คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ค่าล่วงเวลา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 114 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2891/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าครองชีพเป็นค่าจ้าง การคำนวณค่าล่วงเวลา/ทำงานในวันหยุดต้องรวมค่าครองชีพด้วย ข้อตกลงขัดแย้งกฎหมายเป็นโมฆะ
แม้จะมีข้อตกลงระหว่างโจทก์ลูกจ้างกับจำเลยนายจ้าง ให้เรียกค่าครองชีพว่า 'เงินสวัสดิการ' ก็ไม่เป็นข้อยกเว้นที่จะทำให้ค่าครองชีพไม่ใช่ค่าจ้าง เมื่อถือว่าค่าครองชีพเป็นค่าจ้างการที่มีข้อตกลงระหว่างโจทก์จำเลยไม่ให้นำ 'เงินสวัสดิการ' มาคำนวณค่าจ้างในการทำงานล่วงเวลาและค่าจ้างในการทำงานในวันหยุด จึงขัดต่อประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ฯ ข้อ 34, 39 ซึ่งกำหนดให้นายจ้างจ่ายค่าทำงานล่วงเวลาและค่าทำงานในวันหยุดโดยคำนวณจากค่าจ้างซึ่งหมายถึงค่าจ้างทั้งหมด ข้อตกลงดังกล่าวจึงไม่มีผลใช้บังคับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2891/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าครองชีพเป็นค่าจ้าง การคำนวณค่าล่วงเวลา/ทำงานในวันหยุดต้องรวมค่าครองชีพด้วย
แม้จะมีข้อตกลงระหว่างโจทก์ลูกจ้างกับจำเลยนายจ้าง ให้เรียกค่าครองชีพว่า 'เงินสวัสดิการ' ก็ไม่เป็นข้อยกเว้นที่จะทำให้ค่าครองชีพไม่ใช่ค่าจ้าง เมื่อถือว่าค่าครองชีพเป็นค่าจ้างการที่มีข้อตกลงระหว่างโจทก์จำเลยไม่ให้นำ 'เงินสวัสดิการ' มาคำนวณค่าจ้างในการทำงานล่วงเวลาและค่าจ้างในการทำงานในวันหยุด จึงขัดต่อประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ฯ ข้อ 34,39 ซึ่งกำหนดให้นายจ้างจ่ายค่าทำงานล่วงเวลาและค่าทำงานในวันหยุดโดยคำนวณจากค่าจ้างซึ่งหมายถึงค่าจ้างทั้งหมด ข้อตกลงดังกล่าวจึงไม่มีผลใช้บังคับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2537/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างเหมาขัดแย้งประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงาน สิทธิค่าล่วงเวลา
จำเลยให้โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างประจำทำงานนอกเวลาทำงานตามปกติโดยทำสัญญาว่า การรับจ้างทำงานของโจทก์เป็นการทำงานที่มีลักษณะจ้างเหมา โดยมีค่าจ้างตามอัตราเงินเดือนแต่ไม่มีค่าจ้างทำงานล่วงเวลา ดังนี้ สัญญาดังกล่าวไม่มีผลบังคับ เพราะขัดต่อประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่ 16 เมษายน 2515 ข้อ 34 ซึ่งมีสภาพบังคับเป็นกฎหมาย จำเลยจึงต้องจ่ายค่าทำงานล่วงเวลาให้โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2537/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างเหมาที่ขัดแย้งกับประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงาน ทำให้ลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลา
จำเลยให้โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างประจำทำงานนอกเวลาทำงานตามปกติโดยทำสัญญาว่า การรับจ้างทำงานของโจทก์เป็นการทำงานที่มีลักษณะจ้างเหมา โดยมีค่าจ้างตามอัตราเงินเดือนแต่ไม่มีค่าจ้างทำงานล่วงเวลา ดังนี้ สัญญาดังกล่าวไม่มีผลบังคับ เพราะขัดต่อประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่ 16 เมษายน 2515 ข้อ 34ซึ่งมีสภาพบังคับเป็นกฎหมาย จำเลยจึงต้องจ่ายค่าทำงานล่วงเวลาให้โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1110/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงค่าจ้างรวมค่าล่วงเวลา ไม่ขัดกฎหมาย หากลูกจ้างไม่สละสิทธิ
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง อัตราค่าจ้างขั้นต่ำและประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน มิได้กำหนดห้ามนายจ้างและลูกจ้างตกลงจ้างกันโดยคิดค่าจ้างและค่าล่วงเวลารวมกันไปในตัว นายจ้างและลูกจ้างจึงย่อมตกลงกันได้และมิใช่เป็นกรณีตกลงทำนองให้ลูกจ้างสละสิทธิในค่าล่วงเวลา จึงไม่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1110/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงค่าจ้างรวมค่าล่วงเวลา ไม่ขัดต่อกฎหมาย ตราบเท่าที่ไม่เป็นการสละสิทธิ
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง อัตราค่าจ้างขั้นต่ำและประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน มิได้กำหนดห้ามนายจ้างและลูกจ้างตกลงจ้างกันโดยคิดค่าจ้างและค่าล่วงเวลารวมกันไปในตัว นายจ้างและลูกจ้างจึงย่อมตกลงกันได้และมิใช่เป็นกรณีตกลงทำนองให้ลูกจ้างสละสิทธิในค่าล่วงเวลา จึงไม่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2809/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจ่ายค่าล่วงเวลาล่าช้าของรัฐวิสาหกิจ แม้มีเหตุผล แต่ยังต้องรับผิดดอกเบี้ย
เหตุที่จำเลยจ่ายค่าล่วงเวลาให้โจทก์ล่าช้าเป็นเพราะระเบียบการจ่ายเงินเป็นการภายในซึ่งจำเลยได้วางหลักเกณฑ์ไว้เอง จึงยกขึ้นเป็นข้ออ้างว่าเป็นพฤติการณ์ที่จำเลยมิต้องรับผิดหาได้ไม่ เมื่อจำเลยจ่ายค่าล่วงเวลาให้โจทก์หลังจากที่จำเลยได้รับเรื่องการขอเบิกค่าล่วงเวลาของโจทก์เกิน 30 วันนับแต่โจทก์ทำงานล่วงเวลาเสร็จสิ้นลงถือได้ว่าจำเลยผิดนัดนับแต่วันที่จำเลยได้รับเรื่องการขอเบิกค่าล่วงเวลาของโจทก์ต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 31 วรรคแรก แต่เมื่อจำเลยได้รับเรื่องการขอเบิกค่าล่วงเวลาจากโจทก์ จำเลยก็ได้พยายามดำเนินการโดยมิได้หน่วงเหนี่ยวหรือจงใจทำให้ล่าช้า จึงถือไม่ได้ว่าจำเลย จงใจผิดนัดโดยปราศจากเหตุผลอันสมควรอันเป็นผลให้ต้องจ่ายเงินเพิ่มตามประกาศดังกล่าว ข้อ 31 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2809/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจ่ายค่าล่วงเวลาล่าช้าของรัฐวิสาหกิจ แม้มีเหตุผลแต่ยังต้องจ่ายดอกเบี้ย
เหตุที่จำเลยจ่ายค่าล่วงเวลาให้โจทก์ล่าช้าเป็นเพราะระเบียบการจ่ายเงินเป็นการภายในซึ่งจำเลยได้วางหลักเกณฑ์ไว้เอง จึงยกขึ้นเป็นข้ออ้างว่าเป็นพฤติการณ์ที่จำเลยมิต้องรับผิดหาได้ไม่ เมื่อจำเลยจ่ายค่าล่วงเวลาให้โจทก์หลังจากที่จำเลยได้รับเรื่องการขอเบิกค่าล่วงเวลาของโจทก์เกิน 30 วัน นับแต่โจทก์ทำงานล่วงเวลาเสร็จสิ้นลงถือได้ว่าจำเลยผิดนัดนับแต่วันที่จำเลยได้รับเรื่องการขอเบิกค่าล่วงเวลาของโจทก์ ต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 31วรรคแรก แต่เมื่อจำเลยได้รับเรื่องการขอเบิกค่าล่วงเวลาจากโจทก์ จำเลยก็ได้พยายามดำเนินการ โดยมิได้หน่วงเหนี่ยวหรือจงใจทำให้ล่าช้า จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยจงใจผิดนัดโดยปราศจากเหตุผลอันสมควรอันเป็นผลให้ต้องจ่ายเงินเพิ่มตามประกาศดังกล่าว ข้อ 31 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2923/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความค่าล่วงเวลา/ทำงานในวันหยุด: มาตรา 165(9) อายุความ 2 ปี มิใช่มาตรา 166 อายุความ 5 ปี
ค่าล่วงเวลาและค่าทำงานในวันหยุดมิใช่จำนวนที่ตกลงไว้แน่นอนแม้จะกำหนดจ่ายเป็นระยะเวลาก็ตาม ฉะนั้นจึงไม่อยู่ในบังคับ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 166
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(8) ใช้บังคับสำหรับบุคคลผู้รับจ้างใช้การงานส่วนบุคคลเรียกร้องเอาเงินค่าจ้างเพื่อแรงงานที่ทำดังนั้นจึงใช้บังคับแก่โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างองค์การของรัฐไม่ได้แต่เนื่องจากค่าล่วงเวลาและค่าทำงานในวันหยุดเป็นเงินที่นายจ้างจ่ายให้ลูกจ้างเป็นการตอบแทนการทำงานของลูกจ้างอันถือเป็นเงินจ้างหรือค่าจ้าง กรณีจึงอยู่ในบังคับของ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(9) ซึ่งมีอายุความ 2 ปีเช่นเดียวกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2754/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความค่าล่วงเวลา: การตีความ 'คนงาน' ในมาตรา 165(9) และการพิจารณาจำนวนเงินที่ไม่แน่นอน
คำว่า "หัตถกรรม" นั้น ประกอบคำว่า "โรงงาน" เพื่อให้ทราบว่าบุคคลจำพวกที่ 4 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165 (9) นี้ หมายถึงผู้ที่ทำงานประจำสถานที่ที่เรียกว่าโรงงานหัตถกรรมเท่านั้น ไม่รวมถึงสถานที่อย่างอื่นด้วย คำว่า "หัตถกรรม" หรือแม้กระทั่งคำว่า "โรงงานหัตถกรรม" หาได้ประกอบคำว่า "คนงาน" "ผู้ช่วยงาน" หรือ "ลูกมือฝึกหัด" ด้วยไม่
การที่ลูกจ้างเรียกร้องเอาค่าล่วงเวลาจากนายจ้าง โดยอ้างว่าจ่ายให้ต่ำกว่าจำนวนที่จะต้องจ่ายเช่นนี้ มีกำหนดอายุความสองปี ตามมาตรา 165 (9) เพราะถือได้ว่าเป็นกรณีคนงานเรียกร้องเอาเงินจ้าง และค่าล่วงเวลานี้ แม้จะมีกำหนดจ่ายเป็นระยะเวลาแต่จำนวนเงินที่จ่ายให้แก่ลูกจ้างแต่ละคนไม่แน่นอน บางเดือนมากบางเดือนน้อยไม่เท่ากัน จึงมิใช่เงินประเภทที่บัญญัติในมาตรา 166
of 12