พบผลลัพธ์ทั้งหมด 502 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1770/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความประมาทในการขับรถตามหลัง การเว้นระยะห่างเพื่อความปลอดภัย และความรับผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก
ก่อนเกิดเหตุมีผู้โดยสารเคาะกระจกให้จำเลยที่1จอดรถจำเลยที่1จึงจอดรถเข้าข้างทางให้ผู้โดยสารลงขณะที่ผู้โดยสารกำลังลงจากรถจำเลยที่2ก็ขับรถจักรยานยนต์แล่นมาชนท้ายรถของจำเลยที่1แม้จะฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่2ขับรถเร็วแต่พฤติการณ์แห่งคดีน่าเชื่อว่าจำเลยที่2ขับรถจักรยานยนต์ตามหลังรถของจำเลยที่ 1ด้วยความประมาทโดยไม่เว้นระยะห่างพอสมควรในระยะที่จะหยุดรถโดยปลอดภัยจำเลยที่2จึงมีความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกพ.ศ.2522มาตรา43(4),157
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1425/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา การฟังข้อเท็จจริงต้องเป็นไปตามคำพิพากษาคดีอาญา หากคดีอาญาไม่พบความประมาท คดีแพ่งก็ไม่ถือว่าเป็นการละเมิด
คดีนี้เป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาของศาลแขวงตลิ่งชันซึ่งมีประเด็นที่ศาลจะต้องวินิจฉัยระหว่างโจทก์และจำเลยที่1เป็นอย่างเดียวกันว่าจำเลยที่1ขับรถยนต์โดยสารทับขาซ้ายของโจทก์โดยประมาทเลินเล่อหรือไม่การฟังข้อเท็จจริงในคดีนี้จำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาดังกล่าวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา46ซึ่งวินิจฉัยว่าจำเลยที่1มิได้ประมาทเลินเล่อเมื่อจำเลยที่1มิได้กระทำละเมิดต่อโจทก์จำเลยที่2และที่3ซึ่งเป็นนายจ้างของจำเลยที่1จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์และเนื่องจากมูลหนี้ละเมิดตามฟ้องเป็นการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ศาลฎีกาให้มีผลถึงจำเลยที่1ที่มิได้ฎีกาด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 854/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทุนทรัพย์พิพาท, การแบ่งค่าเสียหาย, ผลผูกพันคำพิพากษาคดีอาญา, ความประมาท
โจทก์ทั้งสองฟ้องคดีโดยเรียกค่าเสียหายทั้งหมดรวมกันมาเป็นจำนวน 247,600 บาท แม้ค่าเสียหายที่เป็นค่ารักษาพยาบาล ค่าซ่อมรถจักรยานยนต์ค่าเสื่อมราคา และค่าปลงศพ มีจำนวนรวม 37,600 บาท จะเป็นหนี้ที่โจทก์ทั้งสองมีสิทธิร่วมกันซึ่งไม่อาจแบ่งแยกเป็นหนี้ของโจทก์แต่ละคนได้ แต่ในส่วนค่าขาดไร้อุปการะที่โจทก์ทั้งสองเรียกรวมกันมาจำนวน 210,000 บาท เป็นหนี้ที่สามารถแบ่งแยกเป็นส่วนของโจทก์แต่ละคน โดยโจทก์ทั้งสองสามารถฟ้องเรียกเฉพาะส่วนของตนโดยลำพังได้ ทุนทรัพย์พิพาทชั้นฎีกาจึงต้องถือตามจำนวนค่าเสียหายที่โจทก์แต่ละคนมีสิทธิเรียกร้องจากจำเลยทั้งสาม เมื่อปรากฏว่าค่าขาดไร้อุปการะของโจทก์แต่ละคนมีจำนวนใกล้เคียงกัน และเมื่อแบ่งแยกค่าเสียหายส่วนนี้ของโจทก์ทั้งสองคนละครึ่งและนำไปรวมกับค่าเสียหายส่วนอื่นแล้ว ทุนทรัพย์พิพาทชั้นฎีกาของโจทก์ทั้งสองแต่ละคนไม่เกินคนละสองแสนบาท ย่อมต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาจำเลยทั้งสามในปัญหาว่าเหตุที่รถชนกันนั้นเป็นความประมาทของจำเลยที่ 1 หรือไม่และจำนวนค่าเสียหายมีเพียงใดซึ่งเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248วรรคหนึ่ง จึงเป็นการไม่ชอบ
โจทก์ที่ 1 ได้ขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการที่ฟ้องจำเลยที่ 1 เป็นคดีอาญาในข้อหาความผิดต่อชีวิตและความผิดต่อ พ.ร.บ.จราจรทางบกฯ ซึ่งศาลอนุญาตให้โจทก์ที่ 1 เข้าร่วมเป็นโจทก์ ดังนี้ ข้อเท็จจริงในคดีอาญาย่อมมีผลผูกพันโจทก์ที่ 1 ด้วย ส่วนโจทก์ที่ 2 แม้มิได้เป็นโจทก์ร่วมในคดีอาญาดังกล่าวแต่ก็ต้องถือว่าพนักงานอัยการได้ดำเนินคดีอาญาแทนโจทก์ที่ 2 ซึ่งเป็นมารดา ว.ผู้ตายในคดีอาญาดังกล่าว ข้อเท็จจริงในคดีอาญาย่อมมีผลผูกพันโจทก์ที่ 2ด้วยเช่นกัน เมื่อคดีอาญาดังกล่าวศาลพิพากษายกฟ้องโจทก์ที่ 1 ซึ่งโจทก์ร่วมอุทธรณ์ฝ่ายเดียว ศาลอุทธรณ์พิพากษาคดีถึงที่สุดแล้ว และเมื่อคำพิพากษาอันถึงที่สุดดังกล่าวที่จำเลยทั้งสามอ้างอิงเป็นหลักฐานมาตั้งแต่ในชั้นอุทธรณ์และในชั้นฎีกา เมื่อคำแก้ฎีกาของโจทก์ทั้งสองมิได้โต้แย้งว่าเอกสารท้ายฎีกาไม่ถูกต้อง ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 มิได้ขับรถยนต์โดยประมาท ในคดีนี้ซึ่งเป็นคดีที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ยุติในคดีอาญาว่า จำเลยที่ 1 ไม่ได้ขับรถยนต์โดยประมาทจำเลยทั้งสามจึงไม่ต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามที่โจทก์ทั้งสองฟ้อง
โจทก์ที่ 1 ได้ขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการที่ฟ้องจำเลยที่ 1 เป็นคดีอาญาในข้อหาความผิดต่อชีวิตและความผิดต่อ พ.ร.บ.จราจรทางบกฯ ซึ่งศาลอนุญาตให้โจทก์ที่ 1 เข้าร่วมเป็นโจทก์ ดังนี้ ข้อเท็จจริงในคดีอาญาย่อมมีผลผูกพันโจทก์ที่ 1 ด้วย ส่วนโจทก์ที่ 2 แม้มิได้เป็นโจทก์ร่วมในคดีอาญาดังกล่าวแต่ก็ต้องถือว่าพนักงานอัยการได้ดำเนินคดีอาญาแทนโจทก์ที่ 2 ซึ่งเป็นมารดา ว.ผู้ตายในคดีอาญาดังกล่าว ข้อเท็จจริงในคดีอาญาย่อมมีผลผูกพันโจทก์ที่ 2ด้วยเช่นกัน เมื่อคดีอาญาดังกล่าวศาลพิพากษายกฟ้องโจทก์ที่ 1 ซึ่งโจทก์ร่วมอุทธรณ์ฝ่ายเดียว ศาลอุทธรณ์พิพากษาคดีถึงที่สุดแล้ว และเมื่อคำพิพากษาอันถึงที่สุดดังกล่าวที่จำเลยทั้งสามอ้างอิงเป็นหลักฐานมาตั้งแต่ในชั้นอุทธรณ์และในชั้นฎีกา เมื่อคำแก้ฎีกาของโจทก์ทั้งสองมิได้โต้แย้งว่าเอกสารท้ายฎีกาไม่ถูกต้อง ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 มิได้ขับรถยนต์โดยประมาท ในคดีนี้ซึ่งเป็นคดีที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ยุติในคดีอาญาว่า จำเลยที่ 1 ไม่ได้ขับรถยนต์โดยประมาทจำเลยทั้งสามจึงไม่ต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามที่โจทก์ทั้งสองฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7991/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความประมาทเลินเล่อในการขับขี่รถยนต์ใกล้ทางรถไฟ และการเรียกค่าแรงงานจากการซ่อมแซมความเสียหาย
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ส. เป็นผู้ว่าการมีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ จำเลยที่ 2 และที่ 3 ไม่ได้ให้การต่อสู้ในประเด็นนี้ จึงเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัยให้ก็ถือไม่ได้ว่าได้ว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลล่างโดยชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
พ.ร.บ. จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 63 บัญญัติว่าในทางเดินรถตอนใดที่มีทางรถไฟผ่านไม่ว่าจะมีเครื่องหมายระวังรถไฟหรือไม่ ถ้าทางรถไฟนั้นไม่มีสัญญาณระวังรถไฟหรือสิ่งปิดกั้น ผู้ขับขี่ต้องลดความเร็วของรถและหยุดรถห่างจากทางรถไฟไม่น้อยกว่าห้าเมตร เมื่อเห็นว่าปลอดภัยแล้วจึงจะขับรถผ่านไปได้ จำเลยที่ 1 ไม่ลดความเร็วของรถและหยุดรถก่อนถึงทางรถไฟเป็นเหตุให้รถที่จำเลยที่ 1 ขับชนกับขบวนรถไฟของโจทก์ จำเลยที่ 1 จึงเป็นฝ่ายประมาทเลินเล่อทำให้โจทก์เสียหายแต่ฝ่ายเดียว
แม้พนักงานของโจทก์จะมีเงินเดือนเป็นประจำและมีงานทำเป็นปกติ แต่เมื่อต้องทิ้งงานดังกล่าวและมาทำงานซ่อมแซมความเสียหายรถไฟของโจทก์ที่เกิดจากการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 1 โจทก์ย่อมเรียกค่าแรงงานในการทำงานดังกล่าวได้
พ.ร.บ. จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 63 บัญญัติว่าในทางเดินรถตอนใดที่มีทางรถไฟผ่านไม่ว่าจะมีเครื่องหมายระวังรถไฟหรือไม่ ถ้าทางรถไฟนั้นไม่มีสัญญาณระวังรถไฟหรือสิ่งปิดกั้น ผู้ขับขี่ต้องลดความเร็วของรถและหยุดรถห่างจากทางรถไฟไม่น้อยกว่าห้าเมตร เมื่อเห็นว่าปลอดภัยแล้วจึงจะขับรถผ่านไปได้ จำเลยที่ 1 ไม่ลดความเร็วของรถและหยุดรถก่อนถึงทางรถไฟเป็นเหตุให้รถที่จำเลยที่ 1 ขับชนกับขบวนรถไฟของโจทก์ จำเลยที่ 1 จึงเป็นฝ่ายประมาทเลินเล่อทำให้โจทก์เสียหายแต่ฝ่ายเดียว
แม้พนักงานของโจทก์จะมีเงินเดือนเป็นประจำและมีงานทำเป็นปกติ แต่เมื่อต้องทิ้งงานดังกล่าวและมาทำงานซ่อมแซมความเสียหายรถไฟของโจทก์ที่เกิดจากการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 1 โจทก์ย่อมเรียกค่าแรงงานในการทำงานดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7227/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าขาดประโยชน์จากรถราชการเสียหาย: จำเลยต้องชดใช้ค่าเสียหายและค่าขาดประโยชน์จนกว่าจะมีการชดใช้
จำเลยขับรถยนต์โดยประมาทเลินเล่อชนรถยนต์ของโจทก์จนเพลิงลุกไหม้เสียหายหมดทั้งคัน รถโจทก์เป็นรถที่ใช้ในราชการประจำอยู่โรงพยาบาล หลังจากจำเลยก่อเหตุละเมิดแล้วไม่ยอมใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์ ย่อมทำให้โจทก์ขาดประโยชน์จากการมิได้ใช้รถซึ่งเป็นผลโดยตรงจากการละเมิด ดังนั้นนอกจากจำเลยจะต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายของรถยนต์และอุปกรณ์การแพทย์ให้แก่โจทก์แล้ว จำเลยยังต้องรับผิดใช้ค่าขาดประโยชน์จากการที่โจทก์มิได้ใช้รถยนต์อันเป็นผลโดยตรงจากการละเมิดในระหว่างที่จำเลยไม่ยอมชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7167-7168/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความประมาทในการขับรถลงเขา ทำให้เกิดการชนในช่องทางเดินรถของผู้อื่น ผู้ขับมีหน้าที่ต้องใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษ
จำเลยขับรถสวนทางมาด้วยความเร็วสูงเมื่อเข้าทางโค้งซึ่งเป็นทางโค้งขวาลาดลงเนินเขาจำเลยไม่ได้ชะลอความเร็วและขับรถล้ำเข้าไปในช่องเดินรถของโจทก์โดยมองไม่เห็นรถที่โจทก์ขับครั้นโผล่ทางโค้งออกมาก็เห็นรถคันที่โจทก์ขับสวนทางมาในระยะกระชั้นชิดจำเลยเกิดความตกใจครั้นจะหักรถออกทางซ้ายก็กลัวว่าจะตกเหวจึงตัดสินใจหักรถออกทางขวาโดยคาดว่าจะหลบพ้นไปยังที่ราบริมถนนแต่หลบไม่พ้นเพราะจำเลยขับรถลงเนินเขาด้วยความเร็วสูงจึงเป็นเหตุให้ชนถูกด้านซ้ายของหัวรถคันที่โจทก์ขับสวนทางมาเช่นนี้ถือได้ว่าเหตุชนกันเกิดเกิดจากความประมาทของจำเลยฝ่ายเดียว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5413/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดในความเสียหายจากการเปิดบัญชีด้วยเอกสารไม่ถูกต้อง และเจตนาโดยประมาทของผู้เสียหาย
แม้การกระทำของเจ้าหน้าที่จำเลยที่ 2 กระทำด้วยความประมาทเลินเล่อโดยเปิดบัญชีออมทรัพย์ให้ ว.ในนามของโจทก์ที่ 1 โดยดูแต่เพียงสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของโจทก์ที่ 1 มิได้ดูต้นฉบับบัตรประจำตัวประชาชนของโจทก์ที่ 1 และเปรียบเทียบรูปถ่ายในบัตรประจำตัวประชาชนของโจทก์ที่ 1 กับ ว.เป็นเหตุให้ ว.ถอนเงินที่ ช.ซึ่งเป็นตัวแทนของโจทก์ในการขายคืนพันธบัตรรัฐบาลและโอนเงินที่ขายได้ตามเช็คขีดคร่อมที่ธนาคาร-แห่งประเทศไทยสั่งจ่ายแก่โจทก์ทั้งสองมาเข้าบัญชีออมทรัพย์ดังกล่าวไป อันเป็นการละเมิดต่อโจทก์ทั้งสอง และจำเลยที่ 2 ผู้เป็นนายจ้างจะต้องรับผิดต่อโจทก์ทั้งสองก็ตาม แต่เนื่องจาก ช.ซึ่งเป็นตัวแทนของโจทก์ทั้งสอง นำสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของโจทก์ที่ 1 ให้ ว.ไปขอเปิดบัญชีออมทรัพย์กับจำเลยที่ 2ได้ ถือได้ว่าความเสียหายได้เกิดขึ้นเพราะความผิดอย่างหนึ่งอย่างใดของโจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นตัวการประกอบด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 442จึงให้จำเลยที่ 2 รับผิดต่อโจทก์ทั้งสองเพียงกึ่งหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5367/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยินยอมให้ใช้รถและผลความรับผิดในความประมาทของลูกจ้าง นายจ้างต้องรับผิดชอบเมื่อยินยอมให้ลูกจ้างใช้รถโดยไม่มีข้อจำกัด
จำเลยผู้เป็นนายจ้างยินยอมให้ ม.นำรถยนต์บรรทุกคันเกิดเหตุและกุญแจรถไปเก็บไว้ที่บ้านของม. ถือได้ว่าจำเลยยินยอมให้ ม. นำรถยนต์บรรทุกออกไปใช้ได้ตลอดเวลาตราบใดที่รถยนต์บรรทุกยังไม่กลับมาอยู่กับจำเลยก็ย่อมต้องถือว่า ม.ขับรถยนต์บรรทุกไปในทางการที่จ้าง ซึ่งจำเลยต้องร่วมรับผิดในผลละเมิดที่ ม.กระทำด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 230-231/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีค่าเสียหายจากการตาย และการพิสูจน์ความประมาทเลินเล่อของผู้เกี่ยวข้อง
ทนายจำเลยยื่นคำร้องขอระบุพยาน ศ. เพิ่มเติมหลังจากสืบพยานโจทก์เสร็จโดยอ้างว่า ศ. เป็นบุคคลที่นั่งไปในรถยนต์ของจำเลยขณะเกิดเหตุด้วยนั้นหากเป็นความจริงจำเลยก็อาจทราบได้ตั้งแต่หลังจากเกิดเหตุและก่อนถูกฟ้องคดีแล้วการที่จำเลยไม่ทราบจึงเป็นเพราะจำเลยไม่ขวนขวายเอาใจใส่คดีของจำเลยเองศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้จำเลยยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา88วรรคท้ายแล้ว โจทก์ร่วมซึ่งเป็นมารดาของผู้ตายจะมีสิทธิได้รับค่าอุปการะเลี้ยงดูจากผู้ตายหรือไม่อย่างไรเป็น สิทธิเฉพาะตัวของโจทก์ร่วมไม่เกี่ยวกับสิทธิของโจทก์ที่1ซึ่งเป็นบิดาของผู้ตายและได้ฟ้องคดีเรียกค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยในมูลละเมิดไปแล้วหากโจทก์ร่วมจะฟ้องคดีเองโจทก์ร่วมจะต้องฟ้องภายในอายุความการที่โจทก์ร่วมยื่นคำร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมมีผลเสมือนเป็นการฟ้องคดีเพราะเป็นการขอบังคับให้เป็นไปตามสิทธิที่โจทก์ร่วมมีอยู่เมื่อนับจากวันเกิดเหตุเป็นเวลาเกิน1ปีแล้วคดีของโจทก์ร่วมจึงขาดอายุความ เหตุที่รถชนกันเกิดจากความประมาทเลินเล่อของผู้ตายและ ว.ลูกจ้างจำเลยไม่ยิ่งหย่อนกว่ากันโจทก์ที่1ซึ่งเป็นบิดาของผู้ตายย่อมไม่มีสิทธิฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1713/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความประมาทเลินเล่อจากการขุดดินทำลายสายเคเบิล: ผู้รับเหมามีหน้าที่ใช้ความระมัดระวัง
องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยโจทก์ได้วางสายเคเบิลโทรศัพท์ของโจทก์ในซอยสาธารณะไว้ก่อนแล้วเป็นหน้าที่ของผู้ที่ไปทำการขุดถนนในภายหลังจะต้องใช้ความระมัดระวังการที่คนงานขุดถนนซึ่งเป็นลูกจ้างจำเลยปักแผ่นเหล็กกั้นดินลงไปโดยวิธีใช้แรงกดดันอย่างแรงจนสายเคเบิลโทรศัพท์ได้รับความเสียหายโดยไม่ตรวจดูให้ละเอียดและหาทางป้องกันมิให้เกิดความเสียหายเช่นนี้ถือได้ว่าคนงานขุดท่อและปรับปรุงถนนโดยประมาทเลินเล่อ