คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
คดีเดิม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 194 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2204/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อน: คดีเดิมยังพิจารณาอยู่ ห้ามฟ้องเรื่องเดียวกันซ้ำ
คดีก่อนจำเลยในคดีนี้เป็นโจทก์ฟ้องโจทก์ในคดีนี้เป็นจำเลยอ้างว่าโจทก์ขายที่ดินบางส่วนให้จำเลย จำเลยชำระเงิน 145,000 บาทให้โจทก์แล้ว โจทก์ยอมให้จำเลยถือกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินที่ซื้อต่อมาโจทก์ผิดสัญญาจึงขอให้บังคับโจทก์รังวัดแบ่งแยกที่ดินที่ซื้อให้จำเลย โจทก์ให้การและฟ้องแย้งว่าจำเลยยังค้างชำระราคาที่ดินโจทก์เป็นเงิน 615,000 บาท การที่โจทก์ให้จำเลยถือกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินที่ซื้อเกิดจากการฉ้อฉลและสำคัญผิดจึงเป็นโมฆะขอให้ยกฟ้อง และขอให้ศาลเพิกถอนจำเลยออกจากผู้ถือกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินที่ซื้อกับริบเงินมัดจำ 145,000 บาท ศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์แบ่งแยกที่ดินที่ซื้อให้จำเลยตามฟ้องกับยกฟ้องแย้งโจทก์คดีดังกล่าวอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา คดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยว่า จำเลยตกลงซื้อที่ดินจากโจทก์ 72 ตารางวาตารางวาละ 11,000 บาท เป็นเงิน 792,000 บาท จำเลยชำระเงิน145,000 บาท คงค้าง 640,000 บาท จำเลยขอให้โจทก์ใส่ชื่อจำเลยถือกรรมสิทธิ์รวมในโฉนดไว้ก่อน ต่อมาโจทก์ทวงถามให้ชำระค่าที่ดินส่วนที่เหลือ จำเลยเพิกเฉย ขอให้บังคับจำเลยชำระเงินส่วนที่เหลือพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ ดังนั้น ฟ้องแย้งในคดีเดิมของโจทก์จึงเป็นเรื่องเดียวกันกับคดีนี้และโจทก์ในคดีนี้ซึ่งเป็นจำเลยในคดีเดิมมีฐานะเป็นโจทก์ในส่วนฟ้องแย้งด้วย ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงซ้อนกับฟ้องแย้งในคดีก่อน ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173(1) โจทก์ฎีกาเพียงแต่ขอให้ศาลชั้นต้นดำเนินการสืบพยานต่อไปตามรูปคดี มิได้เรียกร้องอะไรจากจำเลย จึงต้องเสียค่าขึ้นศาลในชั้นฎีกา 200 บาท ตามตาราง 1(2) ก ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มิใช่เสียตามทุนทรัพย์ที่พิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2204/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อน: คดีซื้อขายที่ดินที่มีการฟ้องแย้งเรื่องการชำระราคาและข้อฉ้อฉล เมื่อคดีเดิมยังอยู่ระหว่างพิจารณา
เดิมจำเลยฟ้องโจทก์อ้างว่า โจทก์ผิดสัญญาซื้อขายที่ดินขอให้โจทก์รังวัดแบ่งแยกที่ดินที่ซื้อให้แก่จำเลย โจทก์ให้การและฟ้องแย้งว่า จำเลยยังค้างชำระราคาที่ดินโจทก์ การที่โจทก์ให้จำเลยถือกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินที่ซื้อเกิดจากการฉ้อฉลและสำคัญผิดเป็นโมฆะ ขอให้เพิกถอนจำเลยจากผู้ถือกรรมสิทธิ์และริบเงินมัดจำ คดีดังกล่าวอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาโจทก์ได้ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้อ้างว่า จำเลยตกลงซื้อที่ดินโจทก์ชำระเงินวันทำสัญญาบางส่วน โจทก์ใส่ชื่อจำเลยถือกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินที่ซื้อแล้ว จะชำระราคาส่วนที่เหลือให้ โดยระบุราคาซื้อขายที่ดินในสัญญา จำเลยไม่ชำระราคาที่ดินที่ค้างให้แก่โจทก์ ขอให้จำเลยชำระราคาที่ดินส่วนที่เหลือ ดังนี้ฟ้องแย้งของโจทก์ในคดีเดิมจึงเป็นเรื่องเดียวกันกับคดีนี้ และโจทก์ในคดี นี้ซึ่งเป็นจำเลยผู้ฟ้องแย้งในคดีเดิมมีฐานะเป็นโจทก์ฟ้องแย้ง ในคดีเดิมด้วย เมื่อคดีเดิมยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงซ้อนกับฟ้องแย้งในคดีเดิม ต้องห้ามตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1964/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อน: การเรียกร้องค่าเสียหายซ้ำซ้อนในคดีเดิมที่ยังไม่สิ้นสุด
ตามคำฟ้องคดีก่อนโจทก์กล่าวอ้างว่า โจทก์ขออนุญาตปลูกสร้างอาคาร และจำเลยทั้งสองได้อนุญาตให้โจทก์ปลูกสร้างอาคารได้ โจทก์จึงได้จ้างบริษัท ม.ทำการสร้างเข็มเจาะเพื่อทำการก่อสร้างโดยเสียค่าจ้างเป็นเงิน 140,000 บาท ต่อมาจำเลยมีคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตดังกล่าว โดยอ้างว่าโจทก์มิได้แจ้งข้อเท็จจริงทั้งหมดเกี่ยวกับที่ดินที่ทำการปลูกสร้างอาคารให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบ จึงขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งของจำเลยทั้งสอง คดีนี้คำฟ้องของโจทก์ได้บรรยายกล่าวอ้างว่า โจทก์ได้รับอนุญาตจากจำเลยทั้งสองให้ทำการปลูกสร้างอาคารแล้ว โจทก์จึงได้ดำเนินการก่อสร้างโดยเสียค่าใช้จ่ายในการปรับหน้าดินกับค่าจ้างเขียนแบบและค่าจ้างบริษัท ม.ทำการสร้างเข็มเจาะ รวมเป็นเงินที่ได้ลงทุนไปทั้งสิ้น 220,000 บาท ต่อมาจำเลยทั้งสองจงใจหรือประมาทเลินเล่อร่วมกันกระทำโดยมิชอบออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตก่อสร้าง ทำให้โจทก์เสียหายไม่อาจทำการก่อสร้างได้ จำเลยทั้งสองจึงต้องรับผิดในเงินที่โจทก์ได้ลงทุนไป ขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันใช้ค่าเสียหายดังกล่าว สาระสำคัญอันที่โจทก์นำมากล่าวอ้างเป็นมูลเหตุแห่งการฟ้องและเรียกค่าเสียหายในคดีนี้เป็นผลสืบเนื่องมาจากเรื่องเดียวกัน และมูลเหตุเดียวกันกับในคดีก่อนชอบที่โจทก์จะได้เรียกร้องค่าเสียหายมาพร้อมกับฟ้องในคดีก่อนเสียในคราวเดียวกัน โจทก์จะนำคดีมาแบ่งแยกฟ้องทีละส่วนทีละตอน ทั้ง ๆ ที่คดีก่อนยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์หาได้ไม่ ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้อน ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 173 วรรคสอง (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1964/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อน: การเรียกร้องค่าเสียหายซ้ำซ้อนในคดีเดิมที่ยังพิจารณาค้างอยู่
ตามคำฟ้องคดีก่อนโจทก์กล่าวอ้างว่า โจทก์ขออนุญาตปลูกสร้าง อาคารและจำเลยทั้งสองได้อนุญาตให้โจทก์ปลูกสร้างอาคารได้ โจทก์จึง ได้จ้างบริษัท ม. ทำการสร้างเข็มเจาะเพื่อทำการก่อสร้างโดยเสียค่าจ้างเป็นเงิน 140,000 บาท ต่อมาจำเลยมีคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตดังกล่าว โดยอ้างว่าโจทก์มิได้แจ้งข้อเท็จจริงทั้งหมดเกี่ยวกับ ที่ดินที่ ทำ การปลูกสร้างอาคารให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบ จึงขอให้ ศาลเพิกถอนคำสั่งของจำเลยทั้งสอง คดีนี้คำฟ้องของโจทก์ได้บรรยาย กล่าวอ้างว่า โจทก์ได้รับอนุญาตจากจำเลยทั้งสองให้ทำการปลูกสร้าง อาคารแล้ว โจทก์จึงได้ดำเนินการก่อสร้างโดยเสียค่าใช้จ่ายในการ ปรับหน้าดินกับค่าจ้างเขียนแบบและค่าจ้างบริษัท ม. ทำการสร้างเข็มเจาะ รวมเป็นเงินที่ได้ลงทุนไปทั้งสิ้น 220,000 บาท ต่อมา จำเลยทั้งสองจงใจหรือประมาทเลินเล่อร่วมกันกระทำโดยมิชอบออกคำสั่ง เพิกถอนใบอนุญาตก่อสร้าง ทำให้โจทก์เสียหายไม่อาจทำการก่อสร้างได้ จำเลยทั้งสองจึงต้องรับผิดในเงินที่โจทก์ได้ลงทุนไป ขอให้บังคับ จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้ค่าเสียหายดังกล่าวสาระสำคัญอันที่โจทก์ นำมากล่าวอ้างเป็นมูลเหตุแห่งการฟ้องและเรียกค่าเสียหายในคดีนี้ เป็นผลสืบเนื่องมาจากเรื่องเดียวกัน และมูลเหตุเดียวกันกับในคดีก่อน ชอบที่โจทก์จะได้เรียกร้องค่าเสียหายมาพร้อมกับฟ้องในคดีก่อน เสียในคราวเดียวกัน โจทก์จะนำคดีมาแบ่งแยกฟ้องทีละส่วนทีละตอน ทั้ง ๆ ที่คดีก่อนยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ หาได้ไม่ ฟ้อง โจทก์ คดี นี้ จึง เป็น ฟ้องซ้อน ต้องห้าม ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173 วรรคสอง (1).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1342/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ-ขาดอำนาจฟ้อง: คดีเดิมวินิจฉัยเจ้าของที่ดินแล้ว โจทก์ฟ้องทายาทอีกครั้งถือเป็นการฟ้องซ้ำ
คดีก่อนซึ่งโจทก์ฟ้อง ส. ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ม.เป็นจำเลย ศาลได้พิพากษาว่าที่ดินพิพาทเป็นมรดกของ ม.เป็นการวินิจฉัยถึงความเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทของทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของ ม. คำพิพากษานั้นย่อมผูกพันโจทก์ซึ่งเป็นคู่ความในคดีก่อน เมื่อคดีดังกล่าวถึงที่สุดแล้วการที่โจทก์มาฟ้องจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบุตรของ ม. และมีสิทธิรับมรดกของ ม.ขอให้ขับไล่จำเลยทั้งสองออกจากที่ดินพิพาท โดย มิได้แสดงสิทธิอื่นขึ้นใหม่ จึงเป็นฟ้องซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 148 และแม้จำเลยที่ 1 จะมิได้เป็นทายาทของ ม. แต่จำเลยที่ 1 ต่อสู้คดีโดย อ้างว่าเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทร่วมกับจำเลยที่ 2จึงเป็นคำให้การที่อาศัยสิทธิของจำเลยที่ 2 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1332/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิฟ้องแย้งกรณีโต้เถียงกรรมสิทธิ์ในที่ดิน และผลกระทบต่อการพิจารณาคดีเดิม
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสามขนย้ายทรัพย์สินและรื้อบ้านออกไปจากที่ดินแปลงที่พิพาท กับให้ใช้ค่าเสียหาย จำเลยทั้งสามให้การและฟ้องแย้งว่า จำเลยทั้งสามได้กรรมสิทธิ์ในที่พิพาทโดยการครอบครอง ขอให้ยกฟ้องและพิพากษาว่าที่พิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยทั้งสาม ดังนี้เป็นกรณีที่จำเลยทั้งสามโต้เถียงเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในที่พิพาท จึงเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิม จำเลยทั้งสามย่อมมีสิทธิที่จะฟ้องแย้งได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1332/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องแย้งเรื่องกรรมสิทธิ์จากการครอบครองเมื่อคดีเดิมดำเนินไปแล้ว ศาลฎีกาไม่รับฟ้องแย้ง
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสามขนย้ายทรัพย์สินและรื้อบ้านออกไป กับให้ใช้ค่าเสียหาย จำเลยทั้งสามให้การและฟ้องแย้งว่า จำเลยทั้งสามครอบครองที่พิพาท ซึ่งเป็นที่ดินมีโฉนดต่อจากบิดามารดาด้วยความสงบ เปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกันมาเกินสิบปี ย่อมได้กรรมสิทธิ์ในที่พิพาทโดย การครอบครอง โจทก์ซื้อที่พิพาทโดย ไม่สุจริตไม่เสียค่าตอบแทน ทั้งทราบการครอบครองของจำเลยทั้งสามแล้ว จึงไม่มีอำนาจฟ้อง ขอให้ยกฟ้องและพิพากษาว่าที่พิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยทั้งสามโดย การครอบครอง ห้ามมิให้โจทก์เกี่ยวข้องต่อไป ดังนี้เป็นกรณีที่จำเลยทั้งสามโต้เถียงเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในที่พิพาท จึงเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิมโดยตรง มิใช่เป็นเรื่องอื่นที่ไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิมจำเลยทั้งสามย่อมมีสิทธิที่จะฟ้องแย้งได้ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฟ้องแย้ง จำเลยทั้งสามอุทธรณ์ศาลอุทธรณ์มิได้ทำคำสั่งให้ศาลชั้นต้นงดการพิจารณาไว้ในระหว่างอุทธรณ์คำสั่งและบัดนี้คดีเดิมศาลชั้นต้นได้พิจารณาพิพากษาเสร็จจนถึงศาลอุทธรณ์ได้พิพากษาให้โจทก์ชนะคดีไปแล้ว คดีอยู่ระหว่างที่จำเลยทั้งสามฎีกา จึงไม่มีเหตุที่จะให้ศาลชั้นต้นรับฟ้องแย้งและรื้อฟื้นพิจารณาพิพากษาประเด็นตามฟ้องแย้งนั้นใหม่ถ้าจำเลยทั้งสามเห็นว่า จำเลยทั้งสามได้กรรมสิทธิ์ในที่พิพาทโดยการครอบครอง ก็ชอบที่จำเลยทั้งสามจะดำเนินคดีเรียกร้องเป็นคดีต่างหากได้ เพราะคำพิพากษาดังกล่าวก็ไม่ตัดสิทธิของจำเลยทั้งสามที่จะเรียกร้องได้ตามสิทธิของตน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6035/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนฟ้องคดี และการฟ้องร้องเกี่ยวเนื่องกับการบังคับคดี ศาลมีดุลพินิจอนุญาต/ไม่อนุญาตถอนฟ้องได้ และการบังคับคดีต้องดำเนินการในคดีเดิม
การที่จะอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องหรือไม่เป็นดุลพินิจของศาลโดยพิจารณาจากความสุจริตในการดำเนินคดีของโจทก์และผลได้ผลเสียของคู่ความทุกฝ่าย โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดและเพิกถอนการจดทะเบียนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาท ทั้งยื่นคำร้องขอให้ห้ามจำเลยและเจ้าพนักงานที่ดินทำนิติกรรมใด ๆ เกี่ยวกับที่ดินพิพาทซึ่งศาลชั้นต้นได้ไต่สวนคำร้องดังกล่าวจนเสร็จแล้ว โจทก์ จึงขอถอนฟ้องโดยให้เหตุผลว่าประสงค์จะยื่นฟ้องจำเลยใหม่ ดังนั้น หากศาลอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องแล้วโจทก์อาจฟ้องจำเลยใหม่และ ยื่นคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนคำพิพากษาเช่นเดียวกันกับ คดีนี้อีกซึ่งอาจทำให้จำเลยเสียหายเมื่อเป็นเช่นนี้จึงควร ดำเนินการพิจารณาให้เป็นผลเสร็จเด็ดขาดไปในคดีนี้ โจทก์ซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาในคดีอื่นของศาลชั้นต้นฟ้องขอให้บังคับจำเลยซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในคดีดังกล่าวปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความ กับขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดและการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินของโจทก์ในคดีดังกล่าว เป็นฟ้องที่มีคำขอเกี่ยวเนื่องกับการบังคับคดีตามคำพิพากษา ของศาลชั้นต้นในคดีดังกล่าวซึ่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 กำหนดให้ว่ากล่าวกันในคดีเดิม โจทก์ต้องยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้อง ในคดีเดิมดังกล่าว จะทำเป็นคำฟ้องมายื่นต่อศาลเป็นคดีใหม่หาได้ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5756/2533 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ: การรื้อฟ้องคดีกรรมสิทธิ์ที่ดินเดิมที่ศาลมีคำสั่งถึงที่สุดแล้ว
ผู้ร้องเคยยื่นคำร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินเฉพาะส่วนในโฉนดที่ดินเลขที่ 1417 ที่ผู้คัดค้านมีชื่อถือกรรมสิทธิ์โดยผู้ร้องได้แนบแผนที่สังเขปแสดงรูปลักษณะของที่ดินที่ผู้ร้องได้ครอบครองมา ท้ายคำร้องขอด้วย และศาลชั้นต้นก็ได้วินิจฉัยว่าผู้ร้องครอบครองที่ดินแปลงตามคำร้องขอจนได้กรรมสิทธิ์ตามประมวลกฎหมาย แพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 ครั้นผู้ร้องมายื่นคำร้องขอในคดีนี้ก็กล่าวในคำร้องขอว่าเป็นที่ดินที่ผู้ร้องได้ครอบครองอยู่ในขณะที่ยื่นคำร้องขอ ในคดีเดิม เมื่อที่พิพาทในคดีนี้เป็นที่ดินแปลงเดียวกันกับที่ดินที่ผู้ร้องร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์ และศาลได้มีคำสั่งถึงที่สุดแล้วว่าผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์ตามคดีเดิม ฉะนั้น ที่ผู้ร้องมายื่นคำร้องขอเป็นคดีนี้อีกจึงเป็นการรื้อร้องเพื่อให้ศาลวินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกับคดีก่อนนั่นเอง ถือว่าเป็นฟ้องซ้ำ
ปัญหาเรื่องฟ้องซ้ำ แม้จะไม่มีฝ่ายใดยกขึ้นว่ากล่าว แต่เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลยกขึ้นวินิจฉัยเองได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5358/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ: คดีเดิมวินิจฉัยแล้ว การฟ้องคดีใหม่ประเด็นเดิมถือเป็นการฟ้องซ้ำตามกฎหมาย
ปัญหาเรื่องฟ้องซ้ำแม้คู่ความไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวในชั้นอุทธรณ์และโจทก์ไม่ได้ฎีกาปัญหานี้ แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาเห็นควรหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเอง ศาลชั้นต้นได้พิพากษาให้โจทก์ซึ่งเป็นจำเลยในคดีก่อนแบ่งแยกกรรมสิทธิ์ในที่ดินมรดกให้แก่จำเลยคดีนี้จำนวน 2 ไร่ 2 งาน คดีถึงที่สุด ปัญหาที่ว่าจำเลยมีสิทธิได้รับแบ่งแยกกรรมสิทธิ์ที่ดินจำนวนเนื้อที่เท่าใดจึงเป็นประเด็นแห่งคดีในคดีก่อน ในชั้นบังคับคดีของคดีก่อนโจทก์ซึ่งเป็นจำเลยในคดีก่อนยื่นคำคัดค้านขอให้ศาลชั้นต้นแก้ไขหมายบังคับคดีและมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีเฉลี่ยลดเนื้อที่ลงตามส่วนเพราะเนื้อที่ดินมรดกขาดไป 239 ตารางวาศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้อง โจทก์ซึ่งเป็นจำเลยคดีก่อนอุทธรณ์คำสั่ง ระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ โจทก์ได้ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้การที่โจทก์ซึ่งเป็นจำเลยในคดีก่อนยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นบังคับคดีในคดีก่อนแล้ว กลับนำคดีมาฟ้องใหม่เป็นคดีนี้โดยมีประเด็นแห่งคดีว่า จำเลยมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งกรรมสิทธิ์ จำนวน 2 ไร่ 2 งานเต็มตามคำพิพากษาในคดีก่อนหรือไม่ ซึ่งเป็นการฟ้องซ้ำกับคดีก่อนของศาลชั้นต้นต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 148
of 20