คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
คำนวณ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 140 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4213-4214/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบี้ยเลี้ยงพนักงานส่งเสริมการขายถือเป็นค่าจ้าง ต้องนำมารวมคำนวณค่าชดเชยและดอกเบี้ย
โจทก์เป็นพนักงานส่งเสริมการขาย ต้องออกไปปฏิบัติงานในต่างจังหวัดทุกเดือน เดือนละประมาณ 19 วันในการออกปฏิบัติหน้าที่ในต่างจังหวัดจำเลยจะจ่ายเบี้ยเลี้ยงอันได้แก่ค่าโรงแรมและค่าอาหารให้แก่โจทก์ วันละ 240 บาท ซึ่งเป็นจำนวนแน่นอนและเป็นการเหมาจ่าย ดังนี้ เบี้ยเลี้ยงที่จำเลยจ่ายให้โจทก์ดังกล่าวถือว่าเป็นค่าจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 2 ต้องนำมารวมเป็นฐานในการคำนวณค่าชดเชยด้วย
โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 29 เมษายน 2530 ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยในต้นเงินที่ค้างชำระแก่โจทก์ตั้งแต่วันที่ 29 เมษายน 2525 ซึ่งเมื่อนับถึงวันฟ้องแล้วยังไม่เกิน 5 ปี จึงชอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 166 แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2221/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคำนวณบำเหน็จบำนาญสำหรับข้าราชการที่ลาออกแล้วกลับเข้ารับราชการใหม่ ไม่อาจนำเวลาราชการก่อนหน้ามารวมคำนวณได้
โจทก์เริ่มรับราชการเมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2487 และลาออกจากราชการเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2500 รวมเวลาราชการสำหรับคำนวณบำเหน็จบำนาญ 13 ปี 7 เดือน 17 วัน ต่อมาโจทก์เข้ารับราชการอีกเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2504 แล้วลาออกจากราชการเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2526 รวมเวลาราชการสำหรับคำนวณบำเหน็จบำนาญครั้งหลัง 26 ปี 10 เดือน 3 วัน ดังนี้ เมื่อกรณีของโจทก์ปรากฏว่าโจทก์ลาออกจากราชการครั้งก่อนโดยมีสิทธิได้รับบำเหน็จ จึงถือได้ว่าโจทก์ออกจากราชการโดยได้รับหรือมีสิทธิได้รับบำเหน็จหรือบำนาญตามมาตรา 30 (3) แห่งพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ฯ แล้ว โจทก์จึงจะนำเวลาราชการตอนก่อนมารวมกับเวลาราชการครั้งหลังเพื่อคำนวณบำเหน็จบำนาญหาได้ไม่เพราะต้องห้ามตามพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ฯ มาตรา 30

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2221/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคำนวณบำเหน็จบำนาญข้าราชการ: เวลาราชการก่อน-หลังลาออกไม่อาจรวมกันได้
คำว่า "ออกจากราชการ" ใน พ.ร.บ. บำเหน็จบำนาญข้าราชการฯหมายถึงการที่ข้าราชการพ้นจากราชการ ซึ่งย่อมหมายความรวมถึงการพ้นจากราชการเพราะลาออกด้วย โจทก์ลาออกจากราชการครั้งก่อนโดยมีสิทธิได้รับบำเหน็จถือได้ว่าโจทก์ออกจากราชการโดยได้รับหรือมีสิทธิได้รับบำเหน็จหรือบำนาญตามมาตรา 30(3) แห่ง พ.ร.บ. บำเหน็จบำนาญข้าราชการฯดังนั้น เมื่อโจทก์เข้ารับราชการใหม่ จึงต้องคิดเวลาราชการสำหรับคำนวณบำเหน็จบำนาญเฉพาะ การรับราชการครั้งใหม่เท่านั้น จะนำเวลาราชการตอนก่อนมารวมกับเวลาราชการครั้งใหม่หาได้ไม่ เพราะต้องห้ามตาม พ.ร.บ.บำเหน็จบำนาญข้าราชการฯ มาตรา 30.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2221/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคำนวณบำเหน็จบำนาญสำหรับข้าราชการที่ลาออกแล้วกลับเข้ารับราชการใหม่ ไม่อาจนำเวลาราชการเดิมมารวมคำนวณได้
โจทก์เริ่มรับราชการเมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2487 และลาออกจากราชการเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2500 รวมเวลาราชการสำหรับคำนวณบำเหน็จบำนาญ 13 ปี 7 เดือน 17 วัน ต่อมาโจทก์เข้ารับราชการอีกเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2504 แล้วลาออกจากราชการเมื่อวันที่ 24มีนาคม 2526 รวมเวลาราชการสำหรับคำนวณบำเหน็จบำนาญครั้งหลัง26 ปี 10 เดือน 3 วัน ดังนี้ เมื่อกรณีของโจทก์ปรากฏว่าโจทก์ลาออกจากราชการครั้งก่อนโดยมีสิทธิได้รับบำเหน็จ จึงถือได้ว่าโจทก์ออกจากราชการโดยได้รับหรือมีสิทธิได้รับบำเหน็จหรือบำนาญตามมาตรา 30(3) แห่งพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ฯ แล้ว โจทก์จึงจะนำเวลาราชการตอนก่อนมารวมกับเวลาราชการครั้งหลังเพื่อคำนวณบำเหน็จบำนาญหาได้ไม่เพราะต้องห้ามตามพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ฯมาตรา 30.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1246/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ รายรับจากบัตรนำเที่ยว: การคำนวณภาษีถูกต้องตามหลักการทางภาษีอากร
การจัดบริการนำเที่ยวโดยวิธีขายบัตรนำเที่ยว ไม่ว่าโจทก์ขายบัตรนำเที่ยวให้แก่สำนักงานท่องเที่ยวหรือเป็นเรื่องสำนักงานท่องเที่ยวทำหน้าที่เพียงเป็นตัวแทนโจทก์ในการขายบัตรนำเที่ยว โจทก์ก็จะต้องจ่ายผลประโยชน์ให้แก่สำนักงานท่องเที่ยวผลประโยชน์ซึ่งได้แก่ผลต่างของราคาในบัตรนำเที่ยวกับราคาที่โจทก์คิดกับสำนักงานท่องเที่ยวก็คือค่าใช้จ่ายในการขายบัตรนำเที่ยวของโจทก์ ราคาตามบัตรนำเที่ยวจึงเป็นส่วนที่โจทก์ได้รับหรือพึงได้รับต้องถือว่าเป็นรายรับของโจทก์ทั้งหมดตามความในมาตรา 79 แห่งประมวลรัษฎากร โจทก์ต้องคำนวณรายรับของโจทก์ตามความเป็นจริงที่ปรากฏราคาในบัตรนำเที่ยว จะคำนวณรายรับจากราคาที่คิดจากสำนักงานท่องเที่ยวไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3608/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคำนวณภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายที่ถูกต้องตามประมวลรัษฎากร โดยพิจารณาจากเงินได้ที่ได้รับจริง
ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 39 เงินได้อันจะนำมาคำนวณภาษีนั้นไม่ว่าจะเป็นทรัพย์สินหรือประโยชน์อย่างอื่นก็ต้องเป็นสิ่งที่ผู้มีเงินได้ได้รับมาแล้ว
การคำนวณภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายกฎหมายมุ่งประสงค์ให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินหักภาษีไว้เท่าจำนวนที่ผู้มีเงินได้จะต้องเสียเท่านั้น คือต้องคำนวณจากเงินได้ที่ผู้มีเงินได้รับแล้วหรือเป็นที่แน่ชัดว่าควรจะได้รับต่อไปจนถึงเดือนสุดท้ายของปีเท่านั้นดังนั้นวิธีคำนวณภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายสำหรับผู้มีเงินได้ที่เข้าทำงานระหว่างปีที่ถูกต้องคือให้นำเงินเดือนเริ่มตั้งแต่เดือนที่จ่ายคำนวณล่วงหน้าจนถึงสิ้นปีเป็นเงินได้พึงประเมินสำหรับคำนวณภาษีตามเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดไว้ แล้วหารด้วยจำนวนเดือนที่จ่ายหักไว้เป็นภาษีแต่ละเดือน
ฟ้องของโจทก์ขอให้เพิกถอนคำสั่งของเจ้าพนักงานประเมินของจำเลยและเพิกถอนคำสั่งของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ของจำเลยเฉพาะ 2 ราย การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาให้เพิกถอนคำสั่งของเจ้าพนักงานประเมินของจำเลยและเพิกถอนคำสั่งของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ของจำเลยทั้งหมดจึงเป็นการพิพากษาเกินไปกว่า หรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2880/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าล่วงเวลาและค่าทำงานในวันหยุด: การคำนวณอัตราค่าจ้างและการจ่ายค่าล่วงเวลาที่ถูกต้องตามกฎหมาย
บริษัทจำเลยมีวัตถุประสงค์ประกอบอุตสาหกรรมและพาณิชยกรรมโจทก์เป็นพนักงานขับรถมีหน้าที่ขับรถรับส่งพนักงานฝ่ายบริหารไปกลับระหว่างที่พักกับที่ทำงานไม่เกี่ยวกับการประกอบอุตสาหกรรมหรือพาณิชยกรรมงานของโจทก์จึงเป็นงานอื่นจำเลยกำหนดเวลาทำงานปกติของโจทก์ได้สัปดาห์ละ54ชั่วโมงหรือวันละ9ชั่วโมงโจทก์ทำงานตั้งแต่เวลา6.00นาฬิกาเลิกงาน18.00นาฬิกาเป็นเวลา12ชั่วโมงหักเป็นเวลาพัก1ชั่วโมงและเวลาทำงานปกติ9ชั่วโมงจำเลยจึงให้โจทก์ทำงานเกินเวลาทำงานปกติไปวันละ2ชั่วโมงฉะนั้นค่าล่วงเวลาสำหรับการทำงานในวันทำงานตลอด24ชั่วโมงระยะเวลา12ชั่วโมงแรกซึ่งมีการทำงานเกินเวลาทำงานปกติอยู่2ชั่วโมงนั้นจำเลยรวมเอาค่าล่วงเวลาไว้ในค่าจ้างปกติด้วยกล่าวคือเมื่อจำเลยจ่ายค่าจ้างปกติให้โจทก์แล้วจึงได้จ่ายค่าล่วงเวลาสำหรับ2ชั่วโมงดังกล่าวแก่โจทก์ส่วนระยะเวลา12ชั่วโมงหลังเมื่อจำเลยจ่ายค่าล่วงเวลาเป็นสองเท่าของค่าจ้างปกติเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดไว้เพียงหนึ่งเท่าครึ่งจึงเป็นการจ่ายค่าล่วงเวลาครบถ้วนแล้วเช่นเดียวกัน จำเลยให้โจทก์ทำงานในวันหยุดมีกำหนด12ชั่วโมงจึงมีการทำงานในวันหยุดเกินเวลาทำงานปกติของวันทำงานอยู่2ชั่วโมงด้วยจำเลยจ่ายค่าล่วงเวลาเป็นค่าทำงานในวันหยุดสำหรับ2ชั่วโมงนี้เพียงสองเท่าของค่าจ้างปกติของวันทำงานเท่านั้นจึงขาดไปหนึ่งเท่าและจะถือว่าจำเลยจ่ายค่าล่วงเวลาหนึ่งเท่าที่ขาดรวมกับเงินเดือนไปแล้วก็ไม่ได้เพราะในวันหยุดไม่มีการทำงานจึงไม่มีค่าล่วงเวลาที่กำหนดไว้ล่วงหน้าจำเลยต้องจ่ายค่าล่วงเวลาในวันหยุดสำหรับ2ชั่วโมงที่ยังขาดให้โจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2294/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคำนวณระยะเวลาทำงานเพื่อรับเงินบำเหน็จตามข้อบังคับขององค์การคลังสินค้า ต้องนับตามระยะเวลาทำงานจริง ไม่ใช่วิธีคำนวณบำเหน็จ
ข้อบังคับองค์การคลังสินค้าว่าด้วยกองทุนบำเหน็จพนักงานพ.ศ.2528ข้อ9วรรค2ประกอบกับข้อ11ระบุกรณีที่พนักงานจะได้รับเงินบำเหน็จเมื่อลาออกโดยได้รับอนุญาตว่าต้องทำงานมาแล้วไม่น้อยกว่าห้าปีบริบูรณ์และการนับเวลาทำงานสำหรับคำนวณบำเหน็จนั้น.ให้นับตั้งแต่วันที่พนักงานเข้าประจำทำงานจนถึงวันสุดท้ายที่พ้นจากตำแหน่งหน้าที่หักด้วยระยะเวลาที่ผู้นั้นลาดังนั้นเกณฑ์คำนวณนับเวลาทำงานของโจทก์จึงต้องเริ่มนับตั้งแต่วันที่โจทก์เริ่มเข้าทำงานกับจำเลยจนถึงวันที่โจทก์ได้รับอนุญาตจากจำเลยให้ลาอกซึ่งคำนวณแล้วไม่ถึงห้าปีบริบูรณ์โจทก์จึงไม่มีสิทธิรับเงินบำเหน็จส่วนหลักเกณฑ์ในข้อ14นั้นเป็นการกำหนดเพื่อคำนวณบำเหน็จที่จะจ่ายให้แก่พนักงานเมื่อพนักงานนั้นมีสิทธิที่จะได้รับบำเหน็จแล้วโดยคำนวณการจ่ายตามจำนวนปีที่โจทก์ทำงานอนุโลมให้ถือเอาจำนวนเดือนที่ถึง6เดือนในเศษของปีสุดท้ายนับเป็น1ปีมาคูณกับอัตราเงินเดือนเดือนสุดท้ายได้จะนำมาเป็นเกณฑ์คำนวณนับเวลาทำงานของโจทก์ที่จะมีสิทธิรับเงินบำเหน็จหาได้ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3618/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีมีทุนทรัพย์หรือไม่: การฟ้องขอถอนชื่อออกจากที่ดินและขอให้ใส่ชื่อใหม่ถือเป็นคดีที่สามารถคำนวณราคาเงินได้
โจทก์ฟ้องขอให้ถอนชื่อจำเลยออกจากที่พิพาทและให้ใส่ชื่อโจทก์ เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ดังเดิมจำเลยต่อสู้ว่าที่พิพาทเป็นที่ดินของจำเลย ดังนี้ถ้าโจทก์ชนะคดีโจทก์ย่อมได้ที่พิพาทคืนมาคดีของโจทก์จึงเป็น คดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ซึ่งจะต้องเสียค่าขึ้นศาลตามจำนวนทุนทรัพย์ที่เรียกร้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3268/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินบำเหน็จเป็นสิทธิที่นายจ้างกำหนดได้เอง ไม่รวมค่าครองชีพในการคำนวณ
แม้เงินค่าครองชีพซึ่งจำเลยจ่ายให้แก่โจทก์เป็นประจำทุกเดือนและมีจำนวนแน่นอน จะถือว่าเป็นค่าจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 2 ก็ตาม แต่เงินบำเหน็จเป็นเงินซึ่งนายจ้างจ่ายตอบแทนความดีของลูกจ้างกรณีที่ลูกจ้างได้ทำงานมาด้วยดีตลอดระยะเวลาที่ทำงานอยู่กับนายจ้าง ไม่ใช่เงิน ซึ่งกฎหมายบังคับให้นายจ้างต้องจ่ายแก่ลูกจ้าง นายจ้างมีสิทธิที่จะไม่จ่ายหรือจ่ายเป็นจำนวนเท่าใดก็ได้แล้วแต่จะเห็นสมควร นายจ้างจึงมีอำนาจกำหนดหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขในการจ่ายเงินบำเหน็จอย่างไรก็ได้ไม่ถือว่าเป็นการขัดต่อประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานการคำนวณ เงินบำเหน็จจะรวมค่าครองชีพด้วยหรือไม่ขึ้นอยู่กับระเบียบข้อบังคับของจำเลย ข้อบังคับของจำเลยกำหนดคำว่าเงินเดือนซึ่งเป็นฐานในการคำนวณเงินบำเหน็จว่าให้หมายถึงเงินเดือนสุดท้ายของลูกจ้างประจำและเงินค่าจ้าง 26 วันสุดท้าย ของลูกจ้างรายวันคำว่า "เงินค่าจ้าง 26 วันสุดท้ายของลูกจ้างรายวัน"ย่อมหมายถึงค่าจ้างรายวันซึ่งลูกจ้างมีสิทธิได้รับครั้งสุดท้าย 26 วัน รวมกันไม่รวมถึงค่าจ้างอื่นซึ่งลูกจ้างมีสิทธิได้รับเป็นรายเดือนด้วยค่าครองชีพไม่ใช่ค่าจ้างรายวันจึงไม่ต้องนำมารวมเป็นฐานคำนวณเงินบำเหน็จ
of 14