองเดียวกัน ยกทรัพย์ให้แก่ภรรยา (นางจันทร์) ถ้านางจันทร์ล่วงลับไปก่อนก็ยกทรัพย์ให้แก่โจทก์ (คุณหญิงเลขวณิชฯ)
ดังนี้เมื่อภรรยา(นางจันทร์) ตายไปก่อน ทรัพย์มรดกของภรรยา(นางจันทร์) ก็ตกได้แก่สามี (ขุนอุปพงษ์) ตามพินัยกรรม สามีย่อมมีสิทธิที่จะยกทรัพย์ให้แก่ผู้อื่นได้ไม่มีข้อผูกพันตาม ก.ม. ที่สามี (ขุนอุปพงษ์) จำต้องยกทรัพย์ให้แก่โจทก์ เพราะทรัพย์นั้นเป็นของสามี(ขุนอุปพงษ์ฯ) โดยเด็ดขาด ตาม ก.ม.สามีมีสิทธิจะยกทรัพย์ให้ใคร ๆ ก็ได้แล้ว ต่อมาทำพินัยกรรมยกทรัพย์ไปให้ผู้อื่นมิได้ปฏิบัติตามที่ตกลงกันไว้กับภรรยาว่าจะให้โจทก์ก็ตามก็ไม่เป็นการใช้สิทธิไม่สุจริตเพราะข้อตกลงนั้นฟังได้อย่างมากก็เพียงว่าผู้ทำพินัยกรรมทั้งสองตกลงจะ
ดังนี้เมื่อภรรยา(นางจันทร์) ตายไปก่อน ทรัพย์มรดกของภรรยา(นางจันทร์) ก็ตกได้แก่สามี (ขุนอุปพงษ์) ตามพินัยกรรม สามีย่อมมีสิทธิที่จะยกทรัพย์ให้แก่ผู้อื่นได้ไม่มีข้อผูกพันตาม ก.ม. ที่สามี (ขุนอุปพงษ์) จำต้องยกทรัพย์ให้แก่โจทก์ เพราะทรัพย์นั้นเป็นของสามี(ขุนอุปพงษ์ฯ) โดยเด็ดขาด ตาม ก.ม.สามีมีสิทธิจะยกทรัพย์ให้ใคร ๆ ก็ได้แล้ว ต่อมาทำพินัยกรรมยกทรัพย์ไปให้ผู้อื่นมิได้ปฏิบัติตามที่ตกลงกันไว้กับภรรยาว่าจะให้โจทก์ก็ตามก็ไม่เป็นการใช้สิทธิไม่สุจริตเพราะข้อตกลงนั้นฟังได้อย่างมากก็เพียงว่าผู้ทำพินัยกรรมทั้งสองตกลงจะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1738/2498 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การให้การในคดีแพ่งต้องชัดเจน หากเปลี่ยนคำให้การขัดแย้งกับที่เคยต่อสู้ไว้ ศาลไม่รับฟัง
ให้จำเลยแสดงโดยชัดแจ้งในคำให้การว่าจำเลยยอมรับหรือปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ทั้งสิ้นหรือแต่บางส่วน รวมทั้งเหตุแห่งการนั้น
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยเช่าที่โจทก์ขอให้ขับไล่ ครั้งแรกจำเลยให้การว่าซื้อไม่ได้เช่า แม้ต่อมาจะร้องขอเพิ่มเติมคำให้การว่าที่ที่โจทก์ขับไล่นั้นจำเลยได้อาศัยอยู่ได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่าฯแต่ในคำร้องนั้นจำเลยก็ไม่ได้ถือว่าได้เช่าที่ดินมาเพื่อใช้เป็นเคหะจำเลย อ้างแต่เพียงว่าได้ปลูกห้องแถวอยู่อาศัยการซื้อที่ดินปลูกห้องแถวอยู่อาศัยมิได้เกี่ยวกับ พ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่า ฯ แต่อย่างใด ประเด็นมีแต่เพียงว่าจำเลยซื้อหรือเช่าการเช่าเพื่ออยู่อาศัยไม่มีใครอ้าง ที่จำเลยว่าปลูกห้องแถวอยู่อาศัยก็มิได้ว่าปลูกโดยอาศัยสัญญาเช่า จึงไม่มีข้อที่จะต้องพิจารณาว่าได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่า ฯหรือไม่
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยเช่าที่โจทก์ขอให้ขับไล่ ครั้งแรกจำเลยให้การว่าซื้อไม่ได้เช่า แม้ต่อมาจะร้องขอเพิ่มเติมคำให้การว่าที่ที่โจทก์ขับไล่นั้นจำเลยได้อาศัยอยู่ได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่าฯแต่ในคำร้องนั้นจำเลยก็ไม่ได้ถือว่าได้เช่าที่ดินมาเพื่อใช้เป็นเคหะจำเลย อ้างแต่เพียงว่าได้ปลูกห้องแถวอยู่อาศัยการซื้อที่ดินปลูกห้องแถวอยู่อาศัยมิได้เกี่ยวกับ พ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่า ฯ แต่อย่างใด ประเด็นมีแต่เพียงว่าจำเลยซื้อหรือเช่าการเช่าเพื่ออยู่อาศัยไม่มีใครอ้าง ที่จำเลยว่าปลูกห้องแถวอยู่อาศัยก็มิได้ว่าปลูกโดยอาศัยสัญญาเช่า จึงไม่มีข้อที่จะต้องพิจารณาว่าได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่า ฯหรือไม่