คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
คุ้มครอง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 297 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2159/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายรถยนต์โดยพ่อค้า ผู้ซื้อสุจริตได้รับความคุ้มครองจากเจ้าของกรรมสิทธิ์เดิม
โจทก์ทั้งสองซื้อรถยนต์พิพาทมาจากห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1ซึ่งมีจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ ได้ชำระราคาและรับมอบรถยนต์พิพาทมาแล้ว แต่ยังมิได้จดทะเบียนโอนมาเป็นชื่อของโจทก์ทั้งสอง โจทก์ทั้งสองจึงฟ้องจำเลยทั้งสามให้ร่วมกันจัดทำทะเบียนรถยนต์และโอนทะเบียนรถยนต์พิพาททั้งสองคันให้แก่โจทก์ทั้งสองแต่ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า จำเลยที่ 1 ที่ 2 เป็นผู้เช่าซื้อรถยนต์พิพาทจากจำเลยที่ 3 จำเลยที่ 1 ที่ 2 มิได้เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 3 ดังนี้ เฉพาะจำเลยที่ 1 ที่ 2 เท่านั้น ที่จะต้องรับผิดตามสัญญาซื้อขายต่อโจทก์ทั้งสอง แต่โจทก์ทั้งสองฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่ 1 และที่ 2 จัดทำทะเบียนและจดทะเบียนโอนรถยนต์เป็นชื่อของโจทก์ทั้งสอง ถ้าไม่ไปจดทะเบียนขอให้ถือเอาคำพิพากษาเป็นการแสดงเจตนาแทนเท่านั้น เมื่อรถยนต์พิพาทยังเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 3 และจำเลยที่ 3 ไม่มีนิติสัมพันธ์เกี่ยวกับรถยนต์พิพาทกับโจทก์ทั้งสอง ดังนั้นการจัดทำและโอนทะเบียนรถยนต์เกี่ยวกับทรัพย์ซึ่งเป็นวัตถุแห่งหนี้จึงไม่อยู่ในอำนาจของจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่จะปฏิบัติตามสัญญาซื้อขายกับโจทก์ทั้งสองได้ต่อไป สภาพแห่งหนี้ไม่เปิดช่องให้บังคับตามคำขอของโจทก์ทั้งสองได้ จึงไม่อาจพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 รับผิดได้ตามฟ้อง ห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 มีวัตถุประสงค์ในการประกอบกิจการค้ายานพาหนะและของเก่าทุกชนิด มีสำนักงานที่ทำการเป็นหลักแหล่งเปิดเผย โดยมีจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ จำเลยที่ 1ที่ 2 เช่าซื้อรถยนต์พิพาทมาเพื่อขายให้แก่โจทก์ทั้งสองโดยให้นำรถยนต์เก่าของโจทก์ทั้งสองแลกกับรถยนต์พิพาท และชำระราคาส่วนที่เหลือ มิใช่เป็นการเช่าซื้อมาเพื่อใช้ในกิจการของจำเลยที่ 1โดยเฉพาะ พฤติการณ์เช่นนี้เป็นลักษณะการแสวงหากำไรเช่นปกติของพ่อค้ารับแลกเปลี่ยนรถยนต์ทั่ว ๆ ไป จำเลยที่ 1 และที่ 2จึงเป็นพ่อค้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1332 การที่โจทก์ทั้งสองซื้อรถยนต์พิพาทไว้จากจำเลยที่ 1 และที่ 2 โดยสุจริตแม้รถยนต์พิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 3 อยู่ โจทก์ทั้งสองย่อมได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย โดยไม่ต้องคืนให้แก่จำเลยที่ 3จนกว่าจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์จะชดใช้ราคาให้ และในกรณีเช่นนี้ถือได้ว่าเป็นการกระทำโดยชอบด้วยกฎหมายมิใช่เป็นการละเมิด จำเลยที่ 3 จึงไม่มีอำนาจที่จะฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายจากโจทก์ทั้งสองระหว่างที่ครอบครองรถยนต์พิพาทได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1295/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคุ้มครองลิขสิทธิ์งานต่างประเทศ: จำเป็นต้องระบุสถานะงานลิขสิทธิ์ตามกฎหมายของต่างประเทศในฟ้อง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า บริษัท ท. เป็นนิติบุคคลตามกฎหมายของเมืองฮ่องกง ซึ่งเป็นอาณานิคมของประเทศอังกฤษ เป็นผู้สร้างสรรค์และเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในภาพยนตร์เรื่องเดชเซียวฮื่อยี่ ซึ่งได้นำออกโฆษณาเผยแพร่ครั้งแรกในเมืองฮ่องกง โดย มิได้บรรยายว่าภาพยนตร์ ดังกล่าวเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ตามกฎหมายของเมืองฮ่องกงมาด้วย การบรรยายว่าได้นำออกโฆษณาเผยแพร่ครั้งแรกในเมืองฮ่องกงนั้น ถือไม่ได้ว่าเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ตามกฎหมายของเมืองฮ่องกงแล้ว ฟ้องโจทก์จึงขาดข้อความสำคัญที่จะแสดงให้เห็นว่าภาพยนตร์ตามฟ้องมีสิทธิที่จะได้รับความคุ้มครองตามมาตรา 42 แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงและรายละเอียดที่จำเป็นสำหรับการฟ้องคดีอาญาในกรณีที่มีการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับงานอันมีลิขสิทธิ์ตามกฎหมายต่างประเทศ ฟ้องโจทก์จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 854/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการโอนทรัพย์ในคดีล้มละลาย: การคุ้มครองเจ้าหนี้และผู้รับโอนสุจริต
พ.ร.บ. ล้มละลายฯ มาตรา 115 บัญญัติให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ร้องขอเพิกถอนการโอนทรัพย์ในกรณีที่จำเลยมุ่งหมายให้เจ้าหนี้คนใดคนหนึ่งได้เปรียบแก่เจ้าหนี้อื่น มีความหมายว่า การโอนทรัพย์นั้นต้องเป็นการโอนให้แก่เจ้าหนี้ซึ่งเป็นเจ้าหนี้อยู่ก่อนแล้ว และทำให้เจ้าหนี้อื่น ๆ ของจำเลยเสียเปรียบแต่กรณีการโอนตามสัญญาต่างตอบแทนซึ่งผู้รับโอนมิได้เป็นเจ้าหนี้ของจำเลยมาก่อน หากจะถือว่าการโอนของจำเลยเป็นการให้เปรียบแก่ผู้รับโอนเหนือเจ้าหนี้ที่มีอยู่แล้ว ย่อมจะทำให้ผู้รับโอนโดยสุจริตและมีค่าตอบแทนไม่รู้ถึงสภาพการมีหนี้สินล้นพ้นตัวของจำเลยต้องเสียหาย ไม่เป็นธรรมต่อผู้รับโอน วัตถุประสงค์ของมาตรา 114และ 115 ยังคงคุ้มครองผู้สุจริตและมีค่าตอบแทนเช่นเดียวกันต่างกันเพียงว่าถ้า โอนภายในสามเดือนก่อนมีการขอให้ล้มละลายและจำเลยมุ่งให้เจ้าหนี้เดิม คนใดคนหนึ่งได้เปรียบแก่เจ้าหนี้อื่นอาศัยเพียงความมุ่งหมายของจำเลยฝ่ายเดียวเป็นการพอเพียงให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เพิกถอนเสียได้ แต่ถ้า เป็นการโอนไปภายในสามเดือนก่อนมีการขอให้ล้มละลายโดยโอนไปยังผู้รับโอนซึ่งมิได้เป็นเจ้าหนี้อยู่เดิม ต้องอาศัยความไม่สุจริตและไม่มีค่าตอบแทนของผู้รับโอนด้วยจึงเพิกถอนได้ตามมาตรา 114 เช่นกันจะใช้มาตรา 115 มาเพิกถอนการโอนแก่ผู้รับโอนซึ่งมิได้เป็นเจ้าหนี้ของจำเลยมาก่อนแล้วไม่ได้ พ.ร.บ. ล้มละลาย ฯ มาตรา 113 เป็นเรื่องลูกหนี้ทำให้ทรัพย์สินของตนลดลงเพื่อให้เจ้าหนี้ของตนเสียเปรียบ โดยผู้รับโอนไม่จำต้องเป็นเจ้าหนี้ของลูกหนี้ผู้โอนมาก่อน แต่การจะเพิกถอนได้ต้องปรากฏว่าในขณะทำการโอนนั้นผู้รับโอนได้รู้เท่าถึงการกระทำของลูกหนี้ว่าทำให้เจ้าหนี้เสียเปรียบด้วย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 37/2534 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคุ้มครองประกันภัยรถยนต์: ผู้ขับขี่มีใบอนุญาตถูกต้อง แม้กรมธรรม์ระบุเงื่อนไขเพิ่มเติม
ห้างซึ่งโจทก์เป็นผู้ช่วยผู้จัดการได้มอบรถยนต์ให้โจทก์ใช้โดยให้โจทก์มีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบตลอดจนทำการซ่อมแซมด้วย หากรถยนต์คันดังกล่าวเกิดอุบัติเหตุได้รับความเสียหายโจทก์ก็มีหน้าที่ต้องซ่อมแซม โจทก์จึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียในรถยนต์ดังกล่าวที่จะเอาประกันภัยรถยนต์ดังกล่าวกับจำเลยได้
เงื่อนไขในกรมธรรม์ประกันภัยซึ่งยกเว้นความรับผิดของจำเลยข้อหนึ่งมีว่าการขับขี่โดยบุคคลที่ไม่เคยได้รับใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ใด ๆ หรือเคยได้รับแต่ขาดต่ออายุเกินกว่า180 วัน หรือเคยได้รับแต่ถูกตัดสิทธิตามกฎหมายในการขับรถยนต์ในเวลาเกิดอุบัติเหตุ ดังนั้นเมื่อผู้ขับรถยนต์คันเกิดเหตุได้รับใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ทุกประเภทจากกรมการขนส่งทางบกจึงมิใช่บุคคลที่ไม่เคยได้รับใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ใด ๆ อันจะเป็นเหตุให้จำเลยได้รับยกเว้นความรับผิดไม่จำเลยไม่อาจปฏิเสธความรับผิดโดยอ้างเหตุที่มิได้ระบุเป็นเงื่อนไขในกรมธรรม์ประกันภัยว่ารถยนต์คันเกิดเหตุจดทะเบียนไว้ต่อกรมตำรวจ ผู้ขับขี่จะต้องมีใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ของกรมตำรวจจึงจะได้รับความคุ้มครองหาได้ไม่
จำเลยอุทธรณ์อ้างว่าศาลชั้นต้นให้จำเลยใช้ค่าเสียหายที่ยังไม่แน่นอนและเกินกว่าความเป็นจริง หาได้อุทธรณ์ว่าศาลชั้นต้นพิพากษาเกินคำขอเพราะเหตุโจทก์มิได้ฟ้องขอให้จำเลยจ่ายเงินค่าซ่อมแก่โจทก์ดังที่จำเลยอ้างในชั้นฎีกาไม่ ฎีกาของจำเลยข้อนี้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ แม้ปัญหานี้จะเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาก็ไม่เห็นสมควรที่จะหยิบยกขึ้นวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5929/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคุ้มครองลิขสิทธิ์งานต่างประเทศ: โจทก์ต้องพิสูจน์การคุ้มครองตามกฎหมายฮ่องกงหรืออังกฤษอย่างชัดเจน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยละเมิดลิขสิทธิ์งานสร้างสรรค์ประเภทโสตทัศนวัสดุแถบ บันทึกภาพ (วีดีโอ เทป) ภาพยนตร์มีชื่อภาษาไทยว่า คิงคอง ภาค 2 ของบริษัทอินเตอร์คอนติเนนตัลฟิล์มดิสตริบิวเตอร์ส์ (ฮ่องกง) จำกัดผู้เสียหายซึ่งเป็นนิติบุคคล เป็นงานมีลิขสิทธิ์ตามกฎหมายฮ่องกง ซึ่งเป็นประเทศที่เป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองลิขสิทธิ์และประเทศไทยเป็นภาคีอยู่ด้วย กฎหมายของประเทศฮ่องกงได้ให้ความคุ้มครองเช่นเดียวกันแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ของภาคีอื่น ๆ แห่งอนุสัญญาดังกล่าวเป็นคำบรรยายฟ้องที่มีข้อความสำคัญแสดงให้เห็นว่า แถบ บันทึกภาพยนตร์ของผู้เสียหายตามฟ้องเข้าหลักเกณฑ์ที่จะได้รับความคุ้มครองตาม มาตรา 42 แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521 มีข้อเท็จจริงและรายละเอียดที่จำเป็นสำหรับการบรรยายฟ้องแล้ว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5429/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีละเมิดลิขสิทธิ์ต่างประเทศต้องแสดงให้เห็นว่าประเทศไทยเป็นภาคีอนุสัญญาและกฎหมายต่างประเทศคุ้มครองลิขสิทธิ์ไทย
คดีความผิดเกี่ยวกับลิขสิทธิ์ระหว่างประเทศ โจทก์บรรยายฟ้องแต่เพียงว่าภาพยนตร์ตามฟ้องเป็นลิขสิทธิ์ของโจทก์ร่วมซึ่งเป็นนิติบุคคลในเมืองฮ่องกงอันเป็นดินแดนในอารักขาของประเทศสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ และเป็นภาคีแห่งอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยความคุ้มครองวรรณกรรมและศิลปกรรมทำ ณ กรุงเบอร์น เมื่อเดือนกันยายน ค.ศ. 1886 ซึ่งได้แก้ไขณ กรุงเบอร์ลิน เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน ค.ศ. 1908 และสำเร็จบริบูรณ์ด้วยโปรโตคลเพิ่มเติม ลงนาม ณ กรุงเบอร์น เมื่อวันที่20 มีนาคม ค.ศ. 1914 โดยกฎหมายเมืองฮ่องกงให้ความคุ้มครองแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ของภาคีอื่น ๆ แห่งอนุสัญญาดังกล่าว แต่โจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่า ประเทศไทยเป็นภาคีแห่งอนุสัญญาดังกล่าวและกฎหมายฮ่องกงให้ความคุ้มครองแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ของประเทศไทยด้วย ฟ้องโจทก์จึงขาดข้อความสำคัญที่จะแสดงให้เห็นว่าภาพยนตร์ตามฟ้องมีสิทธิที่จะได้รับความคุ้มครองตามมาตรา 42 แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521 ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงและรายละเอียดที่จำเป็นสำหรับการฟ้องคดีอาญา จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158 โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521และขอให้สั่งให้ตลับแถบ บันทึกภาพและเสียงของกลางตกเป็นของเจ้าของลิขสิทธิ์ตามมาตรา 47 เมื่อไม่ได้ความว่าภาพยนตร์ตามฟ้องเป็นงานมีลิขสิทธิ์ที่ได้รับความคุ้มครอง จึงต้องคืนของกลางแก่เจ้าของ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4810/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเช่าที่ดินเลี้ยงปลาไม่ได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.เช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 หากไม่มี ร.ก. ออกมาควบคุม
ตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524มาตรา 63 บัญญัติว่าหากรัฐบาลเห็นสมควรกำหนดให้มีการควบคุมการเช่าที่ดินเพื่อประกอบเกษตรกรรมประเภทอื่นนอกจากการเช่านาก็ให้กระทำโดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา เมื่อยังไม่มีการตราพระราชกฤษฎีกาให้มีการควบคุมการเช่าที่ดินเพื่อการประกอบเกษตรกรรมประเภทอื่นอีก แสดงว่ากฎหมายยังไม่ประสงค์จะคุ้มครองการเช่าที่ดินเพื่อประกอบเกษตรกรรมประเภทอื่นนอกจากการเช่านา ฉะนั้นการที่จำเลยเช่าที่ดินโจทก์เพื่อเลี้ยงปลา ซึ่งไม่ใช่การเช่าที่ดินเพื่อทำนาจึงไม่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัตินี้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4810/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเช่าที่ดินเลี้ยงปลาไม่ได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.เช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม หากไม่มีพระราชกฤษฎีกาขยายความคุ้มครอง
ตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524มาตรา 63 บัญญัติว่าหากรัฐบาลเห็นสมควรกำหนดให้มีการควบคุมการเช่าที่ดินเพื่อประกอบเกษตรกรรมประเภทอื่นนอกจากการเช่านาก็ให้กระทำโดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา เมื่อยังไม่มีการตราพระราชกฤษฎีกาให้มีการควบคุมการเช่าที่ดินเพื่อการประกอบเกษตรกรรมประเภทอื่นอีก แสดงว่ากฎหมายยังไม่ประสงค์จะคุ้มครองการเช่าที่ดินเพื่อประกอบเกษตรกรรมประเภทอื่นนอกจากการเช่านา ฉะนั้นการที่จำเลยเช่าที่ดินโจทก์เพื่อเลี้ยงปลา ซึ่งไม่ใช่การเช่าที่ดินเพื่อทำนาจึงไม่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัตินี้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3030/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคุ้มครองเครื่องหมายการค้า: แม้ต่างจำพวกสินค้า แต่หากทำให้สาธารณชนหลงผิดได้ ก็ถือเป็นการละเมิด
เครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นอักษรโรมันว่า "LUCKY" อ่านว่า"ลักกี้"แปลว่าโชคดี ใช้กับสินค้าที่นอนสปริง ในจำพวกสินค้าประเภท 51 ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นอักษรโรมันว่า"LUXKY" อ่านว่า "ลักกี้ " แปลความหมายไม่ได้ ใช้กับสินค้าที่นอนทุกชนิดในจำพวกสินค้าประเภท 41 เครื่องหมายการค้าของโจทก์กับเครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นอักษรโรมันและจำนวนตัวอักษรเท่ากันตัวอักษรต่างกันเฉพาะตัวที่ 3 เท่านั้น แต่คงอ่านออกเสียงเหมือนกันแม้สินค้าของโจทก์และจำเลยจะจดทะเบียนไว้ต่างจำพวกกันแต่ก็จดทะเบียนสินค้าในประเภทเดียวกันคือที่นอน ทั้งจำเลยก็ผลิตสินค้าประเภทที่นอนออกจำหน่ายเช่นเดียวกับโจทก์ สาธารณชนย่อมหลงผิดว่า สินค้าของจำเลยคือสินค้าของโจทก์ ดังนี้ โจทก์มีสิทธิขอให้ศาลบังคับจำเลยงดใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า "LUXKY" และขอเพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวของจำเลยได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2360/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีลิขสิทธิ์ต่างประเทศ ต้องแสดงให้ชัดเจนว่ากฎหมายของประเทศนั้นคุ้มครองลิขสิทธิ์ของภาคีอื่นด้วย
โจทก์บรรยายฟ้องว่า แถบบันทึกภาพของโจทก์ร่วมตามฟ้องเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ตามกฎหมายเมืองฮ่องกงซึ่งเป็นประเทศที่เป็นภาคี แห่งอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองลิขสิทธิ์ซึ่งประเทศไทยเป็นภาคี อยู่ด้วย และกฎหมายว่าด้วยลิขสิทธิ์ของเมืองฮ่องกงได้ให้ความคุ้มครองแก่แถบบันทึกภาพนี้เช่นเดียวกัน ตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเงื่อนไขเพื่อคุ้มครองลิขสิทธิ์ระหว่างประเทศพ.ศ. 2526 แต่โจทก์มิได้กล่าวในฟ้องเลยว่ากฎหมายของเมืองฮ่องกงได้ให้ความคุ้มครองเช่นเดียวกันแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ของภาคี อื่น ๆแห่งอนุสัญญาดังกล่าว ถ้อยคำที่โจทก์บรรยายในฟ้องว่า "...และกฎหมายว่าด้วยลิขสิทธิ์ของประเทศฮ่องกงได้ให้ความคุ้มครองแก่แถบบันทึกภาพเช่นเดียวกัน ตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเงื่อนไขเพื่อคุ้มครองลิขสิทธิ์ระหว่างประเทศ พ.ศ. 2526"นั้นก็ไม่อาจจะให้แปลไปได้ว่า กฎหมายว่าด้วยลิขสิทธิ์ของฮ่องกงได้ให้ความคุ้มครองเช่นเดียวกันแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ของภาคี อื่น ๆแห่งอนุสัญญา ฉะนั้น ฟ้องโจทก์จึงขาดความสำคัญที่จะแสดงให้เห็นว่าแถบบันทึกภาพตามฟ้องมีสิทธิ์ ที่จะได้รับความคุ้มครองตามมาตรา 42 แห่ง พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521 ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงและรายละเอียดที่จำเป็นสำหรับการฟ้องคดีอาญาในกรณีที่มีการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวด้วยงานอันมีลิขสิทธิ์ตามกฎหมายต่างประเทศฟ้องโจทก์จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158.
of 30