คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ข้อพิพาท

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 483 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2959/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทภาษีมูลค่าเพิ่ม การเลือกใช้สิทธิ/การผิดนัดชำระหนี้ และดอกเบี้ย
สัญญาจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลย เป็นสัญญาให้บริการที่โจทก์ได้ทำกับจำเลยซึ่งเป็นกรมในรัฐบาล โดยสัญญานั้นได้ทำขึ้นก่อนวันที่ 1 มกราคม 2535 และมีงานให้บริการตามสัญญาส่วนที่เหลือที่จะต้องปฏิบัติตามสัญญาตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2535 ต่อไปอีก โจทก์จึงมิได้รับยกเว้นที่จะยังคงเสียภาษีการค้าต่อไปสำหรับค่าตอบแทนจากการให้บริการหลังวันที่ 1 มกราคม 2535 ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 24 แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม ประมวลรัษฎากร(ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534 ดังนั้น ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2535โจทก์ซึ่งเป็นผู้ประกอบการที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มจึงมีหน้าที่ในการเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการเมื่อความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้น กรณีที่ได้มีพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 249)พ.ศ. 2535 ซึ่งประกาศใช้ในภายหลังได้บัญญัติไว้มาตรา 3ให้สิทธิแก่ผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/3 แห่งประมวลรัษฎากร ที่ได้ยื่นซองประกวดราคาหรือให้บริการกับกระทรวงทบวงกรม หรือราชการส่วนท้องถิ่นก่อนวันที่ 1 มกราคม 2535 ในการที่จะเลือกเสียภาษีการค้าตามบทบัญญัติหมวด 4 ภาษีการค้า ในลักษณะ 2 แห่งประมวลรัษฎากรก่อนการแก้ไขเพิ่มเติมโดย พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534หรือเลือกที่จะเสียภาษีมูลค่าเพิ่มอย่างใดอย่างหนึ่งนั้นพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวมิได้บัญญัติว่าผู้ประกอบการจดทะเบียนจะต้องใช้สิทธิเลือกเสียภาษีการค้าหรือภาษีมูลค่าเพิ่มภายในกำหนดระยะเวลาเท่าใดและวิธีการอย่างไร ที่โจทก์ได้ยื่นแบบแสดงรายการการค้าประจำเดือน กุมภาพันธ์มีนาคม เมษายน และกรกฎาคม 2535 ก็ได้ความว่าจำเลยซึ่งเป็นผู้จ่ายเงินค่าจ้างแก่โจทก์ ได้หักภาษีการค้ารวมทั้งภาษีบำรุงท้องถิ่น จากเงินที่จ่ายแก่โจทก์เมื่อวันที่4 และ 5 กุมภาพันธ์ 2535 สำหรับงานงวดที่ 14,18 และ 19 เมื่อวันที่ 8 เมษายน 2535 สำหรับงานงวดที่ 17,20 และ 21 เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2535สำหรับงานงวดที่ 2,25 และ 26 โดยจำเลยได้ออก ใบรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายให้โจทก์ แต่ต่อมาโจทก์ก็ได้ยื่นคำร้องขอคืนเงินภาษีอากรที่จำเลยหัก ณ ที่จ่าย และนำส่งอำเภอท้องที่จากกรมสรรพากรแล้ว เช่นนี้ การยื่นแบบแสดงรายการการค้าประจำเดือนภาษีกุมภาพันธ์ มีนาคม เมษายนและกรกฎาคม 2535 ดังกล่าวถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้แสดงเจตนาเลือกชำระภาษีการค้าสำหรับรายรับค่าบริการ(ค่าก่อสร้าง) ตามพระราชกฤษฎีกา ออกความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม(ฉบับที่ 249) พ.ศ. 2535 แต่การที่โจทก์มีหนังสือขอแจ้งการใช้สิทธิเลือกเสียภาษีมูลค่าเพิ่มถึงจำเลย ฉบับลงวันที่15 ตุลาคม 2535 และวันที่ 16 พฤศจิกายน 2535 และโจทก์ได้ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มของค่าจ้างสำหรับเดือนภาษีดังกล่าวแก่กรมสรรพากร ตามแบบแสดงการชำระภาษีมูลค่าเพิ่มไปแล้วนั้น ถือได้ว่าเป็นการที่โจทก์ใช้สิทธิเลือกที่จะเสียภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับค่าจ้างที่รับจากจำเลยผู้รับบริการตามมาตรา 82/4 แห่งประมวลรัษฎากร แต่จำเลยไม่ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มแก่โจทก์ และโจทก์ได้ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มของค่าจ้างสำหรับงานงวดที่ 12 ถึง 14 งวดที่ 17 ถึง 30และค่าจ้างที่มีการปรับราคา (ค่าเค) สำหรับงานงวดที่ 10,22,25 และ 26 ให้แก่กรมสรรพากรแล้ว โจทก์จึงมีสิทธิเรียกภาษีมูลค่าเพิ่มที่ได้ชำระดังกล่าวจากจำเลย ค่าก่อสร้างตามสัญญามีภาษีการค้าและภาษีบำรุงท้องถิ่นรวมอยู่เพราะใบเสนอราคาของโจทก์ที่เสนอต่อจำเลยในการประกวดราคาจ้างเหมาก่อสร้างอาคารได้ระบุว่ามีค่าภาษีรวมอยู่ด้วย จึงน่าเชื่อว่าค่าก่อสร้างที่โจทก์คิดจากจำเลยมีภาษีการค้าและภาษีบำรุงท้องถิ่นรวมอยู่ด้วยแต่ในเวลาทำสัญญาจ้างคดีนี้ ไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ทราบว่าจะมีการประกาศใช้พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534 ที่ให้ยกเลิกภาษีการค้าและนำภาษีมูลค่าเพิ่มมาใช้บังคับแทนภาษีการค้า จึงฟังไม่ได้ว่าสัญญาจ้างระหว่างโจทก์และจำเลยได้รวมค่าภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ในค่าก่อสร้าง แต่ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 79ฐานภาษีสำหรับการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มได้แก่มูลค่าทั้งหมดที่ผู้ประกอบการได้รับหรือฟังได้รับจากการขายสินค้าหรือการให้บริการ รวมทั้งภาษีสรรพสามิตภาษีด้วย เมื่อโจทก์ได้รับค่าจ้างซึ่งมีภาษีการค้าและภาษีบำรุงท้องถิ่นรวมอยู่ด้วยการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7 จึงต้องคำนวณจากค่าจ้างซึ่งมีภาษีการค้าและภาษีบำรุงท้องถิ่นรวมอยู่ด้วย ฉะนั้น ที่ศาลภาษีอากรกลางให้นำภาษีการค้าและภาษีบำรุงท้องถิ่นมาหักออกจากค่าจ้างก่อนที่จะคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มจึงไม่ชอบ อย่างไรก็ดีเมื่อค่าจ้างดังกล่าวมีภาษีการค้าและภาษีบำรุงท้องถิ่นอัตราร้อยละ 3.3 รวมอยู่ด้วยทั้งโจทก์ก็มีสิทธิได้รับภาษีดังกล่าวนี้คืนจากกรมสรรพากรเพื่อความเป็นธรรม จึงให้นำภาษีดังกล่าวมาหักออกจากภาษีมูลค่าเพิ่มอัตราร้อยละ 7 คงให้จำเลยรับผิดชำระภาษีมูลค่าเพิ่มเพียงร้อยละ 3.7 ของยอดเงินค่าจ้าง สำหรับค่าจ้างปรับราคา (ค่าเค.) เป็นค่าชดเชยที่ส่วนราชการจ่ายให้แก่ผู้ประกอบการตามมติคณะรัฐมนตรีในช่วงที่เกิดวิกฤติการณ์เกี่ยวกับวัสดุก่อสร้างขึ้นราคาหรือขาดแคลน ไม่ใช่ค่าชดเชยที่อธิบดีกำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรีตามมาตรา 79 วรรคสาม (2) แห่งประมวลรัษฎากรค่าชดเชยดังกล่าวจึงยังถือเป็นมูลค่าของฐานภาษีในการเรียกภาษีมูลค่าเพิ่ม โจทก์จึงมีสิทธิเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7 สำหรับค่าชดเชยดังกล่าวจากจำเลยทั้งนี้โดยไม่หักภาษีการค้าและภาษีบำรุงท้องถิ่นอัตราร้อยละ3.3 ออกจากภาษีมูลค่าเพิ่มอัตราร้อยละ 7 ก่อนคำนวณเพราะค่าจ้างปรับราคาดังกล่าวมิใช่จ้างที่โจทก์เสนอแก่จำเลยตั้งแต่ต้นจึงไม่มีภาษีการค้าและภาษีบำรุงท้องถิ่นรวมอยู่ด้วย โจทก์จะมีสิทธิขอคืนภาษีซื้อหรือนำภาษีซื้อที่ถูกผู้ประกอบการ อื่นที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเรียกเก็บไปแล้วมาหักจาก ภาษีขายได้หรือไม่นั้น เป็นสิทธิของโจทก์ที่มีอยู่ตาม ประมวลรัษฎากร ไม่มีบทบัญญัติใดที่ให้สิทธิแก่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการในอันที่จะเรียกร้องให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนนำภาษีซื้อมาหักออกจากภาษีมูลค่าเพิ่มที่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการมีหน้าที่ต้องชำระ ดังนั้นโจทก์จึงไม่ต้องนำภาษีซื้อไปหักออกจากภาษีมูลค่าเพิ่มที่เรียกจากจำเลย ที่จำเลยอุทธรณ์ว่า จำเลยมิได้ผิดนัดจึงไม่ต้องรับผิดใช้ดอกเบี้ยแก่โจทก์นั้น ในเรื่องดอกเบี้ยจำเลยคงให้การต่อสู้เพียงว่าจำเลยมิได้ผิดสัญญา และไม่มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มจึงไม่ต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์เท่านั้น จำเลยมิได้ต่อสู้ไว้ให้เป็นประเด็นในคำให้การว่า จำเลยมิได้ผิดนัดยังไม่ต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์แต่อย่างใด ดังนั้นอุทธรณ์ของจำเลยข้อนี้ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลภาษีอากรกลาง ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคหนึ่งประกอบด้วย พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 29 ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย หนี้ค่าภาษีที่จำเลยต้องชดใช้แก่โจทก์เป็นหนี้เงินที่โจทก์นำสืบว่าโจทก์ได้กู้เงินจากธนาคารนำไปชำระภาษีมูลค่าเพิ่มโดยเสียดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปีนั้นไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ทราบข้อเท็จจริงดังกล่าว และไม่อาจถือได้ว่าเป็นเหตุอื่นอันชอบด้วยกฎหมายที่โจทก์อาจเรียกดอกเบี้ยจากจำเลยได้ดอกเบี้ยได้สูงกว่าที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 โจทก์จึงเรียกดอกเบี้ยจากจำเลยได้ในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีเท่านั้น โจทก์เพิ่งแจ้งการใช้สิทธิเลือกเสียภาษีมูลค่าเพิ่มและขอเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มที่จำเลยค้างจ่ายนับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2535 ตามหนังสือของโจทก์ฉบับลงวันที่ 15 ตุลาคม 2535 จำเลยได้รับหนังสือของโจทก์ในวันเดียวกัน เมื่อจำเลยไม่ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มแก่โจทก์จึงถือว่าจำเลยผิดนัดชำระหนี้ภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับค่าจ้างของงานงวดที่ 14 งวดที่ 17 ถึง 22 งวดที่ 25 ถึง 26 และค่าจ้างที่มีการปรับราคา (ค่าเค.) สำหรับงานงวดที่ 10ตั้งแต่วันที่ 16 ตุลาคม 2535 ต้องใช้ดอกเบี้ยแก่โจทก์นับตั้งแต่วันดังกล่าวส่วนค่าจ้างสำหรับงานงวดอื่น ๆ ที่ต้องชำระหลังจากวันที่ 15 ตุลาคม 2535 เมื่อจำเลยไม่ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มแก่โจทก์ก็ย่อมถือว่าจำเลยผิดนัดนับตั้งแต่วันที่มีการชำระค่าจ้างจำเลยต้องใช้ดอกเบี้ยสำหรับจำนวนเงินภาษีมูลค่าเพิ่มนั้นนับแต่วันผิดนัดชำระค่าจ้างแต่ละงวด การให้ค่าฤชาธรรมเนียมเป็นพับเป็นดุลพินิจของศาลที่จะพิพากษาเช่นนั้นได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 161 ประกอบด้วย พระราชบัญญัติจัดศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 17ศาลภาษีอากรกลางจึงชอบที่พิพากษาให้ค่าฤชาธรรมเนียมเป็นพับได้ แม้ว่าจะตัดสินให้จำเลยเป็นฝ่ายแพ้คดีก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2320/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทสัญญาขนส่งทางอากาศ, การแข่งขันทางธุรกิจ, และการปิดอากรแสตมป์
โจทก์และจำเลยได้ร่วมดำเนินการขนส่งเอกสารหรือพัสดุภัณฑ์ย่อยทางอากาศ ตามสัญญาให้ดำเนินการแต่เพียงผู้เดียวโดยจำเลยเป็นผู้ดำเนินการในประเทศไทย สัญญานี้ตกลงให้ค่าตอบแทนตามตาราง ก.ว่า จำเลยมีสิทธิได้รับค่าตอบแทนร้อยละ 60 ของรายรับตามที่ได้ออกใบรับให้แก่การขนส่งขาออก และต้องจ่ายค่าตอบแทนให้โจทก์ร้อยละ 40 ของรายรับตามที่ได้ออกใบรับนั้น ทั้งจำเลยต้องดำเนินการจัดส่งสิ่งของที่โจทก์ส่งเข้ามาในประเทศไทยโดยไม่คิดค่าตอบแทน สัญญาฉบับนี้ ตาราง ก.เรื่องค่าใช้จ่ายและค่าตอบแทนกำหนดไว้ว่า โจทก์จะได้รับค่าตอบแทนอัตราร้อยละ 40 ของรายรับตามที่ได้ออกใบรับ (revenues billed) เป็นการตกลงให้โจทก์มีสิทธิจะได้รับส่วนแบ่งตามยอดรายรับตามที่ได้มีการเรียกเก็บเงินโดยไม่จำต้องคำนึงว่าจำเลยจะเก็บเงินได้น้อยกว่าใบรับหรือไม่ จำเลยจึงต้องจ่ายค่าตอบแทนให้แก่โจทก์ตามตัวเลขรายรับที่ได้ออกใบรับทุกรายการ แม้ตามสัญญาข้อ 10จะหมายถึงการเรียกเก็บเงินปลายทางซึ่งคู่สัญญาฝ่ายที่เป็นผู้ส่งของจะต้องรับผิดชอบการเรียกเก็บเงินแม้จะเรียกเก็บเงินไม่ได้ ไม่ได้หมายถึงการเรียกเก็บเงินต้นทางก็ตาม ก็ไม่มีเหตุผลที่จะแปลสัญญาดังกล่าวไปในทางที่ว่าการคำนวณส่วนแบ่งของรายรับตามตาราง ก.เฉพาะกรณีเรียกเก็บเงินต้นทางเท่านั้นที่จะต้องคำนวณจากรายรับที่จำเลยเรียกเก็บได้จริง แต่กรณีเรียกเก็บเงินปลายทาง จำเลยจะให้คำนวณจากรายรับที่ได้ออกใบรับแล้ว โดยไม่คำนึงว่าโจทก์จะเรียกเก็บเงินได้จริงหรือไม่ เพราะไม่มีข้อความใดในตาราง ก. ที่จะแสดงให้เห็นดังกล่าว
ตามสัญญาข้อ 6 ระบุว่าในระหว่างอายุสัญญา คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจะต้องไม่เป็นผู้ดำเนินการรับส่งของให้แก่บุคคลอื่นใดซึ่งประกอบธุรกิจขนส่งทางอากาศอันมีลักษณะเป็นการแข่งขันกับธุรกิจของคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง โดยไม่ได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งก่อน เมื่อปรากฏว่าการขนส่งในช่วงวันที่ 1กรกฎาคม 2533 ถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2534 ซึ่งอยู่ในช่วงอายุสัญญามีบริษัท2 บริษัทรับส่งเอกสารด่วนและพัสดุภัณฑ์ย่อยจากลูกค้าในประเทศไทยไปยังต่างประเทศโดยผ่านบริษัทโจทก์ที่ประเทศสิงคโปร์ ดังนั้น การที่บริษัทโจทก์สำนักงานที่ประเทศสิงคโปร์รับส่งเอกสารด่วนและพัสดุภัณฑ์ย่อยทางอากาศจากบริษัท พ.และบริษัท อ.ซึ่งเป็นบริษัทในประเทศไทยเพื่อส่งต่อไปนั้น แม้บริษัททั้งสองจะไม่ได้ใช้เครื่องหมายการค้าหรือชื่อทางการค้าของโจทก์ในการประกอบธุรกิจก็ตาม แต่บริษัททั้งสองบริษัทดังกล่าวก็ได้อ้างอิงเครื่องหมายการค้าหรือชื่อทางการค้าของโจทก์ในการประกอบธุรกิจด้วย จึงทำให้ผู้ส่งเอกสารด่วนหรือพัสดุภัณฑ์ย่อยทางอากาศในประเทศไทยไม่จำต้องใช้บริการของจำเลย แม้ใช้บริการของบุคคลอื่นก็มีผลทำให้เอกสารด่วนและพัสดุภัณฑ์ย่อยของตนได้รับการขนส่งจากโจทก์จนถึงผู้รับปลายทางในต่างประเทศได้ การกระทำของโจทก์ดังกล่าวจึงถือว่าเป็นการดำเนินการรับส่งของให้แก่บุคคลอื่นซึ่งประกอบธุรกิจขนส่งทางอากาศอันมีลักษณะเป็นการแข่งขันกับธุรกิจของจำเลย ต้องห้ามตามสัญญาข้อ 6 แล้ว
ตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ท้าย ป.รัษฎากร เรื่องใบมอบอำนาจระบุไว้ในข้อ 7 (ข) ว่า มอบอำนาจให้แก่บุคคลเดียวหรือหลายคนร่วมกระทำการมากกว่าครั้งเดียว ค่าอากรแสตมป์ 30 บาท และระบุในข้อ 7 (ค) ว่า มอบอำนาจให้กระทำการมากกว่าครั้งเดียว โดยให้บุคคลหลายคนต่างคนต่างกระทำกิจการแยกกัน คิดตามรายตัวบุคคลคนละ 30 บาท ใบมอบฉันทะพิพาทแม้จะเป็นการมอบอำนาจแก่บุคคลหลายคนก็ตาม แต่เป็นกรณีร่วมกันกระทำการ กล่าวคือ ส.และ/หรืออ.รวมกระทำการฟ้องร้องคดีนี้เพียงกิจการเดียว มิใช่ต่างตนต่างกระทำกิจการแยกกันฟ้องร้องหลายคดี ใบมอบอำนาจให้ฟ้องคดีของโจทก์เช่นนี้จึงปิดอากรแสตมป์เพียง30 บาท ถูกต้องตาม ป.รัษฎากร ข้อ 7 (ข) แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2320/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทสัญญาขนส่งทางอากาศ การประพฤติผิดสัญญา และการหักลบหนี้
โจทก์และจำเลยได้ร่วมดำเนินการขนส่งเอกสารหรือพัสดุภัณฑ์ย่อยทางอากาศตามสัญญาให้ดำเนินการแต่เพียงผู้เดียวโดยจำเลยเป็นผู้ดำเนินการในประเทศไทยสัญญานี้ตกลงให้ค่าตอบแทนตามตารางก.ว่าจำเลยมีสิทธิได้รับค่าตอบแทนร้อยละ60ของรายรับตามที่ได้ออกใบรับให้แก่การขนส่งขาออกและต้องจ่ายค่าตอบแทนให้โจทก์ร้อยละ40ของรายรับตามที่ได้ออกใบรับนั้นทั้งจำเลยต้องดำเนินการจัดส่งสิ่งของที่โจทก์ส่งเข้ามาในประเทศไทยโดยไม่คิดค่าตอบแทนสัญญาฉบับนี้ตารางก. เรื่องค่าใช้จ่ายและค่าตอบแทนกำหนดไว้ว่าโจทก์จะได้รับค่าตอบแทนอัตราร้อยละ40ของรายรับตามที่ได้ออกใบรับ(revenuesbilled)เป็นการตกลงให้โจทก์มีสิทธิจะได้รับส่วนแบ่งตามยอดรายรับตามที่ได้มีการเรียกเก็บเงินโดยไม่จำต้องคำนึงว่าจำเลยจะเก็บเงินได้น้อยกว่าใบรับหรือไม่จำเลยจึงต้องจ่ายค่าตอบแทนให้แก่โจทก์ตามตัวเลขรายรับที่ได้ออกใบรับทุกรายการแม้ตามสัญญาข้อ10จะหมายถึงการเรียกเก็บเงินปลายทางซึ่งคู่สัญญาฝ่ายที่เป็นผู้ส่งของจะต้องรับผิดชอบการเรียกเก็บเงินแม้จะเรียกเก็บเงินไม่ได้ไม่ได้หมายถึงการเรียกเก็บเงินต้นทางก็ตามก็ไม่มีเหตุผลที่จะแปลสัญญาดังกล่าวไปในทางที่ว่าการคำนวณส่วนแบ่งของรายรับตามตารางก.เฉพาะกรณีเรียกเก็บเงินต้นทางเท่านั้นที่จะต้องคำนวณจากรายรับที่จำเลยเรียกเก็บได้จริงแต่กรณีเรียกเก็บเงินปลายทางจำเลยจะให้คำนวณจากรายรับที่ได้ออกใบรับแล้วโดยไม่คำนึงว่าโจทก์จะเรียกเก็บเงินได้จริงหรือไม่เพราะไม่มีข้อความใดในตารางก.ที่จะแสดงให้เห็นดังกล่าว ตามสัญญาข้อ6ระบุว่าในระหว่างอายุสัญญาคู่สัญญาแต่ละฝ่ายจะต้องไม่เป็นผู้ดำเนินการรับส่งของให้แก่บุคคลอื่นใดซึ่งประกอบธุรกิจขนส่งทางอากาศอันมีลักษณะเป็นการแข่งขันกับธุรกิจของคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งโดยไม่ได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งก่อนเมื่อปรากฎว่าการขนส่งในช่วงวันที่1กรกฎาคม2533ถึงวันที่31กรกฎาคม2534ซึ่งอยู่ในช่วงอายุสัญญามีบริษัท2บริษัทรับส่งเอกสารด่วนและพัสดุภัณฑ์ย่อยจากลูกค้าในประเทศไทยไปยังต่างประเทศโดยผ่านบริษัทโจทก์ที่ประเทศสิงคโปร์ ดังนั้นการที่บริษัทโจทก์สำนักงานที่ประเทศสิงคโปร์รับส่งเอกสารด่วนและพัสดุภัณฑ์ย่อยทางอากาศจากบริษัทพ.และบริษัทอ.ซึ่งเป็นบริษัทในประเทศไทยเพื่อส่งต่อไปนั้นแม้บริษัททั้งสองจะไม่ได้ใช้เครื่องหมายการค้าหรือชื่อทางการค้าของโจทก์ในการประกอบธุรกิจก็ตามแต่บริษัททั้งสองบริษัทดังกล่าวก็ได้อ้างอิงเครื่องหมายการค้าหรือชื่อทางการค้าของโจทก์ในการประกอบธุรกิจด้วยจึงทำให้ผู้ส่งเอกสารด่วนหรือพัสดุภัณฑ์ย่อยทางอากาศในประเทศไทยไม่จำต้องใช้บริษัทของจำเลยแม้ใช้บริการของบุคคลอื่นก็มีผลทำให้เอกสารด่วนและพัสดุภัณฑ์ย่อยของตนได้รับการขนส่งจากโจทก์จนถึงผู้รับปลายทางในต่างประเทศได้การกระทำของโจทก์ดังกล่าวจึงถือว่าเป็นการดำเนินการรับส่งของให้แก่บุคคลอื่นซึ่งประกอบธุรกิจขนส่งทางอากาศอันมีลักษณะเป็นการแข่งขันกับธุรกิจของจำเลยต้องห้ามตามสัญญาข้อ6แล้ว ตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ท้ายประมวลรัษฎากรเรื่องใบมอบอำนาจระบุไว้ในข้อ7(ข)ว่ามอบอำนาจให้แก่บุคคลเดียวหรือหลายคนร่วมกระทำการมากกว่าครั้งเดียวค่าอากรแสตมป์30บาทและระบุในข้อ7(ค)ว่ามอบอำนาจให้กระทำการมากกว่าครั้งเดียวโดยให้บุคคลหลายคนต่างคนต่างกระทำกิจการแยกกันคิดตามรายตัวบุคคลคนละ30บาทใบมอบฉันทะพิพาทแม้จะเป็นการมอบอำนาจแก่บุคคลหลายคนก็ตามแต่เป็นกรณีร่วมกันกระทำการกล่าวคือส.และ/หรืออ.รวมกระทำการฟ้องร้องคดีนี้เพียงกิจการเดียวมิใช่ต่างคนต่างกระทำกิจการแยกกันฟ้องร้องหลายคดีใบมอบอำนาจให้ฟ้องคดีของโจทก์เช่นนี้จึงปิดอากรแสตมป์เพียง30บาทถูกต้องตามประมวลรัษฎากรข้อ7แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2227/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์รวม การรุกล้ำที่ดิน และสิทธิเหนือพื้นดิน: ข้อพิพาทระเบียง-ประตูพิพาท
ส.พี่สามีโจทก์และจำเลยเป็นผู้สร้างระเบียงพิพาทในขณะที่โฉนดที่ดินเลขที่ 74801 ยังมิได้แบ่งแยกเป็นโฉนดที่ดินเลขที่ 131180 ของโจทก์และ 131181 ของจำเลย โดย ส.มีความประสงค์จะใช้ระเบียงพิพาทชั้นบนเป็นที่นั่งเล่นและชั้นล่างเป็นที่จอดรถ การสร้างระเบียงพิพาทมิใช่เจตนารมณ์ของสามีโจทก์ส่วนการสร้างประตูพิพาท แม้สามีโจทก์และจำเลยร่วมกันทำขึ้น แต่เมื่อที่ดินโฉนดที่ดินเลขที่ 7481 ส่วนของสามีโจทก์โอนมาเป็นของโจทก์ และโจทก์เห็นว่าการมีประตูพิพาทก่อให้เกิดความเดือดร้อนและไม่สะดวกแก่โจทก์ในการใช้ที่ดินโฉนดที่ดินเลขที่ 74801เป็นทางเข้าออกสู่ทางสาธารณะ โจทก์ย่อมขอให้รื้อถอนประตูพิพาทได้ ไม่เป็นการขัดต่อสิทธิของจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของรวม แม้จำเลยจะมีสิทธิใช้ที่ดินดังกล่าวในฐานะเป็นเจ้าของรวมโดยให้ระเบียงและประตูพิพาทยังคงอยู่ต่อไปเพื่อประโยชน์แก่จำเลย แต่การใช้นั้นจะต้องไม่ขัดต่อสิทธิของโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของรวมในที่ดินดังกล่าวด้วย เมื่อระเบียงและประตูพิพาททำให้โจทก์ได้รับความเดือดร้อนไม่สะดวกในการใช้ที่ดินเป็นทางเข้าออกสู่ทางสาธารณะเมื่อโจทก์ประสงค์จะต่อเติมบ้าน แต่ไม่สามารถขนวัสดุและอุปกรณ์ลอดใต้ระเบียงเข้าไปได้ ทั้งยังเป็นอุปสรรคต่อการขายที่ดินและบ้านของโจทก์ เพราะทำให้ไม่ได้รับความสนใจจากผู้ซื้อ การมีระเบียงและประตูพิพาทในที่ดินซึ่งโจทก์และจำเลยเป็นเจ้าของรวม จึงเป็นการขัดต่อสิทธิของโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของรวมคนหนึ่ง หาใช่เป็นการขัดต่อสิทธิของจำเลยไม่
ภาระจำยอมเหนือที่ดินแปลงหนึ่งจะเกิดขึ้นได้ก็เพื่อประโยชน์แก่ที่ดินแปลงอื่นเท่านั้น เมื่อที่ดินที่จำเลยขอให้จดทะเบียนภาระจำยอมเป็นที่ดินที่จำเลยเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย การที่จำเลยใช้ที่ดินส่วนหนึ่งเป็นระเบียงและประตูพิพาทเพื่อประโยชน์ของจำเลยเป็นเรื่องจำเลยใช้ทรัพย์สินซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์รวมแม้จะฟังว่าจำเลยใช้มานาน 20 ปี ก็ไม่ก่อให้เกิดภาระจำยอมเหนือที่ดินที่จำเลยเป็นเจ้าของรวม
ผู้ทรงสิทธิเหนือพื้นดินต้องเป็นบุคคลอื่น หาใช่เจ้าของที่ดินไม่จำเลยซึ่งเป็นเจ้าของรวมในที่ดินจึงไม่อาจเป็นผู้ทรงสิทธิเหนือพื้นดินในที่ดินดังกล่าวได้ นอกจากนี้สิทธิเหนือพื้นดินซึ่งเป็นทรัพย์สิทธิอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์จะได้มาก็แต่โดยนิติกรรมเท่านั้น ไม่อาจได้มาโดยอายุความ และการได้มาโดยนิติกรรมนั้นตาม ป.พ.พ.มาตรา 1299 วรรคหนึ่ง จะต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่มิฉะนั้นไม่บริบูรณ์
ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1362 ที่บัญญัติให้เจ้าของรวมคนหนึ่ง ๆจำต้องช่วยเจ้าของรวมคนอื่น ๆ ตามส่วนของตนในการออกค่าจัดการค่าภาษีอากรและค่ารักษา กับทั้งค่าใช้ทรัพย์สินรวมกันด้วยนั้น เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า ทรัพย์สินที่เป็นของโจทก์และจำเลยคือที่ดิน มิใช่ระเบียงพิพาท โจทก์จึงไม่ต้องช่วยจำเลยออกค่าใช้จ่ายในการรื้อถอนระเบียงพิพาท
ศาลชั้นต้นไม่รับฟ้องแย้งของจำเลยเกี่ยวกับค่าเสียหาย จำเลยอุทธรณ์ แต่ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับอุทธรณ์ในส่วนนี้เพราะจำเลยไม่นำค่าขึ้นศาลในอนาคตมาชำระภายในกำหนด จำเลยไม่อุทธรณ์คัดค้านคำสั่งดังกล่าว ดังนี้ แม้ศาลชั้นต้นจะรับฎีกาตามฟ้องแย้งของจำเลยเกี่ยวกับค่าเสียหาย ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้เพราะมิใช่เป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์
ฎีกาของจำเลยที่อ้างว่า โจทก์เปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์การใช้กรรมสิทธิ์รวมโดยจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของรวมมิได้เห็นชอบด้วยตาม ป.พ.พ.มาตรา 1358 วรรคท้าย และขัดต่อมาตรา 1361 กับที่อ้างว่าระเบียงและประตูพิพาทที่สร้างรุกล้ำที่ดินอันเป็นเจ้าของรวม ควรปรับบทตาม ป.พ.พ.มาตรา 1312โดยให้จำเลยเป็นเจ้าของสิ่งปลูกสร้างดังกล่าว แต่ต้องเสียเงินให้แก่โจทก์เป็นค่าใช้ที่ดินนั้น เป็นข้อที่จำเลยมิได้ยกขึ้นต่อสู้เป็นประเด็นในคำให้การและฟ้องแย้งจึงมิใช่เป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ และมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาไม่วินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 210/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทสัญญาซื้อขายเสาเข็มและการชดใช้ค่าเสียหายจากการตอกเสาเข็มผิดพลาด
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระราคาค่าเสาเข็มที่จำเลยสั่งซื้อจากโจทก์รวม 2 ขนาด จำนวน 14 ต้น จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่าจำเลยสั่งซื้อเสาเข็มจากโจทก์อีกจำนวนหนึ่ง ซึ่งมิใช่เสาเข็มที่โจทก์ฟ้องพร้อมกับจ้างโจทก์ตอกเสาเข็มที่จำเลยสั่งซื้อจากโจทก์นั้นด้วย แต่โจทก์ตอกเสาเข็มที่จำเลยสั่งซื้อดังกล่าวผิดตำแหน่งที่กำหนดไป 10 ต้น เป็นเพราะความผิดของโจทก์ โจทก์และจำเลยจึงตกลงกันให้จำเลยสั่งเสาเข็มมาตอกให้ใหม่โดยไม่ต้องชำระราคาและค่าตอกเสาเข็มอีก เสาเข็มจำนวน10 ต้น ที่โจทก์กล่าวในคำฟ้องเป็นเสาที่ส่งมาทดแทนการตอกผิดพลาดของโจทก์รวมกับที่จำเลยสั่งมาใหม่อีก 4 ต้น จำเลยชำระค่าเสาเข็มและค่าตอกไปเกินกว่าราคาที่จำเลยต้องชำระแก่โจทก์ และเสาเข็มที่โจทก์ตอกนั้นหักและเอียงจากแนวตั้งฉาก 29 ต้น จำเลยแจ้งให้โจทก์แก้ไขแต่โจทก์เพิกเฉยจำเลยจึงต้องจ้างให้ผู้อื่นมาดำเนินการต้องเสียค่าใช้จ่ายรวมทั้งเสาเข็มที่จำเลยสั่งซื้อใหม่ 4 ต้น โจทก์ก็ไม่ยอมยกลงจากรถยนต์บรรทุกเพื่อส่งมอบตามสัญญาจำเลยต้องจ้างผู้อื่นมาดำเนินการทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น เมื่อหักกลบลบกันโจทก์ต้องชำระเงินแก่จำเลย จึงขอให้พิพากษายกฟ้องโจทก์ และให้โจทก์ชดใช้ค่าเสียหายแก่จำเลยพร้อมทั้งดอกเบี้ย จะเห็นได้ว่ามูลคดีที่โจทก์ฟ้องและที่จำเลยฟ้องแย้งเกิดจากสัญญาซื้อขายเสาเข็ม แม้ตามฟ้องแย้งจะได้กล่าวถึงสัญญาจ้างตอกเสาเข็มด้วย แต่เสาเข็มตามจำนวนที่โจทก์ฟ้องก็เป็นส่วนหนึ่งของเสาเข็มที่จำเลยสั่งซื้อจากโจทก์นั่นเอง เมื่อจำเลยให้การต่อสู้ว่าจำเลยไม่ต้องชำระค่าเสาเข็มจำนวน 10 ต้น นั้น เนื่องจากเป็นเสาเข็มที่โจทก์จะต้องรับผิดชอบในการตอกเสาเข็มที่ผิดจากตำแหน่งที่กำหนดให้ เป็นเสาเข็มที่โจทก์ส่งมาทดแทน ส่วนอีก 4 ต้น ที่จำเลยสั่งซื้อเพิ่มเติมก็เกี่ยวเนื่องกับการตอกเสาเข็มที่ผิดพลาดจึงต้องตอกเสาเข็มเพิ่มขึ้น และเมื่อนำมาส่งแล้วโจทก์ไม่ยอมยกลงมาจากรถยนต์ที่บรรทุกมาอันเป็นการผิดสัญญาทำให้จำเลยได้รับความเสียหาย จึงเป็นฟ้องแย้งที่เกี่ยวข้องกับคำฟ้องเดิมมิใช่เรื่องอื่น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1415/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำท้าพิพาทมรดก: การท้าความถูกต้องของทรัพย์มรดกที่ไม่ใช่ข้อเท็จจริงที่จำเลยยอมรับ ย่อมไม่ขัดต่อกฎหมาย
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์เป็นทายาทคนหนึ่งที่มีสิทธิรับมรดกของนางตุ้น ผู้ซึ่งถึงแก่ความตายเมื่อวันที่18มีนาคม2525โดยมิได้นำพินัยกรรมหรือตั้งผู้จัดการมรดกไว้และจำเลยเป็นผู้จัดการมรดกของนางตุ้นตามคำสั่งศาลแต่จำเลยไม่แบ่งทรัพย์มรดกให้แก่โจทก์ขอให้บังคับจำเลยแบ่งทรัพย์มรดกให้แก่โจทก์ตามส่วนและให้กำจัดจำเลยมิให้รับมรดกจำเลยให้การต่อสู้คดีว่านางตุ้นยกที่พิพาทให้แก่จำเลยต. พ. และส.แล้วตั้งแต่ปี2518ขณะนางตุ้น ยังมีชีวิตอยู่และจำเลยต. พ.และส. ต่างครอบครองที่พิพาทตามส่วนของตนที่นางตุ้นยกให้ติดต่อกันมาตั้งแต่ปี2518จนถึงปี2533หลังจากนางตุ้นตายแล้วจำเลยจึงยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของนางตุ้นต่อศาลก็เพื่อเปลี่ยนชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์ทางทะเบียนจากนางตุ้น มาเป็นจำเลยต. พ. และส. เท่านั้นไม่เกี่ยวกับทายาทอื่นอันเป็นการให้การว่าที่พิพาทเป็นของจำเลยต.พ. และส. แล้วไม่ใช่ทรัพย์มรดกของนางตุ้น ปัญหาที่ว่าที่พิพาทเป็นทรัพย์มรดกของนางตุ้นหรือไม่จึงเป็นปัญหาที่โจทก์และจำเลยยังโต้เถียงกันอยู่มิได้เป็นข้อเท็จจริงที่จำเลยยอมรับแล้วซึ่งในการที่จะวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทตามที่ศาลชั้นต้นชี้สองสถานไว้ก็ต้องวินิจฉัยถึงปัญหาดังกล่าวด้วยการที่คู่ความหยิบยกเอาปัญหาดังกล่าวมาท้ากันจึงไม่ขัดต่อกฎหมายไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนทั้งในการท้ากันก็ไม่จำต้องท้ากันตรงตามประเด็นข้อพิพาทที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้คำท้าดังกล่าวไม่เป็นโมฆะ คู่ความตกลงท้ากันว่าถ้าย. ล. ผ. ส. นายวินนายวัน และถ. สาบานต่อหน้าศาลแล้วตอบคำถามศาลถ้ามี4คนขึ้นไปยื่นยันว่าที่ดินดังกล่าวเป็นมรดกของนางตุ้นจำเลยยอมแพ้ถ้ามี4คนขึ้นไปยืนยันว่าไม่ใช่มรดกของนางตุ้นโจทก์ยอมแพ้ถ้าไม่มีบุคคลใดยอมสาบานและไม่ยืนยันว่าที่ดินดังกล่าวเป็นมรดกของนางตุ้น หรือไม่ก็ให้ถือเสียงข้างมากแทนปรากฎว่าย. และนายวัน สาบานและตอบคำถามศาลว่าที่ดินดังกล่าวจะเป็นทรัพย์มรดกของนางตุ้นหรือไม่ไม่ทราบล. ผ.ส. และนายวิน สาบานและตอบคำถามศาลว่าที่ดินดังกล่าวไม่ใช่ทรัพย์มรดกของนางตุ้น ส่วนถ. สาบานตนและตอบคำถามศาลว่าที่ดินดังกล่าวเป็นมรดกของนางตุ้น ดังนี้ที่ศาลล่างทั้งสองให้โจทก์แพ้คดีตามคำท้าชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1114/2540 เวอร์ชัน 5 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตอำนาจฟ้อง: ข้อพิพาททางภาระจำยอมแยกจากข้อพิพาทกรรมสิทธิ์ที่ดิน
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยเปิดทางพิพาทซึ่งอยู่ในที่ดินของจำเลยอ้างว่าเป็นทางภาระจำยอม จำเลยให้การว่าทางพิพาทดังกล่าวมิใช่ทางภาระจำยอมจึงเป็นกรณีที่โจทก์จำเลยพิพาทกันเฉพาะทางพิพาทว่าเป็นทางภาระจำยอมหรือไม่เท่านั้น แม้ฟ้องโจทก์จะอ้างว่าทางพิพาทอยู่ในที่ดินของจำเลยและจำเลยได้นำชี้อ้างว่าทางพิพาทอยู่ในเขตที่ดินของจำเลย ก็ถือไม่ได้ว่าโจทก์และจำเลยมีข้อพิพาทเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในที่ดินดังกล่าวนอกเหนือจากเรื่องทางภาระจำยอมไปด้วยแต่อย่างใดไม่ การที่จำเลยนำชี้เขตที่ดินในการทำแผนที่พิพาทว่าที่ดินตามกรอบสีแดงในแผนที่พิพาทเป็นของตน และจำเลยร่วมคัดค้านว่าที่ดินตามกรอบสีเขียวในแผนที่พิพาทเป็นของจำเลยร่วม ก็เป็นกรณีที่จำเลยร่วมถูกโต้แย้งสิทธิในความเป็นเจ้าของที่ดิน ซึ่งมิได้เป็นข้อพิพาทระหว่างโจทก์และจำเลยในคดีนี้ด้วยโจทก์จึงหามีสิทธิที่จะขอให้ศาลหมายเรียกจำเลยร่วมเข้ามาเป็นคู่ความในคดีนี้ได้ไม่แต่เป็นกรณีที่จำเลยและจำเลยร่วมชอบที่จะต้องนำปัญหาดังกล่าวไปฟ้องร้องเป็นคดีใหม่โดยตั้งประเด็นพิพาทเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในที่ดินตามกรอบสีเขียวโดยเฉพาะต่อไป การที่ศาลชั้นต้นหมายเรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดีและศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยในประเด็นที่เกี่ยวกับสิทธิในที่ดินตามกรอบสีเขียวระหว่างจำเลยทั้งสองกับจำเลยร่วมนอกเหนือจากเรื่องทางภาระจำยอมมาด้วยนั้น จึงเป็นการไม่ชอบปัญหาดังกล่าวเป็นเรื่องอำนาจฟ้องอันเป็นปัญหาที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามป.วิ.พ.มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246, 247 และให้ยกคำพิพากษาศาลชั้นต้นและคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในส่วนที่วินิจฉัยเกี่ยวกับสิทธิครอบครองในที่ดินตามกรอบสีเขียวในแผนที่พิพาทระหว่างจำเลยทั้งสองกับจำเลยร่วม ยกฎีกาจำเลยร่วม แต่ไม่ตัดสิทธิจำเลยทั้งสองและจำเลยร่วมที่จะไปฟ้องร้องกันใหม่ในเรื่องเกี่ยวกับสิทธิครอบครองในที่ดินตามกรอบสีเขียวในแผนที่พิพาทต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9325/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงอนุญาโตตุลาการ: โจทก์ฟ้องศาลโดยไม่ผ่านอนุญาโตตุลาการก่อน ศาลขาดอำนาจพิจารณา
โจทก์จำเลยทำสัญญาจ้างทำของไว้โดยมีข้อตกลงว่า หากมี กรณีพิพาทอันเกิดจากการปฏิบัติงานตามสัญญานี้ คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายตกลงให้มีการชี้ขาดโดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยประเทศไทยเป็นอนุญาโตตุลาการ ตามข้อความดังกล่าว เป็นการตกลงให้มีการระงับข้อพิพาทโดยทางอนุญาโตตุลาการ โจทก์จำต้อง ปฏิบัติตามสัญญา เมื่อโจทก์ฟ้องคดีโดยมิได้เสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการก่อน โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9237/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์ข้อเท็จจริงในคดีล้มละลาย: การนำสืบพยานเพื่อหักล้างข้อตกลงกู้เงินที่ไม่เป็นธรรม
จำเลยทั้งสองให้การว่าโจทก์มอบเงินให้จำเลยที่1นำไปให้บุคคลภายนอกกู้โดยคิดดอกเบี้ยอัตราระหว่างร้อยละ7ถึง25ต่อเดือนแล้วแบ่งผลประโยชน์กันสัญญากู้เงินตามฟ้องโจทก์นำเงินมาให้จำเลยที่1ปล่อยกู้เพียง375,000บาทแต่โจทก์นำดอกเบี้ยอัตราร้อยละ25ต่อเดือนเป็นเวลา1ปีเป็นเงิน1,125,000บาทมารวมเข้ากับต้นเงินดังกล่าวเป็นเงิน1,500,000บาทแล้วให้จำเลยที่1ทำสัญญากู้เงินโดยมีจำเลยที่2เป็นผู้ค้ำประกันไว้เป็นหลักประกันจำเลยที่1ได้ขายบ้านพร้อมที่ดินของจำเลยที่1ชำระหนี้แทนโจทก์ให้แก่ส.ไปแล้วจำนวน250,000บาทส่วนที่เหลือจำเลยที่1ก็ชำระคืนให้แก่โจทก์ครบถ้วนแล้วคำให้การของจำเลยทั้งสองดังกล่าวจำเลยทั้งสองย่อมนำสืบพยานบุคคลหักล้างได้ว่าสัญญากู้เงินดังกล่าวไม่ถูกต้องสมบูรณ์ทั้งหมดไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา94วรรคท้ายนอกจากนี้การที่ห้ามนำสืบพยานบุคคลเพื่อให้มีผลเป็นการเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสารอันเป็นการตัดรอนมิให้ศาลรับฟังพยานหลักฐานดังกล่าวย่อมขัดต่อพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483อันเป็นกฎหมายพิเศษที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนซึ่งกำหนดให้เป็นหน้าที่ของศาลที่จะต้องพิจารณาเอาความจริงให้ได้ว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัวจริงหรือไม่จำเลยทั้งสองชอบที่จะนำสืบพยานดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6857/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทการเช่าซื้อรถยนต์: การชำระค่าเช่าซื้อครบถ้วนและการโอนกรรมสิทธิ์
คดีที่โจทก์ จำเลยที่ 1 และที่ 2 โต้เถียงกันว่า จำเลยที่ 1และที่ 2 ได้โอนสิทธิการเช่าซื้อให้แก่โจทก์หรือไม่ และโจทก์ได้ชำระค่าเช่าซื้อครบถ้วนแล้วหรือไม่ หากศาลพิพากษาให้โจทก์ชนะคดี โจทก์ย่อมได้กรรมสิทธิ์ในรถยนต์พิพาท ส่วนคำขอท้ายฟ้องที่ขอให้จำเลยร่วมกันโอนใส่ชื่อโจทก์ในสมุดคู่มือทะเบียนรถยนต์พิพาทนั้นเป็นเพียงผลจากการที่ศาลได้พิพากษาว่าโจทก์มีกรรมสิทธิ์ในรถยนต์พิพาทนั่นเอง จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ อันได้แก่ราคารถยนต์นั่นเอง ซึ่งไม่เกินสองแสนบาท จึงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248วรรคหนึ่ง
การที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ให้การต่อสู้ว่าไม่เคยโอนสิทธิการเช่าซื้อรถยนต์พิพาทให้แก่โจทก์ โจทก์ชำระเงินให้จำเลยเป็นค่าเช่ารถยนต์และชำระหนี้มิใช่ค่าเช่าซื้อนั้นก็เท่ากับปฏิเสธอยู่ในตัวว่าโจทก์ไม่ได้ชำระค่าเช่าซื้อรถยนต์พิพาท และศาลชั้นต้นก็ได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้ว่าโจทก์ชำระค่าเช่าซื้อให้แก่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ครบถ้วนแล้วหรือไม่ จึงชอบที่ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์ยังชำระค่าเช่าซื้อไม่ครบถ้วน และยกขึ้นเป็นเหตุยกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1 ได้
of 49