คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
คู่สมรส

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 194 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 344/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมโดยไม่ได้รับความยินยอมจากคู่สมรส: คดีไม่ขาดอายุความ
การจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมซึ่งคู่สมรสฝ่ายหนึ่งกระทำลงโดยไม่ได้รับความยินยอมของคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งย่อมไม่สมบูรณ์ไม่ก่อให้เกิดความสัมพันธ์และสิทธิหน้าที่ตามกฎหมายในฐานะผู้รับบุตรบุญธรรมกับบุตรบุญธรรมแต่อย่างใด การที่โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนรับจำเลยเป็นบุตรบุญธรรม ซึ่ง อ. ได้กระทำลงโดยไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ผู้เป็นคู่สมรส จึงเป็นการฟ้องขอให้แสดงว่าฐานะของ อ. และจำเลยมิได้มีการเปลี่ยนแปลงเพราะการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมซึ่งไม่สมบูรณ์ดังกล่าว หาใช่เป็นการใช้สิทธิเรียกร้องเพื่อเพิกถอนฐานะความเป็นผู้รับบุตรบุญธรรมกับบุตรบุญธรรมไม่ กรณีจึงไม่อยู่ในบังคับของบทบัญญัติว่าด้วยอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 163 และมาตรา 164และเมื่อไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายกำหนดระยะเวลาที่โจทก์อาจฟ้องคดีเช่นว่านี้ได้แล้ว โจทก์ผู้มีส่วนได้เสียย่อมมีสิทธิที่จะฟ้องคดีดังกล่าวได้เสมอ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2621-2622/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมซ้ำซ้อนโดยผู้ที่ไม่เป็นคู่สมรสตามกฎหมาย ทำให้การจดทะเบียนครั้งหลังไม่สมบูรณ์
ป. กับผู้ตายอยู่กันด้วยกันฉันสามีภริยาโดยไม่จดทะเบียนสมรส จึงไม่เป็นคู่สมรสกันตามกฎหมาย ได้จดทะเบียนรับผู้คัดค้านเป็นบุตรบุญธรรม โดยป. จดทะเบียนก่อนผู้ตาย ผู้คัดค้านย่อมเป็นบุตรบุญธรรมของ ป. ก่อนแล้ว จะเป็นบุตรบุญธรรมของผู้ตายอีกในขณะเดียวกันไม่ได้เป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1598/26 การจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมของผู้ตายจึงไม่สมบูรณ์ไม่มีผลตามกฎหมาย ผู้คัดค้านไม่ใช่ทายาท ไม่มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดก ย่อมไม่มีสิทธิร้องขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกหรือถอนผู้จัดการมรดกของผู้ตาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2070/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการเช่าเป็นสิทธิเฉพาะตัว ผู้เช่ามีสิทธิโอนได้เอง โดยไม่จำต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรส
ส.เช่าตึกพิพาทจากจำเลยที่ 2 โดยสามีมิได้เกี่ยวข้องด้วยเมื่อสิทธิการเช่าเป็นสิทธิเฉพาะตัว ส. ย่อมมีสิทธิจะโอนสิทธิการเช่าไปให้จำเลยที่ 1 ได้โดยมิต้องได้รับความยินยอมจากสามีทั้งสัญญาเช่าที่ ส. ทำไว้กับจำเลยที่ 2 ได้หมดอายุสัญญาไปแล้ว โจทก์ผู้เป็นบุตรของสามี ส. จึงหามีสิทธิที่จะบอกล้างนิติกรรมสัญญาเช่าดังกล่าวไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4001/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการเช่าเป็นทรัพย์มรดก แบ่งได้ระหว่างทายาทและคู่สมรส
เจ้ามรดกทำสัญญาเช่าตึกแถวพิพาทจากผู้อื่น จดทะเบียนการเช่ามีกำหนด 25 ปี เมื่อเจ้ามรดกถึงแก่กรรม จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นสามีของเจ้ามรดกได้ไปขอโอนชื่อผู้เช่าจากเจ้ามรดกเป็นชื่อของจำเลยที่ 1 โดยมีข้อสัญญาเช่นเดิมและเมื่อหมดอายุสัญญาเช่าแล้วผู้เช่ามีสิทธิต่อสัญญาเช่าใหม่ต่อไปได้ การที่จำเลยที่ 1เช่าตึกแถวพิพาทจึงเป็นการสืบสิทธิของเจ้ามรดกผู้เช่าเดิมนั่นเอง เมื่อจำเลยที่ 1ขอโอนชื่อดังกล่าวแล้วได้โอนสิทธิการเช่าตึกแถวพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 อ้างว่าเป็นการขายสิทธิให้จำเลยที่ 2 แสดงว่าสิทธิการเช่าดังกล่าวมีราคาและถือเอาได้จึงเป็นทรัพย์สินและทรัพย์มรดกตกทอดแก่ทายาทที่จะแบ่งปันกันได้ เพื่อความสะดวกในการแบ่งมรดกสมควรตีราคาเป็นตัวเงินแล้วจึงแบ่งกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1364.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 337/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยกทรัพย์สินที่เป็นสินสมรสให้แก่คู่สมรส ทำให้ทรัพย์สินนั้นตกเป็นสินส่วนตัว และคู่สมรสที่ยกให้ไม่มีสิทธิในทรัพย์สินนั้นอีกต่อไป
โจทก์จำเลยเป็นสามีภริยากัน โจทก์มีชื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินสินสมรสแต่ผู้เดียว ในระหว่างสมรส จำเลยได้ทำหนังสือสัญญาและจดทะเบียนยกที่ดินดังกล่าวพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่โจทก์ แสดงว่าจำเลยมีเจตนายกทรัพย์สินซึ่งเป็นสินสมรสส่วนของตนทั้งหมดให้แก่โจทก์ ย่อมทำให้ทรัพย์สินนั้นหมดสภาพจากการเป็นสินสมรสและตกเป็นสินส่วนตัวของโจทก์ และสัญญานี้เป็นสัญญาระหว่างสมรสที่สมบูรณ์ใช้บังคับกันได้ เมื่อจำเลยยกทรัพย์สินให้แก่โจทก์และทรัพย์สินนั้นตกเป็นสินส่วนตัวของโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1471 (3) แล้ว จำเลยก็ไม่มีสิทธิในทรัพย์สินนั้นต่อไป โจทก์จำเลยหย่ากัน โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากทรัพย์สินดังกล่าวได้
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1471(3) ที่บัญญัติให้ทรัพย์สินที่สามีภริยาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาระหว่างสมรสโดยการให้โดยเสน่หาเป็นสินส่วนตัวนั้น มิได้กำหนดให้ใช้บังคับแต่เฉพาะกรณีที่บุคคลภายนอกเป็นผู้ยกทรัพย์สินให้เท่านั้น แต่ได้รวมถึงกรณีที่สามีภริยายกทรัพย์สินให้แก่กันในระหว่างสมรสด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 337/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยกทรัพย์สินสินสมรสให้แก่คู่สมรส ทำให้ทรัพย์สินนั้นตกเป็นสินส่วนตัวและสิทธิในทรัพย์สินสิ้นสุดลง
โจทก์จำเลยเป็นสามีภริยากัน โจทก์มีชื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินสินสมรสแต่ผู้เดียว ในระหว่างสมรส จำเลยได้ทำหนังสือสัญญาและจดทะเบียนยกที่ดินดังกล่าวพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่โจทก์ แสดงว่าจำเลยมีเจตนายกทรัพย์สินซึ่งเป็นสินสมรสส่วนของตนทั้งหมดให้แก่โจทก์ ย่อมทำให้ทรัพย์สินนั้นหมดสภาพจากการเป็นสินสมรสและตกเป็นสินส่วนตัวของโจทก์ และสัญญานี้เป็นสัญญาระหว่างสมรสที่สมบูรณ์ใช้บังคับกันได้ เมื่อจำเลยยกทรัพย์สินให้แก่โจทก์และทรัพย์สินนั้นตกเป็นสินส่วนตัวของโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1471(3)แล้ว จำเลยก็ไม่มีสิทธิในทรัพย์สินนั้นต่อไป โจทก์จำเลยหย่ากัน โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากทรัพย์สินดังกล่าวได้
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1471(3) ที่บัญญัติให้ทรัพย์สินที่สามีภริยาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาระหว่างสมรสโดยการให้โดยเสน่หาเป็นสินส่วนตัวนั้น มิได้กำหนดให้ใช้บังคับแต่เฉพาะกรณีที่บุคคลภายนอกเป็นผู้ยกทรัพย์สินให้เท่านั้น แต่ได้รวมถึงกรณีที่สามีภริยายกทรัพย์สินให้แก่กันในระหว่างสมรสด้วย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2021/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หลักฐานการชำระหนี้ต้องลงลายมือชื่อผู้ให้ยืม เอกสารการคิดบัญชีระหว่างคู่สมรสไม่ผูกมัดผู้ให้ยืม
เอกสารที่จำเลยอ้างว่าเป็นหลักฐานการใช้เงิน โจทก์มิได้ทำขึ้นและมิได้ลงลายมือชื่อรับรู้ จำนวนเงินก็ไม่ตรงตามที่โจทก์ฟ้องทั้งไม่มีข้อความตอนใด กล่าวพาดพิง ถึงตัวโจทก์ เอกสารดังกล่าวเป็นเพียงเอกสารการคิดบัญชีระหว่างภริยาโจทก์กับจำเลยเท่านั้น ไม่มีความตอนใด ที่แสดงว่าภริยาโจทก์กระทำในนามของโจทก์หรือเป็นตัวแทนของโจทก์ เอกสารดังกล่าวจึงไม่เป็นหลักฐานการชำระหนี้ที่ลงลายมือชื่อโจทก์ผู้ให้ยืมตามความหมายแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 653วรรคสอง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 577/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องหย่า: เหตุหย่าจากการกระทำของคู่สมรส การแยกกันอยู่ และการสืบพยานนอกฟ้อง
โจทก์จำเลยเป็นสามีภรรยากัน โจทก์แยกไปอยู่กับมารดาของโจทก์โดยยกทรัพย์สินและบ้านให้จำเลยทั้งหมด ปล่อยให้จำเลยอยู่ที่บ้านดังกล่าวกับบุตรตามลำพัง โจทก์มิได้เคยส่งเสียอุปการะเลี้ยงดูเยี่ยงสามีภรรยาและบิดามารดากับบุตรที่ดินที่ปลูกบ้านเป็นของบุคคลอื่นซึ่งต้องการที่ดินคืน โจทก์มิได้ไปมาหาสู่จำเลย การที่จำเลยขายบ้านหลังนี้ไปโดยพลการมิได้ปรึกษาหารือโจทก์ โดยจำเลยมีเหตุจำเป็นดังกล่าว และเป็นทรัพย์สินที่โจทก์ยกให้แก่จำเลยแล้ว จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยกระทำตนเป็นปฏิปักษ์ต่อการที่เป็นสามีหรือภรรยากันอย่างร้ายแรง โจทก์จะยกเอาเป็นข้ออ้างเป็นเหตุในการฟ้องหย่าจำเลยหาได้ไม่
โจทก์บรรยายฟ้องเพียงว่าโจทก์ทนอยู่กับจำเลย ต่อมาจนถึงปี พ.ศ. 2511 โจทก์จึงแยกไปอยู่ที่อื่นโดยยอมยกทรัพย์สินและบ้านเรือนทั้งหมดให้จำเลย แล้วมิได้ติดต่ออยู่กินกันอีกเลย และจากนั้นโจทก์บรรยายฟ้องถึงจำเลยนำบ้านไปขายโดยพลการ โจทก์มิได้บรรยายฟ้องเลยว่า หลังจากแยกกันอยู่แล้วจำเลยตามไปรังควานโจทก์ ฉะนั้นการที่โจทก์นำสืบว่าจำเลยไปทำลายประตูบ้านโจทก์และเอาอุจจาระไปป้ายที่นอนของโจทก์ จึงเป็นการสืบนอกฟ้อง ศาลฎีกานำมาวินิจฉัยเป็นเหตุหย่าให้โจทก์ไม่ได้
โจทก์เป็นคนชอบดื่มสุราและเจ้าชู้ การที่จำเลยรู้เรื่องราวจากภายนอกแล้วนำมาต่อว่าโจทก์เป็นครั้งคราว จริงบ้างไม่จริงบ้างแล้วทะเลาะกัน เช่นนี้โจทก์มีส่วนเป็นผู้ก่อเหตุอยู่บ้าง การที่จำเลยต่อว่าถึงเรื่องนี้จึงเป็นเรื่องธรรมดาที่ภรรยามีความรักสามี โจทก์อยู่ในฐานะที่จะป้องกันเหตุเหล่านี้มิให้เกิดขึ้นได้โดยการละเว้นความประพฤติดังกล่าว ก็ไม่มีเหตุที่จำเลยจะหึงหวงโจทก์ต้องทะเลาะกันดังนั้นการกระทำของจำเลยยังไม่ถึงขั้นเป็นผู้ประพฤติชั่วอันทำให้โจทก์ได้รับความอับอายขายหน้าอย่างร้ายแรง หรือได้รับความดูถูกเกลียดชังหรือได้รับความเดือดร้อนจนเป็นเหตุให้ฟ้องหย่าจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3838/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคู่สมรสจดทะเบียนหย่าหลังทำหนังสือยินยอมตามกฎหมาย
สามีภรรยาทำหนังสือยินยอมหย่าขาดจากการเป็นสามีภรรยากัน ไว้ ้ถูกต้องครบถ้วนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1514 ที่ได้ตรวจชำระใหม่แล้วเมื่อสามีไม่ยอมไปจดทะเบียนหย่าให้ ภรรยาก็มีสิทธินำคดีมาฟ้องขอให้บังคับสามีไปจดทะเบียนหย่าได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3288/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เหตุหย่า: คู่สมรสรู้เห็นการกระทำผิดกฎหมายของอีกฝ่าย ศาลไม่รับฟังเป็นเหตุหย่า
ระหว่างจำเลยอยู่กินเป็นสามีภริยากับโจทก์ จำเลยมีอาชีพผิดกฎหมายค้ายาเสพติด โจทก์รู้เห็นและร่วมกระทำด้วยโจทก์ให้ญาติของโจทก์นำเฮโรอีนมาจากภาคเหนือ จนญาติของโจทก์และจำเลยถูกเจ้าพนักงานตำรวจจับ ศาลพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย 20 ปี ถือได้ว่าโจทก์ได้ยินยอมหรือรู้เห็น เป็นใจในการกระทำของจำเลยที่เป็นเหตุหย่านั้น โจทก์จะ ยกขึ้นเป็นเหตุฟ้องหย่าจำเลยหาได้ไม่
of 20