พบผลลัพธ์ทั้งหมด 278 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1161/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขรก.ครูทุจริตวัสดุราชการจากการก่อสร้างต่อเติมอาคารวิทยาลัยอาชีวศึกษา
จำเลยทั้งสองเป็นข้าราชการครูได้รับมอบหมายจากผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคนิค ร. ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาให้มีหน้าที่ควบคุมการก่อสร้างต่อเติมวิทยาลัยอาชีวศึกษา ส. ซึ่งเป็นงานราชการของวิทยาลัยเทคนิค ร. จึงมีฐานะเป็นเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ควบคุมการก่อสร้างปรับปรุงต่อเติมอาคารวิทยาลัย ส. ดูแลรักษาวัสดุที่เหลือใช้จากการก่อสร้างอาคารดังกล่าวเมื่อจำเลยทั้งสองให้ ก. นำเหล็กวัสดุที่เหลือใช้ไปเก็บไว้ที่ร้านของ ก. และให้ ก. เอาวัสดุดังกล่าวไปเสียเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบและเป็นการแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้เป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริตเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา157
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7281/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขรก.ทำเอกสารเท็จแจ้งเกิด-เพิ่มชื่อในทะเบียนบ้าน มีความผิดตามมาตรา 157 และ 162(4) เป็นกรรมเดียว
จำเลยเป็นข้าราชการสังกัดกรมการปกครองประจำที่ทำการปกครอง มีหน้าที่เกี่ยวกับงานทะเบียนราษฎร ได้กรอกข้อความในสูติบัตรและรับรองการแจ้งเกิดอันเป็นเท็จแล้วเพิ่มชื่อบุคคลลงในทะเบียนบ้านเป็นการกระทำด้วยเจตนาเพื่อวัตถุประสงค์เดียวกันเป็นการกระทำกรรมเดียว การที่จำเลยจัดทำเอกสารเกี่ยวกับทะเบียนบ้านโดยฝ่าฝืนระเบียบที่กรมการปกครองกำหนดข้อบังคับไว้ ได้ชื่อว่าเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายโดยเฉพาะอย่างยิ่งแก่ราชการกรมการปกครองอยู่ในตัว เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5025/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกันข้าราชการไปศึกษาต่อ: การผิดสัญญาเกิดจากการไม่กลับเข้ารับราชการตามคำสั่ง ไม่ใช่การถูกสั่งให้ออก
ปัญหาว่าการที่ พ. ไม่สามารถกลับเข้ารับราชการได้เพราะโจทก์มีคำสั่งให้ออกจากราชการ เนื่องจากการกระทำผิดวินัยก่อนจำเลยทำสัญญาค้ำประกันนั้นเมื่อปรากฏตามสัญญาข้าราชการไปศึกษาต่อภายในประเทศในสัญญาข้อ 5 มีข้อความว่า "เมื่อข้าพเจ้าสำเร็จการศึกษาแล้วก็ดีหรือการศึกษาของข้าพเจ้าต้องยุติลงด้วยประการใด ๆ ก็ดี ข้าพเจ้าสัญญาว่า จะกลับมาปฏิบัติราชการตามคำสั่งของทางราชการทันที ฯลฯ" และ ข้อ 7 มีข้อความว่า "ถ้าข้าพเจ้าผิดสัญญาข้อ 5 ข้าพเจ้ายินยอมชดใช้เงินแก่กรมการศึกษานอกโรงเรียน ดังต่อไปนี้ ก.ถ้าข้าพเจ้าไม่กลับเข้าปฏิบัติราชการเลย ข้าพเจ้ายอมชดใช้เงินทุน หรือเงินเดือนทั้งหมด ฯลฯ" เห็นได้ว่า วัตถุประสงค์ของสัญญาข้อ 5 และ 7 มีความมุ่งหมายว่าหาก พ.สำเร็จการศึกษา หรือการศึกษายุติลงด้วยประการใด ๆ แล้ว พ.ไม่ยอมกลับเข้ารับราชการตามคำสั่งจึงจะถือว่าผิดสัญญา เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าโจทก์เป็นผู้สั่งให้ พ.ออกจากราชการ จึงไม่ใช่กรณีที่ พ.ไม่ยอมกลับเข้ารับราชการตามคำสั่ง
ตามสัญญาในข้อ 9 ที่มีข้อความว่า "ในระหว่างที่ข้าพเจ้าได้รับอนุญาตให้ไปศึกษาต่อ หรือในระหว่างที่ข้าพเจ้ากลับเข้าปฏิบัติราชการต่อไปตามที่กล่าวในข้อ 5 ข้าพเจ้าประพฤติผิดวินัยจนถึงถูกไล่ออก ปลดออก หรือออกจากราชการข้าพเจ้ายินยอมชดใช้เงินและเบี้ยปรับ" นั้น มุ่งหมายถึง ความประพฤติของ พ.นับแต่วันทำสัญญาเป็นต้นไป มิได้มุ่งหมายถึงความประพฤติในอดีตแต่อย่างใด การที่โจทก์สั่งให้ พ.ออกจากราชการ ก็เนื่องเพราะความประพฤติผิดวินัยของ พ.ซึ่งเกิดขึ้นก่อนวันทำสัญญา ดังนั้นจึงไม่อาจถือได้ว่า พ.ผิดสัญญาดังกล่าว เมื่อ พ. ไม่ต้องรับผิดตามสัญญาจำเลยซึ่งเป็นผู้ค้ำประกัน พ. จึงไม่ต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกัน
ตามสัญญาในข้อ 9 ที่มีข้อความว่า "ในระหว่างที่ข้าพเจ้าได้รับอนุญาตให้ไปศึกษาต่อ หรือในระหว่างที่ข้าพเจ้ากลับเข้าปฏิบัติราชการต่อไปตามที่กล่าวในข้อ 5 ข้าพเจ้าประพฤติผิดวินัยจนถึงถูกไล่ออก ปลดออก หรือออกจากราชการข้าพเจ้ายินยอมชดใช้เงินและเบี้ยปรับ" นั้น มุ่งหมายถึง ความประพฤติของ พ.นับแต่วันทำสัญญาเป็นต้นไป มิได้มุ่งหมายถึงความประพฤติในอดีตแต่อย่างใด การที่โจทก์สั่งให้ พ.ออกจากราชการ ก็เนื่องเพราะความประพฤติผิดวินัยของ พ.ซึ่งเกิดขึ้นก่อนวันทำสัญญา ดังนั้นจึงไม่อาจถือได้ว่า พ.ผิดสัญญาดังกล่าว เมื่อ พ. ไม่ต้องรับผิดตามสัญญาจำเลยซึ่งเป็นผู้ค้ำประกัน พ. จึงไม่ต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3362/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้าราชการรับเงินเดือนสองตำแหน่งโดยมิชอบ เป็นลาภมิควรได้ ฟ้องคืนได้เฉพาะส่วนที่ยังไม่ขาดอายุความ
เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2517 จำเลยได้รับบรรจุเป็นข้าราชการครู สังกัดกรุงเทพมหานคร โดยรับเงินเดือนในอัตราของตำแหน่งครูต่อมาจำเลยได้สอบคัดเลือกเข้ารับการบรรจุเป็นข้าราชการครูสังกัดกรมสามัญศึกษาโจทก์ตั้งแต่วันที่ 15 พฤษภาคม 2518 โดยรับเงินเดือนในอัตราชั้นตรี โดยจำเลยได้เงินเดือนสองตำแหน่งตลอดมาจนจำเลยออกจากราชการของกรุงเทพมหานครเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2521 ตามพระราชกฤษฎีกา ว่าด้วยการจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จ บำนาญและเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน พ.ศ. 2505 มาตรา 28 บัญญัติให้ข้าราชการรับเงินเดือนได้เพียงตำแหน่งเดียวนั้น หมายความรวมทั้งกรณีที่ข้าราชการผู้นั้นได้ไปปฏิบัติหน้าที่ทั้งสองตำแหน่งหรือหลายตำแหน่งด้วย และถึงแม้การไปดำรงตำแหน่งมากกว่าหนึ่งตำแหน่งของจำเลยจะมิได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีก่อน ก็ไม่ทำให้จำเลยมีสิทธิที่จะได้รับเงินเดือนทั้งสองตำแหน่งได้ ฉะนั้น จำเลยยังไม่ได้แสดงเจตนาว่าจะเลือกรับเงินเดือนในตำแหน่งใด และโจทก์ยังไม่ได้แจ้งให้จำเลยทราบว่าจะให้จำเลยรับเงินเดือนทางใด และขอคืนในอัตราของตำแหน่งใดก่อนจึงเป็นกรณีที่จำเลยได้รับเงินจากโจทก์อันปราศจากมูลที่จะอ้างกฎหมายได้ อันเป็นลาภมิควรได้ โจทก์มีอำนาจฟ้องเรียกเงินคืนได้ จำเลยต้องคืนเงินดังกล่าวแก่โจทก์ อายุความสำหรับเรียกทรัพย์คืนในเรื่องลาภมิควรได้นั้น มาตรา419 บัญญัติห้ามมิให้ฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่เวลาที่ฝ่ายผู้เสียหายรู้ว่าตนมีสิทธิเรียกคืน หรือเมื่อพ้น 10 ปี นับแต่เวลาที่สิทธินั้นได้มีขึ้น ดังนั้น เงินที่จำเลยได้รับไปนับแต่วันฟ้องย้อนหลังไปเกิน 10 ปี จึงขาดอายุความ โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกคืน จำเลยจำต้องคืนเงินที่จำเลยได้รับไปเฉพาะส่วนที่นับแต่วันฟ้องย้อนหลังไปไม่เกินสิบปีเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3211/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายสินค้ากับข้าราชการโดยไม่สุจริต และความประมาทของผู้ขาย ทำให้จำเลยที่ 5 ไม่ผูกพันหนี้
โจทก์และจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้บัญชาการเรือนจำได้ตกลงซื้อขายสินค้าระหว่างกันเอง นอกจากนี้การสั่งซื้อสินค้าโจทก์เป็นการสั่งซื้อจำนวนมากแทบทุกวันเป็นเรื่องผิดปกติวิสัยที่หน่วยรายการใดจะปฏิบัติเช่นนี้ จำเลยที่ 1 เองก็ไม่ลงนามในหนังสือตั้งเจ้าหนี้แต่เริ่มแรกเมื่อโจทก์ส่งสินค้าให้ทาง เรือนจำ ทำให้โจทก์ไม่ได้รับชำระราคาสินค้าโจทก์น่าจะตระหนักดีว่า เมื่อไม่มีหนังสือตั้งเจ้าหนี้ของกรมราชทัณฑ์จำเลยที่ 5 โจทก์จะให้จำเลยที่ 5รับผิดชอบต่อโจทก์ไม่ได้ ตามวิสัยของพ่อค้าเมื่อมีพฤติการณ์เช่นนี้ย่อมไม่ส่งสินค้าให้แก่ลูกค้าที่ไม่ชำระค่าสินค้าอีกต่อไป แต่โจทก์ยังคงส่งสินค้าให้ทาง เรือนจำอีกเป็นความประมาทอย่างร้ายแรงของโจทก์เอง ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยพัสดุ พ.ศ. 2521ได้ประกาศในราชกิจานุเบกษา เพื่อให้ประชาชนทราบโดยทั่วกันว่าหากจะติดต่อหรือปฏิบัติเกี่ยวกับการพัสดุทางราชการเช่น การซื้อ การจ้าง การซ่อมแซมบำรุงรักษา ฯลฯ จะต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามระเบียบดังกล่าว ซึ่งโจทก์จะปฏิเสธว่าไม่รับรู้เพราะเป็นระเบียบภายในหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2811/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้ดุลพินิจศาลในคดีล้มละลาย: พิจารณาความสามารถในการชำระหนี้ของลูกหนี้ที่มีรายได้ประจำ
จำเลยเป็นข้าราชการมีรายได้คือเงินเดือนที่แน่นอนและสามารถแบ่งชำระหนี้ได้เดือนละ 2,000 บาท ตามที่จำเลยเสนอ แม้จะใช้เวลายาวนานออกไป แต่ก็เห็นได้ชัดว่าเป็นวิธีการที่สามารถชำระหนี้ได้จริง เป็นประโยชน์แก่เจ้าหนี้และจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้มากกว่าวิธีการพิพากษาให้จำเลยเป็นบุคคลล้มละลายตามที่โจทก์ขอ เป็นเหตุไม่ควรพิพากษาให้จำเลยล้มละลายซึ่งศาลย่อมมีอำนาจที่จะใช้ดุลพินิจตามพระราชบัญญัติพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 14 ที่จะยกฟ้องโจทก์ได้ แม้คดีจะได้ความจริงว่าจำเลยเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวต้องตามมาตรา 9 ก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2412/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเบิกค่าเดินทางข้าราชการ: การสั่งย้ายไปช่วยราชการชั่วคราว vs. การย้ายประจำ และผลของการสละสิทธิเบิกค่าใช้จ่าย
การที่จำเลยที่ 1 มีคำสั่งให้โจทก์ซึ่งรับราชการเป็นครูอยู่ที่โรงเรียนแห่งหนึ่งไปช่วยปฏิบัติราชการเป็นการภายในที่โรงเรียนอีกแห่งหนึ่ง นับเป็นการเดินทางไปช่วยราชการชั่วคราวตามมาตรา 13(4) แห่งพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการพ.ศ. 2526 โจทก์ย่อมมีสิทธิเบิกเบี้ยเลี้ยงเดินทาง ค่าเช่าที่พักค่าพาหนะอันรวมถึงค่าเช่ายานพาหนะ ค่าเชื้อเพลิงหรือพลังงานสำหรับยานพาหนะ ค่าระวางบรรทุก ค่าจ้าง คนหาบหาม และอื่น ๆ ทำนองเดียวกันและค่าใช้จ่ายอื่นที่จำเป็นต้องจ่ายเนื่องในการเดินทางไปราชการตามมาตรา 14(1)(2)(3) และ (4) แห่งพระราชกฤษฎีกาฉบับเดียวกัน กรณีเบี้ยเลี้ยงเดินทางนั้นปรากฏว่ามาตรา 18 แห่งพระราชกฤษฎีกา ดังกล่าวซึ่งแก้ไขโดยพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2527 มาตรา 3บัญญัติให้เบิกได้เพียงระยะเวลาไม่เกินหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่ออกเดินทาง ถ้าเกินต้องได้รับอนุมัติจากปลัดกระทรวงเจ้าสังกัด สำหรับส่วนราชการใด ที่ไม่มีปลัดกระทรวง ให้ผู้บังคับบัญชาที่มีอำนาจเช่นเดียวกับปลัดกระทรวงเป็นผู้อนุมัติทั้งนี้ ให้พิจารณาถึงความจำเป็นและประหยัด เมื่อไม่ปรากฏว่าปลัดกระทรวงเจ้าสังกัดของกรมจำเลยที่ 1 อนุมัติให้โจทก์เบิกเบี้ยเลี้ยงเดินทางเกินระยะเวลาข้างต้น โจทก์จึงมีสิทธิเบิกเบี้ยเลี้ยงเดินทางได้เพียงวันละ 50 บาท ตามบัญชี 1 อัตราค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางไปราชการในราชอาณาจักร สำหรับผู้ดำรงตำแหน่งระดับ 3 ท้ายพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว เป็นเวลา 120 วัน เท่านั้นสำหรับค่าพาหนะโจทก์เบิกได้ตลอดระยะเวลาที่ไปช่วยราชการ ส่วนการที่โจทก์ระบุไว้ในคำร้องขอย้ายข้าราชการครู ที่ได้ยื่นไว้แก่จำเลยที่ 1สละสิทธิไม่ขอเบิกค่าใช้จ่ายในการขนย้าย ค่าเบี้ยเลี้ยง และค่าพาหนะเดินทางนั้นเป็นการที่โจทก์สละสิทธิดังกล่าวเฉพาะกรณีที่จำเลยที่ 1 มีคำสั่งให้ย้ายโจทก์ไปยังโรงเรียนที่โจทก์ประสงค์เท่านั้น แต่เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 1 มีคำสั่งให้ย้ายโจทก์ไปรับราชการประจำยังโรงเรียนอื่นอันมิใช่สถานที่ที่โจทก์ขอไว้การแจ้งสละสิทธิของโจทก์ย่อมไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะเบิกค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางกับค่าพาหนะเดินทาง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3793/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยินยอมให้หักเงินเดือนชดใช้หนี้ ไม่ใช่การโอนสิทธิเรียกร้อง สิทธิรับเงินเดือนข้าราชการโอนไม่ได้
บุคคลภายนอกทำหนังสือยินยอมให้หักเงินเดือนส่งใช้หนี้แก่จำเลย มีผลเท่ากับมอบอำนาจให้จำเลยรับเงินเดือนแทน ไม่ใช่การโอนสิทธิเรียกร้องให้แก่จำเลย เพราะสิทธิรับเงินเดือนของข้าราชการโอนกันไม่ได้ โจทก์จึงขออายัดเงินตามหนังสือยินยอมดังกล่าวไม่ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3793/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอายัดเงินเดือนข้าราชการเพื่อชำระหนี้: สิทธิเรียกร้องโอนไม่ได้ มิใช่อายัดได้
การที่ส.ซึ่งเป็นข้าราชการสำนักพระราชวังทำหนังสือยินยอมให้กองคลัง สำนักพระราชวัง หักเงินเดือนของตนส่งชดใช้หนี้ให้แก่จำเลยซึ่งเป็นเจ้าหนี้นั้นมีผลเท่ากับ ส. มอบอำนาจให้จำเลยรับเงินเดือนแทนตนเท่านั้น ไม่ใช่เป็นการโอนสิทธิเรียกร้องให้แก่จำเลย เพราะสิทธิที่จะรับเงินเดือนของข้าราชการนั้นโอนกันไม่ได้ เมื่อเป็นเช่นนี้ โจทก์ย่อมจะขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีอายัดเงินตามหนังสือดังกล่าวไม่ได้ ปัญหาที่ว่า ศาลชั้นต้นควรทำการไต่สวนคำร้องของ โจทก์ที่ขอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งของเจ้าพนักงานบังคับคดีและกำหนดวิธีการให้เจ้าพนักงานบังคับคดีออกหมายอายัดเงินจำนวนดังกล่าวหรือไม่นั้น เมื่อตามคำร้อง ของโจทก์ปรากฏข้อเท็จจริงเพียงพอที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งได้แล้ว จึงไม่มีเหตุที่จะต้องทำการไต่สวนคำร้องของ โจทก์ก่อนแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3124/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของหน่วยงานราชการต่อการสั่งซื้อของข้าราชการในสังกัด แม้ไม่ปฏิบัติตามระเบียบ
จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 เป็นข้าราชการสังกัดกรมราชทัณฑ์จำเลยที่ 4 โดยจำเลยที่ 1 เป็นผู้บัญชาการเรือนจำกลาง จำเลยที่ 2เป็นเจ้าหน้าที่ฝ่ายพัสดุในเรือนจำกลาง และจำเลยที่ 3 เป็นหัวหน้าฝ่ายอบรมและฝึกวิชาชีพในเรือนจำกลาง จำเลยที่ 1 ที่ 2และที่ 3 ได้ร่วมกันสั่งซื้อสินค้าประเภทวัสดุ อุปกรณ์ และเครื่องมือในการก่อสร้างจากโจทก์โดยไม่ได้รับอนุมัติให้ดำเนินการจัดซื้อ อันเป็นการฝ่าฝืนระเบียบของทางราชการ แต่ระเบียบดังกล่าวเป็นระเบียบปฏิบัติของทางราชการ กำหนดให้หน่วยราชการปฏิบัติจึงเป็นหน้าที่ของจำเลยที่ 4 จะต้องคอยควบคุมดูแลให้ข้าราชการในสังกัดปฏิบัติตาม การที่จำเลยที่ 1 ไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามระเบียบการสั่งซื้อวัสดุ การทำบัญชีหนี้สินและการส่งมอบจึงเป็นเรื่องภายในระหว่างจำเลยที่ 4 กับจำเลยที่ 1 โดยเฉพาะหาผูกพันบุคคลภายนอกไม่ จำเลยที่ 4 จะอ้างระเบียบปฏิบัติของส่วนหรือหน่วยราชการมาเพื่อให้พ้นจากความรับผิดหาได้ไม่.