คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ค่านายหน้า

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 78 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7891/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่านายหน้าจากการยึดรถถือเป็นค่าจ้าง นายจ้างต้องจ่ายดอกเบี้ยเมื่อผิดนัด
ค่านายหน้าในการยึดรถเป็นเงินที่นายจ้างตกลงจ่ายให้แก่ลูกจ้าง โดยคำนวณจากจำนวนรถที่ลูกจ้างยึดได้ในอัตราแน่นอนคันละ 10,000 บาท นอกเหนือจากค่าจ้างรายเดือนอัตราเดือนละ 9,500 บาท ที่กำหนดจ่ายให้ทุกวันที่ 25 ของเดือน จึงเป็นการจ่ายให้เป็นค่าตอบแทนในการทำงานคำนวณตามผลงานที่ลูกจ้างทำได้ในเวลาปกติของวันทำงาน ถือเป็นค่าจ้างตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 5 ซึ่งนายจ้างต้องเสียดอกเบี้ยให้แก่ลูกจ้างในระหว่างเวลาผิดนัดร้อยละสิบห้าต่อปี ตามมาตรา 9 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7604/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทเรื่องค่าตอบแทนจากการซื้อขายที่ดิน: ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าไม่ใช่ค่านายหน้า แต่เป็นส่วนกำไรจากการค้า
ทางนำสืบของโจทก์และคำขอท้ายฟ้องปรากฏว่าเงินจำนวนที่โจทก์เรียกร้องไม่ใช่เงินส่วนที่ต่ำกว่าไร่ละ 65,000 บาท ตามที่อ้างว่าเป็นข้อตกลงให้ค่าบำเหน็จนายหน้าหากแต่เป็นเงินที่โจทก์อ้างว่าโจทก์กับพวกซื้อที่ดินพิพาทมาในราคาไร่ละ 50,000 บาท แล้วนำมาเสนอขายแก่ฝ่ายจำเลยในราคาไร่ละ 60,000 บาท ส่วนที่เกินไร่ละ 10,000 บาท ตกเป็นของโจทก์กับพวก อันมีลักษณะเป็นการหากำไรจากการซื้อขายที่ดินตามปกติ และเมื่อพิจารณาจากหนังสือทวงถามเงินและสรุปรายการซื้อขายที่ดินซึ่งโจทก์เป็นคนทำเอกสารดังกล่าวเองก็ยิ่งปรากฏชัดเจนว่า เป็นเรื่องที่โจทก์กับพวกซื้อที่ดินมาขายให้แก่ฝ่ายจำเลยจริง โดยเอากำไรจากราคาที่ดินที่โจทก์ซื้อมาหักออกจากราคาที่ตั้งขายแก่ฝ่ายจำเลยในราคาไร่ละ 60,000 บาท โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรายของเจ้าของที่ดินชื่อ ข. ที่ปรากฏในลำดับที่ 6 โจทก์ไปซื้อที่ดินรายนี้มาในราคาไร่ละ 100,000 บาท ขายให้แก่ฝ่ายจำเลยราคาไร่ละ 60,000 บาท โดยโจทก์จ่ายเงินเพิ่มเอง อันเป็นผลขาดทุนในการซื้อขายที่ดินรายนี้ ทำให้เห็นเจตนาของทั้งสองฝ่ายว่าการดำเนินการเกี่ยวกับที่ดินทุกแปลงรวมทั้งแปลงพิพาทเป็นเรื่องการทำธุรกิจซื้อขายที่ดินกัน หากโจทก์ซื้อที่ดินมาได้ในราคาถูกเมื่อนำไปขายในราคาที่ตกลงกัน โจทก์ก็มีกำไรมาก หากโจทก์ซื้อที่ดินมาได้ในราคาแพงก็จะมีกำไรน้อย และโจทก์อาจขาดทุนได้หากซื้อที่ดินมาในราคาสูงกว่าที่ตกลงขายให้แก่ฝ่ายจำเลย ลักษณะการทำธุรกิจกันดังกล่าวจึงมิใช่เป็นการชี้ช่องให้ฝ่ายจำเลยได้เข้าทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทเพื่อเอาค่าบำเหน็จนายหน้าตาม ป.พ.พ. มาตรา 845 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13825/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำนองที่ดินเพื่อค่านายหน้าจัดส่งคนงานไปทำงานต่างประเทศ ชำระหนี้แล้ว ศาลยืนหยัดคำพิพากษา
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกู้ยืมเงินจากโจทก์เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2542 และจำเลยได้รับเงินกู้ยืมไปครบถ้วนแล้ว จำเลยให้การว่าจำเลยไม่เคยกู้ยืมเงินจากโจทก์และไม่เคยได้รับเงินไปจากโจทก์ จำเลยทำสัญญาจำนองที่ดินเพื่อประกันการทำสัญญานายหน้าจัดส่งคนงานไปทำงานที่ไต้หวัน เท่ากับจำเลยให้การว่าสัญญากู้ยืมเงินตามคำฟ้องซึ่งเป็นการยืมใช้สิ้นเปลืองไม่สมบูรณ์ เพราะไม่มีการส่งมอบทรัพย์สินที่ยืมตาม ป.พ.พ. มาตรา 650 จำเลยจึงไม่ต้องห้ามมิให้นำสืบพยานบุคคลว่าสัญญากู้ยืมเงินตามคำฟ้องไม่สมบูรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94
ที่จำเลยให้การและนำสืบพยานบุคคลว่าสัญญาจำนองดังกล่าวเป็นประกันการชำระหนี้ตามสัญญานายหน้าส่งคนไปทำงานที่ดินแดนไต้หวันและจำเลยได้ชำระหนี้หมดแล้วนั้น ก็เป็นการนำสืบถึงที่มาแห่งมูลหนี้จำนอง หาใช่การนำสืบพยานบุคคลแก้ไขเปลี่ยนแปลงเอกสารอันจะต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 ไม่ และการนำสืบพยานบุคคลว่าจำเลยได้ชำระหนี้ตามสัญญานายหน้าส่งคนไปทำงานที่ต่างประเทศก็มิใช่การนำสืบถึงการใช้เงินกู้ยืมที่มีหลักฐานเป็นหนังสือ กรณีจึงไม่อยู่ในบังคับมาตรา 653 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 434/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าธรรมเนียม/ค่านายหน้าเช่าที่ดิน ไม่ใช่รายจ่ายลงทุน หักลดหย่อนได้ทั้งจำนวนในรอบบัญชี
รายจ่ายค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนการเช่าที่ดิน และค่านายหน้าในการติดต่อเช่าที่ดินเป็นรายจ่ายเพื่อหารายได้จากการให้เช่าที่ดินและเป็นรายจ่ายในการตอบแทนการก่อให้เกิดสัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับผู้เช่า ไม่ใช่รายจ่ายที่จ่ายไปแล้วบังเกิดเป็นทุนรอนของโจทก์ขึ้นมา รายจ่ายทั้งสองรายการดังกล่าวจึงไม่ใช่รายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุนตามมาตรา 65 ตรี (5) แห่ง ป.รัษฎากร ฉะนั้นรายจ่ายทั้งสองรายการดังกล่าวเป็นรายจ่ายของรอบระยะเวลาบัญชีใดย่อมถือเป็นรายจ่ายของรอบระยะเวลาบัญชีนั้น จึงต้องนำมาหักเป็นรายจ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีนั้นทั้งหมด มิใช่นำมาเฉลี่ยเป็นรายจ่ายตามสัดส่วนของรายได้ที่เกิดขึ้นในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 434/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ รายจ่ายค่าธรรมเนียม/ค่านายหน้าเช่าที่ดิน ไม่ใช่รายจ่ายลงทุน หักเป็นค่าใช้จ่ายได้ทันที
รายจ่ายค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนการเช่าที่ดิน เป็นรายจ่ายเพื่อหารายได้จากการให้เช่าที่ดินไม่ใช่รายจ่ายที่จ่ายไปแล้วบังเกิดเป็นทุนรวมของบริษัทขึ้นมา ดังนั้น ค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนการเช่าที่ดิน จึงไม่ใช่รายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุนตาม ป.รัษฎากร มาตรา 65 ตรี (5)
ค่านายหน้าเป็นรายจ่ายตอบแทนในการก่อให้เกิดสัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับผู้เช่า จึงเป็นรายจ่ายเพื่อหารายได้จากการให้เช่าที่ดิน ไม่ใช่รายจ่ายที่จ่ายไปแล้ว บังเกิดเป็นทุนรวมของบริษัทขึ้นมาเช่นกัน จึงไม่ใช่รายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุนตาม ป.รัษฎากร มาตรา 65 ตรี (5)
รายจ่ายค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนการเช่าที่ดินและรายจ่ายค่านายหน้าดังกล่าว เป็นรายจ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีใดย่อมถือเป็นรายจ่ายของรอบระยะเวลาบัญชีนั้น จึงต้องนำมาหักเป็นรายจ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีนั้นทั้งหมด มิใช่นำมาเฉลี่ยรายจ่ายตามสัดส่วนของรายได้ที่เกิดขึ้นในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7550/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชี้ช่องการขายที่ดินเปลี่ยนเป็นลงทุน ไม่ถือสำเร็จการขายค่านายหน้า
จำเลยทั้งห้าตกลงมอบหมายให้โจทก์ไปติดต่อขายที่ดินทั้งห้าแปลง โจทก์จึงได้ไปติดต่อขายที่ดินให้แก่ ส. แต่ที่โจทก์นำสืบว่า ส. ไปตรวจดูที่ดินแล้วพอใจ ส. และจำเลยทั้งห้าจึงตกลงทำสัญญาซื้อขายกันที่บ้านของ ส. โดยโจทก์ลงลายมือชื่อเป็นพยานในสัญญาซื้อขายด้วยนั้นไม่น่าเชื่อ เพราะโจทก์ไม่มีหลักฐานสัญญาซื้อขายที่กล่าวอ้างมาแสดง คงมีแต่คำเบิกความลอยๆ เท่านั้น จึงยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ทำงานเสร็จเรียบร้อย หลังจากนั้นโจทก์ยอมรับว่าโจทก์ไม่ได้ติดต่อกับ ส. และจำเลยทั้งห้าเกี่ยวกับเรื่องซื้อขายที่ดินนี้อีก ข้อเท็จจริงจึงเชื่อตามที่จำเลยทั้งห้านำสืบต่อมาโดยมีหลักฐานเป็นพยานเอกสารสนับสนุนว่า อ. บุตรเขยจำเลยที่ 1 เป็นผู้ดำเนินการติดต่อกับ ส. ต่อมา โดย ส. อ้างว่าไม่มีเงินมาซื้อที่ดินทั้งห้าแปลงของจำเลยทั้งห้า แต่ถ้าจะนำที่ดินมาร่วมลงทุนกันและหากำไรมาแบ่งกันก็สามารถทำได้ ข้อตกลงที่ว่าให้นำที่ดินมาร่วมลงทุนและหากำไรมาแบ่งกัน จึงเป็นข้อตกลงและวัตถุประสงค์ใหม่ซึ่งจำเลยทั้งห้าต้องนำไปปรึกษาหาหรือกันและตัดสินใจกันใหม่ว่าจะรับข้อเสนอใหม่นี้หรือไม่ แสดงว่าการชี้ช่องของโจทก์ที่ต้องการให้จำเลยทั้งห้าขายที่ดินให้แก่ ส. นั้นไม่เป็นผลสำเร็จเนื่องจาก ส. ไม่มีเงินซื้อ การตกลงนำที่ดินเข้าร่วมลงทุนกับ ส. แล้วนำกำไรมาแบ่งกันภายหลัง จึงเป็นวัตถุประสงค์ใหม่ของจำเลยทั้งห้าไม่เกี่ยวข้องกับโจทก์และไม่อยู่ในกรอบวัตถุประสงค์เดิม เพราะการเข้าร่วมลงทุนนั้นเป็นการนำเอาที่ดินของจำเลยทั้งห้ามาเข้าร่วมกับ ส. และให้ ส. เป็นผู้บริหารจัดการโดยจำเลยทั้งห้าได้เข้าร่วมเป็นเจ้าของโดยรับหุ้นของบริษัท บ. ของ ส. ซึ่งเป็นข้อตกลงใหม่ การเข้าร่วมลงทุนกับ ส. ตามข้อตกลงใหม่ดังกล่าวไม่อาจถือได้ว่าจำเลยทั้งห้าขายที่ดินได้สำเร็จแล้วด้วยการชี้ช่องของโจทก์ แต่เป็นเพียงการเปลี่ยนแปลงวิธีการขายที่ดินในรูปแบบใหม่ ซึ่งในที่สุดข้อเท็จจริงกลับปรากฏว่าจำเลยทั้งห้าทราบว่าถูก ส. หลอกลวง จำเลยทั้งห้าจึงได้ฟ้องเรียกที่ดินทั้งห้าแปลงคืนจากบริษัท บ. และ ส. กับพวก และศาลพิพากษาตามยอมให้คืนที่ดินทั้งห้าแปลงดังกล่าวแก่จำเลยทั้งห้าแล้ว ข้อเท็จจริงจึงฟังไม่ได้ว่าโจทก์สามารถชี้ช่องให้จำเลยทั้งห้าขายที่ดินตามฟ้องจนสำเร็จวัตถุประสงค์ โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับค่านายหน้าจากจำเลยทั้งห้าตามที่ตกลงกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1113/2561

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่ออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย กรณีจำเลยหักเงินจากค่านายหน้าแล้วนำส่งภาษีในชื่อนิติบุคคลอื่น
จำเลยหักเงินจำนวนหนึ่งออกจากเงินผลประโยชน์ที่โจทก์ได้รับจากการเป็นตัวแทนประกันวินาศภัย แต่จำเลยนำส่งเงินจำนวนดังกล่าวแก่กรมสรรพากรโดยแจ้งว่าเป็นภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายของบริษัท บ. ซึ่งเป็นนิติบุคคลที่มีอัตราภาษีต่างจากภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ทำให้เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาน้อยกว่าความเป็นจริง เมื่อจำเลยได้หักเงินออกจากเงินค่านายหน้าเพื่อเป็นภาษีหัก ณ ที่จ่ายสำหรับเงินได้ของโจทก์แล้ว จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3208/2565

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายบ้านพร้อมที่ดิน, ค่าเสียหายจากการปรับปรุงซ่อมแซม, ค่านายหน้า, และดอกเบี้ยผิดนัด
เมื่อโจทก์ไม่สามารถผ่อนชำระค่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้างตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง โดยยังคงค้างชำระ 1,819,355 บาท วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2558 โจทก์และจำเลยตกลงทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างฉบับใหม่ มีข้อตกลงว่า โจทก์จะชำระเงินตามจำนวนที่ค้างชำระดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ยเป็นรายเดือน เป็นระยะเวลา 12 เดือน ให้แก่จำเลย หรือจนกว่าโจทก์หรือจำเลยจะขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่บุคคลอื่นได้ตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างและบันทึกแนบท้ายสัญญา ส่อแสดงอย่างแจ้งชัดว่าแม้โจทก์จะเป็นฝ่ายผิดสัญญา จำเลยก็ไม่ประสงค์จะใช้สิทธิเลิกสัญญาตาม ป.พ.พ. มาตรา 386 วรรคหนึ่ง ทั้งมีบันทึกแนบท้ายสัญญาดังกล่าวอีกว่าหากขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่บุคคลอื่นได้ จำเลยจะคืนเงินส่วนที่เหลือจากที่โจทก์ค้างชำระค่าที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง หลังจากหักค่าใช้จ่ายตามความเป็นจริงที่จำเลยเสียไปคืนให้แก่โจทก์ เมื่อโจทก์ไม่สามารถผ่อนชำระค่าที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างตามสัญญาได้ต่อไป จึงคืนกุญแจส่งมอบที่ดินและสิ่งปลูกสร้างแก่จำเลย ส่งผลให้สัญญาจะซื้อขายที่ดินและสิ่งปลูกสร้างระหว่างโจทก์และจำเลยไม่อาจสำเร็จวัตถุประสงค์ในการโอนกรรมสิทธิ์แก่โจทก์ได้ ถือเป็นคำเสนอของโจทก์เพื่อบอกเลิกสัญญาแก่จำเลยบุคคลผู้อยู่เฉพาะหน้า เมื่อจำเลยสนองรับด้วยการแสดงเจตนาถูกต้องตรงกันโดยรับมอบกุญแจ รับมอบที่ดินและสิ่งปลูกสร้างจากโจทก์โดยไม่อิดเอื้อน ทำการซ่อมแซมและนำไปขายต่อแก่บุคคลภายนอกเยี่ยงนี้ พฤติการณ์ของโจทก์จำเลยดังกล่าวเป็นการสมัครใจเลิกสัญญา ตาม ป.พ.พ. มาตรา 149 และมาตรา 356 หาจำต้องพิจารณาว่าฝ่ายใดผิดสัญญา ถึงกระนั้นผลแห่งการเลิกสัญญา แม้ ป.พ.พ. มาตรา 391 วรรคหนึ่ง จะบัญญัติให้คู่สัญญาแต่ละฝ่ายกลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมก็ตาม แต่คู่สัญญาอาจตกลงกันเป็นอย่างอื่นโดยให้ไม่ต้องกลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมได้ ฉะนั้น เมื่อโจทก์จำเลยตกลงกันตามบันทึกแนบท้ายสัญญาจะซื้อขายที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ว่าให้นำที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างออกขาย หากขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่บุคคลอื่นได้ จำเลยจะคืนเงินส่วนที่เหลือจากที่โจทก์ค้างชำระค่าที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง หลังจากหักค่าใช้จ่ายตามความเป็นจริงที่จำเลยเสียไปคืนให้แก่โจทก์ อันเป็นการตกลงกันไว้ล่วงหน้าว่าไม่ต้องกลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมเมื่อมีการเลิกสัญญา ข้อตกลงดังกล่าวไม่ขัดต่อกฎหมายหรือฝ่าฝืนต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 ย่อมใช้บังคับได้
of 8