พบผลลัพธ์ทั้งหมด 610 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5243/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การต่อสู้คดีของผู้ค้ำประกัน: คำให้การไม่ชัดเจน ทำให้จำเลยไม่มีสิทธิสืบพยานเพิ่มเติม
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 4 ให้รับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 4 ให้การว่า จำเลยที่ 4 ไม่ได้ทำสัญญาค้ำประกัน ลายมือชื่อผู้ค้ำประกันในสัญญาค้ำประกันไม่ใช่ลายมือชื่อจำเลยที่ 4 สัญญาค้ำประกันเป็นเอกสารปลอมหากศาล ฟังว่าจำเลยที่ 4 ทำสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 1 ไว้ต่อโจทก์ แต่หนี้ที่จำเลยที่ 4 ค้ำประกันได้กำหนดจำนวนเงินและเวลา ในการชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 ผู้เป็นลูกหนี้ไว้แน่นอน เมื่อถึงกำหนดเวลาชำระหนี้โจทก์ได้ผ่อนเวลาในการชำระหนี้ ให้จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 4 ผู้ค้ำประกันไม่ได้ให้ความยินยอม จำเลยที่ 4 จึงหลุดพ้นความรับผิด คำให้การดังกล่าวไม่ชัดแจ้ง ว่าจำเลยที่ 4 ได้ทำสัญญาค้ำประกันต่อโจทก์หรือไม่ ไม่ชอบ ด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสองคงเป็นเพียงคำให้การปฏิเสธฟ้องโจทก์ จำเลยที่ 4 ไม่มีสิทธิ นำพยานหลักฐานเข้าสืบตามข้อต่อสู้ตามคำให้การดังกล่าว ดังนั้น จึงไม่มีเหตุสมควรอนุญาตให้จำเลยที่ 4 เลื่อนคดีไป สืบพยานจำเลยที่ 4 ในประเด็นที่ว่า จำเลยที่ 4 ต้องรับผิด ตามสัญญาค้ำประกันที่โจทก์นำมาฟ้องหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5028/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เอกสารค้ำประกันที่ไม่ใช่สัญญาค้ำประกัน: การใช้เป็นพยานหลักฐาน แม้ไม่มีอากรแสตมป์
เอกสารฉบับพิพาทเป็นเพียงบันทึกที่จำเลยที่ 2 ตกลงค้ำประกันการทำงานของจำเลยที่ 1 ให้ไว้แก่โจทก์ว่า หากจำเลยที่ 1 กระทำด้วยประการใด ๆ เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย แต่จำเลยที่ 1 ไม่ยอมชดใช้ จำเลยที่ 2ยินยอมชดใช้แทนจนครบ โดยจำเลยที่ 2 ได้ลงลายมือชื่อไว้เป็นหลักฐานเป็นเพียงหลักฐานเป็นหนังสือตาม ป.พ.พ.มาตรา 680 วรรคสอง เท่านั้น เมื่อมิใช่เป็นหนังสือสัญญาค้ำประกันระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 อันจะถือเป็นตราสารที่ต้องเสียอากรโดยปิดแสตมป์บริบูรณ์ตามอัตราที่กำหนดในบัญชีอัตราอากรแสตมป์ตามความมุ่งหมายแห่ง ป.รัษฎากร มาตรา 103, 104 และ 118 แม้เอกสารดังกล่าวมิได้ปิดอากรแสตมป์ก็ใช้เป็นพยานหลักฐานได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5028/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เอกสารค้ำประกันที่ไม่ต้องติดอากรแสตมป์ ใช้เป็นพยานหลักฐานได้ หากเป็นเพียงหลักฐานตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
เอกสารฉบับพิพาทเป็นเพียงบันทึกที่จำเลยที่ 2 ตกลงค้ำประกันการทำงานของจำเลยที่ 1 ให้ไว้แก่โจทก์ว่า หากจำเลยที่ 1 กระทำด้วยประการใด ๆ เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย แต่จำเลยที่ 1 ไม่ยอมชดใช้ จำเลยที่ 2 ยินยอมชดใช้แทนจนครบ โดยจำเลยที่ 2 ได้ลงลายมือชื่อไว้เป็นหลักฐานเป็นเพียงหลักฐานเป็นหนังสือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 680 วรรคสอง เท่านั้น เมื่อมิใช่เป็นหนังสือ สัญญาค้ำประกันระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 อันจะถือเป็น ตราสารที่ต้องเสียอากรโดยปิดแสตมป์บริบูรณ์ตามอัตราที่กำหนด ในบัญชีอัตราอากรแสตมป์ตามความมุ่งหมายแห่งประมวลรัษฎากรมาตรา 103,104 และ 118 แม้เอกสารดังกล่าวมิได้ปิดอากรแสตมป์ก็ใช้เป็นพยานหลักฐานได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4328/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของพนักงานธนาคารต่อการสูญหายของเงินในตู้นิรภัย และความรับผิดของผู้ค้ำประกัน
จำเลยที่ 1 และที่ 3 เป็นพนักงานของธนาคาร ก.มีหน้าที่รักษากุญแจตู้นิรภัยอันเป็นที่เก็บเงินตราต่างประเทศคนละ 1 ดอก และต้องใช้กุญแจทั้งสองดอกเปิดประตูนิรภัยพร้อมกัน จำเลยที่ 1 และที่ 3 ทราบรหัส การเปิดตู้นิรภัย การที่เงินตราต่างประเทศซึ่งเก็บรักษาไว้ใน ตู้นิรภัยสูญหายไปโดยไม่ปรากฏการงัดแงะย่อมเกิดจากการที่มีผู้ใช้กุญแจเปิดตู้นิรภัยและทราบรหัส เปิดตู้นิรภัยเอา เงินตราไปหรือเกิดจากการเปิดตู้นิรภัยไว้แล้วไม่มีการปิดล็อกดังเดิม นอกจากนี้การเก็บรักษากุญแจตู้นิรภัย ธนาคาร ก.ได้มีระเบียบให้พนักงานธนาคารเก็บรักษากุญแจคนละดอกเพื่อป้องกันการทุจริตของพนักงานและเพื่อให้มีการตรวจสอบซึ่งกันและกัน ซึ่งทั้งจำเลยที่ 1 และที่ 3 ต่างทราบระเบียบของธนาคารดังกล่าวดี แต่ด้วยความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 1 และที่ 3 จำเลยที่ 1 และที่ 3 จึงมักมอบหมายให้คนใดคนหนึ่งเป็นผู้เปิดตู้นิรภัยโดยละเว้นไม่กระทำร่วมกันโดยเฉพาะในวันศุกร์ก่อนวันหยุดทำการซึ่งเป็นวันเกิดเหตุนั้นเอง จำเลยที่ 1 และที่ 3 ก็ไม่ได้เคร่งครัดปฏิบัติ ตามระเบียบของธนาคารในการที่จะรักษาครอบครองกุญแจตู้นิรภัยรวมทั้งการตรวจตราปิดล็อกตู้นิรภัยจึงเป็นการบกพร่องต่อหน้าที่อย่างร้ายแรงและเป็นเหตุให้เงินตราที่เก็บไว้ในตู้นิรภัยสูญหายไป การกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 3 จึงเป็นการร่วมกันละเมิดต่อธนาคาร ก.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4134/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภรรยาให้ความยินยอมสัญญาค้ำประกัน: ผู้ค้ำประกันร่วม
จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์โดยยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม และจำเลยที่ 3 ในฐานะภรรยาของจำเลยที่ 2 ได้ทำหนังสือให้ความยินยอมในการที่จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1ดังกล่าวไว้ต่อโจทก์ การที่จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นคู่สมรสของจำเลยที่ 2 ได้ให้ความยินยอมแก่จำเลยที่ 2 ในการทำนิติกรรมทุกอย่างกับโจทก์ได้ ถือได้ว่าจำเลยที่ 3ได้ร่วมรับรู้หนี้ที่จำเลยที่ 2 ก่อขึ้นในฐานะผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 3ได้ให้สัตยาบันในหนี้ดังกล่าวแล้ว กรณีต้องด้วย ป.พ.พ.มาตรา 1490 (4) หนี้ตามสัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่ 2 กระทำไปจึงเป็นหนี้ร่วม จำเลยที่ 3 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 อย่างลูกหนี้ร่วมในฐานะผู้ค้ำประกันต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4134/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความยินยอมในการค้ำประกันทำให้เกิดหนี้ร่วม: ภรรยาต้องรับผิดชอบหนี้จากการค้ำประกันของสามี
จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์โดยยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม และจำเลยที่ 3 ในฐานะภรรยาของจำเลยที่ 2 ได้ทำหนังสือให้ความยินยอมในการที่จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวไว้ต่อโจทก์ การที่จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นคู่สมรสของจำเลยที่ 2 ได้ให้ความยินยอมแก่จำเลยที่ 2 ในการทำนิติกรรมทุกอย่างกับโจทก์ได้ ถือได้ว่าจำเลยที่ 3 ได้ร่วมรับรู้หนี้ที่จำเลยที่ 2 ก่อขึ้นในฐานะผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 3 ได้ให้สัตยาบันในหนี้ดังกล่าวแล้ว กรณีต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1490(4)หนี้ตามสัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่ 2 กระทำไปจึงเป็นหนี้ร่วม จำเลยที่ 3 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 อย่างลูกหนี้ร่วมในฐานะผู้ค้ำประกันต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3847/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หลักฐานค้ำประกัน: รวมเอกสารหลายฉบับได้, ศาลรับฟังเอกสารเพิ่มเติมเพื่อความยุติธรรม
คำว่าหลักฐานเป็นหนังสือที่จะรับฟังเป็นหลักฐานแห่งการค้ำประกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 680 วรรคสอง กฎหมายไม่ได้กำหนดให้ต้องมีข้อความบรรจุอยู่ในเอกสารฉบับเดียวกัน อาจเป็นข้อความที่รวบรวมจากเอกสารหลายฉบับที่เกี่ยวข้องเป็นเรื่องเดียวกันก็ได้
เอกสารหมาย จ.17 มีข้อความว่าจำเลยที่ 2 ยินยอมเป็นผู้ค้ำประกันการชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ และในเอกสารหมาย จ.11 มีข้อความว่าจำเลยที่ 2 ค้ำประกันการชำระหนี้ของลูกหนี้ต่อโจทก์ เอกสารทั้งสองฉบับนี้ย่อมรับฟังประกอบกันเป็นหลักฐานแห่งการค้ำประกันได้ว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันการชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ กรณีมิใช่ศาลรับฟังพยานบุคคลประกอบข้ออ้างว่าเอกสารหมาย จ.11 ยังมีข้อความเพิ่มเติม ตัดทอน หรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารนั้นอยู่อีก จึงไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 94 (ข)
โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 2 รับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันการชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ จำเลยที่ 2 ให้การรับว่าได้ลงลายมือชื่อในเอกสารหมาย จ.11แต่ไม่ได้ค้ำประกันการชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 จึงต้องนำเอกสารหมาย จ.17 มาฟังประกอบกับเอกสารหมาย จ.11 ว่าจำเลยที่ 2 ค้ำประกันการชำระหนี้ของลูกหนี้รายใดต่อโจทก์ เอกสารหมาย จ.17 จึงเป็นหลักฐานอันสำคัญเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดีดังนั้น แม้โจทก์จะมิได้ระบุอ้างเอกสารหมาย จ.17 เป็นพยานไว้ในบัญชีพยานโจทก์อันเป็นการฝ่าฝืนต่อมาตรา 88 แต่เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมจำเป็นจะต้องสืบพยานเอกสารดังกล่าว ศาลย่อมมีอำนาจรับฟังเอกสารหมาย จ.17 ได้ตามมาตรา87 (2)
เอกสารหมาย จ.17 มีข้อความว่าจำเลยที่ 2 ยินยอมเป็นผู้ค้ำประกันการชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ และในเอกสารหมาย จ.11 มีข้อความว่าจำเลยที่ 2 ค้ำประกันการชำระหนี้ของลูกหนี้ต่อโจทก์ เอกสารทั้งสองฉบับนี้ย่อมรับฟังประกอบกันเป็นหลักฐานแห่งการค้ำประกันได้ว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันการชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ กรณีมิใช่ศาลรับฟังพยานบุคคลประกอบข้ออ้างว่าเอกสารหมาย จ.11 ยังมีข้อความเพิ่มเติม ตัดทอน หรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารนั้นอยู่อีก จึงไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 94 (ข)
โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 2 รับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันการชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ จำเลยที่ 2 ให้การรับว่าได้ลงลายมือชื่อในเอกสารหมาย จ.11แต่ไม่ได้ค้ำประกันการชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 จึงต้องนำเอกสารหมาย จ.17 มาฟังประกอบกับเอกสารหมาย จ.11 ว่าจำเลยที่ 2 ค้ำประกันการชำระหนี้ของลูกหนี้รายใดต่อโจทก์ เอกสารหมาย จ.17 จึงเป็นหลักฐานอันสำคัญเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดีดังนั้น แม้โจทก์จะมิได้ระบุอ้างเอกสารหมาย จ.17 เป็นพยานไว้ในบัญชีพยานโจทก์อันเป็นการฝ่าฝืนต่อมาตรา 88 แต่เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมจำเป็นจะต้องสืบพยานเอกสารดังกล่าว ศาลย่อมมีอำนาจรับฟังเอกสารหมาย จ.17 ได้ตามมาตรา87 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3847/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หลักฐานค้ำประกัน: รวมเอกสารหลายฉบับใช้ได้ แม้ไม่ได้ระบุในบัญชีพยาน
คำว่าหลักฐานเป็นหนังสือที่จะรับฟังเป็นหลักฐานแห่งการ ค้ำประกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 680 วรรคสอง กฎหมายไม่ได้กำหนดให้ต้องมีข้อความบรรจุอยู่ในเอกสาร ฉบับเดียวกัน อาจเป็นข้อความที่รวบรวมจากเอกสารหลายฉบับ ที่เกี่ยวข้องเป็นเรื่องเดียวกันก็ได้ เอกสารหมาย จ.17 มีข้อความว่าจำเลยที่ 2 ยินยอมเป็น ผู้ค้ำประกันการชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ และในเอกสาร หมาย จ.11 มีข้อความว่าจำเลยที่ 2 ค้ำประกันการชำระหนี้ ของลูกหนี้ต่อโจทก์ เอกสารทั้งสองฉบับนี้ย่อมรับฟังประกอบกันเป็นหลักฐานแห่งการค้ำประกันได้ว่าจำเลยที่ 2เป็นผู้ค้ำประกันการชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์กรณีมิใช่ศาลรับฟังพยานบุคคลประกอบข้ออ้างว่าเอกสารหมาย จ.11 ยังมีข้อความเพิ่มเติม ตัดทอน หรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารนั้นอยู่อีก จึงไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94(ข) โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 2 รับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันการชำระหนี้ ของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ จำเลยที่ 2 ให้การรับว่าได้ลงลายมือชื่อ ในเอกสารหมาย จ.11 แต่ไม่ได้ค้ำประกันการชำระหนี้ ของจำเลยที่ 1 จึงต้องนำเอกสารหมาย จ.17 มาฟังประกอบกับ เอกสารหมาย จ.11 ว่าจำเลยที่ 2 ค้ำประกันการชำระหนี้ ของลูกหนี้รายใดต่อโจทก์ เอกสารหมาย จ.17 จึงเป็นหลักฐาน อันสำคัญเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดีดังนั้น แม้โจทก์จะมิได้ระบุอ้างเอกสารหมาย จ.17 เป็นพยานไว้ในบัญชีพยานโจทก์อันเป็นการ ฝ่าฝืนต่อมาตรา 88 แต่เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม จำเป็นจะต้องสืบพยานเอกสารดังกล่าว ศาลย่อมมีอำนาจรับฟัง เอกสารหมาย จ.17 ได้ตามมาตรา 87(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3551/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทหนี้เบิกเกินบัญชี, การค้ำประกัน, ความรับผิดของผู้ค้ำประกัน, ดอกเบี้ย, หักหนี้
ส. เป็นกรรมการผู้จัดการโจทก์ และมีอำนาจที่จะมอบอำนาจให้พนักงานของธนาคารโจทก์กระทำการใด ๆตามที่ระบุไว้ในข้อบังคับธนาคารโจทก์ ส. ได้มอบอำนาจให้ ป. รองผู้จัดการมีอำนาจกระทำการบอกกล่าว ทวงถามเรียกเก็บหนี้สิน ฟ้องคดีแพ่ง และต่อสู้คดีทั้งปวงแทนได้และมีอำนาจตั้งตัวแทนช่วงเพื่อกระทำการดังกล่าวได้ และป. ได้ทำหนังสือมอบอำนาจให้ อ.และหรือค. ดำเนินคดีแก่จำเลยทั้งสาม เมื่อการมอบอำนาจของโจทก์เป็นไปโดยต่อเนื่องไม่ขาดสาย การฟ้องและดำเนินคดีของโจทก์จึงชอบแล้ว คำฟ้องโจทก์ได้บรรยายถึงข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 1ได้เปิดบัญชีกระแสรายวันและทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีกับโจทก์กับเดินสะพัดทางบัญชีกัน โดยจำเลยที่ 1 จดทะเบียน จำนองทรัพย์สินเป็นประกันหนี้และจำเลยที่ 2 และที่ 3 ทำสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ นอกจากนี้ยังระบุ ถึงรายละเอียดเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยและวันที่คิดดอกเบี้ย ในแต่ละอัตราต่าง ๆ และระบุยอดหนี้คิดถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2534 เป็นเงิน 128,931,527.86 บาท คิดดอกเบี้ย ถึงวันฟ้องเป็นเงิน 12,169,017.73 บาท รวมเป็นหนี้ 141,100,555.59 บาท จึงขอให้บังคับจำเลยทั้งสามร่วมกัน ชำระหนี้ดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ยนับถัดจากวันฟ้องจนกว่า จะชำระเสร็จอันเป็นรายละเอียดที่แสดงถึงสภาพแห่งข้อหา ของโจทก์ คำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหา โดยแจ้งชัดแล้ว ส่วนรายละเอียดหรือเอกสารเกี่ยวกับการ คิดหนี้ตามบัญชีเดินสะพัดเป็นข้อเท็จจริงที่คู่ความชอบ ที่จะนำสืบพิสูจน์พยานหลักฐานกันในชั้นพิจารณาได้ แม้คำฟ้องโจทก์ไม่ระบุรายละเอียดหรือเอกสารดังกล่าวมา ก็หาทำให้เป็นฟ้องเคลือบคลุมไม่ ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีฉบับสุดท้ายซึ่งเป็นสัญญาที่ใช้ประกอบกับสัญญาบัญชีเดินสะพัดได้ทำขึ้นเมื่อวันที่ 2 เมษายน 2527 กำหนดระยะเวลาชำระหนี้คืนแก่โจทก์ภายใน 1 ปี สัญญาจึงย่อมสิ้นสุดลงในวันที่ 2 เมษายน 2528เว้นแต่โจทก์และจำเลยที่ 1 จะได้ตกลงต่อสัญญากันต่อไปแต่ไม่ปรากฏว่ามีการต่อสัญญาแต่อย่างใด อีกทั้งหลังวันที่2 เมษายน 2528 ซึ่งสัญญาสิ้นสุดลง โจทก์ก็ไม่ยินยอม ให้จำเลยเบิกเงินเกินบัญชีหรือเดินสะพัดทางบัญชีกัน อีกต่อไป สัญญาบัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์กับจำเลย จึงสิ้นสุดลงในวันดังกล่าว มิใช่สิ้นสุดเมื่อโจทก์ บอกเลิกสัญญาในวันที่ 31 ธันวาคม 2534 โจทก์ย่อมมีสิทธิ คิดดอกเบี้ยจากจำเลยจากยอดหนี้ที่ค้างชำระ ณ วันสิ้นสุดสัญญา โดยไม่ทบต้น หามีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นจนถึงวันบอกเลิกสัญญาไม่ โจทก์กับจำเลยได้ทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีและเดินสะพัดทางบัญชีกันตั้งแต่ปี 2522 เป็นหนี้ผูกพันกันตลอดมาจนถึงปี 2527 แล้วตกลงทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีกันต่อไปอีก และเดินสะพัดทางบัญชีต่อมาจนสิ้นสุดเมื่อวันที่ 2 เมษายน 2528 ซึ่งสิทธิเรียกร้องให้ชำระหนี้ ตามสัญญาบัญชีเดินสะพัดไม่มีกฎหมายบัญญัติกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี และตามการ์ดบัญชีเงินฝากกระแสรายวัน ปรากฏว่าจำเลยได้นำเงินเข้าชำระหนี้ตั้งแต่ปี 2527 จนถึงวันที่ 20 ตุลาคม 2533 ชำระครั้งสุดท้ายจำนวน 5,000,000 บาท อันเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/14(1)เมื่อนับอายุความใหม่จนถึงวันฟ้องวันที่ 30 กรกฎาคม 2535ยังไม่เกิน 10 ปี สำหรับสิทธิเรียกร้องในต้นเงินค้างชำระและไม่เกิน 5 ปี สำหรับดอกเบี้ยค้างชำระ ดังนี้ สิทธิเรียกร้องของโจทก์ดังกล่าวทั้ง 2 กรณีจึงไม่ขาดอายุความ แม้โจทก์จะทำหนังสือมอบอำนาจให้ อ.บอกกล่าวบังคับจำนองหรือไม่ก็ตาม แต่การบอกกล่าวบังคับจำนองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 728 บังคับให้ทำ เป็นหนังสือเท่านั้น มิได้กำหนดเป็นแบบไว้แต่อย่างใดเมื่อ อ. ได้บอกกล่าวบังคับจำนองในนามของโจทก์และจำเลยที่ 1 ได้รับหนังสือบอกกล่าวแล้ว แต่ไม่ชำระหนี้และต่อมาโจทก์ได้ฟ้องบังคับจำนอง ถือได้ว่าโจทก์ ได้ให้สัตยาบันการบอกกล่าวบังคับจำนอง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 823 แล้วการบอกกล่าวบังคับจำนองของโจทก์เป็นไปโดยชอบมิได้ตกเป็นโมฆะ ตามสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 3 ยอมรับว่าได้ลงลายมือชื่อในสัญญาค้ำประกันทุกฉบับ และข้อความในสัญญาก็ระบุชัดว่าจำเลยที่ 1 เป็นลูกหนี้ ส่วนจำเลยที่ 2 และที่ 3เป็นผู้ค้ำประกัน จึงเป็นการแสดงฐานะของจำเลยที่ 3ไว้อย่างชัดแจ้งแล้วว่าค้ำประกันในฐานะส่วนตัว หาใช่จำเลยที่ 3 อ้างว่าลงลายมือชื่อในฐานะตัวแทนของจำเลยที่ 1ซึ่งเป็นนิติบุคคลไม่ อีกทั้งจำเลยที่ 3 ก็ไม่ได้เป็น กรรมการผู้มีอำนาจลงนามผูกพันจำเลยที่ 1 ด้วย ส่วนเรื่องการบอกกล่าวทวงถามจำเลยที่ 3 นั้น เมื่อโจทก์บอกกล่าวทวงถามจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 1 ผิดนัดแล้วโจทก์ย่อมมีสิทธิ เรียกร้องให้จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันชำระหนี้ได้ทันทีโดยไม่ต้องบอกกล่าวก่อน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 686 ดังนั้น จำเลยที่ 3 จะได้รับหนังสือบอกกล่าวทวงถามหรือไม่ ก็ไม่ทำให้จำเลยที่ 3 หลุดพ้นจากความรับผิด ตามสัญญาค้ำประกัน จำเลยที่ 2 และที่ 3 ตกลงค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ในต้นเงินจำนวน 63,200,000 บาทซึ่งเป็นการค้ำประกันหนี้เบิกเงินเกินบัญชี และยอดหนี้ของจำเลยที่ 1 อาจเพิ่มขึ้นหรือลดลงตามการนำเงินเข้าและถอนออกในบัญชี ช่วงเวลาใดที่จำเลยที่ 1 เป็นหนี้ครบวงเงินค้ำประกัน ผู้ค้ำประกันก็ต้องร่วมรับผิดเต็มวงเงินค้ำประกัน พร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันที่มีการเบิกถอนเงินเต็มวงเงิน ค้ำประกันเป็นต้นไป แต่หากต่อมาจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็น ลูกหนี้ชั้นต้นนำเงินชำระหนี้หักทอนบัญชีจนเป็นหนี้ต่ำกว่าวงเงินค้ำประกัน ผู้ค้ำประกันย่อมไม่ต้องรับผิด ในหนี้ส่วนที่จำเลยที่ 1 ได้ชำระแล้ว คงรับผิดเท่าวงเงินที่เหลือจนกว่าจะมีการเบิกถอนเงินจนเต็มวงเงินค้ำประกันใหม่ ผู้ค้ำประกันจึงจะรับผิดเต็มตามวงเงินค้ำประกันพร้อมดอกเบี้ย นั้นอีก ผู้ค้ำประกันจะต้องรับผิดเต็มวงเงินค้ำประกัน พร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันใด จึงต้องพิจารณาในวันที่จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์เต็มวงเงินค้ำประกันครั้งสุดท้ายเมื่อปรากฏว่าครั้งสุดท้ายที่จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์เต็มวงเงินตามสัญญาค้ำประกันคือวันที่ 1 พฤศจิกายน 2527ดังนี้ จำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงต้องเสียดอกเบี้ยทบต้นให้แก่โจทก์ นับแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2527 เป็นต้นไปแต่สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1สิ้นสุดลงในวันที่ 2 เมษายน 2528 จำเลยที่ 2 และที่ 3จึงต้องเสียดอกเบี้ยทบต้นให้แก่โจทก์นับแต่วันที่1 พฤศจิกายน 2527 เป็นต้นไปจนถึงวันที่ 2 เมษายน 2528อันเป็นวันสิ้นสุดสัญญาเท่านั้น หลังจากนั้นเสียดอกเบี้ยไม่ทบต้นจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ ทั้งนี้ต้องคิดดอกเบี้ย ในช่วงเวลาดังกล่าวอัตราเดียวกับจำเลยที่ 1และต้องนำเงินฝากในช่วงเวลาดังกล่าวตามรายการในการ์ดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันมาหักทอนบัญชีคำนวณยอดหนี้ที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2822/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การค้ำประกันหนี้เช่าซื้อ: การแปลงหนี้และขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกัน
จำเลยที่ 1 ทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์พิพาทจากโจทก์โดยจำเลยที่ 2 และที่ 3 ค้ำประกันยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม และมีข้อตกลงด้วยว่า แม้จำเลยที่ 1 ตกลงแปลงหนี้ด้วยประการใด ๆ จำเลยที่ 2 และที่ 3 ยังคงยอมรับผิดเป็นผู้ค้ำประกันหนี้ที่แปลงด้วย ตามข้อตกลงในสัญญาค้ำประกันมีความหมายเพียงว่า จำเลยที่ 2 และที่ 3 จะยอมรับเป็นผู้ค้ำประกันเฉพาะกรณีที่โจทก์และจำเลยที่ 1 ตกลงแปลงหนี้ใหม่เท่านั้น ดังนั้น แม้ต่อมาจำเลยที่ 1 ผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อให้แก่โจทก์และจำเลยที่ 1 ได้ทำบันทึกข้อตกลงรับสภาพหนี้ชำระค่าเสียหายให้แก่โจทก์ว่า หากจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาดังกล่าวยอมให้โจทก์ฟ้องร้องบังคับคดีในจำนวนยอดเงิน114,619 บาท บันทึกข้อตกลงรับสภาพหนี้ดังกล่าวมิใช่เป็นสัญญาที่เปลี่ยนสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งหนี้ แต่เป็นเพียงบันทึกข้อตกลงที่จำเลยที่ 1 ยอมรับผิดใช้ค่าเสียหายในจำนวนยอดเงิน 114,619 บาท เท่านั้น ย่อมไม่เป็นการแปลงหนี้ใหม่ จำเลยที่ 2และที่ 3 จึงไม่ต้องร่วมรับผิดในจำนวนเงินที่จำเลยที่ 1 รับสภาพหนี้ และถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้ยินยอมค้ำประกันในหนี้จำนวนดังกล่าว เพราะจำเลยที่ 2และที่ 3 มิได้ลงลายมือชื่อในบันทึกข้อตกลงรับสภาพหนี้เช่นว่านี้ด้วย