คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ขาดนัดยื่นคำให้การ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 77 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1193/2492

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขาดนัดยื่นคำให้การ: สิทธิฎีกาข้อยกเว้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
การที่ศาลล่างสั่งว่า จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การนั้นเท่ากับสั่งไม่รับคำให้การจำเลย คดีจึงปรับเข้าอยู่ใน ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 228(3) ประกอบด้วยมาตรา 18 วรรคสาม ซึ่งเป็นข้อยกเว้น ให้จำเลยมีสิทธิอุทธรณ์ฎีกาได้
จำเลยยื่นคำให้การพ้นกำหนดไป 2 วัน และยื่นคำร้องว่า การที่มิได้ยื่นคำให้การในกำหนดมิได้เป็นไปโดยจงใจ ดังนี้ ถือว่ามิได้มีพฤติการณ์พิเศษแต่อย่างใด เป็นความผิดของจำเลยเอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 416/2488

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดนัดยื่นคำให้การและผลกระทบต่อสิทธิในการอุทธรณ์คำสั่งระหว่างพิจารณา รวมถึงการพิจารณาความรับผิดตามสัญญา
จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การถือว่า ไม่มีประเด็นที่จำเลยจะสืบ ศาลคงพิจารณาเพียงว่าโจทก์นำสืบสมฟ้องหรือไม่เท่านั้น
คำสั่งศาลที่ว่า จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การนั้น เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาจำเลยต้องโต้แย้งขอให้ศาลจดรายงานไว้ จึงจะอุทธรณ์คำสั่งนั้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8448/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ อุทธรณ์ต้องยกข้อไม่เชื่อถือพยานโจทก์เท่านั้น ไม่ใช่ข้อเท็จจริงใหม่
ในคดีที่จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การและเพื่อประโยชน์ในการพิพากษาหรือมีคำสั่งชี้ขาดคดี ศาลอาจสืบพยานเกี่ยวกับข้ออ้างของโจทก์หรือพยานหลักฐานอื่นไปฝ่ายเดียว ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 198 ทวิ วรรคสอง นั้น จำเลยย่อมอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นได้เฉพาะในพยานหลักฐานตามที่โจทก์นำสืบมา ว่าศาลไม่ควรเชื่อหรือรับฟังไม่ได้เท่านั้น จำเลยไม่อาจที่จะไปกล่าวอ้างข้อเท็จจริงที่โจทก์มิได้นำสืบหรือที่ไม่มีอยู่ในสำนวนขึ้นมาอ้างอิงเพื่อหักล้างพยานหลักฐานของโจทก์ได้
ศาลชั้นต้นรับฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยทำหนังสือรับสภาพหนี้ให้ไว้แก่โจทก์ โดยเชื่อตามที่โจทก์นำสืบพยานบุคคลและพยานเอกสาร แต่จำเลยมิได้อุทธรณ์อ้างว่า พยานบุคคลและพยานเอกสารที่โจทก์นำสืบไม่มีน้ำหนักในการรับฟังด้วยเหตุผลตามที่พยานเบิกความและข้อความในเอกสารมีพิรุธไม่น่าเชื่อถือในข้อไหนอย่างไรกลับอ้างข้อเท็จจริงที่ไม่มีอยู่ในสำนวนขึ้นมาโต้เถียงว่า เจ้าหน้าที่ของโจทก์นำแบบพิมพ์เปล่ามาให้จำเลยลงลายมือชื่อไว้ จนกระทั่งถูกฟ้องจำเลยจึงทราบว่าแบบพิมพ์เปล่าที่จำเลยเคยลงลายมือชื่อไว้เป็นหนังสือรับสภาพหนี้ซึ่งโจทก์เติมข้อความโดยจำเลยไม่รู้เห็นและยินยอม หนังสือรับสภาพหนี้ปลอม ใช้อ้างเป็นพยานหลักฐานต่อศาลไม่ได้ จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 3 รับวินิจฉัยให้ก็เป็นการไม่ชอบ จำเลยจึงไม่มีสิทธิที่จะฎีกาเพื่อให้ศาลฎีการับฟังข้อเท็จจริงดังกล่าวอีกได้ เพราะเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 3 เป็นฎีกาที่ต้องห้าม ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
จำเลยมีคำขอนอกเหนือจากที่ขอให้ศาลฎีกาพิพากษายกฟ้องว่า ให้ย้อนสำนวนคืนให้ศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การต่อสู้คดีสืบพยานโจทก์และจำเลยแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดีด้วย โดยจำเลยมิได้ฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 ที่วินิจฉัยว่าจำเลยจงใจขาดนัดยื่นคำให้การว่าไม่ชอบมาด้วยจึงเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้ง ต้องห้ามมิให้ฎีกา ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8448/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ อุทธรณ์ต้องจำกัดเฉพาะพยานโจทก์ที่นำสืบเท่านั้น ข้อเท็จจริงใหม่ไม่อาจอุทธรณ์ได้
ในคดีที่จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ และศาลสืบพยานเกี่ยวกับข้ออ้างของโจทก์หรือพยานหลักฐานอื่นไปฝ่ายเดียวตาม ป.วิ.พ. มาตรา 198 ทวิ วรรคสอง นั้น จำเลยย่อมอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นได้เฉพาะในพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบมาว่าศาลไม่ควรเชื่อหรือรับฟังไม่ได้เท่านั้น ข้อเท็จจริงที่โจทก์มิได้นำสืบหรือที่ไม่มีอยู่ในสำนวน เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10840/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญา: การขาดนัดยื่นคำให้การและการใช้บทบัญญัติมาตรา 198 วรรคสองโดยอนุโลม
การดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางต้องใช้ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 และข้อกำหนดคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2540 เป็นหลัก ส่วนกฎหมายวิธีพิจารณาความฉบับอื่นๆ ที่ใช้กับคดีแพ่งและคดีอาญาโดยทั่วไปจะนำมาใช้ในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางต่อเมื่อไม่มีบทบัญญัติในพระราชบัญญัติและข้อกำหนดดังกล่าวบัญญัติหรือกำหนดไว้โดยเฉพาะ ทั้งการนำมาใช้ก็เป็นการใช้โดยอนุโลมอีกด้วย
กรณีที่จำเลยที่ 3 ไม่ได้ยื่นคำให้การนั้น ข้อกำหนดคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2540 บัญญัติไว้เพียงข้อเดียว ได้แก่ข้อ 11 ดังกล่าว กล่าวคือ ในคดีของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง จำเลยที่ 3 จะขาดนัดยื่นคำให้การ นอกจากจำเลยที่ 3 มิได้ยื่นคำให้การภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้แล้ว ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางต้องมีคำสั่งแสดงว่าจำเลยที่ 3 ขาดนัดยื่นคำให้การด้วย ต่างกับการขาดนัดยื่นคำให้การในคดีแพ่งทั่วไปที่เป็นการขาดนัดยื่นคำให้การโดยผลของกฎหมาย ศาลไม่ต้องมีคำสั่ง และหลังจากศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำสั่งว่าจำเลยที่ 3 ขาดนัดยื่นคำให้การแล้ว ไม่มีข้อกำหนดว่าจะต้องดำเนินกระบวนพิจารณาอย่างไรต่อไป จึงต้องนำ ป.วิ.พ. มาตรา 198 และมาตราต่อไปมาใช้บังคับโดยอนุโลม เมื่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางยังไม่ได้มีคำสั่งว่า จำเลยที่ 3 ขาดนัดยื่นคำให้การ จึงจะนำบทบัญญัติมาตรา 198 วรรคสอง มาใช้บังคับยังมิได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10840/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดำเนินคดีทรัพย์สินทางปัญญา: การขาดนัดยื่นคำให้การ และการใช้บทบัญญัติประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งโดยอนุโลม
การดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางต้องใช้ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 และข้อกำหนดคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2540 เป็นหลัก ส่วนกฎหมายวิธีพิจารณาความฉบับอื่น ๆ ที่ใช้กับคดีแพ่งและคดีอาญาโดยทั่วไปจะนำมาใช้ในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางต่อเมื่อไม่มีบทบัญญัติในพระราชบัญญัติและข้อกำหนดดังกล่าวบัญญัติหรือกำหนดไว้โดยเฉพาะ ทั้งการนำมาใช้ก็เป็นการใช้โดยอนุโลมอีกด้วย เมื่อการดำเนินกระบวนพิจารณาในกรณีที่จำเลยที่ 3 ขาดนัดยื่นคำให้การ มีข้อกำหนดคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2540 ข้อ 11 กำหนดไว้ว่า ในคดีที่จำเลยที่ 3 ขาดนัดยื่นคำให้การ โดยมิได้ยื่นคำให้การภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางต้องมีคำสั่งแสดงว่าจำเลยที่ 3 ขาดนัดยื่นคำให้การด้วย ต่างกับการขาดนัดยื่นคำให้การในคดีแพ่งทั่วไปที่เป็นการขาดนัดยื่นคำให้การโดยผลของกฎหมาย ศาลไม่ต้องมีคำสั่ง และหลังจากศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำสั่งว่าจำเลยที่ 3 ขาดนัดยื่นคำให้การแล้ว ไม่มีข้อกำหนดว่าจะต้องดำเนินกระบวนพิจารณาอย่างไรต่อไป จึงต้องนำ ป.วิ.พ. มาตรา 198 และมาตราต่อไปมาใช้บังคับโดยอนุโลม แต่สำหรับคดีนี้ เนื่องจากศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางยังไม่ได้มีคำสั่งว่า จำเลยที่ 3 ขาดนัดยื่นคำให้การ จึงจะนำบทบัญญัติมาตรา 198 วรรคสอง มาใช้บังคับยังมิได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1290/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ ไม่อาจสืบพยานหลักฐานใหม่ หรืออ้างข้อเท็จจริงเกินขอบเขตฟ้องได้ ศาลยืนตามคำพิพากษาเดิม
เมื่อจำเลยทั้งสองขาดนัดยื่นคำให้การ จำเลยทั้งสองไม่มีสิทธินำพยานเข้าสืบไม่ว่าพยานบุคคลหรือพยานเอกสาร การที่ทนายจำเลยทั้งสองนำสำเนาหนังสือสัญญากู้เงินให้โจทก์ดูแล้วโจทก์เบิกความตอบคำถามค้านว่า สำเนาหนังสือสัญญากู้เงินเป็นสัญญากู้เงินที่โจทก์ทำมอบไว้ให้แก่จำเลยที่ 1 โดยโจทก์ลงลายมือชื่อไว้ในช่องผู้กู้ขณะยังไม่มีการกรอกข้อความ โจทก์หาได้เบิกความรับรองข้อความในเอกสารไม่ ดังนั้น การที่ทนายจำเลยทั้งสองส่งเอกสารดังกล่าวต่อศาลเท่ากับจำเลยทั้งสองเรียกพยานหลักฐานของตนเข้าสืบโดยฝ่าฝืนต่อ ป.วิ.พ. มาตรา 199 วรรคสอง (เดิม) จึงต้องห้ามมิให้รับฟัง
การที่จำเลยที่ 1 สาบานตนให้การเป็นพยานว่า โจทก์กู้เงินจำเลยที่ 1 จำนวน 1,500,000 บาท โดยมอบโฉนดที่ดินเลขที่ 4878 ให้จำเลยที่ 1 ยึดถือไว้เป็นประกัน จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องคืนโฉนดที่ดินดังกล่าวแก่โจทก์ นั้น เมื่อจำเลยที่ 1 ขาดนัดยื่นคำให้การ ประเด็นข้อพิพาทคงเกิดจากข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาตามฟ้องโจทก์เท่านั้น จำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิอ้างข้อเท็จจริงเป็นประเด็นขึ้นใหม่ คำเบิกความของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวเป็นคำเบิกความในข้อที่ไม่ได้เป็นประเด็นในคดี จึงรับฟังไม่ได้
of 8