คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
จัดการมรดก

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 279 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5912/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภูมิลำเนาของผู้ตาย: การกำหนดภูมิลำเนาเพื่อการจัดการมรดกเมื่อมีสถานที่อยู่อาศัยหลายแห่ง
แม้ผู้ตายมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านและถึงแก่ความตายที่จังหวัดพิจิตรแต่ผู้ตายก็ได้อยู่กินเป็นสามีภริยากับผู้ร้องถึง 20 ปี ที่จังหวัดสมุทรปราการและได้ซื้อที่ดินไว้ที่จังหวัดสมุทรปราการด้วย แสดงว่าผู้ตายมีบ้านอยู่ที่จังหวัดสมุทรปราการเป็นสถานที่อยู่อันเป็นแหล่งสำคัญอีกแห่งหนึ่งด้วย บ้านที่จังหวัดสมุทรปราการจึงเป็นภูมิลำเนาของผู้ตาย ผู้ร้องมีสิทธิเสนอคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายต่อศาลจังหวัดสมุทรปราการได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 4 จัตวา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5799/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์ความเป็นบุตรและการจัดการมรดก: ศาลอนุญาตสืบพยานเพิ่มเติมเพื่อความเที่ยงธรรม
ศาลได้มีคำสั่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายแล้วต่อมาผู้คัดค้านยื่นคำร้องคัดค้านว่าผู้ร้องมิใช่บุตรของผู้ตายและมิได้เป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกขอให้มีคำสั่งถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายและตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกแทนศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ถอนผู้ร้องออกจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายและมีคำสั่งตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกแทนศาลอุทธรณ์พิพากษายืนผู้ร้องฎีการะหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาผู้คัดค้านถึงแก่กรรมผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้จำหน่ายคดีศาลฎีกาอนุญาตให้จำหน่ายคดีในส่วนของผู้คัดค้านเสียจากสารบบความแต่ยังคงวินิจฉัยประเด็นที่ว่าผู้ร้องเป็นบุตรของผู้ตายหรือไม่ต่อไป คดีที่ไม่มีการชี้สองสถานผู้คัดค้านยื่นบัญชีระบุพยานครั้งแรกเมื่อวันที่7ตุลาคม2535เป็นระยะเวลาก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่าเจ็ดวันโดยศาลชั้นต้นไต่สวนไว้วันที่12พฤศจิกายน2535และเลื่อนไปนัดไต่สวนวันที่17ธันวาคม2535แล้วเลื่อนไปนัดไต่สวนวันที่18มกราคม2536ผู้คัดค้านยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมครั้งที่1เมื่อวันที่18ธันวาคม2535ซึ่งเป็นระยะเวลาก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่าเจ็ดวันอันเป็นการชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา88วรรคสองและวรรคสามต่อมาศาลชั้นต้นนัดและไต่สวนพยานผู้คัดค้านในวันที่24กุมภาพันธ์2536ในวันเดียวกันนี้แต่ก่อนไต่สวนผู้คัดค้านยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมครั้งที่2หนึ่งอันดับคือทะเบียนบ้านซึ่งแสดงว่าผู้คัดค้านเป็นบุตรของผู้ตายผู้ร้องมิได้แถลงคัดค้านแต่กลับยอมรับด้วยว่าผู้คัดค้านเป็นบุตรของผู้ตายจึงไม่เป็นการเอารัดเอาเปรียบหรือทำให้ผู้ร้องเสียเปรียบประกอบกับคดีมีประเด็นที่ต้องวินิจฉัยว่าผู้คัดค้านเป็นบุตรของผู้ตายหรือไม่ด้วยมิใช่มีแต่เพียงประเด็นที่ว่าผู้ร้องเป็นบุตรของผู้ตายหรือไม่และมีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกหรือไม่จึงถือได้ว่าเป็นกรณีจำเป็นจะต้องสืบพยานหลักฐานที่ขออนุญาตระบุเพิ่มเติมนี้เพื่อให้การวินิจฉัยชี้ขาดข้อสำคัญแห่งประเด็นเป็นไปโดยเที่ยงธรรมศาลชั้นต้นใช้คำสั่งอนุญาตให้ผู้คัดค้านระบุพยานเพิ่มเติมครั้งที่2ชอบด้วยกฎหมายแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5265/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความจัดการมรดก, การแบ่งทรัพย์มรดก, สิทธิส่วนแบ่งราคาขาย, การซื้อขายโดยชอบ
จำเลยที่1ในฐานะผู้จัดการมรดกจดทะเบียนโอนบ้านและที่พิพาทแก่จำเลยที่1ในนามจำเลยที่1เป็นผู้รับมรดกเองเพื่อความสะดวกในการที่จะขายเอาเงินมาแบ่งปันกันยังไม่อาจถือได้ว่าเป็นการแบ่งทรัพย์มรดกให้แก่ทายาทเสร็จสิ้นการจัดการมรดกจะเสร็จสิ้นต่อเมื่อได้แบ่งเงินราคาขายกันแล้วเมื่อยังไม่ได้แบ่งเงินราคาขายแก่ทายาทการจัดการมรดกจึงยังไม่เสร็จสิ้นลงอายุความยังไม่เริ่มนับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1733วรรคสอง จำเลยที่1ขายบ้านและที่ดินทรัพย์มรดกให้จำเลยที่2โดยชอบไม่อาจเพิกถอนได้โจทก์จึงไม่อาจขอให้ใส่ชื่อโจทก์ร่วมเป็นเจ้าของคงมีสิทธิเพียงได้รับส่วนแบ่งเงินค่าขายทรัพย์มรดกดังกล่าวตามราคาที่ขายไปเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4239/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คุณสมบัติผู้จัดการมรดก: แม้มีข้อจำกัดด้านสุขภาพ แต่สามารถจัดการมรดกได้ หากไม่มีทายาทอื่นสนใจ
แม้ผู้ร้องจะมีอายุมากหูฟังไม่ค่อยได้ยินต้องถามด้วยเสียงดังจึงได้ยินก็ตามแต่ผู้ร้องก็สามารถตอบคำถามทนายความจนศาลชั้นต้นสามารถบันทึกถ้อยคำของผู้ร้องได้ข้อความครบถ้วนตามความต้องการทรัพย์มรดกของผู้ตายก็มีเพียงที่ดินและบ้านบนที่ดินดังกล่าวไม่ยุ่งยากต่อการจัดการผู้ร้องย่อมสามารถติดต่อสื่อความหมายให้เจ้าพนักงานทราบความประสงค์ของตนได้อีกทั้งทายาทที่จะสามารถยื่นคำร้องขอต่อศาลเพื่อจัดการมรดกของผู้ตายนอกจากผู้ร้องแล้วก็มีเพียงบุตรของผู้ตายอีก2คนแต่ทายาททั้งสองดังกล่าวไม่ได้สนใจใยดีกับการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายการจะปล่อยให้มรดกของผู้ตายทิ้งไว้โดยไม่มีผู้จัดการอาจเกิดความเสียหายจึงสมควรตั้งให้ผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4228/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความมรดก: การจัดการมรดกยังไม่สิ้นสุดคดีขาดอายุความ
คดีต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่งเมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 3 ฟังข้อเท็จจริงว่า การจัดการมรดกยังไม่สิ้นสุดลง แม้การจัดการมรดกจะล่วงเลยมาเกินกว่าห้าปีแล้ว คดีโจทก์ก็ยังไม่ขาดอายุความ ที่จำเลยฎีกาว่า จำเลยโอนที่ดินพิพาทมาเป็นของจำเลยตามความประสงค์ของเจ้ามรดกแล้วขอออกโฉนดที่ดิน โจทก์และทายาทอื่นไม่คัดค้าน ถือได้ว่าจำเลยไม่ได้ครอบครองที่ดินพิพาทแทนโจทก์และทายาทอื่น การจัดการมรดกจึงได้สิ้นสุดลงเป็นเวลาเกินกว่าห้าปีแล้ว คดีจึงขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1733 เป็นฎีกาโต้เถียงในข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยข้อกฎหมายเรื่องอายุความ ต้องห้ามตามบทกฎหมายที่กล่าวข้างต้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4228/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องแบ่งมรดก: การครอบครองแทนทายาททำให้การจัดการมรดกยังไม่สิ้นสุด
คดีต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248วรรคหนึ่งเมื่อศาลอุทธรณ์ภาค3ฟังข้อเท็จจริงว่าการจัดการมรดกยังไม่สิ้นสุดลงแม้การจัดการมรดกจะล่วงเลยมาเกินกว่าห้าปีแล้วคดีโจทก์ก็ยังไม่ขาดอายุความที่จำเลยฎีกาว่าจำเลยโอนที่ดินพิพาทมาเป็นของจำเลยตามความประสงค์ของเจ้ามรดกแล้วขอออกโฉนดที่ดินโจทก์และทายาทอื่นไม่คัดค้านถือได้ว่าจำเลยไม่ได้ครอบครองที่ดินพิพาทแทนโจทก์และทายาทอื่นการจัดการมรดกจึงได้สิ้นสุดลงเป็นเวลาเกินกว่าห้าปีแล้วคดีจึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1733เป็นฎีกาโต้เถียงในข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยข้อกฎหมายเรื่องอายุความต้องห้ามตามบทกฎหมายที่กล่าวข้างต้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 327/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดการมรดก: อำนาจศาลในการถอดถอน/แต่งตั้งผู้จัดการมรดกใหม่เมื่อมีพฤติการณ์เปลี่ยนแปลง
แม้จะมีข้อกำหนดในพินัยกรรมให้ตั้งผู้ร้องที่1ถึงที่4เป็นผู้จัดการมรดกและศาลมีคำสั่งให้ผู้ร้องทั้งสี่ร่วมกันเป็นผู้จัดการมรดกแล้วเมื่อปรากฏต่อมาในภายหลังว่าพฤติการณ์เปลี่ยนแปลงไปศาลมีอำนาจถอดถอนหรือสั่งตั้งผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาลเพิ่มเติมได้เพื่อประโยชน์แก่กองมรดกและเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ทายาทผู้มีสิทธิรับมรดก แม้ศาลยกคำร้องของค. ที่ร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกแล้วแต่ผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกคนอื่นร้องขอต่อศาลให้ตั้งค.เป็นผู้จัดการมรดกก็เป็นสิทธิที่จะกระทำได้ไม่ขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1713 การที่บุคคลใดเคยถูกศาลพิพากษาลงโทษมิใช่เหตุที่จะเป็นผู้จัดการมรดกไม่ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1718

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1163/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งมรดก สินสมรส การโอนทรัพย์สินโดยไม่ชอบ และการจัดการมรดกของผู้จัดการมรดก
โจทก์ทั้งสองฟ้องว่า ป. และ น. อยู่กินฉันสามีภริยากันตั้งแต่ปี 2470 และต่อมาปี 2520 จึงได้จดทะเบียนสมรสกัน จำเลยที่ 2 มิได้ให้การปฏิเสธในข้อนี้ ถือว่ายอมรับข้อเท็จจริงดังกล่าว
ป. และ น. เป็นสามีภริยากันก่อนใช้ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5 พุทธศักราช 2477 เมื่อ น. ได้ที่ดินโฉนดเลขที่ 9379 มาในปี 2500 ซึ่งอยู่ในระหว่างสมรส แม้ในโฉนดที่ดินจะมีชื่อ น. เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์เพียงผู้เดียวก็ตาม ก็เป็นสินสมรสตามพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติ บรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ. 2477 มาตรา 4 ประกอบพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519 มาตรา 4 และเมื่อ ป. สามีถึงแก่กรรมก็ต้องแบ่งสินสมรสตามกฎหมายลักษณะผัวเมียและเมื่อ ป. กับ น. ต่างไม่ปรากฏว่ามีสินเดิม ป. สามีจึงได้ส่วนแบ่ง2 ใน 3 ส่วน น. ภริยาได้ 1 ใน 3 ส่วน
น. โอนที่ดินโดยรวมเอามรดกของ ป. ส่วนที่ตกได้แก่โจทก์ให้แก่จำเลยที่ 2 เป็นการไม่ชอบ การโอนจึงไม่สมบูรณ์เฉพาะส่วนที่เป็นของโจทก์ โจทก์ย่อมฟ้องจำเลยที่ 2ซึ่งเป็นทายาทผู้รับโอนทรัพย์มรดกไว้โดยไม่ชอบนั้นให้แบ่งส่วนแก่ตนได้โดยไม่จำต้องฟ้องขอให้เพิกถอนการโอน
โจทก์มิได้ฟ้องกล่าวอ้างว่า น. โอนที่ดินให้แก่จำเลยที่ 2 ในขณะที่ไม่มีสติสัมปชัญญะแต่อย่างใด คดีจึงไม่มีประเด็นในข้อนี้ การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์วินิจฉัยในประเด็นดังกล่าวเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น โจทก์ฎีกาในประเด็นนี้ก็เป็นฎีกานอกประเด็นหรือเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
แม้จำเลยที่ 2 จะเป็นผู้จัดการมรดกของ ป. และ น. มีหน้าที่ติดตามทรัพย์มรดกของ ป. และ น. มาแบ่งแก่ทายาทแล้วไม่ติดตาม ก็เป็นเรื่องไม่กระทำการตามหน้าที่ในฐานะผู้จัดการมรดก แต่เมื่อไม่ได้ความว่าทรัพย์มรดกที่โจทก์ฟ้องในส่วนนี้อยู่ที่จำเลยที่ 2 หรืออยู่ในความครอบครองของจำเลยที่ 2 โจทก์ก็จะฟ้องแบ่งทรัพย์มรดกในส่วนนี้จากจำเลยที่ 2 หรือให้ใช้ราคาทรัพย์มรดกตามส่วนที่โจทก์มีสิทธิจะได้รับหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 879/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความกับการจัดการมรดก: ข้อตกลงไม่ขัดกฎหมาย
ข้อตกลงระหว่างโจทก์กับ ว. และจำเลยมีว่า จำเลยยอมรับว่าได้สั่งจ่ายเช็คให้โจทก์และ ว. และยอมรับว่าจะชำระเงินให้โจทก์และ ว. เมื่อศาลได้ตั้งผู้จัดการมรดกของ ถ. เจ้ามรดก และผู้จัดการมรดกได้จำหน่ายที่ดินแล้วโดยโจทก์และ ว. ยอมถอนคำร้องทุกข์ในคดีเช็คที่ได้แจ้งความไว้ ข้อตกลงเช่นนี้เข้าลักษณะสัญญาประนีประนอมยอมความ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 850 ซึ่งมีผลทำให้หนี้เดิมคือหนี้ตามเช็คระงับไป เกิดหนี้ใหม่ตามสัญญาประนีประนอมยอมความจำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชำระเงินตามเช็คพิพาทแก่โจทก์
เมื่อผู้จัดการมรดกของ ถ. ได้ประกาศขายที่ดินตามข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยแล้ว โดยเมื่อขายได้แล้วจะต้องแบ่งเงินให้แก่จำเลยและจำเลยจะต้องนำไปชำระให้แก่โจทก์ตามข้อตกลง ดังนั้นอำนาจในการจัดการมรดกรวมตลอดถึงการขายที่ดินมรดกตามข้อตกลง จึงขึ้นอยู่กับผู้จัดการมรดกมิใช่ขึ้นอยู่กับจำเลยหรือสุดแล้วแต่ใจของจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้โจทก์ ข้อตกลงดังกล่าวจึงไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมายและไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนข้อตกลงดังกล่าวจึงหาตกเป็นโมฆะ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 152 (เดิม) ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7036/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทำพินัยกรรม การจัดการมรดก และความสัมพันธ์ระหว่างผู้รับพินัยกรรมและทายาท
เนื้อหาของเอกสารพิพาทเป็นจดหมายที่ผู้ตายแจ้งให้ ส.ทราบว่าผู้ตายทำพินัยกรรมมอบทรัพย์สินทั้งหมดให้ ล.โดยขอให้ ส.เป็นพยานคนที่สองด้วยและเมื่อผู้ตายถึงแก่ความตายก็ขอให้ ส.ช่วยดูแลให้ ล.เก็บรักษาทรัพย์สินส่วนใหญ่ของผู้ตายไว้ให้เด็กชาย บ.ด้วย เท่ากับเป็นการฝากฝังให้ ส.ช่วยดูแลทรัพย์สินตามพินัยกรรมที่ทำไว้แล้วให้แก่เด็กชาย บ. ตามเอกสารพิพาทนี้แสดงว่ามีพินัยกรรมอยู่แล้ว เพียงแต่ขอให้ ส.ช่วยเป็นพยานในพินัยกรรมอีกคนหนึ่ง ดังนั้น แม้จะฟังว่าผู้ตายเขียนเอกสารพิพาทขึ้นเองทั้งฉบับก็ตาม ลำพังเอกสารดังกล่าวหาใช่เป็นพินัยกรรมของผู้ตายไม่ เป็นเพียงการแจ้งให้ ส.ทราบว่าผู้ตายได้ทำพินัยกรรมมอบทรัพย์สินทั้งหมดให้ ล.และขอให้ ส.ช่วยดูแลด้วยเท่านั้น
แม้ผู้ร้องเพิ่งจะอ้างเอกสารที่อ้างว่าเป็นพินัยกรรมที่ผู้ร้องเพิ่งค้นพบภายหลังจากที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งคดีนี้มาท้ายอุทธรณ์เป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมายก็ตาม แต่เอกสารดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานอันสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็นแห่งคดี เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมศาลมีอำนาจรับฟังได้
เอกสารพิพาทมีข้อความระบุว่าเป็นใบมอบอำนาจเขียนขึ้นด้วยลายมือผู้ตายเอง แสดงเจตนาขอยกทรัพย์ทุกอย่างที่มีอยู่ให้แก่ ส.ผู้เป็นภริยา และว่า นิติกรรมอันใดที่ ส.กระทำให้ถือว่าผู้ตายได้กระทำเองโดยไม่มีเงื่อนไขใด ๆทั้งสิ้น และลงชื่อผู้ตายไว้นั้น เอกสารดังกล่าวไม่มีสภาพเป็นพินัยกรรม เพราะมิได้กำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สินของตนเอง หรือในการตาง ๆ อันจะให้เกิดเป็นผลบังคับได้ตามกฎหมายเมื่อตนตาย ดังนั้น แม้จะฟังว่าผู้ตายทำเอกสารดังกล่าวขึ้นไว้ก็ตาม ก็ไม่มีผลเป็นพินัยกรรมตามกฎหมาย
ตามคำคัดค้านของผู้คัดค้านที่ 1 กล่าวถึงว่าผู้ตายทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินทั้งหมดของผู้ตายให้ผู้คัดค้านที่ 1 และกล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างผู้ตายกับผู้คัดค้านที่ 1 ว่ามีบุตรด้วยกัน 2 คน ขอให้ศาลมีคำสั่งแต่งตั้งผู้คัดค้านที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายในฐานะผู้รับพินัยกรรมหรือในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมของบุตรทั้งสอง คำคัดค้านของผู้คัดค้านที่ 1 ไม่เป็นการขัดกันหรือเป็นปฏิปักษ์ต่อบุตรผู้เยาว์ทั้งสองของผู้คัดค้านที่ 1 ถึงขนาดที่จะพิจารณาคำคัดค้านของผู้คัดค้านที่ 1 ไม่ได้
คำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกเพียงแต่บรรยายให้ศาลเห็นว่า ผู้ร้องมีส่วนได้เสียในกองมรดกของผู้ตายและมีเหตุขัดข้องในการจัดการทรัพย์มรดก เพื่อแสดงถึงความจำเป็นที่จะต้องร้องขอให้ศาลตั้งเป็นผู้จัดการมรดกก็เป็นการเพียงพอแล้วส่วนทรัพย์มรดกและทายาทมีอยู่อย่างไรเป็นขั้นตอนในชั้นจัดการมรดก แม้คำร้องขอระบุทรัพย์มรดกและทายาทของผู้ตายไม่ครบถ้วน ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นการไม่สุจริตไม่เหมาะสมที่จะเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย
of 28