พบผลลัพธ์ทั้งหมด 541 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7991/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการเรียกดอกเบี้ยจากการบังคับจำนอง: ห้ามเรียกย้อนหลังเกิน 5 ปีนับแต่วันฟ้อง
ตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/27 ประกอบมาตรา 745 บังคับผู้รับจำนองว่าจะใช้สิทธิบังคับให้นำเงินจากการขายทอดตลาดทรัพย์สินที่จำนองชำระดอกเบี้ยที่ค้างย้อนหลังเกินห้าปีขึ้นไปไม่ได้เท่านั้น แต่มิได้ห้ามผู้รับจำนองให้เรียกดอกเบี้ยเกินห้าปีนับแต่วันฟ้อง ผู้รับจำนองจึงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปได้ ส่วนการเรียกดอกเบี้ยย้อนหลัง แม้จำเลยผู้จำนองฎีกายินยอมให้โจทก์ผู้รับจำนองเรียกได้เป็นเวลา 5 ปี ตั้งแต่ก่อนวันฟ้องก็ตาม แต่เมื่อโจทก์มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยไม่ทบต้นเป็นเวลาเพียงห้าปีนับแต่วันฟ้องย้อนหลังขึ้นไป ศาลจึงไม่อาจพิพากษาให้จำเลยรับผิดเกินกว่าที่ ป.พ.พ. มาตรา 193/27 บัญญัติไว้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6884/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการรับเงินทดแทนค่าบริการทางการแพทย์กรณีฉุกเฉิน: ข้อจำกัดตามประกาศสำนักงานประกันสังคม และการปฏิบัติตามเงื่อนไข
โจทก์เกิดอาการชักและน้ำลายฟูมปากและหมดสติอันเป็นผลมาจากเส้นเลือดอุดตันในสมองจำเป็นต้องได้รับการบริการทางการแพทย์อย่างฉุกเฉิน ซึ่งได้เข้ารับการบริการทางการแพทย์ประเภทผู้ป่วยใน ณ สถานพยาบาลอื่น ตามประกาศสำนักงานประกันสังคม เรื่องกำหนดจำนวนเงินทดแทนค่าบริการทางการแพทย์ ฉบับลงวันที่30 มีนาคม 2538 ข้อ 4 โจทก์จึงมีสิทธิได้รับค่าบริการทางการแพทย์ตามอัตราที่กำหนดไว้ตามข้อ 4.1 เฉพาะค่าใช้จ่ายที่ได้จ่ายไปจริงตามความจำเป็นภายในระยะเวลา72 ชั่วโมงนับแต่เวลาที่โจทก์เข้ารับการรักษาครั้งแรกโดยไม่รวมระยะเวลาในวันหยุดราชการ ดังนั้นแม้ว่าโจทก์จะเข้ารับการรักษาพยาบาลที่โรงพยาบาลเวชธานีถึง21 วัน และจำเป็นต้องอยู่ในห้อง ไอ.ซี.ยู.11 วัน ก็ตาม โจทก์ก็ไม่มีสิทธิที่จะได้รับค่าบริการทางการแพทย์จากสำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่รามอินทรา เกินกว่าอัตราที่กำหนดไว้ดังกล่าว ทั้งในช่วงระยะเวลาที่โจทก์มีสิทธิได้รับค่าบริการทางการแพทย์โจทก์เข้ารับการรักษาอยู่ในห้องไอ.ซี.ยู. โจทก์ก็ไม่ต้องเสียค่าห้องหรือค่าอาหารแต่อย่างใดสำนักงานประกันสังคมจึงไม่จำต้องจ่ายค่าห้องและค่าอาหารให้โจทก์ และกรณีมิใช่เป็นการขัดต่อ พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 มาตรา 63 ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 624/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการอุทธรณ์ในคดีทรัพย์สินทางปัญญา: ทุนทรัพย์น้อยกว่าสองแสนบาท และการโต้เถียงข้อเท็จจริง
คดีนี้มีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์เพียง75,703.73 บาท ซึ่งไม่เกินสองแสนบาท จึงต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามมาตรา 41 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศพ.ศ. 2539 ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 2เป็นผู้ขนส่งอื่นซึ่งตกลงรับขนสินค้าแบบ CY/CY โจทก์ไม่นำสืบว่าสินค้าได้สูญหายระหว่างอยู่ในความดูแลของจำเลยที่ 2จำเลยที่ 2 ส่งมอบตู้สินค้าพิพาทให้การท่าเรือแห่งประเทศไทยตู้สินค้าอยู่ในสภาพเรียบร้อย แสดงให้เห็นว่าสินค้าในตู้สินค้าไม่มีโอกาสสูญหายระหว่างจำเลยที่ 2ทำการขนส่ง กรณีไม่อาจถือว่า สินค้าพิพาทสูญหายไประหว่างอยู่ในความดูแลของจำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดตามมาตรา 39ประกอบมาตรา 44 แห่งพระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเลพ.ศ. 2534 โจทก์อุทธรณ์ว่า สินค้าที่พิพาทได้สูญหายไปในระหว่างการขนส่งซึ่งอยู่ในความดูแลของจำเลยที่ 2ผู้ขนส่ง จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดชอบชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ตามมาตรา 39 วรรคสอง,43,44,45,52 แห่งพระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 เป็นอุทธรณ์โต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลชั้นต้นเพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายที่อุทธรณ์ จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามบทบัญญัติดังกล่าว ที่ศาลชั้นต้นรับอุทธรณ์ของโจทก์มานั้นจึงไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 571/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขโทษจำคุกที่ไม่ถูกต้องตามอัตราโทษที่กฎหมายกำหนด และข้อจำกัดการแก้ไขโทษเพิ่มเติมโดยศาล
ศาลอุทธรณ์พิพากษาเรียงกระทงลงโทษจำเลย เมื่อรวมโทษจำเลยแล้วคงจำคุกจำเลย 3 เดือน 15 วัน ซึ่งไม่ถูกต้องที่ถูกต้องเป็น 6 เดือน 15 วัน และในความผิดฐานยิงปืนโดยใช่เหตุ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 376 มีระวางโทษจำคุกไม่เกิน 10 วัน การที่ศาลอุทธรณ์วางโทษจำคุกจำเลยทั้งสามคนละ 1 เดือน จึงเกินกว่าอัตราโทษที่กฎหมายกำหนดศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้องโดยให้จำคุกจำเลยในความผิดฐานนี้ 10 วัน และเมื่อรวมโทษจำคุกตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์แล้วยังน้อยกว่าโทษที่คำนวณโดยถูกต้องแต่โจทก์มิได้ฎีกาขอให้ลงโทษให้ถูกต้อง ศาลฎีกาจึงไม่อาจแก้ไขโทษสำหรับจำเลยให้ถูกต้องได้ เพราะเป็นการพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลย ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 212 ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5235/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกู้ยืมเงินที่ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ: ข้อจำกัดในการฟ้องร้องบังคับคดี
จำเลยกู้ยืมเงินโจทก์ 600,000 บาท โดยโจทก์ออกเช็คให้จำเลยไปเบิกเงินจากธนาคารครบถ้วนแล้ว ในการนี้จำเลยได้ลงลายมือชื่อไว้ที่ต้นขั้วเช็คให้โจทก์ ประกอบข้อความว่าได้รับเรียบร้อยแล้ว แต่ไม่ระบุว่าได้รับอะไร ข้อความดังกล่าวเขียนไว้ด้านหลังของต้นขั้วเช็ค ซึ่งด้านหน้าระบุชื่อจำเลย และจำนวนเงิน 600,000 บาท ข้อความ 2 ด้านอาจพอฟังประกอบกันได้ว่า ได้รับเช็คเงิน 600,000 บาท ไปเรียบร้อยแล้ว แต่ไม่อาจฟังขยายความออกไปได้ว่าเป็นการรับเช็คที่กู้ยืมเงินหรือรับเงินที่กู้ยืม ดังนี้ เมื่อโจทก์ไม่มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือ ย่อมต้องห้ามมิให้ฟ้องร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5179/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการอุทธรณ์-ฎีกาในคดีอาญา และการรับฟังพยานหลักฐานที่ไม่น่าเชื่อถือ
ในความผิดฐานต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 138 วรรคหนึ่ง ซึ่งมีอัตราโทษอย่างสูงที่กำหนดไว้ให้จำคุกไม่เกินหนึ่งปีหรือปรับไม่เกินสองพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษปรับจำเลย 1,000 บาท คดีจึงต้องห้ามมิให้จำเลยอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นในปัญหาข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 ทวิ(4)จำเลยอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามบทกฎหมายดังกล่าวที่ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลยในความผิดฐานดังกล่าว และศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงให้และพิพากษายกฟ้องโจทก์ในความผิดฐานนี้ จึงเป็นการไม่ชอบและถือได้ว่าเป็นข้อที่มิได้ว่ากันมาโดยชอบแล้วในศาลอุทธรณ์ ข้อเท็จจริงเป็นอันยุติตามคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นแล้วว่าจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 138 วรรคหนึ่ง โจทก์จึงไม่มีสิทธิฎีกาในปัญหานี้ศาลฎีกาพิพากษายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในความผิดฐานนี้ และให้บังคับคดีไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 396/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการอุทธรณ์ข้อเท็จจริงขัดกับคำรับสารภาพ และการไม่ได้รับประโยชน์จาก พ.ร.บ.ล้างมลทินเนื่องจากพ้นโทษช้ากว่ากำหนด
อุทธรณ์ของจำเลยข้อที่ว่า จำเลยมิได้กระทำความผิดตามฟ้องจำเลยให้การรับสารภาพเพราะสงสารเพื่อนที่ไปด้วยและพนักงานสอบสวนให้คำมั่นสัญญาว่าจำเลยจะไม่ถูกลงโทษจำคุกนั้น เป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงที่ขัดกับคำให้การรับสารภาพของจำเลย ต้องถือว่ามิใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ต้องห้ามอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบป.วิ.อ.มาตรา 15 ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยปัญหาตามอุทธรณ์ของจำเลยดังกล่าวจึงชอบแล้ว
ตาม พ.ร.บ.ล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงครองสิริราชสมบัติ ครบ 50 ปี พ.ศ.2539 มาตรา 4ผู้ต้องโทษตามคำพิพากษาของศาลที่จะได้รับการล้างมลทินและถือว่าไม่เคยถูกลงโทษในความผิดตามคำพิพากษานั้น นอกจากต้องเป็นผู้ต้องโทษที่ได้กระทำผิดก่อนหรือในวันที่ 9 มิถุนายน 2539 แล้ว ยังต้องเป็นผู้พ้นโทษไปแล้วก่อนหรือในวันที่ 11 กันยายน 2539 อันเป็นวันที่ พ.ร.บ.ดังกล่าวมีผลใช้บังคับด้วย เมื่อปรากฏว่าจำเลยถูกจำคุกครบกำหนดโทษและถูกปล่อยตัวเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2539 อันเป็นเวลาภายหลังพ.ร.บ.ดังกล่าวมีผลใช้บังคับ จำเลยจึงไม่ได้รับประโยชน์จาก พ.ร.บ.ดังกล่าว
ตาม พ.ร.บ.ล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงครองสิริราชสมบัติ ครบ 50 ปี พ.ศ.2539 มาตรา 4ผู้ต้องโทษตามคำพิพากษาของศาลที่จะได้รับการล้างมลทินและถือว่าไม่เคยถูกลงโทษในความผิดตามคำพิพากษานั้น นอกจากต้องเป็นผู้ต้องโทษที่ได้กระทำผิดก่อนหรือในวันที่ 9 มิถุนายน 2539 แล้ว ยังต้องเป็นผู้พ้นโทษไปแล้วก่อนหรือในวันที่ 11 กันยายน 2539 อันเป็นวันที่ พ.ร.บ.ดังกล่าวมีผลใช้บังคับด้วย เมื่อปรากฏว่าจำเลยถูกจำคุกครบกำหนดโทษและถูกปล่อยตัวเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2539 อันเป็นเวลาภายหลังพ.ร.บ.ดังกล่าวมีผลใช้บังคับ จำเลยจึงไม่ได้รับประโยชน์จาก พ.ร.บ.ดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3514-3515/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกาในข้อเท็จจริง, ภาระจำยอม, และสถานะผู้ครอบครอง
คดีรวมการพิจารณาพิพากษา เมื่อปรากฏว่าคดีสำนวนแรกราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกิน 200,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ศาลอุทธรณ์ภาค 2ฟังข้อเท็จจริงว่า โจทก์อยู่ในที่ดินส่วนที่ปลูกบ้านในฐานะผู้อาศัย โจทก์ฎีกาว่า โจทก์ได้กรรมสิทธิ์ที่ดินส่วนที่โจทก์ปลูกบ้านโดยการครอบครองปรปักษ์ เป็นการฎีกาโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ภาค 2 จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามบทบัญญัติดังกล่าว ที่ศาลชั้นต้นรับฎีกาของโจทก์ในข้อนี้มาจึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย และผลแห่งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 ดังกล่าวย่อมผูกพันโจทก์และจำเลยซึ่งเป็นคู่ความในสำนวนหลังด้วย ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 145ศาลฎีกาจึงต้องถือตามข้อเท็จจริงดังกล่าว
ภาระจำยอมในเรื่องทางเดินเป็นทรัพยสิทธิที่กฎหมายก่อตั้งขึ้นสำหรับเจ้าของอสังหาริมทรัพย์เท่านั้น เมื่อโจทก์เป็นเพียงผู้อาศัย มิใช่เจ้าของที่ดินอันเป็นสามยทรัพย์ โจทก์จึงไม่มีสิทธินำคดีมาฟ้องในเรื่องทางภาระจำยอมดังกล่าว
ภาระจำยอมในเรื่องทางเดินเป็นทรัพยสิทธิที่กฎหมายก่อตั้งขึ้นสำหรับเจ้าของอสังหาริมทรัพย์เท่านั้น เมื่อโจทก์เป็นเพียงผู้อาศัย มิใช่เจ้าของที่ดินอันเป็นสามยทรัพย์ โจทก์จึงไม่มีสิทธินำคดีมาฟ้องในเรื่องทางภาระจำยอมดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3355/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการสะสมวันหยุดพักผ่อน และการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง จำเลยต้องนำสืบพยานหลักฐาน
ที่จำเลยอุทธรณ์ว่า ข้อบังคับในการทำงานกำหนดว่า วันหยุดพักผ่อนประจำปีผู้ปฏิบัติงานจะสะสมไม่ได้ และผู้ปฏิบัติงานที่ไม่ใช้สิทธิหยุดพักผ่อนประจำปี จำเลยจะถือว่าผู้นั้นสละสิทธิในการหยุดพักผ่อนประจำปี โดยไม่มีสิทธิเรียกร้องใด ๆ จากจำเลย เมื่อเป็นข้อกฎหมายที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลแรงงาน จึงต้องห้ามอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ซึ่งอนุโลมมาใช้บังคับแก่คดีแรงงานด้วยตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31
ศาลแรงงานเห็นว่า พยานจำเลยที่นำสืบมาไม่มีเหตุผลให้รับฟังดีกว่าพยานโจทก์ แล้วฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยให้อำนาจนาย ส.บอกเลิกจ้างโจทก์มิใช่โจทก์ละทิ้งหน้าที่ดังจำเลยให้การ โดยศาลแรงงานได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงโดยอาศัยคำเบิกความของโจทก์และพยานโจทก์ประกอบพฤติการณ์ที่ปรากฏในสำนวนทั้งสิ้น กรณีจึงมิใช่ศาลแรงงานหยิบยกข้อเท็จจริงนอกสำนวนมาตัดสินคดี
เมื่อข้อเท็จจริงที่ว่า โจทก์ยินยอมในการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างหรือไม่ เป็นหน้าที่ของจำเลยที่จะต้องนำสืบให้ปรากฏเพื่อให้จำเลยพ้นความรับผิด แต่จำเลยไม่นำสืบ การที่ศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยมิได้รับความยินยอมจากโจทก์ หรือไม่ปรากฏว่าโจทก์ให้ความยินยอม เช่นนี้ จึงมิใช่ศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงที่ไม่ปรากฏในสำนวนขึ้นมาวินิจฉัย
ศาลแรงงานเห็นว่า พยานจำเลยที่นำสืบมาไม่มีเหตุผลให้รับฟังดีกว่าพยานโจทก์ แล้วฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยให้อำนาจนาย ส.บอกเลิกจ้างโจทก์มิใช่โจทก์ละทิ้งหน้าที่ดังจำเลยให้การ โดยศาลแรงงานได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงโดยอาศัยคำเบิกความของโจทก์และพยานโจทก์ประกอบพฤติการณ์ที่ปรากฏในสำนวนทั้งสิ้น กรณีจึงมิใช่ศาลแรงงานหยิบยกข้อเท็จจริงนอกสำนวนมาตัดสินคดี
เมื่อข้อเท็จจริงที่ว่า โจทก์ยินยอมในการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างหรือไม่ เป็นหน้าที่ของจำเลยที่จะต้องนำสืบให้ปรากฏเพื่อให้จำเลยพ้นความรับผิด แต่จำเลยไม่นำสืบ การที่ศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยมิได้รับความยินยอมจากโจทก์ หรือไม่ปรากฏว่าโจทก์ให้ความยินยอม เช่นนี้ จึงมิใช่ศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงที่ไม่ปรากฏในสำนวนขึ้นมาวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3355/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการสะสมวันหยุดพักผ่อนและผลของการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม คดีแรงงาน
ที่จำเลยอุทธรณ์ว่า ข้อบังคับในการทำงานกำหนดว่าวันหยุดพักผ่อนประจำปีผู้ปฏิบัติงานจะสะสมไม่ได้ และผู้ปฏิบัติงานที่ไม่ใช้สิทธิหยุดพักผ่อนประจำปี จำเลยจะถือว่าผู้นั้นสละสิทธิในการหยุดพักผ่อนประจำปี โดยไม่มีสิทธิเรียกร้องใด ๆ จาก จำเลย เมื่อเป็นข้อกฎหมายที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลแรงงาน จึงต้องห้ามอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคหนึ่งซึ่งอนุโลมมาใช้บังคับแก่คดีแรงงานด้วยตาม พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 ศาลแรงงานเห็นว่า พยานจำเลยที่นำสืบมาไม่มีเหตุผลให้รับฟังดีกว่าพยานโจทก์ แล้วฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยให้ อำนาจนายส.บอกเลิกจ้างโจทก์มิใช่โจทก์ละทิ้งหน้าที่ดังจำเลยให้การ โดยศาลแรงงานได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงโดยอาศัย คำเบิกความของโจทก์และพยานโจทก์ประกอบพฤติการณ์ที่ปรากฏ ในสำนวนทั้งสิ้น กรณีจึงมิใช่ศาลแรงงานหยิบยกข้อเท็จจริง นอกสำนวนมาตัดสินคดี เมื่อข้อเท็จจริงที่ว่า โจทก์ยินยอมในการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างหรือไม่ เป็นหน้าที่ของจำเลยที่จะต้องนำสืบให้ปรากฏ เพื่อให้จำเลยพ้นความรับผิด แต่จำเลยไม่นำสืบ การที่ ศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยมิได้รับความยินยอมจากโจทก์ หรือไม่ปรากฏว่าโจทก์ให้ความยินยอม เช่นนี้ จึงมิใช่ศาลแรงงาน ฟังข้อเท็จจริงที่ไม่ปรากฏในสำนวนขึ้นมาวินิจฉัย