พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,178 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4573-5228/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
โบนัสไม่ใช่ค่าจ้าง, เงินเพิ่มกรณีผิดนัดชำระเฉพาะค่าจ้าง, ข้อตกลงใหม่หลังพ้นสภาพงานไม่ผูกพัน
เงินโบนัสเป็นเงินที่นายจ้างจ่ายให้ลูกจ้างเป็นรางวัลในการปฏิบัติงานเท่านั้น มิใช่เป็นเงินที่นายจ้างจ่ายเป็นการตอบแทนการทำงานตามสัญญาจ้าง เงินโบนัสจึงมิใช่ค่าจ้างตามความหมายในมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานพ.ศ. 2541 เมื่อเงินโบนัสไม่ใช่ค่าจ้าง การที่นายจ้างไม่จ่ายเงินโบนัสแก่ลูกจ้างจึงมิใช่กรณีที่นายจ้างจงใจไม่จ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างและต้องเสียเงินเพิ่มให้แก่ลูกจ้างตามมาตรา 9 วรรคสอง
ข้อบังคับของธนาคารจำเลยที่ระบุว่า จำเลยจะพิจารณาจ่ายโบนัสให้ปีละ 2 ครั้ง ภายหลังการปิดบัญชีประจำงวด นั้นแม้จำเลยจะจ่ายโบนัสครั้งแรกพร้อมเงินเดือนในเดือนมิถุนายนโดยตลอดก็เป็นเพียงวิธีปฏิบัติ ถือไม่ได้ว่าเป็นกำหนดเวลาจ่ายเงินโบนัสครั้งแรก หนี้ดังกล่าวจึงเป็นหนี้ที่ไม่มีกำหนดชำระ จำเลยจะตกเป็นลูกหนี้ผู้ผิดนัดต่อเมื่อโจทก์บอกกล่าวทวงถามก่อน
จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างมีหน้าที่ต้องจ่ายเงินโบนัสให้แก่โจทก์ตามอัตราที่กำหนดไว้ในข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่มีอยู่เดิมแล้ว การที่จำเลยยื่นข้อเรียกร้องต่อสหภาพแรงงาน ธ. และต่อมาได้มีการจัดทำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างเกี่ยวกับเงินโบนัสขึ้นใหม่ ภายหลังที่โจทก์พ้นสภาพการเป็นพนักงานของจำเลยแล้วข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างดังกล่าว ก็ไม่มีผลผูกพันโจทก์โจทก์จึงมีสิทธิได้รับเงินโบนัสตามอัตราเดิม
ข้อบังคับของธนาคารจำเลยที่ระบุว่า จำเลยจะพิจารณาจ่ายโบนัสให้ปีละ 2 ครั้ง ภายหลังการปิดบัญชีประจำงวด นั้นแม้จำเลยจะจ่ายโบนัสครั้งแรกพร้อมเงินเดือนในเดือนมิถุนายนโดยตลอดก็เป็นเพียงวิธีปฏิบัติ ถือไม่ได้ว่าเป็นกำหนดเวลาจ่ายเงินโบนัสครั้งแรก หนี้ดังกล่าวจึงเป็นหนี้ที่ไม่มีกำหนดชำระ จำเลยจะตกเป็นลูกหนี้ผู้ผิดนัดต่อเมื่อโจทก์บอกกล่าวทวงถามก่อน
จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างมีหน้าที่ต้องจ่ายเงินโบนัสให้แก่โจทก์ตามอัตราที่กำหนดไว้ในข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่มีอยู่เดิมแล้ว การที่จำเลยยื่นข้อเรียกร้องต่อสหภาพแรงงาน ธ. และต่อมาได้มีการจัดทำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างเกี่ยวกับเงินโบนัสขึ้นใหม่ ภายหลังที่โจทก์พ้นสภาพการเป็นพนักงานของจำเลยแล้วข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างดังกล่าว ก็ไม่มีผลผูกพันโจทก์โจทก์จึงมีสิทธิได้รับเงินโบนัสตามอัตราเดิม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4371-4451/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจผู้แทนสหภาพแรงงานเจรจาต่อรอง และผลผูกพันข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง
สหภาพแรงงานได้ยื่นข้อเรียกร้องต่อจำเลยที่ 8 ซึ่งเป็นนายจ้างขอให้พิจารณาจัดเงินช่วยเหลือค่าดำรงชีพแก่พนักงานและจำเลยที่ 8ยืนยันความมั่นคงในเรื่องโบนัส เปอร์เซ็นต์การขึ้นเงิน อัตรากำลังคนกับปรับปรุงสวัสดิการค่ารักษาพยาบาลด้วยที่ประชุมใหญ่สมาชิกสหภาพแรงงาน ท. ได้ให้การรับรองและแต่งตั้งให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 7เป็นตัวแทนเข้าร่วมเจรจากับจำเลยที่ 8 จึงเป็นการดำเนินการที่ชอบด้วยพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 103(2)มาตรา 13 วรรคสามและมาตรา 15 วรรคหนึ่ง แล้ว เมื่อจำเลยที่ 1ถึงที่ 7 ได้เข้าร่วมเจรจากับจำเลยที่ 8 ตามมาตรา 16 จนทั้งสองฝ่ายสามารถตกลงเกี่ยวกับข้อเรียกร้องตามมาตรา 13 ได้ โดยเฉพาะเงินโบนัส ซึ่งถือได้ว่าเป็นเรื่องที่อยู่ในขอบอำนาจที่ได้รับมอบหมายให้ไปเจรจาย่อมทำข้อตกลงเกี่ยวกับเงินโบนัสกับจำเลยที่ 8 ได้ตามมาตรา 18 โดยมิจำต้องให้ที่ประชุมใหญ่ของสหภาพแรงงานท. มีมติให้การรับรองอีกครั้ง ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างดังกล่าวจึงมีผลบังคับและผูกพันโจทก์ซึ่งเป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน ท. ตามมาตรา 19 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 432/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิใช้ทางจำเป็นเมื่อที่ดินถูกล้อม และการใช้ข้อตกลงเดิมเป็นเหตุผลสนับสนุนสิทธิ
ที่ดินของโจทก์และจำเลยแบ่งแยกออกจากที่ดินแปลงเดียวกันแต่ที่ดินของโจทก์มีที่ดินแปลงอื่นรวมทั้งที่ดินของจำเลยล้อมอยู่จนไม่มีทางออกถึงทางสาธารณะ โจทก์ย่อมมีสิทธิผ่านที่ดินของจำเลยซึ่งอยู่ติดทางสาธารณะไปสู่ทางสาธารณะได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1350 โดยไม่ต้องคำนึงว่า ข้อตกลงที่จะเปิดทางเพื่อใช้เป็นทางออก สู่ทางสาธารณะที่โจทก์จำเลยได้ตกลงกันไว้ด้วยวาจาจะใช้บังคับได้หรือไม่
ตามคำฟ้องและคำขอท้ายคำฟ้องของโจทก์ได้ขอเปิดทางจำเป็นกว้างประมาณ 3 เมตร ยาวประมาณ 15 เมตร การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษา ให้เปิดทางจำเป็นกว้าง 3 เมตร จึงเป็นการตัดสินตามข้อหาในคำฟ้อง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 ประกอบมาตรา 246 มิได้วินิจฉัยนอกประเด็น
ตามคำฟ้องและคำขอท้ายคำฟ้องของโจทก์ได้ขอเปิดทางจำเป็นกว้างประมาณ 3 เมตร ยาวประมาณ 15 เมตร การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษา ให้เปิดทางจำเป็นกว้าง 3 เมตร จึงเป็นการตัดสินตามข้อหาในคำฟ้อง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 ประกอบมาตรา 246 มิได้วินิจฉัยนอกประเด็น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 407/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงการตรวจสอบและชี้ขาด หากไม่เป็นไปตามตกลง ถือเป็นการทิ้งฟ้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2)
คู่ความตกลงกันให้ศาลตั้งผู้เชี่ยวชาญ 1 คน โจทก์ตั้ง 1 คน และจำเลยตั้ง 1 คน ร่วมกันตรวจสอบชี้ขาดว่าสามารถซ่อมแซมเสาเข็มต้นที่ 167 ให้ได้ดีเป็นปกติได้มาตรฐานเหมือนเสาเข็มต้นอื่นที่โจทก์ส่งมอบงานให้จำเลยแล้วหรือไม่ ถ้าเสียงข้างมากบอกว่าซ่อมไม่ได้โจทก์จะถอนฟ้อง หากเสียงข้างมากบอกว่าซ่อมได้ จำเลยจะจ่ายเงินประกันผลงานให้โจทก์ เมื่อเสียงข้างมากของผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นว่าซ่อมไม่ได้ โจทก์จึงต้องถอนฟ้องไปตามข้อตกลง การที่โจทก์ไม่ถอนฟ้องภายในเวลาที่ศาลกำหนด จึงเป็นการเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลกำหนดไว้ อันเป็นการทิ้งฟ้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 407/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงการซ่อมแซมเสาเข็มและผลของการไม่ถอนฟ้องตามกำหนด การทิ้งฟ้องตามมาตรา 174(2)
คู่ความตกลงกันว่าให้ศาลตั้งผู้เชี่ยวชาญ 1 คน โจทก์ตั้ง 1 คนและจำเลยตั้ง 1 คน ร่วมกันตรวจสอบชี้ขาดว่า สามารถซ่อมแซมเสาเข็มต้นที่ 167 ได้ดีเป็นปกติได้มาตรฐานเหมือนเสาเข็มต้นอื่น ที่โจทก์ส่งมอบ งานให้จำเลยแล้วหรือไม่ ถ้าเสียงข้างมากว่าซ่อมไม่ได้โจทก์จะถอนฟ้องหากเสียงข้างมากว่าซ่อมได้ จำเลยจะจ่ายเงินประกันผลงานให้โจทก์ดังนั้น เมื่อเสียงข้างมากของผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นว่าซ่อมไม่ได้ โจทก์จึงต้องถอนฟ้องไปตามข้อตกลง การที่โจทก์ไม่ถอนฟ้องภายในเวลาที่ศาลกำหนด จึงเป็นการเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลกำหนดไว้อันเป็นการทิ้งฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2755/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงดอกเบี้ยในสัญญาเช่าซื้อ: ศาลวินิจฉัยดอกเบี้ยค่าเสียหายอ้างอิงอัตราตามประมวลกฎหมายแพ่งฯ
ข้อตกลงระหว่างโจทก์จำเลยในสัญญาเช่าซื้อข้อ 9 ที่ว่าถ้าผู้เช่าซื้อผิดนัดหรือผิดสัญญาและต้องชำระเงินใด ๆ ให้แก่เจ้าของผู้เช่าซื้อยอมเสียดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นับจากวันผิดนัดนั้นเงินที่ผิดนัดค้างชำระ หมายถึงหนี้เงินที่จำเลยต้องชำระให้โจทก์ตามสัญญา แต่ค่าเสียหายในกรณีที่จำเลยชำระหนี้ไม่ตรงตามเวลาไม่ใช่หนี้เงินตามที่สัญญาเช่าซื้อข้อ 9 ระบุไว้จึงบังคับให้จำเลยชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปีในค่าเสียหายดังกล่าวไม่ได้คงมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยใช้ดอกเบี้ยอัตราร้อยละ7.5 ต่อปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2064/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงคิดดอกเบี้ยผิดนัดตามประกาศธนาคาร ชอบด้วยกฎหมายหากไม่เกินอัตราที่ธปท.กำหนด
หนังสือสัญญากู้เงินมีข้อความว่า ถ้าผู้กู้ผิดนัดชำระดอกเบี้ยงวดหนึ่งงวดใด ผู้กู้ยินยอมให้ถือว่าผู้กู้ผิดนัดทุกงวด และให้ผู้ให้กู้คิดดอกเบี้ยผิดนัดในอัตราที่กำหนดไว้ตามประกาศของธนาคารที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นจนกว่าผู้กู้จะชำระหนี้คืนจนครบถ้วนและตามข้อตกลงต่อท้ายสัญญาจำนองมีข้อความว่าถ้าผู้จำนองผิดนัดชำระหนี้ ผู้จำนองยอมให้ผู้รับจำนองคำนวณดอกเบี้ยที่ผิดนัดได้ในอัตราดอกเบี้ยผิดนัดที่กำหนดไว้ตามประกาศของผู้รับจำนอง ดังนี้ เมื่อจำเลยผิดนัดชำระหนี้ การที่ธนาคารโจทก์คิดดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดในอัตราร้อยละ 18 ต่อปีตามประกาศของโจทก์จึงเป็นไปตามข้อตกลงในสัญญากู้และสัญญาจำนอง และเมื่อในขณะนั้นประกาศของโจทก์ได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยผิดนัดไว้ไม่เกินร้อยละ 18 ต่อปีตามที่ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยได้ให้อำนาจไว้ ข้อตกลงในสัญญาดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมาย และไม่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนอันจะทำให้ตกเป็นโมฆะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1000/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจปกครองบุตรหลังหย่า: ข้อตกลงในทะเบียนหย่าสำคัญกว่าการเลี้ยงดูโดยข้อเท็จจริง
โจทก์จำเลยจดทะเบียนหย่าขาดจากการเป็นสามีภริยากันโดยมีบันทึกข้อตกลงเป็นหนังสือท้ายทะเบียนหย่าให้โจทก์ซึ่งเป็นบิดาเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์ทั้งสองเพียงผู้เดียว กรณีต้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1520 วรรคหนึ่ง เมื่อศาลยังไม่ได้สั่งเพิกถอนอำนาจปกครองของโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1582 วรรคหนึ่งแล้วโจทก์จึงเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์แต่เพียงผู้เดียวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1566(6) ข้อตกลงตาม สัญญาหย่าระบุเพียงให้จำเลยไปมาหาสู่บุตรผู้เยาว์ทั้งสองได้ ตลอดเวลา หามีข้อตกลงให้จำเลยรับบุตรผู้เยาว์ทั้งสองไปอุปการะเลี้ยงดูไม่ จำเลยจึงไม่มีสิทธิที่จะนำบุตรผู้เยาว์ทั้งสองไปอยู่ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9036/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงการวินิจฉัยข้อพิพาทโดยจำกัดประเด็น ทำให้สละสิทธิในการอ้างเหตุอื่นนอกเหนือจากที่ตกลงไว้
คดีก่อนศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า การที่จำเลยที่ 1 ปิดกั้นทางเข้าออกและเรียกเก็บเงินค่าผ่านถนนพิพาทเป็นการทำตามมติเสียงข้างมากของที่ประชุมชาวบ้านที่อยู่อาศัยในศูนย์การค้า โจทก์คดีดังกล่าวแม้ไม่เห็นด้วยก็ต้องปฏิบัติตาม การปิดกั้นทางเข้าออกและเรียกเก็บเงินของจำเลยที่ 1 เป็นการกระทำโดยชอบ ไม่เป็นการละเมิด เมื่อโจทก์กับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ท้ากันให้ถือเอาคำพิพากษาคดีดังกล่าวมาเป็นข้อวินิจฉัยคดีนี้ จึงต้องฟังว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 สามารถปิดกั้นทางเข้าออกและเรียกเก็บเงินค่าผ่านถนนพิพาทตามข้อบังคับของจำเลยที่ 2 ซึ่งออกตามมติของที่ประชุมดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8926/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิค่าล่วงเวลาพนักงานรัฐวิสาหกิจงานขนส่ง: ข้อตกลงจ่ายค่าล่วงเวลาต้องชัดเจน
จำเลยเป็นรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายประกอบกิจการงานขนส่งเดินรถโดยสารประจำทาง โจทก์เป็นพนักงานประจำรายเดือนตำแหน่งพนักงานขับรถจึงเป็นพนักงานซึ่งทำงานขนส่ง ซึ่งตามระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2534 ข้อ 28กำหนดว่า พนักงานที่ทำงานขนส่งไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลาตามข้อ 25 และ 26เว้นแต่รัฐวิสาหกิจซึ่งเป็นนายจ้างตกลงจ่ายค่าล่วงเวลาให้แก่พนักงาน แม้จำเลยมีคำสั่งเกี่ยวกับเบี้ยเลี้ยงพิเศษและอัตราเงินส่วนแบ่ง ให้พนักงานขับรถโดยสารและพนักงานเก็บค่าโดยสารได้รับเบี้ยเลี้ยงพิเศษเนื่องจากทำงานเกินวันละ 8 ชั่วโมงอันเป็นเวลาทำงานตามปกติและได้รับเงินส่วนแบ่งจากจำนวนตั๋วที่จำหน่ายได้ก็ตามแต่คำสั่งดังกล่าวมิใช่ข้อตกลงจ่ายค่าล่วงเวลาให้แก่พนักงานขับรถโดยสารและพนักงานเก็บค่าโดยสาร โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลา