คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
คดีขับไล่

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 76 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 21196/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในที่ดินหลังเจ้ามรดกเสียชีวิต: สัญญาจะซื้อขายไม่ใช่ข้อสำคัญในคดีขับไล่ การเบิกความไม่ตรงกับพยานหลักฐานไม่ถือเป็นความผิด
คดีก่อนที่จำเลยทั้งสองฟ้องขับไล่โจทก์ออกจากที่ดินของเจ้ามรดก มีประเด็นว่าโจทก์มีสิทธิอยู่ในที่ดินของจำเลยทั้งสองหรือไม่ การที่โจทก์อยู่ในที่ดินโดยอาศัยสิทธิตามสัญญาจะซื้อขายที่ทำไว้กับเจ้ามรดกเป็นการอยู่โดยอาศัยสิทธิของเจ้ามรดก เมื่อจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นทายาทผู้รับโอนมรดกต่อมาไม่ประสงค์ให้โจทก์อยู่ต่อไป โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิอยู่ในที่ดินอีก สัญญาจะซื้อขายที่ดินนั้นจึงไม่ใช่ข้อสำคัญอันจะมีผลให้แพ้ชนะในคดี การที่จำเลยที่ 2 ไม่เบิกความถึงสัญญาจะซื้อขายดังกล่าวจึงไม่เป็นความผิดฐานเบิกความเท็จ
ในคดีฟ้องขับไล่ไม่มีกฎหมายบังคับให้ต้องบอกกล่าวก่อนฟ้อง การบอกกล่าวจึงไม่ใช่ข้อสำคัญในคดี การที่จำเลยที่ 2 เบิกความแตกต่างจากที่พนักงานสอบสวนบันทึกไว้ จึงไม่เป็นความผิดฐานนำสืบหรือแสดงพยานหลักฐานอันเป็นเท็จ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13572/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิฎีกาในคดีขับไล่ แม้มีข้อจำกัดตามกฎหมาย แต่เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษากลับ โจทก์มีสิทธิฎีกาได้ และการพิสูจน์การออกจากที่ดินพิพาท
คดีนี้ แม้เป็นคดีเกี่ยวกับการบังคับวงศ์ญาติทั้งหลายและบริวารของผู้ถูกฟ้องขับไล่ออกจากอสังหาริมทรัพย์อันมีค่าเช่าหรืออาจให้เช่าได้ในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละหนึ่งหมื่นบาท ซึ่งคู่ความในคดีต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริง แต่เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษากลับ โจทก์จึงมีสิทธิฎีกาได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8061/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอเป็นคู่ความฝ่ายที่สามต้องมีส่วนได้เสียในมูลแห่งคดี การครอบครองปรปักษ์ไม่เชื่อมโยงกับคดีขับไล่
โจทก์ฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยออกจากที่พิพาทและเรียกค่าเสียหาย จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ ผู้ร้องสอดร้องเข้ามาเป็นคู่ความฝ่ายที่สาม แต่คำร้องของผู้ร้องสอดอ้างเพียงว่าผู้ร้องสอดครอบครองที่ดินบางส่วนโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกันเป็นเวลา 10 ปี จึงได้กรรมสิทธิ์ในที่พิพาทบางส่วนโดยการครอบครองปรปักษ์ ผู้ร้องสอดมิได้กล่าวอ้างว่า ผู้ร้องสอดมีส่วนเกี่ยวข้องหรือมีส่วนได้เสียกับจำเลยแต่อย่างใดที่จะถือว่าเป็นคู่ความฝ่ายที่สาม ข้ออ้างของผู้ร้องสอดเป็นกรณีที่ผู้ร้องสอดตั้งข้อพิพาทโต้แย้งกรรมสิทธ์ในที่พิพาทกับโจทก์ทั้งสิ้น ไม่เกี่ยวกับคดีนี้ ผู้ร้องสอดมีสิทธิในที่พิพาทอยู่เพียงใดคงมีอยู่อย่างนั้น หากศาลพิพากษาขับไล่จำเลยย่อมไม่มีผลกระทบถึงสิทธิของผู้ร้องสอด ผู้ร้องสอดไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียในมูลแห่งคดี จึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องเข้ามาเพื่อยังให้ได้รับความรับรองคุ้มครองหรือบังคับตามสิทธิที่มีอยู่ คำร้องของผู้ร้องสอดไม่ต้องด้วยบทบัญญัติตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (1) ผู้ร้องสอดจึงไม่มีสิทธิร้องเข้ามาเป็นคู่ความในคดีนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3270/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ แม้มีคำพิพากษาคดีขับไล่ก่อนหน้า และการสันนิษฐานเรื่องความเป็นบริวาร
คดีก่อนที่จำเลยฟ้องขับไล่ให้ ช. และบริวารออกไปจากที่ดินพิพาทนั้น จำเลยฟ้อง ช. คนเดียวมิได้ฟ้องโจทก์ในคดีนี้ด้วย โจทก์จึงไม่จำต้องเข้ามาต่อสู้คดีแต่อย่างใด คดีดังกล่าวมีประเด็นตามฟ้องว่า ที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยหรือ ช. ปรากฏว่า ช. ขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา ศาลชั้นต้นจึงพิจารณาคดีไปฝ่ายเดียวแล้วพิพากษาว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยให้ขับไล่ ช. และบริวาร แต่คดีนี้โจทก์ซึ่งมิใช่คู่ความในคดีเดิมยื่นฟ้องจำเลยว่า โจทก์ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ขอให้ศาลสั่งแสดงกรรมสิทธิ์และห้ามจำเลยเกี่ยวข้อง จำเลยให้การปฏิเสธฟ้องโจทก์ ขอให้ยกฟ้องประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีนี้จึงมีว่าโจทก์ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์หรือไม่ ซึ่งเป็นคนละประเด็นกับประเด็นในคดีเดิม เมื่ศาลล่างทั้งสองเห็นว่าการครอบครองของโจทก์เข้าหลักเกณฑ์ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382 ก็ชอบที่จะพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีได้ ไม่เป็นการขัดกับคำพิพากษาในคดีเดิมแต่อย่างใดเพราะแม้จะฟังตามคำพิพากษาในคดีเดิมว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยมิใช่ของ ช. แต่จำเลยก็อาจจะเสียสิทธิในที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์โดยการครอบครองปรปักษ์อันเป็นการได้ทรัพยสิทธิโดยทางอื่นนอกจากนิติกรรมได้
บทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 296 จัตวา (3) ที่กำหนดให้ผู้ที่อ้างว่าไม่ใช่บริวารของลูกหนี้ตามคำพิพากษายื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษต่อศาลภายในกำหนดเวลาแปดวันนับแต่วันปิดประกาศนั้น มิได้บังคับโดยเด็ดขาดว่าถ้าโจทก์หรือผู้ที่อ้างว่าไม่ใช่บริวารของ ช. ไม่ยื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษต่อศาลภายในกำหนดเวลาเช่นว่านั้นแล้ว โจทก์หรือผู้ที่อ้างว่าไม่ใช่บริวารของ ช. จะต้องเป็นบริวารของ ช. สถานเดียว เพียงแต่กฎหมายให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ที่ไม่ยื่นคำร้องภายในกำหนดเวลาดังกล่าวเป็นบริวารของ ช. เท่านั้น แต่หากโจทก์หรือผู้ที่อ้างว่าไม่ใช่บริวารของ ช. มีหลักฐานแสดงว่าตนไม่ใช่บริวารของ ช. แล้ว ก็ชอบที่จะยื่นคำร้องนำพยานมาสืบพิสูจน์ถึงสถานภาพของตนได้ว่าตนไม่ใช่บริวารของ ช. แม้จะล่วงเลยเวลาแปดวันแล้วก็ตาม ทั้งนี้เพราะกำหนดเวลาดังกล่าวเป็นเพียงข้อสันนิษฐานของกฎหมายถึงสถานภาพของบุคคลว่าใช่หรือไม่ใช่บริวารของลูกหนี้ตามคำพิพากษาเท่านั้นมิใช่ระยะเวลาสิ้นสุด เพื่อให้ดำเนินหรือมิให้ดำเนินกระบวนพิจารณาใดๆ ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 23 ซึ่งจะทำให้โจทก์เสียสิทธิที่จะฟ้องร้องแสดงอำนาจพิเศษต่อศาลภายหลังเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลานั้นแล้ว ดังนั้น การที่โจทก์ไม่ได้โต้แย้งคัดค้านในคดีที่จำเลยฟ้องขับไล่ ช. เสียภายในแปดวันนับแต่วันที่เจ้าพนักงานบังคับคดีปิดประกาศกำหนดเวลาให้ผู้ที่อ้างว่าไม่ใช่บริวารของ ช. ยื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษต่อศาลจึงมิใช่ข้อบ่งชี้ว่าโจทก์ต้องเป็นบริวารของ ช. หรือโจทก์ไม่ได้ครอบครองที่ดินพิพาทดังที่จำเลยฎีกา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1453/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการอุทธรณ์คดีขับไล่และฟ้องแย้งสัญญาเช่า: การพิจารณาค่าเช่าและประเภทคดี
จำเลยอุทธรณ์ว่าสัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดา ขอให้ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับคำพิพากษาศาลชั้นต้นจากยกฟ้องแย้งเป็นให้บังคับโจทก์ไปจดทะเบียนการเช่าตึกแถวที่พิพาทให้แก่จำเลย แต่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยแต่เพียงว่าคดีจำเลยต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงแล้วพิพากษาให้ยกอุทธรณ์โดยมิได้วินิจฉัยคดีในส่วนของฟ้องแย้งของจำเลยจึงเป็นการไม่ชอบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142
ฟ้องแย้งของจำเลยที่อ้างว่าการเช่าตึกแถวพิพาทระหว่างจำเลยกับโจทก์เป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดาและขอให้บังคับโจทก์ไปจดทะเบียนการเช่าตึกแถวที่พิพาทเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6502/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีขับไล่และเรียกค่าเสียหายจากผู้เช่าที่ผิดสัญญาเช่า ศาลพิพากษายืนตามคำพิพากษาชั้นต้น ยกเว้นค่าทนายความ
ตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 141 (3) กำหนดแต่เพียงว่าคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลต้องมีรายการแห่งคดีซึ่งหมายถึงต้องมีชื่อเรื่อง คำฟ้อง และคำให้การเพื่อกำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาท แต่มิได้บังคับว่าคำพิพากษาต้องมีทางนำสืบของโจทก์และจำเลยทั้งสองจึงจะเป็นคำพิพากษาที่ชอบด้วยกฎหมาย คดีนี้คงมีแต่เพียงทางนำสืบของโจทก์ จำเลยทั้งสองก็ให้การรับในประเด็นสำคัญตามคำฟ้องของโจทก์และมิได้นำสืบต่อสู้แต่อย่างใด การที่ศาลชั้นต้นนำข้อเท็จจริงตามทางนำสืบของโจทก์มาเขียนรวมไว้ในตอนวินิจฉัยจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
คดีฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสองออกจากอสังหาริมทรัพย์ซึ่งจำเลยทั้งสองมิได้กล่าวแก้เป็นข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์ถือเป็นคดีมีคำขอปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ แม้โจทก์มีคำขอเรียกค่าเสียหายมาด้วย ก็ไม่ถือว่าเป็นคดีมีทุนทรัพย์ ดังนั้น ที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยทั้งสองใช้ค่าทนายความ 4,000 บาท แทนโจทก์นั้นไม่ชอบ เพราะตาราง 6 ท้าย ป.วิ.พ. ได้กำหนดอัตราค่าทนายความขั้นสูงในศาลชั้นต้นสำหรับคดีไม่มีทุนทรัพย์ไว้เพียง 3,000 บาท จึงเกินอัตราขั้นสูงที่กฎหมายกำหนด
of 8