พบผลลัพธ์ทั้งหมด 405 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3829/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าเช่าล่วงหน้าและการคำนวณค่าเช่าเพื่อข้อยกเว้นการฎีกา
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยผู้เช่าออกจากตึก 5 ชั้นที่พิพาท อันมีค่าเช่าที่ตกลงในขณะทำสัญญาวันที่ 13 มกราคม 2526 กำหนดอัตรากันไว้เดือนละ500 บาท และจำเลยมิได้กล่าวแก้เป็นข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์ หรือมิได้ยกข้อโต้เถียงในเรื่องแปลความหมายแห่งข้อความในสัญญาที่ก่อให้เกิดสิทธิอยู่บนอสังหา-ริมทรัพย์นั้น และขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องขับไล่ยังอยู่ในอายุสัญญาเช่าที่จำเลยได้ทำไว้โดยจำเลยได้ชำระเงินค่าจองตามที่ระบุไว้ในหนังสือสัญญาจองเช่าอาคารจำนวน1,620,000 บาท ให้แก่โจทก์ เพื่อให้จำเลยมีสิทธิได้จดทะเบียนเช่าอยู่ในตึกพิพาทมีกำหนดระยะยาวนานเป็นเวลา 25 ปี 6 เดือน 7 วัน เงินค่าจองเช่าจำนวน1,620,000 บาทดังกล่าว เป็นเงินที่ทำให้จำเลยสามารถมีสิทธิได้อยู่ในห้องเช่าของโจทก์ตามกำหนดเวลาที่ตกลงจดทะเบียนเช่ากันไว้ จึงเป็นส่วนหนึ่งของค่าเช่าที่ชำระไว้ล่วงหน้าให้โจทก์ โจทก์จึงมีสิทธินำเงินค่าจองเช่าอาคารนี้มาคำนวณแล้วคิดเฉลี่ยเป็นค่าเช่ารายเดือนตามระยะเวลาเช่าที่กำหนดไว้ได้ แล้วนำเงินค่าเช่ารายเดือนเดือนละ 500 บาท ตามสัญญามารวม ซึ่งเมื่อคิดเฉลี่ยแล้วเป็นเงินค่าเช่าเกินเดือนละ 5,000 บาท จึงไม่ต้องห้ามโจทก์ฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248 วรรคสองเดิม ที่ใช้บังคับอยู่ในเวลาที่โจทก์ยื่นฎีกา คือ วันที่ 31 กรกฎาคม2534 (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 5/2540)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3815/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดจากงานก่อสร้าง - ผู้รับประกันภัยต้องรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดจากการกระทำละเมิดของผู้เอาประกัน แม้มีข้อยกเว้น
โจทก์ก่อสร้างบ้านอยู่ในกรุงเทพมหานครอันเป็นเมืองหลวงของประเทศมีประชาชนอยู่หนาแน่น มีอาคารบ้านเรือนอาคารพาณิชย์และสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ปลูกอยู่อย่างแออัดที่ดินที่ตั้งบ้านโจทก์อยู่ใกล้กับถนนรัชดาภิเษกตัดกับถนนลาดพร้าว เป็นย่านที่มีความเจริญมาก ที่ดินมีเนื้อที่ว่างน้อยและราคาแพง จึงต้องมีการก่อสร้างอาคารสูงมากขึ้นเพื่อใช้ประโยชน์ให้ได้มากที่สุด การที่โจทก์ก่อสร้างบ้านในทำเลดังกล่าวจึงควรคิดหรือคาดหมายได้ว่าอาจมีผู้มาก่อสร้างอาคารสูงใกล้กับบ้านโจทก์เป็นเหตุให้บังทิศทางลม แสงสว่าง และทัศนียภาพที่มองจากบ้านโจทก์ อันเป็นไปตามปกติและมีเหตุอันควรอยู่แล้ว ดังนั้น แม้จำเลยก่อสร้างอาคารเป็นผนังทึบไม่มีช่องระบายลมก็ตาม แต่กระแสลมและแสงสว่างยังคงพัดผ่านและส่องมายังบ้านโจทก์ได้พอสมควร ประกอบกับโจทก์ก็ตั้งใจจะติดตั้งเครื่องปรับอากาศในบ้านของโจทก์อยู่แล้ว เพราะสภาพอากาศที่ร้อนอบอ้าวในกรุงเทพมหานคร เพื่อความสะดวกสบายของโจทก์เองหาใช่เพราะการก่อสร้างอาคารของจำเลยทำให้อากาศร้อนอบอ้าวไม่ ทั้งการที่จำเลยก่อสร้างอาคารสูงบังบ้านโจทก์ก็หาเป็นการใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะทำให้เกิดเสียหายแก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 421 ไม่ เพราะกรณีตามมาตรา 421 จะต้องเป็นเรื่องของการแกล้งโดยผู้กระทำมุ่งต่อผลคือความเสียหายแก่ผู้อื่นถ่ายเดียว แต่ถ้าเป็นการกระทำโดยประสงค์ต่อผลอันเป็นธรรมดาของสิทธินั้น แม้ผู้กระทำจะเห็นว่าผู้อื่นจะได้รับความเสียหายบ้างก็ไม่เป็นละเมิด เมื่อไม่ปรากฏว่าการก่อสร้างอาคารนั้นจำเลยได้กระทำเพื่อกลั่นแกล้งโจทก์โดยมุ่งต่อความเสียหายแก่โจทก์ถ่ายเดียว การใช้สิทธิของจำเลยในการก่อสร้างและดัดแปลงอาคารจึงถือไม่ได้ว่าเป็นการอันมิชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา 421 กรณีไม่มีเหตุที่จะรื้อถอนอาคารของจำเลยและกำหนดค่าขาดประโยชน์จากการใช้สอยอาคารให้โจทก์
จำเลยร่วมที่ 1 ใช้เพียงเสาไม้ปักกั้นดินไว้ เมื่อมีฝนตกดินในบ้านโจทก์จึงเคลื่อนตัวผ่านช่องว่างระหว่างเสาไม้ลงไปในหลุมที่จำเลยร่วมที่ 1 ขุดทำให้ดินในเขตบ้านโจทก์ทรุดเป็นเหตุให้รั้วบ้าน ผนังหินล้างและพื้นซีเมนต์รอบบ้านโจทก์แตกร้าว เมื่อปรากฏว่าอาคารของจำเลยและบ้านโจทก์ต่างก็ปลูกห่างจากแนวรั้วถึง 2 เมตร จำเลยร่วมที่ 1 ชอบที่จะสร้างเครื่องป้องกันคลุมอาคารของจำเลยด้านที่ใกล้กับบ้านโจทก์ เพื่อป้องกันมิให้วัสดุก่อสร้างหรือน้ำปูนซีเมนต์ตกหล่นมาถูกบ้านโจทก์เสียหาย โดยไม่ต้องทำล้ำเข้ามาในเขตที่ดินของโจทก์ได้ แต่จำเลยร่วมที่ 1 ก็หาได้ทำไม่ จำเลยร่วมที่ 1 จึงกระทำละเมิดต่อโจทก์
แม้กรมธรรม์ประกันภัยจะกำหนดข้อยกเว้นความรับผิดของผู้รับประกันภัยว่า"ผู้รับประกันภัยจะไม่ชดใช้ค่าเสียหายแก่ผู้เอาประกันภัยในความเสียหายต่อทรัพย์สินหรือที่ดินหรืออาคารใดอันเกิดเนื่องจากการสั่นสะเทือนหรือการเคลื่อนไหวหรือฐานรากที่อ่อนแอหรือความบาดเจ็บหรือความเสียหายต่อบุคคลหรือทรัพย์สินใด ๆ อันเกิดจากความเสียหายเช่นว่านั้นใด ๆ" ก็ตาม แต่สาเหตุสำคัญที่ทำให้บ้านโจทก์ได้รับความเสียหายเกิดจากการกระทำละเมิดของจำเลยร่วมที่ 1 ที่ขุดหลุมโดยไม่มีมาตรการป้องกันการพังทลายของดินที่ดีพอเป็นเหตุให้ดินในเขตบ้านโจทก์ทรุดตัวลงไปในหลุมที่จำเลยร่วมที่ 1 ขุดทำให้บ้านโจทก์ได้รับความเสียหาย เช่นนี้ถือไม่ได้ว่าเป็นเหตุตามข้อยกเว้นความรับผิดดังกล่าวที่จำเลยร่วมที่ 2 จะอ้างเพื่อที่จะไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ และตามกรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าวจำเลยร่วมที่ 2 ตกลงรับประกันภัยเพื่อความวินาศภัยอันเกิดขึ้นแก่บุคคลภายนอกด้วย เป็นสัญญาประกันภัยค้ำจุนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 887ดังนั้น เมื่อจำเลยร่วมที่ 1 ทำละเมิดต่อโจทก์เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย โจทก์ชอบที่จะได้รับค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยร่วมที่ 2 ผู้รับประกันภัยโดยตรง ส่วนการที่จำเลยร่วมที่ 1 ปฏิบัติผิดเงื่อนไขในกรมธรรม์ประกันภัยในข้อที่ไม่แจ้งเหตุให้จำเลยร่วมที่ 2ทราบภายใน 14 วัน นับจากวันที่เหตุดังกล่าวเกิดขึ้นก็เป็นเรื่องระหว่างจำเลยร่วมทั้งสองที่จำเลยร่วมที่ 2 จะว่ากล่าวเอาแก่จำเลยร่วมที่ 1 ผู้เป็นคู่สัญญาประกันภัยด้วยกัน จำเลยร่วมที่ 2 จะยกเป็นเหตุปฏิเสธความรับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้มีสิทธิเรียกร้องตามสัญญาประกันภัยดังกล่าวหาได้ไม่
จำเลยร่วมที่ 1 ใช้เพียงเสาไม้ปักกั้นดินไว้ เมื่อมีฝนตกดินในบ้านโจทก์จึงเคลื่อนตัวผ่านช่องว่างระหว่างเสาไม้ลงไปในหลุมที่จำเลยร่วมที่ 1 ขุดทำให้ดินในเขตบ้านโจทก์ทรุดเป็นเหตุให้รั้วบ้าน ผนังหินล้างและพื้นซีเมนต์รอบบ้านโจทก์แตกร้าว เมื่อปรากฏว่าอาคารของจำเลยและบ้านโจทก์ต่างก็ปลูกห่างจากแนวรั้วถึง 2 เมตร จำเลยร่วมที่ 1 ชอบที่จะสร้างเครื่องป้องกันคลุมอาคารของจำเลยด้านที่ใกล้กับบ้านโจทก์ เพื่อป้องกันมิให้วัสดุก่อสร้างหรือน้ำปูนซีเมนต์ตกหล่นมาถูกบ้านโจทก์เสียหาย โดยไม่ต้องทำล้ำเข้ามาในเขตที่ดินของโจทก์ได้ แต่จำเลยร่วมที่ 1 ก็หาได้ทำไม่ จำเลยร่วมที่ 1 จึงกระทำละเมิดต่อโจทก์
แม้กรมธรรม์ประกันภัยจะกำหนดข้อยกเว้นความรับผิดของผู้รับประกันภัยว่า"ผู้รับประกันภัยจะไม่ชดใช้ค่าเสียหายแก่ผู้เอาประกันภัยในความเสียหายต่อทรัพย์สินหรือที่ดินหรืออาคารใดอันเกิดเนื่องจากการสั่นสะเทือนหรือการเคลื่อนไหวหรือฐานรากที่อ่อนแอหรือความบาดเจ็บหรือความเสียหายต่อบุคคลหรือทรัพย์สินใด ๆ อันเกิดจากความเสียหายเช่นว่านั้นใด ๆ" ก็ตาม แต่สาเหตุสำคัญที่ทำให้บ้านโจทก์ได้รับความเสียหายเกิดจากการกระทำละเมิดของจำเลยร่วมที่ 1 ที่ขุดหลุมโดยไม่มีมาตรการป้องกันการพังทลายของดินที่ดีพอเป็นเหตุให้ดินในเขตบ้านโจทก์ทรุดตัวลงไปในหลุมที่จำเลยร่วมที่ 1 ขุดทำให้บ้านโจทก์ได้รับความเสียหาย เช่นนี้ถือไม่ได้ว่าเป็นเหตุตามข้อยกเว้นความรับผิดดังกล่าวที่จำเลยร่วมที่ 2 จะอ้างเพื่อที่จะไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ และตามกรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าวจำเลยร่วมที่ 2 ตกลงรับประกันภัยเพื่อความวินาศภัยอันเกิดขึ้นแก่บุคคลภายนอกด้วย เป็นสัญญาประกันภัยค้ำจุนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 887ดังนั้น เมื่อจำเลยร่วมที่ 1 ทำละเมิดต่อโจทก์เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย โจทก์ชอบที่จะได้รับค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยร่วมที่ 2 ผู้รับประกันภัยโดยตรง ส่วนการที่จำเลยร่วมที่ 1 ปฏิบัติผิดเงื่อนไขในกรมธรรม์ประกันภัยในข้อที่ไม่แจ้งเหตุให้จำเลยร่วมที่ 2ทราบภายใน 14 วัน นับจากวันที่เหตุดังกล่าวเกิดขึ้นก็เป็นเรื่องระหว่างจำเลยร่วมทั้งสองที่จำเลยร่วมที่ 2 จะว่ากล่าวเอาแก่จำเลยร่วมที่ 1 ผู้เป็นคู่สัญญาประกันภัยด้วยกัน จำเลยร่วมที่ 2 จะยกเป็นเหตุปฏิเสธความรับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้มีสิทธิเรียกร้องตามสัญญาประกันภัยดังกล่าวหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2105/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของนายจ้างต่อการกระทำละเมิดของผู้ขับรถในทางการจ้าง และข้อยกเว้นความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัย
ปัญหาว่าเหตุรถชนเกิดจากความประมาทเลินเล่อของเจ้าพนักงานตำรวจฝ่ายเดียวหรือเจ้าพนักงานตำรวจมีส่วนประมาทเลินเล่อมากกว่าจำเลยที่1ซึ่งศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยให้นั้นจำเลยที่3ได้ยกปัญหาข้อนี้ต่อสู้ไว้ในคำให้การแม้ในชั้นอุทธรณ์จำเลยที่3จะไม่ได้อุทธรณ์เพราะจำเลยที่3ชนะคดีในศาลชั้นต้นแต่เมื่อโจทก์อุทธรณ์ให้จำเลยที่3ร่วมรับผิดจำเลยที่3ก็ยกปัญหาข้อนี้ต่อสู้ไว้ในคำแก้อุทธรณ์ดังนั้นเมื่อศาลอุทธรณ์ฟังว่าจำเลยที่3ต้องร่วมรับผิดศาลอุทธรณ์จะต้องวินิจฉัยในปัญหาข้อนี้ด้วยที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยปัญหาข้อนี้โดยอ้างว่าจำเลยที่3ไม่ได้อุทธรณ์จึงไม่ชอบ เจ้าพนักงานตำรวจทางหลวงขับรถยนต์วิทยุตำรวจทางหลวงติดตามจับกุมจำเลยที่1ที่ขับรถฝ่าฝืนกฎจราจรจำเลยที่1กลับขับรถส่ายไปมาและยกกระบะท้ายรถให้หินเกล็ดที่บรรทุกร่วงหล่นลงมากีดขวางเส้นทางจราจรเจ้าพนักงานตำรวจทางหลวงขับแซงรถยนต์ที่จำเลยที่1ขับไปได้ครึ่งคันจำเลยที่1ก็หักรถเข้ามาชนรถยนต์วิทยุตำรวจทางหลวงเป็นเหตุให้รถยนต์วิทยุตำรวจทางหลวงเสียหลักขวางถนนจึงถูกรถยนต์ที่จำเลยที่1ขับชนซ้ำอีกครั้งทำให้รถยนต์วิทยุตำรวจทางหลวงตกลงไปในคลองดังนี้เหตุรถชนกันจึงเกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่1ฝ่ายเดียว ขณะเกิดเหตุรถยนต์ชนเป็นเวลาที่อยู่ระหว่างจำเลยที่1ขับรถหลบหนี้เจ้าพนักงานตำรวจเพื่อไปให้ถึงจุดหมายปลายทางของจำเลยที่2ผู้เป็นนายจ้างประสงค์แม้การกระทำของจำเลยที่1ในขณะเดียวกันนั้นจะเป็นการกระทำผิดกฎหมายอาญาในข้อหาต่างๆด้วยก็เป็นการกระทำความผิดในทางอาญาโดยลำพังส่วนความรับผิดของจำเลยที่1ในทางแพ่งที่จำเลยที่1กระทำโดยประมาทเลินเล่อขับรถชนรถยนต์วิทยุตำรวจทางหลวงจนได้รับความเสียหายนั้นยังเป็นการกระทำที่อยู่ในทางการที่จ้างของจำเลยที่2ซึ่งจำเลยที่2จะต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่1 รถยนต์ของจำเลยที่2ซึ่งจำเลยที่3เป็นผู้รับประกันคันเกิดเหตุขณะเกิดเหตุได้ทำการบรรทุกหินไปตามถนนโดยไม่ปรากฏว่าใช้รถยนต์ดังกล่าวบรรทุกสิ่งของใดๆที่ผิดกฎหมายหรือจำเลยที่1และที่2มีเจตนามาแต่แรกที่จะใช้รถยนต์คันดังกล่าวกระทำผิดกฎหมายแม้จำเลยที่1ผู้ขับจะขับรถผิดกฎจราจรและต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่อันเป็นความผิดอาญาก็เป็นการกระทำต่างหากจากการใช้รถยนต์บรรทุกหินโดยชอบและเหตุที่รถยนต์ชนกันเกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่1ผู้ขับรถยนต์บรรทุกดังกล่าวโดยลำพังถือไม่ได้ว่าการใช้รถยนต์คันเกิดเหตุเป็นการใช้ในทางที่ผิดกฎหมายตามที่ระบุในกรมธรรม์ประกันภัยอันจะทำให้จำเลยที่3ได้รับยกเว้นไม่ต้องรับผิดแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1746/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อยกเว้นในสัญญาประกันภัย: การขับขี่โดยไม่มีใบอนุญาต ทำให้ผู้รับประกันภัยไม่ต้องรับผิด
ความรับผิดของจำเลยที่ 3 ที่มีต่อโจทก์เกิดขึ้นตามสัญญาประกันภัยค้ำจุนระหว่างจำเลยที่ 2 กับจำเลยที่ 3 ตามกรมธรรม์ประกันภัยมีเงื่อนไขยกเว้นความรับผิดของจำเลยที่ 3 ว่า การประกันภัยไม่คุ้มครองถึงความรับผิดอันเกิดจากการขับขี่โดยบุคคลที่ไม่เคยได้รับใบอนุญาตขับรถยนต์ใด ๆและจำเลยที่ 1 ขับรถยนต์คันที่เอาประกันภัยในขณะเกิดเหตุโดยไม่มีใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ เมื่อความรับผิดของจำเลยที่ 3 ผู้รับประกันภัยที่มีต่อโจทก์เกิดขึ้นตามสัญญาประกันภัยค้ำจุนระหว่างจำเลยที่ 2 กับจำเลยที่ 3 และโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 3ให้รับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนร่วมกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 โดยอาศัยมูลหนี้ตามสัญญาดังกล่าว ดังนี้จำเลยที่ 3 ย่อมยกเงื่อนไข ข้อยกเว้น และข้อจำกัดความรับผิดของตนที่กำหนดไว้ในสัญญาขึ้นต่อสู้กับโจทก์ได้ เว้นแต่เงื่อนไข ข้อยกเว้น หรือข้อจำกัดความรับผิดดังกล่าวจะขัดต่อกฎหมาย แต่เมื่อข้อยกเว้นความรับผิดของจำเลยที่ 3 ตามกรมธรรม์ประกันภัยไม่ขัดต่อกฎหมายและมีผลบังคับได้ การที่จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์คันที่เอาประกันภัยในขณะเกิดเหตุโดยไม่มีใบอนุญาตขับขี่รถยนต์อันเป็นการผิดเงื่อนไขตามกรมธรรม์ประกันภัย จำเลยที่ 3 จึงไม่ต้องรับผิดต่อจำเลยที่ 2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1746/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อยกเว้นความรับผิดในสัญญาประกันภัย ผู้รับประกันภัยยกข้อยกเว้นได้หากไม่ขัดกฎหมายและมีผลบังคับใช้
ความรับผิดของจำเลยที่ 3 ที่มีต่อโจทก์เกิดขึ้นตามสัญญาประกันภัยค้ำจุนระหว่างจำเลยที่ 2กับจำเลยที่ 3 ตามกรมธรรม์ประกันภัยมีเงื่อนไขยกเว้นความรับผิดของจำเลยที่ 3 ว่า การประกันภัยไม่คุ้มครองถึงความรับผิดอันเกิดจากการขับขี่โดยบุคคลที่ไม่เคยได้รับใบอนุญาตขับรถยนต์ใด ๆ และจำเลยที่ 1 ขับรถยนต์คันที่เอาประกันภัยในขณะเกิดเหตุโดยไม่มีใบอนุญาตขับขี่รถยนต์เมื่อความรับผิดของจำเลยที่ 3 ผู้รับประกันภัยที่มีต่อโจทก์เกิดขึ้นตามสัญญาประกันภัยค้ำจุนระหว่างจำเลยที่ 2กับจำเลยที่ 3 และโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 3 ให้รับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนร่วมกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 โดยอาศัยมูลหนี้ตามสัญญาดังกล่าวดังนี้จำเลยที่ 3 ย่อมยกเงื่อนไข ข้อยกเว้น และข้อจำกัดความรับผิดของตนที่กำหนดไว้ในสัญญาขึ้นต่อสู้กับโจทก์ได้เว้นแต่เงื่อนไข ข้อยกเว้น หรือข้อจำกัดความรับผิดดังกล่าวจะขัดต่อกฎหมาย แต่เมื่อข้อยกเว้นความรับผิดของจำเลยที่ 3ตามกรมธรรม์ประกันภัยไม่ขัดต่อกฎหมายและมีผลบังคับได้ การที่จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์ค้นที่เอาประกันภัยในขณะเกิดเหตุโดยไม่มีใบอนุญาตขับขี่รถยนต์อันเป็นการผิดเงื่อนไขตามกรมธรรม์ประกันภัย จำเลยที่ 3 จึงไม่ต้องรับผิดต่อจำเลยที่ 2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1746/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อยกเว้นความรับผิดในสัญญาประกันภัย การยกข้อยกเว้นต่อบุคคลภายนอกเมื่อผู้ขับขี่ไม่มีใบอนุญาต
ความรับผิดของจำเลยที่3ที่มีต่อโจทก์เกิดขึ้นตามสัญญาประกันภัยค้ำจุนระหว่างจำเลยที่2กับจำเลยที่3ตามกรมธรรม์ประกันภัยมีเงื่อนไขยกเว้นความรับผิดของจำเลยที่3ว่าการประกันภัยไม่คุ้มครองถึงความรับผิดอันเกิดจากการขับขี่โดยบุคคลที่ไม่เคยได้รับใบอนุญาตขับรถยนต์ใดๆและจำเลยที่1ขับรถยนต์คันที่เอาประกันภัยในขณะเกิดเหตุโดยไม่มีใบอนุญาตขับขี่รถยนต์เมื่อความรับผิดของจำเลยที่3ผู้รับประกันภัยที่มีต่อโจทก์เกิดขึ้นตามสัญญาประกันภัยค้ำจุนระหว่างจำเลยที่2กับจำเลยที่3และโจทก์ฟ้องจำเลยที่3ให้รับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนร่วมกับจำเลยที่1และที่2โดยอาศัยมูลหนี้ตามสัญญาดังกล่าวดังนี้จำเลยที่3ย่อมยกเงื่อนไขข้อยกเว้นและข้อจำกัดความรับผิดของตนที่กำหนดไว้ในสัญญาขึ้นต่อสู้กับโจทก์ได้เว้นแต่เงื่อนไขข้อยกเว้นหรือข้อจำกัดความรับผิดดังกล่าวจะขัดต่อกฎหมายแต่เมื่อข้อยกเว้นความรับผิดของจำเลยที่3ตามกรมธรรม์ประกันภัยไม่ขัดต่อกฎหมายและมีผลบังคับได้การที่จำเลยที่1ขับรถยนต์ค้นที่เอาประกันภัยในขณะเกิดเหตุโดยไม่มีใบอนุญาตขับขี่รถยนต์อันเป็นการผิดเงื่อนไขตามกรมธรรม์ประกันภัยจำเลยที่3จึงไม่ต้องรับผิดต่อจำเลยที่2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1416/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อยกเว้นอายุความจำนอง: ดอกเบี้ยค้างชำระคิดย้อนหลังได้ 5 ปี แม้หนี้ประธานไม่ขาดอายุความ
การจำนองทรัพย์สินเพื่อเป็นประกันหนี้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา193/27และมาตรา745บัญญัติเป็นข้อยกเว้นว่าแม้หนี้ที่ประกันหรือหนี้ประธานจะขาดอายุความแล้วก็ยังบังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินที่จำนองได้แต่ดอกเบี้ยที่ค้างให้คิดย้อนหลังขึ้นไปได้เพียงห้าปีหากหนี้ประธานไม่ขาดอายุความสิทธิเรียกร้องดอกเบี้ยที่ค้างชำระก็มีกำหนดอายุความห้าปีเช่นกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา193/33(1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 960/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองที่ดินในเขตป่าสงวน การทำไม้หวงห้าม และข้อยกเว้นความผิด
แม้ผ. จะได้ครอบครองที่ดินก่อนวันที่กฎกระทรวงกำหนดให้เป็นเขตป่าสงวนแห่งชาติประกาศใช้แต่ผ. มิได้ยื่นคำร้องต่อนายอำเภอท้องที่ภายใน90วันนับแต่วันที่กฎกระทรวงดังกล่าวใช้บังคับจึงถือว่าผ. สละสิทธิหรือประโยชน์ในที่ดินดังกล่าวแล้วผ. จึงไม่มีสิทธิโอนที่ดินส่วนนี้ให้จำเลยการที่จำเลยเข้ายึดถือครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินดังกล่าวจึงมีความผิด โจทก์นำสืบไม่ได้ความชัดว่าไม้พลวงไม้เขว้าและไม้มะค่าแต้ขึ้นอยู่ในหรือนอกเขตที่ดินที่จำเลยมีสิทธิครอบครองจึงต้องยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้แก่จำเลยโดยฟังข้อเท็จจริงว่าไม้ดังกล่าวขึ้นอยู่ในที่ดินที่จำเลยแจ้งการครอบครองจึงมิใช่ไม้หวงห้ามแม้จำเลยตัดฟันแปรรูปและมีไว้ในครอบครองในเขตควบคุมการแปรรูปไม้จำเลยก็ไม่มีความผิด ไม้ยางนั้นไม่ว่าจะขึ้นอยู่ณที่ใดในราชอาณาจักรก็เป็นไม้หวงห้ามทั้งสิ้นแต่โจทก์ไม่มีพยานรู้เห็นว่าจำเลยตัดฟันไม้ยางจึงต้องยกประโยชน์แห่งความสงสัยแก่จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 82/2539 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อยกเว้นภาษีป้ายตาม พ.ร.บ.ภาษีป้าย พ.ศ.2510: ป้ายต้องแสดงภายในสถานที่ประกอบการค้าหรืออาคารเท่านั้น
ตามพ.ร.บ.ภาษีป้าย พ.ศ.2510 มาตรา 8 (5) ป้ายที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีป้ายจะต้องเป็นป้ายที่แสดงไว้ภายในสถานที่ประกอบการค้าหรือเป็นป้ายที่แสดงไว้ภายในสถานที่ประกอบกิจการอื่นเพื่อหารายได้หรือเป็นป้ายที่แสดงไว้ภายในอาคารซึ่งเป็นที่รโหฐาน เว้นแต่จะเป็นป้ายตามกฎหมายว่าด้วยทะเบียนพาณิชย์จะก็ไม่ได้รับยกเว้น เพราะข้อความตอนท้ายของมาตรา 8 (5) ไม่รวมถึงป้ายดังกล่าว ดังนั้น หากไม่ใช่ป้ายที่แสดงไว้ภายในสถานที่ประกอบการค้าหรือประกอบกิจการอื่นเพื่อหารายได้หรือภายในอาคารซึ่งเป็นที่รโหฐานแล้ว แม้จะเป็นป้ายตามกฎหมายว่าด้วยทะเบียนพาณิชย์หรือไม่ก็ตาม ก็ไม่เข้าข้อยกเว้นที่จะไม่ต้องเสียภาษีป้ายมาตรา 8 (5) ดังกล่าว
ป้ายพิพาทสามารถมองเห็นได้จากภายนอกสถานที่ประกอบการค้าหรือสถานที่ประกอบกิจการอื่นเพื่อหารายได้และเป็นป้ายที่แสดงไว้ภายนอกอาคาร ป้ายดังกล่าวแม้จะติดตั้งไว้ภายในรั้วของโจทก์ บนหลังคาอาคาร ผนังภายนอกอาคารหรือบริเวณของสถานที่ประกอบการค้าหรือสถานที่ประกอบกิจการอื่นเพื่อหารายได้ ก็หาเป็นป้ายที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีป้ายตามมาตรา 8 (5)แห่ง พ.ร.บ.ภาษีป้าย พ.ศ.2510 เพราะบทมาตราดังกล่าวมุ่งประสงค์ยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีป้ายเฉพาะป้ายที่แสดงไว้ภายในสถานที่ประกอบการค้าหรือประกอบกิจการอื่นเพื่อหารายได้หรือภายในอาคารอันเป็นที่รโหฐานเท่านั้น กล่าวคือ ต้องเป็นป้ายที่ไม่สามารถมองเห็นได้จากภายนอกของสถานที่ประกอบการค้าหรือประกอบกิจการอื่นเพื่อหารายได้หรือจากภายนอกอาคาร
ส่วนปัญหาที่จำเลยทั้งสองอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาของศาลภาษีอากรกลางที่วินิจฉัยว่า ป้ายพิพาทไม่เป็นป้ายตาม พ.ร.บ.ทะเบียนพาณิชย์พ.ศ.2499 มาตรา 15 นั้น เมื่อวินิจฉัยแล้วว่าป้ายพิพาทไม่ใช่ป้ายที่แสดงไว้ภายในสถานที่ประกอบการค้าหรือประกอบกิจการอื่นเพื่อหารายได้หรือภายในอาคารซึ่งเป็นที่รโหฐานแล้ว จึงไม่จำต้องวินิจฉัยว่าป้ายพิพาทเป็นป้ายตามกฎหมายว่าด้วยทะเบียนพาณิชย์อีก เพราะไม่ทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลง
ป้ายพิพาทสามารถมองเห็นได้จากภายนอกสถานที่ประกอบการค้าหรือสถานที่ประกอบกิจการอื่นเพื่อหารายได้และเป็นป้ายที่แสดงไว้ภายนอกอาคาร ป้ายดังกล่าวแม้จะติดตั้งไว้ภายในรั้วของโจทก์ บนหลังคาอาคาร ผนังภายนอกอาคารหรือบริเวณของสถานที่ประกอบการค้าหรือสถานที่ประกอบกิจการอื่นเพื่อหารายได้ ก็หาเป็นป้ายที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีป้ายตามมาตรา 8 (5)แห่ง พ.ร.บ.ภาษีป้าย พ.ศ.2510 เพราะบทมาตราดังกล่าวมุ่งประสงค์ยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีป้ายเฉพาะป้ายที่แสดงไว้ภายในสถานที่ประกอบการค้าหรือประกอบกิจการอื่นเพื่อหารายได้หรือภายในอาคารอันเป็นที่รโหฐานเท่านั้น กล่าวคือ ต้องเป็นป้ายที่ไม่สามารถมองเห็นได้จากภายนอกของสถานที่ประกอบการค้าหรือประกอบกิจการอื่นเพื่อหารายได้หรือจากภายนอกอาคาร
ส่วนปัญหาที่จำเลยทั้งสองอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาของศาลภาษีอากรกลางที่วินิจฉัยว่า ป้ายพิพาทไม่เป็นป้ายตาม พ.ร.บ.ทะเบียนพาณิชย์พ.ศ.2499 มาตรา 15 นั้น เมื่อวินิจฉัยแล้วว่าป้ายพิพาทไม่ใช่ป้ายที่แสดงไว้ภายในสถานที่ประกอบการค้าหรือประกอบกิจการอื่นเพื่อหารายได้หรือภายในอาคารซึ่งเป็นที่รโหฐานแล้ว จึงไม่จำต้องวินิจฉัยว่าป้ายพิพาทเป็นป้ายตามกฎหมายว่าด้วยทะเบียนพาณิชย์อีก เพราะไม่ทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 82/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ป้ายนอกอาคาร ไม่เข้าข้อยกเว้นภาษี ป้ายตามกฎหมายทะเบียนพาณิชย์ก็ไม่ได้รับยกเว้น
ตามพระราชบัญญัติภาษีป้าย พ.ศ. 2510 มาตรา 8(5) ป้ายที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีป้ายจะต้องเป็นป้ายที่แสดงไว้ภายในสถานที่ประกอบการค้าหรือเป็นป้ายที่แสดงไว้ภายในสถานที่ประกอบกิจการอื่นเพื่อหารายได้หรือเป็นป้ายที่แสดงไว้ภายในอาคารซึ่งเป็นที่รโหฐาน เว้นแต่จะเป็นป้ายตามกฎหมายว่าด้วยทะเบียนพาณิชย์จะก็ไม่ได้รับยกเว้นเพราะข้อความตอนท้ายของมาตรา 8(5) ไม่รวมถึงป้ายดังกล่าว ดังนั้น หากไม่ใช่ป้ายที่แสดงไว้ภายในสถานที่ประกอบการค้าหรือประกอบกิจการอื่นเพื่อหารายได้หรือภายในอาคารซึ่งเป็นที่รโหฐานแล้ว แม้จะเป็นป้ายตามกฎหมายว่าด้วยทะเบียนพาณิชย์หรือไม่ก็ตาม ก็ไม่เข้าข้อยกเว้นที่จะไม่ต้องเสียภาษีป้ายมาตรา 8(5) ดังกล่าว
ป้ายพิพาทสามารถมองเห็นได้จากภายนอกสถานที่ประกอบการค้าหรือสถานที่ประกอบกิจการอื่นเพื่อหารายได้และเป็นป้ายที่แสดงไว้ภายนอกอาคาร ป้ายดังกล่าวแม้จะติดตั้งไว้ภายในรั้วของโจทก์ บนหลังคาอาคาร ผนังภายนอกอาคารหรือบริเวณของสถานที่ประกอบการค้าหรือสถานที่ประกอบกิจการอื่นเพื่อหารายได้ ก็หาเป็นป้ายที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีป้ายตามมาตรา 8(5) แห่งพระราชบัญญัติภาษีป้าย พ.ศ. 2510 เพราะบทมาตราดังกล่าวมุ่งประสงค์ยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีป้ายเฉพาะป้ายที่แสดงไว้ภายในสถานที่ประกอบการค้าหรือประกอบกิจการอื่นเพื่อหารายได้หรือภายในอาคารอันเป็นที่รโหฐานเท่านั้น กล่าวคือ ต้องเป็นป้ายที่ไม่สามารถมองเห็นได้จากภายนอกของสถานที่ประกอบการค้าหรือประกอบกิจการอื่นเพื่อหารายได้หรือจากภายนอกอาคาร
ส่วนปัญหาที่จำเลยทั้งสองอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาของศาลภาษีอากรกลางที่วินิจฉัยว่า ป้ายพิพาทไม่เป็นป้ายตามพระราชบัญญัติทะเบียนพาณิชย์ พ.ศ. 2499มาตรา 15 นั้น เมื่อวินิจฉัยแล้วว่าป้ายพิพาทไม่ใช่ป้ายที่แสดงไว้ภายในสถานที่ประกอบการค้าหรือประกอบกิจการอื่นเพื่อหารายได้หรือภายในอาคารซึ่งเป็นที่รโหฐานแล้ว จึงไม่จำต้องวินิจฉัยว่าป้ายพิพาทเป็นป้ายตามกฎหมายว่าด้วยทะเบียนพาณิชย์อีก เพราะไม่ทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลง
ป้ายพิพาทสามารถมองเห็นได้จากภายนอกสถานที่ประกอบการค้าหรือสถานที่ประกอบกิจการอื่นเพื่อหารายได้และเป็นป้ายที่แสดงไว้ภายนอกอาคาร ป้ายดังกล่าวแม้จะติดตั้งไว้ภายในรั้วของโจทก์ บนหลังคาอาคาร ผนังภายนอกอาคารหรือบริเวณของสถานที่ประกอบการค้าหรือสถานที่ประกอบกิจการอื่นเพื่อหารายได้ ก็หาเป็นป้ายที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีป้ายตามมาตรา 8(5) แห่งพระราชบัญญัติภาษีป้าย พ.ศ. 2510 เพราะบทมาตราดังกล่าวมุ่งประสงค์ยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีป้ายเฉพาะป้ายที่แสดงไว้ภายในสถานที่ประกอบการค้าหรือประกอบกิจการอื่นเพื่อหารายได้หรือภายในอาคารอันเป็นที่รโหฐานเท่านั้น กล่าวคือ ต้องเป็นป้ายที่ไม่สามารถมองเห็นได้จากภายนอกของสถานที่ประกอบการค้าหรือประกอบกิจการอื่นเพื่อหารายได้หรือจากภายนอกอาคาร
ส่วนปัญหาที่จำเลยทั้งสองอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาของศาลภาษีอากรกลางที่วินิจฉัยว่า ป้ายพิพาทไม่เป็นป้ายตามพระราชบัญญัติทะเบียนพาณิชย์ พ.ศ. 2499มาตรา 15 นั้น เมื่อวินิจฉัยแล้วว่าป้ายพิพาทไม่ใช่ป้ายที่แสดงไว้ภายในสถานที่ประกอบการค้าหรือประกอบกิจการอื่นเพื่อหารายได้หรือภายในอาคารซึ่งเป็นที่รโหฐานแล้ว จึงไม่จำต้องวินิจฉัยว่าป้ายพิพาทเป็นป้ายตามกฎหมายว่าด้วยทะเบียนพาณิชย์อีก เพราะไม่ทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลง