พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,092 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2960/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างพนักงานโดยคำสั่งถอดถอนกรรมการของ ธปท. ศาลตัดสินให้จ่ายค่าชดเชยและสินจ้าง
แม้ธนาคารแห่งประเทศไทยจะมีอำนาจในการที่จะสั่งถอดถอนกรรมการ ผู้จัดการหรือบุคคลซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของบริษัทที่ประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์หรือธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ใดภายใต้เงื่อนไข พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ. 2522 มาตรา 57 ทวิ ที่แก้ไขแล้วก็ตาม แต่คำสั่งของธนาคารแห่งประเทศไทยที่ให้ถอดถอนโจทก์ออกจากการเป็นกรรมการผู้จัดการของบริษัทเงินทุนมหาทุน จำกัด เป็นการกระทำที่ไม่ให้โจทก์ทำงานต่อไป จึงเป็นการเลิกจ้างโจทก์ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 วรรคสอง และคำสั่งธนาคารแห่งประเทศไทยที่มีผลเป็นการเลิกจ้างโจทก์ดังกล่าวถือว่าเป็นมิตของที่ประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทเงินทุนมหาทุน จำกัด ตามวรรคท้ายของบทบัญญัติข้างต้นด้วย คำสั่งของธนาคารแห่งประเทศไทยจึงมีผลเป็นว่าบริษัทเงินทุนมหาทุน จำกัด ผู้เป็นนายจ้างเลิกจ้างโจทก์ผู้เป็นลูกจ้าง
การที่จำเลยยกปัญหาขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ซึ่งยังมิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลแรงงานกลาง เป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31
การที่จำเลยยกปัญหาขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ซึ่งยังมิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลแรงงานกลาง เป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2942/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับระยะเวลาฟ้องคดีแรงงานตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน ต้องใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และการวางเงินค่าชดเชยต้องรวมดอกเบี้ย
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ไม่มีบทบัญญัติเกี่ยวกับวิธีการนับระยะเวลาไว้เป็นพิเศษ การนับระยะเวลาตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 จึงต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 1ลักษณะ 5 เรื่องระยะเวลาอันเป็นบทบัญญัติทั่วไป
โจทก์ได้รับทราบคำสั่งของจำเลยในฐานะพนักงานตรวจแรงงานในวันที่ 8กุมภาพันธ์ 2544 โจทก์มีสิทธินำคดีไปสู่ศาลภายใน 30 วัน นับแต่วันทราบคำสั่งโดยต้องเริ่มนับระยะเวลาดังกล่าวตั้งแต่วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2544 เป็นต้นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/3 วรรคสอง และจะครบกำหนด 30 วัน ในวันที่ 10 มีนาคม 2544 ซึ่งตรงกับวันเสาร์อันเป็นวันหยุดราชการ โจทก์จึงมีสิทธินำคดีขึ้นสู่ศาลภายในวันที่ 12 มีนาคม 2544 อันเป็นวันเปิดราชการในวันแรกได้ตามมาตรา 193/8 การที่โจทก์ฟ้องคดีต่อศาลแรงงานกลางในวันที่ 12มีนาคม 2544 ถือว่าโจทก์นำคดีไปสู่ศาลภายในระยะเวลาที่พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 125 วรรคหนึ่ง กำหนดไว้แล้ว
จำเลยในฐานะพนักงานตรวจแรงงานมีคำสั่งให้โจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างจ่ายค่าชดเชยและดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ให้แก่จำเลยร่วมซึ่งเป็นลูกจ้างภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้ทราบคำสั่ง ถ้าโจทก์ประสงค์จะนำคดีไปสู่ศาลโจทก์จะต้องนำต้นเงินค่าชดเชยและดอกเบี้ยถึงวันฟ้องไปวางต่อศาลแรงงานกลางตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 125 วรรคสาม การที่โจทก์นำคดีมาสู่ศาลเพื่อขอให้เพิกถอนคำสั่งของจำเลยย่อมหมายความรวมทั้งคำสั่งที่โจทก์จ่ายค่าชดเชยและดอกเบี้ยในค่าชดเชยแก่จำเลยร่วม ทั้งการวินิจฉัยในส่วนเรื่องค่าชดเชยดังกล่าวก็มีผลกระทบโดยตรงถึงดอกเบี้ยของค่าชดเชยด้วย โจทก์จึงไม่อาจที่จะอ้างว่าโจทก์คงติดใจโต้แย้งคำสั่งของจำเลยเฉพาะเรื่องเงินค่าชดเชยเท่านั้น ไม่ติดใจโต้แย้งในเรื่องดอกเบี้ยหาได้ไม่ เมื่อโจทก์นำแต่เงินค่าชดเชย 97,800 บาท มาวางโดยมิได้นำดอกเบี้ยในค่าชดเชยถึงวันฟ้องมาวางต่อศาลด้วย โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งของจำเลย
โจทก์ได้รับทราบคำสั่งของจำเลยในฐานะพนักงานตรวจแรงงานในวันที่ 8กุมภาพันธ์ 2544 โจทก์มีสิทธินำคดีไปสู่ศาลภายใน 30 วัน นับแต่วันทราบคำสั่งโดยต้องเริ่มนับระยะเวลาดังกล่าวตั้งแต่วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2544 เป็นต้นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/3 วรรคสอง และจะครบกำหนด 30 วัน ในวันที่ 10 มีนาคม 2544 ซึ่งตรงกับวันเสาร์อันเป็นวันหยุดราชการ โจทก์จึงมีสิทธินำคดีขึ้นสู่ศาลภายในวันที่ 12 มีนาคม 2544 อันเป็นวันเปิดราชการในวันแรกได้ตามมาตรา 193/8 การที่โจทก์ฟ้องคดีต่อศาลแรงงานกลางในวันที่ 12มีนาคม 2544 ถือว่าโจทก์นำคดีไปสู่ศาลภายในระยะเวลาที่พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 125 วรรคหนึ่ง กำหนดไว้แล้ว
จำเลยในฐานะพนักงานตรวจแรงงานมีคำสั่งให้โจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างจ่ายค่าชดเชยและดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ให้แก่จำเลยร่วมซึ่งเป็นลูกจ้างภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้ทราบคำสั่ง ถ้าโจทก์ประสงค์จะนำคดีไปสู่ศาลโจทก์จะต้องนำต้นเงินค่าชดเชยและดอกเบี้ยถึงวันฟ้องไปวางต่อศาลแรงงานกลางตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 125 วรรคสาม การที่โจทก์นำคดีมาสู่ศาลเพื่อขอให้เพิกถอนคำสั่งของจำเลยย่อมหมายความรวมทั้งคำสั่งที่โจทก์จ่ายค่าชดเชยและดอกเบี้ยในค่าชดเชยแก่จำเลยร่วม ทั้งการวินิจฉัยในส่วนเรื่องค่าชดเชยดังกล่าวก็มีผลกระทบโดยตรงถึงดอกเบี้ยของค่าชดเชยด้วย โจทก์จึงไม่อาจที่จะอ้างว่าโจทก์คงติดใจโต้แย้งคำสั่งของจำเลยเฉพาะเรื่องเงินค่าชดเชยเท่านั้น ไม่ติดใจโต้แย้งในเรื่องดอกเบี้ยหาได้ไม่ เมื่อโจทก์นำแต่เงินค่าชดเชย 97,800 บาท มาวางโดยมิได้นำดอกเบี้ยในค่าชดเชยถึงวันฟ้องมาวางต่อศาลด้วย โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2782/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สหกรณ์แสวงหากำไร: การบังคับใช้กฎหมายคุ้มครองแรงงานกรณีจ้างงานเกิน 2 ปี และสิทธิค่าชดเชย
สหกรณ์จำเลยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมฐานะทางเศรษฐกิจของสมาชิกโดยร่วมกันดำเนินธุรกิจเพื่อประโยชน์ด้วยกัน โดยสมาชิกในฐานะผู้ถือหุ้นร่วมลงหุ้นและรับฝากเงินจากสมาชิกแล้วนำมาให้สมาชิกกู้โดยคิดดอกเบี้ย หากมีเงินทุนเหลือก็จะนำไปให้สหกรณ์อื่นกู้ จำเลยมีรายได้เป็นค่าธรรมเนียมจากการเข้าเป็นสมาชิกและดอกเบี้ยจากการให้สมาชิกและสหกรณ์อื่นกู้ยืม เมื่อมีกำไรก็จัดสรรเป็นเงินทุนสำรอง ค่าบำรุงสันนิบาตสหกรณ์และจ่ายเป็นผลตอบแทนให้แก่สมาชิกในรูปเงินปันผลและเงินเฉลี่ยคืนกับจ่ายเป็นเงินโบนัสแก่กรรมการและเจ้าหน้าที่อันเป็นการแสวงหากำไรในทางเศรษฐกิจจำเลยจึงมิใช่นายจ้างซึ่งจ้างลูกจ้างทำงานที่มิได้แสวงหากำไรในทางเศรษฐกิจ ตามข้อ (3) แห่งกฎกระทรวงฯ ซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯจึงต้องนำมาตรา 118 แห่งพระราชบัญญัตินี้ มาใช้บังคับแก่จำเลย เมื่องานที่จำเลยจ้างโจทก์มิใช่การจ้างในโครงการเฉพาะที่มิใช่ปกติทางธุรกิจ มิใช่งานตามฤดูกาล แต่เป็นการทำงานตามปกติธุรกิจของจำเลย แม้การจ้างงานระหว่างโจทก์กับจำเลยจะเป็นการจ้างงานที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนและเลิกจ้างตามกำหนดระยะเวลานั้นโจทก์ก็มิใช่ลูกจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 118 วรรคสามและวรรคสี่ เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์ซึ่งทำงานมาแล้ว 2 ปี จึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้โจทก์เท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้ายเก้าสิบวันตามมาตรา 118(2) พร้อมดอกเบี้ย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2610/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละทิ้งหน้าที่งานเพื่อทำธุรกิจส่วนตัวถือเป็นเหตุให้จำเลยเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
โจทก์ยื่นใบลาขออนุญาตหยุดงานเป็นเวลา 4 วัน ติดต่อกัน แต่เมื่อจำเลยไม่อนุญาต โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องมาทำงานให้แก่จำเลยในวันและเวลาทำงานปกติตามที่จำเลยมอบหมาย เมื่อโจทก์ไม่มาทำงานแต่กลับเดินทางไปประเทศกัมพูชาเพื่อหาช่องทางทำธุรกิจซึ่งเป็นเหตุส่วนตัวของโจทก์ จึงถือว่าโจทก์ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควร จำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2610/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลาหยุดโดยไม่ได้รับอนุญาตและการละทิ้งหน้าที่ของลูกจ้างถือเป็นเหตุให้เลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
โจทก์เป็นลูกจ้างจำเลยมีหน้าที่ทำงานในวันทำงานและเวลาทำงานปกติตามที่จำเลยมอบหมาย แม้โจทก์จะยื่นใบลาต่อจำเลยขออนุญาตหยุดงานในวันที่ 9 ถึง11 ตุลาคม 2543 แต่เมื่อจำเลยไม่อนุญาตโจทก์จึงมีหน้าที่ต้องมาทำงานในวันและเวลาทำงานดังกล่าว เมื่อโจทก์ไม่มาทำงาน แต่กลับเดินทางไปประเทศกัมพูชา เพื่อหาช่องทางทำธุรกิจซึ่งเป็นเหตุส่วนตัวของโจทก์ จึงถือว่าโจทก์ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควรตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานพ.ศ. 2541 มาตรา 119(5) จำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2556-2557/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างรายเดือน การกระทำทุจริตต่อหน้าที่ต้องพิจารณาตามความหมายของพจนานุกรมและข้อเท็จจริงโดยรวม
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 119 (1) มิได้ให้ความหมายคำว่า "ทุจริต" ไว้ และมิได้ใช้คำว่า "โดยทุจริต"ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 1 (1) จึงต้องให้ความหมายคำว่า "ทุจริต" ตามพจนานุกรมคือ ความประพฤติชั่ว โกง ไม่ซื่อตรง
โจทก์ทั้งสองเป็นลูกจ้างรายเดือน ลักษณะการจ้างมิได้ถือเอาการทำงานในแต่ละวันเป็นเกณฑ์ในการจ่ายค่าจ้าง การที่โจทก์ทั้งสองละทิ้งหน้าที่ไปเล่นเกมส์คอมพิวเตอร์ในวันเกิดเหตุระหว่างเวลาทำงานเพียงชั่วขณะไม่ทำให้โจทก์ทั้งสองได้รับประโยชน์เพิ่ม แม้การกระทำของโจทก์ทั้งสองเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงการทำงานไปบ้าง และเป็นผลให้จำเลยต้องจ่ายค่าจ้างโดยไม่ได้รับประโยชน์จากการทำงานเป็นการตอบแทน ก็ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ทั้งสองกระทำทุจริตต่อหน้าที่ หรือจงใจทำให้จำเลยได้รับความเสียหาย
โจทก์ทั้งสองไม่เคยถูกตักเตือนมาก่อน ทั้งข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย ก็มิได้ระบุว่า การละทิ้งหน้าที่หรือหลีกเลี่ยงการทำงานเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานกรณีร้ายแรง จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ทั้งสองฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือระเบียบหรือคำสั่งของนายจ้างกรณีร้ายแรง การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งสอง จำเลยต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์ทั้งสอง
โจทก์ทั้งสองเป็นลูกจ้างรายเดือน ลักษณะการจ้างมิได้ถือเอาการทำงานในแต่ละวันเป็นเกณฑ์ในการจ่ายค่าจ้าง การที่โจทก์ทั้งสองละทิ้งหน้าที่ไปเล่นเกมส์คอมพิวเตอร์ในวันเกิดเหตุระหว่างเวลาทำงานเพียงชั่วขณะไม่ทำให้โจทก์ทั้งสองได้รับประโยชน์เพิ่ม แม้การกระทำของโจทก์ทั้งสองเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงการทำงานไปบ้าง และเป็นผลให้จำเลยต้องจ่ายค่าจ้างโดยไม่ได้รับประโยชน์จากการทำงานเป็นการตอบแทน ก็ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ทั้งสองกระทำทุจริตต่อหน้าที่ หรือจงใจทำให้จำเลยได้รับความเสียหาย
โจทก์ทั้งสองไม่เคยถูกตักเตือนมาก่อน ทั้งข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย ก็มิได้ระบุว่า การละทิ้งหน้าที่หรือหลีกเลี่ยงการทำงานเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานกรณีร้ายแรง จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ทั้งสองฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือระเบียบหรือคำสั่งของนายจ้างกรณีร้ายแรง การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งสอง จำเลยต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์ทั้งสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2556-2557/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้าง: การกระทำทุจริตต่อหน้าที่ต้องประเมินตามพจนานุกรมและความเสียหายที่เกิดขึ้น
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 119(1) มิได้ให้ความหมายคำว่า "ทุจริต" ไว้ และมิได้ใช้คำว่า "โดยทุจริต" ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญามาตรา 1(1) จึงต้องให้ความหมายคำว่า "ทุจริต" ตามพจนานุกรมคือ ความประพฤติชั่วโกง ไม่ซื่อตรง
โจทก์ทั้งสองเป็นลูกจ้างรายเดือน ลักษณะการจ้างมิได้ถือเอาการทำงานในแต่ละวันเป็นเกณฑ์ในการจ่ายค่าจ้างการที่โจทก์ทั้งสองละทิ้งหน้าที่ไปเล่นเกมส์คอมพิวเตอร์ในวันเกิดเหตุระหว่างเวลาทำงานเพียงชั่วขณะไม่ทำให้โจทก์ทั้งสองได้รับประโยชน์เพิ่ม แม้การกระทำของโจทก์ทั้งสองเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงการทำงานไปบ้าง และเป็นผลให้จำเลยต้องจ่ายค่าจ้างโดยไม่ได้รับประโยชน์จากการทำงานเป็นการตอบแทนก็ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ทั้งสองกระทำทุจริตต่อหน้าที่ หรือจงใจทำให้จำเลยได้รับความเสียหาย
โจทก์ทั้งสองไม่เคยถูกตักเตือนมาก่อน ทั้งข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยก็มิได้ระบุว่า การละทิ้งหน้าที่หรือหลีกเลี่ยงการทำงานเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานกรณีร้ายแรง จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ทั้งสองฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือระเบียบหรือคำสั่งของนายจ้างกรณีร้ายแรง การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งสอง จำเลยต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์ทั้งสอง
โจทก์ทั้งสองเป็นลูกจ้างรายเดือน ลักษณะการจ้างมิได้ถือเอาการทำงานในแต่ละวันเป็นเกณฑ์ในการจ่ายค่าจ้างการที่โจทก์ทั้งสองละทิ้งหน้าที่ไปเล่นเกมส์คอมพิวเตอร์ในวันเกิดเหตุระหว่างเวลาทำงานเพียงชั่วขณะไม่ทำให้โจทก์ทั้งสองได้รับประโยชน์เพิ่ม แม้การกระทำของโจทก์ทั้งสองเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงการทำงานไปบ้าง และเป็นผลให้จำเลยต้องจ่ายค่าจ้างโดยไม่ได้รับประโยชน์จากการทำงานเป็นการตอบแทนก็ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ทั้งสองกระทำทุจริตต่อหน้าที่ หรือจงใจทำให้จำเลยได้รับความเสียหาย
โจทก์ทั้งสองไม่เคยถูกตักเตือนมาก่อน ทั้งข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยก็มิได้ระบุว่า การละทิ้งหน้าที่หรือหลีกเลี่ยงการทำงานเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานกรณีร้ายแรง จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ทั้งสองฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือระเบียบหรือคำสั่งของนายจ้างกรณีร้ายแรง การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งสอง จำเลยต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์ทั้งสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2556-2557/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างและการจ่ายค่าชดเชย กรณีลูกจ้างละทิ้งหน้าที่เล่นเกม คอมพิวเตอร์ระหว่างทำงาน ไม่ถือเป็นการทุจริตหรือฝ่าฝืนร้ายแรง
ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 119(1) นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างในกรณีลูกจ้างทุจริตต่อหน้าที่โดยพระราชบัญญัติดังกล่าวมิได้ให้ความหมายคำว่า "ทุจริต" ไว้และมิได้ใช้คำว่า "โดยทุจริต" ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 1(1) จึงต้องใช้ความหมายคำว่า"ทุจริต" ตามพจนานุกรมคือ ความประพฤติชั่ว โกง ไม่ซื่อตรง
โจทก์เป็นลูกจ้างรายเดือน ลักษณะการจ้างมิได้ถือเอาการทำงานแต่ละวันเป็นเกณฑ์ในการจ่ายค่าจ้าง การที่โจทก์ละทิ้งหน้าที่ไปเล่นเกมส์คอมพิวเตอร์ระหว่างเวลาทำงานเพียงชั่วขณะไม่ทำให้โจทก์ได้รับประโยชน์เพิ่ม แม้การกระทำของโจทก์เป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงการทำงานไปบ้างและเป็นผลให้จำเลยต้องจ่ายค่าจ้างโดยไม่ได้รับประโยชน์จากการทำงานเป็นการตอบแทน ก็ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์กระทำการทุจริตต่อหน้าที่ หรือจงใจทำให้จำเลยได้รับความเสียหายทั้งข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย ก็มิได้ระบุว่าการละทิ้งหน้าที่หรือหลีกเลี่ยงการทำงานเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานกรณีร้ายแรง จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือระเบียบหรือคำสั่งของนายจ้างกรณีร้ายแรง การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์จำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้โจทก์
โจทก์เป็นลูกจ้างรายเดือน ลักษณะการจ้างมิได้ถือเอาการทำงานแต่ละวันเป็นเกณฑ์ในการจ่ายค่าจ้าง การที่โจทก์ละทิ้งหน้าที่ไปเล่นเกมส์คอมพิวเตอร์ระหว่างเวลาทำงานเพียงชั่วขณะไม่ทำให้โจทก์ได้รับประโยชน์เพิ่ม แม้การกระทำของโจทก์เป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงการทำงานไปบ้างและเป็นผลให้จำเลยต้องจ่ายค่าจ้างโดยไม่ได้รับประโยชน์จากการทำงานเป็นการตอบแทน ก็ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์กระทำการทุจริตต่อหน้าที่ หรือจงใจทำให้จำเลยได้รับความเสียหายทั้งข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย ก็มิได้ระบุว่าการละทิ้งหน้าที่หรือหลีกเลี่ยงการทำงานเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานกรณีร้ายแรง จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือระเบียบหรือคำสั่งของนายจ้างกรณีร้ายแรง การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์จำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 239/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลูกจ้างตั้งบริษัทคู่แข่ง นายจ้างมีสิทธิเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างของนายจ้าง มีตำแหน่งเป็นที่ปรึกษาอาวุโสของนายจ้าง ทำการตั้งบริษัทซึ่งมีวัตถุประสงค์เช่นเดียวกับนายจ้าง และมีลักษณะเป็นการแข่งขันกับกิจการของนายจ้าง ซึ่งบริษัทดังกล่าวย่อมจะต้องดำเนินกิจการให้บริการแก่ลูกค้ากลุ่มเดียวกันกับลูกค้าของนายจ้าง ลูกค้าอาจจะเลือกการใช้บริการการให้คำปรึกษาของบริษัทที่โจทก์ก่อตั้งขึ้น เมื่อเป็นเช่นนี้ย่อมจะต้องกระทบถึงรายได้ของนายจ้าง และทำให้นายจ้างเสียหาย แม้จะไม่ปรากฏว่าบริษัทที่โจทก์ก่อตั้งได้แย่งลูกค้าของนายจ้างหรือมีลูกค้าไปใช้บริการของบริษัทที่โจทก์ตั้งแล้วก็ตาม ก็ต้องถือว่าการที่โจทก์ตั้งบริษัทในลักษณะดังกล่าวเป็นการที่โจทก์จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหายแล้ว นายจ้างจึงมีสิทธิเลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยและค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 119 (2) และมาตรา 67 แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 239/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลูกจ้างตั้งบริษัทคู่แข่ง ทำให้นายจ้างเสียหาย มีสิทธิเลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
โจทก์เป็นลูกจ้างของบริษัท อ. นายจ้าง มีตำแหน่งเป็นที่ปรึกษาอาวุโสแต่ทำการตั้งบริษัทซึ่งมีวัตถุประสงค์เช่นเดียวกับนายจ้างและมีลักษณะเป็นการแข่งขันกับกิจการของนายจ้าง ซึ่งบริษัทโจทก์ดังกล่าวย่อมจะต้องดำเนินกิจการให้บริการแก่ลูกค้ากลุ่มเดียวกับลูกค้าของนายจ้าง ลูกค้าอาจจะเลือกใช้บริการการให้คำปรึกษาของบริษัทโจทก์ได้ย่อมเป็นการกระทบถึงรายได้ของนายจ้างและทำให้นายจ้างเสียหาย แม้จะไม่ปรากฏว่าบริษัทโจทก์ได้แย่งลูกค้านายจ้างหรือมีลูกค้าไปใช้บริการของบริษัทโจทก์ก็ตาม ก็ต้องถือว่าการที่โจทก์ตั้งบริษัทในลักษณะดังกล่าวเป็นการจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหายแล้ว นายจ้างจึงมีสิทธิเลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยและค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 119(2)และมาตรา 67 แก่โจทก์ แม้ พ. ผู้ลงนามในหนังสือเลิกจ้างโจทก์ในฐานะผู้จัดการทั่วไปของบริษัทนายจ้าง และ จ. ผู้จัดการฝ่ายขายและบริการธุรกิจของบริษัทนายจ้างจะได้ร่วมกันตั้งบริษัทอื่นซึ่งมีกิจการอันมีลักษณะเป็นการแข่งขันกับกิจการของนายจ้างเช่นเดียวกับโจทก์ก็ตาม ก็เป็นเรื่องที่นายจ้างจะไปว่ากล่าวเอาโทษแก่บุคคลทั้งสองเอง หามีผลทำให้การกระทำของโจทก์ไม่เป็นการจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหายไม่ ฉะนั้น การที่จำเลยในฐานะพนักงานตรวจแรงงานมีคำสั่งให้บริษัท อ. เลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีแก่โจทก์นั้น จึงชอบด้วยกฎหมายแล้วไม่มีเหตุที่จะเพิกถอนคำสั่งดังกล่าว