คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
คำร้อง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 497 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6500/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำร้องขอพิจารณาใหม่ที่ล่าช้าต้องมีเหตุสุดวิสัย ปัญหาการไม่ทราบเรื่องฟ้องไม่ใช่เหตุสุดวิสัย
การยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ที่ล่าช้าตาม ป.วิ.พ. มาตรา 208เหตุแห่งความล่าช้าจักต้องเป็นกรณีที่เป็นพฤติการณ์นอกเหนือที่ไม่อาจบังคับได้
คำร้องขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยอ้างเหตุที่ไม่ทราบเรื่องถูกฟ้องว่า คนในบ้านจำเลยลืมมอบหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลย ซึ่งกรณีดังกล่าวไม่ใช่พฤติการณ์นอกเหนือที่ไม่อาจบังคับได้ จึงเป็นคำร้องที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา208 การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดไต่สวนและมีคำสั่งยกคำร้องของจำเลยชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5393/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีและการแสดงอำนาจเหนือทรัพย์สินที่ถูกบังคับคดี: กรอบเวลาการยื่นคำร้องและการสันนิษฐานสถานภาพ
ประกาศของเจ้าพนักงานบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 296 จัตวา (3) ไม่ใช่เอกสารที่ศาลกำหนดให้ส่งแก่คู่ความหรือผู้ที่เกี่ยวข้องโดยตรงในคดีตามมาตรา 67 และ 70 แต่เป็นประกาศของเจ้าพนักงานบังคับคดีที่ปิดประกาศให้ผู้ที่มีอำนาจพิเศษเหนือทรัพย์ที่ถูกบังคับคดียื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษของตน อันเป็นมาตรการส่วนหนึ่งในการบังคับคดีให้ดำเนินไปโดยรวดเร็วและถูกต้องและเป็นวิธีการที่เปิดโอกาสให้บุคคลภายนอกที่ไม่ได้เกี่ยวข้องเป็นคู่ความใช้สิทธิของตนเหนือทรัพย์สินที่กำลังถูกบังคับคดีอยู่ระยะเวลาที่กำหนดไว้ตามกฎหมาย จึงต้องบังคับโดยเคร่งครัด ทั้งนี้เพื่อมิให้การบังคับคดีต้องล่าช้าอันอาจเป็นผลเสียหายแก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาได้เพราะฉะนั้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 จัตวา (3)ที่กำหนดให้ผู้ที่อ้างว่าไม่ใช่บริวารของลูกหนี้ตามคำพิพากษายื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษต่อศาลภายในกำหนดเวลาแปดวันนับแต่วันปิดประกาศของเจ้าพนักงานบังคับคดีนั้นจึงเริ่มนับแต่วันที่มีการปิดประกาศโดยไม่ต้องรอให้พ้นระยะเวลาสิบห้าวันไปเสียก่อนตามมาตรา 79 วรรคสอง
ปัญหาว่า ระยะเวลาการยื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษไม่บังคับตายตัวอาจยื่นภายหลังพ้นแปดวันแล้วก็ได้นั้น แม้เป็นฎีกาในข้อกฎหมายที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ แต่ปัญหานี้เป็นเรื่องอำนาจการยื่นคำร้อง ซึ่งเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ผู้ร้องจึงมีสิทธิที่จะยกขึ้นอ้างในปัญหาดังกล่าวในชั้นฎีกาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคสอง
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 จัตวา (3)มิได้บัญญัติบังคับไว้โดยเด็ดขาดว่า ถ้าผู้ร้องไม่ได้ยื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษต่อศาลภายในกำหนด 8 วัน นับแต่วันที่เจ้าพนักงานบังคับคดีปิดประกาศแล้ว ผู้ร้องจะต้องเป็นบริวารของจำเลยสถานเดียว เพราะระยะเวลา 8 วันดังกล่าว เป็นเพียงระยะเวลาที่กฎหมายสันนิษฐานถึง สถานภาพของบุคคลว่าใช่หรือไม่ใช่บริวารของลูกหนี้ตามคำพิพากษาเท่านั้น แม้ล่วงเลยกำหนดเวลา 8 วัน นับแต่วันที่เจ้าพนักงานบังคับคดีปิดประกาศแล้ว ผู้ร้องก็ชอบที่จะยื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษได้
แม้จำเลยจดทะเบียนโอนขายที่ดินและบ้านพิพาทอันเป็นสินสมรส ระหว่างจำเลยและผู้ร้องให้แก่โจทก์ โดยผู้ร้องไม่ทราบและ มิได้ให้ความยินยอมก็ตาม แต่เมื่อศาลยังไม่ได้เพิกถอนนิติกรรมการขายบ้านและที่ดินพิพาท บ้านและที่ดินพิพาทจึงยังเป็นของโจทก์อยู่ กรณีถือไม่ได้ว่าผู้ร้องเป็นผู้มีอำนาจพิเศษตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 296 จัตวา (3) ผู้ร้องจึงเป็นบริวารของจำเลย และไม่อาจร้องให้ยกคำขอบังคับคดีของโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5203/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดนัดยื่นคำให้การและคำร้องขอพิจารณาใหม่ต้องกระทำภายในกำหนด หากพ้นกำหนดต้องแสดงเหตุสุดวิสัยที่สมควร
จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วพิพากษาให้จำเลยและบริวารขนย้ายทรัพย์สินออกจากอาคารที่พิพาทและส่งมอบอาคารที่พิพาทคืนให้แก่โจทก์ ห้ามจำเลยและบริวารเข้าเกี่ยวข้องอีกการที่จำเลยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่โดยกล่าวว่าจำเลยไม่เคยรับและไม่เคยทราบหมายเรียกจำเลยคงได้รับแต่เฉพาะคำบังคับเท่านั้น น่าเชื่อว่ามีการจงใจปกปิดหมายต่าง ๆ เพื่อไม่ให้ส่งถึงจำเลยและเพื่อไม่ให้จำเลยทราบ โจทก์เคยบอกว่าจะให้เงินค่ารื้อถอนอาคารสิ่งปลูกสร้างออกไปขอให้จำเลยอย่าสู้คดี จำเลยหลงเชื่อโจทก์จึงแอบฟ้องนั้นเป็นเพียงข้อกล่าวอ้างซึ่งเป็นเหตุที่จำเลยได้ขาดนัดเท่านั้นหาเป็นข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลชั้นต้นไม่ และที่จำเลยกล่าวว่า จำเลยปลูกสร้างอาคารขึ้นไม่เคยยกให้โจทก์ โจทก์เคยตกลงจะยกทาวน์เฮาส์ให้จำเลยอาศัยโดยไม่เรียกร้องค่าตอบแทน แต่โจทก์ผิดข้อตกลงนั้น เป็นข้ออ้างในทำนองว่าจำเลยเป็นผู้ปลูกสร้างและเป็นเจ้าของอาคารที่ให้เช่า โดยจำเลยไม่ได้คัดค้านในเนื้อหาคำตัดสินชี้ขาดของศาลชั้นต้นว่าจำเลยมิได้เป็นผู้เช่า หรือสัญญาเช่ายังไม่ครบกำหนดระยะเวลาเช่าหรือคำตัดสินชี้ขาดของศาลชั้นต้นไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ถูกต้องอย่างไร และไม่แสดงเหตุผลว่า หากศาลอนุญาตให้พิจารณาใหม่จำเลยจะชนะคดีได้อย่างไร คำร้องขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยดังกล่าวไม่ได้กล่าวโดยละเอียดชัดแจ้งซึ่งข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลชั้นต้นจึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208 วรรคสอง
ศาลชั้นต้นส่งคำบังคับให้จำเลยโดยวิธีปิดคำบังคับ เมื่อวันที่ 2พฤษภาคม2541 จำเลยต้องยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ ต่อศาลภายในวันที่ 1มิถุนายน2541 จำเลยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ฉบับแรกเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2541และศาลชั้นต้นมีคำสั่งในวันรุ่งขึ้นให้ยกคำร้องขอ โดยมิได้กำหนดให้จำเลยกระทำการอันใดภายในระยะเวลาที่กำหนดศาลชั้นต้นจึงไม่จำต้องแจ้งคำสั่งดังกล่าวให้จำเลยทราบ และการสั่งยกคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ก็ไม่ทำให้ระยะเวลาที่ต้องยื่นคำร้องขอต่อศาลภายในวันที่ 1 มิถุนายน 2541 ขยายออกไป และหากจำเลยไปขอทราบคำสั่งศาลในวันที่ 29 พฤษภาคม 2541 แต่ศาลยังไม่สั่ง หรือไปขอทราบคำสั่งศาลในวันที่ 1 มิถุนายน 2541 อันเป็นวันสุดท้ายที่จำเลยมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ แต่เจ้าพนักงานศาลบอกว่าหาสำนวนไม่พบจริง จำเลยย่อมทราบดีว่าต้องรักษาสิทธิของจำเลยโดยยื่นคำร้องขอให้ขยายระยะเวลายื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ได้แต่จำเลยหาได้ยื่นคำร้องขอเช่นนั้นไม่ เมื่อจำเลยมิได้กระทำการดังกล่าวข้างต้นจึงไม่มีเหตุสุดวิสัยที่ศาลชั้นต้นจะสั่งให้ขยายระยะเวลายื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่การที่จำเลยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ฉบับที่สองเมื่อพ้นระยะเวลาที่จำเลยมีสิทธิยื่นตามมาตรา 208 วรรคแรก ทั้งตามคำร้องขอดังกล่าวก็ไม่ได้กล่าวถึงพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ อันเป็นเหตุให้จำเลยยื่นคำร้องขอล่าช้าคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ฉบับที่ฟ้องจึงไม่ชอบด้วยมาตรา 208 วรรคสอง เช่นเดียวกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2172/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายระยะเวลาวางเงินในคดีแรงงาน: ศาลต้องพิจารณาคำร้องก่อนสั่งคำฟ้อง
พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 125 วรรคสามมิใช่บทบัญญัติที่ห้ามมิให้นายจ้างยื่นคำร้องขอให้ศาลแรงงานขยายระยะเวลาวางเงินตาม ป.วิ.พ.มาตรา 23 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31
โจทก์ยื่นฟ้องพร้อมกับยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาวางเงินบางส่วนต่อศาล ศาลแรงงานจะต้องมีคำสั่งคำร้องขอดังกล่าวก่อนว่าจะอนุญาตให้ขยายระยะเวลาวางเงินหรือไม่ เพียงใด การที่ศาลแรงงานพิจารณาสั่งคำฟ้องโดยไม่พิจารณาสั่งคำร้องขอขยายระยะเวลาวางเงินก่อน จึงเป็นการไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ.ว่าด้วยการพิจารณา มาตรา 243 (2) ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 ศาลฎีกาย้อนสำนวน ให้ศาลแรงงานมีคำสั่งคำร้องขอขยายระยะเวลาวางเงินต่อศาลก่อนแล้วจึงพิจารณาสั่งคำฟ้องและดำเนินการต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2172/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายระยะเวลาวางเงินค่าชดเชยในคดีแรงงาน ศาลต้องพิจารณาคำร้องก่อนสั่งคำฟ้อง
แม้พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541มาตรา 125 วรรคสาม จะกำหนดให้นายจ้างที่ประสงค์จะฟ้องเพิกถอนคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานตามมาตรา 124 ต้องนำเงิน มาวางต่อศาลตามจำนวนที่ถึงกำหนดจ่ายตามคำสั่งพนักงาน ตรวจแรงงานพร้อมกับคำฟ้องก็ตาม แต่ก็ไม่ห้ามนายจ้าง ที่จะยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาวางเงินตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 ประกอบ พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 31 เมื่อโจทก์ ยื่นฟ้องพร้อมกับยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาวางเงินบางส่วน ต่อศาล ศาลแรงงานกลางจะต้องมีคำสั่งคำร้องขอดังกล่าว ก่อนที่จะพิจารณาสั่งคำฟ้อง การที่ศาลแรงงานกลางพิจารณา สั่งคำฟ้องโดยไม่พิจารณาสั่งคำร้องขอขยายระยะเวลาวางเงิน ก่อนเป็นการไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ว่าด้วยการพิจารณาตาม มาตรา 243(2) ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 31

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1902/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนับระยะเวลาในการยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่หลังขาดนัดพิจารณาคดีแรงงาน
เมื่อพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มิได้กำหนดระยะเวลาให้คู่ความฝ่ายที่ศาลมีคำสั่งขาดนัดพิจารณาและมีคำพิพากษาให้แพ้คดีในประเด็นพิพาทยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ กรณีจึงต้องนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208 มาใช้บังคับ โดยอนุโลมตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 31 คดีนี้ศาลแรงงานได้ออกคำบังคับและให้ส่งคำบังคับแก่จำเลยโดยสั่งว่าในการส่งหากไม่มีผู้รับโดยชอบให้ปิดและให้มีผลเป็นการส่งในทันที แต่ในคำบังคับหาได้มีข้อความว่าการปิดคำบังคับให้มีผลทันทีตามคำสั่งของศาลแรงงานดังกล่าวไม่ คงระบุข้อความไว้เพียงว่า ให้การปิดคำบังคับ มีผลตามกำหนดระยะเวลาในคำบังคับ และกำหนดไว้ต่อไปอีกว่าให้จำเลยปฏิบัติตามคำพิพากษาภายใน 15 วัน นับแต่ วันรับคำบังคับเท่านั้น ดังนี้ เมื่อข้อความที่ระบุไว้ ในคำบังคับไม่ได้มีความหมายว่าการปิดคำบังคับให้มีผลทันที จำเลยจึงไม่อาจทราบได้ว่าศาลแรงงานมีคำสั่งให้การส่งคำบังคับ มีผลทันทีที่มีการปิดคำบังคับ กรณีต้องอยู่ในบังคับ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 79 วรรคสอง ประกอบ พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 ที่กำหนดว่าการส่งคำบังคับให้แก่จำเลย จะมีผลตามกฎหมายต่อเมื่อกำหนดเวลาสิบห้าวันหรือระยะเวลา นานกว่านั้นตามที่ศาลเห็นสมควรกำหนดได้ล่วงพ้นไปแล้ว นับแต่วันปิดคำบังคับ ปรากฏว่ามีการปิดคำบังคับที่ภูมิลำเนา จำเลยเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2541 ซึ่งครบกำหนดยื่นคำร้อง ขอให้พิจารณาใหม่วันที่ 24 กันยายน 2541 อันเป็นวันทำการ จำเลยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ในวันที่ 25 กันยายน 2541 จึงเป็นการยื่นเกินกำหนดสิบห้าวันตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208 วรรคหนึ่ง การที่ศาลแรงงานมีคำสั่งยกคำร้องของจำเลยชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1587/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำร้องขอพิจารณาใหม่ต้องแสดงเหตุผลชัดเจนและมีเหตุผลที่ศาลจะรับพิจารณาได้ หากขาดองค์ประกอบดังกล่าว ศาลไม่ต้องรับคำร้อง
จำเลยระบุในคำร้องขอให้พิจารณาใหม่เพียงว่า หากจำเลยได้มีโอกาสยื่นคำให้การต่อสู้คดีแล้ว ย่อมทำให้ผลของคำพิพากษาเปลี่ยนแปลงไปเพราะความจริงแล้วจำเลยเป็นหนี้โจทก์ไม่ถึงจำนวนตามฟ้องของโจทก์ โดยจำเลยมิได้กล่าวโดยละเอียดชัดแจ้งซึ่งข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลชั้นต้นว่าคำพิพากษาของศาลชั้นต้นไม่ชอบหรือไม่ถูกต้องในส่วนใดอย่างไร ทั้งไม่มีเหตุผลหรือหลักฐานอ้างอิงที่จะแสดงให้เห็นได้ชัดแจ้งว่าหากพิจารณาใหม่แล้วศาลอาจพิพากษาให้ผิดแผกแตกต่างจากที่ได้พิพากษาไปแล้ว คำร้องของจำเลยจึงไม่ต้องด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 208 วรรคสอง
การที่จะขอแก้ไขเพิ่มเติมคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ได้จะต้องให้ศาลมีคำสั่งรับคำร้องขอให้พิจารณาใหม่เสียก่อน เมื่อคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยขาดองค์ประกอบสำคัญที่ศาลจะพึงรับไว้ได้และศาลชั้นต้นสั่งยกคำร้องแล้วกรณีจึงไม่จำต้องสั่งคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำร้องอีกต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1085/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภูมิลำเนาจำเลยที่ถูกควบคุมตัว, การยื่นคำร้องคัดค้านการบังคับคดี, และกรอบเวลาการดำเนินการตามกฎหมาย
การที่จำเลยที่ 2 ถูกควบคุมตัวระหว่างการพิจารณาคำร้องขอส่งผู้ร้ายข้ามแดน เป็นกรณีที่ศาลใช้อำนาจ ตามพระราชบัญญัติส่งผู้ร้ายข้ามแดนฯ มาตรา 10 ที่ให้สั่งขังจำเลยไว้มิใช่สั่งจำคุก จึงไม่ใช่กรณีที่จำเลยถูกจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดของศาล หรือถูกจำคุกตามคำสั่งโดยชอบด้วยกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 47เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานครจึงมิใช่ภูมิลำเนาของจำเลยที่ 2 ตามคำร้องของ จำเลยที่ 2 ระบุว่า โจทก์และเจ้าพนักงาน บังคับคดีคบคิดกันฉ้อฉลแกล้งประเมินราคาที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ต่ำกว่าความเป็นจริง ขอให้ศาลมีคำสั่งยกเลิก หมายบังคับคดีและเพิกถอนการยึดที่ดินกับให้งดการบังคับคดี เป็นกรณีที่จำเลยที่ 2 ยื่นคำขอให้ศาลมีคำสั่งยกเลิก กระบวนวิธีการบังคับคดีทั้งปวง จึงต้องด้วยบทบัญญัติมาตรา 296 วรรคสอง แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งซึ่งจะต้องยื่นไม่ช้ากว่า 8 วัน นับแต่วันทราบการฝ่าฝืน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1052/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดนัดพิจารณาคดีและการจงใจไม่ไปศาล แม้มีทนายความแต่งตั้งแล้ว ศาลไม่จำเป็นต้องไต่สวนคำร้องขอพิจารณาใหม่
การที่ทนายจำเลยได้ลงชื่อรับทราบให้มาฟังคำสั่งศาลภายใน 7 วัน หากไม่มาให้ถือว่าทราบคำสั่งศาลแล้ว กรณีถือได้ว่าทนายจำเลยทราบว่าถูกโจทก์ฟ้องคดีนี้และทราบกำหนด วันนัดสืบพยานโจทก์แล้ว จึงต้องถือว่าจำเลยทราบนัดด้วย เพราะทนายจำเลยทำหน้าที่แทนจำเลยตามกฎหมาย จำเลยทราบวันนัดสืบพยาน โจทก์ซึ่งมีหน้าที่ นำสืบก่อนโดยชอบแล้วการที่จำเลยอ้างว่าทนายจำเลยเจ็บป่วย แพทย์ให้พักรักษาตัวนั้น หากทนายจำเลยเจ็บป่วยจริงแล้วจำเลยหรือทนายจำเลยอาจยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีหรือ แจ้งเหตุขัดข้องที่ไม่อาจมาศาลในวันนัดสืบพยานโจทก์ต่อ ศาลชั้นต้นได้ก่อนหรือในวันนัด หรือจะมอบหมายให้ผู้ใด มาทำการแทนก็ได้ แต่จำเลยหรือทนายจำเลยหาได้กระทำไม่ แสดงว่าจำเลยรวมทั้งทนายจำเลยไม่ได้เอาใจใส่ในคดี ของตนเอง ทั้งเหตุตามคำร้องขอพิจารณาใหม่ของจำเลย ที่อ้างว่าจำเลยต้องนำสินค้าไปจำหน่ายในต่างจังหวัด จึงไม่ทราบเรื่องวันนัดสืบพยานโจทก์ก็ดี และว่าแม้จำเลยจะได้ตั้งทนายจำเลยให้แก้ต่างให้แล้ว แต่ทนายจำเลยไม่ได้ไปศาลในวันนัดสืบพยานโจทก์ เนื่องจากทนายจำเลยป่วยต้องผ่าตัดต้อกระจกนัยตาข้างซ้ายก็ดี ย่อมเป็นการฟังได้ชัดแจ้งในตัว คำร้องเองว่า หากเป็นจริงตามคำร้องแล้วก็ยังฟังได้ว่าจำเลย รวมทั้งทนายจำเลยทราบวันนัดสืบพยานโจทก์โดยชอบแล้วและจงใจไม่ไปศาลตามกำหนดนัดโดยมิได้ยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีหรือแจ้งเหตุขัดข้องให้ศาลชั้นต้นทราบ ถือได้ว่าจำเลยจงใจขาดนัดพิจารณาอยู่นั่นเอง และกรณีเช่นนี้ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจสั่งยกคำร้องของจำเลยเสียได้ โดยหาจำเป็นต้องทำการไต่สวนคำร้องขอพิจารณาคดีใหม่ของจำเลยก่อนมีคำสั่งไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1036/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การงดการบังคับคดีระหว่างอุทธรณ์: ศาลอุทธรณ์มีอำนาจพิจารณาและยกคำร้องได้หากไม่มีเหตุคุ้มครองประโยชน์ระหว่างอุทธรณ์
จำเลยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ ซึ่งศาลชั้นต้น วินิจฉัยว่าคดีนี้มิได้ดำเนินกระบวนพิจารณาโดยจำเลยขาดนัด พิจารณาและได้สั่งยกคำร้องไปแล้ว จำเลยจึงไม่อาจ ขอให้งดการบังคับคดี แต่คำร้องขอของจำเลยอาจถือได้ว่า เป็นการขอให้สั่งคุ้มครองประโยชน์ของจำเลยในระหว่างอุทธรณ์ เมื่อศาลอุทธรณ์ทำคำพิพากษาเสร็จแล้ว จึงไม่มีเหตุจะต้อง สั่งคุ้มครองประโยชน์ของจำเลยในระหว่างอุทธรณ์ต่อไป ศาลอุทธรณ์จึงต้องสั่งให้ยกคำร้อง ของ จำเลย
of 50