คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
คุ้มครองสิทธิ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 78 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7113/2559

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสอบสวนเยาวชนต้องเป็นไปตามหลักการคุ้มครองสิทธิและไม่เป็นการประจาน การมีสหวิชาชีพเข้าร่วมฟังการสอบปากคำชอบด้วยกฎหมาย
บทบัญญัติมาตรา 75 แห่ง พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 เป็นการบัญญัติขึ้นเพื่อกำหนดวิธีการสอบสวนผู้ต้องหาที่เป็นเด็กในการจัดสถานที่ให้เหมาะสมและไม่ปะปนกับผู้ต้องหาอื่นหรือมีบุคคลอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องอยู่ในสถานที่นั้นอันมีลักษณะเป็นการประจานเด็กและเยาวชน ในการสอบปากคำจำเลยในคดีนี้พนักงานสอบสวนได้จัดให้มีพนักงานอัยการและนักจิตวิทยาเข้าร่วมฟังการสอบปากคำจำเลยในชั้นสอบสวน นอกจากจะเป็นไปตามความประสงค์ที่จำเลยเป็นผู้ร้องขอให้บุคคลดังกล่าวเข้าร่วมฟังการสอบสวนแล้ว ยังเป็นไปตามวิธีการสอบสวนผู้ต้องหาซึ่งเป็นเด็กหรือเยาวชนที่กำหนดให้มีสหวิชาชีพ ในที่นี้คือพนักงานอัยการและนักจิตวิทยาเข้าร่วมฟังการสอบสวนด้วยเพื่อเป็นการคุ้มครองเด็กและเยาวชนเอง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 133 ทวิ และมาตรา 134/2 กรณีไม่อาจถือว่าพนักงานอัยการและนักจิตวิทยาที่เข้าร่วมฟังการสอบสวนดังกล่าวเป็นบุคคลที่ไม่เกี่ยวข้องหรือเป็นการประจานจำเลยดังที่จำเลยกล่าวอ้าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 116/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยึดทรัพย์จากสัญญาแบ่งทรัพย์สินระหว่างหย่า: สิทธิเจ้าของรวมและการคุ้มครองสิทธิ
ข้อตกลงท้ายทะเบียนการหย่าระหว่างจำเลยกับ ว. นอกจากจำเลยกับ ว. จะเป็นคู่สัญญาซึ่งกันและกันแล้วยังมีผู้ร้องและบุตรของจำเลยและ ว. อีก 3 คน เข้ามาเกี่ยวข้องเป็นผู้รับประโยชน์แห่งสัญญาด้วย ข้อตกลงดังกล่าวจึงเป็นสัญญาแบ่งทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาตาม ป.พ.พ. มาตรา 1532 และเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์แก่บุคคลภายนอกตาม ป.พ.พ. มาตรา 374 การที่ผู้ร้องเข้าถือเอาประโยชน์ตามข้อตกลงดังกล่าวจึงเป็นการได้มาโดยนิติกรรมซึ่งอสังหาริมทรัพย์อย่างหนึ่งแม้จะมิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ทำให้การได้มาดังกล่าวย่อมไม่บริบูรณ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1299 วรรคหนึ่ง ก็ตาม แต่บ้านพิพาทตั้งอยู่บนที่สาธารณประโยชน์และผู้ร้องได้เข้าครอบครองบ้านพิพาทแล้วเพียงแต่ผู้ร้องยังมิได้ไปจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ถือได้ว่าผู้ร้องเป็นบุคคลผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1300 แม้จะได้ความว่าจำเลยยังคงอาศัยอยู่ในบ้านพิพาทขณะที่เจ้าพนักงานบังคับคดีทำการยึดทรัพย์ก็ตามแต่จำเลยเป็นมารดาของผู้ร้องจึงย่อมอยู่อาศัยกับบุตรของตนได้ ข้อเท็จจริงดังกล่าวมิได้ทำให้สิทธิของผู้ร้องดังกล่าวสิ้นไปแต่อย่างใด เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าบ้านพิพาทตกเป็นสิทธิของผู้ร้องร่วมกับบุตรของจำเลยอีก 3 คน และในคำร้องขัดทรัพย์ผู้ร้องได้ระบุข้อเท็จจริงดังกล่าวไว้ด้วย การยื่นคำร้องขัดทรัพย์ในกรณีนี้จึงถือได้ว่าเป็นกรณีที่ผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าของรวมคนหนึ่งใช้สิทธิอันเกิดแต่กรรมสิทธิ์ครอบไปถึงทรัพย์สินทั้งหมดตาม ป.พ.พ. มาตรา 1359 ในกรณีเช่นนี้ ผู้ร้องจึงสามารถร้องขอให้เพิกถอนการยึดได้ โจทก์ในฐานะเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะบังคับคดีให้กระทบถึงสิทธิของผู้ร้องดังกล่าวไม่ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 287

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 976/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่รัฐตามระเบียบความรับผิดทางละเมิด การคุ้มครองสิทธิ และดอกเบี้ยผิดนัด
ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบัติเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 กำหนดหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิดต้องให้โอกาสเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องหรือผู้เสียหายได้ชี้แจงข้อเท็จจริงและโต้แย้งแสดงพยานหลักฐานของตนอย่างเพียงพอและเป็นธรรม ความเห็นของคณะกรรมการต้องมีข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายที่แจ้งชัดและต้องมีพยานหลักฐานที่สนับสนุนประกอบ หลักเกณฑ์ดังกล่าวมีความสำคัญต่อการคุ้มครองสิทธิของประชาชนและควบคุมตรวจสอบคำวินิจฉัยจึงเป็นขั้นตอนอันเป็นสาระสำคัญที่จะละเลยไม่ได้ จำเลยเพียงแต่ให้โจทก์ชี้แจงในเรื่องที่บุคคลอื่นกระทำผิดวินัย ในทำนองเป็นการให้ข้อเท็จจริงแก่คณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงไม่เป็นกิจจะลักษณะว่ามีการแจ้งข้อกล่าวหาให้โจทก์ทราบหรือเข้าใจข้อเท็จจริงในฐานะผู้ถูกกล่าวหา และมีโอกาสแสดงพยานหลักฐานเมื่อมีการตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิด ก็ไม่ปรากฏว่าในคำสั่งแต่งตั้งดังกล่าวได้กล่าวถึงกรณีการกระทำความผิดของโจทก์ว่าให้คณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิดพิจารณาแต่อย่างใด เพียงแต่กล่าวถึงกรณีที่ ม. สั่งการให้ ป. และ พ. พนักงานขับรถยนต์ทำความเสียหายให้จำเลย และคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิดก็ได้รายงานผลการสอบสวนเพียงกรณีการกระทำของ ม. ป. และ พ. เท่านั้นโดยไม่ได้กล่าวถึงการกระทำใดของโจทก์ เมื่อคณะกรรมการพิจารณารายงานผลการสอบสวนและความรับผิดทางละเมิดได้ประชุมและให้โจทก์ชดใช้ค่าเสียหายแก่จำเลย จึงเป็นกรณีที่จำเลยมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์อันเป็นสาระสำคัญของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบัติเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 หมวด 1 อันเป็นหลักเกณฑ์ที่กำหนดให้เหมาะสมและสอดคล้องกับ พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539
การที่โจทก์ลดราคาค่าบริการของจำเลยเป็นการกระทำไปภายใต้ธรรมเนียมปฏิบัติงานที่เคยดำเนินการกันมาโดยจำเลยยอมรับให้โจทก์ปฏิบัติมาโดยตลอด การกระทำของโจทก์จึงมิใช่การจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงตาม พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 และมิได้เป็นการผิดสัญญาจ้างแรงงาน
จำเลยเป็นรัฐวิสาหกิจ สังกัดกระทรวงคมนาคม ซึ่งระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2535 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะนั้นมิได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยสำหรับกรณีพนักงานฟ้องเรียกเงินเดือนที่นายจ้างหักไว้โดยมิชอบ จึงให้คิดดอกเบี้ยในระหว่างเวลาผิดนัดร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1538/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกลับจดทะเบียนบริษัทร้างเพื่อคุ้มครองสิทธิเจ้าหนี้ แม้มีสิทธิฟ้องผู้ชำระบัญชี
บริษัทซึ่งเป็นลูกหนี้ถูกนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานครขีดชื่อออกจากทะเบียนเป็นบริษัทร้าง ทำให้ผู้ร้องซึ่งได้รับโอนสิทธิเรียกร้องมาจากเจ้าหนี้ไม่สามารถฟ้องร้องดำเนินคดีแก่บริษัทดังกล่าวได้ จึงเป็นกรณีที่ผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าหนี้รู้สึกว่าต้องเสียหายมิเป็นธรรมเพราะการที่บริษัทลูกหนี้ถูกขีดชื่อจากนายทะเบียน แม้ผู้ร้องจะมีสิทธิยื่นฟ้องกรรมการของบริษัทดังกล่าวในฐานะผู้ชำระบัญชีให้ชำระหนี้ของบริษัทได้ เพราะผู้ชำระบัญชีมีหน้าที่ชำระสะสางการงานของบริษัทให้เสร็จไป กับจัดการใช้หนี้เงินและแจกจำหน่ายสินทรัพย์ของบริษัทนั้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 1250 ก็ตาม ก็หาเป็นการตัดสิทธิของเจ้าหนี้ของบริษัทที่รู้สึกว่าต้องเสียหายมิเป็นธรรมเพราะการที่บริษัทลูกหนี้ถูกขีดชื่อจากทะเบียน จะยื่นคำร้องขอต่อศาลเพื่อให้บริษัทดังกล่าวกลับจดชื่อคืนเข้าสู่ทะเบียนเพื่อดำเนินการเรียกร้องหนี้สินจากบริษัทโดยตรงไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1360/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขออายัดเงินจำเลยเพื่อชำระค่าขาดประโยชน์ ไม่ใช่การคุ้มครองสิทธิในทรัพย์สินตามมาตรา 264
โจทก์ยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งอายัดเงินของจำเลยที่มีอยู่และที่จะได้รับจากการประกอบกิจการ โดยให้จำเลยส่งเงินทั้งหมดมาเก็บรักษาไว้ที่ศาลจนกว่าศาลจะมีคำพิพากษาถึงที่สุด มีผลเท่ากับบังคับให้จำเลยนำเงินมาวางศาลเพื่อเอาชำระหนี้ให้โจทก์เป็นการร้องขอให้ศาลมีคำสั่งกำหนดวิธีการเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของโจทก์ในระหว่างการพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 264 แต่โจทก์ฟ้องให้จำเลยชำระเงินซึ่งเป็นค่าขาดประโยชน์ มิใช่พิพาทกันด้วยทรัพย์สินหรือสิทธิหรือประโยชน์โจทก์จะขอให้จำเลยนำทรัพย์สินหรือเงินมาวางตามมาตรานี้ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4673/2562

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิผู้รับจำนองในการคุ้มครองทรัพย์สินที่ถูกสั่งให้ตกเป็นของแผ่นดินภายใต้ พ.ร.บ.ฟอกเงิน
ผู้คัดค้านที่ 3 เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาซึ่งได้ดำเนินการบังคับคดียึดทรัพย์จำนองที่ศาลมีคำสั่งให้ตกเป็นของแผ่นดินเพื่อบังคับตามคำพิพากษาแล้ว จึงเป็นผู้รับประโยชน์ในทรัพย์สินที่ผู้ร้องร้องขอให้ตกเป็นของแผ่นดิน ในฐานะผู้รับจำนองที่ดินและสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวไว้โดยสุจริตและมีค่าตอบแทนมีสิทธิยื่นคำร้องขอคุ้มครองสิทธิของตนได้ตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 มาตรา 50ผู้คัดค้านที่ 3 ยื่นคำร้องขอคุ้มครองสิทธิเข้ามาในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา แม้เป็นการยื่นเข้ามาก่อนคำสั่งศาลให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินถึงที่สุด ก็ต้องถือเป็นการใช้สิทธิยื่นคำร้องตามมาตรา 53 ผู้คัดค้านที่ 3 ต้องพิสูจน์ว่าตนไม่สามารถยื่นคำร้องได้ก่อนศาลชั้นต้นมีคำสั่งตามมาตรา 50 เพราะไม่ทราบถึงประกาศของศาลและหนังสือแจ้งของเลขาธิการหรือมีเหตุขัดข้องอันสมควรประการอื่น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3283/2562

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคุ้มครองสิทธิผู้รับจำนองในทรัพย์สินที่ถูกยึดจากการฟอกเงิน จำเป็นต้องพิสูจน์ความสุจริตและค่าตอบแทน
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำสั่งศาลชั้นต้นว่า ที่ดินโฉนดเลขที่ 7711 ของผู้คัดค้านที่ 6 เป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด และมีคำสั่งให้ตกเป็นของแผ่นดินตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 มาตรา 51 การที่ผู้ขอคุ้มครองสิทธิยื่นคำร้องขอให้ได้รับชำระหนี้จำนองจากที่ดินนั้นภายหลังจากที่ศาลมีคำพิพากษาดังกล่าว ศาลจึงต้องไต่สวนให้ได้ความตามมาตรา 50 วรรคสอง ซึ่งบัญญัติให้ผู้ขอคุ้มครองสิทธิมีหน้าที่ต้องพิสูจน์เสียก่อนว่าตนเป็นผู้รับประโยชน์ในทรัพย์สินนั้นโดยสุจริตและมีค่าตอบแทน ศาลจึงจะมีคำสั่งคุ้มครองสิทธิของผู้รับประโยชน์ตามมาตรา 53 ได้ ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้ผู้ร้องมีภาระการพิสูจน์จึงไม่ชอบ ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ ผู้ร้องก็ยกขึ้นกล่าวในชั้นฎีกาได้
ตามคำร้องผู้ขอคุ้มครองสิทธิไม่ได้ทรัพย์สินไปเป็นของตนแต่อย่างใด โดยเพียงแต่ขอให้ได้รับชำระหนี้จำนองจากทรัพย์สินนั้นเพื่อชำระหนี้ตามคำพิพากษาตามสิทธิที่ตนมีอยู่เดิมเท่านั้น จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาล 200 บาท ตามตาราง 1 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6046/2564

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคุ้มครองสิทธิผู้รับจำนองในคดีฟอกเงิน: สิทธิได้รับดอกเบี้ยจนถึงวันขายทอดตลาด
พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 มาตรา 52 เป็นกรณีที่กฎหมายบัญญัติให้ศาลพิจารณากำหนดมาตรการคุ้มครองสิทธิของผู้รับประโยชน์ในทรัพย์สิน เมื่อผู้คัดค้านที่ 2 เป็นผู้รับจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาทโดยสุจริตและมีค่าตอบแทน ผู้คัดค้านที่ 2 ย่อมได้รับการคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของตนตามกฎหมาย ซึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 715 บัญญัติว่า จำนองย่อมเป็นประกันเพื่อการชำระหนี้กับทั้งค่าอุปกรณ์ คือ ดอกเบี้ย ดังนั้น ผู้คัดค้านที่ 2 ย่อมมีสิทธิได้รับชำระหนี้ต้นเงินที่คงเหลือตามสัญญาจำนองพร้อมด้วยดอกเบี้ยตามสัญญาไปจนกว่าจะชำระเสร็จ ซึ่งสอดคล้องกับสิทธิของผู้รับจำนองตามกฎหมาย ย่อมไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนที่ศาลอุทธรณ์จะมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง โดยไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์
of 8