คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
จดทะเบียน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,377 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10443/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือมอบอำนาจไม่สมบูรณ์นำไปจดทะเบียนได้ หากมีข้อตกลงชัดเจนก่อนหน้า
โจทก์กู้เงินจากจำเลยและมอบหนังสือมอบอำนาจที่โจทก์ลงลายมือชื่อไว้โดยไม่กรอกข้อความให้แก่จำเลยยึดถือไว้ โดยมีข้อตกลงด้วยว่าหากโจทก์ไม่มีเงินชำระคืนตามกำหนด ให้จำเลยนำเอกสารดังกล่าวไปจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยได้ การที่ต่อมาโจทก์ไม่สามารถหาเงินมาชำระคืนจำเลยได้และจำเลยได้กรอกข้อความในหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวแล้วนำไปจดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลย เป็นไปตามที่ตกลงกัน จำเลยจึงมีอำนาจกระทำได้ หนังสือมอบอำนาจจึงไม่ใช่เอกสารปลอม และนิติกรรมจดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยไม่เป็นโมฆะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1020/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตัวแทนรับชำระหนี้ ตัวการมีผูกพันต่อบุคคลภายนอก และหน้าที่ส่งมอบเอกสารการจดทะเบียน
เมื่อโจทก์ชำระราคารถจักรยานยนต์จำนวน 52 คัน ให้แก่ ส. ตัวแทนของจำเลยแล้ว จำเลยในฐานะตัวการย่อมมีความผูกพันต่อโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกในกิจการทั้งหลายอัน ส. ตัวแทนได้ทำไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 820จึงถือได้ว่าโจทก์ได้ชำระราคารถจักรยานยนต์จำนวน 52 คัน ให้แก่จำเลยซึ่งเป็นตัวการแล้วตามกฎหมาย แม้ ส. จะยังไม่ได้ส่งมอบเงินค่ารถจักรยานยนต์ให้แก่จำเลยก็เป็นเรื่องระหว่างจำเลยซึ่งเป็นตัวการจะไปว่ากล่าวไล่เบี้ยเอาจาก ส. ซึ่งเป็นตัวแทนของตนโจทก์จึงไม่ได้เป็นฝ่ายผิดสัญญา จำเลยมีหน้าที่ต้องจัดส่งเอกสารให้แก่โจทก์ เพื่อโจทก์จะได้นำไปใช้ประกอบในการจดทะเบียนรถจักรยานยนต์ เมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติตามย่อมได้ชื่อว่าเป็นผู้ผิดสัญญา ต้องชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6208/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาภาระจำยอม แม้ยังไม่จดทะเบียนก็มีผลผูกพันบังคับได้ระหว่างคู่สัญญา
สัญญาที่โจทก์จำเลยตกลงกันให้โจทก์ได้สิทธิในทางภาระจำยอมใช้ถนนเข้าออกจากที่ดินของโจทก์ในพื้นที่ดินที่เป็นถนนทุกแปลงที่จำเลยมีกรรมสิทธิ์ แม้โดยสัญญานี้โจทก์จะไม่ได้มาซึ่งทรัพยสิทธิในทางภาระจำยอมโดยบริบูรณ์ เพราะไม่ได้จดทะเบียนการได้มากับพนักงานเจ้าหน้าที่ดังที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 1299 วรรคแรก แต่บทมาตรานี้ก็หาได้บัญญัติให้เป็นผลไปถึงว่านิติกรรมหรือสัญญานั้นเป็นโมฆะเสียเปล่าไปเลยไม่ ดังนี้สัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงยังคงมีผลก่อให้เกิดบุคคลสิทธิในอันที่จะเรียกร้องบังคับกันได้ในระหว่างคู่สัญญา จำเลยจึงไม่อาจโต้เถียงต่อโจทก์ว่าที่ดินของจำเลยไม่ตกอยู่ในภาระจำยอมของที่ดินโจทก์และการที่จำเลยตกลงจะจดทะเบียนภาระจำยอมตามข้อสัญญาดังกล่าวเมื่อจำเลยทำการแบ่งแยกจัดสรรที่ดินเสร็จ เมื่อจำเลยดำเนินการดังกล่าวเสร็จสิ้นแล้วกระทำผิดข้อสัญญาไม่จดทะเบียนภาระจำยอมให้แก่โจทก์ โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องขอให้บังคับจำเลยจดทะเบียนภาระจำยอมได้
ภาระจำยอมจะสิ้นไปก็ด้วยเหตุตาม ป.พ.พ. มาตรา 1397 กล่าวคือ ภารยทรัพย์หรือสามยทรัพย์สลายไปทั้งหมด หรือไม่ได้ใช้ภาระจำยอมเป็นเวลา 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1399 ข้อที่จำเลยนำสืบว่าโจทก์ใช้ถนนของจำเลยโดยมิได้ระมัดระวังก็ดี โจทก์นำท่อไปวางเกะกะกีดขวางทางน้ำในลำเหมืองก็ดี โจทก์ทำโคลนตกเรี่ยราดพื้นถนนก็ดี การกระทำของโจทก์ดังกล่าวมิใช่เหตุที่จะทำให้ภาระจำยอมสิ้นไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6188/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิอาศัยบนที่ดินเกิดจากการทำสัญญาประนีประนอม ไม่ถือเป็นการจดทะเบียนสิทธิเหนือพื้นดิน สิทธิจึงไม่ผูกพันผู้รับโอน
แม้ ท. ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดิน น.ส.3 ก. จะทำบันทึกสัญญาต่อหน้านายอำเภอยอมให้จำเลยปลูกบ้านบนที่ดินของตนก็ตาม แต่บันทึกสัญญาที่ ท. และจำเลยทำต่อกันนั้นเป็นการประนีประนอมระงับข้อพิพาทเกี่ยวกับบ้านที่จำเลยปลูกและทรัพย์สินภายในบ้าน ไม่ใช่หนังสือจดทะเบียนสิทธิเหนือพื้นดิน ดังนั้น การได้มาซึ่งสิทธิเหนือพื้นดินของจำเลยจึงไม่บริบูรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 วรรคหนึ่ง คงมีผลบังคับได้ระหว่างคู่กรณีเท่านั้น หามีผลผูกพันโจทก์ผู้รับโอนที่ดินจาก ท. ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกโดยไม่ต้องคำนึงว่าโจทก์ทำการโดยสุจริตหรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 608/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า: 'JAVACAFE' ขาดลักษณะบ่งเฉพาะตามกฎหมาย
แม้ตามมาตรา 18 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 จะบัญญัติให้คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของ คณะกรรมการเครื่องหมายการค้าเป็นที่สุดก็ตาม แต่หากคำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าเป็น คำวินิจฉัยที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ถูกต้องตามกฎหมายแล้ว ผู้อุทธรณ์ย่อมมีสิทธินำคดีมาฟ้องต่อศาลเพื่อขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยดังกล่าวได้
เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องว่าโจทก์ได้โต้แย้งคำสั่งของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าและคำวินิจฉัยของ คณะกรรมการเครื่องหมายการค้าที่ไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า "JAVACAFE" ของโจทก์โดยอ้างว่าคำสั่งและคำวินิจฉัยนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ถูกต้องตามกฎหมายแล้ว จึงถือได้ว่าคำสั่งและคำวินิจฉัยที่ไม่รับ จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์นั้นเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องคดีต่อศาล ขอให้ เพิกถอนคำสั่งและคำวินิจฉัยดังกล่าวได้
สิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญของเครื่องหมายการค้าคำว่า "JAVACAFE" ของโจทก์นอกจากอักษรโรมันที่เขียน ติดกันจำนวน 8 พยางค์ แล้ว สำเนียงเรียกขานก็ถือเป็นส่วนสาระสำคัญของเครื่องหมายการค้าของโจทก์ด้วยเช่นเดียวกัน เพราะสามารถทำให้ประชาชนผู้ใช้สินค้านั้นทราบและเข้าใจได้ว่าสินค้าที่มีเสียงเรียกขานของเครื่องหมายการค้าที่ใช้กับสินค้านั้นแตกต่างจากสินค้าอื่น คำว่า "JAVACAFE" แม้จะเขียนติดต่อเป็นคำเดียวกัน แต่คำว่า "JAVA" และ "CAFE" สามารถแยกออกจากกันได้และสามารถแปลความหมายตามพจนานุกรมได้ คำว่า "JAVA" เรียกขานว่า "จาวา" หมายถึง ชื่อเกาะในประเทศสาธารณรัฐอินโดนีเซีย ซึ่งประชาชนโดยทั่วไปรู้จักดีว่าหมายถึงเกาะชวาในประเทศสาธารณรัฐอินโดนีเซีย ซึ่งตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ ฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2535) เรื่อง การกำหนดชื่อทางภูมิศาสตร์ตามมาตรา 7 วรรคสอง (2) แห่ง พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กำหนดให้ชื่อเมืองท่า จังหวัด อำเภอ ตำบล มณฑล เกาะ ภูเขา แม่น้ำ ทะเล หรือทะเลสาปที่ประชาชนโดยทั่วไปรู้จักเป็นชื่อทางภูมิศาสตร์ ดังนั้น คำว่า "JAVA" หรือ "จาวา" จึงเป็นคำที่ไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะส่วน คำว่า "CAFE" เรียกขานว่า คาเฟ่ ความหมายตามพจนานุกรม หมายถึง กาแฟ หรือภัตตาคารขนาดเล็ก จึงถือเป็นคำสามัญไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะ เช่นเดียวกัน เมื่อนำคำ 2 คำ ดังกล่าวมาเขียนติดกันเป็น "JAVACAFE" สำเนียงเรียกขานก็จะเป็น จาวาคาเฟ่ จะเห็นได้ว่าทั้งตัวอักษรโรมันและสำเนียงเรียกขานยังคงเดิม และแม้จะแปลไม่ได้ แต่ก็สามารถสื่อความหมายให้คนทั่วไปได้ เข้าใจว่าหมายถึงกาแฟที่มีแหล่งกำเนิดมาจากเกาะชวาในประเทศสาธารณรัฐอินโดนีเซีย
การที่โจทก์ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าซึ่งมีเพียงอักษรโรมันคำว่า "JAVACAFE" เป็นส่วน สาระสำคัญแต่เพียงอย่างเดียวเพื่อใช้กับสินค้าจำพวกที่ 30 รายการสินค้า กาแฟ เมล็ดต้นโกโก้ ธัญพืชที่สีแล้ว ธัญพืชที่ยังไม่ได้สี ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของกาแฟ และครีมที่ไม่มีส่วนผสมของนม จึงเห็นได้ชัดว่าตัวอักษรโรมันที่สะกดเป็นคำทั้งหมดไม่ว่าจะออกสำเนียงแยกเป็นคำหรือรวมกันเสียงเรียกขานก็ไม่แตกต่างกัน และสื่อความหมายให้ ประชาชนทั่วไปเข้าใจว่าเป็นเครื่องหมายการค้าที่เล็งถึงลักษณะและแหล่งกำเนิดของสินค้านั้นโดยตรง จึงเป็น เครื่องหมายการค้าที่ไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะตามมาตรา 7 วรรคสอง (2) แห่ง พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 ซึ่งนายทะเบียน เครื่องหมายการค้าไม่อาจรับจดทะเบียนให้ได้ เพราะไม่เข้าลักษณะเป็นเครื่องหมายการค้าที่มี ลักษณะบ่งเฉพาะตามมาตรา 6 (1)
แม้ตาม พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 มาตรา 4 จะบัญญัติว่า "ท่านว่าสิ่งอันกล่าวต่อไปนี้เป็น สาระสำคัญต้องมีสิ่งหนึ่งเป็นอย่างน้อยอยู่ในเครื่องหมายการค้าอันพึงรับจดทะเบียนได้ (4) คำเดียวหรือหลายคำอัน ไม่ได้เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติแห่งสินค้าโดยตรงและตามความหมายอันเข้าใจกันโดยธรรมดาไม่เป็นชื่อในภูมิศาสตร์หรือนามสกุล" ก็ตาม แต่เครื่องหมายการค้าที่มิได้มีแต่คำอันเป็นชื่อในภูมิศาสตร์ หรือคำซึ่งเป็นคำที่เล็งถึงลักษณะและคุณสมบัติแห่งสินค้าโดยตรงเท่านั้นแต่ยังมีคำอื่นที่มีลักษณะบ่งเฉพาะประกอบอยู่ด้วย จึงอาจได้รับการ จดทะเบียนได้ตามมาตรา 6 แห่งเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 ซึ่งเป็นบทกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะจดทะเบียน
หลักฐานการจดทะเบียน เครื่องหมายการค้าคำว่า "JAVACAFE" ในประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตย- ประชาชนลาว ก็มิใช่หลักฐานแสดงการจดทะเบียนแพร่หลายหรือโฆษณาสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า "JAVACAFE" ในประเทศไทยแล้วอันจะถือได้ว่าเครื่องหมายการค้าดังกล่าวมีลักษณะบ่งเฉพาะตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 7 วรรคท้าย แห่ง พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 สำหรับในกรณีที่เครื่องหมายการค้าคำว่า "JAVACAFE" ของโจทก์ได้รับการจดทะเบียนมาแล้วในหลายประเทศก็ขึ้นอยู่กับกฎหมายของแต่ละประเทศที่จะวางหลักเกณฑ์ในการพิจารณาอย่างไร และความเห็นนายทะเบียนในประเทศนั้น ๆ ไม่อาจนำมาเป็นเหตุผลให้นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าต้องรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์โดยไม่ต้องพิจารณาถึงหลักเกณฑ์ตามที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 ได้ เมื่อเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 7 วรรคสอง (2) และวรรคท้ายแห่ง พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 นายทะเบียนจึงไม่อาจรับจดทะเบียนได้ตามมาตรา 6 (1) แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าว คำสั่งของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าและคำวินิจฉัยของคณะกรรมการ เครื่องหมายการค้าที่ไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมาย การค้าคำว่า "JAVACAFE" ของโจทก์จึงเป็นคำสั่งและคำวินิจฉัย ที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 608/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า: เครื่องหมายไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะตามกฎหมาย แม้จดทะเบียนในต่างประเทศก็ไม่อาจรับจดทะเบียนในไทยได้
แม้ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าฯ มาตรา 18 วรรคหนึ่ง จะให้คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าเป็นที่สุดก็ตาม แต่หากคำวินิจฉัยดังกล่าวไม่ชอบหรือไม่ถูกต้องตามกฎหมายแล้ว ผู้อุทธรณ์ย่อมมีสิทธินำคดีมาฟ้องศาลเพื่อให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของคณะกรรมการดังกล่าวได้
โจทก์ขอจดทะเบียนการค้าคำว่า "JAVACAFE" ซึ่งสิ่งที่เป็นสาระสำคัญของคำดังกล่าวนอกจากอักษรโรมันติดกัน 8 พยางค์แล้ว สำเนียงเรียกขานก็ถือเป็นสาระสำคัญด้วยเพราะสามารถทำให้ประชาชนทราบและเข้าใจได้ว่าสินค้าที่มีเสียงเรียกขานของสินค้าดังกล่าวแตกต่างจากสินค้าอื่น คำว่า "JAVACAFE" สามารถแยกออกเป็น "JAVA"เรียกขานว่า "จาวา"หมายถึงชื่อเกาะในประเทศสาธารณรัฐอินโดนีเซีย ซึ่งประชาชนทั่วไปรู้จักดีว่าหมายถึงเกาะชวา ซึ่งประกาศกระทรวงพาณิชย์ ฉบับที่ 5ฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์กำหนดให้ชื่อเมืองท่า จังหวัด... เกาะ เป็นชื่อทางภูมิศาสตร์ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าฯ มาตรา 7 วรรคสอง (2) ดังนั้น "JAVA" หรือ"จาวา"จึงเป็นคำไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะส่วนคำว่า"CAFE"เรียกขานว่า"คาเฟ่" หมายถึงกาแฟ หรือภัตตาคารขนาดเล็ก ถือเป็นคำสามัญไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะเช่นเดียวกันแม้จะนำทั้งสองคำมาเขียนติดกันเป็น "JAVACAFE" เรียกขานว่า "จาวาคาเฟ่" และจะแปลไม่ได้ แต่ก็สามารถสื่อความหมายให้คนทั่วไปเข้าใจว่าหมายถึงกาแฟที่มีแหล่งกำเนิดมาจากเกาะชวาในประเทศสาธารณรัฐอินโดนีเซีย ดังนั้น ตัวอักษรโรมันที่สะกดเป็นคำทั้งหมดไม่ว่าจะออกสำเนียงแยกหรือเป็นคำหรือรวมกัน เสียงเรียกขานก็ไม่แตกต่างกัน และสื่อความหมายให้ประชาชนทั่วไปเข้าใจว่าเป็นเครื่องหมายการค้าที่เล็งถึงลักษณะและแหล่งกำเนิดของสินค้านั้นโดยตรง จึงเป็นเครื่องหมายการค้าที่ไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าฯ มาตรา 7 วรรคสอง
การที่เครื่องหมายการค้าคำว่า "JAVACAFE" ของโจทก์ได้รับการจดทะเบียนมาแล้วในหลายประเทศนั้น ย่อมขึ้นอยู่กับกฎหมายของแต่ละประเทศที่จะวางหลักเกณฑ์ในการพิจารณาอย่างไร และความเห็นของนายทะเบียนในประเทศนั้น ๆ ไม่อาจนำมาเป็นเหตุผลให้นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าต้องรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์โดยไม่ต้องพิจารณาถึงหลักเกณฑ์ตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าฯ ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5557/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายอาคารที่ไม่จดทะเบียน: กรรมสิทธิ์ยังไม่ตกเป็นของผู้ซื้อจนกว่าจะจดทะเบียน และการบังคับคดี
การซื้อขายอาคารอันเป็นอสังหาริมทรัพย์ที่คู่สัญญามีความประสงค์จะทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ให้ถูกต้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456 นั้น ถ้าตราบใดที่ยังมิได้มีการจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าทีให้เสร็จเรียบร้อย การได้มาโดยนิติกรรมซึ่งอสังหาริมทรัพย์นั้นย่อมไม่บริบูรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 วรรคหนึ่ง เว้นแต่จะปรากฏว่าอาคารได้ตกเป็นส่วนควบของที่ดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 144 วรรคสอง เมื่อจำเลยมีสิทธิที่จะปลูกสร้างในที่ดินได้ อาคารที่จำเลยปลูกสร้างจึงมิได้ตกเป็นส่วนควบของที่ดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 146 ดังนั้น นิติกรรมการซื้อขายระหว่างผู้ร้องและจำเลยคงมีฐานะเป็นเพียงสัญญาจะซื้อขายซึ่งสามารถใช้บังคับกันต่อไปได้เท่านั้น กรรมสิทธิ์ในอาคารพิพาทจึงยังไม่ตกเป็นส่วนควบของที่ดิน ดังเช่นกรณีการซื้อขายเสร็จเด็ดขาดที่คู่สัญญามิได้มีความประสงค์ที่จะทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ และแม้จำเลยจะมอบอาคาให้ผู้ร้องครอบครองก็ถือว่าเป็นการครอบครองแทนจำเลยกรรมสิทธิ์ในอาคารยังคงเป็นของจำเลยอยู่ยังถือไม่ได้ว่าผู้ร้องอยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1300 เพราะยังชำระราคากันไม่ครบผู้ร้องจึงยังไม่ได้รับความคุ้มครองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 287 ดังนั้น โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาย่อมมีสิทธินำยึดอาคารขายทอดตลาดชำระหนี้ได้ ผู้ร้องไม่มีสิทธิร้องขัดทรัพย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 517/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกลับจดทะเบียนบริษัทร้างเพื่อดำเนินคดีเรียกร้องหนี้สิน ต้องคำนึงถึงฐานะเดิมและหน้าที่ตามกฎหมาย
การที่ศาลจะสั่งและวางข้อกำหนดไว้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1246 ต้องเพื่อความยุติธรรมและโดยจุดประสงค์เพื่อจัดให้บริษัทเข้าสู่ฐานอันใกล้ที่สุดกับฐานเดิมเสมือนดั่งว่าบริษัทนั้นมิได้ถูกขีดชื่ออกจากทะเบียนเลย มิใช่สั่งและวางข้อกำหนดให้บริษัทหลุดพ้นหน้าที่ตามกฎหมายที่ต้องปฏิบัติในการทำบัญชีงบดุล ตรวจสอบและประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4547/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์รถยนต์: การซื้อขายที่ขัดแย้งกันระหว่างผู้ขายเดิมกับผู้ซื้อรายใหม่ ศาลสั่งเพิกถอนการจดทะเบียน
คำเสนอขายรถยนต์พิพาทมี ส. ลงชื่อโดยมิได้ประทับตราสำคัญของบริษัทจำเลยที่ 1 ให้ถูกต้องตามที่ระบุไว้ในหนังสือรับรองแต่กรรมการของบริษัทมีเพียง ส. เท่านั้น ส. จึงมิได้เสนอขายเป็นส่วนตัว แม้จะมิได้ประทับตราของบริษัทจำเลยที่ 1ในคำเสนอขายแต่การที่จำเลยที่ 1 เข้ารับประโยชน์โดยส่งมอบรถยนต์พิพาทให้แก่ อ. ผู้เช่าซื้อ และเป็นผู้รับชำระราคาจากโจทก์ แสดงว่า ส. ทำคำเสนอขายรถยนต์พิพาทต่อโจทก์ในฐานะกรรมการผู้มีอำนาจของจำเลยที่ 1 และถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้ให้สัตยาบันการกระทำของ ส. แล้ว การซื้อขายรถยนต์พิพาทจึงมีผลใช้บังคับได้ตามกฎหมาย และเป็นการซื้อขายเสร็จเด็ดขาด กรรมสิทธิ์ตกเป็นของโจทก์เมื่อได้ตกลงซื้อขายและชำระราคาให้แก่จำเลยที่ 1 แล้ว แม้จะไม่ได้จดทะเบียนรถยนต์พิพาทเป็นชื่อของโจทก์ ก็หาทำให้การซื้อขายไม่สมบูรณ์ เพราะทะเบียนรถยนต์ไม่ใช่หลักฐานแห่งกรรมสิทธิ์ตามกฎหมาย เป็นเพียงหลักฐานที่กำหนดขึ้นเพื่อความสะดวกในการควบคุมของเจ้าพนักงานเท่านั้น
การที่จำเลยที่ 1 นำรถยนต์พิพาทที่ขายให้โจทก์แล้วไปขายให้แก่จำเลยที่ 2 อีกแม้จำเลยที่ 2 จะซื้อโดยสุจริตและจดทะเบียนต่อกรมการขนส่งทางบก ระบุชื่อจำเลยที่ 2เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ ก็หาทำให้จำเลยที่ 2 มีกรรมสิทธิ์ในรถยนต์พิพาทไม่ เพราะกรรมสิทธิ์เป็นของโจทก์มิใช่ของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 จึงไม่มีกรรมสิทธิ์ที่จะโอนให้แก่ผู้ใดได้อีกและการที่จำเลยที่ 1 นำรถยนต์พิพาทไปขายให้แก่จำเลยที่ 2 เป็นการละเมิดสิทธิของโจทก์ที่มีอยู่ตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336 บัญญัติไว้ โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนรถยนต์ที่จำเลยทั้งสองยื่นคำขอต่อกรมการขนส่งทางบกได้ แต่จะขอให้เพิกถอนการซื้อขายระหว่างจำเลยทั้งสองไม่ได้เพราะจำเลยที่ 2 ซื้อรถยนต์พิพาทโดยสุจริต สัญญาซื้อขายระหว่างจำเลยทั้งสองบังคับคู่สัญญาได้ เพียงแต่ไม่อาจใช้ยันโจทก์เท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3700/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิขอคืนภาษีซื้อของผู้ประกอบการขายมันสำปะหลังที่ไม่จดทะเบียนขายภายในประเทศ
การขายผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังอัดเม็ดที่มิใช่การส่งออก เป็นกิจการที่ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 81 (1) (ก) แห่งประมวลรัษฎากร แต่มาตรา 81/3 (1) ให้ผู้ประกอบการดังกล่าวขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มและเสียภาษีมูลค่าเพิ่มโดยคำนวณจากภาษีขายหักด้วยภาษีซื้อในแต่เดือนภาษีได้ ตามมาตรา 82/3 ดังนั้น หากผู้ประกอบการ มิได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับกิจการขายผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังอัดเม็ดในราชอาณาจักรย่อมไม่มีสิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับกิจการดังกล่าวตามมาตรา 82/3
โจทก์ระบุในคำฟ้องว่า จำเลยเป็นผู้ได้รับอนุญาตจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเฉพาะประเภทการค้าส่งออก ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังอัดเม็ดเท่านั้น มิได้จดทะเบียนขายภายในประเทศ และจำเลยไม่เคยส่งออกผลิตภัณฑ์ มันสำปะหลังอัดเม็ดด้วยตนเองเลย เพียงแต่ขายให้แก่ผู้ส่งออกอีกทอดหนึ่ง จึงเป็นการขายที่มิได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามประมวลรัษฎากร มาตรา 81 (1) (ก) จำเลยจึงไม่มีสิทธิขอภาษีซื้อคืน แต่จำเลยกลับยื่นแบบแสดงรายการเสีย ภาษีมูลค่าเพิ่มด้วยการสำแดงภาษีซื้อที่เป็นเท็จเป็นเหตุให้เจ้าพนักงานของโจทก์หลงเชื่อคืนภาษีคืนให้แก่จำเลย โจทก์ทวงถามแล้วแต่จำเลยไม่ยอมคืน เป็นกรณีที่โจทก์อ้างว่าจำเลยมิใช่ผู้ประกอบการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับ การขายผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังอัดเม็ดในราชอาณาจักร แต่จำเลยกลับยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มและขอคืนภาษีซื้อเป็นเหตุให้เจ้าพนักงานของโจทก์คืนภาษีซื้อให้แก่จำเลย เมื่อจำเลยไม่มีสิทธิขอภาษีซื้อคืน จึงต้องคืนเงินภาษีดังกล่าวให้แก่โจทก์ โจทก์มิได้กล่าวอ้างว่าภาษีซื้อที่จำเลยนำมาหักจากภาษีขายในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นภาษีซื้อต้องห้ามตามมาตรา 82/5 คำฟ้องของโจทก์จึงมีมูลหนี้ที่แน่ชัด โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
of 138