คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
คำให้การ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 713 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 652/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำให้การที่ไม่ชัดเจน ไม่ก่อให้เกิดประเด็นพิพาท แม้มีการแถลงเพิ่มเติม
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ทั้งสามกับจำเลยทั้งสามเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินซึ่งได้แบ่งการครอบครองเป็นส่วนสัดแล้วตามแผนที่สังเขปเอกสารท้ายฟ้อง ขอให้บังคับจำเลยทั้งสามไปทำการจดทะเบียนแบ่งแยกกรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าวให้แก่โจทก์ทั้งสามครึ่งหนึ่ง จำเลยทั้งสามให้การว่า ที่ดินพิพาทเดิมเป็นกรรมสิทธิ์รวมของ ม.และ ส. ซึ่งได้แบ่งแยกการครอบครองเป็นส่วนสัดมานาน 40 ปี แล้ว ต่อมาโจทก์ทั้งสามได้ครอบครองที่ดินส่วนของ ม. ส่วนจำเลยทั้งสามได้ครอบครองที่ดินส่วนของ ส. แต่คำให้การของจำเลยทั้งสามดังกล่าวมิได้ระบุว่าโจทก์ทั้งสามกับจำเลยทั้งสามแบ่งแยกการครอบครองที่ดินพิพาทเป็นส่วนสัดจำนวนเนื้อที่ฝ่ายละเท่าใด เพื่อปฏิเสธว่าข้อกล่าวอ้างของโจทก์ทั้งสามที่ว่าโจทก์ทั้งสามมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าวครึ่งหนึ่งนั้นไม่ถูกต้องอย่างไร จึงเป็นคำให้การที่ไม่ชัดแจ้ง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง จึงไม่ก่อให้เกิดประเด็นพิพาท แม้จำเลยทั้งสามจะได้แถลงต่อศาลชั้นต้นถึงส่วนสัดของที่ดินที่จำเลยทั้งสามได้ครอบครองก็ตาม คำแถลงดังกล่าวมิใช่คำให้การย่อมไม่ก่อให้เกิดประเด็นพิพาทเช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 652/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งแยกกรรมสิทธิ์ที่ดินร่วม: คำให้การไม่ชัดเจนไม่ก่อให้เกิดประเด็นพิพาท ศาลล่างวินิจฉัยถูกต้อง
โจทก์ทั้งสามฟ้องว่าโจทก์ทั้งสามกับจำเลยทั้งสามเป็นเจ้าของ กรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาทซึ่งได้แบ่งการครอบครองเป็นส่วนสัด ตามแผนที่สังเขปเอกสารท้ายฟ้อง โจทก์ทั้งสามขอให้จำเลยทั้งสาม ไปจดทะเบียนแบ่งแยกกรรมสิทธิ์ตามส่วนสัดที่แต่ละฝ่ายได้ครอบครองแล้ว จำเลยทั้งสามเพิกเฉย ขอให้บังคับจำเลยทั้งสามไปทำการจดทะเบียนแบ่งแยกกรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าวให้แก่ โจทก์ทั้งสามครึ่งหนึ่งจำเลยทั้งสามให้การว่า เดิมที่ดินพิพาท เป็นกรรมสิทธิ์รวมของ ม. และส. ซึ่งได้แบ่งแยกการครอบครองเป็นส่วนสัดมานาน 40 ปี แล้ว โดย ม. ครอบครองปลูกสร้างอยู่ทางทิศตะวันตกและส.ครอบครองปลูกสร้างบ้านอยู่ทางทิศตะวันออกต่อมาโจทก์ทั้งสามได้ครอบครองที่ดินส่วนของ ม.ส่วนจำเลยทั้งสามได้ครอบครองที่ดินส่วนของ ส. เห็นได้ว่าคำให้การของจำเลยทั้งสามดังกล่าวมิได้ระบุว่าโจทก์ทั้งสามกับจำเลยทั้งสามแบ่งแยกการครอบครองที่ดินพิพาทเป็นส่วนสัดจำนวนเนื้อที่ฝ่ายละเท่าใด เพื่อเป็นการปฏิเสธว่าข้อกล่าวอ้างของโจทก์ทั้งสามที่ว่าโจทก์ทั้งสามมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าวครึ่งหนึ่งนั้นไม่ถูกต้องอย่างไรจึงเป็นคำให้การที่ไม่ชัดแจ้งไม่ชอบด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสองไม่ก่อให้เกิดประเด็นพิพาทแม้จำเลยทั้งสามจะได้แถลงต่อศาลชั้นต้น ไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาถึงส่วนสัดของที่ดินที่จำเลยทั้งสาม ได้ครอบครองก็ตาม คำแถลงดังกล่าวก็มิใช่คำให้การไม่ก่อ ให้เกิดประเด็นพิพาทเช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6136/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการต่อสู้คดี: การนำสืบต้องอยู่ภายในประเด็นที่ได้ยกขึ้นต่อสู้ตามคำให้การเท่านั้น
จำเลยให้การว่า สัญญากู้เงินที่โจทก์นำมาฟ้องเป็นสัญญาปลอมเนื่องจากจำเลยมิได้ลงลายมือชื่อในสัญญากู้เงิน ประเด็นตามคำให้การจึงมีเพียงว่าจำเลยลงลายมือชื่อในสัญญากู้เงินหรือไม่ อันจะนำไปสู่การพิจารณาว่าสัญญากู้เงินปลอมหรือไม่ ส่วนสาเหตุอื่นที่อาจทำให้สัญญากู้เงินปลอมล้วนไม่ใช่ประเด็นตามคำให้การ การที่จำเลยนำสืบว่า จำเลยลงลายมือชื่อในสัญญากู้เงินที่ยังไม่ได้กรอกข้อความเป็นเหตุให้สัญญากู้เงินเป็นสัญญาปลอม และจำเลยยังไม่ได้รับเงินตามสัญญากู้เงิน จึงเป็นการนำสืบนอกข้อต่อสู้ในคำให้การ ศาลจะรับฟังมาวินิจฉัยไม่ได้ เพราะเป็นข้อเท็จจริงที่ได้มาโดยไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา ต้องห้าม ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 87 (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6136/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำสืบเกินขอบเขตคำให้การ: จำเลยอ้างสัญญากู้ปลอม แต่สืบเรื่องการไม่ได้รับเงิน ซึ่งไม่ใช่ประเด็นตามคำให้การ
จำเลยให้การว่า สัญญากู้เงินที่โจทก์นำมาฟ้องเป็นสัญญาปลอมเนื่องจากจำเลยมิได้ลงลายมือชื่อในสัญญากู้เงิน ประเด็นตามคำให้การจึงมีเพียงว่าจำเลยลงลายมือชื่อในสัญญากู้เงินหรือไม่ อันจะนำไปสู่การพิจารณาว่าสัญญากู้เงินปลอมหรือไม่ ส่วนสาเหตุอื่นที่อาจทำให้สัญญากู้เงินปลอมล้วนไม่ใช่ประเด็นตามคำให้การ การที่จำเลยนำสืบว่า จำเลยลงลายมือชื่อในสัญญากู้เงินที่ยังไม่ได้กรอกข้อความเป็นเหตุให้สัญญากู้เงินเป็นสัญญาปลอม และจำเลยยังไม่ได้รับเงินตามสัญญากู้เงิน จึงเป็นการนำสืบนอกข้อต่อสู้ในคำให้การ ศาลจะรับฟังมาวินิจฉัยไม่ได้ เพราะเป็นข้อเท็จจริงที่ได้มาโดยไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณาต้องห้าม ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 87(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5495/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฟังเอกสารประกอบคำให้การ แม้เป็นสำเนาและมิได้สืบประกอบ เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม
จำเลยอุทธรณ์ว่า โจทก์ได้รับเงินค่ารักษาพยาบาลจากจำเลยไปแล้ว จึงมีปัญหาที่ศาลอุทธรณ์จะต้องวินิจฉัยว่า โจทก์ได้รับค่ารักษาพยาบาลจากจำเลยไปแล้วเพียงใดหรือไม่ เมื่อปรากฏว่าจำเลยให้การต่อสู้ไว้แล้วว่า จำเลยได้จ่ายเงินให้โจทก์เป็นค่าเสียหายเบื้องต้นจำนวน 10,000 บาท ปรากฏตามเอกสารท้ายคำให้การ และได้จ่ายค่ารักษาพยาบาลให้โจทก์ไปแล้ว 10,000 บาท ตามสัญญาในกรมธรรม์ประกันภัย โดยผู้รับมอบอำนาจโจทก์เป็นผู้ไปรับเอง ตามเอกสารท้ายฟ้องเอกสารท้ายคำให้การดังกล่าวจึงเป็นเอกสารที่เข้าสู่สำนวนโดยชอบแล้ว แม้จะเป็นสำเนาเอกสารและจำเลยมิได้สืบประกอบก็ตาม แต่เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่าเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมก็ย่อมมีอำนาจรับฟังเอกสารดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานในคดีได้ ตามป.วิ.พ.มาตรา 87

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5243/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การต่อสู้คดีของผู้ค้ำประกัน: คำให้การไม่ชัดเจน ทำให้จำเลยไม่มีสิทธิสืบพยานเพิ่มเติม
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 4 ให้รับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 4 ให้การว่า จำเลยที่ 4 ไม่ได้ทำสัญญาค้ำประกัน ลายมือชื่อผู้ค้ำประกันในสัญญาค้ำประกันไม่ใช่ลายมือชื่อจำเลยที่ 4 สัญญาค้ำประกันเป็นเอกสารปลอมหากศาล ฟังว่าจำเลยที่ 4 ทำสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 1 ไว้ต่อโจทก์ แต่หนี้ที่จำเลยที่ 4 ค้ำประกันได้กำหนดจำนวนเงินและเวลา ในการชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 ผู้เป็นลูกหนี้ไว้แน่นอน เมื่อถึงกำหนดเวลาชำระหนี้โจทก์ได้ผ่อนเวลาในการชำระหนี้ ให้จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 4 ผู้ค้ำประกันไม่ได้ให้ความยินยอม จำเลยที่ 4 จึงหลุดพ้นความรับผิด คำให้การดังกล่าวไม่ชัดแจ้ง ว่าจำเลยที่ 4 ได้ทำสัญญาค้ำประกันต่อโจทก์หรือไม่ ไม่ชอบ ด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสองคงเป็นเพียงคำให้การปฏิเสธฟ้องโจทก์ จำเลยที่ 4 ไม่มีสิทธิ นำพยานหลักฐานเข้าสืบตามข้อต่อสู้ตามคำให้การดังกล่าว ดังนั้น จึงไม่มีเหตุสมควรอนุญาตให้จำเลยที่ 4 เลื่อนคดีไป สืบพยานจำเลยที่ 4 ในประเด็นที่ว่า จำเลยที่ 4 ต้องรับผิด ตามสัญญาค้ำประกันที่โจทก์นำมาฟ้องหรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4979/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฟังพยานหลักฐาน: คำให้การชั้นสอบสวน, คำรับสารภาพ, พยานประกอบ และการเชื่อถือได้ของพยาน
แม้ในชั้นสอบสวนผู้เสียหายในคดีปล้นทรัพย์จะให้การแตกต่างจากคำเบิกความของผู้เสียหายในชั้นพิจารณาไปบ้าง แต่ในชั้นสอบสวนผู้เสียหายก็ให้การยืนยันว่า ขณะเกิดเหตุจำเลยกับชายอีกคนหนึ่งซึ่งเป็นคนร้ายยืนคุมผู้เสียหายอยู่ในบ้านเกิดเหตุขณะที่คนร้ายอีกคนหนึ่งใช้ผ้ามัดมือของผู้เสียหายไว้ คำให้การชั้นสอบสวนของผู้เสียหายนี้ได้ให้การในวันเกิดเหตุนั้นเอง ได้กล่าวไว้อย่างละเอียดเป็นขั้นเป็นตอนในการที่ถูกคนร้ายร่วมกันปล้นทรัพย์และใช้อาวุธปืนยิงจนผู้เสียหายได้รับอันตรายแก่กาย ยากที่ผู้เสียหายจะปรุงแต่งเรื่องขึ้นมาเองเพื่อปรักปรำหรือแกล้งใส่ร้ายจำเลย คำให้การชั้นสอบสวนของผู้เสียหายนี้จึงรับฟังเป็นความจริงยิ่งกว่าคำเบิกความในชั้นพิจารณาได้ เพราะผู้เสียหายเบิกความภายหลังเกิดเหตุเป็นเวลานานเกินสิบปี ผู้เสียหายคงไม่อาจจดจำรายละเอียดและเหตุการณ์ในการที่คนร้ายร่วมกระทำผิดได้ครบถ้วนดังเช่นที่ให้การไว้ในชั้นสอบสวนในวันเกิดเหตุนั้นเป็นแน่
แม้คำให้การชั้นสอบสวนของผู้เสียหายเป็นเพียงพยานบอกเล่าแต่ก็ไม่มีกฎหมายห้ามมิให้รับฟังเสียเลย การที่จะรับฟังพยานบอกเล่าได้หรือไม่เพียงใด ย่อมสุดแล้วแต่เหตุผลเป็นเรื่อง ๆ ไป โดยรับฟังได้ในฐานะพยานประกอบพยานหลักฐานอื่นของโจทก์ คดีนี้โจทก์มีผู้เสียหายมาเบิกความ และมีคำให้การรับสารภาพของ จ.และ ส.ในชั้นสอบสวนซัดทอดจำเลยซึ่งเป็นผู้ต้องหาในคดีเดียวกันว่า ในการร่วมกันปล้นทรัพย์ผู้เสียหายนี้ จำเลยเป็นผู้ชักชวน จ.และ ส.ไปด้วยกันซึ่ง จ.และ ส.ได้ให้การต่อพนักงานสอบสวนทันทีในวันที่ จ.และ ส.ถูกจับกุม และเป็นการยากที่ จ.และ ส.จะปรุงแต่งขึ้นเพื่อต่อสู้คดีหรือปรักปรำจำเลย จ.และ ส.ได้ให้การในชั้นสอบสวนตามความเป็นจริงโดยสมัครใจ คำให้การชั้นสอบสวนของผู้กระทำผิดด้วยกันดังกล่าว ก็ไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายห้ามมิให้ศาลรับฟัง ย่อมนำมารับฟังประกอบคำให้การชั้นสอบสวนของผู้เสียหายได้ นอกจากนั้นโจทก์ยังมีเจ้าพนักงานตำรวจผู้สอบสวน จ.และ ส.มาเบิกความสนับสนุนว่า ชั้นสอบสวนจ.และ ส.ให้การรับสารภาพและยังได้นำชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำให้การรับสารภาพในชั้นจับกุมจำเลยก็ให้การรับสารภาพ เช่นนี้ เมื่อฟังคำเบิกความของผู้เสียหายในชั้นพิจารณา คำให้การของผู้เสียหายในชั้นสอบสวนประกอบคำให้การรับสารภาพของ จ.และ ส.ในชั้นสอบสวน กับคำเบิกความของเจ้าพนักงานตำรวจตลอดจนคำให้การรับสารภาพของจำเลยในชั้นจับกุมดังกล่าวแล้ว เชื่อได้โดยปราศจากข้อสงสัยว่าจำเลยได้ร่วมกับพวกอีกสองคนปล้นทรัพย์ของผู้เสียหายตามฟ้องไปจริง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3370/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การให้การขาดอายุความ จำเลยต้องแสดงเหตุแห่งการขาดอายุความในคำให้การ มิเช่นนั้นถือว่าไม่มีประเด็นเรื่องอายุความ
แม้คดีนี้ศาลชั้นต้นรับฟ้องอย่างคดีมโนสาเร่ ซึ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 193 วรรคสอง บัญญัติให้จำเลยยื่นคำให้การเป็นหนังสือ หรือจะให้การด้วยวาจาได้ก็ตาม แต่เมื่อจำเลยยื่นคำให้การเป็นหนังสือ กรณีจึงต้องอยู่ในบังคับมาตรา 177 วรรคสอง ประกอบมาตรา 195 โดยจำเลย ต้องแสดงโดยชัดแจ้งในคำให้การว่า จำเลยยอมรับหรือปฏิเสธ ข้ออ้างของโจทก์ทั้งสิ้นหรือแต่บางส่วน รวมทั้งเหตุแห่งการ ปฏิเสธนั้นด้วย แม้จำเลยไม่จำต้องอ้างตัวบทกฎหมายว่า ขาดอายุความตามมาตราใดก็ตาม แต่จำเลยก็ต้องให้การโดย แสดงเหตุแห่งการขาดอายุความให้ปรากฏจำเลยจึงต้องบรรยาย ด้วยว่า คดีโจทก์ขาดอายุความเมื่อใด นับแต่วันใดถึงวันฟ้อง การที่จำเลยให้การเพียงว่า คดีโจทก์ขาดอายุความโดยมิได้ กล่าวถึงเหตุแห่งการขาดอายุความให้ปรากฏ คดีจึงไม่มีประเด็นเรื่องอายุความ การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าคดีโจทก์ขาดอายุความจึงเป็นการไม่ชอบ ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องเพราะคดีโจทก์ขาดอายุความการที่โจทก์อุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายเรื่องอายุความโดยตรงต่อศาลฎีกาโดยได้รับอนุญาตจากศาลชั้นต้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223 ทวิ เมื่อศาลฎีกาเห็นว่า คดีไม่มีประเด็นเรื่องอายุความ และการที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าคดีโจทก์ขาดอายุความเป็นการไม่ชอบ ประกอบกับพยานหลักฐานในสำนวนเพียงพอแก่การวินิจฉัยคดีแล้ว ศาลฎีกา จึงเห็นสมควรพิจารณาพิพากษาคดีไปโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3261/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำร้องสอดต้องแสดงการยอมรับหรือปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ชัดเจน จึงจะชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
โจทก์ฟ้องบังคับให้จำเลยรื้อถอนบ้านพิพาทออกไปจากที่ดินของโจทก์ จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ ผู้ร้องสอดยื่นคำร้องสอดอ้างว่าเป็นเจ้าของบ้านพิพาทปลูกในที่ดินดังกล่าวโดยความยินยอมของโจทก์ขอศาลอนุญาตให้เข้ามาเป็นคู่ความฝ่ายที่สามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(1)กรณีเป็นเรื่องผู้ร้องสอดมีสิทธิเสมือนหนึ่งว่าตนถูกฟ้องเป็นคดีเรื่องใหม่ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 58 วรรคหนึ่งคำร้องสอดของผู้ร้องสอดถือเป็นคำให้การตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสองจึงต้องแสดงโดยชัดแจ้งว่าผู้ร้องสอดยอมรับหรือปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ทั้งสิ้นหรือแต่บางส่วน รวมทั้งเหตุแห่งการนั้นแต่คำร้องสอดหาได้แสดงเช่นที่กล่าวมาแล้วไม่ จึงเป็นคำร้องสอดที่ไม่ชอบ ศาลไม่รับคำร้องสอด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3044/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปฏิเสธหนี้ค่าจ้างในคำให้การ: ศาลฎีกาชี้การตีความผิดพลาด นำไปสู่การงดสืบพยานที่ไม่ถูกต้อง
ตามคำให้การของจำเลยมีข้อความระบุไว้ว่า "จำเลยเคยเสนอเหตุผลว่า จำเลยนี้ไม่เคยติดค้างค่าจ้างแก่โจทก์กับพวกดังที่กล่าวอ้างมาในคำฟ้อง"ย่อมมีความหมายว่า จำเลยได้ให้การปฏิเสธว่าจำเลยไม่ได้เป็นหนี้ค่าจ้างค้างจ่ายแก่โจทก์ ดังนี้ การที่ศาลแรงงานวินิจฉัยว่า ตามคำให้การของจำเลยไม่ปรากฏว่าจำเลยให้การปฎิเสธว่าไม่ได้ค้างจ่ายค่าจ้างโจทก์ ต้องถือว่าจำเลยยอมรับว่าค้างจ่ายค่าจ้างจริงตามที่โจทก์ฟ้อง จึงมีคำสั่งงดสืบพยานโจทก์จำเลย และพิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าจ้างค้างจ่ายแก่โจทก์ตามฟ้อง จึงไม่ถูกต้อง กรณีมีเหตุที่ศาลฎีกาจะย้อนสำนวนไปให้ศาลแรงงานดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป
of 72