คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ความชอบด้วยกฎหมาย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 178 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4114/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกำหนดรายรับขั้นต่ำทางภาษี ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนด หากไม่ปฏิบัติตาม การประเมินภาษีเป็นโมฆะ
เจ้าพนักงานสรรพากรส่งแบบ ภ.ค.45 ไปให้โจทก์ แต่หนังสือดังกล่าวไม่ถึงโจทก์เพราะระบุเลขบ้านผิด เห็นได้ว่า การกำหนดรายรับขั้นต่ำที่พิพาทคดีนี้เจ้าพนักงานสรรพากรยังไม่ได้ส่งแบบ ภ.ค.45 ให้โจทก์ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขแห่งประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีการค้า (ฉบับที่ 38) ข้อ 3 และข้อ 4ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีการค้า(ฉบับที่ 44) ซึ่งออกตามความในประมวลรัษฎากร มาตรา 86 เบญจการใช้อำนาจกำหนดรายรับขั้นต่ำของเจ้าพนักงานประเมินจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย การกำหนดรายรับขั้นต่ำตามมาตรา 86 เบญจ เป็นคนละกรณีกับมาตรา 87,87 ทวิ (7) และ 87 ตรี แม้โจทก์จะเคยได้รับหมายเรียกของเจ้าพนักงานประเมินเพื่อตรวจสอบไต่สวน หรือเจ้าพนักงานประเมินจะเคยกำหนดรายรับขั้นต่ำของโจทก์มาก่อนแล้วแต่เมื่อการกำหนดรายรับขั้นต่ำครั้งพิพาทนี้เจ้าพนักงานประเมินมิได้ดำเนินการให้ถูกต้องตามมาตรา 86 เบญจ จึงเป็นการไม่ชอบ เจ้าพนักงานประเมินภาษีการค้าใช้อำนาจกำหนดรายรับขั้นต่ำของโจทก์โดยมิชอบตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา คำวินิจฉัยคำคัดค้านของอธิบดีกรมสรรพากรจึงไม่ถึงที่สุด โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องคดีนี้ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3948/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลื่อนคดีและการพิสูจน์ความชอบด้วยกฎหมายของการขายทอดตลาด
ทนายความผู้ประกันขอเลื่อนคดีมาแล้วครั้งหนึ่งอ้างว่าติดว่าความที่ศาลอื่นศาลชั้นต้นอนุญาต ครั้นถึงวันนัดครั้งต่อไปทนายความผู้ประกันยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีอีกอ้างว่าได้นัดผู้ประกันให้มาเบิกความต่อศาล แต่ผู้ประกันไม่มาและไม่ทราบสาเหตุ แต่ตามคำร้องขอเลื่อนคดีไม่ได้อ้างเหตุจำเป็นอื่นอันไม่อาจก้าวล่วงได้ และไม่ได้แสดงให้เป็นที่พอใจของศาลว่าถ้าศาลไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีต่อไปจะทำให้เสียความยุติธรรมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 40 วรรคแรก ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15จึงไม่มีเหตุสมควรที่จะให้เลื่อนคดี
ผู้ประกันกล่าวอ้างว่า การขายทอดตลาดที่ดินพิพาทเป็นไปโดยไม่สุจริต ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่ได้ปฏิบัติตามระเบียบว่าด้วยการขายทอดตลาด ผู้ซื้อทรัพย์คัดค้าน ดังนี้ หน้าที่นำสืบตกแก่ผู้ประกัน เมื่อผู้ประกันไม่มีพยานมานำสืบ อีกทั้งได้ความตามสำนวนว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ประกาศแจ้งการขายทอดตลาดโดยชอบหลายครั้ง ไม่มีผู้ใดสนใจเข้าสู้ราคา เมื่อผู้ซื้อทรัพย์สู้ราคาสูงสุดสูงกว่าราคาประเมิน และศาลชั้นต้นเห็นสมควรให้ขายทรัพย์แก่ผู้ซื้อทรัพย์การขายทอดตลาดจึงเป็นไปโดยชอบแล้ว
การยื่นคำร้องของผู้ประกันในคดีอาญาว่าการขายทอดตลาดไม่ชอบรวมทั้งการอุทธรณ์ฎีกา ไม่จำต้องเสียค่าฤชาธรรมเนียม ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 252

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3897/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความชอบด้วยกฎหมายของฟ้องฐานเบิกความเท็จ: การระบุรายละเอียดข้อสำคัญในคดี
โจทก์บรรยายฟ้องว่า คำเบิกความของจำเลยทั้งสองเป็นข้อสำคัญในคดีโดยมิได้บรรยายรายละเอียดว่าข้อความอันเป็นเท็จที่จำเลยทั้งสองเบิกความเป็นข้อสำคัญในคดีก่อนอย่างไร แต่การที่โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยทั้งสองเบิกความยืนยันว่าโจทก์ลงลายมือชื่อหรือยอมรับว่าลงลายมือชื่อในเช็คย่อมเป็นคำบรรยายฟ้องที่แสดงอยู่ในตัวแล้วว่าถ้าโจทก์ลงลายมือชื่อจริงย่อมจะมีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497 คำเบิกความของจำเลยทั้งสองตามที่โจทก์ฟ้องย่อมเป็นข้อสำคัญในคดีที่เข้าใจได้อยู่ในตัวเองฟ้องของโจทก์จึงมีรายละเอียดเพียงพอที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้เป็นฟ้องที่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3711/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลภาษีอากรกลางในคดีกักยึดสินค้า และความชอบด้วยกฎหมายของการกักยึดเพื่อดำเนินคดีอาญา
ปัญหาว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องคดีต่อศาลภาษีอากรกลางหรือไม่ เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยย่อมยกขึ้นว่ากล่าวในชั้นอุทธรณ์ได้ โจทก์ฟ้องโต้แย้งการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานศุลกากรที่อ้างว่าสินค้าที่โจทก์นำเข้าโจทก์ได้สำแดงเท็จเพื่อหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากรและกักยึดสินค้าไว้ โดยโจทก์เห็นว่าจำเลยกักยึดสินค้าของโจทก์ไม่ได้ เพราะโจทก์เสียภาษีอากรถูกต้องแล้ว จึงเป็นการโต้แย้งในปัญหาอันเกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัติศุลกากรพ.ศ. 2469 ว่าเป็นไปโดยชอบหรือไม่ ฟ้องของโจทก์จึงเป็นคดีอุทธรณ์คำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 ตามนัยมาตรา 7(1) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาศาลภาษีอากร พ.ศ. 2528 และการกักยึดทรัพย์สินของบุคคล หากเป็นไปโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายย่อมกระทบถึงสิทธิในทรัพย์สินของบุคคลซึ่งเป็นสิทธิในทางแพ่งศาลภาษีอากรกลางจึงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้ได้ การที่พนักงานศุลกากรของจำเลยกักยึดสินค้าพิพาทที่โจทก์นำเข้าไว้เพื่อดำเนินคดีอาญาแก่โจทก์ในข้อหาสำแดงเท็จ หลีกเลี่ยงการเสียภาษีศุลกากร ปลอมและใช้เอกสารราชการปลอมนั้น เป็นการกักยึดสินค้าไว้โดยมีเหตุอันควรสงสัยที่พระราชบัญญัติศุลกากรพ.ศ. 2469 มาตรา 24 และ 25 ให้อำนาจไว้ และสินค้าพิพาทที่ถูกกักยึดนี้ก็เป็นของใด ๆ อันเนื่องด้วยความผิดตามมาตรา 27อันอาจถูกศาลสั่งริบได้ตามพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 9)พ.ศ. 2482 มาตรา 17 ด้วย อีกทั้งพนักงานศุลกากรของจำเลยมีอำนาจกักยึดไว้จนกว่าคดีถึงที่สุดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 85 วรรคสาม ดังนั้นการกักยึดสินค้าพิพาทจึงเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ไม่มีอำนาจขอคืนสินค้าพิพาทในชั้นนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2130/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือมอบอำนาจ-การเป็นทนายความ-การเลื่อนคดี: ความชอบด้วยกฎหมายและข้อยกเว้น
หนังสือมอบอำนาจให้ ป. และ ท. ฟ้องคดีและกระทำการอย่างอื่นอีกหลายประการแทนโจทก์ เป็นการมอบอำนาจให้บุคคลคนเดียวหรือหลายคนร่วมกระทำการมากกว่าครั้งเดียว ซึ่งตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ท้ายประมวลรัษฎากร ข้อ 7(ข) โจทก์ซึ่งเป็นผู้มอบอำนาจมีหน้าที่เสียอากรแสตมป์ฉบับละ 30 บาท โดยไม่ต้องคำนึงว่าจะมอบอำนาจให้ผู้รับมอบอำนาจคนเดียวหรือหลายคน หนังสือมอบอำนาจปิดอากรแสตมป์ 30 บาท จึงครบถ้วนตามกฎหมายแล้ว ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 60 วรรคสองมิได้ห้ามผู้รับมอบอำนาจซึ่งเป็นทนายความอยู่แล้วตั้งตนเองเป็นทนายความดำเนินคดีนั้นอีก ที่ ท. และ ป. ผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์ตั้ง ท. เป็นทนายความว่าคดีนี้จึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว ศาลชั้นต้นอนุญาตให้เลื่อนการสืบพยานจำเลยปากหนึ่งไปถึง 4 นัดครั้งสุดท้ายจำเลยยื่นคำร้องระบุว่าหากไม่ได้ตัวพยานมาในนัดต่อไปจำเลยยอมให้ศาลตัดพยานได้ทันที ซึ่งทนายจำเลยก็แถลงรับไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาในวันเดียวกันนั้นว่า หากนัดหน้าพยานไม่มาศาลไม่ว่าด้วยเหตุใด จำเลยไม่ติดใจสืบ ศาลชั้นต้นก็ได้ให้โอกาสจำเลยเป็นครั้งสุดท้าย โดยเลื่อนการสืบพยานจำเลยไปถึงวันนัดจำเลยยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีอีก อ้างว่าพยานติดคดีต้องเบิกความที่ศาลทั้งเช้า และบ่ายไม่อาจมาเบิกความที่ศาลในคดีนี้ได้ ดังนี้การที่ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีโดยเห็นว่าจำเลยมีโอกาสนำตัวพยานมาสืบได้ จำเลยขอเลื่อนคดีมีลักษณะประวิงคดี จึงชอบแล้ว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1339/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษจำเลยเกินคำขอในอุทธรณ์: ความชอบด้วยกฎหมาย
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า การกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานร่วมกับพวกปล้นทรัพย์ของผู้ตาย ตาม ป.อ. มาตรา 340 วรรคสอง โจทก์อุทธรณ์เพียงว่า ขอให้ลงโทษจำเลยฐานร่วมกันฆ่าผู้อื่นเพื่อเอาไว้ซึ่งผลประโยชน์แห่งทรัพย์ที่ปล้นมาหรือเพื่อปกปิดการกระทำความผิดดังนี้ ข้อหาปล้นทรัพย์จึงเป็นอันยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ลงโทษจำเลยข้อหาปล้นทรัพย์ตาม ป.อ. มาตรา 340 วรรคท้าย เป็นการพิพากษาเกินคำขอที่มิได้กล่าวในฟ้องอุทธรณ์ ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคแรก ประกอบด้วยมาตรา 215

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2543/2533 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความชอบด้วยกฎหมายของฟ้องด้วยวาจา และการลงโทษปรับรายวันในความผิดควบคุมอาคาร
ฟ้องด้วยวาจา ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง มาตรา 19 ให้ศาลบันทึกข้อความแห่งฟ้องไว้เป็นหลักฐานหาจำต้องบันทึกไว้โดยละเอียดไม่ และก่อนบันทึกศาลอาจสอบถามข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่จำเลยกระทำความผิด แต่จะบันทึกไว้เฉพาะข้อความสำคัญ ส่วนบันทึกการฟ้องด้วยวาจาของโจทก์ก็เป็นเพียงส่วนหนึ่งของฟ้องด้วยวาจาเท่านั้น
ศาลบันทึกข้อความแห่งฟ้องได้ความว่า ระหว่างวันที่ 30 เมษายน 2528 เวลากลางคืนถึงวันที่ 30 เมษายน 2529 เวลากลางวัน ต่อเนื่องกันจำเลยซึ่งได้รับอนุญาตให้ปลูกสร้างอาคาร ได้ปลูกสร้างอาคารผิดไปจากแบบแปลนที่ได้รับอนุญาต แม้ไม่ปรากฏว่ามีคำสั่งจากเจ้าพนักงานให้จำเลยทราบว่าก่อสร้างผิดไปจากแบบแปลนหรือให้จัดการแก้ไข จำเลยก็ยังคงฝ่าฝืนตลอดเวลา เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง แสดงว่าจำเลยเข้าใจข้อหาตามฟ้องแล้ว หาทำให้ฟ้องของโจทก์ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีคำสั่งฉบับแรกให้จำเลยรื้อถอนการก่อสร้างที่ผิดจากแบบแปลนภายใน 30 วัน จำเลยทราบคำสั่งเมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2529 ครบกำหนด 30 วัน วันที่ 26 เมษายน 2529 แต่จำเลยมิได้ดำเนินการ ถือว่าจำเลยฝ่าฝืนคำสั่งแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2529/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งนัดพยานที่ไม่ชอบด้วยวิธี การขาดนัดพิจารณา และผลกระทบต่อการดำเนินคดี
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับคำให้การจำเลยและสั่งให้ออกหมายกำหนดวันนัดสืบพยานส่งให้โจทก์ทราบเพียงฝ่ายเดียว ส่วนบันทึกกำหนดวันสืบพยานที่เจ้าหน้าที่ศาลได้ ลงไว้ท้ายคำให้การก็ปรากฏหลักฐานลายเซ็นของทนายโจทก์รับทราบกำหนดนัดสืบพยานแต่ เพียงฝ่ายเดียวไม่ปรากฏว่าทนายจำเลยได้ ลงชื่อรับทราบกำหนดวันนัดสืบพยานดังกล่าวด้วย และลายเซ็นทนายจำเลยที่ลงไว้ข้างท้ายหมายเหตุคำให้การที่มีข้อความว่าข้าพเจ้ารอฟังคำสั่งอยู่ ถ้า ไม่รอให้ถือ ว่าทราบแล้วก็คงถือ เป็นเพียงหลักฐานการรับทราบคำสั่งศาลในการพิจารณาสั่งเกี่ยวกับคำให้การจำเลยที่ยื่นต่อ ศาลเท่านั้น ทั้งในการสั่งรับคำให้การของจำเลย ศาลก็มิได้ระบุวันนัดสืบพยานโจทก์ไว้ประการใด กรณีเป็นไปได้ ว่าเจ้าหน้าที่ศาลอาจลงกำหนดวันนัดสืบพยานหลังจากได้ รับเอกสารคำให้การจากทนายจำเลยไว้แล้ว การที่ศาลชั้นต้นมิได้ออกหมายกำหนดวันสืบพยานสั่งให้จำเลยทราบ และมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดพิจารณาโดย ให้ดำเนิน คดีโจทก์ไปฝ่ายเดียวจึงเป็นการดำเนิน กระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 184,202.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2050/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความชอบด้วยกฎหมายของคำฟ้องและคำพิพากษาปรับตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร ที่ศาลสั่งปรับตลอดระยะเวลาฝ่าฝืน
ความผิดตาม พ.ร.บ. ควบคุมอาคารฯ โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยฝ่าฝืนคำสั่งมีกำหนด 150 วัน (นับตั้งแต่ วันที่ 29 สิงหาคม2530 จนถึง วันฟ้อง) และมีคำขอท้ายฟ้องว่า ขอศาลได้ สั่งปรับจำเลยตลอด ระยะเวลาที่ฝ่าฝืนคำสั่งด้วย เช่นนี้ คำฟ้องโจทก์ชอบด้วย กฎหมาย พ.ร.บ. ควบคุมอาคารฯ มาตรา 6570 บัญญัติว่าให้ปรับได้ ตลอดระยะเวลาที่ยังฝ่าฝืน โจทก์ขอให้ศาลสั่งปรับจำเลยตลอด ระยะเวลาที่ฝ่าฝืนคำสั่ง การที่ศาลปรับจำเลยเป็นรายวันจนกว่าจะรื้อถอนอาคารที่ดัดแปลงจึงไม่ เกินคำขอและชอบด้วย กฎหมาย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1872/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความชอบด้วยกฎหมายของฟ้องอาญาเช็ค และการพิจารณาหลักฐานการปฏิเสธการจ่ายเงิน
แม้โจทก์ไม่ได้ระบุในฟ้องว่าจำเลยที่ 2 เขียนเช็ค มอบ ให้โจทก์วันใด และที่ใด เป็นค่าอะไรก็ตาม แต่ โจทก์ได้ บรรยายวันเดือน ปีที่ลงในเช็ค อัน เป็นวันที่ถึง กำหนดต้อง ชำระเงินซึ่ง ถือ ว่าเป็นวันออกเช็คตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ มาตรา 3และได้ ระบุสถานที่เกิดเหตุไว้แล้ว ส่วนข้อที่ว่าโจทก์ ไม่ได้บรรยายว่า จำเลยที่ 2 มอบเช็ค ให้โจทก์ที่ใด เป็นการชำระหนี้ ค่าอะไรเป็นรายละเอียดที่จะต้อง นำสืบกันในชั้นพิจารณา หาใช่ สาระสำคัญที่โจทก์จำเป็นต้อง กล่าวในฟ้องไม่ ฟ้องโจทก์จึงเป็น ฟ้องที่ชอบด้วยป.วิ.อ. มาตรา 158(5) โจทก์บรรยายฟ้องว่า ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินเมื่อวันที่21 พฤศจิกายน 2528 จำเลยอ้างว่าหลงต่อสู้อ้างใบคืนเช็ค เพื่อพิสูจน์ให้ศาลเห็นว่า ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินครั้งแรกในวันที่18 พฤศจิกายน 2528 ดังนี้ เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า ธนาคาร ปฏิเสธการจ่ายโดย ให้เหตุผลว่า "ยังรอเรียกเก็บอยู่ โปรดนำ มายื่นใหม่"โจทก์จึงมีสิทธินำเช็ค พิพาทไปเรียกเก็บเงินได้ อีก เมื่อธนาคารตามเช็ค ปฏิเสธการจ่ายเงินในวันที่ 21 พฤศจิกายน 2528 อีกโดย ให้เหตุผลว่าโปรดติดต่อ ผู้สั่งจ่าย ทั้งในวันที่ลงใน เช็ค พิพาทปรากฏว่าเงินในบัญชีของจำเลยไม่พอจ่าย คำฟ้องของโจทก์ ที่เกี่ยวกับเช็ค พิพาทจึงตรงกับข้อเท็จจริงที่ปรากฏในทางพิจารณา หาได้แตกต่าง ไปจากคำฟ้องของโจทก์ไม่.
of 18