พบผลลัพธ์ทั้งหมด 246 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1519/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้ค้ำประกันไม่ยื่นคำขอรับชำระหนี้ตามกำหนด จึงไม่สามารถรับช่วงสิทธิจากเจ้าหนี้ในคดีล้มละลายได้
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ทั้งสองแล้วผู้ร้องในฐานะผู้ค้ำประกันลูกหนี้ที่2เมื่อได้ชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้แล้วย่อมได้รับช่วงสิทธิการขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้ที่มีต่อกองทรัพย์สินของลูกหนี้ที่2แต่ปรากฏว่าผู้ร้องมิได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในกำหนดเวลาสองเดือนนับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา27และมาตรา91ผู้ร้องจะอ้างว่าได้รับช่วงสิทธิและขอรับชำระหนี้แทนเจ้าหนี้หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 750/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคัดค้านการยึดทรัพย์ในคดีล้มละลาย ต้องยื่นคำคัดค้านต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก่อน จึงจะยื่นคำร้องต่อศาลได้
ผู้มีส่วนได้เสียในการที่ทรัพย์สินถูกเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยึดไปนั้น ต้องยื่นคำคัดค้านต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เพื่อให้มีคำสั่งเสียชั้นหนึ่งก่อน จึงจะมีสิทธิเสนอคดียื่นคำร้องขอต่อศาลได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7348/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของหุ้นส่วนผู้จัดการในหนี้ของห้างหุ้นส่วนจำกัด และการพิสูจน์สถานะทางการเงินในคดีล้มละลาย
หนี้ที่โจทก์นำมาฟ้องให้จำเลยทั้งสองล้มละลายเป็นหนี้ตามคำพิพากษาซึ่งสืบเนื่องจากห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 ก่อขึ้นในขณะที่จำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ซึ่งไม่จำกัดความรับผิดต้องรับผิดในหนี้สินแทนจำเลยที่1ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1070 และ 1077 โดยไม่จำกัดจำนวนจำเลยที่ 2 ไม่มีอำนาจต่อสู้หรือนำสืบว่าตนมีทรัพย์สินพอที่จะชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 หรือมิใช่เป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483 มาตรา 7
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6968/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคัดค้านการขายทอดตลาดในคดีล้มละลาย หากราคาต่ำกว่าท้องตลาด แสดงว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ใช้ดุลพินิจไม่ถูกต้อง
คำร้องของผู้ร้องกล่าวอ้างว่า เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ดำเนินการขายทอดตลาดที่ดินในราคาต่ำกว่าราคาท้องตลาดมาก ซึ่งหากเป็นจริงดังคำร้อง ก็เป็นข้อแสดงว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มิได้ใช้ดุลพินิจในการขายทอดตลาดทรัพย์เพื่อให้ได้ราคาดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ อันถือได้ว่าเป็นการร้องคัดค้านการกระทำของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ซึ่งทำให้ผู้ร้องในฐานะเจ้าหนี้ผู้ยื่นคำขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของผู้ล้มละลายได้รับความเสียหายกรณีต้องด้วยพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 146 ซึ่งบัญญัติไว้โดยเฉพาะแล้ว จึงไม่ต้องบังคับตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 วรรคสอง ประกอบด้วยพระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153 ชอบที่ศาลจะรับคำร้องของผู้ร้องไว้ทำการไต่สวนต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6559/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการคัดค้านการยึดทรัพย์ในคดีล้มละลาย ขึ้นอยู่กับสถานะการได้สิทธิในทรัพย์สินนั้น
ผู้ร้องเคยยื่นคำร้องขอให้ปล่อยทรัพย์พิพาทรายเดียวกันในคดีแพ่ง ซึ่งถึงที่สุดโดยศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยไม่ใช่ของผู้ร้อง ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่าที่ดินพิพาทไม่ใช่ของผู้ร้อง แม้ที่ดินพิพาทจะมีพระราชกฤษฎีกากำหนดให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม และผู้ร้องเป็นผู้ครอบครองที่ดินพิพาท ผู้ร้องมีคุณสมบัติครบถ้วนตามระเบียบหลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกเกษตรกรเข้าทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทนั้น แต่สำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมและคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมได้รอการพิจารณาคำร้องขอเข้าอยู่อาศัยและทำประโยชน์ของผู้ร้องไว้ เพราะที่ดินพิพาทถูกยึด ผู้ร้องจึงยังไม่ได้รับสิทธิให้ครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินพิพาท ยังไม่อยู่ในฐานะเป็นผู้มีส่วนได้เสียที่จะมีสิทธิร้องขอให้มีคำสั่งว่าที่ดินพิพาทไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีและให้ถอนการยึดตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 158 ต้องยกคำร้องขอ คดีไม่จำต้องวินิจฉัยว่ากรณีเป็นการร้องซ้ำหรือดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำตามฎีกาของผู้ร้องต่อไป เพราะไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5440/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าหนี้ต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ภายในกำหนดในคดีล้มละลาย แม้มีคดีแพ่งค้างอยู่
แม้จะเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาหรือเป็นเจ้าหนี้ที่ได้ฟ้องคดีแพ่งไว้แล้วแต่คดียังอยู่ในระหว่างการพิจารณาก็ตาม เจ้าหนี้นั้นก็ต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในกำหนดเวลา 2 เดือน นับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 27 และ 91
แม้ พ.ร.บ.ล้มละลาย มาตรา 25 จะบัญญัติให้เจ้าพนักงาน-พิทักษ์ทรัพย์เข้าว่าคดีแพ่งทั้งปวงอันเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ซึ่งค้างพิจารณาอยู่ในศาลขณะที่มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ก็ตาม แต่บทมาตราดังกล่าวก็มิใช่บทบังคับให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ต้องเข้าว่าคดีเช่นว่านี้ทุกเรื่องไป การจะเข้าว่าคดีหรือไม่เป็นดุลพินิจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์และหากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคำขอเป็นประการใดแล้ว ศาลก็มีอำนาจพิจารณาสั่งได้ตามที่เห็นสมควรเช่นกัน
กรณีของโจทก์คดีนี้เมื่อกฎหมายได้ให้สิทธิโจทก์ยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แล้ว แต่โจทก์ไม่ยื่นคำขอรับชำระหนี้ภายในกำหนด โจทก์ย่อมหมดสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้ ความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่โจทก์ดังกล่าวเนื่องมาจากความผิดของโจทก์เอง ดังนั้นการที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ขอเข้าว่าคดีแพ่งแทนจำเลยโดยขอให้ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดี และศาลชั้นต้นก็ได้มีคำสั่งจำหน่ายคดีโจทก์ออกจากสารบบความนั้นชอบแล้ว และคำสั่งของศาลดังกล่าวถือไม่ได้ว่าเป็นการตัดสิทธิโจทก์ที่จะยื่นคำขอรับชำระหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483 มาตรา 93
แม้ พ.ร.บ.ล้มละลาย มาตรา 25 จะบัญญัติให้เจ้าพนักงาน-พิทักษ์ทรัพย์เข้าว่าคดีแพ่งทั้งปวงอันเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ซึ่งค้างพิจารณาอยู่ในศาลขณะที่มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ก็ตาม แต่บทมาตราดังกล่าวก็มิใช่บทบังคับให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ต้องเข้าว่าคดีเช่นว่านี้ทุกเรื่องไป การจะเข้าว่าคดีหรือไม่เป็นดุลพินิจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์และหากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคำขอเป็นประการใดแล้ว ศาลก็มีอำนาจพิจารณาสั่งได้ตามที่เห็นสมควรเช่นกัน
กรณีของโจทก์คดีนี้เมื่อกฎหมายได้ให้สิทธิโจทก์ยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แล้ว แต่โจทก์ไม่ยื่นคำขอรับชำระหนี้ภายในกำหนด โจทก์ย่อมหมดสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้ ความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่โจทก์ดังกล่าวเนื่องมาจากความผิดของโจทก์เอง ดังนั้นการที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ขอเข้าว่าคดีแพ่งแทนจำเลยโดยขอให้ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดี และศาลชั้นต้นก็ได้มีคำสั่งจำหน่ายคดีโจทก์ออกจากสารบบความนั้นชอบแล้ว และคำสั่งของศาลดังกล่าวถือไม่ได้ว่าเป็นการตัดสิทธิโจทก์ที่จะยื่นคำขอรับชำระหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483 มาตรา 93
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5324/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีผู้ค้ำประกัน: พิจารณาจากลูกหนี้ผิดนัด ไม่ใช่หมดอายุความของลูกหนี้ และการสั่งค่าฤชาธรรมเนียม
จำเลยที่ 1 ยกเรื่องอายุความขึ้นต่อสู้คดีไว้ในคำให้การแต่เพียงว่า โจทก์จะฟ้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันเกินกว่าระยะเวลา 10 ปีไม่ได้ แต่เหตุที่จำเลยที่ 1 ยกขึ้นฎีกาเพื่อให้ตนเองพ้นความรับผิดเป็นเรื่องที่ว่าหนี้ของลูกหนี้ขาดอายุความแล้ว จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้ค้ำประกันย่อมพ้นความรับผิดไปด้วยเป็นคนละเรื่องกับที่ให้การไว้ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
การที่โจทก์จะมีสิทธิฟ้องจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันให้ชำระหนี้ได้หรือไม่ ต้องพิจารณาเพียงว่าลูกหนี้ผิดนัดแล้วหรือไม่เท่านั้น เมื่อลูกหนี้ผิดนัดแล้วโจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ได้ แม้ขณะนั้นอายุความที่จะฟ้องลูกหนี้ยังสะดุดหยุดอยู่ก็ตาม
แม้ศาลจะมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์รับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย แต่เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าขณะที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ คดีที่ลูกหนี้ถูกฟ้องล้มละลาย ยังไม่มีการยกเลิกการล้มละลาย และยังไม่ได้มีการเฉลี่ยทรัพย์รายได้เป็นครั้งที่สุด อายุความที่จะฟ้องลูกหนี้ยังคงสะดุดหยุดอยู่ คดีของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
ศาลอุทธรณ์มิได้สั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 161 และ มาตรา 167ที่กำหนดให้ศาลต้องสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมไม่ว่าคู่ความจะมีคำขอหรือไม่ศาลฎีกาแก้ไขได้
การที่โจทก์จะมีสิทธิฟ้องจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันให้ชำระหนี้ได้หรือไม่ ต้องพิจารณาเพียงว่าลูกหนี้ผิดนัดแล้วหรือไม่เท่านั้น เมื่อลูกหนี้ผิดนัดแล้วโจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ได้ แม้ขณะนั้นอายุความที่จะฟ้องลูกหนี้ยังสะดุดหยุดอยู่ก็ตาม
แม้ศาลจะมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์รับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย แต่เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าขณะที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ คดีที่ลูกหนี้ถูกฟ้องล้มละลาย ยังไม่มีการยกเลิกการล้มละลาย และยังไม่ได้มีการเฉลี่ยทรัพย์รายได้เป็นครั้งที่สุด อายุความที่จะฟ้องลูกหนี้ยังคงสะดุดหยุดอยู่ คดีของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
ศาลอุทธรณ์มิได้สั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 161 และ มาตรา 167ที่กำหนดให้ศาลต้องสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมไม่ว่าคู่ความจะมีคำขอหรือไม่ศาลฎีกาแก้ไขได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5324/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีผู้ค้ำประกัน: สะดุดหยุดเมื่อยื่นคำร้องในคดีล้มละลาย และไม่เริ่มนับใหม่จนกว่าคดีล้มละลายสิ้นสุด
การที่เจ้าหนี้จะมีสิทธิฟ้องผู้ค้ำประกันให้ชำระหนี้ได้หรือไม่ก็พิจารณาเพียงว่า ลูกหนี้ผิดนัดแล้วหรือไม่เท่านั้น เมื่อลูกหนี้ผิดนัดแล้วเจ้าหนี้ย่อมมีอำนาจฟ้องผู้ค้ำประกันได้ แม้ขณะนั้นอายุความที่จะฟ้องลูกหนี้ยังสะดุดหยุดอยู่ก็ตาม การมีเหตุที่ทำให้อายุความสะดุดหยุดอยู่ยังไม่สิ้นสุดลงนั้น เป็นเพียงทำให้ยังไม่เริ่มนับอายุความขึ้นใหม่ ซึ่งเป็นผลกลับทำให้เจ้าหนี้มีระยะเวลาที่จะฟ้องลูกหนี้เป็นเวลายาวนานกว่าปกติ มิใช่ว่าจะทำให้เจ้าหนี้หมดสิทธิที่จะฟ้องผู้ค้ำประกันในขณะที่อายุความสะดุดหยุดอยู่แต่อย่างใด โจทก์ยื่นคำร้องขอพิสูจน์หนี้ในคดีล้มละลาย ย่อมทำให้อายุความฟ้องคดีของโจทก์สะดุดหยุดอยู่ แม้ศาลจะมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์รับชำระหนี้ได้ ก็ไม่ใช่เป็นเรื่องการเฉลี่ยทรัพย์รายได้เป็นครั้งที่สุด เพื่อยังไม่มีการยกเลิกการล้มละลายและยังไม่ได้มีการเฉลี่ยทรัพย์รายได้เป็นครั้งที่สุด อายุความที่จะฟ้องลูกหนี้ยังคงสะดุดหยุดอยู่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5324/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีผู้ค้ำประกัน: พิจารณาจากลูกหนี้ผิดนัด แม้คดีล้มละลายยังไม่สิ้นสุด
จำเลยที่ 1 ยกเรื่องอายุความขึ้นต่อสู้คดีไว้ในคำให้การแต่เพียงว่า โจทก์จะฟ้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันเกินกว่าระยะเวลา 10 ปี ไม่ได้ แต่เหตุที่จำเลยที่ 1 ยกขึ้นฎีกาเพื่อให้ตนเองพ้นความรับผิดเป็นเรื่องที่ว่าหนี้ของลูกหนี้ขาดอายุความแล้ว จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้ค้ำประกันย่อมพ้นความรับผิดไปด้วยเป็นคนละเรื่องกับที่ให้การไว้ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย การที่โจทก์จะมีสิทธิฟ้องจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันให้ชำระหนี้ได้หรือไม่ ต้องพิจารณาเพียงว่าลูกหนี้ผิดนัดแล้วหรือไม่เท่านั้น เมื่อลูกหนี้ผิดนัดแล้วโจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ได้แม้ขณะนั้นอายุความที่จะฟ้องลูกหนี้ยังสะดุดหยุดอยู่ก็ตาม แม้ศาลจะมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์รับชำระหนี้ในคดีล้มละลายแต่เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าขณะที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ คดีที่ลูกหนี้ถูกฟ้องล้มละลาย ยังไม่มีการยกเลิกการล้มละลาย และยังไม่ได้มีการเฉลี่ยทรัพย์รายได้เป็นครั้งที่สุด อายุความที่จะฟ้องลูกหนี้ยังคงสะดุดหยุดอยู่ คดีของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ ศาลอุทธรณ์มิได้สั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161 และมาตรา 167ที่กำหนดให้ศาลต้องสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมไม่ว่าคู่ความจะมีคำขอหรือไม่ศาลฎีกาแก้ไขได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2279/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยจากการเพิกถอนการโอนทรัพย์ในคดีล้มละลาย เริ่มนับแต่วันศาลมีคำสั่งเพิกถอน ไม่ใช่วันยื่นคำร้อง
คดีที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ร้องขอให้เพิกถอนการโอนที่ดินระหว่างบุคคลล้มละลายกับบุคคลภายนอก หากศาลมีคำสั่งให้เพิกถอนการโอน และให้บุคคลภายนอกโอนที่ดินสู่กองทรัพย์สินของบุคคลล้มละลายถ้าไม่สามารถโอนได้ให้ใช้ราคาแทนพร้อมดอกเบี้ยนั้น ให้คิดดอกเบี้ยนับแต่วันที่ศาลมีคำสั่งให้เพิกถอนการโอน มิใช่นับแต่วันที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยื่นคำร้องขอเพิกถอนการโอน เพราะตราบใดที่ศาลยังไม่มีคำสั่งหรือคำพิพากษาให้เพิกถอนการโอน ถือว่าเป็นการโอนโดยชอบอยู่และยังถือไม่ได้ว่ามีการผิดนัดนับแต่วันยื่นคำร้องขอให้เพิกถอน และปัญหาว่าผู้ร้องมีสิทธิคิดดอกเบี้ยนับแต่เมื่อใดเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลยกขึ้นวินิจฉัยเองได้