พบผลลัพธ์ทั้งหมด 351 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6608/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้รับประกันภัยค้ำจุนต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัย แม้ผู้เอาประกันภัยไม่แจ้งอุบัติเหตุ และฟ้องร้องภายในอายุความ
จำเลยร่วมเป็นผู้รับประกันภัยค้ำจุนจำเลยที่1จำเลยร่วมย่อมต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนในนามของจำเลยที่1ผู้เอาประกันภัยเพื่อความวินาศภัยอันเกิดแก่อีกบุคคลหนึ่งและซึ่งจำเลยที่1ผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดชอบตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา887ทั้งนี้แม้จำเลยที่1ไม่ได้แจ้งอุบัติเหตุให้จำเลยร่วมทราบตามเงื่อนไขแห่งกรมธรรม์ประกันภัยก็ตามก็เป็นเรื่องระหว่างจำเลยร่วมกับจำเลยที่1เท่านั้นโจทก์เป็นบุคคลภายนอกสัญญาจำเลยร่วมในฐานะผู้รับประกันภัยค้ำจุนจะนำเงื่อนไขดังกล่าวในกรมธรรม์ประกันภัยมาใช้บังคับโจทก์ด้วยไม่ได้ คดีนี้โจทก์ฟ้องตามสัญญาประกันภัยเพื่อเรียกให้จำเลยร่วมผู้รับประกันภัยรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนจึงมีอายุความ2ปีนับแต่วันวินาศภัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา882วรรคหนึ่งคดีนี้เกิดวินาศภัยในวันที่23เมษายน2534แต่โจทก์ขอให้ศาลมีคำสั่งเรียกจำเลยร่วมเข้ามาเป็นจำเลยร่วมวันที่27กรกฎาคม2535จึงยังไม่เกิน2ปีนับแต่วันวินาศภัยคดีของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6169/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความการเรียกร้องคืนทรัพย์ที่ฝาก vs. ค่าสินไหมทดแทนจากการฝากทรัพย์ สัญญาเช่าฉางที่มีลักษณะของการรับฝาก
โจทก์ฟ้องให้จำเลยคืนข้าวเปลือกที่ฝากไว้ถ้าคืนไม่ได้ให้ชดใช้ราคาข้าวเปลือกเป็นการใช้สิทธิเรียกคืนทรัพย์ที่ฝากในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ไม่ใช่เรียกร้องให้จำเลยชำระค่าสินไหมทดแทนดังนั้นเมื่อจำเลยยังไม่คืนทรัพย์ที่ฝากโจทก์ก็มีสิทธิติดตามเรียกคืนได้ตลอดเวลาที่ทรัพย์ที่ฝากยังเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์อยู่ส่วนการให้ชดใช้ราคานั้นเป็นขั้นตอนที่โจทก์จะขอบังคับคดีเอาแก่จำเลยเมื่อจำเลยคืนทรัพย์ที่ฝากไม่ได้เท่านั้นคดีของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5925/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประกันภัยเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอก ผู้เอาประกันภัยมีอำนาจฟ้องเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนได้ แม้ไม่ใช่ผู้รับประโยชน์โดยตรง
แม้โจทก์ที่ 2 จะมิใช่ผู้รับประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัยแต่โจทก์ที่ 2 เป็นผู้เอาประกันภัยซึ่งเป็นคู่สัญญากับจำเลยผู้รับประกันภัยโดยตรง และเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 374 เมื่อมีข้อพิพาทโต้แย้งสิทธิกันขึ้นตามสัญญาประกันภัย โจทก์ที่ 2 ในฐานะคู่สัญญาย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยให้ปฏิบัติตามสัญญาได้ จำเลยให้การรับว่าได้ทำสัญญาประกันภัยรถยนต์กับโจทก์ที่ 2โดยมีโจทก์ที่ 1 เป็นผู้รับประโยชน์จริง เช่นนี้สัญญาประกันภัยระหว่างโจทก์ที่ 2 กับจำเลยจึงเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์แก่โจทก์ที่ 1ซึ่งเป็นบุคคลภายนอก เมื่อรถยนต์ที่โจทก์ที่ 2 เอาประกันภัยไว้แก่จำเลยสูญหายไปเพราะถูก ท. ยักยอกเอาไป จำเลยก็ต้องรับผิดต่อโจทก์ที่ 2 ตามสัญญาประกันภัยนั้น โจทก์ที่ 2 จึงมีอำนาจฟ้องขอให้จำเลยใช้เงินตามกรมธรรม์ประกันภัยแก่โจทก์ที่ 1 ผู้รับประโยชน์ได้ แม้โจทก์ที่ 2 จะไม่มีอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์ที่ 1 ก็ตาม จำเลยให้การต่อสู้เพียงว่า โจทก์ที่ 2 ผู้เอาประกันภัยมิได้ฟ้องร้องหรือติดตามเอาคืนจาก ท. กลับมาฟ้องเรียกร้องเอาจากจำเลยเป็นการกระทำไม่สุจริตเท่านั้น คำให้การของจำเลยดังกล่าวยังไม่ชัดเจนถึงขนาดว่าวินาศภัยซึ่งได้ระบุไว้ในสัญญานั้นได้เกิดขึ้นเพราะความทุจริตของโจทก์ที่ 1 ผู้เอาประกันภัยอันจะเป็นเหตุให้จำเลยผู้รับประกันภัยไม่ต้องรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 879 วรรคแรก และศาลชั้นต้นก็มิได้กำหนดประเด็นข้อนี้เป็นประเด็นข้อพิพาทไว้ อีกทั้งจำเลยก็ไม่ได้โต้แย้งคัดค้านปัญหาเรื่องความไม่สุจริตของโจทก์ที่ 2จึงไม่เป็นประเด็นพิพาทในคดี ความเสียหายหรือความสูญหายตามคำฟ้องโจทก์เกิดจากการยักยอกทรัพย์ของ ท. ซึ่งเป็นบุคคลที่ได้ยืมรถยนต์นั้นจากโจทก์ที่ 2ผู้เช่าซื้อรถยนต์จากโจทก์ที่ 1 ท. มิใช่เป็นผู้เช่าซื้อ ผู้เช่าผู้รับจำนำหรือผู้ซื้อรถยนต์ที่เอาประกันภัยไว้ ทั้งมิใช่ผู้ครอบครองรถยนต์ตามสัญญาเช่า เช่าซื้อ ซื้อขาย หรือสัญญาจำนำการที่รถยนต์ซึ่งจำเลยรับประกันไว้ถูก ท. ยักยอกเอาไปจึงไม่อยู่ในเงื่อนไขข้อจำกัดความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัย หากจะตีความเจตนาของคู่สัญญาตามกรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าวแล้ว ยิ่งเห็นได้ชัดว่าโจทก์ที่ 2 เอาประกันภัยรถยนต์ไว้กับจำเลยตามความประสงค์ของโจทก์ที่ 1 ก็เพื่อคุ้มครองรถยนต์ที่โจทก์ที่ 2 เช่าซื้อมาจากโจทก์ที่ 1 ซึ่งหากเกิดความเสียหายใดแก่รถยนต์ที่โจทก์ที่ 2เช่าซื้อมา โจทก์ทั้งสองย่อมประสงค์จะได้รับความคุ้มครองจากกรมธรรม์มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ จำเลยจึงต้องรับผิดตามสัญญาประกันภัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5734/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับช่วงสิทธิของบริษัทประกันภัย: อำนาจฟ้องและการไม่จำกัดด้วยข้อกำหนดสัญญา
โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยฟ้องจำเลยทั้งสองให้รับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนอันเนื่องมาจากลูกจ้างของจำเลยทั้งสองกระทำละเมิด เป็นเหตุให้รถยนต์ของผู้ที่เอาประกันภัยไว้กับโจทก์ได้รับความเสียหาย และโจทก์ได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้ผู้เอาประกันภัยไปแล้ว โจทก์จึงเข้ารับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยฟ้องร้องจำเลยทั้งสองตาม ป.พ.พ. มาตรา 880 มิใช่การฟ้องร้องบังคับคดีตามสัญญาประกันภัย จึงไม่อยู่ภายใต้บังคับของมาตรา 867 วรรคแรกทั้งไม่อยู่ในบังคับตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 เพราะมิใช่กรณีที่ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง แม้สัญญาประกันภัยจะปิดอากรแสตมป์ครบหรือไม่ก็ตาม โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5515/2538 เวอร์ชัน 5 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนและการระงับสิทธิเมื่อผู้ครอบครองทรัพย์ทำสัญญาประนีประนอม
ส. เป็นผู้ขับรถยนต์คันที่โจทก์เป็นผู้รับประกันภัยในขณะเฉี่ยวชนกับรถยนต์คันที่จำเลยขับ ส. จึงเป็นผู้ครอบครองและขับรถยนต์ซึ่งเป็นสังหา-ริมทรัพย์ในขณะเกิดเหตุ หากจำเลยรับผิดและใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ ส.จำเลยย่อมหลุดพ้นไปเพราะการที่ได้ใช้ให้เช่นนั้น แม้บุคคลภายนอกจะเป็นเจ้าของทรัพย์ เว้นแต่สิทธิของบุคคลภายนอกเช่นนั้นจะเป็นที่รู้อยู่แก่ตนหรือมิได้รู้เพราะความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของตนตาม ป.พ.พ. มาตรา 441และผลของมาตรา 441 ที่บัญญัติให้ผู้ทำละเมิดเป็นอันหลุดพ้นจากหนี้ที่ต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน หากว่าได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลซึ่งเป็นผู้ครองสังหาริมทรัพย์อยู่ในขณะถูกทำละเมิดนี้เอง ย่อมแสดงให้เห็นว่า ผู้ครองสังหาริมทรัพย์อยู่ในขณะถูกทำละเมิดมีสิทธิรับชำระหนี้ค่าสินไหมทดแทนจากผู้ทำละเมิดได้ แม้กระทั่งผู้ครองสังหาริมทรัยพ์นั้นจะไม่ใช่เจ้าของทรัพย์ก็ตาม เมื่อมีสิทธิที่จะรับชำระหนี้ได้ก็ย่อมมีสิทธิที่จะทำสัญญาประนีประนอมยอมความเกี่ยวกับการรับชำระหนี้ค่าสินไหมทดแทนในกรณีเช่นนี้ได้เช่นกัน ดังนั้น สัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างจำเลยกับ ส. ย่อมมีผลบังคับได้ แม้ ส. จะไม่ใช่เจ้าของรถยนต์คันที่ขับก็ตาม และผลแห่งสัญญาประนีประนอมยอมความย่อมทำให้สิทธิเรียกร้องซึ่งแต่ละฝ่ายได้ยอมสละแล้วนั้นระงับสิ้นไป ตาม ป.พ.พ. มาตรา 852 โจทก์จึงไม่อยู่ในฐานะที่จะรับช่วงสิทธิได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5515/2538 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิรับชำระค่าสินไหมทดแทนของผู้ครอบครองทรัพย์สิน และผลของการทำสัญญาประนีประนอมยอมความ
ผลของมาตรา 441 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่บัญญัติให้ผู้ทำละเมิดเป็นอันหลุดพ้นจากหนี้ที่ต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน หากว่าได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลซึ่งเป็นผู้ครองสังหาริมทรัพย์อยู่ในขณะถูกทำละเมิดนี้เอง ย่อมแสดงให้เห็นว่าผู้ครองสังหาริมทรัพย์อยู่ในขณะถูกทำละเมิดมีสิทธิรับชำระหนี้ค่าสินไหมทดแทนจากผู้ทำละเมิดได้แม้กระทั่งผู้ครองสังหาริมทรัพย์นั้นจะไม่ใช่เจ้าของทรัพย์ก็ตาม เมื่อมีสิทธิที่จะรับชำระหนี้ได้ก็ย่อมมีสิทธิที่จะทำสัญญาประนีประนอมยอมความเกี่ยวกับการรับชำระหนี้ค่าสินไหมทดแทนในกรณีเช่นนี้ได้เช่นกัน ดังนั้น สัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างจำเลยกับ ส.ย่อมมีผลบังคับได้แม้ส. จะไม่ใช่เจ้าของรถยนต์คันที่ขับก็ตามและผลแห่งสัญญาประนีประนอมยอมความย่อมทำให้สิทธิเรียกร้องซึ่งแต่ละฝ่ายได้สละแล้วนั้นระงับสิ้นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 852 โจทก์จึงไม่อยู่ในฐานะที่จะรับช่วงสิทธิได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5515/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนของผู้ครอบครองทรัพย์สิน: สัญญาประนีประนอมยอมความมีผลผูกพัน แม้ไม่ใช่เจ้าของ
ผู้ครองสังหาริมทรัพย์อยู่ในขณะถูกทำละเมิดมีสิทธิรับชำระหนี้ค่าสินไหมทดแทนจากผู้ทำละเมิดได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 441 ย่อมมีสิทธิที่จะทำสัญญาประนีประนอมยอมความเกี่ยวกับการรับชำระหนี้ค่าสินไหมทดแทนได้เช่นกัน การที่จำเลยขับรถยนต์โดยประมาทเลินเล่อชนรถยนต์ที่ ส.ขับ และได้มีการทำสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างจำเลยกับ ส.ขึ้น สัญญานั้นย่อมมีผลบังคับได้ แม้ส.จะไม่ใช่เจ้าของรถยนต์คันที่ขับและย่อมทำให้สิทธิเรียกร้องซึ่งแต่ละฝ่ายได้สละแล้วนั้นระงับสิ้นไปตาม มาตรา 852 โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยรถยนต์คันที่ ส. ขับซึ่งได้ซ่อมรถยนต์ไปแล้วจึงไม่อาจรับช่วงสิทธิ เรียกร้องจากจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5515/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิรับชำระค่าสินไหมทดแทนของผู้ครอบครองทรัพย์สิน และผลของการประนีประนอมยอมความ
ผลของมาตรา441แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่บัญญัติให้ผู้ทำละเมิดเป็นอันหลุดพ้นจากหนี้ที่ต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนหากว่าได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลซึ่งเป็นผู้ครองสังหาริมทรัพย์อยู่ในขณะถูกทำละเมิดนี้เองย่อมแสดงให้เห็นว่าผู้ครองสังหาริมทรัพย์อยู่ในขณะถูกทำละเมิดมีสิทธิรับชำระหนี้ค่าสินไหมทดแทนจากผู้ทำละเมิดได้แม้กระทั่งผู้ครองสังหาริมทรัพย์นั้นจะไม่ใช่เจ้าของทรัพย์ก็ตามเมื่อมีสิทธิที่จะรับชำระหนี้ได้ก็ย่อมมีสิทธิที่จะทำสัญญาประนีประนอมยอมความเกี่ยวกับการรับชำระหนี้ค่าสินไหมทดแทนในกรณีเช่นนี้ได้เช่นกันดังนั้นสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างจำเลยกับ ส. ย่อมมีผลบังคับได้แม้ ส. จะไม่ใช่เจ้าของรถยนต์คันที่ขับก็ตามและผลแห่งสัญญาประนีประนอมยอมความย่อมทำให้สิทธิเรียกร้องซึ่งแต่ละฝ่ายได้สละแล้วนั้นระงับสิ้นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา852โจทก์จึงไม่อยู่ในฐานะที่จะรับช่วงสิทธิได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5515/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิรับชำระค่าสินไหมทดแทนของผู้ครอบครองทรัพย์สิน และผลของการประนีประนอมยอมความ
ผลของมาตรา441แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่บัญญัติให้ผู้ทำละเมิดเป็นอันหลุดพ้นจากหนี้ที่ต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนหากว่าได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลซึ่งเป็นผู้ครองสังหาริมทรัพย์อยู่ในขณะถูกทำละเมิดนี้เองย่อมแสดงให้เห็นว่าผู้ครองสังหาริมทรัพย์อยู่ในขณะถูกทำละเมิดมีสิทธิรับชำระหนี้ค่าสินไหมทดแทนจากผู้ทำละเมิดได้แม้กระทั่งผู้ครองสังหาริมทรัพย์นั้นจะไม่ใช่เจ้าของทรัพย์ก็ตามเมื่อมีสิทธิที่จะรับชำระหนี้ได้ก็ย่อมมีสิทธิที่จะทำสัญญาประนีประนอมยอมความเกี่ยวกับการรับชำระหนี้ค่าสินไหมทดแทนในกรณีเช่นนี้ได้เช่นกันดังนั้นสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างจำเลยกับ ส. ย่อมมีผลบังคับได้แม้ ส. จะไม่ใช่เจ้าของรถยนต์คันที่ขับก็ตามและผลแห่งสัญญาประนีประนอมยอมความย่อมทำให้สิทธิเรียกร้องซึ่งแต่ละฝ่ายได้สละแล้วนั้นระงับสิ้นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา852โจทก์จึงไม่อยู่ในฐานะที่จะรับช่วงสิทธิได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5120/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประกันภัยรถยนต์: การรับช่วงสิทธิของผู้รับประกันภัยเมื่อชำระค่าสินไหมทดแทน และผลของการโอนกรรมสิทธิ์
ช. ทำสัญญาประกันภัยรถแท็กซี่ไว้กับโจทก์ ต่อมารถแท็กซี่ซึ่ง น. ขับไปถูกรถยนต์ของจำเลยชน แม้ระหว่างเกิดเหตุ ช. จะโอนกรรมสิทธิ์รถแท็กซี่เพื่อเข้าร่วมกิจการกับสหกรณ์แล้ว แต่ขณะทำสัญญาประกันภัย ช.ยังเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รถแท็กซี่อยู่จึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียมีสิทธิที่จะทำสัญญาประกันภัยได้ เมื่อสัญญาประกันภัยมีผลบังคับได้โจทก์ในฐานะผู้รับประกันภัยซึ่งใช้ค่าสินไหมทดแทนไปย่อมเข้ารับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยฟ้องจำเลยได้