พบผลลัพธ์ทั้งหมด 323 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 172/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องสินสอดคืนเมื่อไม่จดทะเบียนสมรส: ความรับผิดชอบของโจทก์ในการไม่ดำเนินการจดทะเบียน
โจทก์หมั้นบุตรสาวจำเลยโดยมอบสินสอดให้จำเลยในวันทำพิธีแต่งงานแต่มิได้จดทะเบียนสมรสกันเพราะโจทก์ไม่ใส่ใจในการไปจดทะเบียนสมรสกับบุตรของจำเลยโจทก์จึงจะอ้างขอสินสอดคืนว่าเมื่อไม่มีการสมรสโจทก์ย่อมเรียกสินสอดคืนได้โดยไม่ต้องพิจารณาว่าฝ่ายใดผิดสัญญาหมั้นหาได้ไม่โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกสินสอดคืน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6812/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์ฐานะผู้ขนส่งร่วม: หลักฐานการเป็นตัวแทนและความรับผิดชอบในสัญญาขนส่ง
ตอนบนของเอกสารรายการขนสินค้าจากเรือระบุเพียงว่าบริษัท ท.แต่ไม่ปรากฏตามที่โจทก์นำสืบว่าบริษัท ท.เป็นตัวแทนของจำเลย และผู้ลงนามตอนท้ายของเอกสารดังกล่าวที่ระบุว่าเป็นผู้จดรายการก็ไม่ปรากฏว่าเป็นพนักงานของจำเลยหรือตัวแทนของจำเลย นอกจากนี้ตามเอกสารแสดงรายการขนสินค้าจากเรือไปโรงพักสินค้าที่ลงนามเป็นผู้จดรายการนั้นก็ไม่ปรากฏว่า ป.เป็นลูกจ้างหรือตัวแทนของจำเลยและใบแจ้งขอทำการบรรทุกและขนถ่ายสินค้ามี อ.ผู้แทนบริษัท อ.เป็นผู้แจ้ง หาใช่จำเลยหรือตัวแทนจำเลยเป็นผู้แจ้งไม่ ดังนั้น แม้จะฟังได้ว่าจำเลยเป็นผู้แจ้งกำหนดเรือเข้าแก่ผู้รับตราส่งและให้ผู้รับตราส่งนำใบตราส่งไปแลกใบปล่อยสินค้าจากจำเลยก็ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยเป็นผู้ขนส่งร่วมกับผู้ขนส่งสินค้าทอดแรกและผู้ขนส่งหลายคนหลายทอดตาม ป.พ.พ.มาตรา 618 จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ผู้รับประกันภัยซึ่งรับช่วงสิทธิจากผู้รับตราส่งเรียกเอาค่าเสียหายในกรณีที่สินค้าสูญหายหรือบุบสลายในระหว่างการขนส่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6468/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าฉางที่มีลักษณะสัญญาฝากทรัพย์: กำหนดอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 164
สัญญาเช่าฉางระหว่างโจทก์กับจำเลย นอกจากเป็นสัญญาเช่าทรัพย์แล้ว ยังมีข้อตกลงกันว่าจำเลยจะเก็บรักษาข้าวเปลือกตามชนิดจำนวน น้ำหนัก มิให้เปลี่ยนแปลงหรือผิดไปจากสภาพเดิมถ้าเกิดความเสียหายหรือสูญหายขึ้น จำเลยต้องรับผิดชอบและชดใช้ราคาข้าวเปลือกที่ผิดชนิดหรือขาดจำนวนไปไม่ว่าด้วยเหตุใด ๆ ซึ่งมีลักษณะเป็นสัญญาฝากทรัพย์รวมอยู่ในตัวด้วยฉะนั้นจำเลยในฐานะผู้รับฝากทรัพย์จึงต้องคืนทรัพย์ที่รับฝากไว้แก่โจทก์ เมื่อทรัพย์ที่รับฝากสูญหายไปจำเลยจึงต้องใช้ราคาทรัพย์ที่รับฝากไว้แทนตัวทรัพย์ การฟ้องเรียกให้ใช้ราคาทรัพย์ในกรณีนี้ไม่ใช่เรียกค่าสินไหมทดแทนเกี่ยวแก่การฝากทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 671 และไม่มี กฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีกำหนด 10 ปี ตามมาตรา 164
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6220/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความประมาทเลินเล่อของผู้ขับขี่ทั้งสองฝ่ายและการแบ่งความรับผิดชอบค่าเสียหาย
เมื่อเวลาประมาณ 23 นาฬิกา จำเลยขับรถยนต์เทรลเลอร์บรรทุกรถแทรกเตอร์ตักดินมาจอดเสียอยู่บนถนน โดยล้อด้านขวาล้ำอยู่บนถนนห่างจากขอบถนนด้านซ้ายประมาณ 1.50 เมตร โดยไม่เปิดสัญญาณไฟหรือติดตั้งเครื่องหมายสะท้อนแสงหรือสัญญาณใด ๆ เวลาไล่เลี่ยกัน ส.ขับรถยนต์บรรทุกไม้ยางมาเต็มคันรถแล่นมาในทิศทางเดียวกันด้วยความเร็วสูงชนรถยนต์เทรลเลอร์ที่จำเลยขับมาจอดอยู่โดยแรง เกิดความเสียหายอย่างมาก การที่ ส.ขับรถยนต์-บรรทุกไม้มาในเวลากลางคืน แม้หากจะมีรถวิ่งสวนมาทำให้มองเห็นทางข้างหน้าเพียงประมาณ 5 - 6 เมตร ส.ควรจะลดความเร็วลงจนกว่าจะเห็นว่าอาจขับไปโดยปลอดภัย การที่ ส.ขับรถไปด้วยความเร็วสูง ทำให้เห็นรถยนต์เทรลเลอร์ที่จำเลยเป็นคนขับจอดกีดขวางทางอยู่ข้างทางต่อเมื่ออยู่ในระยะกระชั้นชิด หักหลบไม่ทันและชนกันขึ้น ถือว่า ส.กระทำโดยประมาทเลินเล่อ เหตุชนกันไม่ได้เกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยฝ่ายเดียว เมื่อพฤติการณ์แห่งคดีเห็นได้ว่า ส.กับจำเลยทั้งสองฝ่ายต่างทำละเมิดต่อกันเท่า ๆ กัน ค่าเสียหายจึงย่อมเป็นพับกันไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5466/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บุคคลวิกลจริตตาม ป.พ.พ. คือผู้มีสติวิปลาส ขาดความรับผิดชอบ ไม่สามารถจัดการตนเองได้
คำว่า "บุคคลวิกลจริต" ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา29 เดิม (มาตรา 28 ใหม่) นั้น มิได้หมายเฉพาะถึงบุคคลผู้มีจิตผิดปกติหรือตามที่เข้าใจกันทั่ว ๆ ไปว่าเป็นบ้าเท่านั้น แต่หมายรวมถึงบุคคลผู้มีกิริยาอาการผิดปกติเพราะสติวิปลาส คือ ขาดความรำลึก ขาดความรู้สึก และขาดความรับผิดชอบด้วย เพราะบุคคลดังกล่าวนี้ไม่สามารถประกอบกิจการของตนหรือประกอบกิจส่วนตัวของตนได้
จ. ไม่รู้สึกตัวเองและพูดจารู้เรื่องบ้างไม่รู้เรื่องบ้าง ซึ่งแพทย์ให้การวินิจฉัยว่าเป็นโรคสมองฝ่อหรือสมองเสื่อมขั้นรุนแรง ไม่สามารถรักษาให้หายได้ ตลอดจนไม่อาจปฏิบัติภารกิจส่วนตัวได้ แสดงให้เห็นว่า จ.เป็นคนไม่มีสติสัมปชัญญะไร้ความสามารถที่จะดำเนินกิจการทุกสิ่งทุกอย่างด้วยตนเองได้ พอถือได้ว่าเป็นบุคคลวิกลจริตตามความหมายแห่ง ป.พ.พ.มาตรา 29 เดิม(มาตรา 28 ใหม่) แล้ว
จ. ไม่รู้สึกตัวเองและพูดจารู้เรื่องบ้างไม่รู้เรื่องบ้าง ซึ่งแพทย์ให้การวินิจฉัยว่าเป็นโรคสมองฝ่อหรือสมองเสื่อมขั้นรุนแรง ไม่สามารถรักษาให้หายได้ ตลอดจนไม่อาจปฏิบัติภารกิจส่วนตัวได้ แสดงให้เห็นว่า จ.เป็นคนไม่มีสติสัมปชัญญะไร้ความสามารถที่จะดำเนินกิจการทุกสิ่งทุกอย่างด้วยตนเองได้ พอถือได้ว่าเป็นบุคคลวิกลจริตตามความหมายแห่ง ป.พ.พ.มาตรา 29 เดิม(มาตรา 28 ใหม่) แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3776/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความประมาทเลินเล่อในการเก็บรักษาเช็ค และผลกระทบต่อการยกเว้นความรับผิดชอบจากลายมือชื่อปลอม
ธนาคารจำเลยได้จ่ายเงินตามเช็คพิพาทซึ่งลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายปลอม เหตุแห่งความเสียหายในเรื่องนี้บังเกิดจากการปลอมลายมือชื่อโจทก์ผู้สั่งจ่ายเช็คและจำเลยได้จ่ายเงินตามเช็คปลอมฉบับนั้น แม้การเก็บรักษาสมุดเช็คไว้อย่างดีผู้ร้ายจะหาโอกาสลักเช็คไปปลอมลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายได้ยากก็ตาม แต่เมื่อความเสียหายเกิดจากการกระทำของผู้อื่นที่ปลอมเช็ค การเก็บรักษาสมุดเช็คไว้อย่างดี จึงไม่ให้ผลโดยตรงที่จะให้บังเกิดการปลอมเช็คและนำไปขึ้นเงินได้สำเร็จ
โจทก์เก็บสมุดเช็คพิพาทไว้ในกระป๋องขนมปังบนโต๊ะทำงานของโจทก์ซึ่งโจทก์และพนักงานใช้เป็นที่ทำงานของห้างหุ้นส่วน มีคนเข้าออกภายในห้องหลายคน ส่วนใหญ่พนักงานทุกคนทราบว่าโจทก์เก็บเช็คไว้ในกระป๋องดังกล่าวการกระทำของโจทก์เพียงแต่ขาดความรอบคอบในการเก็บรักษาสมุดเช็คเท่านั้นถือไม่ได้ว่าโจทก์กระทำโดยประมาทอันจะถือว่าโจทก์เป็นผู้ต้องตัดบทมิให้ยกข้อลายมือชื่อปลอมขึ้นต่อสู้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1008 และแม้โจทก์มิได้แจ้งให้จำเลยทราบเมื่อเช็คพิพาทเกิดสูญหายและมีผู้ไม่สุจริตนำไปปลอมลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายก็ตาม แต่เมื่อโจทก์มิได้กระทำโดยประมาทจำเลยจึงยังต้องรับผิดชำระเงินให้โจทก์
โจทก์เก็บสมุดเช็คพิพาทไว้ในกระป๋องขนมปังบนโต๊ะทำงานของโจทก์ซึ่งโจทก์และพนักงานใช้เป็นที่ทำงานของห้างหุ้นส่วน มีคนเข้าออกภายในห้องหลายคน ส่วนใหญ่พนักงานทุกคนทราบว่าโจทก์เก็บเช็คไว้ในกระป๋องดังกล่าวการกระทำของโจทก์เพียงแต่ขาดความรอบคอบในการเก็บรักษาสมุดเช็คเท่านั้นถือไม่ได้ว่าโจทก์กระทำโดยประมาทอันจะถือว่าโจทก์เป็นผู้ต้องตัดบทมิให้ยกข้อลายมือชื่อปลอมขึ้นต่อสู้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1008 และแม้โจทก์มิได้แจ้งให้จำเลยทราบเมื่อเช็คพิพาทเกิดสูญหายและมีผู้ไม่สุจริตนำไปปลอมลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายก็ตาม แต่เมื่อโจทก์มิได้กระทำโดยประมาทจำเลยจึงยังต้องรับผิดชำระเงินให้โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3379/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโต้แย้งสัญญาค้ำประกันและขอบเขตความรับผิดชอบ ศาลฎีกาพิพากษายืนตามสัญญาค้ำประกันที่จำเลยลงนาม
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยที่ 2 รับผิดตามสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 2 ให้การปฏิเสธฟ้องโจทก์ว่าจำเลยที่ 2 ไม่เคยทำสัญญาค้ำประกันให้ไว้แก่โจทก์ สัญญาค้ำประกันตามเอกสารท้ายฟ้องเป็นเอกสารปลอม และไม่ว่ากรณีจะเป็นอย่างไร หากจำเลยที่ 2จะต้องรับผิดต่อโจทก์แล้วก็จะต้องรับผิดไม่เกิน 150,000 บาท ดังนี้คำให้การจำเลยที่ 2 จึงมีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยว่า จำเลยที่ 2ได้ทำสัญญาค้ำประกันตามเอกสารท้ายฟ้องหรือไม่ และจำเลยที่ 2จะต้องรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาเพียงใด คำให้การจำเลยที่ 2หาได้ขัดกัน หรือไม่อาจเป็นไปได้ทั้งสองประการในคราวเดียวกันแต่อย่างใด เพราะข้อต่อสู้ตอนต้นเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงส่วนข้อต่อสู้ตอนหลังเป็นเรื่องปัญหาข้อกฎหมายในการแปลข้อสัญญาว่าจำเลยที่ 2 จะต้องรับผิดต่อโจทก์เพียงใด ฉะนั้น การที่ศาลไม่วินิจฉัยให้นั้นจึงไม่ชอบ แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อจำเลยที่ 2ไม่ได้ให้การในรายละเอียดเจาะจงว่าลายมือชื่อผู้ค้ำประกันในเอกสารดังกล่าว ไม่ใช่ลายมือชื่อของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 จึงไม่มีสิทธินำสืบว่าลายมือชื่อในสัญญาค้ำประกันนั้นไม่ใช่ของจำเลยที่ 2ข้อนำสืบของจำเลยที่ 2 ดังกล่าวเป็นเรื่องนอกคำให้การจึงรับฟังไม่ได้ การที่จำเลยที่ 2 ได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลออกหมายเรียกเอกสารหนังสือเดินทางของจำเลยที่ 3 จากกระทรวงการต่างประเทศ เพื่อพิสูจน์ว่าการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยที่ 3 ไม่ชอบเพราะจำเลยที่ 3 ไม่ได้อยู่ในราชอาณาจักรขณะที่มีการนำหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องไปส่งแก่จำเลยที่ 3 นั้น เห็นได้ว่า เอกสารดังกล่าวมิใช่เอกสารเกี่ยวกับประเด็นตามคำฟ้องและคำให้การของจำเลยที่ 2จึงเป็นเอกสารที่ไม่เกี่ยวกับประเด็นแห่งคดี ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจงดสืบพยานหลักฐานดังกล่าวได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 86 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1510/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเชิดตัวแทนทางกฎหมาย: นิติบุคคลเป็นตัวแทนเชิดของบุคคลธรรมดาได้ และบุคคลธรรมดาต้องรับผิดชอบในการกระทำของตัวแทน
การที่บุคคลผู้ใดเชิดบุคคลอีกคนหนึ่งออกแสดงเป็นตัวแทนของตนบุคคลนั้นต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอกผู้สุจริตเสมือนว่าบุคคลอีกคนหนึ่งนั้นเป็นตัวแทนของตน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 821 และบุคคลที่เป็นตัวแทนเชิดได้หาจำต้องเฉพาะแต่บุคคลธรรมดาเท่านั้นไม่ เพราะแม้แต่การตั้งตัวแทนทั่วไป นิติบุคคลโดยผู้มีอำนาจกระทำการแทนย่อมเป็นตัวแทนได้ เพราะนิติบุคคลย่อมมีสิทธิและหน้าที่เช่นเดียวกับบุคคลธรรมดาเว้นแต่สิทธิและหน้าที่ซึ่งโดยสภาพจะพึงมีพึงเป็นได้เฉพาะแก่บุคคลธรรมดาเท่านั้น และความประสงค์ของนิติบุคคลย่อมแสดงออกโดยผู้แทนของนิติบุคคล เมื่อ ช. เป็นผู้แทนของนิติบุคคลทั้งหลายที่ใช้ติดต่อค้าขายกับจำเลยแสดงว่านิติบุคคลเหล่านั้นเป็นเพียงตัวแทนเชิดของ ช.ซึ่งช. เป็นตัวการและเป็นเจ้าของลูกเดือยพิพาทเมื่อช.ยกกรรมสิทธิ์ในลูกเดือยพิพาทให้แก่จำเลย เพื่อนำออกจำหน่ายชำระค่าเสียหายในกรณีที่ ช.ในนามของบริษัท ม. ผิดสัญญาบอกเลิกการซื้อข้าวสารกับจำเลยจำเลยจึงมีสิทธิในลูกเดือยพิพาท โจทก์ซึ่งเป็นเพียงตัวแทนเชิดของช.จึงไม่สามารถอ้างสิทธิตามสัญญาซื้อขายลูกเดือย ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1068/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หมิ่นประมาททางหนังสือพิมพ์: การพิจารณาความผิดของจำเลยแต่ละคน, เจตนา, และขอบเขตความรับผิดชอบ
หัวข้อข่าวที่ว่า แอมบาสเดอร์เบี้ยวค่าเฟอร์นิเจอร์เจ้าของร้านฟ้องศาลเรียกหนี้ 1 ล้าน หมายถึงแอมบาสเดอร์ไม่จ่ายค่าเฟอร์นิเจอร์ เพราะไม่ซื่อตรงหรือโกง เจ้าของร้านฟ้องศาลเรียกหนี้ 1 ล้านบาท และหัวข้อข่าวดังกล่าวเป็นถ้อยคำของหนังสือพิมพ์เอง ประกอบกับข้อความในเนื้อข่าวเป็นการใส่ความโจทก์โดยประการที่น่าจะทำให้โจทก์เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชังเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท ทั้งปรากฏว่าโจทก์ที่ 2 และโจทก์ที่ 3เคยให้จำเลยที่ 1 ลงโฆษณา ต่อมาโจทก์ที่ 2 และโจทก์ที่ 3 ยกเลิกจำเลยที่ 1 ได้ลงข่าวเกี่ยวกับฝ่ายโจทก์ในทางเสียหายตลอดมาก่อนคดีนี้โจทก์ที่ 2 และโจทก์ที่ 3 เคยฟ้องจำเลยทั้งห้าในความผิดฐานหมิ่นประมาทแล้ว 3 คดี ดังนั้นจึงถือไม่ได้ว่าการลงข่าวดังกล่าวเป็นการแจ้งข่าวด้วยความเป็นธรรมเรื่องการดำเนินการอันเปิดเผยในศาล จึงไม่ได้รับความคุ้มครองตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 329(4) จำเลยลงข่าวในหนังสือพิมพ์แนวหน้าตามฟ้องหมิ่นประมาทโจทก์ที่ 1 และที่ 2 โดยในเนื้อข่าวระบุชื่อโจทก์ที่ 3 ว่าเป็นกรรมการของโจทก์ที่ 1 และที่ 2 นอกจากจะเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์ที่ 1 และที่ 2 แล้ว ยังเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์ที่ 3 ผู้ถูกระบุชื่อว่าเป็นกรรมการซึ่งเป็นผู้แทนดำเนินหรือปฏิบัติตามวัตถุประสงค์ของโจทก์ที่ 1 และที่ 2 โจทก์ที่ 3 จึงเป็นผู้เสียหายด้วย จำเลยที่ 3 เป็นผู้อำนวยการรับผิดชอบภาคปฏิบัติการ มีหน้าที่เกี่ยวกับการเงินการตลาดและมีอำนาจสั่งการเกี่ยวกับนโยบายของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 5 เป็นกรรมการเป็นผู้จัดการทั่วไปของจำเลยที่ 1มีหน้าที่ให้นโยบายในการบริหารของจำเลยที่ 1 ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 3เป็นผู้คัดเลือกหรือสั่งให้ลงพิมพ์หัวข้อข่าวและเนื้อหาหมิ่นประมาทโจทก์ ที่จำเลยที่ 3 และที่ 5 มีอำนาจในการให้นโยบายในการบริหารก็เป็นการบริหารของบริษัทจำเลยที่ 1 โดยทั่ว ๆ ไปไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 3 และที่ 5 ให้นโยบายว่า จะเสนอข่าวเกี่ยวกับหัวข้อข่าวและเนื้อข่าวหมิ่นประมาทโจทก์ คดีจึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 3และที่ 5 ได้ร่วมกระทำผิดฐานหมิ่นประมาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 491/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลื่อนการพิจารณาคดี: ทนายโจทก์ต้องรับผิดชอบการนัดหมายวันพิจารณาที่ซ้ำซ้อน
การที่ทนายโจทก์เพิ่งให้เสมียนทนายนำคำร้องขอเลื่อนการพิจารณาคดีมายื่นต่อศาลชั้นต้นในวันนัดพิจารณา โดยที่ในวันนัดพิจารณานัดก่อนทนายโจทก์มาศาลด้วยตนเอง และมีการเลื่อนการพิจารณาคดีและกำหนดวันนัดพิจารณาใหม่ ต้องถือว่าทนายโจทก์ได้ร่วมกำหนดวันนัดพิจารณาครั้งต่อไปด้วย และโดยปกติก็ต้องนัดพิจารณาในวันว่างของทนายโจทก์ หากเกิดเหตุผิดพลาดทำให้ไปนัดซ้อนวันกันกับศาลอื่นก็ชอบที่ทนายโจทก์จะต้องรีบร้องขอเลื่อนคดีเสียแต่เนิ่น ๆ เมื่อปรากฏว่าวันพิจารณานัดหลังมีระยะเวลาห่างจากวันพิจารณานัดก่อนถึง 48 วัน กรณีจึงไม่มีเหตุสมควรที่จะอนุญาตให้เลื่อนการพิจารณา