พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,220 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6761/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายสินสมรสระหว่างคดีแพ่งเข้าข่ายโกงเจ้าหนี้ แม้กรรมสิทธิ์ยังพิพาทอยู่
การที่จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ภรรยาของโจทก์ซึ่งมีชื่อในโฉนดที่ดินได้ร่วมกันขายที่ดินอันเป็นสินสมรสของโจทก์กับจำเลยที่ 2 ให้กับผู้อื่นภายหลังที่โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยที่ 2 ขอหย่าแบ่งสินสมรส และฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีแพ่ง ขอให้โอนที่ดินแปลงพิพาทให้โจทก์ครึ่งหนึ่ง โดยจำเลยทั้งสองไม่ได้มีนิติกรรมผูกพันที่จะต้องขายมาก่อน มิใช่เป็นการขายไปในลักษณะปกติแม้คดีแพ่งจะยังมีข้อโต้เถียงกรรมสิทธิ์ และอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นก็ตาม ก็ถือว่าโจทก์อยู่ในฐานะเจ้าหนี้ที่มีอำนาจจะฟ้องจำเลยทั้งสองแล้ว เข้าองค์ประกอบความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 350
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6721/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดนัดพิจารณาคดีแพ่งและการพิจารณาคดีต่อไปได้ แม้จำเลยมิได้สืบพยาน
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งนัดชี้สองสถานหรือสืบพยานโจทก์วันที่ 13 กันยายน 2543 จำเลยทราบนัดแล้วไม่มาศาลในวันดังกล่าว จึงต้องถือว่าจำเลยขาดนัดพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 200 วรรคหนึ่ง และศาลชั้นต้นชอบที่จะพิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีนั้นไปฝ่ายเดียวตามมาตรา 204 ซึ่งเมื่อศาลชั้นต้นสืบพยานโจทก์จนแล้วเสร็จโดยจำเลยมิได้อยู่ในศาล ก็มีอำนาจพิพากษาคดีไปเสียทีเดียวตามมาตรา 204 กรณีไม่ต้องด้วยมาตรา 206 วรรคสาม และวรรคสี่(1) ที่ให้สิทธิแก่คู่ความฝ่ายที่ขาดนัดพิจารณานำพยานเข้าสืบได้หากมาศาลยังไม่พ้นเวลาที่จะนำพยานของตนเข้าสืบ เพราะจำเลยมิได้มาศาลในวันสืบพยานฉะนั้น ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าคดีเสร็จการพิจารณาและมีคำพิพากษาในวันนั้นจึงไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาผิดระเบียบตามมาตรา 27
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6501-6502/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลผูกพันคำพิพากษาคดีอาญาต่อคดีแพ่ง: สิทธิครอบครองที่ดินพิพาท
เดิมพนักงานอัยการเป็นโจทก์ ฟ้องจำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 เป็นคดีอาญาข้อหาบุกรุกที่ดินพิพาท โดยโจทก์คดีนี้ขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ในคดีดังกล่าวด้วย คดีถึงที่สุด โดยศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัยว่า กรณียังถือไม่ได้ว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ร่วม การกระทำของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 ไม่เป็นความผิดฐานบุกรุกดังที่โจทก์ฟ้อง เมื่อโจทก์นำข้อเท็จจริงดังกล่าวมาฟ้อง จำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 เป็นคดีส่วนแพ่ง ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่ง ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฎในคำพิพากษาคดีอาญา ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 46 ดังนั้น แม้จำเลยที่ 7 มิใช่จำเลยในคดีส่วนอาญาที่ถูกพนักงานอัยการโจทก์ฟ้องในข้อหาบุกรุกด้วย แต่โจทก์ในคดีนี้เป็นโจทก์ร่วมในคดีอาญา ข้อเท็จจริงในคดีส่วนอาญาที่เกี่ยวข้องกับโจทก์จึงมีผลผูกพันโจทก์ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6501-6502/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลผูกพันคำพิพากษาคดีอาญาต่อคดีแพ่ง และสิทธิครอบครองที่ดิน
คดีนี้เป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาซึ่งพนักงานอัยการฟ้องจำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 ข้อหาบุกรุกที่ดินพิพาท โดยโจทก์ในคดีนี้ซึ่งเป็นผู้เสียหายขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ด้วย และคดีถึงที่สุดแล้ว โดยศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่ากรณียังถือไม่ได้ว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ร่วมจำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 ไม่มีความผิดฐานบุกรุก เมื่อโจทก์นำข้อเท็จจริงดังกล่าวมาฟ้องจำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 เป็นคดีแพ่ง ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่งศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46 ดังนั้นแม้จำเลยร่วมซึ่งซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 2 มิใช่จำเลยในคดีส่วนอาญาที่ถูกพนักงานอัยการฟ้องในข้อหาบุกรุกด้วย แต่โจทก์ในคดีนี้หาใช่บุคคลภายนอกคดีไม่เพราะเป็นโจทก์ร่วมในคดีส่วนอาญา ข้อเท็จจริงในคดีส่วนอาญาจึงมีผลผูกพันโจทก์ ฉะนั้น ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยในคำพิพากษาคดีส่วนแพ่งว่าพยานหลักฐานโจทก์ที่นำสืบมามีน้ำหนักดีกว่าพยานจำเลยร่วมฟังได้ว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ จึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6463/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำหรือไม่: คดีอาญาเช็คกับคดีแพ่งสัญญา กู้เงิน ประเด็นอยู่ที่เหตุแห่งการวินิจฉัย
คดีก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยว่ากระทำผิดอาญาฐานออกเช็คโดยเจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็ค ซึ่งมีประเด็นว่าจำเลยกระทำผิดตามฟ้องหรือไม่ ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยว่าทำสัญญากู้และรับเงินกู้ไปจากโจทก์แล้วจำเลยผิดสัญญา ขอให้พิพากษาให้จำเลยชำระเงินตามสัญญากู้ คดีอาญาถึงที่สุดโดยศาลวินิจฉัยว่า สัญญากู้มิได้ขีดฆ่าอากรแสตมป์ ไม่อาจรับฟังเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งจึงฟังไม่ได้ว่ามีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อจำเลยผู้กู้ หนี้ตามเช็คเป็นหนี้ที่ไม่สามารถบังคับได้ตามกฎหมายพิพากษายกฟ้องแต่คดีนี้มีประเด็นว่าจำเลยทำสัญญากู้และรับเงินกู้ไปจากโจทก์หรือไม่จำเลยผิดสัญญาหรือไม่ เมื่อโจทก์ได้ขีดฆ่าอากรแสตมป์ในสัญญากู้แล้ว จึงมิใช่ประเด็นที่วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ
คดีก่อนศาลวินิจฉัยว่า การกระทำของจำเลยขาดองค์ประกอบความผิดตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 เพราะเป็นหนี้ที่ไม่อาจบังคับได้ตามกฎหมาย แต่คดีนี้มีประเด็นวินิจฉัยว่าจำเลยทำสัญญากู้และรับเงินกู้จากโจทก์หรือไม่ จำเลยผิดสัญญาหรือไม่ซึ่งประเด็นเหล่านี้ยังมิได้วินิจฉัยชี้ขาด จึงไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำอันจะต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144 วรรคหนึ่ง
คดีก่อนศาลวินิจฉัยว่า การกระทำของจำเลยขาดองค์ประกอบความผิดตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 เพราะเป็นหนี้ที่ไม่อาจบังคับได้ตามกฎหมาย แต่คดีนี้มีประเด็นวินิจฉัยว่าจำเลยทำสัญญากู้และรับเงินกู้จากโจทก์หรือไม่ จำเลยผิดสัญญาหรือไม่ซึ่งประเด็นเหล่านี้ยังมิได้วินิจฉัยชี้ขาด จึงไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำอันจะต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6252/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องซ้ำในคดีแพ่ง: การแยกคดีอาญาและแพ่งจากคดีเดิมไม่ถือเป็นการฟ้องซ้ำ
แม้ปัญหาว่าการฟ้องคดีของโจทก์เป็นการฟ้องซ้ำหรือไม่ จำเลยได้ขอสละข้อต่อสู้ดังกล่าวไปแล้วก็ตาม แต่เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยจึงมีสิทธิฎีกาได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคสอง
คดีก่อน โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยทั้งส่วนอาญาและส่วนแพ่งรวมกันมา ต่อมาศาลชั้นต้นให้แยกคดีส่วนแพ่งออกจากคดีส่วนอาญา โจทก์จึงถอนฟ้องคดีส่วนแพ่งแล้วยื่นฟ้องเข้ามาใหม่ วันฟ้องคดีส่วนแพ่งที่ถอนฟ้องแล้วยื่นฟ้องเข้ามาใหม่ตามที่ศาลชั้นต้นให้แยกคดีส่วนแพ่งออกจากคดีส่วนอาญานั้นยังคงเป็นวันฟ้องเดิมในคดีอาญาสินไหมนั่นเอง การยื่นฟ้องคดีส่วนแพ่งดังกล่าวจึงไม่ถือว่าเป็นการยื่นฟ้องใหม่ แต่ถือว่าเป็นเพียงการแยกคดีส่วนแพ่งออกจากคดีส่วนอาญาตามคำสั่งศาลชั้นต้น เมื่อการยื่นฟ้องมีเพียงคราวเดียวเท่านั้นจึงไม่เป็นการฟ้องซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 และเมื่อมีการแยกคดีส่วนแพ่งออกไปแล้ว คดีอาญาสินไหมก็คงเหลือเพียงคดีส่วนอาญาซึ่งมีปัญหาเพียงว่าจำเลยได้กระทำความผิดตามฟ้องหรือไม่ สำหรับคดีส่วนแพ่งซึ่งถูกแยกออกไปนั้น มีปัญหาว่าจำเลยได้กระทำละเมิดโจทก์หรือไม่ และจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์หรือไม่เพียงใดประเด็นแห่งคดีแตกต่างกัน การดำเนินกระบวนพิจารณาในคดีส่วนแพ่งจึงไม่ซ้ำกับการดำเนินกระบวนพิจารณาในส่วนอาญาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144
คดีก่อน โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยทั้งส่วนอาญาและส่วนแพ่งรวมกันมา ต่อมาศาลชั้นต้นให้แยกคดีส่วนแพ่งออกจากคดีส่วนอาญา โจทก์จึงถอนฟ้องคดีส่วนแพ่งแล้วยื่นฟ้องเข้ามาใหม่ วันฟ้องคดีส่วนแพ่งที่ถอนฟ้องแล้วยื่นฟ้องเข้ามาใหม่ตามที่ศาลชั้นต้นให้แยกคดีส่วนแพ่งออกจากคดีส่วนอาญานั้นยังคงเป็นวันฟ้องเดิมในคดีอาญาสินไหมนั่นเอง การยื่นฟ้องคดีส่วนแพ่งดังกล่าวจึงไม่ถือว่าเป็นการยื่นฟ้องใหม่ แต่ถือว่าเป็นเพียงการแยกคดีส่วนแพ่งออกจากคดีส่วนอาญาตามคำสั่งศาลชั้นต้น เมื่อการยื่นฟ้องมีเพียงคราวเดียวเท่านั้นจึงไม่เป็นการฟ้องซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 และเมื่อมีการแยกคดีส่วนแพ่งออกไปแล้ว คดีอาญาสินไหมก็คงเหลือเพียงคดีส่วนอาญาซึ่งมีปัญหาเพียงว่าจำเลยได้กระทำความผิดตามฟ้องหรือไม่ สำหรับคดีส่วนแพ่งซึ่งถูกแยกออกไปนั้น มีปัญหาว่าจำเลยได้กระทำละเมิดโจทก์หรือไม่ และจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์หรือไม่เพียงใดประเด็นแห่งคดีแตกต่างกัน การดำเนินกระบวนพิจารณาในคดีส่วนแพ่งจึงไม่ซ้ำกับการดำเนินกระบวนพิจารณาในส่วนอาญาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6252/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแยกคดีอาญาและแพ่งออกจากกัน การฟ้องซ้ำ และประเด็นความแตกต่างของคดี
คดีก่อนโจทก์ฟ้องคดีทั้งส่วนอาญาและส่วนแพ่งรวมกันมา แม้ต่อมาศาลชั้นต้นจะให้แยกคดีส่วนแพ่งออกจากคดีส่วนอาญาโจทก์จึงได้ถอนฟ้องคดีส่วนแพ่งแล้วยื่นฟ้องเข้ามาใหม่ วันฟ้องของคดีส่วนแพ่งที่ถอนฟ้องแล้วยื่นเข้ามาใหม่ยังคงเป็นวันฟ้องเดิมในคดีอาญาสินไหมนั่นเอง ไม่ถือว่าเป็นการยื่นฟ้องใหม่ แต่ถือว่าเป็นการแยกคดีส่วนแพ่งออกจากคดีส่วนอาญาตามคำสั่งศาลชั้นต้นการยื่นฟ้องมีเพียงคราวเดียวเท่านั้น จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148 และเมื่อมีการแยกคดีส่วนแพ่งออกไปแล้ว คดีอาญาสินไหมก็คงเหลือเพียงคดีส่วนอาญาซึ่งมีปัญหาเพียงว่าจำเลยได้กระทำความผิดตามฟ้องหรือไม่ สำหรับคดีส่วนแพ่งซึ่งถูกแยกออกไปนั้น มีปัญหาว่าจำเลยได้กระทำละเมิดโจทก์หรือไม่ และจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์หรือไม่เพียงใด ประเด็นแห่งคดีแตกต่างกัน การดำเนินกระบวนพิจารณาในคดีส่วนแพ่งจึงไม่ซ้ำกับส่วนอาญาตามมาตรา 144
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 426/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังสัญญาที่ไม่ปิดอากรแสตมป์ในวันทำสัญญา แต่ปิดและขีดฆ่าภายหลัง และการชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานในคดีแพ่ง
ประมวลรัษฎากรฯ มาตรา 118 เพียงแต่บัญญัติว่าตราสารใดที่ไม่ปิดอากรแสตมป์หรือปิดอากรแสตมป์ไม่ครบถ้วน จะใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งไม่ได้จนกว่าจะปิดอากรแสตมป์ให้ครบถ้วนบริบูรณ์และขีดฆ่าแล้ว แต่หาได้บังคับให้ปิดและขีดฆ่าอากรแสตมป์ในขณะทำสัญญาดังที่จำเลยฎีกาไม่ ส่วนเรื่องที่โจทก์จะต้องรับผิดเสียเงินเพิ่มอากรตามมาตรา 113 และ 114 แห่งประมวลรัษฎากรฯเป็นอีกส่วนหนึ่งต่างหาก ซึ่งไม่มีผลกระทบถึงการปิดและขีดฆ่าอากรแสตมป์แต่ประการใด
การขีดฆ่าอากรแสตมป์มิได้จำกัดแต่เฉพาะการลงลายมือชื่อบนอากรแสตมป์หรือการขีดเส้นคร่อมฆ่าอากรแสตมป์และลงวันเดือนปีกำกับเท่านั้น แต่ย่อมหมายรวมถึงการกระทำด้วยวิธีการอื่นใดที่ทำให้อากรแสตมป์นั้นเสียไปไม่สามารถนำไปใช้ใหม่ด้วย เมื่อโจทก์ได้ขีดฆ่าอากรแสตมป์โดยขีดเส้นคร่อมบนอากรแสตมป์เพื่อมิให้นำไปใช้ได้อีกจึงถือว่าเป็นการปิดและขีดฆ่าอากรแสตมป์ถูกต้องตามมาตรา 103 แล้ว
การขีดฆ่าอากรแสตมป์มิได้จำกัดแต่เฉพาะการลงลายมือชื่อบนอากรแสตมป์หรือการขีดเส้นคร่อมฆ่าอากรแสตมป์และลงวันเดือนปีกำกับเท่านั้น แต่ย่อมหมายรวมถึงการกระทำด้วยวิธีการอื่นใดที่ทำให้อากรแสตมป์นั้นเสียไปไม่สามารถนำไปใช้ใหม่ด้วย เมื่อโจทก์ได้ขีดฆ่าอากรแสตมป์โดยขีดเส้นคร่อมบนอากรแสตมป์เพื่อมิให้นำไปใช้ได้อีกจึงถือว่าเป็นการปิดและขีดฆ่าอากรแสตมป์ถูกต้องตามมาตรา 103 แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 364/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคำนวณทุนทรัพย์คดีแพ่งตามความเป็นจริงเมื่อมีการรังวัดที่ดินใหม่ และผลกระทบต่อการอุทธรณ์
การคำนวณราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันไม่ว่าเพื่อเสียค่าธรรมเนียมศาลหรืออุทธรณ์ฎีกา ต้องคำนวณตามราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ตามความเป็นจริง
ตามคำฟ้อง คำให้การและแบบแจ้งการครอบครองที่ดิน (ส.ค.1) ของที่พิพาทระบุเนื้อที่ประมาณ 2 ไร่ ในการเสียค่าขึ้นศาลคู่ความ ได้ คิดราคาที่ดินโดยคำนวณตามเนื้อที่ประมาณ 51,000 บาท เมื่อเจ้าพนักงานที่ดินทำการรังวัดได้เนื้อที่ชัดเจนว่า 1 ไร่ 1 งาน73 ตารางวา จึงถือว่าราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันคือราคาที่ดินที่มีเนื้อที่ 1 ไร่ 1 งาน 73 ตารางวา การที่จำเลยกำหนดราคาที่ดิน 2 ไร่ เป็นเงิน 51,000 บาท จึงมีราคาไร่ละ 25,500 บาทราคาที่ดินพิพาททั้งแปลงคือ 36,528.75 บาท จึงต้องถือว่าราคาทรัพย์สิน หรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ไม่เกิน 50,000 บาท ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 วรรคหนึ่ง
ในชั้นฎีกาจำเลยฎีกาในปัญหาข้อกฎหมายคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ให้ยกอุทธรณ์ของจำเลย โดยขอให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี จึงเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ ต้องเสียค่าขึ้นศาล200 บาท ตามตาราง 1 ข้อ 2(ก) ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
ตามคำฟ้อง คำให้การและแบบแจ้งการครอบครองที่ดิน (ส.ค.1) ของที่พิพาทระบุเนื้อที่ประมาณ 2 ไร่ ในการเสียค่าขึ้นศาลคู่ความ ได้ คิดราคาที่ดินโดยคำนวณตามเนื้อที่ประมาณ 51,000 บาท เมื่อเจ้าพนักงานที่ดินทำการรังวัดได้เนื้อที่ชัดเจนว่า 1 ไร่ 1 งาน73 ตารางวา จึงถือว่าราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันคือราคาที่ดินที่มีเนื้อที่ 1 ไร่ 1 งาน 73 ตารางวา การที่จำเลยกำหนดราคาที่ดิน 2 ไร่ เป็นเงิน 51,000 บาท จึงมีราคาไร่ละ 25,500 บาทราคาที่ดินพิพาททั้งแปลงคือ 36,528.75 บาท จึงต้องถือว่าราคาทรัพย์สิน หรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ไม่เกิน 50,000 บาท ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 วรรคหนึ่ง
ในชั้นฎีกาจำเลยฎีกาในปัญหาข้อกฎหมายคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ให้ยกอุทธรณ์ของจำเลย โดยขอให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี จึงเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ ต้องเสียค่าขึ้นศาล200 บาท ตามตาราง 1 ข้อ 2(ก) ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3080/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดสิทธิการฟ้องซ้ำเมื่อคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาที่อัยการฟ้องแทนผู้เสียหาย
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 ยักยอกและฉ้อโกงเงินไปจากโจทก์เป็นจำนวน 1,560,375.45 บาท ขอให้บังคับจำเลยที่ 1 ใช้คืนเงินแก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ย แต่พนักงานอัยการได้เป็นโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 เป็นคดีอาญาในข้อหายักยอกและฉ้อโกงโจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหายไว้แล้ว โดยมีคำขอให้จำเลยที่ 1 คืนหรือใช้ราคาทรัพย์ให้แก่โจทก์เป็นเงิน 1,226,172.15 บาท ซึ่งเป็นคำขอในส่วนแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาที่พนักงานอัยการฟ้องคดีแทนโจทก์ โจทก์จึงมีฐานะเป็นคู่ความ ในคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญานั้นด้วย เมื่อศาลในส่วนคดีอาญารับคำขอส่วนแพ่งดังกล่าวไว้พิจารณาแล้วย่อมมีผลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1) จึงต้องห้ามมิให้โจทก์ยื่นคำฟ้องเรียกให้จำเลยที่ 1 รับผิดในเงินจำนวน 1,226,172.15 บาท ต่อศาลอีก จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดต่อโจทก์ในจำนวนเงินส่วนที่เกินจากคำฟ้องในคดีอาญาเป็นเงิน 334,203.30 บาท เท่านั้น