คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ครอบครองปรปักษ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,380 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8907/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำสืบพยานนอกประเด็นในคดีครอบครองปรปักษ์และการเปลี่ยนแปลงข้ออ้างนอกคำให้การ
จำเลยให้การว่าจำเลยครอบครองที่ดินและบ้านพิพาทซึ่งมีชื่อ ว.เป็นเจ้าของโดยสงบเปิดเผยมีเจตนาเป็นเจ้าของตลอดมาถึงปัจจุบันเป็นเวลากว่า 23 ปี ว. กับโจทก์สมคบกันฉ้อฉลจำเลยด้วยการจดทะเบียนโอนขายที่ดินและบ้านพิพาทโดยไม่สุจริตและไม่เสียค่าตอบแทนทำให้จำเลยซึ่งมีสิทธิที่จะบังคับให้ ว. ไปดำเนินการจดทะเบียนโอนที่ดินและบ้านพิพาทได้ก่อนโจทก์ต้องเสียเปรียบ ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าจำเลยมีสิทธิอยู่ในที่ดินและบ้านพิพาทหรือไม่ เป็นการกำหนดตามคำให้การว่าจำเลยครอบครองที่ดินและบ้านพิพาทจนได้กรรมสิทธิ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 หรือไม่ การที่จำเลยนำสืบว่าจำเลยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินและบ้านพิพาทโดยจดทะเบียนรับโอนกรรมสิทธิ์จากเจ้าของเดิมนับแต่ปี 2516 จำเลยแสดงความเป็นเจ้าของอย่างสมบูรณ์ด้วยการจดทะเบียนจำนองที่ดินและบ้านพิพาทต่อธนาคารตลอดจนนำบ้านพิพาทออกให้บุคคลอื่นเช่าและรับค่าเช่าเรื่อยมา แตกต่างไปจากที่ได้กล่าวไว้ในคำให้การ จึงอยู่นอกประเด็นข้อพิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7619/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์และสิทธิในที่ดิน: โจทก์ครอบครองต่อเนื่องแม้มีผู้เช่า สิทธิยังคงอยู่
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินพิพาทและเรียกค่าเสียหายโดยมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ระบุชื่อโจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองโดยซื้อจาก ป. มารดาจำเลย จำเลยมิได้ปฏิเสธความถูกต้องแท้จริงของเอกสารและยอมรับข้อเท็จจริงว่ามารดาจำเลยขายที่ดินพิพาทแก่โจทก์จริง ภาระการพิสูจน์ตกแก่จำเลย จำเลยต้องแสดงพยานหลักฐานให้ปรากฏข้อเท็จจริงว่าการครอบครองที่ดินพิพาทของจำเลยตามฟ้องมุ่งประสงค์เพื่อแย่งเอาสิทธิครอบครองของโจทก์มาเป็นของตนมิใช่กระทำในฐานะแทนผู้ใด หากพิสูจน์ไม่ได้ย่อมเป็นฝ่ายแพ้คดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4470/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์ในคดีล้มละลาย: สิทธิของเจ้าหนี้และเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
แม้ขณะผู้ร้องยื่นคำร้องขอและศาลชั้นต้นพิจารณาคดีนี้ บริษัท ส. จะถูกศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดก็ตาม แต่การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอต่อศาลชั้นต้นขอให้ไต่สวนและมีคำสั่งว่าผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินของบริษัท ส. โดยการครอบครองปรปักษ์นั้น เป็นการใช้สิทธิทางศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 โดยผู้ร้องมิได้กล่าวหาว่ามีบุคคลใดโต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่ของผู้ร้อง จึงชอบที่ศาลชั้นต้นจะดำเนินกระบวนพิจารณาคดีของผู้ร้องอย่างคดีไม่มีข้อพิพาทตาม ป.วิ.พ. มาตรา 188 ซึ่งมิได้มีบทบัญญัติบังคับให้ต้องมีการส่งหมายและสำเนาคำร้องขอให้แก่ผู้คัดค้านซึ่งเป็นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของบริษัท ส. การที่ศาลชั้นต้นเพียงแต่ประกาศคำร้องขอในหน้าหนังสือพิมพ์ กับส่งหมายและสำเนาคำร้องขอแก่บริษัท ส. กับบริษัท ง. ผู้รับจำนองที่ดินดังกล่าวก่อนการไต่สวน จึงมิได้เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ ทั้งการที่ผู้คัดค้านไม่ได้ร้องคัดค้านเข้ามาในคดีก่อนที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งแสดงกรรมสิทธิ์ก็หาได้เสียสิทธิไม่ เพราะผู้คัดค้านเป็นบุคคลภายนอก หากคำสั่งศาลชั้นต้นทำให้สิทธิหรือหน้าที่ตามกฎหมายของบริษัท ส. ถูกโต้แย้ง ก็ชอบที่ผู้คัดค้านซึ่งเป็นผู้มีอำนาจในการจัดกิจการทรัพย์สินของบริษัท ส. ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 22 จะฟ้องผู้ที่โต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่ของบริษัท ส. เป็นคดีอีกเรื่องหนึ่งต่างหากเพื่อพิสูจน์ว่าบริษัท ส. มีสิทธิในที่ดินโฉนดดังกล่าวดีกว่าผู้ร้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 (2) หรือหากการดำเนินการในชั้นบังคับคดีตามคำสั่งศาลชั้นต้นในคดีนี้มีผลกระทบต่อสิทธิของบริษัท ซึ่งเป็นบุคคลผู้มีชื่อโฉนดถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินดังกล่าว บริษัท ส. ก็อยู่ในฐานะผู้ถูกโต้แย้งสิทธิและเป็นผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีตามคำสั่งนั้น ผู้คัดค้านย่อมมีสิทธิร้องขอเข้ามาในชั้นบังคับคดีตามคำสั่งนั้น เพื่อพิสูจน์ว่าบริษัท ส. มีสิทธิในที่ดินดังกล่าวดีกว่าผู้ร้อง โดยไม่จำต้องไปฟ้องผู้ร้องเป็นคดีใหม่ก็ได้ ดังนั้นผู้คัดค้านจึงไม่อาจร้องขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาคดีนี้ของศาลชั้นต้นที่ได้ดำเนินมาแล้วโดยชอบได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4470/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์ในคดีล้มละลาย: สิทธิของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ และการเพิกถอนกระบวนพิจารณา
แม้ขณะผู้ร้องยื่นคำร้องขอ บริษัท ส. จะถูกศาลแพ่งมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดก็ตาม แต่การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอต่อศาลชั้นต้นขอให้ไต่สวนและมีคำสั่งว่าผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินของบริษัท ส. โดยการครอบครองปรปักษ์ เป็นการใช้สิทธิทางศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 โดยผู้ร้องมิได้กล่าวหาว่ามีบุคคลใดโต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่ของผู้ร้อง จึงชอบที่ศาลชั้นต้นจะดำเนินกระบวนพิจารณาคดีของผู้ร้องอย่างคดีไม่มีข้อพิพาทตามมาตรา 188ซึ่งมิได้มีบทบัญญัติบังคับให้ต้องมีการส่งหมายและสำเนาคำร้องขอให้แก่ผู้คัดค้านซึ่งเป็นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของบริษัท ส. การที่ศาลชั้นต้นเพียงแต่ประกาศคำร้องขอในหน้าหนังสือพิมพ์ กับส่งหมายและสำเนาคำร้องขอแก่บริษัท ส.กับบริษัท ค. ผู้รับจำนองที่ดินดังกล่าวก่อนการไต่สวน จึงมิได้เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบทั้งการที่ผู้คัดค้านไม่ได้ร้องคัดค้านเข้ามาในคดีก่อนที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งแสดงกรรมสิทธิ์ก็หาได้เสียสิทธิไม่ เพราะผู้คัดค้านเป็นบุคคลภายนอก หากคำสั่งศาลชั้นต้นทำให้สิทธิหรือหน้าที่ตามกฎหมายของบริษัท ส. ถูกโต้แย้ง ก็ชอบที่ผู้คัดค้านซึ่งเป็นผู้มีอำนาจในการจัดกิจการทรัพย์สินของบริษัท ส. ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 22 จะฟ้องผู้ที่โต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่ของบริษัท ส. เพื่อพิสูจน์ว่าบริษัท ส.มีสิทธิในที่ดินโฉนดดังกล่าวดีกว่าผู้ร้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145(2) หรือหากการดำเนินการในชั้นบังคับคดีตามคำสั่งศาลชั้นต้นในคดีนี้มีผลกระทบต่อสิทธิของบริษัทซึ่งเป็นบุคคลผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินดังกล่าว บริษัท ส. ก็อยู่ในฐานะผู้ถูกโต้แย้งสิทธิและเป็นผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีตามคำสั่งนั้น ผู้คัดค้านย่อมมีสิทธิร้องขอเข้ามาในชั้นบังคับคดีเพื่อพิสูจน์ว่าบริษัท ส.มีสิทธิในที่ดินดังกล่าวดีกว่าผู้ร้อง โดยไม่จำต้องไปฟ้องผู้ร้องเป็นคดีใหม่ ผู้คัดค้านจึงไม่อาจร้องขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นที่ได้ดำเนินมาแล้วโดยชอบได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3843/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ แม้มีโฉนด แต่เกิดจากความสำคัญผิดและละเลยเจ้าหน้าที่
ที่ดินพิพาทเป็นที่ดิน ส.ค.1 ป. เจ้าของที่ดินได้ขอออกโฉนดระหว่างเดินสำรวจเพื่อออกโฉนด ป. ได้ยกที่ดินพิพาทให้ ย. เมื่อ ป. ตาย เจ้าพนักงานที่ดินจึงออกโฉนดแล้วส่งมอบให้ ค. ลูกของ ป. แต่ ย. ไม่ทราบถึงการดำเนินการขอออกโฉนด จึงนำ ส.ค.1 ไปขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ซ้ำซ้อนขึ้นอีก ผู้ร้องซื้อที่ดินพิพาทจากย. โดยทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แล้วเข้าครอบครองที่พิพาทตลอดมาโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกันมาจาก ย. ผู้โอนเป็นเวลาเกินกว่าสิบปีผู้ร้องจึงได้กรรมสิทธิ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1444/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์สำเร็จ แม้ยังมิได้จดทะเบียน การซื้อโดยไม่สุจริตมีผลผูกพัน
ผู้ร้องทั้งสองเข้าครอบครองที่พิพาททั้งสามแปลงไว้โดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกันตั้งแต่ปี 2518 ตลอดมาจนถึงวันยื่นคำร้องขอเป็นเวลาเกินสิบปีแล้ว และเมื่อผู้คัดค้านซึ่งเป็นผู้ซื้อที่พิพาททั้งสามแปลงจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลฟ้องขับไล่ผู้ร้องทั้งสองออกจากที่พิพาทดังกล่าว ศาลฎีกามีคำพิพากษาถึงที่สุดว่าผู้คัดค้านมิใช่ผู้ซื้อทรัพย์สินโดยสุจริตตาม ป.พ.พ. มาตรา 1330 คำพิพากษาศาลฎีกาดังกล่าวจึงผูกพันผู้คัดค้านและผู้ร้องทั้งสอง ซึ่งเป็นคู่ความในกระบวนพิจารณาของคดีดังกล่าวให้ฟังได้ว่าผู้คัดค้านซื้อที่พิพาททั้งสามแปลงโดยไม่สุจริต แม้ผู้ร้องทั้งสองจะยังไม่จดทะเบียนการได้มาซึ่งที่พิพาททั้งสามแปลง ก็ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ผู้คัดค้านได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1299 วรรคสอง
คดีนี้ไม่เป็นการร้องขอซ้ำกับคดีของศาลชั้นต้นที่ผู้คัดค้านฟ้องผู้ร้องทั้งสองเรื่องละเมิดและขับไล่ออกจาก ที่พิพาท เพราะคดีดังกล่าวแม้ผู้ร้องทั้งสองจะฟ้องแย้งขอแสดงกรรมสิทธิ์ในที่พิพาททั้งสามแปลง แต่ศาลชั้นต้นมิได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทและมิได้วินิจฉัยในประเด็นดังกล่าว โดยถือว่าผู้ร้องทั้งสองสละประเด็นแล้ว ซึ่งศาลอุทธรณ์และศาลฎีกาพิพากษายืน กรณีจึงยังมิได้มีการวินิจฉัยในประเด็นข้อนี้แต่อย่างใด ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ผู้ร้องทั้งสองได้กรรมสิทธิ์ที่พิพาททั้งสามแปลงตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382 ชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1272/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์ - ขอบเขตที่ดินไม่ชัดเจน ศาลยกคำร้องขอแต่ไม่ตัดสิทธิ
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอ ขอให้ศาลมีคำสั่งว่าผู้ร้องเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินโฉนดตราจองที่ 1022 โดยการครอบครองปรปักษ์ แต่ข้อเท็จจริงตามคำร้องขอและตามที่ผู้ร้องนำสืบไม่ทราบได้แน่ชัดว่าที่ดินโฉนดตราจองที่ 1022เป็นที่ดินบางส่วนของที่ดิน น.ส.3 ที่ผู้ร้องครอบครองอยู่ ซึ่งเป็นเหตุให้ไม่สามารถสั่งให้ผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินตามคำขอท้ายคำร้องขอได้ ศาลจึงต้องยกคำร้องขอของผู้ร้องแต่ไม่ตัดสิทธิของผู้ร้องที่จะยื่นคำร้องขอใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1272/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์: ข้อเท็จจริงไม่ชัดเจนเกี่ยวกับตำแหน่งที่ดิน ทำให้ศาลไม่สามารถพิพากษาให้ได้กรรมสิทธิ์
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอ ขอให้ศาลมีคำสั่งว่าผู้ร้องเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินโฉนดตราจองที่ 1022 โดยการครอบครองปรปักษ์ แต่ข้อเท็จจริงตามคำร้องขอและตามที่ผู้ร้องนำสืบไม่ทราบได้แน่ชัดว่าที่ดินโฉนดตราจองที่ 1022 เป็นที่ดินบางส่วนของที่ดิน น.ส.3 ที่ผู้ร้องครอบครองอยู่ ซึ่งเป็นเหตุให้ไม่สามารถสั่งให้ผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินตามคำขอท้ายคำร้องขอได้ ศาลจึงต้องยกคำร้องขอของผู้ร้องแต่ไม่ตัดสิทธิของผู้ร้องที่จะยื่นคำร้องขอใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 107/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่ดิน, สัญญาจะซื้อจะขาย, ครอบครองปรปักษ์, การพิพากษาเกินคำขอ, ประเด็นข้อพิพาท
คดีตามฟ้องเดิมของโจทก์เป็นคดีละเมิดขอให้บังคับจำเลยออกไปจากที่ดินพิพาท แต่เมื่อจำเลยให้การว่าที่ดินพิพาทที่แต่ละคนครอบครองอยู่ได้ซื้อมาจาก พ. และชำระราคาแล้ว จำเลยได้เข้าครอบครองที่ดินพิพาทโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกันตลอดมาเป็นเวลาเกิน 10 ปีแล้วคดีตามฟ้องเดิมของโจทก์จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้หรือเป็นคดีมีทุนทรัพย์ แม้จำเลยจะฟ้องแย้งมาในคำให้การด้วยพร้อมทั้งขอให้ศาลบังคับตามฟ้องแย้ง ก็หาเป็นเหตุให้คดีตามฟ้องเดิมของโจทก์ซึ่งกลายเป็นคดีมีทุนทรัพย์กลับมาเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ไม่ การฟ้องแย้งของจำเลยคงมีผลทำให้จำเลยต้องเสียค่าขึ้นศาลตามจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันด้วยเท่านั้นเมื่อคดีนี้มีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันสำนวนละไม่เกิน 50,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 วรรคหนึ่ง
ศาลชั้นต้นฟังว่าการซื้อขายที่ดินระหว่าง พ. กับจำเลยเป็นสัญญาจะซื้อจะขายแม้ตามคำให้การและฟ้องแย้งของจำเลยมิได้ระบุว่าการซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างพ. กับจำเลยเป็นสัญญาจะซื้อขาย พ. มีหน้าที่จะต้องปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อขาย แต่ตามคำให้การและฟ้องแย้งของจำเลยมิได้ระบุอ้างว่าเป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด เพียงแต่ระบุอ้างถึงข้อเท็จจริงที่ได้มีการทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทเท่านั้น ทั้งจำเลยก็ได้มีคำขอท้ายฟ้องแย้งขอให้บังคับโจทก์ดำเนินการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่จำเลย ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจวินิจฉัยได้ว่าสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทมีผลผูกพัน พ. และโจทก์ ซึ่งเป็นเหตุให้โจทก์มีหน้าที่ต้องแบ่งแยกที่ดินพิพาทแต่ละส่วนแล้วโอนกรรมสิทธิ์ให้จำเลย ไม่ใช่เป็นเรื่องนอกฟ้องแย้งของจำเลย
พ. ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทแก่จำเลย เมื่อ พ. ถึงแก่กรรมทรัพย์มรดกของ พ. ตกทอดแก่โจทก์ โจทก์จึงต้องรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ของพ. เมื่อ พ. มีหน้าที่ต้องโอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลย โจทก์จึงมีหน้าที่ดำเนินการตามหน้าที่ของ พ. สืบต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8658-8686/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้อง, การครอบครองปรปักษ์, ฐานะนิติบุคคลมิซซัง, ค่าขึ้นศาล, คดีไม่มีทุนทรัพย์
ชั้นอุทธรณ์จำเลยมิได้ต่อสู้กรรมสิทธิ์แล้ว คดีไม่มีประเด็นให้วินิจฉัยในเรื่องกรรมสิทธิ์ในชั้นอุทธรณ์อีก จึงเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ และถือไม่ได้ว่าเป็นกรณีที่จำนวนทุนทรัพย์ในชั้นอุทธรณ์หรือฎีกาเป็นอย่างเดียวกับในศาลชั้นต้นซึ่งผู้อุทธรณ์หรือผู้ฎีกาต้องเสียค่าขึ้นศาลตามจำนวนทุนทรัพย์หรือราคาเดียวกับในศาลชั้นต้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 150 วรรคสอง ศาลฎีกาต้องสั่งคืนค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์แก่จำเลย
สำหรับจำเลยที่ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลอุทธรณ์ที่ให้เสียค่าขึ้นศาลเพิ่มย่อมถือได้ว่าเป็นการทิ้งคำฟ้องอุทธรณ์ แม้จำเลยใดไม่เห็นด้วยกับคำสั่งศาลอุทธรณ์ที่ให้เสียค่าขึ้นศาลเพิ่มก็ตาม จำเลยนั้นก็ต้องปฏิบัติตามคำสั่งของศาลอุทธรณ์ไปก่อนแล้วจึงฎีกาขอคืนค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ที่ยอมเสียเพิ่มไปก่อนได้
ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้อง จำเลยให้การต่อสู้คดีว่าจำเลยได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ และจำเลยได้สละประเด็นเรื่องการครอบครองปรปักษ์ที่ดินพิพาทไปตั้งแต่ในชั้นอุทธรณ์แล้ว จำเลยกลับอ้างในฎีกาว่าที่ดินพิพาทไม่ใช่ของโจทก์ แต่เป็นที่ดินในเขตชลประทานของกรมชลประทานอันเป็นข้อที่จำเลยมิได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ตามบทบัญญัติมาตรา 65, 66 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ไม่ได้บัญญัติให้ยกเลิกมิซซังโรมันคาธอลิคว่าไม่เป็นนิติบุคคล แต่ได้บัญญัติรับรองไว้ว่านิติบุคคลจะมีขึ้นได้ก็แต่ด้วยอาศัยอำนาจแห่งประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่น และนิติบุคคลย่อมมีสิทธิและหน้าที่ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่น ภายในขอบแห่งอำนาจหน้าที่ หรือวัตถุประสงค์ดังได้บัญญัติหรือกำหนดไว้ในกฎหมายข้อบังคับหรือตราสารจัดตั้ง
โจทก์เป็นมิซซังโรมันคาธอลิคเป็นนิติบุคคลอยู่ก่อนแล้วตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยลักษณะฐานะของวัดบาดหลวงโรมันคาธอลิคในกรุงสยามตามกฎหมาย ร.ศ.128 ซึ่งเป็นกฎหมายพิเศษยังใช้บังคับจนปัจจุบันนี้ พระราชบัญญัติดังกล่าวจึงเป็นกฎหมายอื่นฉบับหนึ่งตามความหมายของ ป.พ.พ.มาตรา 65 โจทก์จึงย่อมมีฐานะเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายอยู่ต่อไป
of 138