คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
คดี

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 291 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1601/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานเบิกความเท็จและฟ้องเท็จจากเช็คที่ยังมิได้ลงวันที่ การเบิกความเท็จเป็นข้อสำคัญในคดี
โจทก์บรรยายฟ้องเกี่ยวกับข้อหาความผิดฐานเบิกความเท็จว่าโจทก์ทั้งสองร่วมกันออกเช็คร่วมกับผู้มีชื่อให้แก่จำเลยเพื่อชำระหนี้ค่าซื้อที่ดิน ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คดังกล่าว จำเลยจึงฟ้องขอให้ลงโทษโจทก์ทั้งสองตามพ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2497 มาตรา 3 จำเลยได้เบิกความอันเป็นเท็จในชั้นไต่สวนมูลฟ้องและในชั้นพิจารณาในคดีดังกล่าวว่า จำเลยได้รับเช็คจากโจทก์ทั้งสองเป็นการชำระหนี้ค่าซื้อที่ดิน ความจริงเช็คดังกล่าวมิได้ลงวันที่สั่งจ่าย เป็นเช็คที่โจทก์ทั้งสองสั่งจ่ายให้จำเลยเป็นประกันหนี้ตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินที่โจทก์ที่ 1 จะซื้อจากจำเลย ไม่ใช่เช็คที่ออกให้จำเลยเพื่อชำระหนี้ซึ่งข้อความที่จำเลยเบิกความต่อศาลนั้นเป็นข้อสำคัญในคดี ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องของจำเลยโดยเห็นว่าเช็คฉบับดังกล่าวเป็นเช็คที่ไม่ได้ลงวันที่สั่งจ่าย โจทก์ทั้งสองไม่ได้กระทำผิดตามที่จำเลยกล่าวหา ดังนี้ แม้คดีนี้โจทก์ได้บรรยายฟ้องเพียงว่าข้อความที่จำเลยเบิกความต่อศาลนั้นเป็นข้อสำคัญในคดี โดยมิได้บรรยายรายละเอียดว่าข้อความอันเป็นเท็จที่จำเลยเบิกความเป็นข้อสำคัญในคดีก่อนอย่างไรก็ตาม แต่ฟ้องของโจทก์ย่อมมีความหมายอยู่ในตัวว่าข้อความเท็จที่จำเลยเบิกความดังกล่าวเป็นข้อสำคัญในคดีที่จำเลยฟ้องขอให้ลงโทษโจทก์ทั้งสองในข้อหาออกเช็คโดยเจตนาเพื่อไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็ค เพราะหากเป็นความจริงดังที่จำเลยเบิกความว่าโจทก์ทั้งสองออกเช็คเพื่อชำระหนี้ค่าซื้อที่ดิน มิใช่การออกเช็คโดยมิได้ลงวันที่สั่งจ่ายให้แก่จำเลยเพื่อประกันหนี้ตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินแล้ว การกระทำของโจทก์ทั้งสองอาจเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ.2497 มาตรา 3 และศาลก็อาจพิพากษาลงโทษโจทก์ทั้งสองตามฟ้องของจำเลยได้ ข้อความที่จำเลยเบิกความจึงเป็นข้อแพ้ชนะในคดีดังกล่าว ถือได้ว่าเป็นข้อสำคัญในคดีที่จำเลยฟ้องโจทก์ทั้งสองดังกล่าว คำเบิกความของจำเลยตามที่โจทก์บรรยายฟ้องย่อมเป็นข้อสำคัญในคดีที่เข้าใจได้อยู่ในตัวเอง ฟ้องของโจทก์จึงมีข้อเท็จจริงและรายละเอียดเกี่ยวกับการกระทำที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำความผิดพอสมควรเท่าที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีแล้ว เป็นฟ้องที่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5)
เมื่อขณะที่มอบเช็คให้จำเลยยังไม่มีวันที่สั่งจ่ายและรอยตราประทับของโจทก์ที่ 1 การที่จำเลยนำเช็คฉบับดังกล่าวไปฟ้องกล่าวหาว่าโจทก์ทั้งสองร่วมกันออกเช็คโดยเจตนาไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2497 มาตรา 3 และเบิกความตามคำฟ้องดังกล่าวเป็นการกระทำที่จำเลยรู้อยู่แล้วว่าการออกเช็คดังกล่าวของโจทกก์ทั้งสองไม่มีมูลความผิดทางอาญาตาม พ.ร.บ.ดังกล่าว การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานฟ้องเท็จและเบิกความเท็จ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 749/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการฎีกาในคดีทุนทรัพย์น้อยกว่าสองแสนบาท และการฎีกาในข้อเท็จจริง
คดีที่จำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาทต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคแรก โจทก์ฎีกาว่าเอกสารสัญญากู้เป็นเอกสารที่ถูกต้องเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงจึงต้องห้ามมิให้ฎีกา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7237/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งที่ดินกรรมสิทธิ์รวม: โจทก์ร่วมที่ไม่ได้รับการเรียกเข้าเป็นโจทก์ร่วมในคดี ไม่สามารถได้รับการแบ่งที่ดินได้
โจทก์ฟ้องขอให้แบ่งที่ดินกรรมสิทธิ์รวมให้เฉพาะโจทก์และยื่นคำร้องขอให้เรียกโจทก์ร่วมเข้ามาในคดี ต่อมาศาลอุทธรณ์พิพากษายกคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้เรียกโจทก์ร่วมเข้ามาในคดีและยกคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ให้แบ่งที่ดินให้โจทก์ร่วม เมื่อโจทก์และโจทก์ร่วมมิได้ฎีกาเกี่ยวกับเรื่องนี้ โจทก์ร่วมจึงเป็นบุคคลนอกคดี ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยฎีกาโจทก์ที่ขอให้แบ่งที่ดินให้โจทก์ร่วมด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5724/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อมูลสรุปฎีกาเกี่ยวกับคดีในศาลจังหวัดมีนบุรีและศาลอุทธรณ์
(ประสิทธิ์ แสนศิริ - สมภพ โชติกวณิชย์ - ทวิช กำเนิดเพ็ชร์)ศาลจังหวัดมีนบุรี นายประมวญ รักศิลธรรมศาลอุทธรณ์ นายไพบูรณ์ ถิรรุ่งเรือง
นางสาวปรานี เสฐจินตนิน - ย่อ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5626/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีมีทุนทรัพย์ไม่เกินสองแสนบาท ห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง
ในคดีฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินพิพาท จำเลยให้การต่อสู้ว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลย อันเป็นการเถียงสิทธิครอบครอง เป็นคดีมีทุนทรัพย์ การพิจารณาว่าคดีจะต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงหรือไม่ ต้องถือตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความ-แพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง เมื่อที่ดินพิพาทซึ่งเป็นทรัพย์สินที่พิพาทกันในชั้นฎีกามีราคาไม่เกินสองแสนบาท คดีย่อมต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตาม มาตรา 248 วรรคหนึ่ง โดยไม่มีข้อที่ต้องพิจารณาว่าที่ดินดังกล่าวอาจให้เช่าได้ในขณะยื่นฟ้องไม่เกินเดือนละหนึ่งหมื่นบาทหรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5406/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้ผลการตรวจลายมือชื่อผู้เชี่ยวชาญเป็นข้อแพ้ชนะในคดี และการรับฟังค่าอ้างเอกสารที่ชำระภายหลัง
โจทก์อ้างสัญญายืมข้าวเปลือกเป็นพยาน ต่อมาคู่ความท้ากันให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจพิสูสจน์ลายมือชื่อจำเลยในเอกสารดังกล่าวโดยให้ถือความเห็นของผู้เชี่ยวชาญเป็นข้อแพ้ชนะศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยแพ้คดีโดยอาศัยผลจากความเห็นของผู้เชี่ยวชาญดังกล่าว ดังนี้ การที่ไม่่ได้เสียค่าอ้างเอกสารจึงเป็นเรื่องนอกเหนือคำท้า ไม่มีผลทำให้คำพิพากษาของศาลชั้นต้นเสียไป เมื่อได้ความว่าโจทก์เสียค่าอ้างเอกสารดังกล่าวแล้ว แม้จะเสียภายหลังที่ศาลชั้นต้นพิพากษาก็รับฟังเป็นพยานหลักฐานได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4900/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบิกความเท็จในชั้นศาล: ข้อสำคัญในคดี
ป.อ.มาตรา 177 วรรคหนึ่ง มีความหมายว่า เป็นการเบิกความในการพิจารณาคดีของศาล ซึ่งไม่ว่าจะเป็นชั้นไต่สวนมูลฟ้องหรือชั้นพิจารณาก็เป็นการพิจารณาคดีของศาลเช่นเดียวกัน ส่วนคำว่าข้อสำคัญในคดีหมายถึง เนื้อหาหรือสาระของคำเบิกความ มิใช่เรื่องขั้นตอนในการเบิกความถ้าพยานเบิกความเท็จและข้อความที่เบิกความเป็นสาระสำคัญของคดีที่เบิกความไม่ว่าจะเป็นการเบิกความในชั้นไต่สวนมูลฟ้องหรือในชั้นพิจารณาของศาล ก็เป็นการเบิกความเท็จที่เป็นข้อสำคัญในคดีเช่นเดียวกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4874/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำให้การที่เกินกรอบประเด็นข้อพิพาทเดิม ศาลไม่อนุญาต เพราะไม่เป็นสาระต่อคดี
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นมารดาของ ส. จำเลยที่ 2 ที่ 3เป็นบิดามารดาและผู้ดูแลปกครองจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้เยาว์และจำเลยที่ 1 กับพวกได้ทำร้าย ส.เป็นเหตุให้ส. ถึงแก่ความตายทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ขอให้บังคับจำเลยทั้งสามร่วมกันใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ จำเลยทั้งสามให้การว่า โจทก์มิได้เป็นมารดาหรือผู้ปกครองโดยชอบธรรมของ ส. ฟ้องโจทก์ขาดอายุความจำเลยที่ 1 เป็นผู้เยาว์โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1และจำเลยที่ 1 เป็นผู้ใหญ่มีความรับผิดชอบตนเองแล้ว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ที่ 3 ทั้งจำเลยที่ 1 ไม่ได้กระทำละเมิดต่อ ส.ค่าเสียหายและค่าใช้จ่ายที่โจทก์ฟ้องสูงเกินไป คดีอยู่ในระหว่างการดำเนินคดีอาญายังไม่ทราบว่าใครเป็นผู้กระทำผิด และฟ้องโจทก์เคลือบคลุมขอให้ยกฟ้อง ในชั้นชี้สองสถานศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทข้อหนึ่งว่า "จำเลยที่ 2 ที่ 3 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1ใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์หรือไม่" และปรากฏตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นในภายหลังว่า "คู่ความแถลงขอให้รอฟังผลคดีอาญาจนถึงที่สุดโดยจำเลยที่ 2 ที่ 3 ยอมรับผลของคดีอาญาดังกล่าวเมื่อถึงที่สุด คดีมีประเด็นเรื่องค่าเสียหายเท่านั้น" ดังนี้คำร้องขอแก้ไขคำให้การของจำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ว่าจำเลยที่ 2 ที่ 3มิใช่บิดามารดาของจำเลยที่ 1 ในขณะเกิดเหตุ เพราะมีบุคคลภายนอกได้จดทะเบียนรับจำเลยที่ 1 เป็นบุตรบุญธรรมก่อนเกิดเหตุแล้วจำเลยที่ 2 ที่ 3 จึงไม่ใช่ผู้แทนโดยชอบธรรมในฐานะผู้ใช้อำนาจปกครองจำเลยที่ 1 ในขณะเกิดเหตุ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ที่ 3จึงเป็นเรื่องเกี่ยวกับประเด็นข้อพิพาทข้อดังกล่าว ซึ่งคู่ความได้สละประเด็นไปแล้ว คงเหลือประเด็นเรื่องค่าเสียหายเท่านั้น แม้ศาลจะอนุญาตให้แก้ไขคำให้การก็ไม่ทำให้ผลแห่งคดีเกี่ยวกับประเด็นข้อพิพาทข้อนี้ และข้ออื่น ๆ เว้นแต่เรื่องค่าเสียหายเปลี่ยนแปลงไปคำร้องขอแก้ไขคำให้การของจำเลยที่ 2 ที่ 3 จึงไม่เป็นสาระแก่คดีจึงชอบที่ศาลจะไม่รับคำร้องขอแก้ไขคำให้การนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4857/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีมรดก: สิทธิยังไม่เกิด แม้มีการจัดการมรดกช้า
ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้คู่ความไม่ได้ฎีกา เมื่อศาลฎีกาเห็นสมควรก็ยกขึ้นวินิจฉัยได้
จำเลยซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาลชั้นต้นยอมรับว่าโจทก์เป็นทายาทของเจ้ามรดก แต่การจัดการมรดกตามคำสั่งศาลชั้นต้นยังไม่เสร็จสิ้นฉะนั้น ที่โจทก์อ้างในคำฟ้องว่า โจทก์มีสิทธิรับมรดก ขอให้จำเลยทำบัญชีทรัพย์มรดกและแบ่งปันทรัพย์มรดกจึงยังมิได้มีการโต้แย้งจากจำเลย สิทธินำคดีมาสู่ศาลของโจทก์ยังไม่เกิด ข้ออ้างของโจทก์ที่ว่าจำเลยจัดการทรัพย์มรดกล่าช้าส่อไปในทางทุจริตไม่จัดการทรัพย์มรดกตามกฎหมาย เป็นข้ออ้างที่โจทก์จะร้องขอต่อศาลชั้นต้นในคดีที่จำเลยขอเป็นผู้จัดการมรดกให้ศาลชั้นต้นเร่งรัดจำเลยให้จัดการมรดกให้เสร็จสิ้นโดยเร็ว คำฟ้องโจทก์มิใช่คำฟ้องที่ศาลชั้นต้นจะรับประทับฟ้องไว้พิจารณาพิพากษา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 459/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการฎีกาในคดีสิทธิครอบครอง: ทุนทรัพย์ไม่เกิน 8,000 บาท
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่พิพาทซึ่งเป็นที่ดินมือเปล่าจำเลยต่อสู้ว่าที่พิพาทเป็นของจำเลย จึงเป็นคดีมีข้อพิพาทด้วยเรื่องสิทธิครอบครองเป็นคดีมีทุนทรัพย์ เมื่อที่พิพาทราคาเพียง 8,000 บาทจึงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 248 วรรคแรก
of 30