พบผลลัพธ์ทั้งหมด 206 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3333/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการอุทธรณ์คดีอาญาในศาลแขวง: การโต้แย้งข้อเท็จจริงและการรับอุทธรณ์ที่ไม่ชอบ
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 391ซึ่งมีอัตราโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 1,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า จำเลยตบหน้าผู้เสียหายที่บริเวณแก้มซ้าย 1 ครั้ง พิพากษาว่าจำเลยกระทำผิดตามฟ้องลงโทษปรับ 1,000 บาท คดีจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงพ.ศ. 2499 มาตรา 22 ประกอบพระราชบัญญัติให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ. 2520 มาตรา 3 จำเลยอุทธรณ์ว่า พยานหลักฐานของโจทก์และจำเลยข้อเท็จจริงมีเหตุสงสัยตามสมควรว่าจำเลยได้กระทำความผิดตามฟ้องหรือไม่ ต้องยกประโยชน์แห่งความสงสัยนั้นให้จำเลย จึงเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าวที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้รับอุทธรณ์ของจำเลยและศาลอุทธรณ์ภาค 3รับวินิจฉัยให้เป็นการไม่ชอบและแม้ศาลอุทธรณ์ภาค 3 จะพิพากษากลับโจทก์ก็ไม่มีสิทธิฎีกา และศาลฎีกายกคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 3และยกฎีกาของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3304/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกาในคดีทรัพย์สินที่มีทุนทรัพย์ไม่เกินสองแสนบาท และการฎีกาข้อเท็จจริง
โจทก์ทั้งสี่ฟ้องขอให้จำเลยแบ่งโอนที่ดินมรดก จำเลยต่อสู้ว่าเป็นที่ดินของจำเลย เมื่อปรากฏว่า คดีนี้เป็นคดีที่ราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท ซึ่งคู่ความต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริง ที่โจทก์ทั้งสี่ฎีกาว่าพยานหลักฐานของโจทก์ทั้งสี่มีน้ำหนักน่าเชื่อว่า จำเลยออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) ไว้แทนโจทก์ที่ 2 คดีโจทก์ทั้งสี่ไม่ขาดอายุความนั้น ล้วนแล้วแต่เป็นฎีกาในข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 แก้ไขเพิ่มเติมโดย พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 12) พ.ศ. 2534 มาตรา 18ซึ่งมีผลใช้บังคับแล้วในวันที่โจทก์ทั้งสี่ยื่นฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2065/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดในการฎีกาเมื่อศาลอุทธรณ์เปลี่ยนฐานความผิดจากลักทรัพย์เป็นยักยอก
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานลักทรัพย์ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 335 ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง โจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับเป็นว่า จำเลยมีความผิดฐานยักยอก ตามมาตรา 352 วรรคแรกจึงเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์ในความผิดฐานลักทรัพย์แล้ว โจทก์จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ แม้จะเป็นปัญหาข้อกฎหมายก็ดี ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1774/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการลงโทษจำเลยตามคำฟ้อง: ศาลจำกัดการลงโทษเฉพาะความผิดที่โจทก์ฟ้องเท่านั้น
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยได้พรากเด็กหญิงผู้เสียหายไปเพื่อการอนาจารและข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายจนสำเร็จความใคร่โดยผู้เสียหายไม่ยินยอมขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277,317,90 ซึ่งมิได้มีรายละเอียดให้เห็นว่าโจทก์ประสงค์ให้ลงโทษทุกกรรม ทั้งอ้างประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 มาด้วย ดังนี้แม้ทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยกระทำความผิดฐานพรากผู้เยาว์กับข่มขืนกระทำชำเรา อันเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ศาลจะลงโทษจำเลยในแต่ละกรรมนอกเหนือจากคำฟ้องและคำขอของโจทก์หาได้ไม่ ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ โดยให้ลงโทษในความผิดฐานพรากผู้เยาว์ตาม มาตรา 317 วรรคสาม กรรมเดียว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 753/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฎีกาถูกจำกัดเนื่องจากศาลอุทธรณ์ยืนตามศาลชั้นต้นในข้อหาที่ถูกยกฟ้องไปแล้ว
เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 371ข้อหาอื่นให้ยกฟ้อง และศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ข้อหาตาม พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 220.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4007/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คดีลักทรัพย์และรับของโจร: ข้อจำกัดการอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง และการระบุข้อเท็จจริงที่ชัดเจนในอุทธรณ์
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานลักทรัพย์สร้อยข้อมือและผ้าโสร่งไหม ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 334 หรือขอให้ลงโทษจำเลยฐานรับของโจรผ้าโสร่งไหมตามมาตรา 357 มิได้ขอให้ลงโทษจำเลยฐานรับของโจรสร้อยข้อมือด้วย ดังนั้น ความผิดฐานลักทรัพย์สร้อยข้อมือ ซึ่งมีอัตราโทษอย่างสูงตามที่กฎหมายกำหนดไว้ให้จำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 6,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา193 ทวิ การที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยข้อเท็จจริงในความผิดฐานลักทรัพย์สร้อยข้อมือจึงเป็นการไม่ชอบ ส่วนที่ขอให้ลงโทษจำเลยฐานลักทรัพย์ตาม มาตรา 334 หรือรับของโจรตามมาตรา 357 เฉพาะเรื่องผ้าโสร่งไหมนั้นก็เป็นการกระทำคนละกรรมความผิดกัน ความผิดตามมาตรา 334 ในส่วนนี้จึงต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามที่กล่าวข้างต้นเช่นกัน ฉะนั้นในส่วนที่เกี่ยวกับผ้าโสร่งไหมโจทก์และโจทก์ร่วมคงอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงได้เฉพาะในความผิดฐานรับของโจรตามมาตรา 357 เท่านั้น ในคำฟ้องอุทธรณ์ของโจทก์และโจทก์ร่วมทั้งสองฉบับ คงอุทธรณ์แต่เฉพาะในข้อเท็จจริงที่ว่าพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบมาฟังได้ว่าผ้าโสร่งไหมเป็นของโจทก์ร่วมเท่านั้น ไม่มีคำฟ้องอุทธรณ์ส่วนใดที่ได้แสดงให้เห็นว่าพยานหลักฐานของโจทก์และโจทก์ร่วมที่นำสืบมาจะมีข้อเท็จจริงที่แสดงให้เห็นว่าจำเลยได้กระทำผิดฐานรับของโจรอันเป็นความผิดที่โจทก์และโจทก์ร่วมอุทธรณ์ได้ คำฟ้องอุทธรณ์ของโจทก์และโจทก์ร่วมจึงมิได้ระบุข้อเท็จจริงโดยย่อพอที่จะอ้างอิงให้เห็นได้ว่าจำเลยกระทำผิดตามที่ขอให้ลงโทษมาในคำขอท้ายอุทธรณ์เป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยให้จึงเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3012/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกาในคดีประกันตัว: ทุนทรัพย์แต่ละรายไม่เกินห้าหมื่นบาท ถือเป็นข้อห้ามฎีกา
โจทก์ฟ้องให้จำเลยชำระค่าปรับตามสัญญาประกันผู้ต้องหา 2 ฉบับถือว่าสัญญาประกันแต่ละฉบับเป็นคนละรายแบ่งแยกรับผิดเป็นส่วนสัดกันเมื่อทุนทรัพย์แต่ละรายไม่เกินห้าหมื่นบาท โจทก์จำเลยจึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5917/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดในการฎีกาเรื่องใหม่นอกเหนือจากที่เคยต่อสู้ในศาลชั้นต้น และความรับผิดร่วมกันในหนี้จากการประกอบธุรกิจสามีภริยา
จำเลยที่ 1 ฎีกาว่า โจทก์และจำเลยที่ 1 ไม่มีนิติสัมพันธ์ต่อกัน แท้จริงแล้วน้องชายโจทก์กับจำเลยที่ 1 มีนิติสัมพันธ์ต่อกัน การที่น้องชายโจทก์โอนหนี้ให้แก่โจทก์เป็นเจ้าหนี้ตามสัญญารับสภาพหนี้เป็นการโอนหนี้ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย จำเลยที่ 1 ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ และจำเลยที่ 1 ลงชื่อในสัญญารับสภาพหนี้ด้วยความหวาดกลัว แต่จำเลยที่ 1 ให้การต่อสู้คดีไว้ว่าสัญญารับสภาพหนี้เป็นเอกสารปลอมที่โจทก์ทำขึ้นเอง ลายมือชื่อก็ไม่ใช่ของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 มีมูลหนี้ต่อโจทก์ไม่ถึงตามจำนวนที่โจทก์ฟ้อง ดังนั้นข้อที่จำเลยที่ 1 ยกขึ้นฎีกาดังกล่าวเป็นข้อที่นอกเหนือจากที่จำเลยที่ 1 ให้การต่อสู้คดีไว้ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น ต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคแรก
พฤติการณ์ที่ร้านค้าของจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นสามีภริยากันชื่อเหมือนกับชื่อหมู่บ้านที่โจทก์ส่งวัสดุก่อสร้างมาให้จำเลยทั้งสองเคยไปดูแลการทำงานของช่างก่อสร้างในหมู่บ้านดังกล่าวและบ้านของจำเลยทั้งสองถูกใช้เป็นสำนักงาน โดยมีเสมียนเข้าไปทำงานในบ้านของจำเลยทั้งสองจำเลยที่ 2 ได้ลงลายมือชื่อในสัญญาชำระหนี้และบันทึกข้อความในฐานะภริยาผู้ให้ความยินยอมแสดงให้เห็นได้ว่ากิจการ ก่อสร้างหมู่บ้านดังกล่าวเป็นการงานที่จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นสามีภริยาทำด้วยกัน ดังนั้นหนี้ที่เกิดขึ้นเนื่องจากการงานดังกล่าวจึงเป็นหนี้ที่จำเลยที่ 2 ต้องเป็นลูกหนี้ร่วมกันกับจำเลยที่ 1 ด้วย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1490 (3)
พฤติการณ์ที่ร้านค้าของจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นสามีภริยากันชื่อเหมือนกับชื่อหมู่บ้านที่โจทก์ส่งวัสดุก่อสร้างมาให้จำเลยทั้งสองเคยไปดูแลการทำงานของช่างก่อสร้างในหมู่บ้านดังกล่าวและบ้านของจำเลยทั้งสองถูกใช้เป็นสำนักงาน โดยมีเสมียนเข้าไปทำงานในบ้านของจำเลยทั้งสองจำเลยที่ 2 ได้ลงลายมือชื่อในสัญญาชำระหนี้และบันทึกข้อความในฐานะภริยาผู้ให้ความยินยอมแสดงให้เห็นได้ว่ากิจการ ก่อสร้างหมู่บ้านดังกล่าวเป็นการงานที่จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นสามีภริยาทำด้วยกัน ดังนั้นหนี้ที่เกิดขึ้นเนื่องจากการงานดังกล่าวจึงเป็นหนี้ที่จำเลยที่ 2 ต้องเป็นลูกหนี้ร่วมกันกับจำเลยที่ 1 ด้วย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1490 (3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5426/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการแก้ไขคำให้การ: ทนายยื่นคำให้การเป็นหนังสือ จำเลยแก้ไขไม่ได้
ตามป.วิ.พ. มาตรา 62 วรรคสอง เป็นกรณีที่ตัวความจะปฏิเสธหรือแก้ไขข้อเท็จจริงที่ทนายความของตนได้กล่าวด้วยวาจาต่อหน้าตนในศาลเท่านั้น เมื่อปรากฏว่าทนายจำเลยทั้งสองยื่นคำให้การต่อสู้คดีเป็นหนังสือจำเลยทั้งสองจึงไม่อาจปฏิเสธหรือแก้ไขข้อเท็จจริงตามคำให้การนั้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 412/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกเหตุความผิดปกติทางจิตหลังศาลชั้นต้นพิพากษา: ข้อจำกัดการอุทธรณ์ฎีกา
ศาลชั้นต้นได้สอบถามจำเลยแล้ว จำเลยให้การรับสารภาพตลอดข้อหาจึงได้บันทึกคำฟ้อง คำรับสารภาพและพิพากษาลงโทษจำเลยจนเสร็จการพิจารณาของศาลชั้นต้น จำเลยไม่ได้ยกเหตุที่จำเลยไม่สมควรต้องรับโทษเพราะเหตุจิตบกพร่องตาม ป.อ. มาตรา 65ขึ้นกล่าวอ้างเลย จำเลยเพิ่งยกเหตุดังกล่าวขึ้นมาอ้างในชั้นอุทธรณ์เมื่อข้อเท็จจริงนี้จำเลยมิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นการรับวินิจฉัยปัญหาที่จำเลยฎีกาจึงเป็นการต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 15.